Vetprima

Vetprima เพราะเราเชื่อมั่นว่าโภชนาการที่ดีและเหมาะสมคือการป้องกันโรคที่ดีที่สุด

เรียกได้ว่าจบกันไปอย่างสมบูรณ์กับ 𝗩𝗘𝗧𝗣𝗥𝗜𝗠𝗔 𝗚𝗥𝗔𝗡𝗗 𝗦𝗘𝗠𝗜𝗡𝗔𝗥 𝟮𝟬𝟮𝟰 ในหัวข้อ “ 𝗙𝗲𝗹𝗶𝗻𝗲 𝗚𝗜 𝗗𝗶𝘀𝗲𝗮𝘀𝗲 : 𝗘𝗺𝗲𝗿𝗴𝗶𝗻𝗴 𝗖𝗼𝗻𝗰𝗲𝗽𝘁 𝗶𝗻 𝗗𝗶𝗮𝗴𝗻𝗼𝘀...
18/05/2024

เรียกได้ว่าจบกันไปอย่างสมบูรณ์กับ 𝗩𝗘𝗧𝗣𝗥𝗜𝗠𝗔 𝗚𝗥𝗔𝗡𝗗 𝗦𝗘𝗠𝗜𝗡𝗔𝗥 𝟮𝟬𝟮𝟰 ในหัวข้อ “ 𝗙𝗲𝗹𝗶𝗻𝗲 𝗚𝗜 𝗗𝗶𝘀𝗲𝗮𝘀𝗲 : 𝗘𝗺𝗲𝗿𝗴𝗶𝗻𝗴 𝗖𝗼𝗻𝗰𝗲𝗽𝘁 𝗶𝗻 𝗗𝗶𝗮𝗴𝗻𝗼𝘀𝗶𝘀 𝗮𝗻𝗱 𝗧𝗿𝗲𝗮𝘁𝗺𝗲𝗻t ” ที่จัดขึ้นในวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ รร Novotel Siam Square

งานนี้พาคุณหมอมา update ทั้งการวินิจฉัยและการรักษาโรคระบบทางเดินอาหารในแมวกับ 3 กูรูตัวจริงเรื่องโรคระบบทางเดินอาหารและกับ 3 หัวข้อที่คุณหมออยากฟังกันมากที่สุดของปีนี้

🐈 𝗙𝗲𝗹𝗶𝗻𝗲 𝗖𝗵𝗿𝗼𝗻𝗶𝗰 𝗘𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆 : 𝘚𝘵𝘢𝘵𝘦-𝘰𝘧-𝘵𝘩𝘦-𝘢𝘳𝘵 𝘪𝘯 𝘥𝘪𝘢𝘨𝘯𝘰𝘴𝘵𝘪𝘤 𝘢𝘱𝘱𝘳𝘰𝘢𝘤𝘩 𝘢𝘯𝘥 𝘵𝘳𝘦𝘢𝘵𝘮𝘦𝘯𝘵
โดย น.สพ.ทศพล องค์วิเศษไพบูลย์
อว.สพ. สาขาอายุรศาสตร์ สัตวแพทย์ประจำศูนย์ต่อมไร้ท่อและทางเดินอาหาร คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

🐈‍⬛ 𝗙𝗲𝗹𝗶𝗻𝗲 𝗖𝗵𝗿𝗼𝗻𝗶𝗰 𝗣𝗮𝗻𝗰𝗿𝗲𝗮𝘁𝗶𝘁𝗶𝘀 : 𝘞𝘩𝘢𝘵 𝘥𝘰 𝘸𝘦 𝘳𝘦𝘢𝘭𝘭𝘺 𝘬𝘯𝘰𝘸 𝘢𝘣𝘰𝘶𝘵 𝘧𝘦𝘭𝘪𝘯𝘦 𝘤𝘩𝘳𝘰𝘯𝘪𝘤 𝘱𝘢𝘯𝘤𝘳𝘦𝘢𝘵𝘪𝘵𝘪𝘴?
โดย อ.สพ.ญ.ดร.ม.ล.นฤดี เกษมสันต์
อว.สพ.อายุรศาสตร์ อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

🐈 𝗖𝗵𝗿𝗼𝗻𝗶𝗰 𝗖𝗵𝗼𝗹𝗮𝗻𝗴𝗶𝘁𝗶𝘀 𝗮𝗻𝗱 𝗧𝗿𝗶𝗮𝗱𝗶𝘁𝗶𝘀 : 𝘛𝘳𝘶𝘵𝘩 𝘢𝘯𝘥 𝘤𝘰𝘯𝘴𝘦𝘲𝘶𝘦𝘯𝘤𝘦𝘴
โดย ผศ.สพ.ญ.ดร.สถิตภัค อัศวราชันย์
อว.สพ.อายุรศาสตร์ Diplomate Asian College of Veterinary Internal Medicine (internal medicine)
อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภายในงานยังมีการเปิดตัวอาหารสูตรระบบทางเดินอาหาร สูตรใหม่ของ 𝗩𝗘𝗧𝗣𝗥𝗜𝗠𝗔(เวทพรีม่า)ที่มาพร้อมทั้งสูตรสำหรับสุนัขและสูตรสำหรับแมว คือ 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢(𝗚𝗮𝘀𝘁𝗿𝗼𝗶𝗻𝘁𝗲𝘀𝘁𝗶𝗻𝗮𝗹 𝗙𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮)

อาหารใน series 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 ทุกตัวจะมี 𝗞𝗲𝘆 𝗡𝘂𝘁𝗿𝗶𝘁𝗶𝗼𝗻𝗮𝗹 𝗙𝗮𝗰𝘁𝗼𝗿𝘀 ที่สำคัญและมีประโยนช์ต่อระบบทางเดินอาหาร 4 อย่าง คือ

1. 𝗛𝗶𝗴𝗵𝗹𝘆 𝗱𝗶𝗴𝗲𝘀𝘁𝗶𝗯𝗹𝗲 : อัตราการย่อยได้สูง
2. 𝗟 - 𝗚𝗹𝘂𝘁𝗮𝗺𝗶𝗻𝗲 : เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์เยื่อบุลำไส้ (enterocyte)
3. 𝗣𝗿𝗲𝗯𝗶𝗼𝘁𝗶𝗰 : ส่งเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหารและกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
4. 𝗔𝗻𝘁𝗶𝗼𝘅𝗶𝗱𝗮𝗻𝘁𝘀 : ช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุลำไส้

🐈🐈‍⬛ 𝗙𝗲𝗹𝗶𝗻𝗲 𝗚𝗮𝘀𝘁𝗿𝗼𝗶𝗻𝘁𝗲𝘀𝘁𝗶𝗻𝗮𝗹 𝗙𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 : สูตรระบบทางเดินอาหารสำหรับแมว ประกอบไปด้วย :
1. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗛𝘆𝗽𝗼𝗮𝗹𝗹𝗲𝗿𝗴𝗲𝗻𝗶𝗰 𝗳𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 : ใช้ single protein จากปลาและ single carbohydrate จากข้าว เหมาะสำหรับแมวที่แพ้ง่าย เช่น แพ้โปรตีนจากไก่ หมู วัว เป็นต้น
2. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗛𝘆𝗱𝗿𝗼𝗹𝘆𝘇𝗲𝗱 𝗽𝗿𝗼𝘁𝗲𝗶𝗻 𝗳𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 เป็นสูตรไฮโดรไลซ์โปรตีนที่พัฒนาความน่ากินให้สูงขึ้น แมวยอมรับอาหารง่ายขึ้นและมีอัตราการย่อยได้สูงสุด
3. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗳𝗼𝗿 𝗞𝗶𝘁𝘁𝗲𝗻 เป็นสูตรที่พัฒนาสำหรับลูกแมวที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะ เช่น ลูกแมวที่ติดเชื้อพาร์โวไวรัสหรือแบคทีเรียเป็นต้น

🦮🐕‍🦺 𝗖𝗮𝗻𝗶𝗻𝗲 𝗚𝗮𝘀𝘁𝗿𝗼𝗶𝗻𝘁𝗲𝘀𝘁𝗶𝗻𝗮𝗹 𝗙𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 : สูตรระบบทางเดินอาหารสำหรับสุนัข ประกอบไปด้วย :
1. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗟𝗼𝘄 𝗙𝗮𝘁 : ใช้ single protein จากเป็ดเหมาะสำหรับสุนัขที่ต้องจำกัดปริมาณไขมันในอาหารร่วมกับภาวะแพ้โปรตีน จากไก่ หมู วัว เช่นในราย PLE with food allergy เป็นต้น
2. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗛𝘆𝗱𝗿𝗼𝗹𝘆𝘇𝗲𝗱 𝗽𝗿𝗼𝘁𝗲𝗶𝗻 𝗳𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 เป็นสูตรไฮโดรไลซ์โปรตีนที่พัฒนาความน่ากินให้สูงขึ้นและมีอัตราการย่อยได้สูงสุด
3. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗳𝗼𝗿 𝗣𝘂𝗽𝗽𝘆 เป็นสูตรที่พัฒนาสำหรับลูกสุนัขที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะ เช่น ลูกสุนัขที่ติดเชื้อพาร์โวไวรัสหรือแบคทีเรียเป็นต้น

