Dr.javet หมอจาหามาเล่า - Exotic & Wildlife Medicine

  • Home
  • Dr.javet หมอจาหามาเล่า - Exotic & Wildlife Medicine

Dr.javet หมอจาหามาเล่า - Exotic & Wildlife Medicine นำเสนอ Journal, Research, Case report, Review literature สำหรับ Exotic and wildlife medicine/surgery ที่น่าสนใจ
(2)

FB page นี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหมู่วิชาชีพสัตวแพทย์ รวมถึงนิสิตหรือนักศึกษาสัตวแพทย์ โดยมุ่งเน้นไปที่สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษและสัตว์ป่า (Exotic and wildlife animals) เป็นหลัก

เพื่อยกระดับและพัฒนาวิชาชีพการสัตวแพทย์ สาขาสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ

Goffin cockatoo is so gorgeous !!!อ้อนเกินน ไม่ประเคนให้ก็ไม่กินน 🥲 #หมอจาหามาเล่า
03/07/2023

Goffin cockatoo is so gorgeous !!!

อ้อนเกินน ไม่ประเคนให้ก็ไม่กินน 🥲

#หมอจาหามาเล่า



Goffin Cockatoo is so gorgeous !! อ้อนเกินน ไม่ประเคนให้ก็ไม่กินน 🥲 #หมอจาหามาเล่า

21/06/2023

" The Poor Swollen-Headed Bird "

A little forpus came in with a problem of swollen eyes. Upon physical examination, a lump of tissue was found near the right eye, while the eyeball itself appeared normal. The location of the lump was likely the infraorbital sinus, and just before the discovered tissue, there was a yellowish discoloration, which indicated a possible abscess caused by infection.

To alleviate the pain that might occur during abscess drainage, we administered local anesthesia in the area of the abscess. It seemed to effectively reduce the pain because the bird showed no signs of discomfort during the drainage process.

Afterward, we collected a sample for bacterial culture, performed wound cleaning, and prescribed antibiotics and painkillers for the bird to take at home. The owner was instructed to clean the wound daily. Fortunately, our choice of medication was appropriate, as the abscess healed within a few days, and the bird returned to normal.

-----------------------------------------

Tiktok : https://www.tiktok.com/?_t=8dLcnrKqA2Z&_r=1

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCMfH-MbnpUCyJDPzCVpNeOw

Email : [email protected]

สามารถมาเจอกันได้ที่ : โรงพยาบาลสัตว์แอนิมอลสเปซ Animal Space Hospital

🦷 Sulcata Tortoise Dental Work 🦷📌 The owner brought their tortoise with a problem of wound on its tongue and mentioned t...
20/06/2023

🦷 Sulcata Tortoise Dental Work 🦷

📌 The owner brought their tortoise with a problem of wound on its tongue and mentioned that they had noticed it for a while, but the sores would come and go. Some were on the upper side of the tongue, while others were on the lower side. Additionally, the tortoise refused to use its tongue while eating, unlike other tortoises.

📌 Upon physical examination, it was found that it was impossible to perform a thorough examination because the tortoise retracted its head into the shell and there was no way to inspect it. Therefore, we recommended trying anti-inflammatory medication first. If there was no improvement, we would consider administering anesthesia to conduct a detailed oral examination. We were quite confident that the cause originated from inside the mouth, particularly the teeth.

📌 After a week with no improvement, we proceeded with the plan to administer anesthesia for oral examination. To our findings, the tortoise's tooth alignment was abnormal, with the upper and lower teeth not meeting properly. They were elongated and inclined towards the tongue. This condition increased the chances of the teeth injuring the tongue and causing chronic sores. Furthermore, we also discovered a relatively large and deep sore on the tongue.

📌 We then transformed ourselves into veterinary dentists for a day. Luckily, we had some impressive dental equipment, which made our work easy and efficient. The tortoise recovered from anesthesia and returned home smoothly. A follow-up appointment was scheduled for a week later, and the owner reported no tongue sores and that the tortoise was able to use its tongue normally once again.

-----------------------------------------

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCMfH-MbnpUCyJDPzCVpNeOw

Email : [email protected]

สามารถมาเจอกันได้ที่ : โรงพยาบาลสัตว์แอนิมอลสเปซ Animal Space Hospital

Check out Dr javet - หมอจาหามาเล่า's video.

พามาดูการเจาะตรวจเลือดงูกันครับ ( Cardiopuncture: A Pioneering Technique for Snake Blood Collection )In this captivating...
25/05/2023

พามาดูการเจาะตรวจเลือดงูกันครับ ( Cardiopuncture: A Pioneering Technique for Snake Blood Collection )

In this captivating video, we not only delve into the technique of ultrasound-guided cardiopuncture in snakes but also provide a compelling demonstration of the blood collection process. Join us as we showcase the skilled herpetologists in action, guiding you through each step of the procedure.

Explore the advantages of ultrasound-guided cardiopuncture, including enhanced safety, reduced invasiveness, and improved success rates. Witness how this advanced technique minimizes risks and maximizes the effectiveness of blood collection for research, diagnostics, and conservation purposes. Gain insights into the specialized training and expertise required to ensure the well-being of the snakes and the optimal utilization of this cutting-edge approach.

#หมอจาหามาเล่า




งูตรวจเลือดได้ไหม ? วันนี้หมอจาจะพามาดูวิธีการเจาะเลือดงูกัน ( Cardiopuncture: A Pioneering Technique for Snake Blood Collection ) #หมอจาหามาเล่า ...

มาดูวิธีการให้อาหารเหลวผ่านสายในงูป่วยกันคร้าบ ( Reviving and Nourishing: Feeding Liquid Feed to an Ailing Snake ) In th...
16/05/2023

มาดูวิธีการให้อาหารเหลวผ่านสายในงูป่วยกันคร้าบ

( Reviving and Nourishing: Feeding Liquid Feed to an Ailing Snake )

In this video clip, we will explore the process of feeding liquid feed to an ill snake. We will discuss the importance of providing proper nutrition to a snake that is unable to consume solid food due to illness or injury. The clip will demonstrate step-by-step instructions on preparing and administering liquid feed, ensuring the snake receives essential nutrients for recovery. We will also address common challenges and offer tips for successfully feeding liquid feed to snakes. Join us to learn how to support the health and well-being of an ill snake through specialized liquid nutrition.

