I'm rabbit อย่าหยุดศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิต
ของ ?

น้อง เพศเมีย อายุ 2 เดือน สนใจสอบถามได้ครับ 🐰
07/03/2022

น้อง เพศเมีย อายุ 2 เดือน สนใจสอบถามได้ครับ 🐰

28/02/2022
12/08/2021

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลี้ยงกระต่าย (โพสต์นี้ขอเรื่องยาวหน่อยนะคะ)🐰

1. กระต่ายเป็นสัตว์ที่ต้องการการดูแลสูง (High Maintenance)
กระต่ายเป็นสัตว์ที่ละเอียดอ่อน และต้องการการดูแลสูง กระต่ายสามารถบาดเจ็บ ล้มป่วยได้ง่าย หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตหากได้รับการดูแลไม่เหมาะสม อาจไม่เหมาะที่คุณพ่อคุณแม่จะซื้อกระต่ายเป็นของขวัญให้ลูกๆที่บ้าน เพราะการดูแลกระต่ายนั้นต้องการความรับผิดชอบสูง ทั้งเรื่องการทำความสะอาด อาหาร การออกกำลังกายในแต่ละวัน จึงไม่เหมาะที่จะเป็นสัตว์เลี้ยงของเด็ก นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายของกระต่ายยังค่อนข้างสูงอีกด้วยเช่นกัน
2. กระต่ายมีอายุยืน
โดยประสบการณ์แอดมินพบผู้คนมากมายที่คิดว่ากระต่ายเป็นสัตว์ที่มีอายุสั้น นี่ก็เป็นอีกหนึ่งความเข้าใจที่ผิด ความสับสนอาจเกิดจากอายุโดยเฉลี่ยของกระต่ายที่อยู่ในป่าเพียงแค่ 1-2 ปี แต่นั่นก็เป็นเพราะการอาศัยอยู่ในป่าทำให้กระต่ายเสี่ยงต่อภัยอันตรายมากมาย ทั้งจากนักล่าและโรคภัย จึงไม่แปลกที่กระต่ายในป่าจะอายุสั้น

สำหรับกระต่ายบ้านที่เราเลี้ยงเป็นคู่หูนั้น อายุโดยเฉลี่ยนั้นอยู่ที่ 8-12 ปีทีเดียว โดยตามสถิติมีกระต่ายที่อายุยืนที่สุดสามารถมีอายุยืนได้ถึง 18 ปี ดังนั้นหากว่าที่เจ้าของมือใหม่คิดว่าต้องการสัตว์เลี้ยงเพียงช่วงเวลาสั้นๆ กระต่ายอาจไม่ใช่ทางเลือกสำหรับคุณ
3. กระต่ายต้องการการดูแลเรื่องอาหารสูง
ระบบย่อยอาหารของกระต่ายมีความสำคัญต่อชีวิตของพวกเขามากๆ การให้อาหารที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้พวกเขาเสียชีวิตได้ ว่าที่เจ้าของมือใหม่ควรศึกษาเรื่องอาหารของกระต่ายก่อนเลี้ยงกระต่าย อาหารหลักของกระต่ายคือหญ้า ไม่ใช่อาหารเม็ดหรือแครอท และกระต่ายไม่ควรถูกเลี้ยงโดยอาหารเม็ดเพียงอย่างเดียว
4. กระต่ายต้องการที่อยู่ที่กว้างขวาง และควรเลี้ยงอยู่ในบ้าน
ก่อนที่แอดมินจะเลี้ยงกระต่าย ส่วนตัวแล้วเวลาเจอกระต่าย ก็มักจะพบเห็นกระต่ายอยู่ในกรงตั้งแต่เด็กๆ จึงคิดว่าที่อยู่ของกระต่ายคือกรง แต่พอได้เลี้ยงกระต่ายและศึกษาวิธีเลี้ยงกระต่ายจริงๆก็พบว่าตัวเองมีความเข้าใจที่ผิดมาตลอด โดยธรรมชาติแล้วกระต่ายเป็นสัตว์ที่อยู่ในป่า เป็นสัตว์ที่ถูกล่า สรีระของกระต่ายนั้นสามารถวิ่งได้รวดเร็ว ว่องไว มีประสิทธิภาพในการหลบหนีนักล่า การจำกัดชีวิตของพวกเขาให้อยู่แต่ในกรงแคบๆจึงค่อนข้างผิดธรรมชาติ และทำลายสุขภาพกายและจิตของพวกเขา

หากว่าที่เจ้าของมือใหม่อยากได้กระต่ายมาเลี้ยงที่บ้าน ควรจะเลี้ยงในบริเวณที่กว้างพอ และมีที่ให้พวกเขาได้วิ่งออกกำลังกายทุกวัน อาจไม่ถึงกับต้องพาพวกเขาออกไปเดินเล่นเหมือนสุนัข แต่ก็อย่าให้กระต่ายน้อยต้องอยู่แต่ในกรงเล็กๆทุกวัน หากพื้นที่ของท่านจำกัด กระต่ายอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับสัตว์เลี้ยงของคุณ

นอกจากนั้นเจ้าของกระต่ายควรเลี้ยงกระต่ายในบ้าน เพราะการเลี้ยงกระต่ายนอกบ้านนั้นเป็นการทำให้พวกเขาเผชิญความเสี่ยงต่อนักล่า ต่อเชื้อโรค ต่อสภาพอากาศ การเลี้ยงกระต่ายในกรงนอกบ้านจึงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม จึงอยากให้ว่าที่เจ้าของมือใหม่พิจารณาเรื่องที่อยู่ ที่คุณให้กับเจ้าขนฟูพวกนี้ได้ ก่อนที่จะตัดสินใจรับกระต่ายมาเลี้ยง
5. กระต่ายต้องการสัตวแพทย์สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ (Exotic Pet)
ก่อนเลี้ยงกระต่าย ลองสำรวจในบริเวณใกล้เคียงว่ามีสัตวแพทย์สำหรับสัตว์พิเศษหรือไม่ หากคุณไม่สามารถเข้าถึงสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ กระต่ายของคุณอาจไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ สัตวแพทย์โดยทั่วไปนั้นถูกฝึกมาให้รักษาสัตว์โดยจะเน้นไปที่สุนัขและแมว กระต่ายนั้นถือเป็นสัตว์พิเศษ (Exotic Pet) หากเทียบกับคนก็เหมือนกับโรคที่ต้องการผ่าตัด จำเป็นต้องเป็นศัลยแพทย์ไม่ใช่อายุรแพทย์ เหมือนการดัดฟันจำเป็นต้องเป็นทันตแพทย์เฉพาะทางดัดฟัน ไม่ใช่ทันตแพทย์ GP

อาจเป็นเรื่องที่ดูยากลำบาก แต่สัตวแพทย์ทั่วไปอาจไม่เหมาะที่จะช่วยเจ้ากระต่ายเมื่อเวลาจำเป็นจริงๆ ปัจจุบันเวลาน้องกระต่ายไปหาหมอก็ต้องยอมขับรถ 1 ชั่วโมงไป 1 ชั่วโมงกลับทุกครั้ง แต่คุณหมอเฉพาะทางก็ไม่เคยทำให้ผิดหวัง จึงทำให้การลงทุนค้นหาสัตวแพทย์สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับชีวิตเด็กๆทั้งหลาย
6. กระต่ายควรได้รับการทำหมัน
อันนี้ไม่ได้เพียงเป็นข้อดีสำหรับเจ้าของ ที่กลัวการมีลูกกระต่ายเต็มบ้านโดยไม่ได้ตั้งใจ ถึงแม้กระต่ายเป็นสัตว์ที่เจริญพันธุ์เร็ว แพร่พันธุ์เร็ว และการทำหมันเป็นสิ่งที่เจ้าของควรคำนึงถึงหากมีกระต่ายตัวผู้ตัวเมียอยู่ที่บ้าน แต่การทำหมันกระต่ายนั้นสำคัญมากกว่าแค่ยับยั้งการแพร่พันธุ์ ตามงานวิจัย และคำแนะนำจาก House rabbit society กระต่ายที่ทำหมันจะมีอายุยืน และลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งในระบบสืบพันธุ์ ตัวผู้อ่านเองมักจะพบคำแนะนำให้ทำหมันโดยเฉพาะกระต่ายตัวเมีย เพราะกระต่ายตัวเมียมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งมดลูกสูงถึง 60% หากไม่ได้ทำหมัน

