KhunchaiHamster

  • Home
  • KhunchaiHamster

KhunchaiHamster รวมข้อมูลเกี่ยวกับแฮมสเตอร์
และแชร์ความน่ารัก รวมทั้งขายอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง

ในวันที่กรงเหลือแต่ความว่างเปล่า หลับให้สบายนะคับเจอร์รี่ที่รักของมี๊   #2ขวบ2เดือน 29/ธ.ค./2566
29/12/2023

ในวันที่กรงเหลือแต่ความว่างเปล่า หลับให้สบายนะคับ
เจอร์รี่ที่รักของมี๊
#2ขวบ2เดือน 29/ธ.ค./2566

อาณาจักรของผมคับ เลี้ยงตัวเดียวเหมือนเลี้ยงหลายตัว
08/04/2023

อาณาจักรของผมคับ เลี้ยงตัวเดียวเหมือนเลี้ยงหลายตัว

08/04/2023

เห็นผมไหมคับ

28/06/2022

จะกินน้ำก็ช่วยออกมากินดีๆหน่อยได้ไหม

23/06/2022

ผมหายตัวได้คับ

สินค้าเข้ามาเพิ่มค่ะ
14/06/2022

สินค้าเข้ามาเพิ่มค่ะ

จะเห็นผมคือตอนทานน้ำเท่านั้น เวลาอื่นอย่าหวังคับ
14/06/2022

จะเห็นผมคือตอนทานน้ำเท่านั้น เวลาอื่นอย่าหวังคับ

รายการสินค้าของทางร้านค่ะค่าส่งพัสดุจ่ายตามจริง สามารถเลือกขนส่งได้ค่ะ 🚛  EMS,BEST,KERRY,J&T,FLASH,DHL
26/05/2022

รายการสินค้าของทางร้านค่ะ

ค่าส่งพัสดุจ่ายตามจริง สามารถเลือกขนส่งได้ค่ะ
🚛 EMS,BEST,KERRY,J&T,
FLASH,DHL

จมูกชมพู
19/05/2022

จมูกชมพู

01/05/2022

กายกรรมแล้ว1🤸🏻

#รักษาแฮมสเตอร์
#ผ่าตัดแฮมสเตอร์
-------------------------------------
การเดินทางมาบ้านใหม่ ดูได้ที่นี่เลย : https://www.facebook.com/watch/?v=1045296206062341

Location new home: https://goo.gl/maps/UdxbuLo6vKJxo8UeA
-------------------------------------
www.animalspacehospital.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม/นัดหมายเข้ารับบริการ
Tel: 021-162214, 021-162215
Mobile: 097-165-1100
เปิดทำการ: 8.00-24.00น.(รับเคสสุดท้าย 23.30น.)

28/04/2022

#การตั้งท้องของแต่ละสายพันธุ์

15 to 18 days for Syrian hamsters ไจแอนท์
18 to 21 days for Campbell/ww hamsters แคมเบล/วินเทอร์ไวท์
21 to 23 days for Chinese hamsters ไชนิสแฮมสเตอร์
23 to 30 for Roborovski โรโบรอฟสกี้

#อายุที่เหมาะสมสำหรับการผสม

หากผู้เลี้ยงทราบแหล่งที่มาของเด็กๆ จะดีตรงที่จะทราบอายุที่ชัดเจนแน่นอน (ควรจดบันทึกประวัติของเจ้าตัวเล็ก อาการผิดปกติต่างๆ)
- เวลาที่เหมาะสมจริงๆ ในการผสมพันธุ์ควรจะอายุประมาณ 4-5 เดือน แต่จริงๆ แนะนำ 5-6 เดือนเพื่อเจริญเต็มวัยและไม่ควรเกิน 1 ปี เนื่องจากเมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป แฮมสเตอร์ตัวเมียส่วนใหญ่จะมีสภาวะเป็นหมัน และสรีระร่างกายไม่อำนวยต่อการตั้งท้อง
- เมื่อแยกลูกจากแม่แล้ว ให้พักท้องแม่อย่างน้อย 3 เดือน จึงจะผสมใหม่อีกครั้ง และตลอดช่วงอายุแม่ 1 ตัว ไม่ควรท้องเกิน 2 ครั้ง เพื่อไม่ให้แม่โทรมและอยู่กับผู้เลี้ยงไปนานๆ และจะได้ลูกที่มีสุขภาพดีสมบูรณ์