#หมอจาหามาเล่า

มาดูวิธีการให้อาหารเหลวผ่านสายในงูป่วยกันคร้าบ ( Reviving and Nourishing: Feeding Liquid Feed to an Ailing Snake ) #หมอจาหามาเล่า

เชื้อโรคที่ไม่ควรมองข้าม อาจกลายเป็นฝันร้ายของนกและคนเลี้ยงนก " เมกาแบคทีเรีย(Megabacteria)  ”📍 โรคติดเชื้อในนกอีกหนึ่งโ...
03/02/2023

เชื้อโรคที่ไม่ควรมองข้าม อาจกลายเป็นฝันร้ายของนกและคนเลี้ยงนก

" เมกาแบคทีเรีย(Megabacteria) ”

📍 โรคติดเชื้อในนกอีกหนึ่งโรคที่คิดว่าน่าจะติดอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยและความเสียหายระดับฟาร์มของนกเล็กโดยเฉพาะ "Forpus" ในชั่วโมงนี้คงหนีไม่พ้น “ เมกาแบคทีเรีย ” แต่ส่วนตัวกลับมองว่าคนเลี้ยงนกยังรู้จักหรือมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้น้อยมาก แม้กระทั่งสัตวแพทย์เองก็ตาม

เดิมทีเชื้อนี้ถูกรู้จักกันมานานกว่า 20 ปีแล้ว ในฐานะของโรคติดเชื้อที่เกิดจาก “ bacteria ” ที่มีขนาดใหญ่กว่า bacteria ปกติมาก จึงถูกเรียกว่า Megabacteria ซึ่งเป็นชื่อที่ “คนเลี้ยงนก” รู้จักกัน แต่การศึกษาในปัจจุบันพบว่ามันไม่ได้ถูกจัดเป็น bacteria อีกต่อไปแล้ว เชื้อโรคตัวนี้มีชื่อว่า

“Macrorhapdus ornithogaster” (M. Ornithogaster) หรือ gastric yeast

M. Ornithogaster ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม anamorphic Ascomycetes yeast หรือ เป็นเชื้อยีสต์ที่มี asexual reproductive stage และมักจะพบที่บริเวณรอยต่อ proventriculus-ventriculus ของนกเป็นหลัก

📍 แล้วนกเลี้ยงชนิดไหนบ้างที่สามารถติดเชื้อได้ ?

1. กลุ่มนกปากขอ (Psittacine birds) นกที่พบการติดเชื้อได้บ่อยที่สุด ได้แก่
Budgerigar (Melopsittacus undulatus) หรือ นกหงศ์หยก
Lovebirds (Agapornis sp) หรือ นกเลิฟเบิร์ด
Lesser extent cockatiels (Nymphicus hollandicus) หรือ ค็อกคาเทล
และแน่นอนที่เป็นปัญหากันมากๆ ก็ในกลุ่ม Parrotlets (Forpus sp) หรือ ฟอพัสนั่นเอง

ส่วนในนกธรรมชาติ wild australian birds ที่เจอได้บ่อย คือ fledged Galahs (Eolophus roseicapilla) หรือ นกกาลาห์ และ Corellas (Cacatua sp) หรือ นกแก้วค็อกคาเทล ที่มีอาการท้องเสียเรื้อรังและน้ำหนักลด แต่ในการศึกษานี้พบการป่วยร่วมกับโรคอื่นๆด้วย

2. กลุ่มนกเกาะคอน (Passerine birds) ที่มีรายงานการติดเชื้อ ได้แก่
Canaries (Serinus carania) หรือ นกแคนนารี นกคีรีบูน
Zebra finches (Taeniopygia guttata) หรือ นกซีบร้าฟินซ์
Gouldian finches (Erythrura gouldiae) หรือ นกฟินซ์เจ็ดสี นกสายรุ้ง
�ส่วนในนกธรรมชาติ wild European finches, Sisken (Carduelis spinus), European goldfinches (Carduelis carduelis) และ Green finches (Carduelis chloris) ก็มีรายงานการติดเชื้อเช่นกัน

3. สัตว์ปีกชนิดอื่นๆ (Other avian species) ได้แก่
Chickens (Gallus gallus)
Gray partridge (Perdix perdix)
The Japanese quail (Coturnix japonica)
Domestic turkey (Meleagris gallopavo)
Chukar partridge (Alectoris chukar)
Guinea fowl
Ducks, geese
Greater rheas (Rhea americana)

ใดใดก็ตามการศึกษา full host range ยังไม่ได้ครบถ้วนสมบูรณ์จนสามารถสรุปได้ทั้งหมด แต่ก็มีการทดลองมาบ้างแล้วเหมือนกันในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยพบว่าเชื้อนี้ไม่สามารถโตได้ใน mammals จากการศึกษาในหนู mice

📍 อาการของนก budgerigars cockatiels และ forpus ที่ติดเชื้อ M. Ornithogaster ส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการของระบบทางเดินอาหารเป็นหลัก เช่น อาจียน ท้องเสีย น้ำหนักลดแบบเรื้อรัง ผอมลง และอาจพบภาวะถ่ายเป็นเลือดสดหรือถ่ายเป็นมูกสีดำเนื่องจากเกิดแผลหลุมในกระเพาะอาหารและมักจะพบภาวะโลหิตจางร่วมด้วย แต่ในส่วนของนก canaries และ finches หากติดโรคนี้มักจะเสียชีวิตไม่กี่วันถัดมาหลังจากแสดงอาการป่วยให้เห็น

📍 โชคดีตรงที่ขั้นตอนในการวินิจฉัยทำได้ค่อนข้างง่าย เนื่องจากเราเพียงแค่เอาอึมาละลายน้ำเกลือซึ่งก็คือการทำ fresh smear หรือ wet mount เท่านั้นเอง แล้วเอามาส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ที่กำลังขยาย 40X ก็จะสามารถวินิจฉัยได้แล้ว

“ Criteria ในการ identify M. Ornithogaster : Long Slender Straight stiff rods with rounded ends ” ความยาวอยู่ในช่วง 20-80 microns กว้างประมาณ 2-3 microns และค่อนข้างสม่ำเสมอ

เน้นย้ำว่าปลายทั้ง 2 ข้างของ organism นี้จะต้องเป็น round ends เสมอ เนื่องจากบางครั้งเราอาจจะพบ organism ที่รูปร่างอาจจะคล้ายกันแต่ปลายของมันมักจะไม่กลมมนเหมือน M. Ornithogaster

แต่ถ้าหากต้องการจะย้อมสวยๆ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน โดยอาจจะย้อม quick stain หรือ Gram stain ก็ได้ โดยจัดเป็น Gram-positive และติดสี dark blue หากย้อม quick stain ส่วนความแตกต่างระหว่าง M. Ornithogaster กับ filamentous gram positive bacteria และ yeast ทั่วไปคือ cell wall ของ M. Ornithogaster จะย้อมไม่ติดสี

ข้อควรระวังในการวินิจฉัย :
• นกที่แสดงอาการป่วยโดยส่วนใหญ่มักจะ shed เชื้อออกมาในปริมาณมาก
• นกที่ตรวจพบเชื้อในอึอาจไม่ได้แสดงอาการป่วย (ไม่ได้ก่อโรค) ทุกตัว (Subclinical/Asymptomatic stage)
• นกที่ตรวจไม่พบเชื้อในอึก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าไม่มีการติดเชื้อ M. Ornithogaster

ส่วนการวินิจฉัยอื่นๆ ก็มี เช่น Polymerase chain reaction (PCR) แต่บ้านเรายังไม่ available ... สามารถเพาะเชื้อได้ แต่ต้อง set environment และ media ยุ่งยากหน่อย

