เป็นต้น by Knowledgetable

  • Home
  • เป็นต้น by Knowledgetable

เป็นต้น by Knowledgetable Urban farming and social enterprise in the making

ตอนเด็กๆ วิชาหนึ่งที่ชอบมากคือเกษตร เพราะไม่ต้องฟังครูสอนในห้องยาวๆ ส่วนใหญ่ครูมักปล่อยให้นักเรียนไปแปลงผักหลังโรงเรียน ชอบโมเมนต์เวลาเดินระหว่างแปลงแล้วมียอดผักเรียดกระทบขาไปมา ขณะที่สายตาส่องดูแปลงของเพื่อนๆ ว่าผักใครตาย ผักใครโต

น่าเสียดายที่วิชาเกษตรไม่ค่อยถูกให้ค่าในโรงเรียนเท่าไร ครูสอนวิชาเกษตรก็ดูเหมือนจะถูกสนใจจากนักเรียนน้อยกว่าครูเลข วิทย์ หรือภาษาอังกฤษ คล้ายๆเราถูกบอกให้เชื่อว่าวิชาเ

กษตรเป็นอะไรที่ 'ชอบได้ แต่อย่าจริงจัง'

เพจนี้เป็นบันทึกการ re-learn และ re-connect กับการเกษตร และการกลับไปจริงจังกับวิชาเกษตรอีกครั้งในรอบหลายสิบปี จากการเข้าร่วมโครงการ #ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์บนฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน โดย ซึ่งมีจุดประสงค์ชวนผู้ที่สนใจมาเรียนรู้การทำเกษตรในเมือง การนำเศษอาหารและขยะอินทรีย์มาทำปุ๋ย และการพัฒนาฟาร์มผักอินทรีย์ให้เป็นธุรกิจเพื่อสังคม แต่ละสัปดาห์ จะมีการเรียนภาคทฤษฎี 4 ชั่วโมง และต้องไปฝึกภาคปฏิบัติที่ฟาร์มอีกครึ่งวัน ยาวไปตลอด 3 เดือน

ยังไม่รู้ว่าปลายทางของโครงการนี้จะพาเราแต่ละคนไปถึงจุดไหน แต่มันก็อาจเหมือนอย่างที่พี่หนู หนึ่งในหัวเรือของโครงการพูดไว้ว่า "Wellbeing is a journey, not a destination nor a checklist"

ไม่ใช่แค่เปลือกผลไม้ แต่คือตัวสร้างก๊าซเรือนกระจก
06/05/2022

ไม่ใช่แค่เปลือกผลไม้ แต่คือตัวสร้างก๊าซเรือนกระจก

Knowledgetable@DPU อีกหนึ่งโปรเจ็คที่กำลังเป็นรูปเป็นร่าง
27/04/2022

Knowledgetable@DPU อีกหนึ่งโปรเจ็คที่กำลังเป็นรูปเป็นร่าง

แบ่งผักสลัดที่ปลูกด้วยปุ๋ยหมักเศษอาหารให้พี่ๆ รปภ.ที่ดูแลหมู่บ้าน
07/04/2022

แบ่งผักสลัดที่ปลูกด้วยปุ๋ยหมักเศษอาหารให้พี่ๆ รปภ.ที่ดูแลหมู่บ้าน

05/04/2022

เพราะภาวะโลกร้อนไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนไปของโลกเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งที่เกิดจากภาวะโลกร้อนนั้นยังส่งผลไปถึงสุขภาพจิตของมนุษย์บนโลกอีกด้วย
โดยอาการวิตกกังวลต่อสภาพของโลก หรือว่า Climate Anxiety เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นในคนรุ่นใหม่ โดยอาการนี้สามารถนำไปสู่โรคซึมเศร้า และ PTSD ในผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยพิบัติได้อีกด้วย
ทำความเข้าใจภาวะโรคร้อนและสุขภาพจิตได้ที่ https://thematter.co/social/climate-change-mental-health/171758