📍คุณหมอที่สนใจสั่งซื้อสินค้าสามารถติดต่อผู้แทนขายบริษัท Unovet ในเขตของท่านหรือติดต่อที่เบอร์ 📞02-522-7041-2 บริษัทยูโนเวท เพ็ทแคร์ จำกัด
[email protected]

สามารถติดตามงานสัมมนาดีๆจาก VETPRIMA ได้อีกเรื่อยๆทางเพจเวทพรีม่านะครับ 😊

𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢(𝗚𝗮𝘀𝘁𝗿𝗼𝗶𝗻𝘁𝗲𝘀𝘁𝗶𝗻𝗮𝗹 𝗙𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮) อาหารสูตรระบบทางเดินอาหาร สูตรใหม่ของ 𝗩𝗘𝗧𝗣𝗥𝗜𝗠𝗔 ที่มาพร้อมทั้งสูตรสำหรับสุนัขและสำหรับ...
15/05/2024

𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢(𝗚𝗮𝘀𝘁𝗿𝗼𝗶𝗻𝘁𝗲𝘀𝘁𝗶𝗻𝗮𝗹 𝗙𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮)
อาหารสูตรระบบทางเดินอาหาร สูตรใหม่ของ 𝗩𝗘𝗧𝗣𝗥𝗜𝗠𝗔 ที่มาพร้อมทั้งสูตรสำหรับสุนัขและสำหรับแมว 🦮🐈

อาหารใน DIGESTRO series จะมี 𝗞𝗲𝘆 𝗡𝘂𝘁𝗿𝗶𝘁𝗶𝗼𝗻𝗮𝗹 𝗙𝗮𝗰𝘁𝗼𝗿𝘀 ที่สำคัญและมีประโยนช์ต่อระบบทางเดินอาหาร 4 อย่าง ได้แก่

1. 𝗛𝗶𝗴𝗵𝗹𝘆 𝗱𝗶𝗴𝗲𝘀𝘁𝗶𝗯𝗹𝗲 : มีอัตราการย่อยได้สูง ร่างกายดูดซึมสารอาหารไปใช้ง่าย
2. 𝗟 - 𝗚𝗹𝘂𝘁𝗮𝗺𝗶𝗻𝗲 : แอล-กลูตามีน คือ กรดอะมิโนจำเป็นที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์เยื่อบุลำไส้โดยเฉพาะในสุนัขและแมวที่มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร
3. 𝗣𝗿𝗲𝗯𝗶𝗼𝘁𝗶𝗰 : พรีไบโอติก ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหารและกระตุ้นภูมิคุ้มกันของลำไส้
4. 𝗔𝗻𝘁𝗶𝗼𝘅𝗶𝗱𝗮𝗻𝘁𝘀 : ช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุลำไส้และอวัยวะภายในระบบทางเดินอาหาร

🐈 𝗙𝗲𝗹𝗶𝗻𝗲 𝗚𝗮𝘀𝘁𝗿𝗼𝗶𝗻𝘁𝗲𝘀𝘁𝗶𝗻𝗮𝗹 𝗙𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 : สูตรระบบทางเดินอาหารสำหรับแมว ประกอบไปด้วย 3 สูตร ได้แก่
1. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗛𝘆𝗽𝗼𝗮𝗹𝗹𝗲𝗿𝗴𝗲𝗻𝗶𝗰 𝗳𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 : สูตร single protein จากปลาและ single carbohydrate จากข้าว เหมาะสำหรับแมวที่แพ้ง่าย ท้องเสียบ่อยและแมวที่แพ้โปรตีนจากไก่ หมู วัว เป็นต้น

2. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗛𝘆𝗱𝗿𝗼𝗹𝘆𝘇𝗲𝗱 𝗽𝗿𝗼𝘁𝗲𝗶𝗻 𝗳𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 สูตรไฮโดรไลซ์โปรตีนที่มีโปรตีนโมเลกุลเล็ก สำหรับแมวที่แพ้โปรตีนโดยเฉพาะ ใช้สำหรับแมวที่แพ้โปรตีนในอาหารและมีปัญหาโรคผิวหนังหรือระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น

3. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗳𝗼𝗿 𝗞𝗶𝘁𝘁𝗲𝗻 เป็นสูตรที่พัฒนาสำหรับลูกแมวที่มีปัญหาทางเดินอาหารโดยเฉพาะ ย่อยง่ายและช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น ในเคสลูกแมวท้องเสียที่ติดเชื้อพาร์โวไวรัสหรือแบคทีเรียเป็นต้น

🦮 𝗖𝗮𝗻𝗶𝗻𝗲 𝗚𝗮𝘀𝘁𝗿𝗼𝗶𝗻𝘁𝗲𝘀𝘁𝗶𝗻𝗮𝗹 𝗙𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 : สูตรระบบทางเดินอาหารสำหรับสุนัข ประกอบไปด้วย :
1. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗟𝗼𝘄 𝗙𝗮𝘁 : สูตร single protein จากเป็ดเหมาะสำหรับสุนัขที่ต้องจำกัดปริมาณไขมันในอาหารร่วมกับภาวะแพ้โปรตีนจากไก่ หมู วัว เป็นต้น

2. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗛𝘆𝗱𝗿𝗼𝗹𝘆𝘇𝗲𝗱 𝗽𝗿𝗼𝘁𝗲𝗶𝗻 𝗳𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 สูตรไฮโดรไลซ์โปรตีนที่มีโปรตีนโมเลกุลเล็ก สำหรับสุนัขที่แพ้โปรตีนโดยเฉพาะ ใช้สำหรับสุนัขที่แพ้โปรตีนในอาหารและมีปัญหาโรคผิวหนังหรือระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น

3. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗳𝗼𝗿 𝗣𝘂𝗽𝗽𝘆 เป็นสูตรที่พัฒนาสำหรับลูกสุนัขที่มีปัญหาทางเดินอาหารโดยเฉพาะ ย่อยง่ายและช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น ในเคสลูกสุนัขท้องเสียที่ติดเชื้อพาร์โวไวรัสหรือแบคทีเรียเป็นต้น

📍คุณหมอที่สนใจสั่งซื้อสินค้าสามารถติดต่อผู้แทนขายบริษัท Unovet ในเขตของท่านหรือติดต่อที่เบอร์ 📞02-522-7041-2 บริษัทยูโนเวท เพ็ทแคร์ จำกัด
[email protected]

𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢(𝗚𝗮𝘀𝘁𝗿𝗼𝗶𝗻𝘁𝗲𝘀𝘁𝗶𝗻𝗮𝗹 𝗙𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮) อาหารในสูตรระบบทางเดินอาหาร สูตรใหม่ของ 𝗩𝗘𝗧𝗣𝗥𝗜𝗠𝗔 ที่มาพร้อมทั้งสูตรสำหรับสุนัขและสูตร...
15/05/2024

𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢(𝗚𝗮𝘀𝘁𝗿𝗼𝗶𝗻𝘁𝗲𝘀𝘁𝗶𝗻𝗮𝗹 𝗙𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮)
อาหารในสูตรระบบทางเดินอาหาร สูตรใหม่ของ 𝗩𝗘𝗧𝗣𝗥𝗜𝗠𝗔 ที่มาพร้อมทั้งสูตรสำหรับสุนัขและสูตรสำหรับแมว 🦮🐈

อาหารใน series DIGESTRO ทุกตัวจะมี 𝗞𝗲𝘆 𝗡𝘂𝘁𝗿𝗶𝘁𝗶𝗼𝗻𝗮𝗹 𝗙𝗮𝗰𝘁𝗼𝗿𝘀 สำคัญที่มีประโยนช์ต่อระบบทางเดินอาหาร 4 อย่าง คือ

1. 𝗛𝗶𝗴𝗵𝗹𝘆 𝗱𝗶𝗴𝗲𝘀𝘁𝗶𝗯𝗹𝗲 : มีอัตราการย่อยได้สูง
2. 𝗟 - 𝗚𝗹𝘂𝘁𝗮𝗺𝗶𝗻𝗲 : กรดอะมิโรจำเป็นที่แหล่งพลังงานของเซลล์เยื่อบุลำไส้ (enterocyte)
3. 𝗣𝗿𝗲𝗯𝗶𝗼𝘁𝗶𝗰 : ส่งเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหารและกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
4. 𝗔𝗻𝘁𝗶𝗼𝘅𝗶𝗱𝗮𝗻𝘁𝘀 : ช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุลำไส้

🐈 𝗙𝗲𝗹𝗶𝗻𝗲 𝗚𝗮𝘀𝘁𝗿𝗼𝗶𝗻𝘁𝗲𝘀𝘁𝗶𝗻𝗮𝗹 𝗙𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 : สูตรระบบทางเดินอาหารสำหรับแมว ประกอบไปด้วย :
1. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗛𝘆𝗽𝗼𝗮𝗹𝗹𝗲𝗿𝗴𝗲𝗻𝗶𝗰 𝗳𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 : ใช้ single protein จากปลาและ single carbohydrate จากข้าว เหมาะสำหรับแมวที่แพ้ง่าย ท้องเสียบ่อย เช่น แพ้โปรตีนจากไก่ หมู วัว เป็นต้น

2. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗛𝘆𝗱𝗿𝗼𝗹𝘆𝘇𝗲𝗱 𝗽𝗿𝗼𝘁𝗲𝗶𝗻 𝗳𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 เป็นสูตรไฮโดรไลซ์โปรตีนที่พัฒนาความน่ากินให้สูงขึ้น แมวยอมรับอาหารง่ายขึ้นและมีอัตราการย่อยได้สูง ใช้สำหรับแมวแพ้อาหารและมีปัญหาโรคผิวหนัง/ระบบทางเดินอาหาร

3. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗳𝗼𝗿 𝗞𝗶𝘁𝘁𝗲𝗻 เป็นสูตรที่พัฒนาสำหรับลูกแมวที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะ เช่น ลูกแมวท้องเสียที่ติดเชื้อพาร์โวไวรัสหรือแบคทีเรียเป็นต้น

🦮 𝗖𝗮𝗻𝗶𝗻𝗲 𝗚𝗮𝘀𝘁𝗿𝗼𝗶𝗻𝘁𝗲𝘀𝘁𝗶𝗻𝗮𝗹 𝗙𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 : สูตรระบบทางเดินอาหารสำหรับสุนัข ประกอบไปด้วย :
1. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗟𝗼𝘄 𝗙𝗮𝘁 : ใช้ single protein จากเป็ดเหมาะสำหรับสุนัขที่ต้องจำกัดปริมาณไขมันในอาหารร่วมกับภาวะแพ้โปรตีน จากไก่ หมู วัว เช่นในราย PLE with food allergy หรือในรายตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

2. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗛𝘆𝗱𝗿𝗼𝗹𝘆𝘇𝗲𝗱 𝗽𝗿𝗼𝘁𝗲𝗶𝗻 𝗳𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮 เป็นสูตรไฮโดรไลซ์โปรตีนที่พัฒนาความน่ากินให้สูงขึ้นและมีอัตราการย่อยได้สูง ใช้สำหรับสุนัขที่แพ้อาหารและมีปัญหาระบบทางเดินอาหาร / ผิวหนัง

3. 𝗗𝗜𝗚𝗘𝗦𝗧𝗥𝗢 𝗳𝗼𝗿 𝗣𝘂𝗽𝗽𝘆 เป็นสูตรที่พัฒนาสำหรับลูกสุนัขที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะ เช่น ลูกสุนัขท้องเสียที่ติดเชื้อพาร์โวไวรัสหรือแบคทีเรียเป็นต้น

📍คุณหมอที่สนใจสั่งซื้อสินค้าสามารถติดต่อผู้แทนขายบริษัท Unovet ในเขตของท่านหรือติดต่อที่เบอร์ 📞02-522-7041-2 บริษัทยูโนเวท เพ็ทแคร์ จำกัด
[email protected]

อาการท้องเสีย หรือ 𝗱𝗶𝗮𝗿𝗿𝗵𝗲𝗮 เป็นคำที่ใช้อธิบายอาการทางคลินิกในกรณีที่พบว่าอุจจาระของสัตว์ป่วยมีลักษณะนุ่ม หรือเหลวไม่เป็...
14/05/2024

อาการท้องเสีย หรือ 𝗱𝗶𝗮𝗿𝗿𝗵𝗲𝗮 เป็นคำที่ใช้อธิบายอาการทางคลินิกในกรณีที่พบว่าอุจจาระของสัตว์ป่วยมีลักษณะนุ่ม หรือเหลวไม่เป็นทรง เนื่องจากมีปริมาณของ water content ในอุจจาระเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งอาจมีความถี่ในการถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากกลไกทางพยาธิสรีรวิทยา (𝗽𝗮𝘁𝗵𝗼𝗽𝗵𝘆𝘀𝗶𝗼𝗹𝗼𝗴𝗶𝗰 𝗺𝗲𝗰𝗵𝗮𝗻𝗶𝘀𝗺𝘀) แบบใดแบบหนึ่งต่อไปนี้

𝟭. 𝗮𝗹𝘁𝗲𝗿𝗲𝗱 𝗶𝗻𝘁𝗲𝘀𝘁𝗶𝗻𝗮𝗹 𝗮𝗯𝘀𝗼𝗿𝗽𝘁𝗶𝗼𝗻 มักพบในสัตว์ป่วยที่มีภาวะ malassimilation ส่งผลให้มีการคงค้างของสารอาหารที่ย่อยไม่สมบูรณ์หรือดูดซึมไม่หมดอยู่ในโพรงลำไส้เป็นจำนวนมาก โดยสารอาหารที่คงค้างอยู่เหล่านี้จะมีคุณสมบัติเป็น osmotically active solutes ที่ทำให้มีการดึงน้ำไว้ในโพรงลำไส้มากขึ้น มักเรียกอาการท้องเสียจากกลไกนี้ว่าเป็น osmotic diarrhea

𝟮. 𝗮𝗹𝘁𝗲𝗿𝗲𝗱 𝗶𝗻𝘁𝗲𝘀𝘁𝗶𝗻𝗮𝗹 𝘀𝗲𝗰𝗿𝗲𝘁𝗶𝗼𝗻 เป็นผลสืบเนื่องจากการที่เยื่อบุลำไส้ถูกกระตุ้นด้วยสาร mediators ต่างๆ (เช่น สารในกลุ่ม enteric neuropeptides, inflammatory cell products, หรือ bacterial enterotoxins ฯลฯ) จึงทำให้มีการหลั่งของเหลวและ electrolytes จากเยื่อบุลำไส้ออกมาอยู่ในโพรงลำไส้เป็นปริมาณมาก อาจเรียกอาการท้องเสียจากกลไกนี้ว่า secretary diarrhea

𝟯. 𝗶𝗻𝗰𝗿𝗲𝗮𝘀𝗲𝗱 𝗺𝘂𝗰𝗼𝘀𝗮𝗹 𝗽𝗲𝗿𝗺𝗲𝗮𝗯𝗶𝗹𝗶𝘁𝘆 เป็นผลสืบเนื่องจากการเกิดพยาธิสภาพที่ทำให้ mucosal permeability ของเยื่อบุลำไส้มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ในรายของสัตว์ป่วยที่มีภาวะ ulcerative enteropathies, IBD หรือ intestinal neoplasia ฯลฯ ส่งผลให้ของเหลว รวมทั้ง electrolytes, โปรตีนขนาดใหญ่ และ/หรือเม็ดเลือดแดง มีการหลุดลอดผ่านชั้น mucosa ของเยื่อบุลำไส้ออกมาสู่โพรงลำไส้มากขึ้น

𝟰. 𝘂𝗹𝘁𝗲𝗿𝗲𝗱 𝗴𝘂𝘁 𝗺𝗼𝘁𝗶𝗹𝗶𝘁𝘆 เป็นกลไกของอาการท้องเสียที่เกิดขึ้นเนื่องจากลำไส้มีการเคลื่อนตัวที่ผิดไปจากปกติ (abnormal motility patterns) เช่น มีการเคลื่อนที่แบบ giant migrating contractions (GMCs) เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการเคลื่อนผ่านของ pancreaticobiliary secretions และ undigested content เข้าสู่ลำไส้มากขึ้น ส่งผลให้มีน้ำอยู่ในโพรงลำไส้เพิ่มมากขึ้น ฯลฯ

อาการท้องเสียในสัตว์ป่วยแต่ละรายอาจเป็นผลจากกลไกทางพยาธิสรีรวิทยาที่กล่าวถึงไปนี้เพียงแบบใดแบบหนึ่ง หรืออาจเกิดขึ้นจากกลไกมากกว่าหนึ่งแบบร่วมกันก็ได้ โดยกลไกทางพยาธิสรีรวิทยาเหล่านี้อาจเกิดขึ้นภายในลำไส้เล็กแล้วทำให้เกิดอาการท้องเสียแบบ 𝘀𝗺𝗮𝗹𝗹 𝗯𝗼𝘄𝗲𝗹 𝗱𝗶𝗮𝗿𝗿𝗵𝗲𝗮 หรือเกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่แล้วทำให้เกิดอาการท้องเสียแบบ 𝗹𝗮𝗿𝗴𝗲 𝗯𝗼𝘄𝗲𝗹 𝗱𝗶𝗮𝗿𝗿𝗵𝗲𝗮 หรือในบางครั้งอาจเกิดขึ้นร่วมกันในลำไส้ทั้งสองส่วน และทำให้เกิดการท้องเสียที่มีลักษณะเป็น 𝗺𝗶𝘅𝗲𝗱-𝗯𝗼𝘄𝗲𝗹 𝗱𝗶𝗮𝗿𝗿𝗵𝗲𝗮 ก็ได้ ทั้งนี้ พบว่าสัตว์ป่วยที่มีอาการท้องเสียเนื่องจากกลไกของ osmotic diarrhea และ secretary diarrhea มักแสดงอาการท้องเสียแบบ small bowel diarrhea ส่วนสัตว์ป่วยที่มีอาการท้องเสียเนื่องจาก increased mucosal permeability หรือ ultered gut motility อาจพบได้ทั้ง small bowel diarrhea และ large bowel dirarhea