📍 สุดท้ายเป็นในส่วนของการรักษา ในปัจจุบันพบข้อมูลการศึกษาผลการรักษา M. Ornithogaster ในนกค่อนข้างน้อยอยู่เหมือนกันและส่วนมากมักจะใช้ “ การตรวจพบเชื้อในอึ ” เป็น indicator หรือตัวชี้วัดถึงความสำเร็จในการรักษา น้อยมากๆ ที่จะทำการทดลองรักษาแล้ว kill นกเพื่อส่งตรวจชิ้นเนื้อของกระเพาะอาหาร (เพื่อยืนยันจริงๆว่าสามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ทั้งหมด) กล่าวง่ายๆคือ หากเราทำการรักษาแล้วตรวจไม่พบเชื้อแล้ว สามารถแปลผลได้ 2 อย่าง คือ

1. การรักษาสามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ทั้งหมด (นกตัวนี้จะไม่กลับมาแสดงอาการอีกหากไม่ได้ติดเชื้อใหม่เข้ามา) (cessation)

2. การรักษาเป็นการลดปริมาณเชื้อในร่างกายให้น้อยมากๆ จนอาจจะตรวจไม่พบและช่วยให้นกไม่แสดงอาการป่วย แต่เชื้อโรคจะยังคงอยู่ในตัวนก (latent infection) และสามารถกลับมาก่อโรคใหม่ได้อีกครั้ง

💊 Amphotericin B

จัดเป็นยาที่ใช้ในการรักษา M. Ornithogaster ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยเมื่อให้ในรูปแบบของการกิน หรือ ผสมน้ำ ขนาดของยาที่แนะนำ 25-100 mg/kg, BID ; direct oral administration 14 วัน แต่ไม่ค่อยแนะนำให้รูปแบบผสมน้ำกินสักเท่าไหร่ เนื่องจากนกป่วยมักไม่ค่อยกินน้ำเอง จึงอาจจะทำให้การได้รับปริมาณยาไม่เพียงพอจนถึง effective dose

ส่วนการผสมยาอาจจะใช้ยาในรูปแบบ power ผสมเข้ากับ lactulose ให้ได้ความเข้มข้นที่ต้องการจะใช้ก็ได้

💊 Nystatin

ประสิทธิภาพของ nystatin ในการฆ่าเชื้อ M. Ornithogaster มีความ vary อยู่พอสมควร บางการศึกษาพบว่า M. Ornithogaster มีความไวต่อ nystatin ที่ความเข้มข้น 0.1U/ml (drinking water) ผลคือสามารถจำกัดการ shedding ของเชื้อออกมาทางอึได้หลังจากการได้รับ nystatin นกบางตัวถูก kill หลังจากการรักษาเพื่อนำมาพิสูจน์ว่าร่างกายนกปลอดเชื้อ M. Ornithogaster จริงๆ ขนาดของยาที่แนะนำ 3500000 IU/liter in drinking water 2 วัน จากนั้น 2000000 IU/liter 28 วัน หรือ 300000 IU/kg, BID

💊 Low toxic antifungal chemicals

เป็นกลุ่มของสารเคมี Sodium benzoate และ Potassium benzoate เริ่มมาจากงานวิจัย in Vitro ที่พบว่า M. Ornithogaster มีความไวต่อ sodium/potassium benzoate ที่สูงมาก แต่ผลการทดลองการรักษาในนกพบว่ามีความ vary ค่อนข้างมาก บางกลุ่มไม่สามารถจำกัด shedding และอาการป่วยได้ บางกลุ่มเสียชีวิตหลังจากได้รับ sodium benzoate ในรูป drinking water ซึ่งคาดว่าน่าจะมาจาก sodium toxicity ส่วน potassium benzoate ยังไม่มีรายงาน treat trial แต่ในทางทฤษฎีมีความปลอดภัยในการใช้มากกว่า sodium เนื่องจากจะเกิด potassium toxicity ยากมากหากได้รับผ่านทางการกินเมื่อเทียบกับ sodium อย่างไรก็ตามการใช้ chemicals ในการรักษายังต้องการงานวิจัยอีกมากที่จะเข้ามารองรับและสนับสนุนก่อนที่จะแนะนำให้ใช้เป็น routine use

💊 Antifungal drugs

Fluconazole เป็นอีกหนึ่งยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษา M. Ornithogaster ในไก่ ขนาดยา 100mg/kg แต่ในขณะเดียวกันกลับพบความเป็นพิษของยาหากใช้ขนาดยาเดียวกันนี้ในกลุ่มของนกหงษ์หยกและหากลดขนาดยาลงก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง

Phalen, D. N. (2014). Update on the Diagnosis and Management of Macrorhabdus Ornithogaster (Formerly Megabacteria) in Avian Patients. Veterinary Clinics of North America: Exotic Animal Practice, 17(2), 203–210. https://doi.org/10.1016/j.cvex.2014.01.005

----------------------------------------------

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCMfH-MbnpUCyJDPzCVpNeOw

สามารถมาเจอกันได้ที่ : โรงพยาบาลสัตว์แอนิมอลสเปซ Animal Space Hospital

โรคผิวหนังจากเชื้อรา (Dermatophytosis) หรือ ring worm ในชินชิลล่า พบได้มากที่สุดในบรรดาโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อ โ...
26/01/2023

โรคผิวหนังจากเชื้อรา (Dermatophytosis) หรือ ring worm ในชินชิลล่า พบได้มากที่สุดในบรรดาโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อ โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากเชื้อรา Trichophyton mentagrophytes ส่วน Microsporum canis และ Microsporum gypseum จะมีรายงานอยู่บ้าง

ดังนั้นการวินิจฉัยด้วยการส่องไฟ wood lamp จึงไม่ค่อยจะมีประสิทธิภาพมากนัก ซึ่งมีโอกาสที่จะได้ผลลบเทียม (False negative) ค่อนข้างสูง เนื่องจาก T. mentagrophytes ไม่ผลิตสารเรืองแสง และก็ยังมีโอกาสที่จะได้ผลบวกเทียม (False positive) ได้ด้วยเช่นกัน จากเศษเซลล์ผิวหนังและไขมัน โดยเฉพาะตำแหน่งใบหูและโคนหู

อาการของชินชิลล่าที่เป็นโรคนี้จะพบภาวะขนร่วงและมีแผ่นผิวหนังที่เป็นขุย(Scaly patches) บริเวณจมูก(Nose) หลังหู(Behind the ears) ขาหน้า(Forefeet) หรือ หาง(Tail) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เจอได้บ่อยที่สุด แต่เราก็สามารถพบวิการดังกล่าวได้ทุกตำแหน่งของร่างกาย ในรายที่เป็นเยอะมากๆ อาจจะพบภาวะขนร่วงเป็นบริเวณกว้างบนตัว ผิวหนังแดงอักเสบ และ ตกสะเก็ด ถ้าไม่ได้รับการรักษาวิการจะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ และอาจมีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาได้

📍 การวินิจฉัย (Diagnosis)

เนื่องจาก T. mentagrophytes ไม่สร้างสารเรืองแสง การใช้ Wood lamp’s จึงไม่ได้ช่วยในการวินิจฉัยมากนัก ดังนั้น การวินิจฉัยหลักคือ การเพาะเชื้อ (Dermatophyte culture)และการตรวจเซลล์ (Cytology)

📍 การรักษา (Treatment)

การใช้ยาภายนอก (Topical therapy) สามารถใช้สารที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราเช็ดทำความสะอาด เช่น 2% chlorhexidine หรือ 2% miconazole นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Miconazole powder ผสมลงไปในทรายอาบได้เช่นกัน

