My Crayfish Farm ฟาร์มกุ้งเครฟิช

  • Home
  • My Crayfish Farm ฟาร์มกุ้งเครฟิช

My Crayfish Farm ฟาร์มกุ้งเครฟิช My Crayfish Farm จำหน่ายกุ้งเครฟิชคุณภาพเยี่?

29/05/2013

วันนี้พ่อแม่พันธุ์ในฟาร์ม เข้าคู่พร้อมกันถึง 2 คู่ รออีกไม่นานก็คงจะเห็นผลงานกันครับ..

29/05/2013

แอบ (18+) คู่ที่ 2 สำหรับวันนี้

17/05/2013

หนุ่มหล่อครับ

13/05/2013

ขอบคุณทุกท่านสำหรับ 100 Like ให้กับทางฟาร์กุ้งเครฟิช My Crayfish Farm ครับ

10/05/2013

My Crayfish Farm

21/04/2013

สวัสดีวันจันทร์

21/04/2013

อัพเดทข่าว ตอนนี้กุ้งวัยรุ่นกำลังเข้าคู่ผสมพันธ์ุ สาย P เตรียมพบกับกิจกรรมแจกลูกกุ้งฟรี เพื่อฉลองเปิดฟาร์มนะครับ

11/04/2013

QR Code ที่ลิงค์ URL Facebook ของฟาร์มเราอย่างเป็นทางการครับ

11/04/2013

สวัสดีก่อนวันหยุดสงกรานต์ครับ

08/04/2013

วัยรุ่นกำลังคึกครับ

08/04/2013

Timeline Photos

03/04/2013

My Crayfish Farm ฟาร์มกุ้งเครฟิช's cover photo

14/03/2013

บรรยากาศภายในฟาร์มและพ่อแม่พันธ์ุกุ้งเครฟิช

12/03/2013

กุ้งจัดให้อยู่ในประเภท คลาส มาลาคอสตราคา (Class Malacostraca) คลาสนี้จัดเป็นคลาสที่ใหญ่ที่สุดในซับไฟลัม สมาชิกที่สำคัญได้แก่ กุ้ง (shrimp) กุ้งใหญ่ (lobster) กุ้งน้ำจืด (crayfish) และปู (crab) จัดอยู่ในออเดอร์เดคพอดา (decapoda) ซึ่งหมายถึงสัตว์ที่มีขา 5 คู่ รวมทั้งขาคู่แรกที่เปลี่ยนเป็นก้ามหนีบขนาดใหญ่

โครงสร้างของลำตัว ร่างกายของกุ้งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีส่วนหัวรวมกับส่วนอกเรียกเซฟาโลทอแรกซ์ (cephalothorax) มีจำนวนปล้อง 13 ปล้อง และส่วนท้องมีจำนวนปล้อง 6 ปล้อง ระยางค์ของลำตัวประกอบด้วย
- ระยางค์ส่วนหัว มี 5 คู่ คือ หนวด 2 คู่ (antenna & antennule) ขากรรไกรล่าง (mandible) 1 คู่ มีลักษณะเป็นฟันบดแข็ง ขากรรไกรบน (maxilla) 2 คู่ ทำหน้าที่ช่วยจับอาหารเข้าปาก
- ระยางค์ส่วนอกมี 8 คู่ คือ ระยางค์ที่ใช้ในการกิน (maxilliped) ขนาดเล็ก 3 คู่ ขาเดิน 5 คู่ ขาเดินคู่แรกเปลี่ยนเป็นก้ามหนีบ (cheliped) ใช้จับเหยื่อ
- ระยางค์ส่วนท้อง มี 6 คู่ คือ ขาว่ายน้ำ (pleopod หรือ swimmeret) 5 คู่ ใช้ว่ายน้ำ คู่สุดท้ายเป็นแพนหาง (uropod)
การลอกคราบ (Ecdysis) ครัสตาเซียนเป็นสัตว์ที่มีโครงร่างแข็งภายนอก ดังนั้นจึงมีการเจริญโดยการลอกคราบ ในระยะตัวอ่อนจะมีการลอกคราบได้หลายครั้ง และจะน้อยลงในช่วงที่เป็นตัวเต็มวัย