Knowledgetable presents "Save Veggies" board   gameผักต้องรอด หรือ Save Veggies เป็นเกมที่นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับเกษตรอินท...
03/04/2022

Knowledgetable presents "Save Veggies" board game
ผักต้องรอด หรือ Save Veggies เป็นเกมที่นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ โดยหยิบตัวอย่างหลักปฏิบัติมาให้ผู้เล่นเรียนรู้ผ่านกลไกและกติกาในเกม อาทิ การปลูกพืชตามฤดูกาล การพึ่งพากลไกธรรมชาติ การไม่ใช้สารที่จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และการให้ความสำคัญกับความหลากหลายเพื่อสร้างเสถียรภาพและสมดุลให้แก่ระบบนิเวศ

Knowledgetable presents "Compost Fellows" board gameCompost Fellows หรือ มิตรหมัก เป็นเกมแนวร่วมมือ (co-op game) ที่กำหน...
03/04/2022

Knowledgetable presents "Compost Fellows" board game
Compost Fellows หรือ มิตรหมัก เป็นเกมแนวร่วมมือ (co-op game) ที่กำหนดให้ผู้เล่นช่วยกันจัดการกับขยะเศษอาหารเพื่อเป้าหมายคือ 40 คะแนน
ตัวเลข 40 นี้อิงจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) ซึ่งกำหนดไว้ว่าภายในปี 2030 ต้องลดการเกิดขยะเศษอาหารให้ได้ครึ่งหนึ่ง เนื่องจากเศษอาหารเป็นตัวที่ก่อให้เกิดก๊าซมีเทนที่ส่งผลต่อสภาวะโลกร้อนรุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 14 เท่า!! โดยในปัจจุบันการสร้างขยะเศษอาหารของประชากรโลกเฉลี่ยอยู่ที่ราว 80 กก./คน/ปี

02/04/2022
30/03/2022

Circular Urban Farm Fair No.1 🪴
เทศกาลหมุนเวียน/เปลี่ยนเมือง ตอน ‘’ชอบจึงหมัก รักจึงปลูก’’

สมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (The NETWORK) เปิดตัวเครือข่ายหมุนเวียน/เปลี่ยนเมือง ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ในเมือง คนตัวเล็กๆ ร่วมกันจัดเทศกาล “หมุนเวียน/เปลี่ยนเมือง เพื่อเผยแพร่ผลงานการดำเนินโครงการวิจัย Circular Urban Farming Business ร่วมกันมาเกือบ 1 ปี ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

เทศกาล “หมุนเวียน/เปลี่ยนเมือง” ครั้งที่ 1 มุ่งเน้นการนำเสนอผลงานของผู้ประกอบการ โดยมีบริษัทชั้นนำและผู้ประกอบการด้านการเกษตรรายย่อยที่มีพื้นที่ปลูกผักในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เข้าร่วมโครงการ เพื่อกระตุ้นให้คนเมืองตระหนักถึงความสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เริ่มต้นจากสิ่งใกล้ตัว ผนึกกำลังกันสร้างพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกผักให้มากขึ้น

✨ในวันเสาร์ที่ 2 และวันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2565 ณ ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 พบกับกิจกรรมเสวนาวิถีวนเวียนเปลี่ยนเมือง ร่วมกับผู้สมัครลงเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ ในประเด็นการพูดคุยต่างๆ ทั้งคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ คุณสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ คุณวิโรจน์ ลักขณาอดิศร และคุณรสนา โตสิตระกูล
นอกจากนี้ยังมีแขกรับเชิญอีกมากมายที่ให้ความสนใจด้านเกษตรอินทรีย์และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ร่วมพูดคุย อาทิ คุณแพรี่พาย อมตา จิตตะเสนีย์ (Urban Farmer) ดร.จิราวรรณ คำซาว (Young Smart Farmer ถิ่นนิยม) เชฟตาม ชุดารี เทพาคำ (Top Cher Thailand) คุณเชอรี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ คุณวนิษา เรซ (หนูดี) และดร.พสุธ รัตนบรรณางกูร อีกด้วย