การใช้ยาทางระบบ (Systemic therapy) Terbinafine เป็นยาฆ่าเชื้อราที่แนะนำให้ใช้ในการรักษา และมีรายงานว่าให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า Itraconazole

หลักการ คือ Topical treatment ช่วยทำลาย spores บนเส้นขน(Hair shaft) และ Systemic treatment ช่วยทำลายเชื้อราที่อยู่ในรูขุมขน (Hair follicles)
ทำการรักษาจนกว่าจะเพาะเชื้อราไม่ขึ้น 2 ครั้ง

ปล. โรคผิวหนังจากเชื้อราเป็นโรคติดต่อสัตว์สู่คน (แปลว่าติดคนได้คร้าบบบ โดยเฉพาะคนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ)

----------------------------------------------

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCMfH-MbnpUCyJDPzCVpNeOw

สามารถมาเจอกันได้ที่ : โรงพยาบาลสัตว์แอนิมอลสเปซ Animal Space Hospital

Pet Shop : https://shopee.co.th/shop/860255233/

#รักษาชินชิลล่า
#ชินชิลล่าขนร่วง
#ชินชิลล่าเป็นเชื้อรา

How to deal with " Something protruding from the back end " in reptiles จะทำยังไงดีเมื่อมีอะไรบางอย่างทะลักออกมาจากก้นขอ...
21/10/2022

How to deal with " Something protruding from the back end " in reptiles

จะทำยังไงดีเมื่อมีอะไรบางอย่างทะลักออกมาจากก้นของสัตว์เลื้อยคลาน ?

เหตุเนื่องมาจากมีเคสงูบอลไพธอนมาด้วยปัญหาลำไส้ทะลักออกมาจากก้น ประมาน 2-3 วัน ... ซักประวัติเพิ่มเติมพบว่างูตัวนี้อายุ 5 เดือน น้ำหนักประมาณ 120 กรัม กินอาหารได้ตามปกติ จู่ๆ ก็พบว่ามีลำไส้ทะลักออกมา เจ้าของเอาน้องใส่กล่องพลาสติกที่มีทิชชู่ชุบน้ำรองเพื่อพามาที่โรงพยาบาลสัตว์เพราะกลัวลำไส้ที่ออกมาจะแห้งและเกิดการฉีกขาดขณะที่งูเลื้อยไปมา

ตรวจร่างกายภายนอกไม่พบความผิดปกติอะไรเป็นพิเศษ คลำช่องท้องไม่พบลักษณะของการอุดตัน ไม่พบก้อนอึและก้อนยูริค

ประเมินสภาพของอวัยวะที่ออกมา มีลักษณะที่บวมน้ำค่อนข้างมาก ผนังบางส่วนฉีกขาด แต่โชคดีที่อวัยวะยังดูไม่ได้เกิดเนื้อตายสักเท่าไหร่ หลังจากล้างทำความสะอาดและตรวจดูอย่างละเอียดพบว่า อวัยวะที่ปลิ้นออกมานั้นมีลักษณะเป็นท่อและพบรูเปิด 2 รู จึงสามารถระบุได้ว่าอวัยวะที่ปลิ้นออกมานั้น คือ ทวารร่วม (Cloaca) เราเรียกภาวะนี้ว่า " True cloacal prolapse "

หลังจากนั้นก็ได้ทำการรักษาตามขั้นตอนที่เหมาะสมและหาสาเหตุกันต่อไป

ทีนี้เรามาทำความรู้จักกับภาวะลำไส้ปลิ้น การจัดการเบื้องต้นสำหรับเจ้าของสัตว์และ Trick ในการรักษากันดีกว่าครับ

ภาวะทวารร่วมทะลัก (Cloacal prolapse) หรือการที่เราเห็นอวัยวะสักอย่างหนึ่งทะลักออกมาจากรู้ก้น จัดเป็นหนึ่งในภาวะฉุกเฉินของสัตว์เลื้อยคลาน (True reptile emergency) ซึ่งแปลว่าต้องรีบได้รับการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เรามักจะพบภาวะนี้ในเต่าและกิ้งก่าได้มากกว่างู และไม่มีความแตกต่างของอัตราการเกิดในเพศผู้และเพศเมีย

แนวทางในการจัดการภาวะทวารร่วมทะลัก (Approach to the prolpase) STEP BY STEP

STEP 1 :

ระบุให้ได้ว่าสิ่งที่ทะลักออกมานั้นคืออวัยวะอะไร (Identify exactly what is prolapse) เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะ key ในการรักษาไม่ใช่ทำยังไงเพื่อให้มันกลับเข้าไป แต่ต้องกลับเข้าไปให้ถูกตำแหน่งด้วย เพราะถึงเราจะสามารถยัดกลับเข้าไปได้ ณ ตอนนี้ เดี๋ยวมันจะกลับมาทะลักใหม่อีกเหมือนเดิมแน่นอนถ้าตำแหน่งมันไม่ถูกต้อง โดยอวัยวะหรือรูปแบบของการเกิด (Types of prolpase) ได้แก่

- ทหวารร่วม (Cloaca) เป็นรูปแบบที่พบได้มากที่สุด สังเกิดได้จากลักษณะของการพบรูเปิดบนสิ่งที่ทะลักออกมา

- กระเพาะปัสสาวะ (Bladder) ลักษณะเป็นถุงผนังบางๆ มีเส้นเลือดวิ่งบนผนังของอวัยวะดังกล่าว

- ลำไส้ (Colon) อวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อ บางครั้วอาจจะพบอึร่วมด้วย

- ท่อนำไข่ (Oviduct) อวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อเหมือนกับลำไส้ แต่สามารถแยกออกจากกันได้โดยลายของผนัง โดยท่อนำไข่จะเป็นลักษณะ longitudinal striation ซึ่งไม่พบในโครงสร้างของผนังลำไส้

- อวัยวะเพศผู้ (Hemipenes) อันนี้แยกง่ายที่สุดเพราะชัดเจนด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว

STEP 2 :

พยายามหาสาเหตุของการเกิดให้ได้ (Find the causes) เพื่อวางแผนในการรักษาที่ต้นเหตุต่อไป เหมือนเดิมนะครับ key ในการรักษาไม่ใช่การยัดกลับเพียงเท่านั้น เพราะเมื่อเรายัดกลับนั่นแปลว่าเรากำลังรักษาปลายเหตุ หากไม่ได้วินิจฉัยถึงต้นเหตุและแก้ไข สุดท้ายสัตว์ก็กลับมามีปัญหาอีกเหมือนเดิม โดยสิ่งที่ทำได้ง่ายๆเลยก็ คือ การซักประวัติที่แม่นยำและครบถ้วน การตรวจร่างกาย การตรวจอึ และ xray พวกนี้จัดเป็นการวินิจฉัยขั้นพื้นฐานหรือเป็น screening test ในสัตว์เลื้อยคลานอยู่แล้วใช่ไหมละครับ อย่าลืมตรวจกันครับ

