Phayak Siam Trd พยัคฆ์ สยาม ไทยหลังอาน

  • Home
  • Phayak Siam Trd พยัคฆ์ สยาม ไทยหลังอาน

Phayak Siam Trd พยัคฆ์ สยาม ไทยหลังอาน ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสุนัขประจำชาต?

“การสมาคมกับสัตบุรุษแม้ครั้งเดียว ย่อมสามารถรักษาผู้นั้นไว้ได้แต่การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้หลายครั้ง ก็รักษาไม่ได้ พึงอยู่ร...
07/03/2024

“การสมาคมกับสัตบุรุษแม้ครั้งเดียว ย่อมสามารถรักษาผู้นั้นไว้ได้แต่การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้หลายครั้ง ก็รักษาไม่ได้ พึงอยู่ร่วมกับสัตบุรุษ พึงกระทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เพราะการรู้ทั่วถึงธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีแต่ความเจริญ ไม่มีเสื่อม ราชรถอันวิจิตรตระการตายังคร่ำคร่าได้ และแม้สรีระก็เข้าถึงชราโดยแท้ ส่วนธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้นรู้กันได้ ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่งของมหาสมุทรก็ไกลกัน ข้าแต่พระราชา แต่ธรรมของสัตบุรุษและอสัตบุรุษ ไกลกันยิ่งกว่านั้น”

“ธรรมวินัย” เป็นศาสดาของชาวพุทธจะต้องศึกษาให้รู้ชัด และปฏิบัติให้ถูกไม่ใช่แค่ฟังตามๆกันมาอย่าง “ปรัมปรา”…. “การที่พระพุท...
06/07/2023