การลงทุนทำหมันนั้นนอกจากจะสำคัญต่อการป้องกันการเกิดมะเร็งแล้ว ยังมีผลดีอื่นๆเช่น ช่วยระงับการแพร่พันธุ์ กระต่ายจะมีความสุขมากขึ้น ไม่หงุดหงิดตามฮอร์โมน กระต่ายจะเป็นมิตร (bond) กับกระต่ายตัวอื่นได้ง่าย ฝึกเข้าห้องน้ำได้ง่าย ลดการปัสสาวะสเปรย์แสดงอาณาเขต ลดพฤติกรรมรุนแรง ลดกลิ่นปัสสาวะอุจจาระ เป็นต้น ทั้งนี้การทำหมันกระต่าย ควรได้รับการผ่าตัดจากสัตวแพทย์สำหรับสัตว์พิเศษ ไม่ใช่สัตวแพทย์ทั่วไป
7. ควรซื้อกระต่ายจากฟาร์มที่ได้มาตรฐาน
อันนี้เล่าตามประสบการณ์ กระต่ายที่ขายตัวไม่กี่ร้อย ขายว่าเป็นกระต่ายแคระนั้น หาได้ยากที่เป็นกระต่ายพันธุ์เล็กจริงๆ ส่วนมากจะเป็นกระต่ายเด็กอายุมักไม่ถึงสองเดือนยังไม่หย่านม มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูง และเมื่อเสียชีวิต เจ้าของก็ต้องกลับไปซื้อใหม่จากร้านที่ขายกระต่ายเด็กเป็นวงจรไป ทำให้มีประสบการณ์จำว่ากระต่ายเลี้ยงยาก อันที่จริงแล้วเพราะกระต่ายเยาว์วัย ยังไม่ควรหย่านมแม่ และต้องพึ่งพาแม่สูง การพรากกระต่ายเด็กมาจากแม่ในธุรกิจนั้นๆ นอกจากทุกข์ทั้งกระต่ายเด็ก ก็ยังทุกข์ต่อแม่กระต่ายที่ต้องถูกผสมพันธุ์เรื่อยไป

การซื้อกระต่ายจึงควรเลือกจากฟาร์มได้มาตรฐาน มีวันเดือนปีเกิดน้องชัด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพน้องในอนาคต และต้องเป็นฟาร์มที่ปล่อยน้องอายุอย่างน้อย 2 เดือนขึ้นไปเท่านั้น สุขภาพดี หย่านมแล้ว ราคาอาจจะสูงกว่ากระต่ายเด็กๆตามตลาดนัด แต่ลดความเสี่ยงเสียใจ ลดค่าใช้จ่ายระยะยาว เพราะน้องจะแข็งแรงกว่า และลดเรื่องบาปบุญต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย

12/08/2021

นอนน้อย แต่นอนน่ะ 🐰🐰😴😴

🐰 หนังท้องตึง หนังตาก็หย่อน 🐰       กระต่ายนอนเวลาไหน?  ☀️/🌛กระต่ายปกติจะนอนตอน ⛅️☀️ "กลางวัน" หลับประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวั...
27/07/2021

🐰 หนังท้องตึง หนังตาก็หย่อน 🐰

กระต่ายนอนเวลาไหน? ☀️/🌛
กระต่ายปกติจะนอนตอน ⛅️☀️ "กลางวัน" หลับประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน น้องๆจะกระตือรือร้นช่วงพลบค่ำและใกล้รุ่ง และตื่นตอนกลางคืน 🌑🌝 ฉะนั้นน้องมักจะอยากเล่นกับเจ้าของในช่วงเวลาดังกล่าว

#กลางวันของีบนะฮับ

🐰🐰 นุดดดดด.. อันนี้คืองีบ ไม่ได้หลับจริงจังเลยยย 😆

15/07/2021

🐰 15 วัน ของไอต้าววววว 🐰

ตัวก็ประมาณนี้แหล่ะ ท่านผู้ช้มมมมมม ~~

🐰🐰 ดุ๊กดิ๊กๆ 🐰🐰

🐰 ไอต้าวแคระ วัย 15วัน 🐰 🎉✨  กระต่ายเด็กที่ยังอายุไม่ถึง 3 เดือน ควรให้อาหารเม็ดสำหรับกระต่ายเด็ก 🐰เสริมด้วยหญ้าแห้ง ที่...
15/07/2021

🐰 ไอต้าวแคระ วัย 15วัน 🐰

🎉✨ กระต่ายเด็กที่ยังอายุไม่ถึง 3 เดือน
ควรให้อาหารเม็ดสำหรับกระต่ายเด็ก 🐰

เสริมด้วยหญ้าแห้ง ที่ผลิตมาอย่างสะอาด เน้นหนักที่หญ้า 🍃(ต้นถั่ว) แห้งที่มีชื่อว่า Alfalfa 🌱เนื่องจากมีโปรตีนและแคลเซียมสูง

11/07/2021

🐰 อัพเดตไอต้าวววววววว แคระ 🐰

#แม่กระต่ายไม่ยอมให้ลูกกินนม 🥺🥺

เจ้าของสามารถป้อนนมสำเร็จรูป เช่น นมผงสำหรับลูกแมว🐱 หรือนมแพะ🐐 อุ่นๆ และค่อยๆป้อนที่ละน้อย

เมื่อลูก 📌อายุ 10 วัน จะเริ่มแทะกินอาหารอื่นบ้าง แต่คงยังต้องกินนมเป็นหลัก

📌อายุ 3-4 สัปดาห์ จะสนใจอาหารเม็ด และหญ้ามากขึ้น แต่ยังคงดูดนมอยู่

📌อายุ 6-8 สัปดาห์ จะหย่านมอย่างเด็ดขาด

🐰🏡
02/07/2021

🐰🏡

ทั้งนี้หากเจ้าของลองหาเพื่อนให้น้องแล้ว ควรสังเกตให้ดีว่าหลังจากที่เขาอยู่ด้วยกันแล้ว มีการทะเลาะ กัดกัน หรือขู่อีกฝ่ายไหม เนื่องจากบางตัวหวงเจ้าของมาก😁 และความไม่คุ้นชิน ทำให้เขาแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ได้ หากเจ้าของต้องการเลี้ยงสองตัวขึ้นไป แนะนำให้นำเขามาเลี้ยงด้วยกันตั้งแต่เด็ก เพื่อสร้างความคุ้นชินสำหรับเขาได้ค่ะ🥰🐰

“Snuffle” หวัดอันตราย น้องต่ายหายใจไม่ออก 😷 หากน้องกระต่ายของคุณมีอาการน้ำมูกไหล น้องอาจมีโอกาสเป็นโรคที่พบบ่อยในทางเดิน...
12/06/2021

“Snuffle” หวัดอันตราย น้องต่ายหายใจไม่ออก 😷

หากน้องกระต่ายของคุณมีอาการน้ำมูกไหล น้องอาจมีโอกาสเป็นโรคที่พบบ่อยในทางเดินหายใจส่วนบน (จมูก คอ อก) ที่เรียกว่า "snuffles"
😷 "Snuffles" อาการแรกๆจะคล้ายกับอาการของโรคหวัดในมนุษย์ แต่รุนแรงได้ใหญ่โตมากเมื่อเกิดกับน้อง เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อดวงตาและจมูก และบางครั้งอาจถึงปอด ผิวหนัง หรือแม้แต่หูชั้นกลางของกระต่าย คล้ายๆกับไซนัสอักเสบของคน มักเกิดจากแบคทีเรียบางชนิดที่เรียกว่า Pasteurella multocida แบคทีเรียแกรมลบ แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากแบคทีเรียชนิดอื่นได้

🐰 "Snuffles" เป็นโรคที่พบได้บ่อยในกระต่าย และสามารถพบได้ในกระต่ายมากถึง 10% อาการทางคลินิก เช่น น้ำมูกไหล สังเกตได้จากขนบนใบหน้าเปียก หรืออุ้งเท้าเปียก เนื่องจากน้ำมูกไหลแล้วน้องเช็ด ตาเปียกแฉะเหมือนร้องไห้ (น้องไม่ได้เศร้า กระต่ายไม่ร้องไห้ แต่ท่อน้ำตาน้องอุดตันหรือติดเชื้อ) น้ำมูกข้น สีขาวถึงเหลือง น้ำลายไหล จาม หายใจเร็ว หายใจไม่ออก หายใจมีเสียง ซึม ความอยากอาหารลดลง น้ำหนักลด มีการติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณหน้า (เพราะสกปรก) เมื่อลามไปติดเชื้อที่หูเหล่านี้อาจทำให้เกิด 'torticollis' (คอบิด) ศีรษะสั่น เกา ศีรษะเอียง มึนงง วิ่งเป็นวงกลม ไม่สามารถยืนได้ ในบางกรณีฝีอาจเกิดขึ้นใต้ผิวหนัง ในข้อต่อ หรือในอวัยวะภายใน

🤧 อาการของ snuffles นั้นแตกต่างกันไปตามกระต่ายแต่ละตัว สัญญาณที่พบบ่อยที่สุด คือ น้ำมูกไหล น้ำตาไหล และจาม โรคนี้สามารถลุกลามไปสู่การติดเชื้อร้ายแรง เช่น หายใจไม่ออก ภาวะโลหิตเป็นพิษและปอดบวม ซึ่งอันตรายหากเจ้าของไม่สังเกตแต่เนิ่นๆ เพราะกระต่ายสามารถซ่อนความเจ็บป่วยได้ดี

💧 **ข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวคือ บางครั้งกระต่ายมีจมูกเปียกเพราะวิธีที่น้องดื่มน้ำเลอะเทอะ ในกรณีนี้ ถ้ากระต่ายของคุณไม่แสดงสัญญาณอื่นๆของโรค แสดงว่ากระต่ายสบายดี**
👩‍⚕ เมื่อพาไปพบคุณหมอ คุณหมอจะตรวจร่างกาย อาจตามด้วย การถ่าย x-ray และการตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรค” การรักษาจะแตกต่างกันไปตามอาการทางคลินิกและความรุนแรง มักมีการให้ยาแก้อักเสบ ยาปฏิชีวนะเนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย อย่างไรก็ตาม เจ้าของไม่ควรให้ยาปฏิชีวนะกับน้องกระต่ายเอง เนื่องจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดปัญหาภายในกระเพาะและลำไส้ของกระต่ายที่และน้องอาจเสียชีวิตได้ และยาบางชนิดให้กับกระต่ายไม่ได้ จึงควรให้สัตวแพทย์เป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

💊 ด้วยการดูแลและการรักษาที่ดีพอ กรณีส่วนใหญ่ของ snuffles สามารถรักษาให้หายได้ อย่างไรก็ตาม บางกรณีถ้าน้องติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด มีปัญหาฟัน หรือการติดเชื้อที่กระดูกในจมูก อาจต้องใช้เวลาหลายเดือนในการรักษาและเจ้าของต้องใช้ความอดทนอย่างมาก
🐇 หากเจ้าของเพิ่งรับน้องมาใหม่หรือกำลังจะรับน้องมา ควรศึกษาหรือคุยกับร้านเกี่ยวกับประวัติสุขภาพว่าน้องเสี่ยงหรือไม่ กระต่ายตัวใดในร้านแสดงอาการหายใจไม่ออกไหม พาน้องมาบ้านหากมีกระต่ายเดิมอยู่แล้ว ควรแยกน้องออกดูอาการ ไม่ให้อยู่ร่วมกันทันทีเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อ ดีที่สุดคือพาน้องไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์

🧼 "Snuffles" เป็นโรคติดต่อได้ไวมากในกระต่าย จึงไม่ควรอนุญาตให้กระต่ายที่ติดเชื้อสัมผัสกระต่ายที่มีสุขภาพดี กรงหรือผ้าปูที่นอนที่สัมผัสกับกระต่ายที่ติดเชื้อควรได้รับการฆ่าเชื้ออย่างทั่วถึง ด้วยน้ำยาฟอกขาวอย่างอ่อน เจ้าของที่ดูแลน้องที่ติดเชื้อควรล้างมือและเสื้อผ้าก่อนที่จะเข้าไปหาน้องที่มีสุขภาพดี

🦠 “Pasteurella multocida” ที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของ snuffles เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติหรืออาจอาศัยในทางเดินหายใจของกระต่าย คือน้องอาจมีเชื้อแต่น้องแข็งแรงพอที่จะต้านทานเชื้อได้ แต่มักจะสร้างปัญหาในช่วงเวลาของความเครียด เจ็บป่วย หรือหากบ้านของพวกเขา สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม สกปรก หรือร้อน หนาวเกินไป (คล้ายกับคน จะมีอาการป่วยเมื่อเราอ่อนแอ ภูมิต่ำ)

💉 “Pasteurella multocida” คล้ายกับแบคทีเรียส่วนใหญ่คือ สามารถแพร่เชื้อสู่คนได้ แต่โดยปกติแล้วจะแพร่ผ่านบาดแผล เช่น ถูกกัดจึงจะเข้าสู่ระบบร่างกายเรา และเกิดการติดเชื้อ แต่คนเรามักไม่ค่อยเกิดโรคจากการติดเชื้อผ่านกระต่าย แบคทีเรียนี้สามารถทำให้เกิดโรคกับสัตว์อื่นๆ เช่น ไก่และสุกร ดังนั้นถ้ากระต่ายของคุณมีอาการ ก็ไม่ควรเล่นกับสัตว์อื่นจนกว่าจะหายดี หรือ จนกว่าน้องจะเริ่มได้ยาปฏิชีวนะ
สุดท้ายขอฝากไว้ว่า ไม่ใช่กระต่ายทุกตัวจะทนเชื้อได้เหมือนกัน ควรดูเป็นกรณีๆ บางตัวไม่กี่วันน้องก็อาการทรุด บางตัวแค่ไม่กี่ชั่วโมง ดังนั้นแอดขอแนะนำให้สังเกตดีๆ พาไปหาหมอเนิ่นๆ ให้น้องกินอาหารที่เหมาะสม และลดความเครียดในสภาพแวดล้อมของน้อง เพื่อเสริมสุขภาพจิตและกายที่ดี ให้น้องต่อสู้กับโรคไปพร้อมการรักษา หวัดกระต่ายไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เรื่องใหญ่นะคะ 😢

อ้างอิง:
1. https://vetmed.tamu.edu/news/pet-talk/a-case-of-the-snuffles/
2. https://www.pdsa.org.uk/taking-care-of-your-pet/pet-health-hub/symptoms/respiratory-infections-snuffles-in-rabbits
3. https://www.petcoach.co/article/snuffles-pasteurellosis/
4. https://bunnylady.com/snuffles-in-rabbits/
5. https://www.stortvet.com/category/Respiratory-problems-rabbits/
6. https://vethelpdirect.com/pet-health-library/condition-rabbit-snuffles/
7. https://wagwalking.com/rabbit/condition/snuffles-pasteurellosis
8. https://rabbitwelfare.co.uk/rabbit-health/illness/rabbit-snuffles/
9. https://www.medivet.co.uk/pet-care/pet-advice/cold-weather-care-for-rabbits/
10. http://www.bio.miami.edu/hare/sneezing.html
11. https://www.youtube.com/watch?v=9Fpgs4AAwPc

🐰 อันไหนควร ✔️ อันไหนไม่ควร❌                                                             1.  กระต่ายเป็นสัตว์กินพืช ผัก ...
01/06/2021

🐰 อันไหนควร ✔️ อันไหนไม่ควร❌

1. กระต่ายเป็นสัตว์กินพืช ผัก ผลไม้ 🥦🥬🌽
❌ไม่ควรให้กินขนมขบเคี้ยว ลูกอม เนื้อสัตว์ ของหมักดอง เพราะระบบย่อยอาหารเขาไม่เหมือนเราอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ

2. ❌ห้ามอาบน้ำตอนกลางคืนเด็ดขาด เวลาจะอาบน้ำให้ดูสภาพอากาศและเวลาเป็นสำคัญนะค่ะ ทุกครั้งที่อาบน้ำให้ไดร์ขนให้แห้งสนิททั้งตัวค่ะ
🐰 สำหรับกระต่ายเขาเป็นสัตว์ที่รักษาความสะอาดตัวเองเก่งมากอยู่แล้วหากไม่เลอะมากไม่ควรอาบให้ล้างแค่ส่วนที่เลอะก็พอ เพราะเส้นขนของกระต่ายนั้นละเอียดแห้งยากมาก

