ชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสัตวแพทย์แห่งประเทศไทย

  • Home
  • ชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสัตวแพทย์แห่งประเทศไทย

ชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสัตวแพทย์แห่งประเทศไทย Contact information, map and directions, contact form, opening hours, services, ratings, photos, videos and announcements from ชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสัตวแพทย์แห่งประเทศไทย, Veterinarian, .

21/06/2024
สพ.ญ.มาตยา ทวีชาติ ประธานชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูฯ มอบประกาศนียบัตรแก่สัตวแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร Building Skills in O...
21/06/2024

สพ.ญ.มาตยา ทวีชาติ ประธานชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูฯ มอบประกาศนียบัตรแก่สัตวแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร Building Skills in Ortho-Rehab Examination: Case -Based Learning

ภาพบรรยากาศการเรียน Post-congress: VRVC 2024 วันพฤหัสที่ 13 มิถุนายน 2567 : Building Skills in Ortho-Rehab Examination: ...
15/06/2024

ภาพบรรยากาศการเรียน Post-congress: VRVC 2024 วันพฤหัสที่ 13 มิถุนายน 2567 : Building Skills in Ortho-Rehab Examination: Case -Based Learning 🐶 ติดเกราะความรู้ มุ่งสู่ความเชี่ยวชาญ ortho-rehab 😺

❤️พรุ่งนี้แล้วนะคะ งานสัมมนาที่ทุกท่านรอคอย 😀Building Skills in Ortho-Rehab Examination: Case -Based Learning 🌈ติดเกราะค...
12/06/2024

❤️พรุ่งนี้แล้วนะคะ
งานสัมมนาที่ทุกท่านรอคอย 😀Building Skills in Ortho-Rehab Examination: Case -Based Learning
🌈ติดเกราะความรู้ มุ่งสู่ความเชี่ยวชาญ ortho-rehab 😺🐶
📍ในงาน Post-congress: VRVC 2024 วันพฤหัสที่ 13 มิถุนายน 2567 ห้อง Innovation Center for Veterinary Clinical Training
ชั้น 5 ห้อง 505
🌱คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
เริ่มเวลา 8.30 น.
แล้วพบกันนะคะ😍🎊

31/05/2024

เรามาทำความรู้จักกับชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสัตวแพทย์แห่งประเทศไทย กัน โดย สพ.ญ.มนัญญา ด่านพิทักษ์กุล และ สพ.ญ. มาตยา ทวีชาติ ประธานชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูฯค่ะ 😀 ปีนี้ชมรมของเราก้าวเข้าสู่ปีที่ 5 แล้วนะคะ เบื้องหลังสุดประทับใจของชมรมเราจะมีเรื่องราวใดบ้าง เชิญรับชมได้เลยค่ะ ^_^

26/05/2024

เหลือไม่กี่ที่นั่งเท่านั้น!! งานสัมมนาที่ทุกท่านรอคอย Building Skills in Ortho-Rehab Examination: Case -Based Learning ติดเกราะความรู้ มุ่งสู่ความเชี่ยวชาญ ortho-rehab 😺🐶
📍ในงาน Post-congress: VRVC 2024 วันพฤหัสที่ 13 มิถุนายน 2567 ห้อง Innovation Center for Veterinary Clinical Training คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
📌 ค่าลงทะเบียนราคา 7,490 บาท รับจำนวนจำกัด!
📱 ลงทะเบียนได้ตั้งแต่ วันนี้ - 30 พฤษภาคม 2567 (ระบบปิดรับอัตโนมัติเมื่อผู้ลงทะเบียนครบตามจำนวนที่กำหนด) ทาง https://www.zipeventapp.com/e/VRVC-2024

📱สอบถามข้อมูลอื่นๆ Line:


สวัสดีค่า สัปดาห์นี้เรามาพร้อมกับคำว่า Spinal walking คำนี้มีความสำคัญยังไง เรามาดูกันค่า         เรื่องที่นำมาเสนอคราวน...
24/05/2024

สวัสดีค่า สัปดาห์นี้เรามาพร้อมกับคำว่า Spinal walking คำนี้มีความสำคัญยังไง เรามาดูกันค่า

เรื่องที่นำมาเสนอคราวนี้ เป็นเรื่องของการทำกายภาพบำบัดให้กับสุนัขที่มีภาวะ paraplegia ที่ไม่มี deep pain perception(DPP) ซึ่งโอกาสที่จะกลับมาใช้ขาได้นั้นน้อยมาก และบางครั้งอาจจะต้องถูก euthanasia งานวิจัยฉบับนี้เลยมุ่งเป้าไปที่ การทำกายภาพอย่างไร ด้วยวิธีใด ใช้เวลานานแค่ไหนที่จะทำให้สุนัขที่ไม่มี DPP กลับมาเดินได้ด้วยคำว่า spinal walking ถึงแม้ว่าจะไม่ได้กลับมาเดินได้ปกติเหมือนเดิม แต่จะช่วยเพิ่มเรื่องคุณภาพชีวิตของสุนัขได้ด้วย

ปัจจุบันภาวะ spinal cord injury (SCI) นั้นพบได้บ่อยขึ้น และมักจะมีสาเหตุจากอุบัติเหตุหรือ Intervertebral disc extrusion (IVDE) ซึ่งการฟื้นฟูให้จะกลับมาเดินได้นั้น ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ความเสียหายของไขสันหลัง และระยะเวลาตั้งแต่เกิดโรคจนถึงได้เข้ารับการรักษา ซึ่งสิ่งที่จะใช้พยากรณ์โรคได้อีกอย่างหนึ่งคือ deep pain perception ซึ่ง receptor ของ deep pain นั้นจะอยู่ชั้นในสุดของไขสันหลังบริเวณ white matter ซึ่งถ้า deep pain perception หายไปนั้น แสดงว่าไขสันหลังได้รับความเสียหายมาก ทำให้พยากรณ์โรคนั้นไม่ดี โอกาสที่สัตว์ป่วยจะกลับมาได้เดินก็จะน้อยลงเมื่อเทียบกับตัวที่มี deep pain perception

