28/06/2023
#ทำไมติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดทำให้ถึงตาย
หลายๆคนคงรู้อยู่แล้วว่าธรรมชาติของร่างกายเรานั้นมีแบคทีเรียมากมายแต่มีอยู่ระบบหนึ่งในร่างกายพี่ต้องไม่พบเชื้อจุลินทรีย์อยู่ในนั้นนั่นก็คือระบบโลหิตนั่นเอง คำถามก็คือว่าอ้าวแล้วถ้าบังเอิญว่าพบจุลินทรีย์ในระบบโลหิตละจะเกิดอะไรขึ้นบ้างและทำไมถึงกับต้องเสียชีวิต?
ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนนะครับว่าร่างกายเราโดยเฉพาะในระบบเลือดเนี่ยถือว่าเป็นระบบที่สำคัญมากๆและจำเป็นต้องใช้ระบบเลือดในการส่งออกซิเจน รวมถึงสารอาหารต่างๆไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆนั่นหมายความว่าถ้าการจัดการของระบบภูมิคุ้มกันไม่ดีก็จะสร้างความเสียหายได้อย่างรวดเร็วเเละระยะเวลาการ recovery ก็อาจจะนานเป็นพิเศษด้วยหรือเลวร้ายที่สุดก็คือเสียชีวิตครับ
แต่ความอันตรายหลักๆนอกจากจุลินทรีย์แล้วนั่นก็คือสารพิษที่จุลินทรีย์ที่มันสร้างขึ้นมานั่นเองครับโดยปกติการที่มีเชื้อในโลหิตก็เป็นเรื่องอันตรายเเล้วเเต่อันตรายยิ่งกว่า!!! ถ้าไม่รีบรักษาเพราะเมื่อเเบคทีเรียสร้างสารพิษในกระเเสเลือดก็จะทำให้ช็อคเเละเสียชีวิตได้ เช่น สารพิษที่เเบคทีเรีย Gram negative สร้าง ยกตัวอย่าง Endotoxin หากพบในเลือดทำให้มีไข้สูง เกร็ดเลือดเเข็งตัวในเส้นเลือดฝอย บวมน้ำ อ่อนเพลีย ระบบการไหลเวียนของเลือดล้มเหลวลงและเสียชีวิตได้
ในเเกรมบวกก็มีเชื้อที่สร้างสารพิษในเลือดอย่างโรค (Tetanus) หรือโรคบาดทะยักซึ่งก็จะสร้างสารพิษ ยกตัวอย่างสารพิษที่มันสร้างคือ Tetanospasmin โดยจะเป็นพิษกลุ่มของ Neurotoxin ซึ่งมีเข้าสู่ระบบประสาทโดยกระจายไปทางกระแสเลือด และเข้าสู่กระเเสประสาทส่วนปลายโดยวิธี retrograde intraneuronal transport ส่งผลต่อระบบประสาททำให้เป็นอัมพาต ตัวเเข็ง-เกร็งอย่างรุนเเรง อ้าปากได้น้อย (lock jaw) แต่ผู้ป่วยก็ยังรู้สึกตัวดีมีการเพิ่มการขับถ่ายของ catecholamines ในปัสสาวะเเละเสียชีวิตได้
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการติดเชื้อในกระแสโลหิตถึงเป็นเหตุที่ร้ายเเรงจนกระทั้งทำให้เราต้องเสียชีวิตเเล้วลองนึกภาพดูนะครับว่าถ้าร่างกายเราดื้อยาปฏิชีวนะก็จะยิ่งทำให้เกิดปัญหาใหญ่เพราะไม่มียายับยั้งการเติบโตของเชื้อหรือการปล่อยสารพิษของมันนั่นเองครับทำให้เสียชีวิตเพราะมีสารพิษในโลหิตจากเเบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายเรา
ปล. แอดมินตั้งใจเขียนบทความนี้เพราะอยากจะเตือนทุกคนด้วยนะครับโดยไม่นานมานี้มีคนใกล้ตัวแอดมินที่มีอาการปอดอักเสบแต่หลังจากที่ได้ไปนอนโรงบาลไม่นานก็เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตท้ายที่สุดก็เสียชีวิตเพราะการติดเชื้อในกระแสโลหิตครับ ส่วนใครที่คุณหมอจ่ายยามาให้กินที่บ้านก็ควรทานให้หมดไม่เหลือตามที่คุณหมอสั่งนะครับเพราะการที่เรากินขาดขาดเกินเกินก็อาจเป็นสาเหตุทำให้ไม่มียาปฏิชีวนะในการรักษาการติดเชื้อในครั้งต่อไปนำมาซึ่งการเสียชีวิตได้นั่นเองครับจึงอยากเตือนๆ มาถึงทุกคนครับ
______________________________________________
Reference :
Ikeda T, Kamohara H. Suda S, Nagara T. Tomino M. Sugi M. et al. Comparative evaluation of endotoxin activity level and various biomarkers for infection and outcome of ICU-admitted patients. Biomedicines. 2019,7(3):47
https://www.sciencedirect.com/topics/chemistry/endotoxin
https://chainaris.co.th/sites/5086/files/u/download/knowledges/Disinfection/Endotoxin%20removal.pdf
1. Bleck TP, Brauner JS. Tetanus. In: Scheld WM, Whitley RJ, Marra CM, eds. Infection of the central nervous sys- tem, 13th ed. New York: Lippincott Williams & Wilkins, 2004: 625-48.
2. Roos KL. Tetanus. In: Noseworthy , et al. eds. Neurological therapeutics principles and practice. London: In- forma Healthcare, 2006: 1039-41.
3. Pearce JM. Notes on tetanus (lock jaw). JNNP 1996;60(3): 332.
4. Yeh FL, D**g M, Yao J, et al. Mediates entry of tetanus neurotoxin into cen- tral neurons. PLoS Pathog 2010;6(11):e1001207.
5. Apte NM, Kamad DR. Short report: the spatula test: a simple bedside test to diagnose tetanus. Am J Trop Med Hyg 1995;53(4):386-7.
6. Public Health Agency of Canada. Ca- nadian immunization guide, sixth ed. 2002.
7. Linnenbrink T, Mc Micheal M. Tetanus:
pathophysiology, clinical signs, diag-
nosis, and update on new treatme