อาการท้องเสียที่เป็น small bowel diarrhea อาจเกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาที่เป็น 𝗽𝗿𝗶𝗺𝗮𝗿𝘆 𝗚𝗜 𝗱𝗶𝘀𝗼𝗿𝗱𝗲𝗿𝘀 ซึ่งหมายถึงการมีรอยโรคหรือความผิดปกติเกิดขึ้นที่ลำไส้เอง หรืออาจเป็น 𝗲𝘅𝘁𝗿𝗮-𝗚𝗜 𝗰𝗮𝘂𝘀𝗲 𝗼𝗳 𝗱𝗶𝗮𝗿𝗿𝗵𝗲𝗮 คืออาการท้องเสียที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีโรคหรือความผิดปกติภายนอกระบบทางเดินอาหารที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของระบบทางเดินอาหารตามมา เช่น การขาด digestive enzymes จากตับอ่อนในภาวะ exocrine pancreatic insufficiency (EPI) ส่งให้การย่อยอาหารในลำไส้มีความผิดปกติไปและทำให้เกิดอาการท้องเสียตามมา ฯลฯ ส่วนอาการท้องเสียที่เป็น large bowel diarrhea นั้น มักเป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาที่เป็น 𝗽𝗿𝗶𝗺𝗮𝗿𝘆 𝗚𝗜 𝗱𝗶𝘀𝗼𝗿𝗱𝗲𝗿𝘀 เป็นหลัก

สัตว์ป่วยที่มีอาการท้องเสียแบบ 𝘀𝗺𝗮𝗹𝗹 𝗯𝗼𝘄𝗲𝗹 𝗱𝗶𝗮𝗿𝗿𝗵𝗲𝗮 มักมีลักษณะของอุจจาระและอาการแวดล้อมทางคลินิกที่แตกต่างกันกับสัตว์ป่วยที่มีอาการแบบ 𝗹𝗮𝗿𝗴𝗲 𝗯𝗼𝘄𝗲𝗹 𝗱𝗶𝗮𝗿𝗿𝗵𝗲𝗮 ดังข้อมูลที่แสดงในตารางที่ 1 ซึ่งการซักประวัติสัตว์ป่วยโดยละเอียดเกี่ยวกับลักษณะของอุจจาระ รวมทั้งความถี่ในการถ่ายอุจจาระ และอาการทางคลินิกอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และอาการเบ่งถ่าย ฯลฯ จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยวินิจฉัยแยกว่ากลไกซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องเสียเกิดขึ้นภายในลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับอายุ เพศ พันธุ์ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร การควบคุมปรสิตและการถ่ายพยาธิ ประวัติการป่วยหรือการมีโรคประจำตัวอื่นๆ และประวัติการได้รับยาสำหรับรักษาโรคต่างๆ รวมทั้งระยะเวลาในการเกิดอาการท้องเสียและอาการทางคลินิกอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย ก็เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการท้องเสียในสัตว์ป่วย

นอกจากการซักประวัติแล้ว ข้อมูลจากการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน เช่น การตรวจ CBC, การตรวจ serum chemistry panel, การตรวจระดับโปรตีน albumin และ globulin, การตรวจระดับ glucose และ electrolytes ในเลือด ฯลฯ ก็อาจมีส่วนช่วยในการช่วยวินิจฉัยแยกโรคที่เป็น extra-GI cause of diarrhea อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการประเมินสภาวะทางสุขภาพของสัตว์ป่วยได้อีกด้วย ส่วนการตรวจตัวอย่างอุจจาระโดยการทำ fresh f***l examination หรือ f***l cytology นั้น เป็นวิธีการที่มีความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) น้อย ดังนั้น หากผลตรวจไม่แน่ชัด ควรพิจารณาเลือกใช้การตรวจด้วยวิธีการอื่นที่มีความไวและความจำเพาะต่อการตรวจหา intestinal parasite และ infectious agent มากขึ้น เช่น การตรวจด้วยเทคนิค f***l floatation หรือ f***l sedimentation การตรวจด้วยชุดตรวจสำเร็จรูป หรือการตรวจด้วยวิธี PCR ฯลฯ ส่วนวิธีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมอื่นๆ ที่อาจพิจารณาเลือกตรวจตามความเหมาะสมสำหรับสัตว์ป่วยที่มีภาวะท้องเสียแต่ละราย มีดังนี้

• การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มีความจำเพาะในการวินิจฉัยโรคที่เป็น extra-GI cause of diarrhea เช่น การตรวจระดับ trypsin-like immunoreactivity (TLI) ในสัตว์ป่วยที่สงสัยภาวะ EPI หรือการทำ ACTH stimulation test ในสัตว์ป่วยที่สงสัยภาวะ hypoadrenocorticism ฯลฯ
• การตรวจระดับ serum cobalamin และ folate
• การตรวจด้วยเทคนิคภาพวินิจฉัย (diagnostic imaging) เช่น การทำ abdominal ultrasound หรือการทำ endoscopy
•การทำ intestinal biopsy เพื่อการตรวจทางจุลพยาธิวิทยา
นอกจากนี้

การพิจารณาใช้ทดลองรักษา (𝘁𝗿𝗲𝗮𝘁𝗺𝗲𝗻𝘁 𝘁𝗿𝗶𝗮𝗹) ด้วยการปรับเปลี่ยนอาหารหรือการใช้ยาบางชนิด ก็อาจเป็นส่วนหนึ่งของการวินิจฉัยโรคสำหรับสัตว์ป่วยบางรายที่มีข้อจำกัดในการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการที่มีความจำเพาะ

สัตว์ป่วยที่มีอาการท้องเสียแบบเฉียบพลัน (𝗮𝗰𝘂𝘁𝗲 𝗱𝗶𝗮𝗿𝗿𝗵𝗲𝗮) มักตอบสนองต่อการรักษาที่ไม่จำเพาะเจาะจง (𝗻𝗼𝗻-𝘀𝗽𝗲𝗰𝗶𝗳𝗶𝗰 𝘁𝗵𝗲𝗿𝗮𝗽𝘆) หรือบางรายอาจหายได้เอง แต่อย่างไรก็ดี อาจมีบางภาวะโรคที่ทำให้สัตว์ป่วยเกิดอาการท้องเสียแบบเฉียบพลันและมีอาการรุนแรง(𝗳𝘂𝗹𝗺𝗶𝗻𝗮𝘁𝗶𝗻𝗴 𝗮𝗰𝘂𝘁𝗲 𝗱𝗶𝗮𝗿𝗿𝗵𝗲𝗮)จนอาจเป็นเหตุของการเสียชีวิตได้ เช่น การติดเชื้อ parvovirus ฯลฯ ซึ่งสัตว์ป่วยในกลุ่มนี้ควรได้รับการรักษาแบบประคับประคองอาการอย่างเหมาะสมและมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ส่วนสัตว์ป่วยที่มีอาการท้องเสียแบบเรื้อรัง (𝗰𝗵𝗿𝗼𝗻𝗶𝗰 𝗱𝗶𝗮𝗿𝗿𝗵𝗲𝗮) มักต้องการแผนการรักษาที่มีความจำเพาะมากขึ้น ซึ่งการวินิจฉัยหาสาเหตุที่ถูกต้องจะช่วยให้การวางแผนการรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยบางรายอาจหายขาดจากโรคได้หลังจากได้รับการรักษา แต่ในบางรายอาจต้องได้รับการรักษาแบบจำเพาะไปตลอดชีวิต อย่างไรก็ดี พบว่าการจัดการอาหารที่มีความเหมาะสมกับภาวะโรคของสัตว์ป่วยแต่ละราย มักเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น

บทความโดย

อ.น.สพ.ดร.เสลภูมิ ไพเราะ
ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เอกสารอ้างอิง

Battersby IA. Acute diarrhea. In: Hall EJ, Williams DA, Kathrani A, editors. BSAVA Manual of Canine and Feline Gastroenterology. 3rd ed. BSAVA Publications; 2020. p. 83-86.

Luckschander-Zeller N. Chronic diarrhea. In: Hall EJ, Williams DA, Kathrani A, editors. BSAVA Manual of Canine and Feline Gastroenterology. 3rd ed. BSAVA Publications; 2020. p.87-91.

Maddison JE and McMahon L. Diarrhoea. In: Maddison JE, Volk HA, Church DB, editors. Clinical Reasoning in Small Animal Practice. 2nd ed. John Wiley & Sons Ltd; 2022. p.55-72.

Manchester AC. Diarrhea. In: Côté E, Ettinger SJ, Feldman EC, editors. Ettinger’s Textbook of Veterinary Internal Medicine. 9th ed. Philadelphia: Elsevier, Inc; 2024. p.865-875.