แล้ว spinal walking คืออะไร โดยปกติแล้วการที่สุนัขจะก้าวเดินได้ จะต้องอาศัยการทำงานของสมองที่สั่งการมาให้เกิดการขยับของขา (voluntary movement) แต่เมื่อเกิดความเสียหายที่ไขสันหลัง ร่างกายจะถูกควบคุมด้วย involuntary motor function แทน ซึ่งกลายเป็นการทำงานโดย reflex จากการทำงานคู่กันระหว่าง locomotor central pattern generator (CPG) ที่ขาหลัง กับ proprioceptive feedback ของร่างกาย ซึ่ง CPG จะเป็นเหมือนแผง neuron ที่จะกระตุ้นให้เกิด motor pattern เช่นการเดิน การทำกายภาพต่างๆ จะช่วยกระตุ้นการทำงานของ CPG ทำให้สุนัขมี spinal walking ได้

ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงทำการเก็บข้อมูลในสุนัขอัมพาต 2 ขาหลังที่ไม่มี deep pain perception ของขาหลังโดยเกิดจาก IVDE หรือ thoracolumbar fracture ที่ตำแหน่ง T3-L3 โดยสุนัขที่มี myelomalacia จะถูกคัดออกและสุนัขจะได้รับการตรวจระบบประสาทหลังจากที่ทำกายภาพไปแล้วทุก ๆ 10 ครั้ง และการกายภาพจะเริ่มจาก
- Manual therapy (massage)
- Electrostimulation (10-20 นาที และจะมีการกระตุ้นซ้ำในวันเดียวกัน)
- Ultrasound therapy
- Laser therapy
- Active and passive range of motion
- การประคองเดินโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น kart หรือการประคองเดินบนลู่วิ่งบก หรือน้ำ
สุนัขทุกตัวจะได้รับการกายภาพที่ใกล้เคียงกันและจะทำวันจันทร์ถึงศุกร์ติดต่อกัน ส่วนเวลาในการทำกายภาพจะขึ้นกับเจ้าของสุนัข แต่สิ่งสำคัญคือ สุนัขเกือบทุกตัวจะได้การพยุงเดินในลู่บกหรือลู่น้ำ หรือใช้อุปกรณ์พยุงพาเดิน
จากผลการศึกษาพบว่า
- สุนัข 58.33% เริ่มมี spinal walking หลังทำกายภาพ 125-320 session เริ่มจาก 25-64 สัปดาห์ และในสุนัขส่วนมากจะมีค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่การทำกายภาพอย่างต่ำ 1 ปีที่จะกลับมามี spinal walking
- ในสุนัขที่มีน้ำหนักน้อยจะกลับมามี spinal walking ได้มากกว่าสุนัขน้ำหนักตัวมาก

จากงานวิจัยนี้ทำให้สรุปได้ว่าการทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีเบื้องต้นต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สุนัขกลับมามี spinal walking ได้ และสิ่งที่เป็นปัจจัยหลักคือการช่วยเหลือสุนัขให้อยู่ในท่ายืนและได้เดิน เพื่อที่จะเป็นการสร้าง pattern ของการเดิน การสร้างกล้ามเนื้อเพื่อพยุงรับน้ำหนัก กระตุ้นการทำงานของ proprioception เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของทางเดินหายใจ ลดการเกิดแผลกดทับ และทำให้สุนัขมีสุขภาพจิตดีอีกด้วย

อย่างไรก็ตามในงานวิจัยชิ้นนี้ ยังไม่สามารถทำเป็นกลุ่มทดลองที่ไม่ได้รับการรักษาได้ เนื่องจากเรื่องจริยธรรมของงานวิจัย แต่จากงานวิจัยหลาย ๆ งานก็ระบุว่า การทำกายภาพบำบัดเป็นสิ่งสำคัญมากในสัตว์ป่วยกลุ่มที่เป็นอัมพาต ส่วนงานวิจัยชิ้นนี้ สรุปได้ว่า การทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีต่าง ๆ รวมถึงการใช้อุปกรณ์พยุงเพื่อให้สุนัขอยู่ในท่ายืน และประคองให้เดินบนลู่วิ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิด spinal walking ได้

หากคุณหมอสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมว่าเค้าทำ therapeutic exercise อย่างไรบ้าง หรือการทำกระตุ้นไฟฟ้า protocol ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง สามารถอ่านเพิ่มเติมตาม link นี้ได้เลยค่ะ https://www.mdpi.com/2076-2615/13/8/1398

ขอบคุณค่า
สพ.ญ.ดร. พิชนันท์ ลีฬหรัตนรักษ์

👋 วันนี้จะมากับหัวข้อที่ทำให้ทุกคนทำงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น😊      ❗️ สภาวะข้อสะโพกเสื่อม❗️เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปใ...
17/05/2024

👋 วันนี้จะมากับหัวข้อที่ทำให้ทุกคนทำงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น😊

❗️ สภาวะข้อสะโพกเสื่อม❗️เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในสุนัขซึ่งกระทบต่อสุนัขเป็นจำนวนมากเพราะเป็นสาเหตุแห่งความเจ็บปวด เคลื่อนไหวลำบาก และนำไปสู่โรคข้อเสื่อม บทความนี้ได้นำเสนอการใช้เวชศาสตร์ฟื้นฟูในการดูแลสุนัขที่มีสภาวะข้อเสื่อมครอบคุมหลักการและวิธีการดูแลโดยไม่ต้องผ่าตัด วันนี้จะมาเล่าให้ฟังแบบสั้นๆเข้าใจง่ายและสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ในการรักษา
📍อันดับแรกต้องรู้จักกับสิ่งที่เราต้องรักษาว่าคือ ภาวะข้อสะโพกเสื่อม หรือที่เรียกว่า canine hip dysplasia (CHD)โรคนี้เป็น developmental disease กล่าวคือ จะต้องมีการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป เกิดมาจาก biomechanic หรือการทำงานเชิงกลของข้อต่อที่ผิดปกติไป ซึ่งเกิดมาจากภาวะข้อสะโพกหลวมที่เกิดตั้งแต่เด็ก ร่วมกับแรงที่กระทำแบบผิดๆ บริเวณหัวกระดูก femur ที่ต่ออยู่กับข้อสะโพก เมื่อสุนัขเจริญเติบโตขึ้นก็มีโอากาสที่จะพัฒนาความรุนแรงของโรคนี้มากขึ้น. ความรุนแรงของโรคขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สุขภาพโรคประจำตัว สภาวะน้ำหนักเกิน ไลฟ์สไตส์ และ สิ่งแวดล้อม