3. ❌ห้ามเอาพัดลมจ่อตลอดเวลา หากเห็นว่าร้อนให้เปิดพัดลมหงายหน้าขึ้นและส่ายไปมา เปิดหน้าต่างรับลมกว้าง ๆ ก็พอค่ะ
****หากนอนห้องแอร์อย่าพากระต่ายเข้า ๆ ออก ๆ ร้อนเย็น ๆ บ่อย ๆ ควรพาเขาเข้าไปในห้องตั้งแต่ยังไม่เปิดแอร์ แล้วเปิดแอร์ให้อากาศในห้องค่อย ๆ ปรับร่างกายเขาจะได้ค่อย ๆ ปรับตาม ควรวางไว้ในตำแหน่ง/ที่ไม่โดนแอร์เป่าโดยตรง มีผ้าคลุมกรงและมีบ้านโพรงไม้ให้เค้า เข้าไปนอนได้ยิ่งดีจ๊ะ

4. หมั่นดูพยากรณ์อากาศบ้าง เพราะจะได้กันฝนสาดเค้าได้ทันเวลา

5. อย่าเอาเขาไปเที่ยวเล่นนอกบ้านในเวลาตั้งแต่ 09.00-17.00 น.ในฤดูร้อน ไม่ควรมีมิตติ้งในฤดูนี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

6. หมั่นตรวจเช็คขวดน้ำทุกวันว่า น้ำไหลหรือรั่วหรือไม่ และล้างขวดน้ำสม่ำเสมอ ห้ามกินน้ำใส่ถ้วยเด็ดขาดนะ การกินน้ำเยอะเป็นเรื่องปกติถึงดีมากด้วย ร่างกายเขาจะได้ขับของเสียออกมาเยอะ ๆ

7. ช่วงที่อากาศร้อนตอนกลางวัน☀️🌤เขาจะไม่ค่อยกินอาหาร มักจะกินน้ำเยอะ ไม่ต้องตกใจมาก
ให้ใส่อาหารสดให้เขากินตอนกลางคืน🌛 เยอะหน่อยจะได้เก็บพลังงานไว้ใช้ในตอนกลางวัน

8. วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าหนูไม่สบายหรือเปล่าคือ ปกติเขาเป็นสัตว์กลางคืนจะกินอาหารตอนกลางคืนเยอะมาก หากวันไหนตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าอาหารและน้ำไม่ลดหรือลดน้อยมาก ๆ แสดงว่าผิดปกติให้รีบพาไปพบสัตว์แพทย์โดยด่วนที่สุดเท่าที่จะทำได้ 🚗💨

9. สถานที่เลี้ยงควรมีแสงสว่างเหมือนธรรมชาติที่สุด 🌱🪴🍃 กลางวันให้สว่างเขาจะได้นอนพักผ่อน กลางคืนให้มืดเค้าจะได้ออกมากินอาหาร และใช้ชิวิตตามธรรมชาติของเค้า อย่าพยายาม ไปฝืนธรรมชาตินะคะ

10. ในกรงห้ามปูหญ้าหรือขี้เลื่อยหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ให้เค้านอนจะดีที่สุดจ๊ะ เพราะอาจ ทำให้เกิดเชื้อราผิวหนังอักเสบเป็นฝีหนอง เศษฝุ่นเข้าตาหรือเข้าไปอุดตันในอวัยวะเพศ เป็นอันตรายที่บางคนมองข้าม

11. ถ้าไม่จำเป็นอย่าซื้อผักที่ตลาด ควรให้กินหญ้าที่ขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งทั้งสะอาด ประหยัด ปลอดภัย หรือให้ผักปลอดสารพิษ 🍃🥬🥕🌽 หรือล้างน้ำไหลผ่านเยอะ ๆ

12. แผล ฝี หนองไม่ใช่เรื่องอันตราย เมื่อพบเบื้องต้นให้ใช้น้ำเกลือล้างแผลและใส่ยาเบตาดีน แต่หากพบเป็นฝีก้อนใหญ่ให้รีบพาไปหาสัตวแพทย์ ให้คุณหมอกรีดหนองออกกินยา ไม่นานก็หาย

มาทำความรู้จักชนิดของหญ้ากระต่ายกันดีกว่า🌱: อัลฟาฟ่าและทิโมธี           ❓ เจ้าของทั้งหลายเคยสงสัยไหมว่าหญ้าแต่ละชนิดในท้...
20/05/2021

มาทำความรู้จักชนิดของหญ้ากระต่ายกันดีกว่า🌱: อัลฟาฟ่าและทิโมธี

❓ เจ้าของทั้งหลายเคยสงสัยไหมว่าหญ้าแต่ละชนิดในท้องตลาดนั้นต่างกันอย่างไร และทำไมหญ้าหลักๆที่น้องกระต่ายโตต้องมีกินคือทิโมธี และน้องกระต่ายเด็กต้องเป็นหญ้าอัลฟาฟ่า วันนี้แอดมาคุยเรื่องเก่าเล่าใหม่ค่ะ
🐰 เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจวิธีการทำงานของลำไส้ของกระต่าย เนื่องจากระบบย่อยอาหารของกระต่ายถูกออกแบบมาให้กินเซลลูโลส ในรูปแบบของลำต้น ก้าน และใบพืชที่มีเส้นใย อาหารบดละเอียด น้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมากอาจทำให้ลำไส้ทำงานมากเกินไป ดังนั้นกุญแจสำคัญในการทำให้กระต่ายมีชีวิตและมีความสุขได้นานขึ้นคือการทำให้ทางเดินอาหารของพวกเขาทำงานได้ดี ด้วยความสมดุลของสารอาหาร
🌿 ส่วนประกอบหลักของอาหารของกระต่ายควรเป็นหญ้าแห้ง เพราะหญ้ามีไฟเบอร์สูง เป็นอาหารที่สำคัญที่สุดในการรักษาสุขภาพฟันและลำไส้ที่ดี เพราะหากน้องไม่ได้รับไฟเบอร์เพียงพอระบบย่อยอาหารจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายอาหารผ่านลำไส้ได้ดี และเนื่องจากฟันของกระต่ายงอกขึ้นตลอด ถ้าไม่ได้เคี้ยวหญ้าลับฟัน ฟันน้องจะไม่สึกหรอและอาจงอกยาวจนเกิดน้องไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ เจ็บปวดเป็นโรคตามมา
เกริ่นเรียบร้อย ต่อมาแอดเริ่มคุยเรื่องหญ้าแห้งที่เหมาะสมกันดีกว่า
🌱 อัลฟัลฟ่า (Alfalfa Hay)
อัลฟัลฟ่า จริงๆแล้วไม่ใช่หญ้า! ในความเป็นจริงอัลฟาฟ่าเป็นพืชตระกูลถั่ว อัลฟัลฟ่ามีโปรตีนสูงกว่าหญ้าแห้งอื่นๆมาก เป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับน้องที่กำลังเจริญเติบโต เพื่อช่วยพวกเขาเพิ่มน้ำหนัก นอกจากนี้อัลฟาฟ่ายังดีกับน้องหลังผ่าตัด หรือป่วย น้ำหนักน้อย เพราะมีโปรตีนที่จำเป็นในการเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของกระต่าย (ทั้งนี้ควรให้ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ในกระต่ายโต)
แต่เนื่องจากอัลฟัลฟ่ามีแคลเซียมสูงกว่าหญ้าแห้งอื่นๆมาก (สูงถึง 1.5% เมื่อเทียบกับหญ้าทั่วไปจะมีประมาณแค่ 0.5%) ดังนั้นจึงเป็นการดีที่สุด ที่จะหลีกเลี่ยงให้กระต่ายที่มีประวัติปัญหาเกี่ยวกับแคลเซียมส่วนเกิน เช่น น้องเคยมีปัญหานิ่วกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น การให้อัลฟาฟ่าจึงแนะนำให้กับน้องๆอายุไม่เกิน 6-7 เดือน และควรลดอัลฟาฟ่าจนไม่ให้อีก เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นนิ่วของน้อง
🌱 ทิโมธี