สัปดาห์ที่แล้วเราพูดถึง Feline chronic enteropathy กันไปแล้ว สัปดาห์นี้มาพูดถึง Canine chronic enteropathy กันบ้าง มาดูก...
13/03/2024

สัปดาห์ที่แล้วเราพูดถึง Feline chronic enteropathy กันไปแล้ว สัปดาห์นี้มาพูดถึง Canine chronic enteropathy กันบ้าง มาดูกันว่าภาวะ chronic enteropathy ในสุนัขจะแตกต่างกับในแมวบ้างมั้ย 🦮🐕‍🦺

𝗖𝗮𝗻𝗶𝗻𝗲 𝗰𝗵𝗿𝗼𝗻𝗶𝗰 𝗲𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆 หรือ 𝗖𝗵𝗿𝗼𝗻𝗶𝗰 𝗶𝗻𝗳𝗹𝗮𝗺𝗺𝗮𝘁𝗼𝗿𝘆 𝗲𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆(𝗖𝗜𝗘) คือภาวะที่สุนัขมีอาการของโรคระบบทางเดินอาหารเรื้อรังมากกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป โดยอาการที่พบในสุนัข CIE ได้แก่ ท้องเสีย อาเจียน น้ำหนักลดและความอยากอาหารลดลง (ในสุนัข CIE ยังพบท้องเสียเป็นอาการหลักๆ ต่างจากในแมว CIE ที่อาจเริ่มต้นความผิดปกติด้วย concurrent vomiting, น้ำหนักลดและท้องเสีย

CIE เป็นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่มากผิดปกติและเกี่ยวข้องกับหลายๆปัจจัย ทั้งความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (innate and adaptive immunity) ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติของ mucosal immunity ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อม เช่น อาหาร / gut microbiota ในสายพันธุ์ที่มีความไวต่อการเกิดโรค

𝗣𝗿𝗲𝘃𝗮𝗹𝗲𝗻𝗰𝗲 𝗮𝗻𝗱 𝘀𝘂𝗯𝗰𝗹𝗮𝘀𝘀𝗶𝗳𝗶𝗰𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻
• CIE สามารถวินิจฉัยได้จากอาการทางคลินิก, ผลตรวจทางพยาธิวิทยาและการตัดสาเหตุอื่นๆที่ไม่ใช่ออกไป (exclusion of other underlying causes)
• ความชุกของ CIE ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่คาดว่ามากกว่า 20 - 30% ของสุนัขที่มีอาการอาเจียน/ท้องเสีย
• สามารถพบ CIE ได้ในสุนัขทุกสายพันธุ์

ปัจจุบัน CIE ถูก subclassified โดยใช้การตอบสนองต่อการรักษา ได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

𝟭.𝗙𝗼𝗼𝗱-𝗿𝗲𝘀𝗽𝗼𝗻𝘀𝗶𝘃𝗲 𝗲𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆 (𝗙𝗥𝗘)
𝟮.𝗔𝗻𝘁𝗶𝗯𝗶𝗼𝘁𝗶𝗰-𝗿𝗲𝘀𝗽𝗼𝗻𝘀𝗶𝘃𝗲 𝗲𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆 (𝗔𝗥𝗘)
𝟯.𝗦𝘁𝗲𝗿𝗼𝗶𝗱-𝗿𝗲𝘀𝗽𝗼𝗻𝘀𝗶𝘃𝗲 (𝗦𝗥𝗘) 𝗼𝗿 𝗶𝗺𝗺𝘂𝗻𝗼𝘀𝘂𝗽𝗽𝗿𝗲𝘀𝘀𝗮𝗻𝘁-𝗿𝗲𝘀𝗽𝗼𝗻𝘀𝗶𝘃𝗲 𝗲𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆 (𝗜𝗥𝗘)
𝟰.𝗡𝗼𝗻-𝗿𝗲𝘀𝗽𝗼𝗻𝘀𝗶𝘃𝗲 𝗲𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆 (𝗡𝗥𝗘)

𝗙𝗼𝗼𝗱-𝗿𝗲𝘀𝗽𝗼𝗻𝘀𝗶𝘃𝗲 𝗲𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆 (𝗙𝗥𝗘)
สุนัข CIE ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้เมื่ออาการของโรคดีขึ้นหรือหายได้โดยมีการปรับเปลี่ยนอาหารที่แนะนำให้ภายใน 2-4 สัปดาห์ จากการทำ elimination diet trial ด้วยการให้อาหารโปรตีนใหม่ๆและจำกัดจำนวนโปรตีนในอาหาร (limited-ingredient novel protein) หรือการใช้ hydrolyzed protein diet

FRE เป็นกลุ่มที่พบมากที่สุดในสุนัข CIE (50–65% of CIE dogs) ซึ่งส่วนมากจะพบใน younger dogs และพบว่าอาการทางคลนิกจะไม่รุนแรงเท่ากับสุนัข CIE ใน subclass อื่น สุนัขกลุ่มนี้ตอบสนองที่ดีในระยะยาวโดยใช้ commercial hydrolyzed protein diet หรือ limited- ingredient novel protein diets

มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการให้อาหารโปรตีนใหม่ๆและจำกัดโปรตีนในอาหาร (limited ingredient elimination) หรือการใช้ hydrolyzed protein diet ในแง่ของ gastrointestinal microbiome และ metabolome

𝗔𝗻𝘁𝗶𝗯𝗶𝗼𝘁𝗶𝗰-𝗿𝗲𝘀𝗽𝗼𝗻𝘀𝗶𝘃𝗲 𝗲𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆 (𝗔𝗥𝗘)
สุนัข CIE ที่จัดอยู่ใน subclass ARE เมื่ออาการของโรคหายหรือมีการตอบสนองที่ดีขึ้นในระยะยาวเมื่อให้ยาปฎิชีวนะเป็นเวลา 2 สัปดาห์ (metronidazole and/or tylosin) อย่างไรก็ตามการให้ยาปฎิชีวนะสามารถส่งผลกระทบต่อจุลชีพในระบบทางเดินอาหาร (intestinal microbiome) และทำให้เกิดภาวะเชื้อดื้อยาได้
พบว่าส่วนมากของสุนัขที่ตอบสนองที่ดีต่อยาปฎิชีวนะในช่วงแรกเมื่อหยุดยาจะพบอาการของโรคกลับมาเป็นอีก ดังนั้นสาเหตุที่แท้จริงของ ARE (มีการเสนอให้เปลี่ยนชื่อ subclass นี้เป็น “ 𝙞𝙙𝙞𝙤𝙥𝙖𝙩𝙝𝙞𝙘 𝙞𝙣𝙩𝙚𝙨𝙩𝙞𝙣𝙖𝙡 𝙙𝙮𝙨𝙗𝙞𝙤𝙨𝙞𝙨 ” )และการใช้ยาปฎิชีวนะอย่างเหมาะสมสำหรับ diagnostic work-up of canine CIE ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่

𝗦𝘁𝗲𝗿𝗼𝗶𝗱-𝗿𝗲𝘀𝗽𝗼𝗻𝘀𝗶𝘃𝗲 (𝗦𝗥𝗘) 𝗼𝗿 𝗶𝗺𝗺𝘂𝗻𝗼𝘀𝘂𝗽𝗽𝗿𝗲𝘀𝘀𝗮𝗻𝘁-𝗿𝗲𝘀𝗽𝗼𝗻𝘀𝗶𝘃𝗲 𝗲𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆 (𝗜𝗥𝗘)
สุนัขที่ต้องรักษาด้วย steroid or immunosuppressive drugs แล้วอาการทางคลินิกหายได้หรือดีขึ้นจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น steroid-responsive (SRE) หรือ immunosuppressant-responsive enteropathy (IRE) ซึ่งมักจะเรียกว่า idiopathic inflammatory bowel disease (IBD) ดังนั้นการประเมินการวินิจฉัยสุนัขที่สงสัยว่าอาจจะเป็น SRE/IRE จึงมีความซับซ้อนและ challenge ยาที่นิยมใช้รักษา SRE/IRE ได้แก่ prednisolone หรือ budesonide และยากดภูมิกลุ่มอื่นๆเช่น cyclosporine, chlorambucil, หรือ azathioprine ( follows a top- down approach)

กลุ่ม targeted pathway-specific treatment strategies (เช่น therapeutic monoclonal antibodies targeting pro-inflammatory cytokines [TNF-α blockers] และ integrins [integrin blockers]) เป็นอีกตัวเลือกนึงในการรักษา SRE/IRE ในกรณีที่ไม่ต้องการใช้ steroid แต่ยาในกลุ่มนี้ยังไม่มีการศึกษามากนักในทางสัตวแพทย์

ประมาณ 15–43% ของสุนัขในกลุ่ม SRE/IRE ที่มีการตอบสนองที่ไม่ดีจากการรักษาทางยาจะถูกจัดเข้าไปอยู่ในกลุ่มที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือ 𝗡𝗼𝗻-𝗿𝗲𝘀𝗽𝗼𝗻𝘀𝗶𝘃𝗲 𝗲𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆 (𝗡𝗥𝗘)

ในอนาคตยังรอผลการศึกษาเพิ่มเติมสำหรับประโยนช์ของการใช้ยาในกลุ่ม additional or alternative immunomodulatory treatments รวมถึงการใช้ probiotics (e.g., Enterococcus faecium or the highly concentrated probiotic strains found in Visbiome), prebiotics (e.g., β-1,3/1,6-D-glucan) หรือ synbiotics, f***l microbiota transplantation (FMT) และการใช้ stem cell therapy

Retrospective study ปี 2022 ในสุนัขที่เป็น CIE จำนวน 814 ตัว (treatment outcome was classified in 72.9% of dogs) พบว่า :
• immunosuppressant-responsive (55.2%)
• food-responsive (11.4%)
• non-responsive (5.2%)
• antibiotic-responsive (1.1%)

กลุ่ม non-responsive dogs มักพบภาวะเหล่านี้ : anemia, hypoproteinemia, hypoalbuminemia, increased C-reactive protein concentrations และ ascites
** การศึกษาในครั้งนี้ให้ข้อสังเกตุเกี่ยวกับการพบ IRE ในสัดส่วนที่มากที่สุดอาจเนื่องมาจาก study นี้เป็น retrospective study ใน large referral hospital และเคสส่วนใหญ่จะผ่าน general practice มาแล้วซึ่งเคสที่ตอบสนองต่อการทำ Dietary trial ก็มักจะไม่ถูก refer มา

ความพยายามในการศึกษาเกี่ยวกับ CIE ในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมาทำให้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้เกิด CIE เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมและความก้าวหน้าในการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับ immunopathogenesis, microbiome, metabolome, hypovitaminoses B12 and D, and several biomarkers of inflammation ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในอนาคตเพื่อความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับ CIE

ที่มา

Jergens, A. E., & Heilmann, R. M. (2022). Canine chronic enteropathy—Current state-of-the-art and emerging concepts. Frontiers in Veterinary Science, 9, 923013.

