15/04/2023
❌ อยากเลี้ยงชูการ์ มาอ่านตรงนี้ก่อน ❌
คูมือชูการ์ไกรเดอร์ 📚
จากหลายๆเหตุการณ์ที่พบเจอ ชูการ์ไกรเดอร์ต้องเผชิญกับเรื่องราวน่าเศร้า ทั้งถูกทอดทิ้ง ย้ายบ้าน เจ็บป่วย ล้มตาย พิการ ทำให้เราตระหนักว่า ยังมีอีกหลายคนที่รับเขามาดูแล โดยที่ไม่ได้ศึกษาข้อมูลต่างๆของชูการ์ไกรเดอร์เลย เลี้ยงดูแบบผิดๆ เลี้ยงดูแบบไม่เอาใจใส่
ทางเพจจึงอยากทำบทความนี้ขึ้นมา เพื่อคนที่คิดจะเลี้ยงได้ลองอ่าน และ คิดทบทวนดู ถึงความพร้อมของเราก่อนเลี้ยง หรือ เพิ่งรับมาเลี้ยงแต่ยังไม่มีประสบการณ์อะไรเลย จะได้เป็นแนวทางในการดูแลชูการ์ต่อไป
ในบทความนี้มาจากประสบการณ์ที่เลี้ยงครอบครัวฮาชิทั้งหมดมา และเสาะหาอ่านตามเพจต่างๆ เพื่อเพิ่ทเติมส่วนที่ขาด มันอาจจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องที่สุด เพราะแต่ละบ้านก็มีการดูแลที่ต่างกันไป เรียกว่าเป็นการดูแลแบบสไตล์ครอบครัวฮาชิจะดีกว่า ถ้าใครเห็นด้วยแล้วนำไปปรับเปลี่ยนใช้ประโยชน์จากบทความนี้ เราก็ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ แต่ถ้าคิดต่างเราก็เคารพในความแตกต่างเข่นกัน
🔴 ทำความรู้จัก “ ชูการ์ไกรเดอร์ “
ชูการ์ไกลเดอร์ หรือที่บางครั้งเรียกกันว่า จิงโจ้ร่อน (อังกฤษ: sugar glider, Australia sugar glider; ชื่อวิทยาศาสตร์: Petaurus breviceps) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องจำพวกพอสซัม เนื่องจากในตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้อง ใช้สำหรับให้ลูกอ่อนอยู่อาศัยจนกว่าจะโตได้ที่
ชูการ์ไกลเดอร์มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกับกระรอกบินมาก แต่เป็นสัตว์คนละอันดับกัน เนื่องจากกระรอกบินเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ
ชูการ์ไกลเดอร์เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ 6-10 ตัวขึ้นไป และแต่ละฝูงจะมีการกำหนดอาณาเขตของตัวเองอย่างชัดเจน ซึ่งตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูงจะมีการปล่อยกลิ่นเพื่อกำหนดอาณาเขตของตนเอง อายุโดยเฉลี่ย 10-15 ปี ตามธรรมชาติแล้ว ชูการ์ไกลเดอร์จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ ดังนั้นจึงมีเล็บที่แหลมคมใช้เกาะเพื่อกระโดดข้ามจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง
ขนมีลักษณะนุ่มมาก บริเวณข้างลำตัวของมันจะมีพังผืด ซึ่งสามารถกางได้จากขาหน้าไปถึงขาหลังเพื่อลู่ลมเวลาร่อน เหมือนเช่นกระรอกบิน หรือบ่าง
เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน โดยอาหารหลัก คือaแมลง ส่วนผลไม้จะถือเป็นอาหารรอง เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความยาวจากจมูกถึงปลายหางจะอยู่ที่ 11 นิ้ว
แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ปาปัวนิวกินี จนถึงออสเตรเลียทางซีกตะวันออก สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ชนิดย่อย
📌 เครดิต : wikipedia
🔴 ราคาขาย
ชูการ์ไกรเดอร์มีหลากสายพันธุ์ โดยส่วนใหญ่แล้ว คนจะนิยมเลี้ยงสายพันธุ์ “ นอมอล “ เพราะด้วยราคาที่จับต้องได้ ไม่แพงมาก ราคาท้องตลาดอยู่ที่ประมาณ 900-1500 บาท สำหรับพันธุ์นอมอล ส่วนสายพันธุ์อื่นๆราคาก็จะมากขึ้นตามสายพันธุ์นั้นๆ เพศก็จะมีผลเรื่องราคา ตัวเมียจะราคาสูงกว่าตัวผู้
🔴 ลักษณะของเพศ
* เพศผุ้ = ชูการ์ไกรเดอร์ตัวผู้จะมีลูกอัณฑะบริเวณระหว่างขาหลัง มีอวัยวะเพศเป็นเส้น 2 เส้น สีแดงอมชมพู เมื่อเริ่มโตชูการ์ไกรเดอร์จะดึงเข้า-ออกมาเพื่อทำความสะอาด บริเวณหัวจะล้านเมื่อเริ่มโตขึ้น มากน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลชองผู้เลี้ยง
* เพศเมีย = จะมีกระเป๋าหน้าท้อง บริเวณกลางลำตัว ชูการ์ไกรเดอร์ตัวเมียจะเลียทำความสะอาดกระเป๋าหน้าท้องอยู่เป็นประจำ เมื่อตั้งท้องลูกจะฝักตัวในกระเป๋าหน้าท้อง จนเริ่มโตเต็มที่ก็จะออกจากกระเป๋าหน้าท้อง
โดยปกติถ้าชูการ์ไกรเดอร์อบู่ตามธรรมชาติ จะมีการผสมพันธุ์ปีละ 1-2 ครั้ง แต่เมื่อชูการ์ไกรเดอร์ ถูกนำมาเลี้ยงดู ทำให้มีอาหารที่เพียงพอ สภาพอากาศที่ไม่ปรวนแปร ทำให้ชูการ์ไกรเดอร์พร้อมผสมพันธุ์กันบ่อยขึ้น
อายุชูการ์ไกรเดอร์ที่พร้อมผสมพันธุ์
* เพศเมียอยู่ที่ 8-12 เดือน
* เพศผู้อยู่ที่ 12-14 เดือน
ช่วงผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีอาการคึก ดุ ห่วงที่ ห่วงตัวมากกว่าปกติ จะทานน้อบ ไล่เกาะหลังตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ อาการแบบนี้จะเป็นประมาณ 2-4 วัน ก็จะกลับมาปกติ ช่วงที่ตัวผู้ติดสัตว์ บางตัวจะมีอารมณ์รุนแรง ถ้าตัวเมียไม่พร้อม หรือ ไม่ยอม ตัวผู้อาจจะทำร้ายตัวเมีบได้ ด้วยการจิกหลัง กัดหลัง ผู้เลี้ยงควรเช็ค หรือ แยกกรงก่อนจนกว่าจะหาย การควบคุมประชากรก็เป็นเรื่องสำคัญของผู้ที่เลี้ยงไว้ ไม่ใช่เพื่อการค้า
หลังจากผสมพันธ์สำเร็จ ตัวเมียมีระยะตั้งท้องประมาณ 16 วัน จากนั้นตัวอ่อนก็จะคลานมาอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องและดูดน้ำนมเพื่อการเติบโต ช่วงเวลานี้ ชูการ์ไกรเดอร์ตัวเมียต้องการอาหารและสารอาหารต่างๆมากขึ้น ทางผู้เลี้ยงต้องคอยดูแล และ เพิ่มเติมสารอาหารต่างๆให้เพียงพอ เพราะถ้าขาดสารอาหาร ทางชูการ์ไกรเดอร์ตัวเมียอาจจะกินลูกตัวเองได้ และอีกอย่างที่ผู้เลี้ยงต้องระวัง ขณะชูการ์ไกรเดอร์ตัวเมียตั้งท้อง ควรงดการเปลี่ยนแปลง โยกย้ายบ้านใหม่ เพราะจะทำให้เกิดความเครียดได้
ปกติการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง ชูการ์ไกรเดอร์ตัวเมีย จะให้ลูกอยู่ที่ 1-2 ตัวเท่านั้น ประมาณ 70 วัน ก็จะออกจากกระเป๋าหน้าท้อง แล้วใช้ชีวิตด้านนอกกับพ่อแม่
📌 อ้างอิงข้อมูลบางส่วน จาก
หน่วยสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ โรงพยาบาลสัตว์วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน)
🔴 ข้อดี - ข้อเสีย ชูการ์ไกรเดอร์
( ข้อดี )
* ตัวเล็กกระทัดรัด
* ขนนุ่ม ขนเงาน่าจับ
* หน้าตาน่ารัก น่าเอ็นดู
* พกพาไปไหนได้ง่าย
* อายุยืนได้ถึง 12-15 ปี
* กลางวันนอนทั้งวัน
* จดจำเจ้าของได้(เมื่อเชื่องแล้ว)
* มีลูกง่าย
* ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงไม่มาก
( ข้อเสีย )
* มีกลิ่นตัวแรง (โดยเฉพาะตัวผู้)
* ตัวผู้หัวจะล้าน / ตัวเมียอาจพบได้บางตัว
* ฉก ขู่ กัด (ถ้ายังไม่เขื่อง)
* ขับถ่ายไม่เป็นที่ กลิ่นแรง
* ทานแมลง/หนอน(สำหรับคนที่กลัว)
* กัด แทะ สิ่งของ (ถ้าเลี้ยงปล่อยในห้อง)
* เล็บยาว เกาะเจ็บ (ต้องเล็มทุกสัปดาห์)
* ทำร้ายตัวเอง เมื่อเกิดภาวะเครียด
* กัด ทำร้ายคู่ตัวเอง (กรณีอารมณ์รุนแรง)
* กินลูกตัวเอง(เครียด/ขาดสารอาหาร)
* ค่ารักษาแพง
* ต้องรักษาแต่ รพ / คลีนิคเฉพาะพิเศษ
* ค่าใช้จ่ายจิปาถะเยอะ
* เห่า ,ร้อง ตอนกลางคืน ช่วงดึก
* Sensitive กับสภาพอากาศได้ง่าย
จะข้อดี หรือ ข้อเสีย มันขึ้นอยู่กับมุมมองของคนที่เลี้ยงชูการ์ไกรเดอร์เพราะเหตุผลอะไร
สำหรับคนที่รักชูการ์ ข้อเสียมันไม่ได้มีผลอะไรกับการเลี้ยงดูเลย กลับกัน เราเลือกที่จะเข้าใจ ปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติของเขาโดยไม่มีข้ออ้างอะไร มันจึงไม่เกิดปัญหาเพราะเราเลี้ยงเขาด้วยความรัก
แต่สำหรับคนที่ไม่ได้รักจริง เลือกเลี้ยงเพราะเห็นว่าน่ารัก , ตามกระแส , แก้เบื่อ , ไว้เป็นพยานแห่งความรัก พอเจอปัญหา หรือ สิ่งที่เราไม่ชอบ ไม่รู้ จากการไม่ศึกษาธรรมชาติของเขาก่อนเลี้ยง ก็จไม่ชอบ ไม่เข้าใจ แล้วใช้เหตุผลเหล่านี้ในการ เลิกเลี่ยง ขายค่อ ปล่อยทิ้ง บลาๆ ดังนั้น ก่อนคืดจะเลี้ยง ลองดูข้อดี-ข้อเสีย แล้วชั่งใจดูว่าเรารับได้แค่ไหน
🔴 กรงและอุปกรณ์ในการเลี้ยง
