14/10/2021
ไวรัสโคโรนาในแมว (feline coronavirus หรือ FCoV) เป็นหนึ่งในไวรัสที่มีความรุนแรงสูง ทำให้เกิดโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อ (feline infectious peritonitis; FIP)
ไวรัสนี้พบได้ในลำไส้ของแมวและก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหาร ติดต่อผ่านทางการปนเปื้อนเชื้อผ่านทางอุจจาระ (fecal-oral transmission) ดังนั้นสภาพการเลี้ยงที่หนาแน่น จึงเสี่ยงต่อการติดต่อ อีกทั้งยังโน้มนำทำให้แมวเกิดความเครียดและเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อมากขึ้น
โรคนี้มักเกิดกับแมวเด็ก (อายุน้อยกว่า 2 ปี) หรือแมวที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน พบมากในแมวเพศผู้ที่ยังไม่ทำหมัน และในแมวพันธุ์แท้
---
อาการเป็นผลจากระบบภูมิคุ้มกัน อาการแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบเปียก (effusive form) และแบบแห้ง (non-effusive form) ซึ่งทั้งสองแบบนี้ เราจะพบการพัฒนาของโรคอย่างเงียบ ๆ โดยแมวอาจแสดงอาการแบบใดแบบหนึ่ง หรือบางตัวอาจพบอาการทั้งสองรูปแบบพร้อมกันก็ได้
อาการแบบเปียก แมวมักมาด้วยการมีของเหลวสะสมในช่องท้อง โดยจะสังเกตเห็นว่าช่องท้องขยายใหญ่ หรือมีอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว หรือมีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ เนื่องจากการสะสมของเหลวในช่องอกหรือในเยื่อหุ้มหัวใจ อย่างไรก็ตามแมวบางตัวที่มีของเหลวในช่องอก และ/หรือช่องท้อง อาจไม่แสดงอาการทางคลินิกได้เช่นกัน สำหรับอาการแบบแห้งนั้น อาจพบก้อนผิดปกติในช่องท้อง หรือ pyogranulomatous lesions อาการส่วนใหญ่มักจะไม่จำเพาะ
---
การวินิจฉัย
1. CBC and blood chemistry
- Chronic non-regenerative anemia
- Leukocytosis ร่วมกับการเพิ่มขึ้นของ neutrophils และการลดลงของ lymphocytes
- Hyperproteinemia โดยมากพบเป็น hyperglobulinemia และ hypoalbuminemia
- Albumin:Globulin ratio (A:G) < 0.45
-Hyperbilirubinemia และ hyperbilirubinuria
2. Fluid analysis
- clear to moderately cloudy, viscous
- ค่าความถ่วงจำเพาะ 0.17 - 1.047
- ค่าโปรตีนสูง
- สีเหลืองใสถึงเหลืองเข้ม (บางครั้งอาจพบเป็นสีเขียว หากสารประกอบภายในนั้นเป็น biliverdin)
- เซลล์ที่พบ มักพบเป็น macrophages neutrophils และ lymphocytes
3.Rivalta test
เป็นการตรวจที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้ผลง่าย แต่ไม่สามารถใช้ในการยืนยันและสรุปผลการเป็นโรคได้ เป็นเพียงแค่วิธีการแยก exudate และ transudate ออกจากกันอย่างรวดเร็ว
4. รังสีวินิจฉัย
วิธีนี้จะพบของเหลวในช่องอกหรือช่องท้อง การเพิ่มขึ้นของ opacities ในปอด แต่อาจไม่พบความผิดปกติเป็นลักษณะจำเพาะ
5. RT-PCR
วิธีนี้สามารถตรวจการติดเชื้อ active coronavirus ในตัวอย่างซีรั่ม อุจจาระ น้ำในช่องท้อง ตัวอย่างจากการ biopsy หรือ FNA แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้ไม่สามารถแยกเชื้อที่ก่อโรคหรือไม่ก่อโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมวได้ อีกทั้งยังมีโอกาสให้ผลทั้ง false negative และ false positive ดังนั้นจึงควรวินิจฉัยร่วมกับข้อมูลสัตว์ป่วยและผลการตรวจอื่น ๆ ด้วย
6. AB titer of coronavirus
อาจไม่สามารถวินิจฉัยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมวได้แม่นยำนัก เพราะเนื่องจากเป็นการตรวจทดสอบการสัมผัสเชื้อ FCoV เท่านั้น
7. Histopathology