#การบำรุงตั้งแต่ท้องจนถึงให้นมบุตร

- อาหารที่ต้องให้ปกติประจำวัน ธัญพืชและอาหารยี่ห้อที่ให้เป็นประจำ
- อาหารเสริม ประเภทไข่ต้มสุก(นำมาบดกันทั้งไข่ขาวและไข่แดง ไม่ต้องปรุงรส)
- นมแพะ นมควาย นมแมว สามารถให้เดี่ยวๆ หรือนำมาผสมกันแล้วป้อนเสริมให้แฮมสเตอร์ที่ถูกผสมได้ตลอด จนถึงเวลาที่เค้าให้นมลูก
- ฟักทองต้มสุก หรือดิบ ถ้าสุกสามารถบดรวมกับนมผงหรือผสมนมป้อนได้
- เนื้อไก่ต้ม เลือกไก่ที่ปลอดสาร ดูตามร้านสุขภาพได้(เล็กน้อยอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง)
- บวบเหลี่ยม ข้าวโพดอ่อน บร็อกโคลี่ (ให้ได้ทุกสายพันธุ์)
- ดรอปนม โยกี้ต่างๆ จะช่วยในเรื่องระบบการย่อยอาหาร ดูแลลำไส้ให้ทำงานเป็นปกติ

#เวลาที่แม่ลูกต้องพรากจากกัน

- สภาวะของแม่มีปัญหาน้ำนมไม่พอ สภาวะเต้านมอักเสบหรือสุขภาพด้านอื่นที่จำเป็นต้องแยกจากแม่ แต่อย่างน้อยเด็กควรจะอายุถึง 3 สัปดาห์ (เมื่อแยกเร็วจึงเป็นหน้าที่ของคนเลี้ยงที่ต้องป้อนนมให้เด็กๆ เพิ่มเติม)
- เด็กๆ สามารถอยู่ร่วมกับแม่ได้จนถึงอายุ 4 สัปดาห์ เพื่อการเรียนรู้การดำรงชีวิตตามธรรมชาติ
#แต่ก็สามารถแยกได้ก่อนหากแม่เริ่มหงุดหงิด หรือมีการทะเลาะกันถึงแม้จะไม่รุนแรงให้เห็น แต่เด็กก็ควรอายุครบอย่างน้อย 21 วัน

- อย่างไรก็ดีเด็กต้องแยกจากแม่และแยกเพศเมื่อเด็กอายุเข้า 5-6 สัปดาห์ เพราะแฮมสเตอร์สามารถผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แม้ไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม เค้าทำไปตามสัญชาตญาณเท่านั้น

#ไม่ควรผสมพันธุ์ในหมู่ญาติ พี่น้อง แม่ หรือพ่อ เพื่อป้องกันการมีปัญหาด้านพันธุกรรมแฝงที่เป็นยีนด้อย (โรคเอ๋อ เกิดมาเป็นพีนัท เกิดมาพิการไม่ครบสมบูรณ์ เป็นโรคอื่นๆ ตายก่อนเวลา)

#สิ่งที่อยากให้ทำตอนใกล้คลอด

- ให้เอาจักรหรือของเล่นออก (แม่แฮมสเตอร์อาจจะอยากปั่นจักรทั้งที่ลูกยังดูดนมติดพันอยู่ ผู้เลี้ยงอาจจะได้เห็นเด็กๆ ถูกเหวี่ยงไปตามแรงปั่นจักรของแม่ หรือแขนขาเด็กติดตามร่องรอยต่อของจักร)
- นำทรายอาบน้ำออก เพราะในทรายมักจะมีตัวดูดความชื้นความมันตามผิวหนัง หากคลอดใหม่ๆ อาจทำให้ทรายดูดจนผิวเด็กแห้งและอักเสบได้ รอจนเด็กๆ เริ่มมีขนขึ้นก่อนจะปลอดภัยกว่าค่อยใส่ทรายให้
- เพิ่มวัสดุรองกรงให้ ปกติพี่เจจะให้พวก Hide& Seek เคที่โคซี่ หรือหาไม่ได้จะใช้กระดาษทิชชู่แบบแผ่นใหญ่ที่ใช้เช็ดเครื่องสำอาง เพราะจะปลอดจากสารระคายเคืองต่อผิวบอบบาง
- แฮมสเตอร์แต่ละตัวมีนิสัยที่แตกต่างกัน บางตัวจะหวงลูกมาก ไม่ชอบให้เจ้าของหรือใครก็ตามเข้าไปใกล้ ไปส่องดู ด้วยพฤติกรรมนี้ อาจทำให้แม่ไม่เลี้ยง หรือถึงขั้นกินลูกก็มี #ดังนั้นจึงมักจะมีคำบอกกล่าวว่า เมื่อแฮมสเตอร์คลอดลูกไม่ควรไปดูมาก ให้เค้าเลี้ยงลูกเอง แอบดูได้แค่เวลาให้อาหารเท่านั้น จนกว่าเด็กจะอายุได้ 10-14 วัน อย่างที่บอกว่าเป็นนิสัยเฉพาะตัวของแฮมสเตอร์ จึงมักมีหลากหลายพฤติกรรม อยู่ที่ตัวเจ้าของเองจะปรับใช้กับเด็กๆ ของตนเอง