ส่วนสาเหตุของการเกิดนั้น ได้แก่

1. ภาวะใดก็ตามที่ทำให้เกิดอาการเบ่ง (Straining) เช่น
- ภาวะลำไส้อักเสบ (Enteritis)
- ภาวะไข่ค้าง (Dystocia)
- นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Cystic calculi)
- ภาวะท้องผูก (Constipation)
- เนื้องอก (Neoplasia)
- ภาวะลำไส้อุดอัน (GI obstruction) จาก พยาธิ สิ่งแปลกปลอม ฝี เป็นต้น

2. การบาดเจ็บจากการผสมพันธุ์ (Mating behavior)

3. ภาวะขาดแคลเซียม (Hypocalcemia)

เมื่อรู้สาเหตุแล้วให้วางแผนการรักษาต่อจากนี้ไปได้เลยครับ

STEP 3 :

ประเมินสภาพของอวัยวะเพื่อเลือกแนวทางการรักษา (Viable tissue evaluation) ขั้นแรกให้เราทำความสะอาด (Cleaning & flushing) ให้ได้มากที่สุด ลดภาวะบวมน้ำ (Reduce edema) โดยอาจจะใช้น้ำเย็นหรือสารละลาย hyperosmotic ที่หาง่ายที่สุดก็น่าจะเป็นน้ำตาลนั่นแหละครับ หากล่องพลาสติกที่ไม่ต้องใหญ่มาก ใส่น้ำลงไป ใส่น้ำตาลลงไป แล้วก็ใส่สัตว์ลงไปแช่สัก 5-10 นาที โดยฤทธิ์ hyperosmotic ของสารละลายจะเข้าไปดึงน้ำจากเนื้อเยื่อเพื่อลดขนาดให้เล็กลง

หลังจาก cleaning, flushing, reduce edema แล้ว ให้ประเมินสภาพของเนื้อเยื่อว่าพอจะไปต่อได้ไหม โดยหากพบว่าเนื้อเยื่อเกิดเนื้อตายไปหมดแล้ว พยากรณ์โรคก็อาจจะเป็น poor to grave หรือ ถ้าเกิดเนื้อตายปานกลางยังพอไหวก็อาจพิจารณาวางยาสลบเพื่อตัดแต่งเนื้อเยื่อ (Trimming) ก่อนยัดกลับ หรือ ถ้าเนื้อเยื่อดีมาก/มีเนื้อตายแค่บางส่วน อาจจะยัดกลับเข้าไปเลยก็ได้

สำหรับ trick ในการยัดกลับนะครับ อันนี้จะออกแนวให้ทุกคนระมัดระวังกันครับ

- อย่างแรกคือถ้ามันใหญ่มากหรือสัตว์ดิ้นหรือเบ่งต้าน อย่าพยายามครับ วางยาสลบหรือยาซึมสักนิด จะทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก บ่อยครั้งที่เราพยายามฝืนยัดด้วยแรง กลับทำให้อวัยวะเกิดการฉีกขาดหรือทะลุ เลือดสาดกระจายเต็มหน้าจอ ... จากเรื่องเล็กจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ครับ

- ไม่ควรวัสดุที่แข็งเป็นตัวยัดกลับ แม้กระทั่ง cotton swab ก็ความเลือกใช้อันที่เล็กที่สุดและให้ดันไปขอบครับ อย่าไปดันตรงเนื้อเยื่อโดยตรง เพราะ อวัยวะที่มีผนังบางและบวมน้ำอยู่แล้วย่อมฉีกขาดง่ายครับ

- หากเป็น cloacal หรือ colon ทะลักออกมา ให้พยายามหา lumen ของลำไส้แล้วดันเข้าไปในรูนั้นครับ จะทำให้ reduction ได้ง่ายมากขึ้นเยอะ

- เมื่อยัดกลับได้แล้วให้เอา syringe flush น้ำเกลือเข้าไปใน cloaca สักหน่อยครับ เพื่อให้แรงดันน้ำเข้าไป expand อวัยวะต่างๆให้กลับไปอยู่ในตำแหน่งที่ปกติ

- ในบางสถานการณ์ที่ พอยัดกลับเสร็จแล้วยังมีภาวะเบ่งออกมาเรื่อยๆ หรือคาดว่าน่าจะกลับมาทะลักอีกแน่ๆ หรือ เกิดภาวะนี้มาแล้วหลายๆรอบ โดยที่หาสาเหตุไม่ได้สักที อาจจะพิจารณาใช้เทคนิค Transcutaneous cloacopexy ได้เช่นกัน

โอเค เมื่อเรายัดกลับเข้าไปได้แล้วก็เย็บเพื่อลดรูเปิดของก้นนิดนึงเพื่อเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาทะลักอีก ในสัตว์เลื้อยคลานเราจะไม่เย็บ purse string suture กันครับ เราใช้ simple interrupted ธรรมดาเลย โดยในกิ้งก่าเราจะเย็บ ซ้าย-ขวาของรูก้น แต่ในงูและเต่าเราจะเย็บ บน-ล่างของรูก้นครับ

สุดท้ายสัตว์พูดไม่ได้และแสดงอาการไม่เก่งโดยเฉพาะสัตว์เลื้อยคลาน ภาวะนี้ถ้ามาเกิดขึ้นกับเราก็คงจะเจ็บไม่ใช่น้อย อย่าลืมยาลดปวดและยายดอักเสบกันนะครับ

----------------------------------------------

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCMfH-MbnpUCyJDPzCVpNeOw

สามารถมาเจอกันได้ที่ : โรงพยาบาลสัตว์แอนิมอลสเปซ Animal Space Hospital

บริการโรงแรมฝากเลี้ยงสำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ : โรงแรมสัตว์เลี้ยง จูราสสิค เพ็ท แพลนเน็ต โฮเทล - Jurrasic Pet Planet Hotel Coming soon

Pet Shop : https://shopee.co.th/shop/860255233/

" ทำไมกระต่ายควรได้รับน้ำเกลือผ่านทางเส้นเลือด " สารน้ำ (Fluid) เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการรักษา ยิ่งเป็นกระต่ายยิ่งต้องได้...
01/10/2022

" ทำไมกระต่ายควรได้รับน้ำเกลือผ่านทางเส้นเลือด "

สารน้ำ (Fluid) เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการรักษา ยิ่งเป็นกระต่ายยิ่งต้องได้รับสารน้ำ เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์กินพืชและมีความต้องการน้ำต่อวัน (Maintenance fluid) เท่ากับ 100ml/kg ซึ่งมากกว่าสุนัขและแมวถึง 2 เท่า และยิ่งเป็นกระต่ายที่ป่วยโดยเฉพาะโรคระบบทางเดินอาหาร ยิ่งต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้นอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 2-3 เท่าของภาวะปกติเลยทีเดียว เพื่อให้ทางเดินอาหารกลับมาบีบตัวและทำงานได้อย่างปกติ

ทีนี้ความแตกต่างระหว่างการให้น้ำเกลือระหว่างสุนัข/แมวกับกระต่ายก็มีแค่ปริมาณที่แตกต่างกันสิ ? คำตอบคือผิดครับ กระต่ายมีความพิเศษมากกว่านั้นเยอะและบางครั้งการไม่รู้ในความพิเศษนี้ อาจกลายเป็นหายนะที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาได้