Holmberg, J., Pelander, L., Ljungvall, I., Harlos, C., Spillmann, T., & Häggström, J. (2022). Chronic Enteropathy in Dogs—Epidemiologic Aspects and Clinical Characteristics of Dogs Presenting at Two Swedish Animal Hospitals. Animals, 12(12), 1507.

Allenspach, K., & Mochel, J. P. (2022). Current diagnostics for chronic enteropathies in dogs. Veterinary Clinical Pathology, 50, 18-28.

Dandrieux, J. R. S., & Mansfield, C. S. (2019). Chronic enteropathy in canines: prevalence, impact and management strategies. Veterinary Medicine: Research and Reports, 203-214.


𝗙𝗲𝗹𝗶𝗻𝗲 𝗖𝗵𝗿𝗼𝗻𝗶𝗰 𝗘𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆 คือภาวะความผิดปกติของโรคระบบทางเดินอาหารเรื้อรังในแมวที่กินระยะเวลานานกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป โด...
05/03/2024

𝗙𝗲𝗹𝗶𝗻𝗲 𝗖𝗵𝗿𝗼𝗻𝗶𝗰 𝗘𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆
คือภาวะความผิดปกติของโรคระบบทางเดินอาหารเรื้อรังในแมวที่กินระยะเวลานานกว่า 3 สัปดาห์ขึ้นไป โดยไม่ได้มีสาเหตุอื่นจากภายนอกลำไส้ (extraintestinal cause), การติดเชื้อ, ภาวะลำไส้อุดตัน หรือเนื้องอกในลำไส้ (localized neoplastic intestinal diseases)

การศึกษาในปี 2022 เก็บข้อมูลจากแมวที่มีภาวะ chronic enteropathy ทั้งหมด 65 ตัว พบว่า แมว 26 ตัว (46%) ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Food Responsive Enteropathy (FRE) โดยอาการที่พบในแมวเหล่านี้ได้แก่ น้ำหนักลด, อาเจียน, ท้องเสีย, กินอาหารลดลงหรือไม่กินอาหาร

Feline chronic enteropathy ถูก subclassified ออกเป็น 3 class โดยใช้การตอบสนองต่อการรักษา ดังนี้

𝟭. 𝗙𝗼𝗼𝗱-𝗿𝗲𝘀𝗽𝗼𝗻𝘀𝗶𝘃𝗲 𝗲𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆 (𝗙𝗥𝗘)
𝟮. 𝗜𝗱𝗶𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝗶𝗰 𝗶𝗻𝗳𝗹𝗮𝗺𝗺𝗮𝘁𝗼𝗿𝘆 𝗯𝗼𝘄𝗲𝗹 𝗱𝗶𝘀𝗲𝗮𝘀𝗲 (𝗜𝗕𝗗) 𝗼𝗿 𝘀𝘁𝗲𝗿𝗼𝗶𝗱-𝗿𝗲𝘀𝗽𝗼𝗻𝘀𝗶𝘃𝗲 𝗲𝗻𝘁𝗲𝗿𝗼𝗽𝗮𝘁𝗵𝘆 (𝗦𝗥𝗘)
𝟯. 𝗔𝗹𝗶𝗺𝗲𝗻𝘁𝗮𝗿𝘆 𝘀𝗺𝗮𝗹𝗹 𝗰𝗲𝗹𝗹 𝗹𝘆𝗺𝗽𝗵𝗼𝗺𝗮 (𝗦𝗖𝗟)
( ** ในแมว 𝙘𝙝𝙧𝙤𝙣𝙞𝙘 𝙚𝙣𝙩𝙚𝙧𝙤𝙥𝙖𝙩𝙝𝙮 จะไม่มี 𝙖𝙣𝙩𝙞𝙗𝙞𝙤𝙩𝙞𝙘-𝙧𝙚𝙨𝙥𝙤𝙣𝙨𝙞𝙫𝙚 𝙚𝙣𝙩𝙚𝙧𝙤𝙥𝙖𝙩𝙝𝙮 เหมือนกับในสุนัข)

𝘀𝘁𝗮𝘁𝗲-𝗼𝗳-𝘁𝗵𝗲-𝗮𝗿𝘁 𝗱𝗶𝗮𝗴𝗻𝗼𝘀𝘁𝗶𝗰 𝘁𝗲𝘀𝘁𝘀 𝗳𝗼𝗿 𝗙𝗥𝗘
ในแมวที่สงสัยว่าจะเป็น FRE สามารถทำ 𝗗𝗶𝗲𝘁𝗮𝗿𝘆 𝗘𝗹𝗶𝗺𝗶𝗻𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 - 𝗖𝗵𝗮𝗹𝗹𝗲𝗻𝗴𝗲 𝘁𝗿𝗶𝗮𝗹 เพื่อทดสอบภาวะแพ้อาหารได้
: คุณสมบัติของอาหารสำหรับใช้ทดสอบภาวะแพ้อาหาร ได้แก่

𝟭.𝗡𝗼𝘃𝗲𝗹 𝗽𝗿𝗼𝘁𝗲𝗶𝗻 𝗱𝗶𝗲𝘁 เลือกใช้โปรตีนจากเนื้อสัตว์ชนิดใหม่ๆที่แมวไม่เคยกินมาก่อนและควรจำกัดจำนวนชนิดของโปรตีนในอาหาร (ใช้เป็น single protein ที่เป็น novel protein diet )

𝟮. 𝗛𝘆𝗱𝗿𝗼𝗹𝘆𝘇𝗲𝗱 𝗽𝗿𝗼𝘁𝗲𝗶𝗻 𝗱𝗶𝗲𝘁 เลือกใช้อาหารที่ถูกทำให้โมเลกุลโปรตีนในอาหารเล็กลง เช่น โมเลกุลโปรตีนที่ถูก hydrolyzed ให้มีขนาดเล็กกว่า 10,000 ดาลตันเพื่อลดความเสี่ยงจากการแพ้โปรตีน

** ในแมวการทำ diet trial ต่างจากในสนุนัขเล็กน้อยตรงที่แมวสามารถให้กินเป็น single protein (novel protein) อย่างเดียวได้เลยโดยอาจไม่จำเป็นต้องให้คาร์โบไฮเดรตซึ่งต่างจากในสุนัขที่ต้องให้เป็น single protein (novel protein) + single carbohydrate

ข้อดีของอาหารแต่ละชนิดสำหรับใช้ทดสอบภาวะแพ้อาหาร

𝗛𝘆𝗱𝗿𝗼𝗹𝘆𝘇𝗲𝗱 𝗽𝗿𝗼𝘁𝗲𝗶𝗻 : สามารถใช้ในแมวที่มีประวัติกินอาหารหลากหลายอย่างมาก่อน / สามารถใช้เป็น second or third choice ในเคสที่ทำ diet trials แล้ว fail

𝗡𝗼𝘃𝗲𝗹 𝗽𝗿𝗼𝘁𝗲𝗶𝗻 : ความน่ากินสูงกว่า แมวยอมรับอาหารได้ง่ายกว่า / สามารถใช้ได้ทั้ง commercial หรือ homemade diet

𝘀𝘁𝗮𝘁𝗲-𝗼𝗳-𝘁𝗵𝗲-𝗮𝗿𝘁 𝗱𝗶𝗮𝗴𝗻𝗼𝘀𝘁𝗶𝗰 𝗮𝗽𝗽𝗿𝗼𝗮𝗰𝗵𝗲𝘀 𝗳𝗼𝗿 𝗜𝗕𝗗 𝗮𝗻𝗱 𝗦𝗖𝗟
📌 การวินิจฉัยแยกโรคระหว่าง IBD กับ SCL ยังคงเป็นเรื่องที่ challenge เนื่องจากทั้งอาการทางคลินิก ผล​​ตรวจทางห้องปฏิบัติการและแม้แต่ผลตรวจทางพยาธิวิทยาระหว่าง IBD และ SCL ยังมีการ overlap กันในหลายราย ต่างจาก Large cell lymphoma (LCL) ที่วินิจฉัยแยกโรคได้ง่ายกว่าเนื่องจากแมวที่เป็น LCL มักแสดงการทางคลินิกที่เฉียบพลันและพบการพัฒนาไปของโรคอย่างรวดเร็ว