#คำถามที่ว่าแม่กินลูก ไม่เลี้ยงลูก
- สภาวะของแม่ที่หัวนมบอดไม่มีนม
- สภาวะการขาดสารอาหาร ในแม่ที่ไม่ได้รับการดูแล
- สภาวะเครียด จากหัวข้อก่อนหน้านี้ จากความร้อน
- สภาวะเด็กเองมีความผิดปกติ แม่แฮมสเตอร์จะกำจัดตัวที่ผิดปกติ อาจจะกินเพื่อเพิ่มสารอาหาร หรือปล่อยไม่เลี้ยงจนตายไปเอง
- สภาวะแม่ยังเด็กไม่พร้อมที่จะมีลูก
- สภาวะอื่นนอกเหนือจากนี้

#จากบทความของต่างประเทศที่แอดมินที่หนึ่งเอามาลงไว้ขอเอามาลงอีกที

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการแยกลูกแฮมสเตอร์ออกจากแม่คือช่วงไหนกันนะ?

คำถามนี้มีคนถามกันเยอะ ซึ่งยังคงมีการโต้แย้งกันอยู่ว่าควรจะแยกช่วงไหนดี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะแยกตอนที่ลูกสามารถกินอาหารเองได้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ ควรแยกลูกหนูออกจากแม่เมื่ออายุประมาณ 5 อาทิตย์หรืออย่างต่ำสุดคือ 4 อาทิตย์ เพราะอะไร...?

ลูกแฮมสเตอร์จะใช้ช่วงเวลานี้ในการเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ จากแม่ เช่น การสื่อสาร การขุดคุ้ย การทำรัง การกักตุนอาหาร สัญชาตญาณความเป็นแม่ เป็นต้น พวกมันอาจจะไม่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้หากแยกออกมาจากแม่เร็วเกินไปนั่นเอง

ลูกแฮมสเตอร์ที่อยู่กับแม่ตามที่กล่าวมาข้างต้นจะได้รับสัญชาตญาณการใช้ชีวิตที่ถูกต้องและดีกว่าลูกแฮมสเตอร์ที่แยกออกจากแม่เร็วเกินไป

อย่างไรก็ตามอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ต้องแยกลูกออกจากแม่เร็วหรือช้ากว่าที่กล่าวมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงเองในการตัดสินใจ

23/04/2022
22/04/2022

🐹 แฮมสเตอร์ก็ต้องการความท้าทายในชีวิตบ้าง 🐹

DIY ของเล่นทำเองง่ายๆจากแกนกระดาษชำระ
shorturl.at/inF59

DIY ของเล่น puzzle แบบแขวน
shorturl.at/qxIX9

DIY ของเล่นและวิธีต่างๆที่จะให้แฮมสเตอร์ไม่เบื่อ
shorturl.at/iGLS2
เรื่องการจัดรูปแบบกรงใหม่สังเกตุดูดีๆนะคะว่าน้องที่เลี้ยงอยู่ชอบหรือไม่ชอบ แฮมสเตอร์บางตัวไม่ชอบให้เปลี่ยนการจัดวางค่ะ จะเครียดได้ อาจจะเริ่มจากค่อยๆเปลี่ยนทีละนิดเป็นส่วนๆ แล้วดูว่าน้องเข้าไปสำรวจแบบสนใจหรือดูเครียดค่ะ

19/04/2022

พูดถึงอากาศที่ร้อนจัดในเดือนนี้🔥 โรคที่หนีไม่พ้นก็คือ ฮีทสโตรก “Heat stroke “ หรือ ภาวะช็อคจากความร้อน ซึ่งพบสัตว์เลี้ยงมีภาวะนี้ฉุกเฉินมาที่โรงพยาบาลแทบจะทุกวัน วันละไม่ต่ำกว่า 2-3 ตัวเลยล่ะครับ อัตราการสูญเสียจากโรคนี้ค่อนข้างมาก เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วเรามารู้จักโรคนี้กันหน่อยดีกว่าครับ

Heat stroke เป็นโรคที่พบได้บ่อยในกระต่ายและสัตว์ฟันแทะ🐿🐇🐀🦔 โดยเฉพาะสัตว์ที่มีต้นกำเนิดจากเมืองหนาว เช่น ชินชิลล่า กระต่าย และสัตว์ฟันแทะอื่นๆ ปกติกระต่ายเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็นสบาย❄️ ไม่ชอบที่ร้อน กระต่ายไม่มีต่อมเหงื่อจึงไม่สามารถระบายความร้อนได้ทำให้ร่างกายสะสมความร้อนเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ จนถึงระดับหนึ่งร่างกายจะรับความร้อนที่มากเกินไปไม่ไหว ทำให้เกิดภาวะต่างๆ ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น ภาวะนี้มีอาการหลักๆ ดังนี้ครับ