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมกิจกรรมได้ตามวัน เวลา ต่อไปนี้
✨เยี่ยมชม Booth นิทรรศการ
📍 29 มีนาคม - 10 เมษายน 2565
🕚 เวลา 11.00 – 19.00 น.
ณ ชั้น 1 ห้องอเนกประสงค์ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

✨ เข้าร่วมกิจกรรมเสวนา
📍 2-3 เมษายน 2565
🕚 เวลา 12.30 – 18.30 น.
ณ เวทีห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 💬
Facebook: Circular Urban Farming –หมุนเวียน/เปลี่ยนเมือง
IG: circularurbanfarming Circular Urban Farm Fair No.1
เทศกาลหมุนเวียน/เปลี่ยนเมือง ตอน “ชอบจึงหมัก รักจึงปลูก”

#เกษตรในเมือง
#เกษตรอินทรีย์
#ปลูกผักหมักปุ๋ย
#หมุนเวียนเปลี่ยนเมือง
#ชอบจึงหมักรักจึงปลูก

ปุ๋ยหมักเศษอาหารรุ่น 2 หลังจากย่อยสลายจนไม่มีความร้อนซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ก็นำมาผึ่งให้หมาดก่อนเก็บไว้ใช้
18/03/2022

ปุ๋ยหมักเศษอาหารรุ่น 2 หลังจากย่อยสลายจนไม่มีความร้อนซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ก็นำมาผึ่งให้หมาดก่อนเก็บไว้ใช้

16/03/2022

“ถ้าอุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นเกินค่าเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส ต่อให้พวกเราพยายามอย่างสุดแรงแล้วก็ยังยากที่มนุษย์จะปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นได้”

รายงานจาก Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) หรือคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้การทำงานขององค์การสหประชาชาติ ฉบับที่ 6 ล่าสุดประจำปี 2022 แสดงความกังวลขั้นสูงต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อีกทั้งนักวิชาการหลายฝ่ายในคณะ IPCC ยังบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าพวกเราไม่ลงมือทำอะไรเลยในตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานเพื่อรับมือและช่วยฟื้นตัวจากภาวะโลกร้อน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อโลกและเราก็อาจจะแย่จนสายเกินแก้ได้

เราอาจคิดว่าโลกร้อนเพิ่มขึ้นแค่ไม่กี่องศาจะเป็นอะไรไป แต่อันที่จริงแล้วการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกแค่ 1.5 องศาเซลเซียสนั้นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ อย่างที่คาดคิด เพราะการเพิ่มสูงของอุณหภูมิโลกเพียง 1.5 องศาเซลเซียสก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ร้อยละ 8 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั่วโลกประสบปัญหาเพาะปลูกไม่ได้ เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม ความแห้งแล้ง หรือน้ำท่วมอย่างต่อเนื่องยาวนาน และหากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเชียส รายงาน IPCC6 ยังคาดการณ์ว่าประชากรราว 3,000 ล้านคนทั่วโลกก็อาจต้องพบกับภาวะการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค การเพาะปลูกและการประมงทั่วโลกจะลดกำลังการผลิตลง และเด็กๆ ในภูมิภาคแอฟริกาอีกราว 1.4 ล้านคนอาจจะประสบกับภาวะขาดสารอาหารอย่างหนักจนกระทบต่อการเจริญเติบโตที่สมวัย