📍 การตรวจและวินิจฉัยนั้นสำคัญมากถ้าตรวจพบเจอตั้งแต่เนิ่นๆ เริ่มรักษาตอนที่ยังเป็นไม่มาก ส่งผลให้ผลลัพธ์ออกมาดี เมื่อทราบแล้วว่าเป็น CHD หมอๆก็เริ่มคิดแล้วว่าเราจะทำยังไงเริ่มตรงไหนดี
✅️ตั้งเป้าหมาย(Goal) เช่น การควมคุมเจ็บปวด การถนอมมวลกล้ามเนื้อ เพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อสะโพก จากนั้นเริ่มการวางแผนการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา เครื่องมือกายภาพ รวมไปถึงการออกกำลังกาย พิจารณาจากตัวผู้ป่วยและความคาดหวังของเจ้าของร่วมด้วย
✅️การจัดการเรื่องน้ำหนัก (Weight Management) เพราะว่า ถ้าน้ำหนักเยอะจะเกิดแรงไปกระทำที่ข้อส่งผลให้อาการแย่ลงได้ ดังนั้นการจัดการในเรื่องอาหารที่้เหมาะสมกับผู้ป่วยทั้งในแง่ส่วนประกอบและสารอาหาร จะช่วยทำให้การควบคุมน้ำหนักได้ผลดีขึ้น
✅️การจัดการกับความเจ็บปวด (Pain management)
Medications การกินยาแก้ปวด ลดอักเสบ
✅️การกายภาพบำบัด (Physical Rehabilitation)
▫️Manual Therapy คือ วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด ด้วยการใช้มือ ได้แก่ passive and active ROM exercises, stretching, joint mobilizations, และการนวดเพื่อยังคงความยืดหยุ่นของข้อและกล้ามเนื้อ ลดปวด แลเพิ่มพิสัยการทำงานของข้อ
▫️Therapeutic exercise คือ การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษาเพื่อความแข็งแรงของขา กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว หัวใจและหลอดเลือด และพิสัยของข้อที่ดีขึ้น ได้แก่ การเดินอย่างสม่ำเสมอในทุกๆวัน การลุกนั่งเป็นชุด การเดินขึ้นบันได การเดินบนพื้นผิวที่ไม่เรียบ ว่ายน้ำ
✅️การใช้เครืองมือกายภาพ (Physical Modalities)
▫️Heat and Cold Therapy ประเย็นเพื่อลดการอักเสบ ประคบร้อนเพื่อผ่อนคลายและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
Therapeutic Ultrasound ลดปวด ลดการกระตุก เกร็งของกล้ามเนื้อ เพิ่มพิสัยของข้อ
▫️Electrical Stimulation เพื่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ลดปวด ลดบวม
▫️Laser Therapy ลดปวด ลดอักเสบ ช่วยในเรื่องการหายของกล้ามเนื้อและกระดุูก
▫️Extracorporeal Shockwave Therapy (ESWT) ลดปวด และ กระตุ้นการรักษาของเนื้อเยื่อ
▫️Aquatic Therapy เพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อโดยลดแรงกระแทกที่เกิดที่ข้อ
✅️ปรับการดำเนินชีวิต (Lifestyle Modifications)
สิ่งรองนอนที่นุ่มเพื่อลดการกดทับของปุ่มกระดูก เพิ่มทางลาดชันในการเดินเพื่อเลี่ยงการขึ้นบันไดทำให้ง่ายต่อการเดินไปมา ควบคุมกิจกรรมออกกำลังกายโดยแนะนำให้ทำกิจกรรม low-impact ได้แก่ leash walking, gentle play และว่ายน้ำ เลี่ยงกิจกรรม high-impact เช่น กระโดด วิ่ง เดินบนผิวลื่น เพื่อลดอุบัติเหตุหรืออาการบาดเจ็บเพิ่มเติมจากการทำกิจกรรม
✅️ให้ความรู้เจ้าของและการดูแลที่บ้าน (Owner Education and Home Care)
เจ้าของจะได้เข้าใจโรคและความเป็นไป เพื่อตัดสินใจเรื่องแพลนในการดูแล
ส่วนการดูแลที่บ้านแนะนำให้ทำทุกวันในเรื่องการออกกำลังกายและการกินยาเพื่อความต่อเนื่องและผลลัพธ์ที่ดีของการดูแล
✅️การติดตามและปรับแผนการรักษา (Monitoring and Adjusting Treatment)
บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ ความเจ็บปวด ความยากง่ายของกิจกรรม การตอบสนองต่อการรักษา จากกิจวัตรประจำวันนี้เป็นสิ่งที่จะช่วยในการติดตามความเปลี่ยนแปลงในการปรับแพลนการักษา ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับความสามารถของผู้ป่วยและดุลพินิจของหมอที่ทำการรักษา

รูปแบบโปรแกรมการกายภาพบำบัดที่จัดทำขึ้นนั้นเพื่อมุ่งหวังให้สุนัขที่เป็น CHD มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เคลื่อนไหวได้คล่องตัว คุมความเจ็บปวดได้ ชะลอการดำเนินไปของโรค

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นหลักการคร่าวๆที่มาเล่าสู่กันฟัง ภายในบทความยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจมากมาย
ท่านใดที่สนใจสามรถอ่านเพิ่มเติมได้ ตามลิ้งค์นี้เลย 👇

https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0195561622000225?via%3Dihub

หากมีความผิดพลาดประการใด ขอ อภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
สพญ.โชติมนต์ สีสัน🙏