1. ซึม เบื่ออาหาร🤢: อาการนี้เป็นอาการแสดงแรกของแทบทุกโรค จึงต้องรีบหาสาเหตุว่าแท้จริงนั้นเกิดจากอะไรกันแน่

2. หายใจเสียงดัง🤧: อาการนี้ต้องแยกให้ออกว่าเกิดจากปัญหาที่ปอด หรือว่า Heat stroke กันแน่ ถ้าเป็นจาก Heat Stroke จะสังเกตได้ว่าสัตว์เลี้ยงหายใจเสียงดังแต่ไม่ดังมาก ร่วมกับมีการหายใจทางจมูกโดยทำจมูกบานๆ ดูคล้ายๆหายใจลำบาก หรือบางทีอาจจะหายใจจนตัวโยนเลยก็ได้ครับ

3. ขาหลังอ่อนแรง ทรงตัวไม่ได้ เดินเซ ตัวสั่น😵‍💫: เป็นอาการที่สังเกตเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนของโรคนี้ครับ แต่เมื่อไหร่ที่พบอาการนี้หมายความว่าสัตว์เลี้ยงค่อนข้างแย่แล้วนะครับ หลายครั้งที่สัตว์เลี้ยงมาด้วยอาการอ่อนแรง เมื่อวัดไข้แล้วมักจะพบว่าไข้ขึ้นสูงไปมากกว่าที่ปรอทจะวัดได้ (ปรอทปกติวัดไข้ได้สูงสุดที่ 42 องศาเซลเซียส)

4. น้ำลายไหลเปียกคาง🤤: อาการนี้ก็บ่งบอกได้เช่นกันว่า กระต่ายเริ่มมีภาวะ Heat Stroke แล้ว แต่ที่สำคัญคือต้องแยกให้ออกว่าไม่ใช่น้ำลายไหลเนื่องจากฟันกรามที่ยาวเกินไป

5. จับตัวแล้วร้อน🥵: ปกติร่างกายกระต่ายจะเเลกเปลี่ยนความร้อนได้ดีที่สุดทางใบหู บางทีถ้าเราจับหูแล้วมีอาการเดี๋ยวเย็นเดี๋ยวร้อนอาจจะเป็นการปรับสมดุลความร้อนอยู่ก็ได้ครับ แต่เมื่อเราจับบริเวณขาหนีบ ซอกรักแร้ หรือบริเวณหลังคอแล้วรู้สึกว่าร้อนกว่าปกติ นั่นอาจจะเริ่มมีปัญหากับความร้อนแล้วก็ได้นะครับ แต่วิธีที่ดีที่สุดก็คือการใช้ปรอทวัดไข้ผ่านทางทวารครับ โดยปกติอุณหภูมิกระต่ายเมื่อวัดผ่านทางก้นควรจะอยู่ที่ 38-40 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิน 40.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป ถ้าเกินกว่านี้ถือว่าเข้าขั้นวิกฤตแล้วครับ

6. นอนนิ่งไม่ขยับ ร่วมกับช็อคและชักเกร็ง😱: อาการนี้เป็นอาการขั้นสุดท้ายของ Heat Stroke ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ว่าหมอหรือผู้เลี้ยงคนไหนก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นแน่นอนครับ เนื่องจากการช็อคหรือชักเกร็งจะเกิดขึ้นเมื่อกระต่ายจะทนความร้อนไม่ไหว และร่างกายไม่สามารถควบคุมตัวเองได้แล้ว อัตราการเสียชีวิตเมื่อมาถึงระยะนี้สูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ตามยังมีโอกาสอีก 10 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือที่ต้องคว้าไว้ โดยการช่วยเขาให้เต็มที่ ผมเชื่อว่ายังมีปาฏิหาริย์เสมอครับ

เราก็ได้รู้จักอาการคร่าวๆ ของ Heat Stroke กันไปบางแล้วนะครับ คราวนี้มาดูวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งสัตวแพทย์กันดีกว่าครับว่าเราจะช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงและช่วยเหลือหมออย่างไรได้บ้าง จุดมุ่งหมายของการรักษาเบื้องต้นคือ พยายามลดความร้อนลงโดยวิธีดังต่อไปนี้🚑🚨

1. เมื่อรู้สึกว่าสัตว์เลี้ยงตัวร้อน ให้หาน้ำที่เย็นกว่าปกติเล็กน้อยแต่ห้ามเป็นน้ำเย็นจัดนะครับ❌🧊 หรือใช้แอลกอฮอล์ผสมกับน้ำเปล่าในอัตราส่วน 1:1 ค่อยๆ เช็ดบริเวณใบหู (สำคัญที่สุด) และขาหนีบ💧