ธรรมชาติของชูการ์ไกรเดอร์ เป็นสัตว์ที่ชอบกระโดดไปมา ร่อนจากอีกจุดไปอีกจุด ดังนั้นเมื่อชูการ์ไกรเดอร์ถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง ผู้เลี้ยงควรจัดหากรงที่มีขนาดพอเหมาะ ไม่เล็กจนเกินไป
สำหรับคนที่มีแนวคืดแบบผิดๆที่ว่า การเลี้ยงชูการ์ไกรเดอร์ในที่แคบๆแล้ว ชูการ์ไกรเดอร์จะเชื่องขึ้น ถือว่าเป็นความคิดที่ผิด และ ยังทำร้ายเขาทางอ้อมด้วย ดังนั้นกรงที่มีชนาดหมาะสม จึงจำเป็นมาก
ขนาดกรงที่ส่วนใหญ่ใช้กัน ควรมีระยะห่างของซี่กรง 1-2 cm. เพราะถ้าระยะซี่กรงที่ห่างมาก เข่น กรงที่ใช้เลี้ยงสุนัช ชูการ์ไกรเดอร์สามารถมุดออกมาได้
ขนาดกรงที่คนนิยมใช้
* ขนาด 61 x 41 x 41 cm.( 1-2 ตัว )
* ขนาด 62 x 42 x 62 cm. ( 3 -5 ตัว)
อุปกรณ์และของใช้ในการเลี้ยง
* ขวดน้ำ
* ตัวล็อคกรง
* ที่นอน (ผ้า/ไม้/กะลา)
* ผ้าคลุมกรง
* ผ้านิ่ม / ผ้าให้ความอบอุ่น
* ชามใส่อาหาร (ควรมีสำรองหลายใบ)
* เบาะ หรือ แผ่นปูพื้น
* กิ่งไม้ / ของเล่นไม้เสริมทักษะ
* อื่นๆ
ปัจจุบันข้าวของเครื่องใช้ในการเลี้ยงชูการ์ไกรเดอร์ มีให้เลือกกันหลากหลายรูปแบบ ผู้เลี้ยงก็เลือกกันได้ตามความชื่นชอบและเหมาะสม แต่อย่างหนึ่งที่อยากให้คำนึงไว้ว่า ชูการ์ไกรเดอร์เป็นคนที่อยู่ในกรง ไม่ใช่เรา ดังนั้นก่อนที่จะเลือกจากสิ่งที่ตัวเราชอบ ควรเลือกจากธรรมชาติของชูการ์ไกรเดอร์มากกว่า ว่าควรใช้อะไร ไม่ใช่อะไร
ในกรงจึงไม่ควรใส่ของตกแต่งมากจนเกินไป จนไม่มีเนื้อที่ให้ชูการ์ไกรเดอร์ ได้กระโดด ได้วิ่งเล่น เพื่อออกกำลังกายเลย
🔴 สถานที่ตั้งและอากาศในการเลี้ยง
จุดของการตั้งกรงที่เลี้ยง ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของแต่ละคน บางท่านเลี้ยงในคอนโด หรือ อพาร์เม้น บางทานเลี้ยงในบ้านส่วนตัว แต่สิ่งที่อยากให้คำนึงถึงก็คือ
* อากาศที่ถ่ายเทสะดวก
* ปลอดภัยจากสัตว์อื่นๆ
* ไม่ควรตั้งจุดที่แอร์เป่าลง
* ไม่ควรตั้งติดตูเย็น
* ไม่ควรตั้งที่โดดแดดจัดและร้อนจัด
* ไม่ควรตั้งที่โดนฝนและอากาศชื้น
* ไม่ควรตั้งจุดที่สัตว์อื่นทำร้าย เช่น งู สัตว์มีพิษ
* ไม่ควรตั้งในห้องน้ำ
* ไม่ควรตั้งระเบียงที่มีคอมแอร์ติดตั้ง
ชูการ์ไกรเดอร์อยู่ในอุณหภูมิปกคิได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา เพียงแค่เช็คดูอากาศที่ไม่ร้อนมาก ใช้พัดลมเปิดส่ายไปมา ให้อากาศถ่ายเทสะดวก ระวังอากาศชื้นในช่วงหน้าฝนอาจทำให้ขูการ์ไกรเดอร์ป่วยได้ ถ้าเลี้ยงในห้องแอร์ ควรมีการปิดพักสลับให้อากาศถ่ายเทบ้าง แต่ต้องค่อยๆปรับเปลี่ยนอากาศภายในห้อง ไม่ใช่ปรับเปลี่ยนปุ๊บปั๊บ จากร้อนไปเย็น เย็นไปร้อนทันที ชูการ์จะปรับสภาพไม่ทันและป่วยได้