🙏 สวัสดีค่ะ เพื่อนพี่น้องสัตวแพทย์ทุกท่าน ✅  คาดว่าหลายท่านน่าจะคุ้นกับ back support หรือที่พยุงหลัง ที่เรามักใส่เพื่อบร...
10/05/2024

🙏 สวัสดีค่ะ เพื่อนพี่น้องสัตวแพทย์ทุกท่าน
✅ คาดว่าหลายท่านน่าจะคุ้นกับ back support หรือที่พยุงหลัง ที่เรามักใส่เพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากโรคกระดูกสันหลัง หรือเพื่อป้องกันการปวดหลังใช่ไหมคะ ที่พยุงหลังนี้จะทำหน้าที่จำกัดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง 🦮 ซึ่งในสุนัขเองก็มีที่พยุงหลังเช่นกัน และมีงานวิจัยในสุนัขที่เกี่ยวกับการใส่ ที่พยุงหลังด้วย หรือที่งานวิจัยนี้เรียกว่า Dog's Corset 🦮

✅ เขาทำการทดลองในสุนัขพันธ์บีเกิ้ล🐕‍🦺ที่มีสุขภาพดีอายุเฉลี่ย 4.9 ปี จำนวน 5 ตัว โดยนำ back support มาใส่ให้สุนัข แล้วเปรียบเทียบการเดินกับกลุ่มที่ไม่ได้สวม วิเคราะห์การเดินและเก็บ Data ทั้งแบบ Kinetic และ Kinematic โดย วัดทั้งหมด 4 parameters ได้ผลดังนี้
1.❤️Walking speed พบว่าความเร็วในการเดินไม่แตกต่างกัน
2.❤️Movement of the Limbs วัด ROM หรือ องศาการเคลื่อนไหวในข้อต่อ shoulder, elbow, carpal, hip, stifle และ tarsal พบว่า สุนัขที่ใส่ back support มี ROM ของข้อสะโพกซ้ายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่กับข้อต่ออื่นไม่พบความแตกต่างกันระหว่าง 2 กลุ่ม
3.❤️Trunk stability
โดยการวัด ROM ของหลังในแนว coronal plane
ซึ่งสุนัขที่ไม่ได้ใส่ back support มี back ROM 7.21 ± 3.84 องศา ในขณะที่ สุนัขที่ใส่ back support มี back ROM 3.05 ± 1.21 องศา จึงอนุมานได้ว่า การใส่ back support ช่วยลดการแกว่งของหลังในแนวนอน ไปทางด้านซ้ายและขวา (Trunk sway) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
4.❤️Kinematic โดยดูการลงน้ำหนักของขา พบว่า การลงน้ำหนักของขาหน้าและขาหลังไม่มีความแตกต่างกันระหว่าง 2 กลุ่ม

✅ จึงสรุปได้ว่า การใส่ back support ในสุนัขสามารถช่วยลด ROM ของกระดูกสันหลัง หรือก็คือการลด spinal motion นั่นเอง 🦮 จึงแนะนำให้ใช้ back support กรณี postoperative ในส่วน thoracolumbar region ช่วยลดปวดได้ค่ะ หรือใช้กรณี rehabilitation, prevent development of IVDD แต่ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนสุนัขที่เข้าร่วมการทดลองนี้มีจำนวนน้อยมาก จึงควรศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

✅หากคุณหมอท่านใดสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านในตัวต้นฉบับได้เลยค่ะ ตาม link นี้นะคะ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8471024/
ขอบคุณมากค่ะ 🙏
กภ.สพ.ญ.ฤทัยทิพย์ อุปริพุทธิ😀😍

📣 ประชาสัมพันธ์งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการของ ชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสัตวแพทย์แห่งประเทศไทย (TSVR) เรื่อง Building Skills in ...
03/05/2024

📣 ประชาสัมพันธ์งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการของ ชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสัตวแพทย์แห่งประเทศไทย (TSVR) เรื่อง Building Skills in Ortho-Rehab Examination: Case -Based Learning ติดเกราะความรู้ มุ่งสู่ความเชี่ยวชาญ ortho-rehab 😺🐶🦴

📍ในงาน Post-congress: VRVC 2024 วันพฤหัสที่ 13 มิถุนายน 2567 ห้อง Innovation Center for Veterinary Clinical Training คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

📌 ค่าลงทะเบียนราคา 7,490 บาท รับจำนวนจำกัด 40 ที่นั่งเท่านั้น!!!

📱 ลงทะเบียนได้ตั้งแต่ วันนี้ - 30 พฤษภาคม 2567 (ระบบปิดรับอัตโนมัติเมื่อผู้ลงทะเบียนครบตามจำนวนที่กำหนด) ทาง https://www.zipeventapp.com/e/VRVC-2024

📱สอบถามข้อมูลอื่นๆ Line:


สวัสดีค่า วนมาถึงวันศุกร์กันอีกแล้ว สำหรับสิ้นเดือนเมษายนที่มีความร้อนระอุแบบนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องความเจ็บปวดกันค่ะ ว่...
26/04/2024

สวัสดีค่า วนมาถึงวันศุกร์กันอีกแล้ว สำหรับสิ้นเดือนเมษายนที่มีความร้อนระอุแบบนี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องความเจ็บปวดกันค่ะ ว่าถ้าสัตว์ป่วยมีปัญหาเรื่องอาการปวดเรื้อรัง เช่นกลุ่มที่เป็น osteoarthritis เราสามารถทำการรักษาอย่างไรได้บ้างถ้าเราไม่สามารถใช้ยาในระยะยาว ๆ ได้ค่ะ (Nonpharmacologic modalities for pain management) ตามที่ American animal hospital association (AAHA) แนะนำ