กระต่ายกินหญ้า ไม่เท่ากับ สุนัขและแมว
โครงสร้างของกระต่าย ไม่เท่ากับ สุนัขและแมว
การทำงานของร่างกายกระต่าย ไม่เท่ากับ สุนัขและแมว
ดั้งนั้น กระต่าย ไม่เท่ากับ สุนัขและแมว

เรามักจะคุ้นชินกับการให้น้ำเกลือใต้ผิวหนัง (Subcutaneous route) ในสุนัขและแมวกันเป็นอย่างดี ข้อดี คือ ง่าย เร็ว และให้ได้ในปริมาณเยอะๆ ฟังดูแล้วก็ไม่มีข้อเสียอะไรมากมาย แค่ต้องใช้เวลาในการดูดซึมสักหน่อย

--------------------------------------------

เข้าเรื่องกันดีกว่า วันนี้มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ " หายนะของการให้น้ำเกลือใต้ผิวหนังในกระต่ายมาให้ฟังกันครับ "

จากที่เกริ่นมาข้างต้นการให้น้ำเกลือใต้ผิวหนังในกระต่ายก็ดูจะโอเคนะ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือด้วยปัจจัยใดๆก็ตามที่ทำให้กระต่ายไม่สามารถดูดซึมน้ำเกลือได้หมดภายใน 24 ชั่วโมง จะเกิดปฏิกิริยาบางอย่างระหว่างร่างกายกับน้ำเกลือใต้ผิวหนังนั้น สิ่งที่ตามมาก็อย่างที่เห็นในรูปเลยครับ มันจะเกิดการอักเสบขึ้นที่บริเวณนั้น แต่มันเป็นการอักเสบชนิดที่โคตรรุนแรงและอาจจะพัฒนาไปเป็นการอักเสบแบบทั่วร่างกาย (Systemic inflammatory response syndrome) ซึ่งจากประสบการณ์แล้ว 90% เมื่อพัฒนามาอยู่ในสภาพนี้มักกลับดาวกระต่ายไปในที่สุด นี่แหละคือหายนะของการให้น้ำเกลือทางผิวหนังในกระต่าย ลองนึกภาพกระต่ายที่อาจจะเป็นแค่ภาวะเสียสมดุลทางเดินอาหาร ก้อนขนอุดตันทางเดินอาหารเล็กน้อย ซึ่งพวกนี้บางทีป้อนอาหารและน้ำให้เพียงพอ ให้ยากระตุ้นลำไส้หน่อย เดี๋ยวก็หายได้เอง แต่ถ้าเราให้น้ำเกลือโดยที่ไม่รู้จักภาวะนี้ กระต่ายตัวนี้อาจจะเสียชีวิตภายในเวลา 24-48 ชั่วโมงต่อมา . . .

สาเหตุหรือกลไกอะไรที่ทำให้เป็นแบบนี้ ? จากที่ค้นคว้าหาข้อมูล scientific data กลับพบว่าเราไม่พบอะไรเลย... ส่วนตัวก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมยังไม่มีรายงาน ถ้าใครสามารถหาได้รบกวนเอามาแชร์ให้ฟังกันหน่อยนะครับ ซึ่งเราก็ได้แต่คาดเดากันไป

โดยสาเหตุที่เป็นไปได้ ได้แก่

1. ให้นำ้เกลือปริมาณที่มากเกินไป
- ส่วนตัวไม่เคยพบภาวะนี้ด้วยตัวเอง เพราะ ไม่เคยให้น้ำเกลือกระต่ายเกิน 20 ml/ตัว ไม่ว่ากระต่ายจะน้ำหนัก 500g 1kg หรือ 4kg
- ถ้าจะให้มากกว่านี้แนะนำ admit ให้เข้าเส้นหรือกลับไปป้อนให้เพียงพอ

2. ชั้นใต้ผิวหนังของกระต่ายมีเส้นเลือดมาเลี้ยงน้อยกว่าสุนัขและแมว อาจทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมช้ากว่า

3. กระต่ายที่มีการไหลเวียนเลือดที่แย่มาก (Poor perfusion) ซึ่งก็จะทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำเกลือได้ช้าเช่นกัน เราพบบ่อยสุดๆในกระต่ายที่ถูกส่งตัวมาด้วยภาวะตับบิด (Hepatic torsion) แล้วได้รับนำ้เกลือใต้ผิวหนังมา เพราะจุดที่ผ่าตัดเป็นจุดที่น้ำเกลือดันมากองกันพอดี

4. กระต่ายที่ขยับตัวน้อยๆ เช่น กระต่ายที่อายุเยอะมาก กระต่ายซึม กกไข่ ไม่ขยับตัวไปไหน พวกนี้ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดเพิ่มขึ้นเช่นกัน

5. การให้น้ำเกลือเข้าเส้นเลือด Cephalic vein หรือขาหน้า อย่างที่บอกไปแล้วกระต่ายไม่เท่ากับสุนัขและแมว ขาหน้าของกระต่ายไม่ได้ออกแบบมาให้ตรงเมื่อยืน แต่เค้าจะต้องงอขาหน้าในท่ายืนปกติ ขาหน้าสั้น หลอดเลือดเล็กและเปราะแตกง่าย ดังนั้นมีโอกาสที่จะเกิด occlusion/leak และไปคลั่งบริเวณ axillary region สูงมาก เส้นเลือดขาหน้าควรเป็นทางเลือกรองลงมาจาก ear vein และต้อง monitor ตลอดเวลา

6. เราไม่พูดถึงการให้น้ำเกลือที่มีน้ำตาลนะครับ เพราะ อันนี้ถือว่าเป็น malpractice

อาการที่สำคัญเมื่อกระต่ายเกิดภาวะนี้ เจ้าของจะพากลับมาด้วยอาการ " เจ็บจา เดินลำบาก ขาไม่มีแรง " นี่เป็นอาการที่เด่นชัดมากกกกกกกกก เมื่อไหร่ก็ตามที่กระต่ายมีประวัติได้รับน้ำเกลือใต้ผิวหนังภายใน 24-48 ชั่วโมงก่อนหน้าแล้วมีอาการนี้ เราจะต้องแหวกขนที่หน้าอกของกระต่ายเพื่อดูว่าฟิวหนังมีสีคล้ำหรือไม่และให้โกนขนให้ทั่วเพื่อให้เห็นขอบเขตของการอักเสบที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าไม่รู้จักภาวะนี้ ยากมากที่จะวินิจฉัยได้ถูก เพราะอาการไม่สอดคล้อง คือ มาด้วยเจ็บขา ขาอ่อนแรง และ บริเวณวิการถ้าไม่แหวกขนหรือโกนขนจะไม่มีทางรู้ได้เลย

ดังนั้น สัตวแพทย์ที่ทำงานกับกระต่ายควรรู้จักและระมัดระวังในการให้น้ำเกลือใต้ผิวหนังในกระต่าย เฝ้าติดตามทุกครั้งที่มีการให้ และหากเป็นไปได้ ถ้าประเมินแล้วว่ากระต่ายควรได้รับสารน้ำในปริมาณที่มาก offer ให้ admit เพื่อให้น้ำเกลือเข้าเส้นเลือด หรือถ้าไม่ได้จริงๆ เจ้าของก็จะต้องกลับไปป้อนน้ำในปริมาณที่เรากำหนดให้ได้