“ธรรมวินัย” เป็นศาสดาของชาวพุทธ
จะต้องศึกษาให้รู้ชัด และปฏิบัติให้ถูก
ไม่ใช่แค่ฟังตามๆกันมาอย่าง “ปรัมปรา”
…. “การที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อพระองค์ล่วงลับไปแล้ว “พระธรรมวินัย”ที่พระองค์ได้ทรงแสดงและบัญญัติไว้ จะเป็นศาสดาของพุทธบริษัททั้งหลาย พุทธพจน์นี้ เป็นการประทานหลักการสำคัญของสถาบันพระศาสนา และตัดความเป็นห่วงว่า เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วใครจะมาทำหน้าที่แทนพระองค์ เป็นผู้นำของพุทธบริษัทต่อไป พระพุทธเจ้าไม่ทรงตั้งบุคคลใด แต่ได้ทรงประกาศว่า “ธรรมวินัย” คือคำสั่งสอนของพระองค์นี่แหละ จะเป็นศาสดาของชาวพุทธ
…. เพราะฉะนั้น ชาวพุทธก็จะต้องนับถือ“ธรรมวินัย” มั่นในธรรมวินัยอยู่เสมอ จะต้องมีสติรำลึกเตือนตัวเอง ให้ศึกษาว่าธรรมวินัยของพระพุทธเจ้านั้นเป็นอย่างไร แล้วประพฤติปฏิบัติกันให้ถูก ไม่ใช่เพียงแค่ว่า คอยเชื่อคอยฟังตามกันไป อย่างที่เรียกว่า “ปรัมปรา” ต่อไปนานๆเข้าก็จะคลาดเคลื่อน แต่จะต้องมีการศึกษาอยู่เสมอ ให้รู้ชัดว่า พระธรรมวินัยนั้น คืออย่างไร ว่าอย่างไรกันแน่”
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : ธรรมบรรยาย ณ มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย จากหนังสือ “จารึกบุญ จารึกธรรม”
---------------------------------
ถ้าหาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นมาตรฐานไม่ได้
ก็ต้องยอมรับความจริงว่าพระพุทธศาสนาได้หมดไปแล้ว
…. “ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของพระพุทธเจ้า และพุทธศาสนิกชนทุกคนก็นับถือพระพุทธเจ้า ซึ่งทรงเป็นแหล่งต้นเดิมของคำสอน และเป็นศูนย์รวมของพุทธบริษัท จะเป็นครูอาจารย์หรือพระเถระ พระมหาเถระองค์ใดก็ตาม ถ้าใครมาอ้างว่ารู้อย่างนั้น เห็นอย่างนั้น ตามทัศนะหรือจากผลการปฏิบัติ เราก็ฟังไว้ ถ้าเห็นว่าเข้าหลักดีก็เอามาใช้ช่วยการศึกษาของเรา แต่จะเอามาตัดสินพระพุทธศาสนาไม่ได้ เพราะ…“จะต้องอัญเชิญหลักของพระพุทธเจ้ามาวินิจฉัย”
…. ขอให้สังเกตธรรมเนียมแต่เดิมครั้งพุทธกาล เมื่อใครพบนักบวชที่น่าเลื่อมใสแล้วอยากรู้ธรรม และเข้าไปหา เขาไม่ถามว่าท่านสอนว่าอย่างไร แต่เขาถามว่า “ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน ศาสดาของท่านมีหลักการหรือสอนว่าอย่างไร”
…. ขอให้ดูเรื่องพระสารีบุตรกับพระอัสสชิเป็นตัวอย่าง พระสารีบุตรเมื่อครั้งยังเป็นปริพาชก เห็นพระอัสสชิแล้วเลื่อมใส เข้าไปหาและได้ถามอย่างข้างต้น พระอัสสชิทั้งที่เป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านก็ไม่อ้างหรือเอาตัวท่านเองเป็นหลัก แต่ท่านตอบแก่พระสารีบุตรซึ่งยังเป็นปริพาชกอยู่ว่า พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าดังนี้ๆ
…. แม้แต่พระภิกษุผู้มีความรู้น้อย เมื่อถูกถามในหลักธรรมสำคัญๆ อย่างเรื่องนิพพาน แม้ตนเองจะยังไม่รู้ ยังไม่เข้าใจ ยังไม่บรรลุ ก็ตอบได้ตามวิธีปฏิบัติเดียวกันนี้ คือ ตอบว่า ข้าพเจ้าเองก็ยังไม่รู้ไม่เข้าใจเพียงพอ แต่...
๑.มีหลักการที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดังนี้ๆ หรือพระไตรปิฎกและคัมภีร์นั้นๆ แสดงไว้ดังนี้ๆ และ...
๒.ตามที่ข้าพเจ้ารู้เข้าใจ ข้าพเจ้ามีทัศนะหรือความคิดเห็นว่าดังนี้
…. แม้บรรลุธรรมสูงสุด เป็นพระอรหันต์แล้ว หมดกิจที่ต้องทำ(ในการที่จะฝึกฝนพัฒนาตน)แล้ว พระสาวกยุคเดิมก็ยังหันมาใช้เวลาเล่าเรียนปริยัติ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อช่วยดำรงพระศาสนา และทำประโยชน์แก่ผู้อื่นต่อไป ดังที่ท่านเรียกว่า “ภัณฑาคาริกปริยัติ”
…. แม้เพียงในการปฏิบัติขั้นต้นๆ เมื่อปฏิบัติไปได้พบประสบการณ์บางอย่างทางจิต แล้วเอา"ถ้อยคำศัพท์ธรรม" ที่ตนไม่ได้ศึกษาความหมายตามบัญญัติให้ชัด หยิบผิดศัพท์ผิดคำมาเรียกประสบการณ์ของตน ก็อาจทำให้เกิดความสับสน เป็นโทษแก่ผู้อื่นที่กำลังศึกษา ฉะนั้น ท่านจึงให้ไม่ประมาทในการศึกษา เริ่มตั้งแต่ความมั่นคงถ่องแท้ในปริยัติ
…. เพราะฉะนั้น จึงควรสังคายนาแม้แต่แนวปฏิบัติทั่วไปในด้านหลักธรรมว่า เมื่อพุทธศาสนิกชนสนทนากับพระภิกษุ พึงถามเกี่ยวกับสิ่งที่ตนสงสัยว่า “พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างไร?” และพระภิกษุเมื่อจะตอบคำถาม ก็ควรยกคำตรัสของพระพุทธเจ้าขึ้นมาแสดงก่อน แล้วจึงกล่าวคำอธิบาย และแสดงทัศนะของตน โดยแยกให้ชัดว่า ส่วนใดเป็นหลักคำสอน ส่วนใดเป็นความคิดเห็นหรือทัศนะหรือประสบการณ์ของตน
…. ชาวพุทธจะต้องย้ำกับตัวเองว่า พระพุทธศาสนาคือศาสนาของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ศาสนาของพระเถระ มหาเถระ หรือบุคคลผู้ใด
…. เราจะฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า
…. เราจะแสดงหลักที่พระพุทธเจ้าสอน
…. และเราจะเอาหลักที่ทรงสั่งสอนนั้นเป็นมาตรฐาน หรือเป็นเกณฑ์วินิจฉัย
…. ถ้าหาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นมาตรฐานไม่ได้ ก็ต้องยอมรับความจริงว่า พระพุทธศาสนาได้หมดไปแล้ว”
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : จากหนังสือ “กรณีธรรมกาย” พิมพ์ครั้งที่ ๒๔ หน้า ๑๕๗
# # ท. ส. ปัญญาวุฑโฒ - รวบรวม. # #

17/06/2023

Address


Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when Phayak Siam Trd พยัคฆ์ สยาม ไทยหลังอาน posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Pet Store/pet Service?

Share