ถึงแม้ว่าการใช้ยาในการลดปวดจะให้ผลได้ดีและรวดเร็วในการรักษา แต่ก็อาจจะมีข้อจำกัดบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถใช้ยาในการรักษาได้ เช่น สัตว์ป่วยอายุมาก เจ้าของไม่อยากให้ใช้ยา หรือมีปัญหาเรื่องการทำงานของตับหรือไต จึงทำให้มีการเลือกใช้การรักษาวิธีอื่น ๆ เข้ามาเพื่อช่วยคุมอาการปวดที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีปัญหาอาการปวดเรื้อรัง (chronic pain)
สิ่งที่สำคัญอย่างแรกคือ คุณหมออาจจะต้องประเมิณให้ได้ก่อนว่า ภาวะความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุจากอะไร ตำแหน่งไหน จึงจะเริ่มแนวทางในการรักษาได้ถูกต้อง และสิ่งแรกที่ทำได้คือ การให้ความรู้และความเข้าใจกับเจ้าของเกี่ยวกับโรคที่สัตว์ป่วยเป็นอยู่ (Education) เพื่อให้เจ้าของเข้าใจลักษณะอาการของโรคและสามารถสังเกตอาการในระหว่างการรักษาได้ว่าดีขึ้นหรือไม่ดีขึ้น เพราะเจ้าของจะต้องช่วยประเมิณความเจ็บปวด นอกจากนั้นการพยากรณ์โรคจะทำให้เจ้าของมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นด้วยว่า โรคที่เป็นจะมีแนวโน้มแย่ลง ดีขึ้น หรือดีขึ้นแต่ไม่ได้กลับมาปกติเหมือนเดิมมากน้อยอย่างไรและช่วยให้เจ้าของตัดสินใจในการเลือกการรักษาได้ดีขึ้น
เรามาเริ่มกันที่อย่างแรกในการรักษากันค่ะ Weight management หรือการควบคุมน้ำหนักนั้นมีความสำคัญอย่างมากในกลุ่มสัตว์ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อ หรือข้ออักเสบ (osteoarthritis, OA) เพราะน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะทำให้เพิ่ม load ที่ข้อต่อทำให้เกิดข้อเสื่อม อักเสบเร็วมากขึ้น นอกจากนั้นไขมันตามร่างกายจะทำให้เกิดการผลิต cytokines ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดมากขึ้น ดังนั้นการคุมน้ำหนักจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดความเจ็บปวดในสัตว์ที่มีปัญหา OA บางครั้งเพียงแค่คุณหมอแนะนำเจ้าของให้คุมน้ำหนัก โดยที่ยังไม่ได้เพิ่มการออกกำลังกายที่มากขึ้น สัตว์ป่วยบางตัวก็สามารถกลับมาเดินหรือลงน้ำหนักขาได้ ดังนั้นการให้ความรู้เจ้าของเรื่องสารอาหารที่เพียงพอ การกินขนม หรือแคลอรี่ที่จำเป็นก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกันค่ะ
Dietary supplements และ nutraceuticals เช่น glucosamine, chondroitin sulphate, hyaluronic acid, omega3 สามารถใช้เพิ่มเพื่อลดปวดหรือลดการอักเสบในสัตว์ป่วยกลุ่ม OA หรือเป็นโรคข้อเสื่อมต่าง ๆ ได้เช่นกัน จากงานวิจัยพบว่า ในสุนัขที่กลุ่มข้อเสื่อมข้ออักเสบมีอาการเจ็บปวดน้อยลงเมื่อได้รับ omega-3 ดังนั้นการเพิ่มโภชนบำบัดหรือสารอาหารต่าง ๆ อาจจะช่วยลดลดอาการลงและทำให้สัตว์ป่วยเดินหรือขยับตัวได้มากขึ้น
Physiotherapy และ Rehabilitation การออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัด ก็จัดว่ามีความสำคัญไม่แพ้สิ่งอื่นเช่นกัน ซึ่งคุณหมอที่ทำกายภาพบำบัดจะทราบกันดีว่าการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของข้อต่อ และทำให้เคลื่อนไหวได้ตามปกติ ถ้าในสุนัขที่มีปัญหา OA และไม่ขยับนาน ๆ ก็อาจจะมีปัญหาข้อยึดตามมาได้ เพราะฉะนั้น การออกกำลังกายที่เหมาะสมจะช่วยคงสภาพของข้อต่อให้ทำงานได้และชะลอความเสื่อมที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย มีงานวิจัยรายงานว่า การพาสุนัขเดินทุกวันเป็นประจำจะช่วยลดอาการขาเจ็บลงในสุนัขที่มีปัญหา hip dysplasia นอกจากนั้นคุณหมอยังสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การกระตุ้นไฟฟ้า การทำเลเซอร์ หรือนวดอัลตราซาวด์ เพื่อช่วยลดปวดได้ด้วยเช่นกัน
Cold therapy หรือการประคบเย็นจะช่วยลดปวดได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่เป็น acute pain การประคบเย็นจะลดการกระตุ้น nociceptor และลดความเร็วของกระนำกระแสประสาททำให้อาการปวดลดน้อยลง และยังช่วยลดบวม ลดการอักเสบได้อีกด้วย ดังนั้นหากสัตว์ป่วยมีอาการบาดเจ็บหรือหลังผ่าตัด คุณหมอก็สามารถประคบเย็นเพื่อลดความเจ็บปวดได้ด้วยค่ะ
Environmental modification คือการปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดความสบายตัวสบายใจในการเดินมากขึ้น เช่น ปูพรมหรือแผ่นกันลื่นให้บริเวณที่อยู่อาศัย เพราะถ้าพื้นที่อยู่ลื่น ก็จะทำให้เดินได้ไม่ดีหรือมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นได้ เวลาที่สุนัขหรือแมวรู้สึกไม่มั่นคงในการเดินก็จะทำให้การเคลื่อนไหวหรืออยากเดินน้อยลงไปอีก การมีทางเดินทางลาดเพื่อที่จะได้ไม่ต้องกระโดดขึ้นลง ในแมวนั้น การปรับวางชามอาหาร น้ำ หรือที่ขับถ่ายให้ห่างกัน ก็เป็นการเพิ่มการออกกำลังกายหรือทำให้สัตว์มีการได้ขยับตัวมากขึ้นทำให้ข้อต่อต่าง ๆ ได้มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น
Acupuncture หรือการฝังเข็ม จัดว่าเป็นแพทย์ทางเลือกที่มีการใช้กันแพร่หลายมากขึ้น จากการศึกษาในปัจจุบัน พบว่าการฝังเข็มสามารถลดความเจ็บปวดในสัตว์ได้โดยการกระตุ้นการหลั่งสาร edorphine และ enkephalin ทำให้อาการปวดลดน้อยลง และยังกระตุ้นการทำงานผ่าน Gate control theory หรือประตูความเจ็บปวดทำให้ยับยั้งการส่งกระแสประสาทไปที่สมองทำให้สัตว์ป่วยรู้สึกสบายตัวมากขึ้น
จากข้อมูลเบื้องต้น ทำให้คุณหมอสามารถเลือกใช้การรักษาได้มากขึ้นในการคุมความเจ็บปวดในสัตว์ป่วยที่มีปัญหาอาการปวดเรื้อรังหรือ osteoarthritis และไม่สามารถใช้ยาหรือผ่าตัดได้ เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของสัตว์ป่วยค่ะ