2. สเปรย์น้ำให้เป็นฝอยละอองหรือใช้น้ำเปล่าพรมลงไปทั่วตัวเพื่อลดความร้อน💦🚿

3. ใช้ผ้าขนหนูเปียกเช็ดตัวและห่อตัวไว้ และอาจจะใช้ลมเย็นเป่าเพื่อให้ความร้อนระเหยออกก็ได้💨

4. จัดหาน้ำเย็นให้กินโดยสามารถใส่กระบอกน้ำ ถ้วยน้ำ หรือจะค่อยๆ ป้อนน้ำเย็นโดยตรงก็ได้🥣

5. รีบนำส่งสัตวแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป👨🏻‍⚕️🩺
สิ่งที่ห้ามทำเลยคือการใช้น้ำเย็นจัดหรือแอลกอฮอล์ที่ยังไม่ได้ผสมมาช่วยลดอุณหภูมิ เพราะจะยิ่งทำให้เส้นเลือดหดตัว ความเย็นแบบนี้ทำให้อุณหภูมิบริเวณผิวหนังลดลงแต่อุณหภูมิที่อยู่ในร่างกายกลับเพิ่มมมากขึ้นเพราะไม่สามารถระบายออกไปทางผิวหนังได้ ซึ่งอาจจะทำให้อาการร้ายแรงขึ้นไปอีกครับ

การป้องกันไม่ให้เกิด Heat stroke กลับเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่าการรักษา เราสามารถทำได้โดยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก มีลมพัดผ่าน ถ้าอากาศร้อนมากจนเกินไปก็พยามยามเปิดพัดลมแบบส่ายไปมาให้ แต่ไม่ควรใช้พัดลมเพดาน ให้ใช้พัดลมตั้งพื้นจะเหมาะที่สุด หรือจะใช้พัดลมไอน้ำร่วมด้วยในกรณีที่อากาศร้อนจริงๆ แต่ไม่แนะนำให้ ใช้พัดลมไอน้ำตลอดเวลาเพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจได้ครับ หรือหากสามารถเปิดแอร์ได้ก็จะช่วยทำให้สัตว์เลี้ยงสบายตัวขึ้นครับ💪🏼

วันที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือวันที่อากาศร้อนและมีความชื้นสูง สังเกตได้ง่ายๆ จากว่าถ้าวันไหนเรารู้สึกอึดอัดกับอากาศ เหนียวตัว คล้ายกับอากาศในช่วงก่อนฝนจะตก ช่วงนี้แหละครับที่น่ากลัว เพราะเมื่อความชื้นในกาศสูงมากๆ การระบายความร้อนออกจากร่างกายก็จะยิ่งยากขึ้น☀️

เมื่อมาถึงมือสัตวแพทย์แล้ว ทีนี้ก็ขึ้นกับดุลยพินิจของคุณหมอแต่ละท่านว่าควรจะทำสิ่งใดก่อน ซึ่งการรักษานั้นก็มีหลายวิธี และไม่จำเป็นต้องให้การรักษาทุกอย่างตามที่เขียนไป ขึ้นอยู่กับกรณีครับ เช่น

- ลดอุณหภูมิร่างกายของกระต่ายโดยใช้วิธีการต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว
- ให้น้ำเกลือ อาจจะให้เข้าเส้นเลือดหรือใต้ผิวหนัง
- ให้ยาลดการบวมของสมอง💉
- ให้ยาปฎิชีวนะ💊
- ให้ออกซิเจน
- ให้ยาขยายหลอดเลือดเพื่อช่วยทำให้การลดอุณหภูมิมีประสิทธิภาพมากขึ้น( ตามความจำเป็น)
- ให้ยาซึมเพื่อลดความเครียดขณะจับบังคับหรือเช็ดตัวสัตว์

นี่ก็เป็นเพียงวิธีการคร่าวๆ และภาพรวมของโรคนี้นะครับ โดยบทความที่เขียนขึ้นเป็นเพียงแนวทางกว้างๆ เท่านั้น ซึ่งในรายละเอียดแล้วอาจจะมีมากกว่านี้ อย่างน้อยสิ่งที่อยากให้เป็นประประโยชน์กับผู้เลี้ยงกระต่ายและสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ ก็คือการลดโอกาสป่วยและการเสียชีวิตของสัตว์เลี้ยงลงครับ💚

มีกระต่ายจำนวนไม่น้อยที่เสียชีวิตก่อนจะมาถึงมือหมอ เพียงแต่เจ้าของสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้เขามีชีวิตรอดได้ และมีกระต่ายหลายตัวเหมือนกันที่เสียชีวิตขณะทำการรักษา ผมในฐานะสัตวแพทย์ ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นเลย เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ทุกคนต้องเศร้าและเสียใจ การป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นดีกว่าการรักษา เชื่อผมเถอะครับ👌🏻