ระบบกล้ามเนื้อ ผิวลำตัวชั้นนอกมีอีพิเดอร์มิส หุ้มด้วยชั้นของคิวติเคิล ใต้ชั้นอีพิเดอร์มิสเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวกัน และมีกล้ามเนื้อตามยาว ช่วยในการเคลื่อนไหว ประกอบด้วย 1. กล้ามเนื้อเฟลคเซอร์ (flexor muscle) มีอยู่ 2 คู่ เป็นมัดกล้ามเนื้อที่เรารับประทานช่วยในการดีดตัวของกุ้ง 2. กล้ามเนื้อเอคเทนเซอร์ (extensor muscle) มีอยู่ 2 คู่ เป็นมัดกล้ามเนื้อช่วยให้กุ้งเหยียดตัว

ระบบย่อยอาหาร มีระยางค์หลายคู่ช่วยในการจับเหยื่อให้เข้าสู่ปาก ผ่านคอหอยสั้น ๆ เข้าไปยังกระเพาะอาหารส่วนแรก (cardiac stomach) และกระเพาะอาหารส่วนหลัง (pyloric stomach) บริเวณด้านข้างมีรูเปิดของท่อน้ำย่อยจากตับ (digestive gland) เข้ามาช่วยย่อยและมีการดูดซึมในบริเวณนี้ด้วย จากนั้นกากอาหารจะถูกส่งออกตามลำไส้ไปยังทวารที่อยู่ส่วนท้ายของร่างกาย

ระบบหมุนเวียนโลหิตและระบบแลกเปลี่ยนก๊าซ หัวใจอยู่บริเวณด้านเหนือกระเพาะอาหารและอวัยวะสืบพันธุ์ อยู่ในช่องรอบหัวใจ (pericardial cavity) มีช่องเล็ก ๆ ให้เลือดในช่องนี้ไหลเข้าไปในหัวใจได้ เส้นเลือดที่สำคัญมีหลายเส้น และส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย

เลือดของกุ้งมีสีฟ้าอ่อน เพราะมีองค์ประกอบของฮีโมไซยานิน เมื่อเลือดไหลออกจากหัวใจไปยังเส้นเลือดต่าง ๆ แล้วไหลเข้ามารวมกันที่แอ่งพักเลือดด้านท้อง เลือดจะไหลเข้าสู่เส้นเลือดที่นำไปฟอกยังเหงือก ซึ่งมีอยู่ 8 คู่ ทางด้านข้างของส่วนอก โดยมีแผ่นเปลือกปิดไว้ แต่ละอันมีใยเหงือกเล็ก ๆ เป็นบริเวณที่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเกิดการฟอกเลือดแล้ว เลือดจะไหลออกเพื่อไหลเข้าสู่ช่องรอบหัวใจแล้วเข้าหัวใจทางรูออสเตีย (ostia)

ระบบขับถ่ายของเสีย อวัยวะที่ใช้ในการขับถ่าย คือ ต่อมที่อยู่บริเวณโคนหนวดเรียกต่อมเขียว (green gland หรือ antennary gland) อยู่ภายในช่องที่มีของเหลวที่เป็นของเสียมารวมอยู่โดยการซึมแพร่เข้าไปในต่อมเขียว ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงและส่งไปพักที่บริเวณกระเพาะพัก (bladder)เปิดออกนอกร่างกายที่โคนหนวดคู่ที่ 2

ระบบประสาท ประกอบด้วยสมอง เป็นปมประสาทขนาดใหญ่อยู่บริเวณส่วนหัว มีแขนงแยกไปเลี้ยงตา (optic nerve) และไปเลี้ยงหนวด (antennary nerve) จากปมประสาท สมองมีเส้นประสาทล้อมรอบหลอดอาหาร ลงมายังปมประสาทด้านล่าง รวมกันเป็นปมประสาททรวงอก (thoracic ganglion) ซึ่งมีปมประสาท 7 ปม จากนั้นจะทอดยาวเป็นปมประสาทส่วนท้อง (ventral nerve cord) และมีปมประสาทแยกออกไปยังกล้ามเนื้อและระยางค์ต่าง ๆ