ขอบคุณค่า
สพ.ญ.ดร. พิชนันท์ ลีฬหรัตนรักษ์

Reference : AAHA guidelines for pain management for dogs and cats 2022
: The pain management pyramid (onlinepethealth.com)

สวัสดีเพื่อนๆพี่ๆน้องๆสัตวแพทย์ที่น่ารักทุกคนวันนี้ถึงเวลา เล่าสู่กันฟังกับเนื้อหาดีๆเกี่ยวกับเรื่องกายภาพกัน 😀🔸️จากชมรม...
19/04/2024

สวัสดีเพื่อนๆพี่ๆน้องๆสัตวแพทย์ที่น่ารักทุกคนวันนี้ถึงเวลา เล่าสู่กันฟังกับเนื้อหาดีๆเกี่ยวกับเรื่องกายภาพกัน 😀

🔸️จากชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสัตวแพทย์แห่งประเทศไทยนะคะ

🔸️วันนี้มีเรื่องทางการกายภาพบำบัดเกี่ยวกับเคสระบบประสาทมาฝากกันค่ะ

🔸️เป็นเคสที่ดูแลหลังผ่าตัด Decompression Of Acute Thoracolumbar Intervertebral Disc Herniation(TL-IVDH) จำนวน 30 ตัว(non-ambulatory paraparetic or paraplegic ที่ยังมี pain perception)

🔸️จุดประสงค์ของศึกษาเพื่อการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มการกายภาพแบบ Basic และ แบบ Intensive ในสุนัข incomplete spinal cord injuries (SCI) อันเนื่องจาก thoracolumbar intervertebral disc herniation (TL-IVDH) ในช่วงแรกหลังการผ่าตัดว่าปลอดภัยกับผู้ป่วยหรือไม่และการการกายภาพแบบ Intestive สามารถเร่งความเร็วในการรักษาได้หรือไม่

🔸️การศึกษาแบ่งสุนัขออกเป็น 2 กลุ่ม และ แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา
ช่วงแรกใช้ระยะเวลา 14 วัน

กลุ่ม1️⃣ Basic Treatment :
Day1: Ice pack , D2-14: Hot pack
Day1-14 : PROM
Day1-14 : Sling/ Leashing walking

กลุ่ม2️⃣ Intensive Treatment : คล้ายกลุ่ม Basic แต่เพิ่มเติมเรื่องการใช้เครื่องมือ
Day1-14 : Supported standing เมื่อแข็งแรงมากขึ้น Board activity
Day1-5 : NMES,
Day2-7 : Weight shifting เมื่อแข็งแรงมากขึ้น Board activity + Weight shifting
Day 7-14: Underwater Treadmill

ช่วงที่สองใช้เวลา 30 วัน
ทั้งกลุ่มที่ 1️⃣ และ 2️⃣ Treatment เหมือนกัน:
PROM, Sling/leash walking

🔸️ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้ตลอด 45 วันที่นำมาใช้ในการเปรียบเทียบของสองกลุ่ม ได้แก่ ค่าเฉลี่ยของ. ความเจ็บปวด การกลับมาใช้เดินขา การวางเท้า น้ำหนักตัว เส้นรอบวงของต้นขา
การเก็บข้อมูลของทั้งสองกลุ่มตลอดการศึกษาใช้ผู้ตรวจและบันทึกคนเดียวกัน

🔸️ผลการศึกษาพบว่าการกายภาพแบบ Intensive ในกลุ่ม Incomplete Spinal Cord Injuries (SCI) อันเนื่องจาก Thoracolumbar Intervertebral Disc Herniation (TL-IVDH). ถือว่าปลอดภัยแต่ไม่สามารถเร่งความเร็วที่ในการรักษาได้

🔸️จากการศึกษานี้ทำให้เราทราบว่า เราสามารถเริ่มทำการกายภาพได้ตั้งแต่วันแรกหลังการผ่าตัดโดยสามารถเริ่มจากเครื่องมือใกล้ตัว เช่น Ice pack, Hot pack รวมไปถึงการกายภาพเบื้องต้นเช่น PROM, Supported Standing ส่วนสถานพยาบาลที่เครื่องมือกายภาพ สามารถใช้ได้เช่นกัน

🔸️จากการศึกษานี้แม้ว่าเครื่องมือจะไม่ได้ช่วยเร่งความเร็วในการรักษาได้ แต่สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระหว่างทำการรักษาดีขึ้นคือลดปวดในช่วงแรกหลังการผ่าตัด และเพื่อผลลัพธ์สุดท้ายเดียวกันคือการที่ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้งานร่างกายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

หากคุณหมอท่านใดสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านในตัวต้นฉบับได้เลยค่ะ ตาม link นี้นะคะ
👉 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29635872/
ขอบคุณมากค่ะ 🙏
สพญ. โชติมนต์ สีสัน

🙏สวัสดีค่ะ เพื่อนพี่น้องสัตวแพทย์ทุกท่าน มาพบกับการเล่าสู่กันฟัง เรื่องงานวิจัยทางด้านกายภาพบำบัดทุกวันศุกร์ 😍จากชมรมเวช...
12/04/2024