สุดท้ายนี้จะขอแชร์ความน่ากลัวของการให้น้ำเกลือในกระต่ายให้ทุกคนเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ขออนุญาต กระตุ่ยย้ากแฟมิลี่ ด้วยนะคร้าบ

เคยมีกระต่าย rabbit hero เข้ามาเป็นผู้บริจาคเลือดให้กับเพื่อนกระต่ายที่ต้องการ โดยการจะเป็นผู้ให้เลือดได้ก็ต้องมีสุขภาพร่างกายและผลเลือดที่โคตรดีใช่ไหมละครับ หลังจากเก็บเลือดไปทั้งหมดประมาณ​ 30-40 ml ก็ได้มีการให้น้ำเกลือทดแทนเข้าใต้ผิวหนังในปริมาณที่เท่าๆกัน หลังจากนั้น rabbit hero เกิดภาวะน้ำเกลือคลั่งค้างและทำให้เกิดอักเสบที่ผิวหนัง โดยอาการก็คือเจ็บขานั่นแหละ โชคดีที่เจ้าของสามารถ detect ความผิดปกติได้ตั้งแต่แรกๆ แต่ก็ต้องใช้เวลาในการรักษาเป็นหลักเดือนนะครับ หลังจากนั้นเมื่อ rabbit hero เข้ามาบริจาคเลือดก็จะขอให้น้ำเกลือทดแทนเข้าทางเส้นเลือดตลอด เห็นไหมครับ แม้แต่กระต่ายที่สุขภาพดีก็ยั้งสามารถเกิดได้

ปล. กระต่ายในรูปได้รับการรักษาภาวะท้องอืดมาประมาณ 2 วัน อาการแย่ลงและถูกส่งต่อมายัง Animal Space

ปล2. species ที่สามารถเจอภาวะนี้ ได้แก่ กระต่าย ชินชิลล่า เม่นแคระ ชูก้าไกลเดอร์ ...

----------------------------------------------

บริการโรงแรมฝากเลี้ยงสำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ : โรงแรมสัตว์เลี้ยง จูราสสิค เพ็ท แพลนเน็ต โฮเทล - Jurrasic Pet Planet Hotel Coming soon

Pet Shop : https://shopee.co.th/shop/860255233/

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCMfH-MbnpUCyJDPzCVpNeOw

สามารถมาเจอกันได้ที่ : โรงพยาบาลสัตว์แอนิมอลสเปซ Animal Space Hospital

" Ultrasound เช็คการตกไข่ก่อนเข้าผสมในงู Ball python "การอัลตร้าซาวด์เพื่อประเมินวงรอบของระบบสืบพันธ์ในงูบอลไพธอน หากพบ ...
20/09/2022

" Ultrasound เช็คการตกไข่ก่อนเข้าผสมในงู Ball python "

การอัลตร้าซาวด์เพื่อประเมินวงรอบของระบบสืบพันธ์ในงูบอลไพธอน หากพบ follicle ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 mm. จะเรียกว่า dominant follicle หรือ follicle ที่จะมีโอกาสตกไข่ (ovulation) สูง

เทคนิคนี้สามารถใช้เพื่อทำนาย ช่วงเวลาในการตกไข่ จำนวนไข่ที่ตก และ จำนวน clutch ของไข่ที่จะได้ หรือพูดง่ายๆคือ เป็นเทคนิคในการจับสัดเพื่อเอาตัวผู้เข้าผสมนั่นแหละ ตัวไหนซาวด์แล้ว follicle ใหญ่กว่า 20mm ก็จับผสมเลย โอกาสติดและได้ไข่จะสูง ไม่ต้องลองเอาเข้าผสมแล้วลุ้นว่าท้องไม่ท้อง ตัวไหน follicle เล็ก แนวโน้มไม่น่าตกไข่ ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปผสม ขุนไปปีหน้าเลย

Dominant follicles were counted as "large" follicles and differentiated from the "small" follicles at a diameter of 20mm.

As dominant follicles emerge, reliable predictions of ovulation dates, viable eggs, and number of eggs are possible. This study also provided data to predict ovulation dates and the expected number of eggs in ball python clutches.

Reference : Evaluation of the Follicular Cycle in Ball Pythons (Python regius) EL Nielsen · 2016

EP. 2 " โรคตาที่พบได้เฉพาะในงูเท่านั้น "  (Special ocular diseases in snakes)ทบทวนกันก่อนจาก EP.1 1. Spectacle คือ หนังต...
17/08/2022

EP. 2 " โรคตาที่พบได้เฉพาะในงูเท่านั้น " (Special ocular diseases in snakes)

ทบทวนกันก่อนจาก EP.1
1. Spectacle คือ หนังตาของงูที่มาเชื่อมกันและมีคุณสมบัติโปร่งแสง
2. Subspectacular space คือช่องว่างระหว่าง Spectacle และ กระจกตาของงู โดยในช่องว่างนี้จะมีน้ำตาเคลือบบางๆ เพื่อไม่ให้เกิดการเสียดสีกัน
3. Nasolacrimal duct หรือท่อน้ำตา คือท่อที่ให้น้ำตาจากช่อง subspectacular space ระบายออกมา โดยรูเปิดจะอยู่ภายในช่องปาก

วันนี้มีเคสโรคตาของงูมาเล่าให้ฟังกันครับ

งูหลามบอลไพธอล เพศผู้ อายุประมาน 1 ปีกว่าๆ จู่ๆ ตาขวาก็บวมไม่ทราบสาเหตุ เจ้าของแจ้งว่าเป็นหลังจากไม่ขับถ่ายมานาน พอขับถ่ายออกมารอบนี้ดูเบ่งเยอะและเข้าใจว่าการเบ่งน่าจะเป็นสาเหตุของโรคตาที่เกิดขึ้น . . .

เมื่อตรวจร่างกายพบว่า ตาขวามีลักษณะที่โตและใหญ่มากกว่าด้านซ้ายอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นความผิดปกติอย่างแน่นอน

เมื่อมีปัญหาเรื่องโรคตาเกิดขึ้นจะต้องทำการตรวจ (Ocular examination) เพื่อระบุโครงสร้างที่มีปัญหาและนำไปสู่การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องให้ได้

นี่เป็นตัวอย่างที่สำคัญที่จะบอกเจ้าของทุกคนว่า " โรคตาอาจไม่ได้เกิดจากลูกตาเท่านั้นที่มีปัญหา " เรามาดูกันว่าดวงตาเล็กๆเนี่ย จริงๆแล้วมีโครงสร้างมากมายอยู่ภายใน ในที่นี้จะพูดรวมๆในทุกๆสัตว์ ไม่ใช่แค่เฉพาะงูเท่านั้น

1. เยื่อบุตาขาว (conjunctiva) บ่อยครั้งที่เราพบภาวะตาเจ็บ ตาแดง น้ำตาไหล เมื่อตรวจแล้วพบว่าโครงสร้างที่มีปัญหา คือ เยื่อบุตาขาวอักเสบ (conjunctivitis)
2. ท่อน้ำตา (Nasolacrimal duct) เช่น ท่อน้ำตาอักเสบ ท่อน้ำตาอุดตัน
3. กระจกตา (Cornea) เช่น กระจกตาอักเสบ แผลหลุมกระจกตา ฝีที่กระจกตา
4. ม่านตา (Iris,Uvea) เช่น ม่านตาอักเสบ (Uveitis)
5. เลนส์ (Lens)
6. จอประสาทตา (Retina)

บลาๆๆ ยังมีอีกเยอะมาก ซึ่งในแต่ละตำแหน่งของรอยโรคที่เกิดขึ้นก็ต้องการการรักษา ยา หรือ การจัดการที่แตกต่างกันออกไป อย่าคิดว่าตาเจ็บแล้วไปหาซื้อยาหยอดตามาหยอด 2-3 ตัวแล้วจะหายทุกเคสครับ โรคตาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องการการตรวจที่แม่นยำครับ

อะ เรามาต่อเคสของเรากันดีกว่า สรุปว่างูตัวนี้ได้รับการตรวจโดยคุณหมอเฉพาะทางโรคตาและวินิจฉัยว่ารอยโรคอยู่ที่ Subspectacular space ...