ระบบสืบพันธุ์ เป็นสัตว์แยกเพศ เพศผู้ประกอบด้วย เทสทิส เพศเมียมีรังไข่อยู่บริเวณด้านหลังของส่วนอก ท่อนำสเปิร์มจะมีรูเปิดออกที่ฐานของขาคู่ที่ 5 ท่อนำไข่จะเปิดออกที่ฐานของคู่ที่ 3 และมีถุงรับสเปิร์มอยู่ระหว่างขาคู่ที่ 4 และขาคู่ที่ 5 ไข่ที่ผสมแล้วจะถูกอุ้มไว้โดยระยางค์ของส่วนท้องจนกลายเป็นตัวอ่อน (nauplius) ซึ่งจะลอกคราบหลายครั้งจนได้ตัวเต็มวัย

12/03/2013
12/03/2013

กุ้งเครย์ฟิช สามารถนำมาเลี้ยงในตู้ปลาได้ แต่หากเลี้ยงรวมกันหลายตัว ควรจะเลี้ยงในตู้ปลาขนาดใหญ่ ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว เพราะกุ้งเครย์ฟิช มีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว และหวงถิ่นที่อยู่ เมื่อมีเนื้อที่กว้างจะทำให้กุ้งแต่ละตัวสามารถสร้างอาณาเขตของตนเองได้ หากนำมาเลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่นจะพบว่า กุ้งเครย์ฟิช ขนาดเล็กมักถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกกุ้งเครย์ฟิชที่มีขนาดใหญ่กว่ากิน เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ ควรใส่ขอนไม้ กระถางต้นไม้แตกๆ หรือท่อ พีวีซี ตัดเป็นท่อนๆ เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชได้หลบอาศัยในเวลากลางวัน เพราะปกติช่วงกลางวันเป็นเวลาที่มันจะอยู่เงียบๆ แต่จะออกมาหาอาหารในเวลากลางคืนมากกว่า

สำหรับการตกแต่งตู้เลี้ยง กุ้งเครย์ฟิชนั้น หากชอบให้ตู้โล่งก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่ควรใส่ท่อพีวีซีลงไปด้วย เพื่อให้กุ้งได้ใช้ในการหลบซ่อนตัว แต่หากต้องการให้ตู้เลี้ยงมีความสวยงามก็สามารถใช้กรวดปูพื้นตู้ได้ แต่มักพบว่า กุ้งเครย์ฟิชมีนิสัยชอบขุดคุ้ยกรวดเพื่อสร้างเป็นที่กำบังในเวลากลางวัน จึงทำให้ไม่เป็นเหมือนครั้งแรกที่แต่งไว้ ทั้งนี้ จึงควรจะปูกรวดให้หนา ไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อให้กุ้งเครย์ฟิชขุดกลบลำตัวได้ แต่ไม่ควรปูพื้นตู้ด้วยทราย เพราะมีความหนาแน่นสูง หากกุ้งเครย์ฟิชมุดลงไปแล้วอาจทำให้ขาดอากาศหายใจได้

ผู้เลี้ยงไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้งปั๊มออกซิเจนในตู้เลี้ยงก็สามารถทำได้หากเลี้ยงจำนวนน้อย แต่หากต้องการจะติดตั้งเครื่องปั๊มออกซิเจนก็ปล่อยอากาศให้น้ำกระเพื่อมเบาๆ ก็พอ ส่วนระบบกรองน้ำ ควรใช้ชนิดกรองบน กรองแขวน หรืออาจจะใช้กรองฟองน้ำที่เป็นตุ้มก็เพียงพอ แต่ไม่ควรใช้ชนิดกรองใต้ตู้ เพราะกุ้งเครย์ฟิชมักจะขุดกรวดขึ้นมา

อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการ เลี้ยงกุ้งเครย์ฟิช คือ ประมาณ 23-28 องศาเซลเซียส ค่าพีเอช ที่เหมาะสมคือ ประมาณ 7.5-10.5 แต่หากน้ำมีความกระด้างสูง ก็สามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้ เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำ นอกจากนี้ เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้างเปลือกใหม่ ด้วย สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ แต่ทีละน้อย เพื่อป้องกันอุณหภูมิเปลี่ยนฉับพลัน และน้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำสะอาด

กุ้งเครย์ฟิช สามารถกินอาหารได้เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก เศษเนื้อสัตว์ หรือให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปชนิดจมก็ได้ เพื่อความสะดวก แต่ไม่ควรให้อาหารบ่อย 2-3 วัน ให้ครั้งหนึ่งก็พอ และควรให้น้อยๆ แต่พอดี เพื่อป้องกันการตกค้างของอาหาร ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลต่อการเกิดโรคได้ และควรให้อาหารในเวลากลางคืน เพราะตามธรรมชาติ กุ้งเครย์ฟิชเป็นสัตว์ที่หาอาหารกินในเวลากลางคืน

สำหรับการเพาะพันธุ์กุ้งเครย์ฟิชนั้นไม่ยาก เพราะสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี และสามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย เพียงนำกุ้งเครย์ฟิชตัวผู้กับตัวเมียมาปล่อยรวมกัน แต่ต้องมั่นใจว่าเป็นตัวผู้กับตัวเมีย โดยสังเกตที่อวัยวะสืบพันธุ์ตรงช่วงขาเดิน กุ้งตัวผู้มีอวัยวะคล้ายตะขอบริเวณขาเดินคู่ที่สองและสาม ซึ่งตะขอนี้เอาไว้เกาะตัวเมียตอนผสมพันธุ์ ส่วนตัวเมียจะมีอวัยวะสืบพันธุ์เป็นแผ่นทรงวงรีบริเวณขาเดินคู่ที่ 3

กุ้งเครย์ฟิช ใช้เวลาผสมพันธุ์นานกว่า 10 นาที หลังจากนั้นสามารถย้ายกุ้งตัวเมียไปยังตู้อนุบาลได้ เพื่อเป็นการเตรียมที่อยู่สำหรับลูกกุ้ง หลังจากนั้น ตัวเมียจะทยอยผลิตไข่ขึ้นมาไว้บริเวณขาว่ายน้ำเป็นกระจุก มองคล้ายพวงองุ่น หลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้วตัวเมียจะหาที่หลบซ่อนนอนนิ่งไม่ยอมกิน อะไร ระยะเวลาที่ตัวอ่อนใช้ในการพัฒนารูปร่างนั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ปริมาณอาหาร และคุณภาพน้ำด้วย โดยเฉลี่ยไข่จะพัฒนาจนเป็นตัวอ่อนเหมือนโตเต็มวัยภายใน 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้น ลูกกุ้งจะถูกปล่อยให้ว่ายน้ำเป็นอิสระ ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้งแม่กุ้งสามารถให้กุ้งได้มากถึง 300 ตัว ซึ่งพ่อแม่กุ้งไม่มีพฤติกรรมกินลูกกุ้งเป็นอาหาร และลูกกุ้งก็จะอยู่ไม่ห่างพ่อแม่นัก เพื่อคอยเก็บเศษอาหารที่เหลือจากพ่อแม่กินเป็นอาหารนั่นเอง

ตัวอ่อนของกุ้งเครย์ฟิช มีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โดยจะกินเศษอาหารก้นตู้เป็นหลัก สามารถให้ไส้เดือนฝอย ไรทะเล เป็นอาหารเสริมได้ แต่ควรระวังเรื่องคุณภาพน้ำด้วย อย่าปล่อยเศษอาหารเหลือทิ้งจนเน่าเสีย ซึ่งควรให้อาหารให้เพียงพอ เพราะตัวอ่อนจะมีพฤติกรรมกินกันเอง

ตู้อนุบาลตัวอ่อนควรมีพื้นที่ และวัสดุหลบซ่อน โดยเฉพาะกระถางต้นไม้ เพราะในช่วงเดือนแรก ลูกกุ้งจะลอกคราบบ่อย ทำให้ลำตัวอ่อนนิ่ม และมีเปอร์เซ็นต์ถูกกินเป็นอาหารมากขึ้น เมื่อลูกกุ้งมีอายุประมาณ 1 เดือน จะเริ่มมีสีสันเหมือนตัวโตเต็มวัย