🙏สวัสดีค่ะ เพื่อนพี่น้องสัตวแพทย์ทุกท่าน มาพบกับการเล่าสู่กันฟัง เรื่องงานวิจัยทางด้านกายภาพบำบัดทุกวันศุกร์
😍จากชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสัตวแพทย์แห่งประเทศไทยนะคะ
❤️ วันนี้มีเรื่องทางการกายภาพบำบัดด้านระบบประสาทมาฝากกันค่ะ
สาเหตุที่เลือกเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะเป็นงานวิจัยที่ช่วยให้สุนัขอัมพาต กลับมาเดินได้ โดยไม่ได้ใช้เครื่องมือราคาเเพงเลยค่ะ ❤️แต่อาศัยเวลาและต้องทุ่มเทแรงกายและใจในการ exercise กันหน่อยนะคะ 😊
👉โดยเป็นการศึกษา case series ในสุนัขหลังการผ่าตัด IVDD Hansen type I ทั้งหมด 16 ตัว ที่ภายหลังการผ่าตัด 3 เดือนแล้ว ยังฟื้นตัวไม่สมบูรณ์ 😅

🐶 สุนัขทั้งหมดเป็น chondrodystrophic breed อายุน้อยกว่า 7 ปี ที่มี neuro-location ที่ตำแหน่ง T10-L3 และเป็น paraplegic ที่ยังมี deep pain +ve อยู่

🐶 สุนัขเหล่านี้ได้รับการกายภาพบำบัด ด้วยวิธี neurorehabilitation multimodal protocol (N**P) เป็นเวลา 90 วัน โดย N**P นี้ ประกอบด้วย Locomotor training, Functional Electrical Stimulation (FES) และ Transcutaneous Electrical Spinal Cord Stimulation (TESCS)

🐶การทำ Locomotor training โดยใช้ land treadmill โดยเริ่มที่ความเร็ว 0.8 กม./ชม. และค่อยๆเพิ่มเป็น 1.9 กม./ชม. เริ่มเดินเป็นเวลา 5 นาที และค่อยๆเพิ่มจนถึง 40 นาที ความชันเริ่มปรับที่ 10 องศา จนถึง 45 องศา ทำ 2-3 ครั้ง/วัน (5-6วัน/สัปดาห์)

Underwater treadmill ใช้อุณหภูมิน้ำที่ 26°C เริ่มเดินจากเวลา 5 นาที ไปจนถึงสูงสุด 1 ชั่วโมงต่อวัน (5 วัน/สัปดาห์)

นอกจากนี้ยังมีการเสริมการทำการออกกำลังกายแบบ kinesiotherapy exercises ได้แก่ postural standing, flexor movements, bicycle movements, balance board และการพาเดินบนพื้นที่หลากหลาย เช่น พื้นหญ้า พื้นทรายร่วมด้วยทุกวัน

🐶การกระตุ้นไฟฟ้า FES ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของ pelvic limb ได้เพราะเพิ่ม efferent and afferent nerve stimulation และ muscle stimulation โดยกระตุ้น 2-3 ครั้ง/วัน ในท่ายืน ให้ electrode 2 ตำแหน่ง อยู่ที่บริเวณ L7-S1 และmotor point ของ hamstring muscles (biceps femoris, semitendinosus, and semimembranosus) ส่วนการกระตุ้นไฟฟ้าแบบ TESCS สามารถแปะ electrode 2 ตำแหน่ง คือ L1-L2 และ L7-S1 กระตุ้นเป็นเวลา 10 นาที เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการสร้างและเชื่อมต่อกันของ connection เส้นประสาท

⭐️ผลการรักษา สุนัขทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาสามารถเดินได้ ภายใน 90 วัน โดยมีสุนัข 2 ตัว เริ่มเดินได้ ในวันที่ 30 ของการรักษา ทั้งนี้ระยะเวลาเฉลี่ยที่สุนัขกลับมาเดินได้ คือ 47 วัน นอกจากนี้ยังสามารถกลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้นด้วย

🩺หากคุณหมอท่านใดสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านในตัวต้นฉบับได้เลยค่ะ ตาม link นี้นะคะ https://www.mdpi.com/2076-2615/11/8/2442

❤️ขอบคุณมากค่ะ 🙏
กภ.สพ.ญ.ฤทัยทิพย์ อุปริพุทธิ

สวัสดีค่า หลังจากที่ห่างหายกันไปนาน ตอนนี้เราก็จะกลับมาอัพเดทข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ในเรื่องเกี่ยวกับเวชศาสตร์ฟื้นฟูกัน ใ...
05/04/2024

สวัสดีค่า หลังจากที่ห่างหายกันไปนาน ตอนนี้เราก็จะกลับมาอัพเดทข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ในเรื่องเกี่ยวกับเวชศาสตร์ฟื้นฟูกัน ให้คุณหมอได้รับความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติม หรือเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ลงรายละเอียดกันมากขึ้นไปอีกนะคะ ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะเป็นเนื้อหาที่มาจากงานวิจัยหรือบทความต่าง ๆ ที่คุณหมอสามารถนำไปเป็นแนวทางในการรักษามากขึ้น หรือใช้เป็นข้อมูลในการสื่อสารกับเจ้าของ เพื่อให้เจ้าของเข้าใจกระบวนการรักษาของคุณหมอมากขึ้นได้ด้วยค่า ซึ่งงงง เราจะพยายามอัพเดทเนื้อหาใหม่ ๆ ให้คุณหมอทุก ๆ สัปดาห์เลยจ้า

ส่วนคุณหมอท่านใด มีข้อสงสัย คำถาม หรืออยากจะปรึกษาเคส ก็สามารถมาคุยกันในนี้ได้เลยนะคะ เผื่อเรามีปัญหาคล้าย ๆ กันแล้วเอ๊ะ จะไปถามใครดีนะ ก็มาถามทางนี้ได้เลยค่า และจะได้เป็นการแบ่งประสบการณ์ในการรักษาร่วม ๆ กันด้วยค่ะ อยากให้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ได้ทั้งความรู้ ข่าวสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสัมมนา workshop หรือเราก็อาจจะมีสัมมนาในกลุ่มของเรากันเองด้วยเช่นกันค่า :D