หญ้าทิโมธีเป็นหญ้ายอดนิยมนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นหญ้าที่ดีต่อน้องที่มีระบบย่อยอาหารบอบบาง มีปัญหาผิวหนัง ปัญหาท้องร่วง และปัญหาน้ำหนัก หญ้าทิโมธีให้ปริมาณเส้นใยที่ดีมาก เป็นหญ้าแห้งชนิดหยาบหนา ทิโมธีเฮย์มีเส้นใยสูงและโปรตีนต่ำซึ่งเป็นส่วนผสมที่สำคัญต่อสุขภาพ กระต่ายและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ ระดับโปรตีนและเส้นใยช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างถูกต้อง เพราะความอ่อนโยนของทิโมธีต่อท้องของน้องๆ จึงสามารถให้กระต่ายของคุณกินหญ้าชนิดนี้ได้อย่างไม่อั้น เหมาะสำหรับกระต่ายโต เนื่องจากปริมาณแคลเซียมต่ำ

คราวหน้าแอดจะกลับมาพร้อมกับหญ้าชนิดอื่นๆ อ่านวันละนิดจิตแจ่มใส...ที่จริงคือเหลือ content ให้แอดได้เขียนบ้างเถอะ เดี๋ยวเพจจะร้างนาน เพราะแอดคืดไม่ออกจะเขียนอะไรดี 😅 หวังว่าผู้อ่านจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อย กระตุ้นความทรงจำก็ยังดี แล้วพบกันใหม่โพสต์หน้าค่า

อ้างอิง
1. http://www.therabbithouse.com/diet/grass-hay.asp
2.https://www.vrra.org/wp-beta1/wp-content/uploads/bunphotos/Types-of-Rabbit-Hay.pdf
3. https://myhouserabbit.com/rabbit-care/hay-for-rabbits-the-basis-for-a-healthy-diet/
4. https://rabbit.org/hay-in-your-bunnys-diet/

🐰 โควิดซีซั่น3 มันรุนแรงมากกกก .. นุดดดดด ต้องดูแลตัวเองดีๆน๊าาาา  ซีซั่น 1 ซีซั่น 2 ยังผ่านมาได้  #ซีซั่นนี้บอกเลยว่า จ...
24/04/2021

🐰 โควิดซีซั่น3 มันรุนแรงมากกกก .. นุดดดดด ต้องดูแลตัวเองดีๆน๊าาาา

ซีซั่น 1 ซีซั่น 2 ยังผ่านมาได้ #ซีซั่นนี้บอกเลยว่า จิ๊บๆ

#เราจะผ่านไปด้วยกัน 🐰

23/04/2021

🐰 เวลานี้ ใครเขานอนกันละ นุดดดดด...

#ให้การนอนมันเป็นเรื่องของเด็ก ...

ความต่างระหว่างกระต่ายตัวผู้และตัวเมีย 🐰          การจะเลือกกระต่ายมาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว  ผู้เลี้ยงมือใหม่อาจจะลังเ...
23/04/2021

ความต่างระหว่างกระต่ายตัวผู้และตัวเมีย 🐰

การจะเลือกกระต่ายมาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ผู้เลี้ยงมือใหม่อาจจะลังเลว่าจะเลือกน้องเพศไหนดี นอกจากเรื่องของเพศ วันนี้แอดมาคุยความต่างในเชิงนิสัยและการดูแลของกระต่ายน้อยทั้ง 2 เพศกัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงทั้งมือใหม่และมือเซียน เผื่อจะได้เข้าใจน้องๆมากขึ้นอีกนิด
🐰 กระต่ายน้อยตัวผู้

1. ความหวงถิ่น: กระต่ายตัวผู้ในป่า ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในโพรงมากนัก น้องจะหาอาหาร ขยายอาณาเขต แข่งขันในวงอาณาเขตที่กว้างมากกว่า การหวงบ้านอาณาเขตจะน้อยกว่าตัวเมีย แต่ก็ไม่ใช่จะไม่มี กระต่ายตัวผู้บางตัวอาจหวงถิ่นสูงเป็นพิเศษก็ได้ และอาจโจมตีคนแปลกหน้าที่เข้ามาใกล้ โดยปกติอาการหวงถิ่นนี้จะหมดไปหลังทำหมัน

2. การทำหมัน: การทำหมันตัวผู้จะมีความเสี่ยงต่ำ ไม่ได้รุกรานขนาดผ่าตัด เป็นเพียงหัตถการขนาดเล็ก ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าทำหมันตัวเมีย การทำหมันตัวผู้ในประเทศไทยเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะในไทยงานวิจัยระบุกระต่ายตัวผู้มีอัตราการเป็นมะเร็งอัณฑะสูง (คุณหมอกระต่ายของแอดแนะนำมาเอง) การทำหมันต้องเป็นการผ่าตัดจากสัตวแพทย์สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษเท่านั้น

3. พฤติกรรม: พฤติกรรมของกระต่ายเป็นเรื่องเฉพาะตัว อาจจะให้แยกเป็นเพศลำบาก อย่างไรก็ตามตามสถิติ กระต่ายตัวผู้จะค่อนข้างเป็นมิตร ผ่อนคลาย สบายๆ ชอบปฏิสัมพันธ์

4. การฉี่สเปรย์: การฉี่สเปรย์เพื่อขยายอาณาเขตนั้นเกิดขึ้นได้ในกระต่ายทั้งสองเพศ แต่กระต่ายตัวผู้จะเป็นได้มากกว่าตัวเมีย ฉี่ของน้องนอกจากอาจมีกลิ่นแรงอาจมีส่วนผสมของแอมโมเนีย นอกจากเลอะเทอะแล้วยังกัดไม้ได้อีก หลังทำหมันน้องจะหยุดการสเปรย์ ยกเว้นว่าได้กลิ่นแปลกของสัตว์ใหม่ มนุษย์ใหม่ และหลังทำหมันกลิ่นฉี่น้องจะลดลง

5. การขึ้นขี่: กระต่ายตัวผู้มักขึ้นขย่ม ขึ้นขี่ทุกอย่าง 😂 เพื่อแสดงอาการความเป็นใหญ่ ข่มกระต่ายตัวอื่น แสดงความเป็นเจ้าของ (ไม่ใช่แค่อยากมีลูกอย่างเดียว) ตัวเมียก็สามารถแสดงอาการขึ้นขี่ได้เช่นกัน น้องตัวผู้ยิ่งไม่ได้ทำหมันจะยิ่งขี่เยอะ หลังทำหมันต้องรอฮอร์โมนลดลงก่อน แล้วการขึ้นขี่จะลดลงจนหายไป การขึ้นขี่ไม่ใช่สิ่งไม่ดี แต่อาจน่ารำคาญ หรืออันตรายหากน้องขึ้นขี่สิ่งมีมุมมีคม ขึ้นขี่กระต่ายตัวอื่นด้านหน้า (อาจโดนกัดอวัยวะเพศได้) ต้องระมัดระวัง และทำหมันดีกว่า
🐰 กระต่ายน้อยตัวเมีย

1. ความหวงถิ่น: กระต่ายตัวเมียในป่า ใช้ชีวิตอยู่ในโพรงเป็นส่วนใหญ่ ความหวงถิ่น หวงบ้านจะมีสูงมากกว่ากระต่ายตัวผู้ เพราะเป็นถิ่นเล็กๆของเธอ พฤติกรรมรุนแรงจะมีมากกว่าตัวผู้ น้องอาจกัด งับ หากมีใครเข้าไปในถิ่นของเธอ หลังการทำหมันพฤติกรรมหวงถิ่นจะลดลงไป แต่อาจจะไม่ได้หายไปจนหมด

2. การทำหมัน: การทำหมันตัวเมียจะมีความเสี่ยงสูงกว่า เป็นการผ่าตัด ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่า กระต่ายตัวเมียจะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมดลูกสูงหากไม่ได้ทำหมันถึง 60% จึงควรทำหมันในกระต่ายเมื่อคุณหมอแนะนำ ไม่ปล่อยให้อายุมากและเกิดมะเร็ง น้องจะต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดหลังทำหมัน เพื่อให้น้องฟื้นตัวสมบูรณ์ การทำหมันต้องเป็นการผ่าตัดจากสัตวแพทย์สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษเท่านั้น