ด้วยความปรารถนาดีจาก
โรงพยาบาลสัตว์แอนิมอลสเปซ

ปรึกษาเพิ่มเติม 02-116-2214, 02-116-2215

#กระต่าย #ฮีทสโตรกกระต่าย #ฮีทสโตรก #รักษากระต่าย #โรงพยาบาลกระต่าย

19/04/2022
16/04/2022
แอบของเธออยู่นะจ๊ะ
13/04/2022

แอบของเธออยู่นะจ๊ะ

07/04/2022

🏨อาการผิดปกติในแฮมสเตอร์ที่ต้องพาไปพบสัตวแพทย์ทันที🏨

ในฐานะคนเลี้ยง หน้าที่อย่างนึงคือการดูแลแฮมสเตอร์ให้มีสุขภาพดีและพาไปหาสัตวแพทย์ในยามจำเป็น เพราะฉะนั้นก่อนที่จะรับแฮมสเตอร์มาเลี้ยงควรหาโรงพยาบาลสัตว์ที่สามารถพาไปได้ ดีที่สุดคือที่ที่มีสัตวแพทย์เฉพาะทางสัตว์ exotic แต่ในกรณีฉุกเฉิน อาการเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย และไม่สามารถหาโรงพยาบาลสัตว์exoticที่เปิดอยู่ได้ การพาไปหาสัตวแพทย์ทั่วไปที่รักษาหมา-แมวนั้นดีกว่าการไม่พาไปเลย

ลิสรายชื่อโรงพยาบาลสัตว์ต่างๆ https://web.facebook.com/media/set/?set=a.683694782175208&type=3&_rdc=1&_rdr

🐹 อาการที่ต้องพาไปพบแพทย์ทันที
- อ่อนแรง ซึม
- ทานอาหารลดลงหรือไม่ทานอาหารเลย
- หายใจผิดปกติ มีเสียงวี้ด/เสียงคลิก จาม
- หายใจกระแทก อ้าปากหายใจ
- ตา จมูก หรือปากเปียก
- ตาเปลี่ยนเป็นสีแดง มีแผลที่กระจกตา
- ท้องป่องมากขึ้น
- ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นเลือด
- เลือดหรือหนองออกทางอวัยวะเพศ
- ไส้หรือมดลูกไหล อวัยวะเพศปลิ้นออกและไม่สามารถกลับได้เอง
- กระพุ้งแก้มหลุด
- คลอดไม่ได้ เสียเลือดมาก ลูกคาอยู่ที่ช่องคลอด
- กระดูกหัก เดินลากขาผิดปกติ หรือแขนขาไปติดกับกรงเวลานาน ขาบวมช้ำ
- ตกจากที่สูง (อาการผิดปกติอาจไม่แสดงทันที)
- ถูกสัตว์อื่นกัดหรือคาบมา
- ถูกแฮมสเตอร์อีกตัวกัด
- เดินวน หัวเอียง ทรงตัวไม่ได้ ตีลังกา
- ชัก สั่น
หากแฮมสเตอร์มีอาการ/นิสัยเปลี่ยนไปจากเดิม ให้สงสัยว่าป่วยไว้ก่อนเสมอ

🐹 อาการที่ควรพาไปพบแพทย์ในเวลา
- ขนร่วง/บางลง หิวหนังมีความผิดปกติ
- เกามากกว่าปกติ
- จามเป็นบางครั้งและยังไม่มีความผิดปกติอื่น
- ฟันยาว ฟันเปลี่ยนเป็นสีขาว
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- คลำเจอก้อน/เนื้องอก

💵 ค่ารักษา
ส่วนนี้จะแตกต่างกันไประหว่างโรงพยาบาล ความยากง่ายในการรักษา ในบางกรณีสามารถผ่อนได้ เจ้าควรสำรองเงินไว้อย่างน้อย 2000 บาท อันนี้เป็นค่ารักษาโดยประมาณ
- รักษาด้วยยาอย่างเดียว ส่วนมากมักไม่เกิน 500-1000 บาท/ครั้ง
- แอดมิท 200-1500 บาท/วัน หากต้องนอนในตู้ออกซิเยน พ่นยา มักจะ 800 บาท/วันขึ้นไป
- ผ่าตัด 2000-4000 บาท

25/03/2022
18/03/2022
14/03/2022
13/03/2022

ง่วงก็ง่วง ที่นอนก็ต้องจัด

เหมือนมีพลังงานบางอย่าง
08/03/2022

เหมือนมีพลังงานบางอย่าง

04/03/2022

" การดูแลแฮมสเตอร์ชรา 👩‍🦳🐹👨‍🦳"