สำหรับสัปดาห์นี้เราจะมาอัพเดทเรื่องข้อเข่ากันค่า เนื่องจากว่า ปัญหาข้อเข่าดูจะเป็นสิ่งที่คุณหมอพบเจอกันได้บ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็น cranial cruciate ligament injuries หรือ patellar luxation ซึ่งสุนัขส่วนใหญ่ก็มักจะต้องผ่าตัดเพื่อลดความเจ็บปวดและทำให้กลับมาใช้ขาได้ปกติ แต่ปัญหาที่พบได้หลังจากผ่าตัดคือ สุนัขไม่ใช้ขา ไม่ลงน้ำหนัก หรือยังเจ็บขาอยู่ ทำให้คุณภาพชีวิตหลังการผ่าตัดก็ยังไม่ได้กลับมาปกติเท่าไหร่นัก เลยเป็นเหตุผลให้งานวิจัยนี้ดูผลของการทำ therapeutic exercise ที่บ้านเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ในสุนัขได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น stifle injuy โดยจะดูว่า home therapeutic exercise จะมีผลกับการลงน้ำหนักขา (static body weight distribution) การทรงตัว อาการปวด หรือการทำงานต่าง ๆ ของข้อเข่าอย่างไรบ้าง โดยแบ่งกลุ่มสุนัขออกเป็น 2 กลุ่ม โดยที่ทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับการทำกายภาพที่เป็น standard protocol เหมือน ๆ กัน แต่ในกลุ่มทดลองนั้นจะได้รับการบ้านให้กลับไปทำ therapeutic exercise ที่บ้านต่อเป็นเวลา 12 สัปดาห์
จากการทดลองนี้พบว่า หลังจากทำกายภาพที่เป็น standard protocol แล้ว ทั้ง 2 กลุ่มมีผลการรักษาที่ดีขึ้น แต่ในกลุ่มที่ทำ therapeutic exercise ที่บ้านต่อเนื่อง 12 สัปดาห์นั้นมีการฟื้นตัวของสุนัขที่ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในเรื่องของการลงน้ำหนักขา กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำได้ที่สัมพันธ์กับอาการปวด รวมถึงการทำงานต่าง ๆ ของข้อเข่าที่ดีขึ้นอีกด้วย ส่วนเรื่องการทรงตัวนั้น พบว่าไม่มีความแตกต่างกันซึ่งอาจจะเป็นเพราะมีกลุ่มตัวอย่างที่น้อยเกินไป หรือการวัดผลนั้นยังไม่ชัดเจน จากงานวิจัยชิ้นนี้เลยเป็นข้อสรุปได้ว่า การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องหลังจากที่เกิด stifle injury นั้น ทำให้ข้อเข่าฟื้นฟูได้ดีมากขึ้นทั้งในเรื่องของการทำงาน การลดปวด รวมทั้งการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทอีกด้วย

หากคุณหมอท่านใดสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปอ่านในตัวต้นฉบับได้เลยค่า เป็น free full text ค่า

Stifle injury is common in the companion dog population, affecting weight bearing, neuromuscular control, and balance. Therapeutic exercises after stifle injury seem to be effective, but high-quality research evaluating the effects is lacking. This randomized controlled trial evaluated the effects o...

เปิดลงทะเบียนแล้ว สำหรับงานสัมมนาครั้งที่ 35  Easy Rehab: กายภาพบำบัดแบบง่าย ๆ ทำได้แม้ไม่มีเครื่องมือไฟฟ้า - Superficia...
30/08/2022

เปิดลงทะเบียนแล้ว สำหรับงานสัมมนาครั้งที่ 35 Easy Rehab: กายภาพบำบัดแบบง่าย ๆ ทำได้แม้ไม่มีเครื่องมือไฟฟ้า

- Superficial thermotherapy and Massage
- Home environments and Sample home treatments
- Therapeutic exercise
- Passive ROM exercised and Stretching

กำหนดการ
- วันอังคารที่ 13 ก.ย.2565 ผ่าน Zoom
- ค่าลงทะเบียน 500 บาท
- ได้รับ 6 หน่วยกิต
- รับชมย้อนหลังไม่จำกัดจำนวนครั้งผ่าน VAO-CE

สัมมนาดีๆแบบนี้ ชาวสัตวแพทย์กายภาพบำบัดทุกท่าน ห้ามพลาดนะคะ

📣ประชาสัมพันธ์ Free สัมมนาวิถีหมอ Rehab...ฉบับสัตวแพทย์📍วันอังคารที่ 30 สิงหาคมนี้เวลา  20 - 21 น  ทาง facebook สัตวแพทย...
30/08/2022

📣ประชาสัมพันธ์ Free สัมมนา
วิถีหมอ Rehab...ฉบับสัตวแพทย์
📍วันอังคารที่ 30 สิงหาคมนี้
เวลา 20 - 21 น ทาง facebook สัตวแพทยสภา ประเทศไทย

https://www.facebook.com/vetcouncil

โดย วิทยากรจากชมรม TSVR
✅ สพ.ญ.อรจิรา จริงจิตร
✅ น.สพ.เอกชัย อิ่มอร่าม
ดำเนินรายการโดย
สพ.ญ. ศุภิสรา วงศ์สุทธาวาส

ประธานและกรรมการ ชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสัตวแพทย์แห่งประเทศไทย เข้าพบ ผศ.สพ.ญ.ดร.มนชนก วิจารสรณ์ ที่ปรึกษาชมรมฯ  เนื่องใน...
01/02/2022

ประธานและกรรมการ ชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสัตวแพทย์แห่งประเทศไทย เข้าพบ ผศ.สพ.ญ.ดร.มนชนก วิจารสรณ์ ที่ปรึกษาชมรมฯ เนื่องในโอกาสวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พร้อมทั้งรับโอวาท เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานชมรมในปี 2565 ❤

Address


Telephone

0836249697

Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when ชมรมเวชศาสตร์ฟื้นฟูทางสัตวแพทย์แห่งประเทศไทย posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Telephone
  • Alerts
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Pet Store/pet Service?

Share