3. พฤติกรรม: กระต่ายตัวเมียมักจะเป็นตัวของตัวเองกว่าตัวผู้ มีความดื้อ ความแกร่ง มักทำตัวเป็นเจ้าหญิงของบ้าน ทาสมนุดอาจต้องไปเอาใจ และเข้าหา เพราะน้องอาจจะเข้าหามนุษย์น้อยกว่าน้องตัวผู้ แต่ถ้ามนุดชนะใจองค์หญิงน้อย เธอก็อาจจะเป็นเจ้าหญิงที่ทำตัวน่ารัก น่าเอ็นดู กระต่ายตัวเมียที่รักคุณมักจะเลียมือ เลียแขนคุณ หรือเสื้อผ้าของคุณ เพื่อแสดงความรัก

4. การขุด: ในธรรมชาติ กระต่ายตัวเมียจะเป็นฝ่ายขุดรัง ดูแลบ้าน ดังนั้นน้องจะขุดๆๆ มากกว่าน้องตัวผู้ ทั้งพรม กระดาษลัง กล่อง พื้นไม้ น้องขุดหมด ดังนั้นอาจเรียกได้ว่ามีอัตราการทำลายล้างสูง เจ้าของจึงควรเตรียมรับมือเรื่องนี้ให้ดี ด้วยการป้องกันเฟอร์นิเจอร์ หาของให้น้องขุด (ทำกระบะขุดให้น้อง เป็นต้น) แม้ทำหมันพฤติกรรมนี้อาจไม่ลดลง ไม่ควรห้ามน้องเพราะมันเป็นธรรมชาติของเขา น้องจะเครียดได้

4. ความสะอาด: กระต่ายตัวเมียจะสะอาดและมีกลิ่นน้อยกว่าตัวผู้ น้องจะไม่ค่อยสเปรย์ และสามารถฝึกเข้าห้องน้ำได้ง่ายกว่าตัวผู้ บางแหล่งบอกว่าน้องตัวเมียถ่ายน้อยกว่าตัวผู้ และส่วนใหญ่จะตัวใหญ่กว่าได้
อย่างไรก็ตามนี่เป็นแค่ลักษณะนิสัยส่วนใหญ่ตามสถิติ กระต่ายบางตัวอาจมีนิสัยเฉพาะตัว ไม่ได้เป็นตามรายการข้างต้น กระต่ายทุกตัวมีความพิเศษต่างกัน ไม่ว่าจะนิสัยอย่างไรพวกเขาก็มีคุณค่าไม่ต่างกัน ยังน่ารักน่าทะนุถนอมกันเหมือนเดิม 🥰

อ้างอิง:
1. https://bunnylady.com/male-or-female/
2. https://www.cuteness.com/article/difference-between-male-female-rabbits
3. https://petkeen.com/male-vs-female-rabbits/

20/04/2021

🐰 ความสุขของน้อน = การได้กิน 🐰

🐰 อาการลมแดดในกระต่าย 🤒          อาการลมแดด 🌞 คือ อาการที่น้องกระต่ายมีอุณหภูมิร่างกายสูงจนระบบร่างกายน้องไม่สามารถรับได...
19/04/2021

🐰 อาการลมแดดในกระต่าย 🤒

อาการลมแดด 🌞 คือ อาการที่น้องกระต่ายมีอุณหภูมิร่างกายสูงจนระบบร่างกายน้องไม่สามารถรับได้ สืบเนื่องมาจากน้องระบายความร้อนออกจากร่างกายไม่ทัน อยู่ในที่อับไม่มีลมถ่ายเท หรือไม่มีที่ร่มให้หลบร้อน น้องน้ำหนักเยอะ น้องตัวโตจะเสี่ยงกับอาการนี้มากกว่าน้องตัวผอมๆเล็กๆ อาการนี้พบได้ง่ายในไทย เพราะเป็นประเทศเขตร้อน โดยเฉพาะในหน้าร้อนนี่เอง
เนื่องจากน้องกระต่ายไม่มีต่อมเหงื่อ อาศัยการระบายแบบแพร่กระจายความร้อนทางผิวหนังและหู เมื่อน้องมีอุณหภูมิร่างกายเกิน 40 องศาจัดว่าเป็นลมแดด ส่วนอาการลมแดดที่เจ้าของสังเกตได้ ได้แก่

1. หายใจหอบเหนื่อย: ปกติน้องจะหายใจประมาณ 30-60 ครั้งต่อนาที หากน้องหายใจถี่มากๆ และหายใจแรงอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกอาการเริ่มต้นของลมแดด

*อย่างไรก็ตาม น้องอาจหอบเหนื่อย หายใจแรงหลังการวิ่งเล่นมา ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่อาจทำให้เจ้าของกังวลได้ หากน้องพักซักหน่อยแล้วน้องหายใจปกติขึ้น เจ้าของก็สบายใจได้ว่าน้องแค่เหนื่อยจากวิ่งเล่นค่ะ*

**น้องอาจหายใจเร็วได้ในกรณีเครียด หวาดกลัวด้วยเช่นกัน เจ้าของต้องดูเป็นกรณีไปว่าน้องหายใจเร็วเพราะสิ่งใดค่ะ**

2. หัวใจเต้นเร็วมาก: ลองเอามือทาบตัวน้องบ่อยๆ เจ้าของอาจสังเกตได้ว่าหัวใจน้องเต้นปกติเป็นอย่างไร หากน้องเป็นลมแดดหัวใจจะเต้นเร็วผิดปกติ (ปกติคือ 150-300 ครั้งต่อนาที)

3. ไม่มีแรง ไม่ตอบสนอง: น้องอาจนอนคอพับ นอนไม่มีแรง ไม่วิ่งหนี ไม่ดิ้น เพราะระบบร่างกายน้องไม่ไหวแล้ว ห้ามสับสนกับน้องง่วงนะคะ น้องง่วงยังกินอาหารน้ำปกติ ลองเอาของว่างสุดโปรดให้ดู ถ้าน้องไม่แตะนี่ต้องรีบหาหมอด่วนๆ

4. หูแดง: เนื่องจากน้องกระต่ายใช้หูขับความร้อนเป็นหลัก เมื่อน้องร้อนมากๆ จะขับเลือดไปที่หูมากกว่าปกติ หูเลยอาจดูแดงได้

5. มีหยดน้ำตามจมูก: ในบางกรณีน้องจะพยายามขับความร้อนออกมาในรูปน้ำลาย น้ำมูก ช่วงบริเวณจมูกปากน้องอาจเปียกผิดปกติ ซึ่งเป็นอาการแสดงว่าน้องร้อนมากๆ ในบางรายอาจออกมาเป็นเลือด เพราะน้องเส้นเลือดฝอยแตกค่ะ

6. เดินเซ และชัก หมดสติ: เป็นอาการที่บ่งบอกว่าระบบร่างกายน้องไม่ไหวแล้ว หากไม่ถึงมือหมอน้องอาจเสียชีวิตได้ภายในหลักชั่วโมง

รักน้องจริง ❗ต้องพาไปพบสัตวแพทย์สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษทันทีค่ะ❗ แอดเคยคุยกับผู้เลี้ยงหลายท่าน ล่าสุดที่พาน้องไปตรวจสุขภาพก็มีผู้เลี้ยงชาญศึกเสียน้องอายุ 5 ขวบสุดรักไปกับโรคนี้เพราะไปหาหมอไม่ทัน โดยเฉพาะหากน้องเริ่มไม่กินไม่ตอบสนองแล้ว เห็นชัดว่าผิดปกติ แสดงว่าอาการหนักแล้วค่ะ

เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์เหยื่อ 🐰 ตามธรรมชาติจะไม่แสดงความอ่อนแอ ได้ไม่ถูกเลือกเป็นเหยื่อ (หากเทียบกับเหยื่อตัวอื่น) ถ้าเรายังเห็นว่าผิดปกติ จัดได้เลยว่าอาการรุนแรง น้องเก็บอาการไม่อยู่แล้วค่ะ

ที่นี้ระหว่างอุ้มน้องไปหาหมอ ทำอะไรได้บ้าง? 🚑 #วิธีปฐมพยาบาล อย่างแรกคือพาไปเข้าร่ม หลบร้อนก่อนเลย ให้อยู่ในที่มีร่ม อากาศถ่ายเท จากนั้นระหว่างไปหาหมอนั่งรถอากาศเย็นช่วยได้ นั่งมอเตอร์ไซค์? อาจพกขวดน้ำเย็น ขวดน้ำแข็งพันผ้าวางข้างๆน้องช่วยให้เย็น มีน้ำให้น้องกินเพราะน้องอาจขาดน้ำ คอยลูบน้ำบนหูน้อง ช่วยระบายความร้อน (ไม่ราด ไม่จุ่มหูน้องลงน้ำนะคะ คอยลูบเอา) เมื่อถึงมือคุณหมอน้องอาจต้องได้น้ำเกลือ ดูอาการตามระเบียบ