แฮมสเตอร์มีอายุไขประมาณ 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปี ซึ่งน้องบางตัวเมื่ออายุแตะ 1 ปีครึ่งก็อาจจะเริ่มดูแก่เฉา หรืออาจจะยังเล่นเป็นเด็กอยู่ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์ของน้อง แต่เมื่อน้องอายุประมาณนี้แล้วก็ควรเริ่มสังเกตสัญญาณที่บ่งบอกว่าน้องเริ่มแก่ตัวลงเพื่อที่จะได้เริ่มปรับเปลี่ยนการดูแลให้น้องได้อยู่อย่างมีความสุขตามวัย

🟢 สัญญาณของแฮมสเตอร์ที่เริ่มแก่ตัวลงคือ 🟢
1. น้องเคลื่อนไหวช้าลง ไม่ค่อยทำกิจจกรรมมากเหมือนเมื่อก่อน อาจจะออกมาแค่กินข้าวกับน้ำแล้วเดินกลับรัง ไม่ค่อยเล่นจักร
2. นอนเยอะขึ้น จากเมื่อก่อนที่น้องจะกลับไปนอนที่รัง อาจเปลี่ยนมานอนที่จักร หรือหน้าบ้านแทนเพราะน้องเดินเยอะแล้วเหนื่อยง่ายขึ้น
3. น้ำหนักตัวลดลง เช่น ลดลง 1 - 2 กรัมตั้งแต่ช่วงที่น้องเริ่มถึงวัยแก่ เพราะร่างกายจะเริ่มมีไขมันและมวลกล้ามเนื้อที่ลดลง แต่ต้องไม่ใช่น้ำหนักลดแบบฮวบฮาบ ถ้าลดทีละเยอะๆอาจจะเป็นเพราะน้องป่วยมากกว่า
4. ขนร่วง ขนบาง ไม่เงางามเหมือนเมื่อก่อน
5. ความอยากอาหารต่ำลง น้องจะกินอาหารที่ให้น้อยลงช้าๆ แต่ถ้าสังเกตว่าน้องไม่กินอาหารเลยอาจเป็นสัญญาณว่าน้องป่วย

🟢วิธีการดูแลแฮมสเตอร์ชรา🟢
1. ฟันของน้องจะเริ่มเปราะได้ง่ายขึ้นทำให้แตกง่าย ถ้าหากฟันน้องแตกจะทำให้น้องกินอาหารได้ยาก วิธีป้องกันคือให้นำอาหารน้องมาแช่น้ำ อุ่นในไมโครเวฟแล้วบดให้เป็นก้อนนุ่มๆเพื่อให้น้องกินง่ายขึ้น
วิธีการอีกอย่างนึงคือสามารถนำอาหารเด็กมาเสริมให้น้องกิน แต่ควรสังเกตและอ่านฉลากให้แน่ใจว่าวัตถุดิบทุกอย่างเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ ไม่แต่งกลิ่น ไม่แต่งรส ไม่มีน้ำตาลหรือเกลือ ไม่มีส่วนผสมของอาหารที่เป็นกรดมาจนเกินไปเช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว หรือส่วนผสมของกระเทียมหรือหัวหอม โดยให้เน้นไปทางวัตถุดิบประเภทผักมากกว่าผลไม้เพราะผลไม้มีน้ำตาลสูง
2. ลดขนาดของกรงลง เพราะเมื่อน้องเริ่มแก่จะเดินไปไหนมาไหนลำบาก เหนื่อยง่าย แต่ยังต้องเป็นกรงที่อยู่ในขนาดมาตรฐานสากลอยู่และไม่ควรต่ำกว่านั้น
3.จัดให้บ้านมุด อาหาร น้ำ และจักรอยู่ใกล้ๆกัน น้องบางตัวอาจจะปีนป่ายได้ช้าลงก็ควรลดของเล่นหรือสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคต่อการปีนให้กับน้องเพราะน้องสามารถเป็นโรคข้ออักเสบได้เหมือนกับมนุษย์
4. เปลี่ยนรองกรงให้เป็นชนิดที่นุ่มขึ้น แนะนำให้เป็นประเภทเยื่อกระดาษ และควรใส่ทิชชู่ให้น้องทำรังมากขึ้นด้วยเพราะเมื่อน้องแก่จะทำให้น้องตัวเย็นได้ง่าย เราจึงควรทำให้น้องอบอุ่นอยู่เสมอ สำหรับในประเทศไทยก็สามารถนำไปปรับใช้ได้สำหรับคนที่เลี้ยงน้องในห้องแอร์นะคะ

แฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่อายุสั้นไม่เหมือนกับสุนัขหรือแมว เราไม่มีทางรู้เลยว่าน้องจะมีอายุถึงเท่าไหร่ อาจจะสั้นกว่าหรือนานกว่า 2 ปี เรามีเวลาเพียงสั้นๆในการอยู่กับน้อง แต่ในเวลาสั้นๆนั้นก็คือทั้งชีวิตของน้องเลย ดังนั้นเราควรใช้เวลาที่มีอยู่กับน้องทำให้น้องได้มีชีวิตที่ดีและมีความสุขที่สุด ให้น้องรู้สึกได้รับความรักความห่วงใยถึงแม้ว่าน้องจะแก่แต่น้องก็ยังสมควรที่จะได้รับความรักไม่น้อยไปกว่าวันที่ได้รับน้องมาวันแรก

03/03/2022

" แฮมสเตอร์จำศีลด้วยหรอ? 🐹🐻 "

มีคนเคยพูดกันว่าเลี้ยงน้องในห้องแอร์ อากาศเย็นมากๆและเห็นน้องนอนขดตัวไม่ยอมตื่น น้องจำศีลได้ด้วยหรอ?