🔴 อาหาร และ โภชนาการ
“ You are what you eat “ การให้ชูการ์ไกรเดอร์ทานอะไรไป มันมีผลต่อสุขภาพร่างกายของชูการ์ไกรเดอร์ ดังนั้น “ อาหาร “ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ควรใส่ใจ ให้เหมาะกับช่วงวัย และ คำนึงถึงปริมาณที่ให้ ไม่มากไป หรือ น้อยไป ควบคู่กับการได้รับสารอาหารต่างๆที่เพียงพอ
* แรกเกิด - 4 เดือน ในกรณีที่ชูการ์ไกรเดอร์อยู่กับแม่ตัวเอง แนะนำให้ทานนมแม่ จนกว่าเริ่มโตแล้วแม่เริ่มไม่ให้ทาน สามารถแยกมาป้อนนมเองได้ นมที่ใช้ป้อนจะเป็นนมแมว หรือ นมแพะ (ยกเว้นนมวัว) ใน 1 วัน ควรป้อนทุก 2-3 ชั่วโมง โดยการป้อนแต่ละครั้งไม่ต้องให้ทานจนแน่นท้องเกินไป เพราะจะให้ทานบ่อย ควรใช้สลิ่งป้อนนมในการป้อน เพื่อไม่ให้เลอะเทอหน้าตา หรือ นมเข้าจมูก หลังทานควรกระตุ้นการขับถ่ายทุกครั้ง ชูการ์วัยนี้จะทานนมเป็นอาหารหลัก พออายุ 3.5 เดือนเริ่มให้ทานผลไม้บางอย่าง เช่น แอปเปิ้ลแดง,กล้วยน้ำว้าสุกๆ(กล้วยอื่นไม่ได้)
* 4 เดือน - 1 ปี การป้อนนมลดลงเหลือ เช้า-เย็น เริ่มเพิ่มอาหารเสริมที่ช่วยในการเติบโต่ เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง เช่น แคลเซี่ยม,โปรตีน (HPWเป็นรวมอาหารเสริมที่ดี) เริ้มทานผลไม้(ผลไม้ที่ชูการ์ทานได้) ได้หลากหลายขึ้น ควบคู่กับการทานโปรตีนจากแมลงและหนอน(ทั้งสดและดิบ) การให้ควรอยู่ในปริมาณที่ไม่มากจนเกิดไป ช่วงวันนี้จะเป็นวัยกำลังซน อยากรู้อยากเห็น ขี้เบื่อ เด็กๆส่วนใหญ่จะไม่ค่อยอ้วน ตัวจะยืดขึ้น หางจะเริ่มฟูเต็มวัย ดังนั้นอาหารที่ให้จึงสำคัญมาก
* 1 ปีขึ้นไป การทานนมจะเป็นแค่การทานเสริมร่างกาย สามารถลดลงเหลือวันละ 1 ครั้ง พออายุยิ่งมากขึ้น ก็ปรับเป็นวันเว้นวัน หรือ 2-3 วันทานครั้งก็พอ ชูการ์พอเริ่มอายุมากขึ้น การขยับตัวเริ่มน้อย ไม่ค่อยออกกำลัง ร่างกายจึงเริ่มอ้วน เริ่มมีไขมันสะสมมากขึ้น ดังนั้นปริมาณอาหารอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนให้พอดีกับน้ำหนักคัวที่เพิ่มขึ้น ควบคุมน่ำหนักไม่ควรเกิน 180 กรัม แมลงและหนอน ก็ลดลง หรือ เว้นบ้าง
สิ่งที่ไม่ควรให้ทาน
* อาหารปรุงรสต่างๆ
* อาหารหมักดอง
• ซีลีแล็ค
* นมวัว (นมที่ชูการ์ทานได้นมแมว/นมแพะ)
* อาหาร หรือ ขนมของคนทุกชนิด
* ผลไม้รสเปรี้ยว
* ผลไม้ที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ทุเรียน,ลำใย เป็นต้น
* ผลไม้และธัญพืชที่ทำให้ท้องอืด
* เนื้อสัตว์ เช่น หมู,เนื้อวัว เป็นต้น
ชูการ์ไกรเดอร์เป็นสัตว์กลางคืน มื้อหลักเขาคือ มื้อดึก เราสามารถให้อาหารไว้ในกรงในปริมาณที่มากได้ เมื่อเขาทาน และ มีการวิ่งเล่น มันก็จะช่วยเผาผลาญอาหารที่กินไป ช่วงเช้าจะเริ่มได้เวลาเข้านอน อาจให้ทานของเบาๆเช่น นม หรือ ผลไม้นิดหน่อย เพื่อไม่ให้ระบบย่อยรบกวนการนอน และ ร่างกายได้พักอย่างจริงจัง เช้า กลางวัน เย็น จึงไม่จำเป็นต้องให้อาหาร หรือ ปลุกเขามาทานอาหาร ควรให้เขาพักผ่อนอย่างเต็มที่ดีกว่า
* การโภชนาที่เหมาะสมชูการ์ไกรเดอร์
https://makzapk.wordpress.com/ชูการ์ไกรเดอร์กับอาหาร/
📌 เครดิต
https://makzapk.wordpress.com
🔴 สถานที่รีกษาพยาบาล
ชูการ์ไกรเดอร์ ถือเป็นสัตว์เล็กพิเศษ หรือ Exotic pets ดังนั้นเมื่อชูการ์ไกรเดอร์ต้องถึงเวลาตรวจสุขภาพ หรือ เจ็บป่วย ผู้เลี้ยงต้องพาไปรักษาที่คลีนิค หรือ โรงพยาบาลสัตว์พิเศษเท่านั้น
* การตรวจสุขภาพ
ผู้เลี้ยงควรพาชูการ์ไกรเดอรฺที่อายุเกืน 4 เดือนขึ้นไป ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก 3-4 เดือน หรือ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง (ทุก 6 เดือน) โดยคุณหมอจะตรวจสุขภาพทั้งภายนอกและภายใน เช่น ตา จมูก ฟัน ขน เล็บ น่ำหนักตัว / ระบบหายใจ อุจจาระ กระดูก เป็นต้น ค่าใช้จ่ายอยู่ประมาณ 200 - 1,000 บาท แล้วแต่สถานที่รักษานั้นๆ
• การรักษาอาการป่วย
ชูการ์ไกรเดอร์ค่อนข้างเป็นสัตว์ที่บอบบาง สภาพอากาศ อาหารการกินต่างๆ สามารถก่อให้เกิดอาการป่วยได้ อาการป่วยที่พบมากในชูการ์ไกรเดอร์
* หวัด / ไอจาม / มีน้ำมูก
* ต้อกระจกตา
* ปอดบวม / ปอดชื้น
* ปัญหาฟันและเหงือก
* เขื้อรา / โรคผิวหนัง / ขนร่วง
* ชาอ่อนแรง / เดินไม่ได้
* ระบบขับถ่าย / นิ่ว / ท้องเสีย
* โรคมะเร็ง
* โรคตับ
* กระดูกเปราะ
* ฝี และ หนอง
* ต่อมกลิ่นอักเสบ
* อื่นๆ
สำหรับผู้ที่คิดจะเลี้ยงชูการ์ไกรเดอร์ สิ่งสำคัญอย่างยิ่งคือ คลีนิต และ โรงพยาบาลสำหรับสัตว์พิเศษ ผู้ที่คิดจะเลี้ยงควรเช็ดก่อนว่า จังหวัดที่ท่านอยู่มีหรือไม่ ใกล้สุดที่ไหน และ อีกหนึ่งสิ่ง คือ “ เตรียมเงินค่ารักษา “ เพราะค่ารักษาสัตว์พิเศษและยาที่ใช้รักษา ราคาค่อนข้างสูง ผู้เลี้ยงจึงควรตระเตรียมไว้
( รวมรายขื่อคลีนิคและโรงพยาบาลสัตว์เล็ก )
คลิ๊ก ➡️ https://www.doozie-deevayorkies.com/content/5085/รายชื่อโรงพยาบาลสัตว์และคลีนิค
📌เครดิต
https://www.doozie-deevayorkies.com/
“ หวังว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้เลี้ยง และชูการ์การ์ไกรเดอร์ไม่มากก็น้อย “
ขออุทิศบุญกุศลครั้งนี้ให้ น้องมิโซะจัง , น้องโอโซ่ และ น้องชูการ์ไกรเดอร์ที่ล่วงลับไปแล้ว 🙏🏻
จัดทำโดย : Hachi & Family (24/07/62)