📌 มีความเป็นไปได้ว่าในแมวที่เกิดการอักเสบเรื้อรังของทางระบบเดินอาหารจาก IBD สามารถพัฒนาเป็น SCL ได้ในเวลาต่อมา

ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ

• Hypoproteinemia (from protein-losing enteropathy) is a common finding in severe IBD และ SCL (พบเกือบ 100%)
• ในทางตรงกันข้าม total protein อาจปกติหรือพบว่าสูงขึ้นจากการพบ concurrent hyperglobulinaemia
• ผลตรวจเลือดอื่นๆที่สำคัญต่อการวินิจฉัยและการพยากรณ์โรค ได้แก่ serum folate, serum cobalamin และ inorganic phosphorus
• แนะนำให้เสริม cobalamin ในแมวทุกตัวที่มีภาวะ chronic enteropathy และพบ serum cobalamin concentrations of ≤400 ng/L ยกเว้นในแมว EPI แนะนำให้เสริมทุกรายแม้จะไม่ได้ตรวจ serum cobalamin ก็ตาม

𝗔𝗯𝗱𝗼𝗺𝗶𝗻𝗮𝗹 𝘂𝗹𝘁𝗿𝗮𝘀𝗼𝘂𝗻𝗱

📌 ในแมว IBD และ SCL จะพบผนังลำไส้ชั้น muscularis propria หนาตัวผิดปกติร่วมกับ loss of wall layering และต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องโต (lymphadenopathy)
📌 A muscularis to submucosal ratio of > 1 suggested of an abnormal bowel segment

การตรวจทางพยาธิวิทยา

1. ** FNA ไม่สามารถวินิจฉัยแยก IBD ออกจาก SCL ได้
2. การตรวจ histopath ยังคงเป็น 𝙜𝙤𝙡𝙙 𝙨𝙩𝙖𝙣𝙙𝙖𝙧𝙙 𝙛𝙤𝙧 𝙙𝙞𝙖𝙜𝙣𝙤𝙨𝙞𝙨 𝙘𝙝𝙧𝙤𝙣𝙞𝙘 𝙚𝙣𝙩𝙚𝙧𝙤𝙥𝙖𝙩𝙝𝙮 แต่ก็ยังมีความผิดพลาดในการแยก IBD กับ SCL

การตรวจวินิจฉัยอื่นๆ เช่น การตรวจทาง immunohistochemistry และการทำ clonality testing

𝗧𝗵𝗲𝗿𝗮𝗽𝗲𝘂𝘁𝗶𝗰 𝗠𝗮𝗻𝗮𝗴𝗲𝗺𝗲𝗻𝘁 𝗼𝗳 𝗜𝗕𝗗 𝗮𝗻𝗱 𝗦𝗖𝗟

• การรักษาแมวที่เป็น IBD สัมพันธ์กับการให้ steroids (with or without a concurrent dietary trial using a novel protein or hydrolyzed diet)

• Cats classified as idiopathic IBD are commonly treated with prednisolone at 2 mg/kg/day, which can be divided q12h dependent on the tolerance of the patient

• The prednisolone dose is usually tapered by 25% every 3 to 4 weeks until the lowest effective dose is identified

• budesonide (3 mg/m2 q24h) has been anecdotally used as an alternative in patients intolerant to systemic steroids (e.g., cats with diabetes mellitus)

• Cats with severe malabsorption can benefit from initial treatment with subcutaneous injections of dexamethasone until the disease is better controlled

• Chlorambucil can be administered continuously at a dose of 2 mg per cat PO q48h to q72h (usually at home) or as a pulse-dose protocol at 20 mg/m2 every 2 weeks

ที่มา

Bandara, Y., Priestnall, S. L., Chang, Y. M., & Kathrani, A. (2023). Outcome of chronic inflammatory enteropathy in cats: 65 cases (2011‐2021). Journal of Small Animal Practice, 64(3), 121-129.

Marsilio S. Feline chronic enteropathy. J Small Anim Pract. 2021 Jun;62(6):409-419. doi: 10.1111/jsap.13332. Epub 2021 Apr 5. PMID: 33821508.

𝗘𝘅𝗼𝗰𝗿𝗶𝗻𝗲 𝗽𝗮𝗻𝗰𝗿𝗲𝗮𝘁𝗶𝗰 𝗶𝗻𝘀𝘂𝗳𝗳𝗶𝗰𝗶𝗲𝗻𝗰𝘆 𝗶𝗻 𝗱𝗼𝗴𝘀 𝗮𝗻𝗱 𝗰𝗮𝘁𝘀 𝗞𝗲𝘆 𝗽𝗼𝗶𝗻𝘁   Exocrine pancreatic insufficiency (EPI) เป็นกลุ่มอาการควา...
20/02/2024

𝗘𝘅𝗼𝗰𝗿𝗶𝗻𝗲 𝗽𝗮𝗻𝗰𝗿𝗲𝗮𝘁𝗶𝗰 𝗶𝗻𝘀𝘂𝗳𝗳𝗶𝗰𝗶𝗲𝗻𝗰𝘆 𝗶𝗻 𝗱𝗼𝗴𝘀 𝗮𝗻𝗱 𝗰𝗮𝘁𝘀
𝗞𝗲𝘆 𝗽𝗼𝗶𝗻𝘁
Exocrine pancreatic insufficiency (EPI) เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติของการดูดซึมอาหารโดยมีสาเหตุมาจากการผลิตเอนไซม์ย่อยอาหารจากตับอ่อนไม่เพียงพอ

สาเหตุการเกิด EPI ที่พบได้บ่อย คือ
1. 𝗣𝗮𝗻𝗰𝗿𝗲𝗮𝘁𝗶𝗰 𝗮𝗰𝗶𝗻𝗮𝗿 𝗮𝘁𝗿𝗼𝗽𝗵𝘆 (𝗣𝗔𝗔) เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (immune-mediated condition)
2. ภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (𝗰𝗵𝗿𝗼𝗻𝗶𝗰 𝗽𝗮𝗻𝗰𝗿𝗲𝗮𝘁𝗶𝘁𝗶𝘀)

การวินิจฉัย
• ตรวจวัดระดับ 𝙨𝙚𝙧𝙪𝙢 𝙩𝙧𝙮𝙥𝙨𝙞𝙣𝙤𝙜𝙚𝙣 (𝙩𝙧𝙮𝙥𝙨𝙞𝙣-𝙡𝙞𝙠𝙚 𝙞𝙢𝙢𝙪𝙣𝙤𝙧𝙚𝙖𝙘𝙩𝙞𝙫𝙞𝙩𝙮 [𝙏𝙇𝙄])

การรักษา

1. การเสริมเอนไซม์จากตับอ่อน (𝗣𝗮𝗻𝗰𝗿𝗲𝗮𝘁𝗶𝗰 𝗲𝗻𝘇𝘆𝗺𝗲𝘀 𝗿𝗲𝗽𝗹𝗮𝗰𝗲𝗺𝗲𝗻𝘁 𝘁𝗵𝗲𝗿𝗮𝗽𝘆 : 𝗣𝗘𝗥𝗧) ** การศึกษาพบว่ารูปแบบของยาทั้งแบบ enteric- coated และ non-coated ให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกัน
2. การเสริม 𝗖𝗼𝗯𝗮𝗹𝗮𝗺𝗶𝗻 (แนะนำให้เสริม cobalamin ในทุกเคสที่เป็น EPI แม้ในเคสที่ไม่สามารถตรวจวัดระดับ serum cobalamin ได้ก็ตาม)
3. การจัดการทางโภชนาการ (ใช้อาหารย่อยง่ายและมีไขมันในระดับปานกลาง)


𝗘𝘅𝗼𝗰𝗿𝗶𝗻𝗲 𝗽𝗮𝗻𝗰𝗿𝗲𝗮𝘁𝗶𝗰 𝗶𝗻𝘀𝘂𝗳𝗳𝗶𝗰𝗶𝗲𝗻𝗰𝘆 𝗶𝗻 𝗱𝗼𝗴𝘀 𝗮𝗻𝗱 𝗰𝗮𝘁𝘀
- สุนัขและแมวสามารถเป็น EPI ได้ทุกช่วงอายุ ขึ้นกับสาเหตุ (underlying etiology)
- ในสุนัขสายพันธุ์ที่มักพบ pancreatic acinar atrophy (PAA) จะแสดงอาการของ EPI ในช่วง younger age เปรียบเทียบกับสุนัข EPI ที่มีสาเหตุมาจากภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง มักพบในช่วงอายุที่มากกว่า
- PAA ปัจจุบันมีหลักฐานที่สนับสนุนว่าเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (immune-mediated component)
- แมวที่เป็น EPI มักพบในช่วง middle-aged to older age
- ภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง (chronic pancreatitis) เป็นสาเหตุหลักของการเกิด EPI ในแมว
- อาการทางคลินิกของสุนัขและแมวที่เป็น EPI จะพบเมื่อ pancreatic acinar cell เสียหายไปแล้วมากกว่า 90%