คำตอบคือ แฮมสเตอร์ไม่จำศีลแบบหมี ที่นอนตอนช่วงฤดูหนาวแบบที่เราๆเข้าใจค่ะ แต่แฮมสเตอร์จะมีอาการลักษณะคล้ายกันที่เรียกว่า เทอพัวร์ (Torpor) ซึ่งเป็นอากาศผิดปกติและต้องหาทางให้น้องกลับไปเป็นเหมือนเดิมโดยด่วนเพราะสามารถทำให้น้องตายได้

ขอเกริ่นก่อนว่า "จำศีล (True Hibernation)" หมายถึงการที่สัตว์กินเยอะมากๆเพื่อสะสมไขมันและสารอาหารก่อนจะพยายามนอนหลับตลอดหน้าหนาวอย่างที่หมี งู หรือเต่าทำกัน ซึ่งในการจำศีลแบบนี้การเต้นของหัวใจและความถี่ของหัวใจต่ำลงเพราะหน้าหนาวไม่มีอาหารและจะนอนอย่างเดียว สัตว์เหล่านี้จะไม่กินหรือทำกิจกรรมอื่นๆเพื่อใช้พลังงานให้น้อยที่สุด ซึ่งหลังจากหน้าหนาวก็จะกลับมาดำรงชีวิตเหมือนเดิมและเป็นเรื่องปกติ

ส่วนอาการเทอพัวร์ (Torpor) ในแฮมสเตอร์นั้นเกิดจากการที่อุณหภูมิห้องลดต่ำลงทำให้แฮมสเตอร์จับความผิดปกติของสภาพแวดล้องรอบตัว น้องจะปรับร่างกายเข้าสู่สภาวะดังกล่าว โดยการลดอุณภูมิของร่างกายลงเพื่อให้มีชีวิตรอดจากสภาพแวดล้อมที่น้องไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้(อากาศหนาว/อาหารไม่เพียงพอ) น้องจะนอนนิ่งๆร่างกายเย็นแต่ยังไม่ตาย แต่ที่ต่างจากการจำศีลคือถ้าไม่แก้สิ่งแวดล้อมให้น้อง น้องจะตายจริงๆในเวลาต่อมาเพราะน้องเป็นสัตว์ตัวเล็ก ร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนสัตว์ใหญ่ทำให้ทนสถานะนี้ได้ไม่นาน

วิธีแก้คือต้องพยายามอุ่นร่างกายน้องช้าๆ ห้ามทำไวเกินไปเพราะถ้าอุณภูมิเปลี่ยนฉับพลันน้องอาจตายได้

โชคดีที่ในประเทศไทยแทบจะไม่มีปัญหานี้เลย เพราะการที่จะทำให้น้องเข้าสู่อาการ Torpor ได้นั้น อุณหภูมิจะต้องต่ำกว่าประมาณ 15 องศา แต่เราก็ไม่ควรนิ่งนอนใจเพราะอาการนี้สามารถเกิดขึ้นเมื่อในกรงของน้องมีอาหารไม่เพียงพอหรือลืมให้อาหารน้องหลายวัน

ข้อเสริมนิดนึงค่ะว่า Torpor เป็นชนิดของการจำศีลค่ะ แต่ไม่ใช่การจำศีล (True Hibernation) ที่เราสามารถปล่อยผ่านได้เหมือนสัตว์ในธรรมชาติได้ เราต้องช่วยน้องก่อนที่จะสายเกินไป 🐹

Credits: https://www.youtube.com/watch?v=dzEIPphVvYU&ab_channel=VictoriaRaechel

02/03/2022

อาการหลังโดนนุดอุ้ม

23/02/2022

มาออกกำลังกายกันครับ

16/02/2022

แอบใครกินครับ

15/02/2022

ทำไมถึงทำกับมี๊อย่างงี้

Address


Opening Hours

Monday 08:00 - 00:55
Tuesday 08:00 - 00:55
Wednesday 08:00 - 00:55
Thursday 08:00 - 00:55
Friday 08:00 - 00:55
Saturday 08:00 - 00:55
Sunday 08:00 - 00:55

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when KhunchaiHamster posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Opening Hours
  • Alerts
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Pet Store/pet Service?

Share