การลอกคราบเป็นขั้นตอนที่สำคัญใน การเจริญเติบโตของกุ้งเครย์ฟิช เพราะแสดงถึงขนาดลำตัวที่โตมากขึ้น ซึ่งลูกกุ้งจะลอกคราบเดือนละครั้ง โดยมีระยะห่างในการลอกคราบแต่ละครั้งจะยาวนานขึ้นเมื่อกุ้งเจริญเติบโตขึ้น และเมื่อกุ้งเครย์ฟิชโตเต็มที่จะลอกคราบเพียงปีละครั้งเท่านั้น ในการลอกคราบแต่ละครั้ง กุ้งเครย์ฟิชจะมีลำตัวนิ่มและอ่อนแอมาก จึงต้องหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบซ่อนและค่อนข้างอยู่นิ่งๆ ประมาณ 2-3 วัน จนกว่าเปลือกจะแข็งเป็นปกติ

อย่างไรก็ตาม หากเห็นว่ากุ้งเครย์ฟิชกำลังลอกคราบ ไม่ควรรบกวน เพราะอาจทำลายความต่อเนื่องของกระบวนการลอกคราบได้ หากกุ้งเครย์ฟิชตกใจอาจทำให้การลอกคราบไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยชิ้นส่วนของเปลือกชุดเก่ายังติดอยู่บริเวณก้าม ในขณะที่เปลือกชุดใหม่เริ่มแข็งตัว อาจทำให้เกิดความผิดปกติได้ อาทิ มีเปลือกสองชั้นทับกัน หรือก้ามบิดเบี้ยวผิดรูปได้

12/03/2013
12/03/2013

โรควิบริโอซีส
อาการ: ตามระยางค์มีรอยไหม้สีดำเกิดขึ้น จากการที่กุ้งพยายามสร้างเม็ดสี การอักเสบบริเวณตับ ตับอ่อน ตับฝ่อ การกินอาหารลดลงและอาจตายได้ (มีการเกิดระบาดโดยเฉพาะในขณะที่น้ำมีความเค็มสูง = 20-30 ppt.)
สาเหตุของโรค: จากการติดเชื้อวิบริโอ (Vibrio spp.)

การรักษา:
1.ใช้สารเคมีกลุ่มไอโอดีน
2.ใช้ยาในกลุ่มยาปฏิชีวนะ
การป้องกัน:
1.ควบคุมปริมาณอาหารที่ให้อยู่ในระดับเหมาะสม
2.การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ และควบคุมปัจจัยต่างๆ ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

ควร รักษาคุณภาพของน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากหากว่าคุณภาพน้ำไม่ดี กุ้งจะลอกคราบไม่ผ่าน และโรคสนิมนี้จะลุกลามเร็วมาก มีอัตราการตายสูง
วิธี รักษาเบื้องต้น คือ การถ่ายน้ำและเร่งให้กุ้งลอกคราบออกเสีย จากนั้นจึงตักคราบทิ้งทันที เร่งการลอกคราบทำได้โดยการถ่ายน้ำด้วยน้ำที่มีค่า Alkalinity สูงกว่าอยู่ในตู้ หรือปรับน้ำให้มีค่าอยู่ในช่วงที่จะกระตุ้นได้ ( น้ำจืด 80 – 100 ppm น้ำเค็ม 150 – 200 ppm ) หากยังเป็นโรคนี้ขึ้นมาอีกให้ใช้ยา Chioramphenicol 5-7 MG ผสมอาหาร 1 ขีด ให้กินติดต่อกันจนกว่าจะหาย ( ควรคำนวณให้ดี ก่อนจะมีการตวงนะครับ ) โดยปกติแล้วกุ้งที่มีสุขภาพดี และ คุณภาพน้ำเหมาะสม จะลอกคราบเดือนละ 1 – 2 ครั้ง ขึ้นกับชนิดและวัยของกุ้งด้วย ซึ่งถึงแม้ว่ากุ้งจะไม่ค่อยเป็นโรค แต่ถ้าเป็นแล้วจะรุนแรง และ สูญเสียเร็วมาก จึงต้องมีการเอาใจใส่เป็นอย่างดีครับ


อ้างอิงบางส่วนจาก :
อาจารย์นายสัตว์แพทย์ สุรชัย พิกุลแก้ว และ อาจารย์นายสัตว์แพทย์ ดร.รัชต์ ขัตติยะ . 2548

12/03/2013

การสั่งซื้อ (ติดต่อ)

Address


Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when My Crayfish Farm ฟาร์มกุ้งเครฟิช posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Pet Store/pet Service?

Share