𝗘𝗻𝘁𝗲𝗿𝗶𝗰 𝗺𝗶𝗰𝗿𝗼𝗯𝗶𝗼𝘁𝗮 𝗱𝘆𝘀𝗯𝗶𝗼𝘀𝗶𝘀 (𝗘𝗠𝗗)
- ** การศึกษาพบว่า EPI is complicated by enteric microbiota dysbiosis (EMD)
- การคงค้างของอาหารที่ย่อยไม่ได้ กลายเป็นอาหารให้แบคทีเรีย (microbial fermentation ) เป็นสาเหตุเริ่มต้นของการเกิด EMD
- ผลที่ตามมาทำให้เกิดความแตกต่างสายพันธุ์แบคทีเรียในทางเดินอาหาร (Gut microbiome) ซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและโครงสร้างของ duodenal mucosa รวมถึงการลดลงของ brush border enzymes activity และการฝ่อของ villi (villous atrophy)
- EMD ทำให้สัตว์เลี้ยงท้องเสีย ท้องอืดและไม่สบายท้องได้ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของความอยากอาหาร, การขาด cobalamin และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุลำไส้ (induction of intestinal mucosal inflammatory responses)


การวินิจฉัย EPI

𝗖𝗹𝗶𝗻𝗶𝗰𝗮𝗹 𝗽𝗿𝗲𝘀𝗲𝗻𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻
- สุนัขที่เป็น PAA อาจไม่แสดงอาการทางคลินิก (asymptomatic or subclinincal)
- ในรายที่มีอาการจะพบสุนัขน้ำหนักลดลงแม้ความอยากอาหารปกติ, อุจจาระปริมาณเยอะขึ้น, อุจจาระเหลวสีซีด (steatorrhea) และท้องอืด รวมถึงบางตัวพบพฤติกรรมเปลี่ยนและขนหยาบร่วง
- สุนัข EPI ที่มีสาเหตุมากจากโรคตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง มักมีประวัติความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารเรื้อรังและปวดท้องบ่อยๆ


𝗥𝗼𝘂𝘁𝗶𝗻𝗲 𝗯𝗹𝗼𝗼𝗱 𝘄𝗼𝗿𝗸 𝗮𝗻𝗱 𝗱𝗶𝗮𝗴𝗻𝗼𝘀𝘁𝗶𝗰 𝗶𝗺𝗮𝗴𝗶𝗻𝗴 𝗳𝗶𝗻𝗱𝗶𝗻𝗴𝘀
- ผลเลือดโดยทั่วไปมักไม่พบความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ โดยเฉพาะในราย uncomplicated EPI
- EPI ไม่สามารถ ruled out จากการทำอัลตราซาวด์ขนาดและลักษณะของตับอ่อนได้ (pancreatic ultrasonographic appearance or size)
- ในแมวไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างขนาดตับอ่อน lobe ขวา และ serum TLI concentration


𝗧𝗿𝘆𝗽𝘀𝗶𝗻-𝗹𝗶𝗸𝗲 𝗶𝗺𝗺𝘂𝗻𝗼𝗿𝗲𝗮𝗰𝘁𝗶𝘃𝗶𝘁𝘆 (𝗧𝗟𝗜)
- การตรวจวัดระดับ 𝙨𝙚𝙧𝙪𝙢 𝙏𝙇𝙄 >> “ 𝙝𝙞𝙜𝙝𝙡𝙮 𝙨𝙚𝙣𝙨𝙞𝙩𝙞𝙫𝙚 “ ในการวินิจฉัย EPI
- 𝙇𝙤𝙬 𝙨𝙚𝙧𝙪𝙢 𝙘𝙤𝙣𝙘𝙚𝙣𝙩𝙧𝙖𝙩𝙞𝙤𝙣𝙨 𝙤𝙛 𝙏𝙇𝙄 >> “ 𝙘𝙤𝙣𝙨𝙞𝙨𝙩𝙚𝙣𝙩 𝙬𝙞𝙩𝙝 𝙖 𝙙𝙞𝙖𝙜𝙣𝙤𝙨𝙞𝙨 𝙤𝙛 𝙀𝙋𝙄 “
- ระดับ serum TLI >> unaffected by pancreatic enzyme supplementation
- การเพิ่มขึ้นของระดับ serum TLI สามารถพบได้ในสุนัขที่เป็นตับอ่อนอักเสบ >> which may complicate with diagnosis of EPI secondary to CP


การรักษา

𝟭. (𝗣𝗮𝗻𝗰𝗿𝗲𝗮𝘁𝗶𝗰 𝗲𝗻𝘇𝘆𝗺𝗲𝘀 𝗿𝗲𝗽𝗹𝗮𝗰𝗲𝗺𝗲𝗻𝘁 𝘁𝗵𝗲𝗿𝗮𝗽𝘆 : 𝗣𝗘𝗥𝗧)
- สุนัขและแมวที่เป็น EPI ต้องการเสริมเอนไซม์จากตับอ่อน
- รูปแบบของยาทั้งแบบ enteric-coated และ non-coated ให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกัน
- เมื่ิอสุนัขน้ำหนักตัวกลับมาปกติและอุจจาระเป็นก้อนปกติแล้วสามารถปรับลดปริมาณยาให้ต่ำที่สุดเท่าที่สามารถคุมอาการทางคลินิกได้


𝟮.𝗖𝗼𝗯𝗮𝗹𝗮𝗺𝗶𝗻 𝘀𝘂𝗽𝗽𝗹𝗲𝗺𝗲𝗻𝘁𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻
- สุนัขที่เป็น EPI พบภาวะ hypocobalaminemia > 60%
- แมวที่เป็น EPI พบภาวะ hypocobalaminemia > 77 to 100%
- การลดลงของ cobalamin ใน EPI เป็นผลมาจากการใช้ cobalamin ที่เพิ่มขึ้นของแบคทีเรียในทางเดินอาหารและการลดลงของ intrinsic factor
- แนะนำให้เริ่มเสริม cobalamin เมื่อระดับ serum < 300 ng/L ทั้งในสุนัขและแมว
- การเสริม cobalamin มีความปลอดภัยสูง ผู้เขียนแนะนำให้เสริม cobalamin ในสุนัขและแมวทุกเคสที่เป็น EPI แม้จะไม่สามารถตรวจวัดระดับ serum cobalamin ได้ก็ตาม
- cobalamin ทั้งในรูปแบบกินและฉีดเข้ากล้ามเนื้อให้ผลการรักษาที่ดีไม่ต่างกัน


𝟯.𝗗𝗶𝗲𝘁𝗮𝗿𝘆 𝗺𝗼𝗱𝗶𝗳𝗶𝗰𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻
- ใช้อาหารที่ย่อยง่าย คงค้างน้อยในทางเดินอาหาร (Highly digestible, low-residue diets)
- หลีกเลี่ยงอาหารไฟเบอร์สูง (High-fiber diets are also generally avoided due to low energy density and concerns that fiber may interfere with lipase activity and nutrient assimilation)


𝗧𝗿𝗼𝘂𝗯𝗹𝗲𝘀𝗵𝗼𝗼𝘁𝗶𝗻𝗴 𝗖𝗵𝗮𝗹𝗹𝗲𝗻𝗴𝗶𝗻𝗴 𝗖𝗮𝘀𝗲𝘀
𝗘𝗻𝘇𝘆𝗺𝗲 𝗳𝗼𝗿𝗺𝘂𝗹𝗮𝘁𝗶𝗼𝗻 𝗮𝗻𝗱 𝘁𝗶𝗺𝗲𝗹𝗶𝗻𝗲 𝘁𝗼 𝗿𝗲𝘀𝗽𝗼𝗻𝘀𝗲

- พบว่าสุนัขส่วนใหญ่จะเริ่มอุจจาระเป็นก้อนได้ภายใน 2-3 วัน หลังการเสริมเอนไซม์ แต่สุนัขบางตัวอาจใช้เวลาประมาณ 2 - 4 สัปดาห์กว่าอุจจาระจะกลับมาเป็นก้อนปกติ
- ในรายที่ยังพบน้ำหนักลดแม้จะให้เอนไซม์แล้วก็ตาม ควรสงสัยว่าสุนัขน่าจะมีภาวะ concurrent chronic enteropathy (CE) ร่วมด้วย
- รูปแบบของยาทั้งแบบ enteric-coated และ non-coated ให้ผลการรักษาที่ไม่แตกต่างกัน
- การพยากรณ์โรคในระยะยาวสำหรับสุนัขและแมวที่เป็น EPI ค่อนข้างดี ด้วยการให้เอนไซม์เสริม (PERT), การให้ cobalamin และการปรับอาหาร
- การศึกษาในแมวที่เป็น EPI พบว่า 20% พบ concurrent CE รวมถึง lymphoplasmacytic enteritis และ 5% พบภาวะ hypofolatemia consistent with CE
- การศึกษาในสุนัขที่เป็น EPI พบว่าตอบสนองต่อการรักษาด้วย PERT แบบ complete อยู่ที่ 60% , partial 17% และ poor response อยู่ที่ 23%

ที่มา

Cridge, H., Williams, D.A. and Barko, P.C., 2023. Exocrine pancreatic insufficiency in dogs and cats. Journal of the American Veterinary Medical Association, 1(aop), pp.1-10.

Address


Alerts

Be the first to know and let us send you an email when Vetprima posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to Vetprima:

Shortcuts

  • Address
  • Telephone
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Pet Store/pet Service?

Share