และที่ควรไฮไลท์ซ้ำๆ ก็คือ หากอุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นถึง 3 องศาเซลเชียส ก็จะทำให้ความเสี่ยงของภัยพิบัติทางธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้นมากกว่า 5 เท่า ซึ่งทั้งหมดนั้นอาจเกิดขึ้นภายในศตวรรษนี้ โดยระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นรวมถึงภาวะฝนตกรุนแรงนั้นยังอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อการดำเนินเศรษฐกิจทั่วโลกเพิ่มเป็น 4 เท่าจากปัจจุบัน ที่สำคัญคือสัตว์โลกและพืชพรรณอีกราวร้อยละ 29 ทั่วโลกก็อาจจะล้มหายและสูญพันธุ์ไปด้วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/ipcc-2022

นอกจากนั้น รายงาน IPCC6 ยังเผยให้เห็นข้อกังวลเร่งด่วน 4 ประการจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก ดังนี้

1. การเพิ่มสูงขึ้นของสภาพอากาศจะส่งผลกระทบที่รุนแรงเป็นวงกว้างต่อทั้งธรรมชาติและมนุษย์โลก แม้ว่าเราจะเตรียมการเพื่อปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกแล้วก็ตาม ผลกระทบที่คาดการณ์ในรายงาน IPCC6 ประจำปี 2022 นี้ยังมีการประมาณความรุนแรงของภาวะโลกร้อนที่สูงกว่าการศึกษาครั้งที่ผ่านมาหลายเท่าตัว

2. รายงานระบุถึงความเสี่ยงรุนแรงทั้งสิ้น 127 อย่าง ครอบคลุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อธรรมชาติและมนุษย์ในระดับโลกและระดับพื้นที่ส่วนภูมิภาค การคาดการณ์ความสูญเสียจากภาวะโลกร้อนนี้ยังประมาณว่าความรุนแรงต่อทั้ง 127 ความเสี่ยงข้างต้นจะเพิ่มขึ้นอย่างแปรผันตรงกับอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งทั้งหมดอาจจะสายเกินแก้ หากเราไม่เริ่มแก้ไขและลดการปล่อยมลพิษที่มีผลต่อโลกร้อนกันตั้งแต่วันนี้

3. รายงาน IPCC6 ยังพบว่า ปฏิบัติการที่หลายฝ่ายลงมือทำเพื่อลดโลกร้อนนั้นยังห่างไกลกับเป้าหมายที่เราควรทำเพื่อป้องกันและรับมือกับความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวันอยู่มาก อีกทั้งที่ผ่านมาเรายังไม่มีการสนับสนุนการทำงานเพื่อป้องกันสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั้งด้านการเงินและการสนับสนุนทางการเมืองที่เร่งด่วนและมากพอ ไม่นับรวมว่าในหลายชุมชนและสังคมนั้นได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มากกว่าพื้นที่อื่นอันเนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์และศักยภาพในการรับมือที่น้อยกว่า โดยทั้งหมดนั้นอาจเป็นผลให้ความไม่เท่าเทียมทางสังคมเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย

4. อย่างไรก็ตาม ทางออกเพื่อป้องกันและฟื้นตัวจากการเพิ่มสูงของสภาพภูมิอากาศยังมีอยู่เสมอ แต่ทั้งหมดนั้นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ที่จะร่วมสร้างทางเลือกของการพัฒนาที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งนั่นจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะโลกร้อน เพิ่มความเสมอภาค ตลอดจนการเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนทางทรัพยากรที่เป็นธรรมต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

โดยท่านสามารถอ่านรายละเอียดรายงาน IPCC6 หรือ IPCC Sixth Assessment Report ได้ที่ https://www.ipcc.ch/report/ar6/wg2/

และรับชม 10 เรื่องที่คุณ(อาจจะ)ไม่รู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย และการทำงานขององค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทยเพื่อรับมือและป้องกันกับภาวะโลกร้อน โดย กีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=AIdZIBsQ_W0&t=54