แอดฝากไว้นะคะ เพราะแอดจะบอกให้ปฐมพยาบาลแล้วปล่อยไว้ คือแอดเห็นมาหลายรายปล่อยไว้แต่ระบบร่างกายน้องฟื้นไม่ไหว น้องแข็งแรงดีๆนี่แหละจากไปในวันเดียวได้เพราะอาการนี้ เลยไม่แนะนำแค่ปฐมพยาบาลอย่างเดียวนะคะ ถึงมือคุณหมอจะดีที่สุด 🥰

ลมแดดนี่เกิดแล้วเรื่องใหญ่ ฉะนั้นป้องกันไว้ก่อนดีกว่าค่า เพื่อสุขภาพร่างกายของน้อง และสุขภาพจิตของเจ้าของเอง จะได้ไม่ต้องกังวลเป็นประจำ 😅

อ้างอิง:
1. https://www.pdsa.org.uk/taking-care-of-your-pet/looking-after-your-pet/rabbits/rabbit-heatstroke
2. https://myhouserabbit.com/rabbit-health/recognizing-heat-stroke-in-your-pet-rabbit/
3. https://www.vetstream.com/treat/lapis/freeform/heat-stroke
4. https://www.researchgate.net/publication/278158700_Heatstroke_in_rabbits

19/04/2021

🐰 : ฉันหิว ..

กินอิ่มก็ไป ไม่ต้องไล่ 😆

🤣 แบบทดสอบความเป็นทาสกระต่าย 🤣          แอดหลงไปเจอเค้าเล่นเกมคล้ายๆแบบนี้กันในเพจหนึ่ง เลยมาแปลงเป็นฉบับกระต่ายบ้านเรา....
18/04/2021

🤣 แบบทดสอบความเป็นทาสกระต่าย 🤣

แอดหลงไปเจอเค้าเล่นเกมคล้ายๆแบบนี้กันในเพจหนึ่ง เลยมาแปลงเป็นฉบับกระต่ายบ้านเรา...ผู้อ่านที่น่ารักทุกท่านมาเช็คตัวเองดูซิว่า คุณอยู่ระดับไหนกันเอ่ย 😁

💧น้ำสะอาดที่ขาดไม่ได้💧          หญ้าแห้งกับน้ำสะอาดเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในบ้านน้องกระต่าย เพราะหญ้าแห้งเป็นอาหารหลักที่อ่...
18/04/2021

💧น้ำสะอาดที่ขาดไม่ได้💧

หญ้าแห้งกับน้ำสะอาดเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในบ้านน้องกระต่าย เพราะหญ้าแห้งเป็นอาหารหลักที่อ่อนโยนต่อท้องของน้อง และน้ำสะอาดเป็นสิ่งที่ช่วยให้อวัยวะและร่างกายของน้องชุ่มชื้น ทำงานได้

น้ำเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้อย่างเด็ดขาด ไม่ว่าทั้งคนหรือกระต่ายเพราะน้ำเป็นสิ่งที่ทำให้เซลล์ในร่างกายชุ่มชื้น ทำงานได้ และรักษาเซลล์ไม่ให้ตาย อวัยวะต่างๆในร่างกายของน้องกระต่าย ต้องการน้ำสม่ำเสมอเพื่อให้ระบบทำงานต่อไป โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร หากขาดน้ำน้องจะไม่สามารถย่อยอาหารได้ดี การเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารจะลดลง และเกิดเป็นโรคร้ายได้ น้ำช่วยระบายความร้อน ทดแทนน้ำที่เสียไปในอาการร้อนได้ นอกจากนี้น้ำยังช่วยขับสารต่างๆออกขากร่างกายของน้อง เช่น แคลเซียมที่มีอยู่มากเกินไป เป็นต้น

ถึงแม้กระต่ายจะตัวเล็กแต่กินน้ำเยอะนะคะ❗️

ข้อมูลที่แอดไปค้นมา กระต่ายน้ำหนัก 1 กิโลกรัม สามารถกินน้ำได้มากเท่ากับสุนัขน้ำหนัก 9-10 กิโลกรัมเลยทีเดียว แต่ถ้าหากอยากคำนวณแบบเป็นทางการ โดยเฉลี่ยน้องกระต่ายควรดื่มน้ำที่ปริมาณ 50-150 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ทุกๆวันค่ะ เจ้าของก็ลองดูนะคะว่าน้องดื่มน้ำน้อย หรือมากเกินไปหรือไม่

พอรู้ว่าน้ำสำคัญมากๆ และปริมาณน้ำที่ควรให้แล้ว เรามาคุยเรื่องวิธีให้กันดีกว่า การให้น้ำกระต่ายก็มีแค่ 2 วิธีหลักๆ คือ ให้น้ำในถ้วย หรือให้น้ำจากกระบอกที่มีขายให้สัตว์เล็กทั่วไปตามท้องตลาด มาคุยข้อดีข้อเสียของทั้งสองแบบกันนะคะ

1. การให้น้ำในกระบอก
ข้อดี: สะดวกในการให้น้ำต่อเจ้าของ สามารถตรวจปริมาณน้ำที่น้องดื่มต่อวันได้แม่นยำ ไม่สูญเสียน้ำจากการหก การกระฉอก การระเหย หากภาชนะสะอาดน้ำจะสะอาดตลอดเวลา จึงไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย
ข้อเสีย: ไม่ธรรมชาติ การดื่มน้ำของน้องกระต่ายจามธรรมชาติคือการก้มดื่ม ไม่ได้แหงนคอจนบางรายดูลำบากเหมือนคอจะบิด 😂 กระบอกมีอายุขัย หากมีความสกปรกในตำแหน่งที่ทำความสะอาดไม่ได้ต้องเปลี่ยน ทำความสะอาดยากเมื่อเทียบกับถ้วย อาจมีการรั่วของน้ำ และอาจทำให้น้องทานน้ำได้น้อยเพราะปริมาณน้ำ ต่อการดื่มแต่ละครั้งน้อยกว่าถ้วย (เลียทีละหยด น้องก็เมื่อยได้ อาจไม่ดื่มนาน) หรือปริมาณของน้ำในขวดมีน้อยกว่าปริมาณน้ำที่น้องต้องการ (ดูปริมาณตามที่กล่าวมาในส่วนก่อนหน้านะคะ)
สรุปกระต่ายลำบากนิด เจ้าของสบายหน่อยกับการให้ด้วยกระบอก

2. การให้น้ำในถ้วย
ข้อดี: เป็นการดื่มน้ำตามสรีระทางธรรมชาติของกระต่าย น้องไม่ต้องเกร็งคอ เติมน้ำง่าย ทำความสะอาดง่าย ไม่แพงเพราะไม่ต้องเปลี่ยนถ้วยบ่อย น้องดื่มน้ำได้เร็วหรือช้า มากหรือน้อยตามที่ต้องการ
ข้อเสีย: สกปรกไว อาจต้องให้หลายถ้วยต่อวัน และเปลี่ยนน้ำเมื่อมีสิ่งสกปรกตกลงไป น้องอาจลาก คว่ำถ้วยทำให้น้ำกระฉอกหรือหกได้
สรุปกระต่ายสบายใจ เจ้าของเหนื่อยหน่อยกับการให้ด้วยถ้วย

สุดท้ายขอย้ำว่าน้ำที่ให้ต้องเป็นน้ำสะอาดนะคะ น้ำที่เราดื่มกันค่ะ มิใช่น้ำประปานะ 😂 เจ้าของทุกท่านลองเอาไปพิจารณาดูนะคะว่าการให้น้ำน้องๆ ให้ปริมาณเหมาะสมไหม และให้อย่างไร มีการพัฒนาได้อีกไหม เพื่อประโยชน์ต่อน้องกระต่ายของเราค่ะ