Subspectacular diseases ในงูนั้นที่เจอบ่อยๆ มีอยู่แค่ 2 อย่าง

1. Subspectacular abscess

- การเกิดภาวะติดเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดฝีหนองใน Subspectacular space โดยอาการภายนอกที่เราสามารถพบได้คือ งูอาจมีภาวะตาบวมมากกว่าปกติ โดยที่ spectacle ยังเรียบเนียน ภายในอาจพบลักษณะของของเหลวที่มีสีขุ่นเหลืองข้นคล้ายหนอง และบางครั้งอาจพบเส้นเลือดเล็กๆ เข้ามา ซึ่งแสดงถึงการเกิดภาวะการอักเสบ

สาเหตุอาจเกิดจากการถูกของมีคมทิ่มเข้าไป (Penetrating wound) แล้วเกิดการติดเชื้อ หรือ เกิดตามมาจากภาวะลอกคราบที่ตาไม่สมบูรณ์ (Retained spectacle) แล้วเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนเข้าไป หรือ เกิดการติดเชื้อผ่านเข้ามาทางท่อน้ำตา ซึ่งพบได้ในงูที่มีปัญหาช่องปากอักเสบ (Stomatitis) ... ก็คืออาการที่งูมีน้ำลายเยอะอย่างที่เจ้าของทุกท่านเข้าใจว่าเป็นโรคหวัดนั่นแหละครับ

2. Bullous spectaculopathy

- การเกิดภาวะคลั่งของน้ำตาในช่อง Subspectacle ทีนี้ปกติแล้วน้ำตาที่ถูกสร้างจะต้องผ่านออกมาทางท่อน้ำตา ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการคลั่งได้นั้น ง่ายมากครับ ก็ท่อน้ำตาอุดตันไงละครับ อาการภายนอกคืองูจะมีภาวะตาบวมมากกว่าปกติ ของเหลวที่เราพบจะมีสีใส หรือ บางครั้งอาจจะขุ่นบ้างเล็กน้อย แต่จะไม่ได้เป็นสีเหลืองขุ่นเหมือนหนองและไม่พบเส้นเลือด สาเหตุของการอุดตัดแบ่งออกเป็น 2 อย่าง

1. Congenital obstruction ภาวะอุดตันที่เกิดจากการพัฒนาท่อน้ำตาที่ไม่สมบูรณ์ อาจจะตีบกมากกว่าปกติหรือไม่มีท่อน้ำตาเลยก็ได้ สามารถพบได้ในงูแรกเกิดหรืออายุยังน้อย

2. Physical obstruction ภาวะอุดตันจากอะไรบางอย่าง อันนี้คือท่อน้ำตาเดิมปกติดีไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่เกิดมีอะไรสักอย่างไปอุดตันเลยระบายน้ำตาออกมาไม่ได้ เช่น สิ่งปูรองบางชนิด การอักเสบของเนื้อเยื่อในช่องปาก เหงือกบวมไปกดเบียดรูเปิดท่อน้ำตา เป็นต้น

งูตัวนี้จึงถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรค Bullous spectaculopathy และสงสัยว่าน่าจะมีอะไรเข้าไปอุดท่อน้ำตา

การวินิจฉัยเริ่มจากการตรวจดูช่องปากและเราพบก้อนสีเหลืองอุดตันอยู่บริเวณปลายของรูเปิดท่อน้ำตา ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของการอุดตันนี้

การรักษาสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น

1. การผ่าตัด (Spectacle partial excision) สามารถทำได้โดยการกรีด Spectacle 1/4 ส่วนของวงกลม เพื่อระบายของเหลวด้านในออก และสามารถเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจเซลล์ (Cytology) และเพาะเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial culture and drug sensitivity test)

2. การเจาะดูด (Aspiration) สามารถทำได้โดยการใช้ IV catheter เจาะเข้าไป จากนั้นดึง stylet ออก เราสามารถดูดเอาของเหลวด้านในออกมาได้และสามารถ Flush NSS เข้า-ออก เพื่อล้างได้อีกด้วย

3. การล้างท่อน้ำตา (Nasolacrimal flushing) เป็นวิธีที่เราเลือกทำในงูตัวนี้ สามารถทำได้โดยใช้ IV catheter 26 สอดเข้าไปในรูเปิดของน้ำตาและ Flush NSS เข้าไปใน Subspectacular space จนเต่ง จากนั้นให้รีดใช้นิ้วกดที่ spectacle เพื่อให้เกิดแรงดัน ดันสิ่งต่างๆที่อยู่ใน Subspectacular space และท่อน้ำตาออกให้หมด สามารถทำซ้ำได้จนของเหลวที่ออกมาใส นอกจากนี้เรายังสามารถเก็บตัวอย่างของเหลวที่เรา flush ออกมาเพื่อส่งตรวจได้อีกด้วย

ย้ำอีกครั้ง โรคตาอาจมีสาเหตุที่ไม่ได้มาจากตาและตาก็มีโครงสร้างต่างๆมากมายและสามารถเกิดโรคได้ทุกตำแหน่ง มีปัญหาเรื่องตาพามาตรวจเถิดครับ 😂

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCMfH-MbnpUCyJDPzCVpNeOw

Address


Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when Dr.javet หมอจาหามาเล่า - Exotic & Wildlife Medicine posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to Dr.javet หมอจาหามาเล่า - Exotic & Wildlife Medicine:

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Pet Store/pet Service?

Share

Who am i ?

สัตวแพทย์ธรรมดาคนหนึ่งมีความฝันที่อยากจะรักษาสัตว์ให้ได้หลากสายพันธุ์มากที่สุด วันที่ 8 มิถุนายน 2563 สัตวแพทย์คนนี้ได้รับโอกาสจากโรงพยาบาลสัตว์ Animal space จุดเริ่มต้นของเส้นทางเพื่อไปสู่ความฝันได้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

สัตวแพทย์คนนี้ขอให้คำสัญญาว่าจะตั้งใจพัฒนาตนเองเพื่อตอบแทนโอกาสที่ได้รับและเป็นที่พึ่งพึงในยามเจ็บป่วยของเหล่าสัตว์น้อยใหญ่เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ดีที่สุด