Tokyo Bekana ปลูกด้วยปุ๋ยหมักเศษอาหาร
13/03/2022

Tokyo Bekana ปลูกด้วยปุ๋ยหมักเศษอาหาร

ไมโครกรีนควรตัดในช่วงวันที่ 7-10 โดยนำมาล้างและสะเด็ดน้ำเก็บใส่ตู้เย็น จะอยู่ได้เป็นอาทิตย์ ส่วนตอที่เหลือและวัสดุปลูกที...
11/02/2022

ไมโครกรีนควรตัดในช่วงวันที่ 7-10 โดยนำมาล้างและสะเด็ดน้ำเก็บใส่ตู้เย็น จะอยู่ได้เป็นอาทิตย์ ส่วนตอที่เหลือและวัสดุปลูกที่ใช้แล้ว เราก็สามารถเอาไปใส่ในถักหมักปุ๋ย เพื่อวนกลับมาใช้ให้เป็นสารอาหารแก่ผักที่จะปลูกอีกครั้ง

ทำปุ๋ยมูลไส้เดือน ครั้งแรกไม่ยากอย่างที่คิด
31/01/2022

ทำปุ๋ยมูลไส้เดือน ครั้งแรก
ไม่ยากอย่างที่คิด

เป็นต้น(อ่อน) ใครที่อยากลองปลูกผักกินเอง แต่ไม่ค่อยมีเวลาหรือกลัวว่าจะทำไม่ได้ แนะนำให้ลองเริ่มจากการปลูกต้นอ่อน หรือไมโ...
28/01/2022

เป็นต้น(อ่อน)
ใครที่อยากลองปลูกผักกินเอง แต่ไม่ค่อยมีเวลาหรือกลัวว่าจะทำไม่ได้ แนะนำให้ลองเริ่มจากการปลูกต้นอ่อน หรือไมโครกรีน ซึ่งมีให้เลือกหลายชนิด ที่นิยมก็เช่น ต้นอ่อนทานตะวัน ต้นอ่อนไควาเระ (หัวไชเท้า) ต้นอ่อนผักบุ้ง และต้นอ่อนกระเจี๊ยบ
ไมโครกรีนมีวิธีปลูกไม่ซับซ้อน เริ่มจากเตรียมวัสดุปลูก ได้แก่ ขุยมะพร้าว แกลบดำ และปุ๋ยอินทรีย์ (เช่น ปุ๋ยมูลไส้เดือน) นำมาร่อนคลุกรวมกัน จากนั้นนำไปใส่ในภาชนะที่ระบายน้ำได้ ซึ่งอาจใช้ของเหลือใช้ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นตะกร้า กระจาด กล่องกระดาษ หรือแม่แต่แผงไข่
สำหรับเมล็ดพันธุ์ หาซื้อได้ทั่วไป ราคาไม่กี่สิบบาท นำมาล้างและแช่น้ำไว้สัก 1 คืน จากนั้นโรยที่หน้าวัสดุปลูกให้แน่น แต่ไม่ซ้อนกัน แล้วเอาวัสดุปลูกโรยทับบางๆ อีกที รดน้ำให้ชุ่ม วางไว้ในที่ร่ม หาอะไรมาปิดทับไม่ให้โดนแสงสัก 2-3 วัน หลังจากนั้นจึงเปิดออกมา และรดน้ำเช้าเย็น วางไว้ในที่มีแดดอ่อนๆ อีก 5-6 วันก็พร้อมตัดเอามาทานสดๆ หรือประกอบอาหารได้หลากหลาย
ประโยชน์ของต้นอ่อนมีข้อมูลว่าไว้มากมายหลายประการทีเดียว ซึ่งถ้าเทียบกับเวลาแค่ 7-10 วันในการปลูก ก็ต้องบอกว่ามันคุ้มมาก แถมยังไม่ต้องกังวลเรื่องสารเคมีตกค้างอีกต่างหาก

Address


Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when เป็นต้น by Knowledgetable posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to เป็นต้น by Knowledgetable:

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Pet Store/pet Service?

Share