อ้างอิง:
1. https://rabbitwelfare.co.uk/rabbit-care-advice/rabbit-diet/rabbit-diet-water/
2. https://petcentral.chewy.com/rabbits-need-water/
3. https://www.rabbitholehay.com/blogs/rabbit-hole-hay-blog/should-i-have-my-rabbit-use-a-water-bowl-or-a-water-bottle
4. https://www.mypetneedsthat.com/what-do-rabbits-drink/

ป้องกันลมแดดในกระต่าย ☀🔥☀          เข้าสู่เดือนเมษา เวลาร้อนสุดๆของปี 🥵 แอดเลยต้องมาเขียนเรื่องลมแดด เพราะช่วงนี้เป็นช่ว...
17/04/2021

ป้องกันลมแดดในกระต่าย ☀🔥☀

เข้าสู่เดือนเมษา เวลาร้อนสุดๆของปี 🥵 แอดเลยต้องมาเขียนเรื่องลมแดด เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่อากาศร้อนมาก และน้องจะเสี่ยงกับอาการนี้มากที่สุดค่ะ และเจ้าของควรระวังเพราะอาการลมแดดนี้ อันตรายถึงชีวิตน้องเลยทีเดียว

กระต่ายเป็นสัตว์ที่อ่อนแอต่ออากาศร้อน เนื่องจากน้องไม่มีต่อมเหงื่อ กระต่ายจึงระบายความร้อนจากร่างกายได้ไม่ดีเหมือนมนุษย์เราๆ น้องมีอวัยวะน้อยมากเทียบกับมนุษย์ที่เอาไว้ระบายความร้อน เช่น การใช้โครงสร้างไซนัสของเค้า ร่วมกับการระบายความร้อนออกทางใบหู และใช้การหายใจเร็วๆ รวมถึงน้องบางพันธุ์มีขนยาว หรือตัวโตทำให้ระบายความร้อนอย่างรวดเร็วยากขึ้นไปอีก

เทียบกับคนคงเหมือนเราใส่เสื้อกันหนาว ไปรับอากาศร้อน เราก็เป็นลมได้นะ แต่เป็นลมในกระต่ายจะอันตรายได้ถึงชีวิตเค้าเลย ถามคุณหมอทั้งหลาย มักจะพบอาการลมแดดในกระต่าย วันละหลายตัวเลยทีเดียว และบางรายคุณหมอก็ไม่สามารถช่วยน้องไว้ได้ทัน 😔
🤍
จริงๆแล้วสภาพอากาศที่เหมาะกับน้องนั้นคืออุณหภูมิประมาณ 15-20 องศาเซลเซียส ถือว่าเป็นอุณหภูมิห้องแอร์ในประเทศไทย เพราะอุณหภูมิห้องคงเป็นไปได้ยากที่จะต่ำขนาดนี้หากไม่ใช่หน้าหนาว ตามธรรมชาติน้องจะขุดรู อยู่ในโพรงดินซึ่งจะมีอากาศที่เย็นกว่าบนดิน แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในบ้าน เจ้าของทำอะไรได้บ้างล่ะที่จะช่วยทำให้น้องอยู่สบาย และไม่เสี่ยงเป็นลมแดด?

1. เลี้ยงในห้องแอร์ 🆒 : ตรงๆเลยค่ะ เลี้ยงแบบคุณหนู แบบไข่ในหิน ในห้องแอร์น้องจะปลอดภัยจากภาวะลมแดดในหน้าร้อนแน่นอน ข้อเสียคือเปลืองค่าไฟค่ะ

2. เลี้ยงในพื้นที่โล่ง มีร่ม มีลมถ่ายเท 🏡: หากเลี้ยงในห้องแอร์ไม่ได้ ก็ควรเลี้ยงในที่มีลมถ่ายเท ไม่ร้อนอบอ้าว และมีร่มให้น้องหลบแดด

3. มีน้ำสะอาดตลอดเวลา 💧: การดื่มน้ำช่วยน้องระบายความร้อนได้ ถ้าเจ้าของใจดีหน่อยหย่อนน้ำแข็งก้อนเล็กๆลงไป ให้น้องกินน้ำเย็นได้ชื่นใจ

4. พื้นกระเบื้อง หินก็ช่วยได้ 🔶: พื้นพวกนี้ค่อนข้างเก็บอุณหภูมิเย็นๆ ให้น้องได้นอนพึ่งพุง ระบายความร้อนในหน้าร้อนได้ดีทีเดียว

5. แปรงขน ตัดขน ✂: แปรงขนร่วงออก ตัดขนน้องให้สั้นก็ช่วยเรื่องระบายความร้อนได้ เพราะน้องขนยาวจะระบายความร้อนได้ไม่ดีเท่าขนสั้น

6. ทำให้หูน้องเย็น 🐰: สเปรย์น้ำเย็นเบาๆลงบนหูน้อง ช่วยให้หูน้องเย็นและระบายความร้อนได้ดีขึ้น

❗️ ทั้งนี้ห้ามเอาน้ำราด ห้ามเอาหูน้องจุ่มน้ำ ห้ามอาบน้ำ เพราะจะเสี่ยงต่อ ภาวะช็อกเนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ช็อกเพราะอุณหภูมิต่ำ เสี่ยงเป็นโรคหู และโรคผิวหนังได้ ❗️

7. คลุมบ้านด้วยผ้าบางๆชื้นๆ ⛱: หากน้องอยู่ในบ้านที่เราสามารถคลุมผ้าได้ อาจใช้ผ้าบางๆ ชื้นน้ำเย็นคลุมในส่วนหนึ่งเพื่อให้น้องมีร่มและได้รับไอเย็นจากผ้า ทั้งนี้ควรคลุมแค่ส่วน/ด้านเดียว เพราะที่อยู่น้องควรมีอากาศถ่ายเทตลอดเวลาไม่อับ และผ้าไม่เปียกโชกจนน้ำหยดไหล

8. ล้างผักในน้ำกินเย็นๆ 🥦: น้องจะได้ทั้งน้ำและผัก (ต้องเป็นผักที่กระต่ายกินได้นะ ที่แอดเคยคุยไปแล้ว) และได้ความเย็นจากน้ำมาช่วยระบายร้อน

9. ลมเย็น 💨: ไม่ได้เลี้ยงในห้องแอร์ เจ้าของก็สามารถสร้างลมเย็นๆได้ เช่น วางน้ำแข็งไว้หน้าพัดลม ให้พัดลมเป่าผ่านไอเย็นไปหาน้อง (ทั้งนี้ ไม่ควรเป่าพัดลมจ่อน้องเดี๋ยวเป็นหวัด ควรมีระยะห่างเหมาะสม) หรือเจ้าของอาจเอาขวดน้ำแช่ช่องฟรีซเป็นน้ำแข็งมาวางข้างๆน้อง น้องจะได้นอนอิง หรืออาจเลียน้ำที่ละลายเกาะตามขวดกินได้

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดอาจไม่ใช่อุปกรณ์ทั้งหลายที่เจ้าของเตรียมให้น้องดิบดี แต่เป็นตัวเจ้าของเองที่ต้องคอยเฝ้าดูแลหากน้องมีอาการผิดปกติ หายใจเร็วเหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร ฯลฯ เพราะสุดท้ายแล้วเมื่อน้องล้มป่วยจริงๆ การเฝ้าดูแลใกล้ชิด ทำให้พาน้องไปรักษาได้ทันท่วงทีนั้นจำเป็นต่อชีวิตน้องมากที่สุดค่ะ วันนี้ฝากเรื่องวิธีป้องกันลมแดดไว้เท่านี้ แล้วมาต่อคราวหน้า ขอบคุณค่า

อ้า่งอิง:
1. https://www.researchgate.net/publication/278158700_Heatstroke_in_rabbits
2. https://myhouserabbit.com/rabbit-health/recognizing-heat-stroke-in-your-pet-rabbit/
3. https://www.pdsa.org.uk/taking-care-of-your-pet/looking-after-your-pet/rabbits/rabbit-heatstroke
4. https://www.medivet.co.uk/pet-care/pet-advice/heatstroke-in-rabbits/

ที่อยู่

Prachuap Khiri Khan
77000

เบอร์โทรศัพท์

+66805382043

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ I'm rabbitผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


ผู้เพาะพันธุ์สัตว์เลี้ยง อื่นๆใน Prachuap Khiri Khan

แสดงผลทั้งหมด