ถือเป็นวิธีการวินิจฉัยที่มีความแม่นยำสูง และจัดเป็น gold standard ในการวินิจฉัยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว โดยรอยโรคที่พบได้ คือ perivascular granulomatous inflammation และ vasculitis อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ไม่สามารถแยกระหว่าง virulent และ avirulent coronavirus ออกจากกันได้
8. CSF Examination
สามารถใช้ยืนยันผลโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมวที่แสดงอาการทางระบบประสาทได้
---
การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาด และหลาย ๆ ตัวยา ยังไม่ได้มีผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพแน่ชัด ดังนั้นการรักษาจึงเน้นพยุงอาการเป็นหลัก ตัวอย่างแนวทางการรักษา เช่น
1. การรักษาแบบพยุงอาการ
ยกตัวอย่างเช่น การให้สารน้ำทดแทนกรณีที่พบภาวะแห้งน้ำร่วมด้วย การเจาะดูดของเหลวออกกรณีที่เป็นโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อแบบเปียก การให้ยาปฏิชีวนะหากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน และการให้สารอาหารหรือวิตามินบำรุงที่เหมาะส
2. Anti-inflammatory และ immunosuppressive drugs
เช่น Prednisolone และ alkylating drugs เช่น cyclophosphamide โดยหวังผลกดการอักเสบและการตอบสนองจากภูมิคุ้มกัน และลดอาการทางคลินิก
3. Antiviral drugs
เช่น chloroquine ที่ใช้ในการรักษาโรคมาลาเรีย พบว่ามีผลในการยับยั้งการจำลองตัวของเชื้อแบบ in vitro และมีคุณสมบัติในการลดการอักเสบอีกด้วย
4. Immune modulator
ยกตัวอย่างเช่น feline interferon omega และ human interferon alpha เป็นยาที่ใช้เพื่อหวังผลช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
ในปัจจุบันยังคงมีการคิดค้นและพัฒนายาต่าง ๆ เพื่อรักษาโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมวโดยตรง แต่ยาบางตัวยังไม่ได้รับการรับรองจาก FDA ดังนั้นการเลือกใช้ยาอะไรก็ตาม จึงจำเป็นต้องอาศัยความระมัดระวังสูง และควรมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดภายหลังจากการใช้
---
เนื่องจากปัจจุบันเรายังไม่ทราบกลไกการติดต่อแบบแน่ชัดของเชื้อ FIPV เชื่อกันว่าไวรัสนี้กลายพันธุ์มาจากเชื้อ FECV ดังนั้นแนวทางการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การรักษาความสะอาดภายในบ้าน หมั่นทำความสะอาดกระบะทรายให้สะอาดอยู่เสมอ วางแยกจากชามอาหารของแมวที่ป่วยและแมวสุขภาพดีออกจากกัน ลดความเครียดของแมว เช่น ไม่เลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่น
ปัจจุบันมีการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว ซึ่งเป็นวัคซีนเชื้อเป็น (modified live non - adjuvant) และให้โดยการหยอดจมูก (intranasal) แต่ยังคงถกเถียงกันในเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนดังกล่าว สมาคมแพทย์รักษาแมวอเมริกัน (American association of feline practitioners) จึงยังไม่แนะนำให้ใช้วัคซีนดังกล่าวในแมวที่มีผลบวกของแอนติบอดีต่อ FECV หรือแมวปกติที่อยู่ร่วมกับแมวที่เป็นหรือสงสัยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว
---
อ่านบทความฉบับเต็มพร้อมตารางและภาพประกอบได้ที่:
https://www.readvpn.com/CECredit/Info/3d8c6485-027c-48ca-9413-c61bbedeeadd
เรายังมีบทความและ CE ให้คุณหมอได้อ่านและทำอีกมากมาย
เพียงแค่สมัครสมาชิก แถมช่วงนี้เรายังมีโปรโมชั่นพิเศษอีกด้วย ดังนี้
💚 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,000 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💚 อ่านจากเล่ม - เติมเต็มความรู้ทุกช่องทาง
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/VPN/Subscription
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line : https://lin.ee/v8Ldcyu