13/12/2023
เอาใจช่วยบรีดเดอร์และผู้ที่ค้าขาย ทุกท่านนะครับ หากท่านใดประสบปัญหาด้านการลงขายสัตว์เลี้ยง สามารถติดต่อมาในเพจได้เลยครับ มีทีมงานพร้อมให้คำแนะนำ
มีโอกาสได้ไปพบกับ Caption นี้ใน Facebook
ก็ทำให้เกิดคำถามว่า "ราคาไปต่อได้"
มาตรฐานของคำนี้ จุดร่วมควรจะอยู่ที่ตรงไหน
ผู้เพาะพันธุ์ พ่อค้าคนกลาง ผู้ซื้อ ใครคือคนกำหนด?
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า
การเลี้ยงงูทุกตัวนั้นมันมีต้นทุนอยู่ในตัวของมันเอง
ไม่ว่าจะเป็น ค่ากล่อง ค่ารองพื้น ค่าอาหาร
และค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่งูเจ็บป่วย
สมมติว่างู 1 ตัวกินอาหารสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
ค่าอาหารตกสัปดาห์ละ 50-100 บาท แล้วแต่ขนาดของตัวงู
(1 เดือนมี 4 สัปดาห์ หักไป 1 สัปดาห์ ในกรณีที่งูเข้าคราบ)
ค่าอาหารก็จะตกเดือนละ 150 -300 บาท โดยประมาณ
(อันนี้ยังไม่รวมในกรณีที่หนูขาดตลาด
จนทำให้มีราคาที่สูงขึ้นมาก)
ซึ่งตรงนี้ก็คือต้นทุนที่ผู้เพาะพันธุ์หลีกเลี่ยงไม่ได้
กว่างู 1 ตัวจะผสมพันธุ์ได้
ลองคำนวนค่าอาหารดูครับว่าเป็นเงินเท่าไหร่
กลับมาที่ราคาซื้อขาย
เราปฏิเสธไม่ได้ว่าในกรณีที่ผู้ซื้อ
ต้องการซื้อหางูมาเลี้ยงซักตัวนั้น
ผู้ซื้อก็จะมีการค้นหาราคาอ้างอิงในเว็ปซื้อขาย เช่น
www.morphmarket.com หรือ www.repttown.com
เป็นสารตั้งต้นในการตัดสินใจเลือกซื้องูมาเลี้ยง
โดยช่องว่างตรงนี้ ก็จะมีคนบางกลุ่ม
ตั้งตนเป็น "พ่อค้าคนกลาง"
ที่จะอิงราคาซื้อขายหน้าเว็บไซค์
แล้วมาทำการต่อรองหลังไมค์กับผู้เพาะเลี้ยง
เพื่อขอลดราคาหรือนำเสนอผลประโยชน์ต่างๆ
ที่ WIN WIN ทั้งสองฝ่าย
ดังนั้น ส่วนต่างราคาซื้อขายตรงนี้
จึงกลายเป็นวลียอดฮิตว่า "ราคาไปต่อได้"
นั่นคือความเข้าใจของทางแอดมินในสิ่งที่มันควรจะเป็น
แต่ แต่ แต่ ด้วยสภาพเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน
ประกอบกับ Supply เกิน Demand
ทำให้ "พ่อค้าคนกลางบางท่าน" อาศัยช่องว่างและช่วงเวลานี้
ทำการ "กดราคาผู้เพาะเลี้ยง" ให้ต่ำที่สุด (ขอย้ำว่าต่ำที่สุด)
บางรายเกิน 50% ของราคาที่ควรจะเป็นด้วยซ้ำ
ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ ถ้าพ่อค้าคนกลาง
ซื้อในปริมาณที่มากกว่าราคาปกติ
อาจจะซื้อในครั้งเดียว หรือออเดอร์ไว้
เเล้วทยอยส่งก็ได้ตามความเหมาะสม
ซึ่งกรณีนี้ผู้เพาะพันธุ์ที่เป็นผู้ขายก็จะขายได้จำนวน
และ คนซื้อได้ราคาที่มีช่องว่างให้ได้กำไรต่อได้
เเบบนี้อาจจะ win win
แต่ถ้าขอราคาไปต่อได้ แบบซื้อหน่วยเดียว
โดยกดราคาผู้เลี้ยงให้ต่ำที่สุดเเล้วไปบวกส่วนต่างเพิ่ม
คำถามตัวโตๆคือ "คุณขอราคาไปต่อได้
แล้วผู้เพาะพันธุ์หละครับ เค้าไปต่อได้มั้ย?"
ซึ่งทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
ก็จะเป็นชนวนเหตุไปสู่อีก 1 วลี Classic
ในวงการงูบอล คือ " ตั้งรับงูบอลราคาเลิกเลี้ยง "
เข้าใจครับว่าบางบ้านบางฟาร์มมีความสามารถ
ในการเพาะพันธุ์ที่สูงแต่การโฆษณาหรือการตลาด
ที่จะทำให้ลูกค้ารู้จักนั้นอาจทำได้ไม่เก่ง
จึงต้องมีพวกท่านเป็นสื่อกลางในการซื้อขาย
หรือระบายของ แต่มันจะดีกว่ามั้ยถ้า
คุณไปได้ ผมไปได้ ทุกฝ่าย "ไปต่อได้เหมือนกัน"
ปล.บทความนี้เขียนขึ้นจากความเห็นและความสงสัยส่วนตัว
โดยไม่ได้มีเจตนาสร้างความขัดแย้งใดๆทั้งสิ้นครับ
ด้วยรักและหวังดี