12/05/2023
จะเลี้ยงสัตว์ชนิดไหนควรศึกษาให้รอบด้านนะคะ ไม่ใช่สักแต่ว่าจะเลี้ยงขายอย่างเดียว นกกัดกันแรงขนาดนั้นไม่เข้าใจทำไมไม่แยกกรงไปเลย ยังจะเอาไว้ด้วยกันให้กัดกันตายอีกทำไม 🤨
เหตุนี้มีเรื่อง ฝากเลี้ยง”สัตว์”..พึงระวัง !
สัตว์เลี้ยง ก็เหมือน “ลูก” แต่หากคิดจะฝากคนอื่นให้มาเลี้ยงก็พึงระวังให้ดี เพราะถ้าลูกของเราตายไป เพราะการ” ฝากเลี้ยง” มันยิ่งกว่าเจ็บช้ำใจ
เหตุการณ์แบบนี้ เกิดขึ้นกับคุณแม่รายหนึ่ง ที่รัก “ นกแก้ว ” ยิ่งกว่า “ แก้วตา ดวงใจ “ นกแก้ว ที่เลี้ยงเป็นสายพันธ์ “ไวท์ บิลลี่ ไคท์” ( White bellied caique ) ตัวเล็กน่ารัก สีสันสวยงาม สามารถพูด และ เลียนแบบเสียงคนได้ มีความร่าเริง ฉลาด เรียนรู้ไว ราคาขายในประเทศไทย ตัวละ 35,000 บาท เพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
และแล้ว คุณแม่จำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ เป็นเวลา 10 วัน จึงต้องนำลูกนก ทั้ง 8 ตัว ไปฝากไว้กับ สถานรับเลี้ยงนกแห่งหนึ่ง รวมราคารับฝากเลี้ยง 7,200 บาท โดยแยกเลี้ยงกรงละ 2 ตัว
10 เมษายน 2566 นกถูกฝากเลี้ยงวันแรกทุกอย่างเรียบร้อยดี ทางร้าน แจ้งผ่านไลน์ ทุกขั้นตอนการดูแล แต่ได้แจ้งว่า นกตัวโต ชอบรังแก ตัวเล็ก แบบรุนแรง เจ้าของ จึงบอกช่วยถ่ายคลิปส่งมาให้ดู แต่ อีกฝ่ายกลับเงียบหายไปเลย
กระทั่ง 15 เมษายน เจ้าของนกได้ไลน์ถามทางร้าน นก เป็นอย่างไรบ้าง ..ได้คำตอบว่า สบายดีทุกตัว แต่ช่วงนี้อากาศร้อน ต้องเปิดแอร์เป็นระยะ เพราะบางช่วง นก มีอาการหอบจนลิ้นกระดก ทางเจ้าของนก จึงขอให้ทางร้าน เปิดแอร์ตลอดเวลา แล้วจะเพิ่มเงินให้ ... ผ่านไปประมาณ 3-4 ชั่วโมง ก็ได้รับข่าวร้าย ทางร้านแจ้งว่า นกที่ตีกัน มี 1 ตัว นอนหงาย ลุกไม่ขึ้น เจ้าของบอกถ่ายคลิปมาให้ดูหน่อย เมื่อเห็นสภาพ แบบนี้ จึงขอให้ทางร้านส่งนก ไปโรงพยาบาล แต่ทางร้านก็มัวแต่ถ่ายคลิป ไม่ยอมเอานกออกมาจากกรง แต่พอเอาออกมาก็ไม่ทันการณ์ เพราะไม่รีบส่งนกไปรักษา เพราะอ้างว่า ต้องดูแลนกอีกจำนวนมาก แล้วก็ไม่รู้จักหมอที่รักษานกเป็นการเฉพาะ จนสุดท้าย “นก ช็อค ตาย “
เมื่อกลับมาถึงประเทศไทย เจ้าของนก ได้ถามหาความรับผิดชอบจากร้าน แต่กลับได้รับคำตอบที่น่าเจ็บใจว่า “ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องรับผิดชอบ “ ซึ่งทางผู้เสียหาย ไม่ยินยอม และ จะฟ้องเรียกค่าชดเชย จึงนำเรื่องนี้ มาปรึกษากับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ จึงให้คำแนะนำเบื้องต้น ต้องไปแจ้งความ เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน , จากนั้น ทำหนังสือเป็นทางการไปให้ร้านต้องรับผิดชอบเพื่อชดเชยค่าเสียหาย , หากร้าน ยังเพิกเฉย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะช่วยทำจดหมายไปถึงร้านเพื่อเชิญมาเจรจาไกล่เกลี่ย , แต่หากไม่ได้ข้อยุติ ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้อง ที่ “ ศาลแผนกคดีผู้บริโภค “ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ อีกทั้ง ยังมี “ นิติกรศาล “ ช่วยเขียน”คำฟ้อง” ให้ด้วย
จากเหตุการณ์”ฝากเลี้ยงนกแก้ว “ สามารถเป็นตัวอย่างให้ผู้เลี้ยงสัตว์เหมือนลูก ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด เวลานำไปฝากเลี้ยง ที่ไหนก็ตาม สามารถใช้ขั้นตอนนี้ ในการเรียกร้องชดเชยค่าเสียหายได้
อ้อ! สิ่งสำคัญ หากสัตว์เลี้ยงของเราตายไป จากการฝากเลี้ยงในสถานรับเลี้ยง ต้องเอาสัตว์ไปผ่าชันสูตรจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการพิสูจน์ในชั้นศาล แต่กรณี เจ้าของนกแก้ว รายนี้ ยังทำใจไม่ได้ที่ต้องสูญเสียลูกรักไป จึงไม่ยอมผ่าพิสูจน์ โดยนำไป “สตาฟ “ ( The animal stuffing ) เก็บไว้เป็นความทรงจำ อ่านข่าวได้ที่ : https://ffcthailand.org/news/Parrot-2023
หากใครที่เจอเหตุการณ์แบบนี้ สามารถมาขอคำปรึกษาและแนะนำข้อกฎหมาย ได้ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อประโยชน์ในการเรียกค่าชดเชย ไปจนถึงการฟ้องร้องในชั้นศาล โดยพร้อมช่วยเขียนคำฟ้อง หรือ ตรวจสอบคำฟ้อง สามารถติดต่อได้ที่ 4/2 ซอยวัฒนโยธิน แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0 2248 3737 และ [email protected]
#นกแก้วตาย #บริการฝากสัตว์ #มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค