คนและสัตว์นิสัยดี

คนและสัตว์นิสัยดี ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก คนและสัตว์นิสัยดี, สัตวแพทย์, คลินิกจิตเวชสัตว์เลี้ยง และกลุ่มวิจัยพฤติกรรมสัตว์และความสัมพันธ์กับมนุษย์, Amphoe Tha Sala.

ส่งเสริมสวัสดิภาพคนและสัตว์เลี้ยง โดยให้ความรู้เรื่องพฤติกรรม สุขภาพจิตของสัตว์เลี้ยง การเลี้ยง การฝึกสัตว์เลี้ยง โดยสัตวแพทย์ด้านจิตเวชและนักวิจัยพฤติกรรมสัตว์ ท่านสามารถปรึกษาปัญหาพฤติกรรมสัตว์เบื้องต้นได้ฟรี และวางแผนการรักษาผ่านระบบออนไลน์ เพจนี้ก่อตั้งเพื่อให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมสัตว์ ได้แก่สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า ปศุสัตว์ และการเลี้ยงที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมความสัมพันธุ์ระหว่างคนและสัตว์เลี้ยง

ข้อมูลที่เขียนมา ได้มาจากประสบการส่วนตัว การศึกษาวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ....เนื้อหาเขียนโดย อาจารย์จาก กลุ่มวิจัยพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงและความสัมพันธุ์กับมนุษย์ และคลินิกจิตเวชสัตว์ วิทยาลัยสัตวแพทย์นานาชาติ ม วลัยลักษณ์.......หากมีปัญหาพฤติกรรมสามารถปรึกษาเบื้องต้นฟรีที่ inbox เพื่อวางแผนดำเนินการรักษาต่อไป

ขอเรียนเชิญเจ้าของสุนัขที่ น้องหมาของท่านที่ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว ดุ กัด เห่า วิ่งไล่ ทำร้าย คนและสัตว์ เข้าร่วมโครงการว...
30/11/2024

ขอเรียนเชิญเจ้าของสุนัขที่ น้องหมาของท่านที่ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว ดุ กัด เห่า วิ่งไล่ ทำร้าย คนและสัตว์ เข้าร่วมโครงการวิจัยเพื่อรักษาพฤติกรรมก้าวร้าวของน้องหมาฟรี (มีการสอนฝึก ใช้ยาและของเล่น) โดยวิทยาลัยสัตวแพทย์ ม วลัยลักษณ์ ท่านสามารถสมัครเข้าร่วมด้วยการ กรอกข้อมูลส่วนตัวของท่านและสุนัขผ่านลิงค์ข้างล่าง หรือแสกน QR code ได้เลยครับ หากเข้าเกณฑ์ทางเราจะติดต่อกลับไป (การรักษาน้องหมาก้าวร้าว สามารถทำการรักษาผ่านการประชุมออนไลน์ได้) หรือหากสงสัยเพิ่มเติมสามารถฝากข้อความไว้ได้
https://forms.gle/3FJyAohySUS2aXht9

แบบทดสอบนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย การลดความก้าวร้าวของสุนัขด้วยของเล่นและการใช้ยาปรับพฤติกรรม แ....

ขอเชิญผู้ที่รักช้าง หรือมีประสบการณ์กับช้างป่า เข้าร่วมตอบแบบสอบถามในโครงการวิจัย เรื่อง คนกับช้างป่าในประเทศไทย เพื่อนำ...
03/11/2024

ขอเชิญผู้ที่รักช้าง หรือมีประสบการณ์กับช้างป่า เข้าร่วมตอบแบบสอบถามในโครงการวิจัย เรื่อง คนกับช้างป่าในประเทศไทย เพื่อนำความคิดเห็นของท่าน นำไปเสนอต่อผู้เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขช้างป่าในประเทศไทย เมื่อทำแบบสอบถามเสร็จทันีท่านมีสิทธิ์ลุ้นรับของรางวัล จำนวน 100 รางวัล ท่านสามารถสแกน QR code หรือ กด ลิงค์ ด้านล่าง https://forms.gle/HfLdLhtHNtVVz1j7A

🐈🐈เมื่อ น้องแมวป่วยเป็นกระเพาะอักเสบจากความเครียด🐈🐈🐈น้องแมวเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างเครียดง่าย โดยเฉพาะเมื่อเกิดการเปลี่ยนสิ่...
15/09/2024

🐈🐈เมื่อ น้องแมวป่วยเป็นกระเพาะอักเสบจากความเครียด🐈🐈

🐈น้องแมวเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างเครียดง่าย โดยเฉพาะเมื่อเกิดการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เช่น การเดินทาง การไปหาหมอ การปรับปรุงสภาพบ้าน การมีคนแปลกหน้าเข้ามาอยู่ในบ้าน การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และเสียงดัง เป็นต้น เมื่อเครียด แมวอาจจะมีอาการท้องเสีย อาเจียน หรือ ไม่อึ ไม่ฉี่ ไม่กินอาหารเป็นต้น

🐈เมื่อเครียดบ่อยก็จะทำให้เกิดความเครียดแบบเรื้อรังแล้วก็ไปกระทบกับระบบประสาทของแมวและสุขภาพทางกาย หนึ่งในปัญหาทางกายที่มักเกิดขึ้นก็คือ การเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งอาจจะเกิดจาการอั้นฉี่ หรือ ปัญหาทางระบบประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ หรือ ภูมิคุ้มกันตก หรือ มีการสร้างสารเมือกมากเกินไป หรือ มีการเลียอวัยวะเพศมากเกินไป นอกจากนี้อาจจะเกิดจากการมีกระบะฉี่น้อยเกินไป หรือ เปลี่ยนทรายน้อยเกินไป หรือ กระบะทรายอยู่ในที่ที่น้องไม่ชอบไป

🐈🐈ความเสี่ยงในการเกิดโรคกระเพาะอักเสบจากความเครียด🐈🐈
🐈มักพบในแมวที่ปัญหาพฤติกรรม
🐈มักพบในแมวตัวผู้มากกว่าตัวเมีย
🐈มักพบในแมวที่ทำหมันแล้ว
🐈มักพบในแมวที่เลี้ยงมากกว่าหนึ่งตัว
🐈มักพบในแมวอ้วน
🐈มักพบในแมวที่กินน้ำน้อย

🐈เมื่อกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แมวจะมีอาการฉี่ปนเลือด ร้องเหมือนเจ็บปวดเวลาฉี่ พยายามฉี่แต่ฉี่ไม่ออก ซึ่งหากไม่ทำการรักษาก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาหนักกว่า คือ เกิดภาวะโรคไตล้มเหลวแบบเฉียบพลันได้

🐈เมื่อพบอาการดังกล่าวก็ต้องพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษากระเพาะปัสสาวะ แต่ถ้าหากปัญหาความเครียดไม่ถูกแก้ไข น้องแมวก็จะกลับมาเป็นอีก

🩺🩺วิธีแก้ไข และป้องกันความเครียด เพื่อไม่ให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ🩺🩺
🩺พาน้องแมว ออกกำลังกาย ด้วยการเล่นของเล่น เช่น ไม้ตกแมว ของเล่นที่ใส่อาหาร
🩺หากมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในบ้าน หรือ บริเวณบ้าน หรือ ต้องออกจากบ้าน ควรพิจารณาปรึกษาสัตวแพทย์ผู้มีความรู้ด้านพฤติกรรม เพื่อขอยาลดความเครียด
🩺หากพบว่าแมวของท่าน มีปัญหาพฤติกรรม เช่น ขี้กลัว ขี้ตกใจ ก้าวร้าวแบบไม่มีเหตุผลควรพิจารณาปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษา
🩺ต้องมีกระบะทรายให้่เยอะพออย่างน้อยต้องมากกว่าจำนวนแมวที่เลี้ยง และมีการวางไว้หลายทีเพื่อให้น้องแมวเข้าถึงได้อย่างสะดวก
🩺มีถาดน้ำให้กินอย่างเพียงพอ และกระจัดกระจายไว้หลายที่
🩺อาจลองให้แมวกินอาหารเสริม ทีช่วยลดความเครียด และ ลดการการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
🩺การใช้กลิ่นเพื่อลดความเครียด เช่น ฟีโรโมน กัญชาแมว จะสามารถช่วยลดความเครียดในแมวบางตัวได้

🩺หมอเติม🩺
คลินิกจิตเวชสัตว์เลี้ยง และคลินิกฟื้นฟูสุขภาพกายและใจ วิทยาลัยสัตวแพทย์นานาชาติ ม วลัยลัษณ์
🐈🩺

🐶🐶ทำไมสุนัขถึงดุและกัด......ตอนที่ 2… กัดเจ้าของ หรือคนในบ้าน 🐶🐶 🐶สวัสดีครับ วันนี้เรามาพูดกันต่อถึงสาเหตุว่า ทำไมสุนัขถ...
02/09/2024

🐶🐶ทำไมสุนัขถึงดุและกัด......ตอนที่ 2… กัดเจ้าของ หรือคนในบ้าน 🐶🐶

🐶สวัสดีครับ วันนี้เรามาพูดกันต่อถึงสาเหตุว่า ทำไมสุนัขถึงกัดเจ้าของ หรือคนในบ้าน ในที่นี้คำว่าเจ้าของผมจะหมายความถึง “คนที่สุนัขให้ความสนิทสนมและผูกพันที่สุดในบ้าน” เมื่อสุนัขผูกพันกับคนไหนที่สุด มันก็จะค่อนข้างเชื่อฟังคนคนนั้นมากที่สุด โอกาสจะทำร้ายก็จะมีน้อยที่สุด สุนัขจะคิดถึง หรือ เครียด เมื่อเจ้าของไม่อยู่บ้าน

🐶จากสถิติงานวิจัยเราและของต่างชาติพบว่า สุนัขสายพันธ์เล็กกัดคนบ่อยกว่าสุนัขสายพันธ์ใหญ่ แต่ไม่ค่อยเป็นข่าว เพราะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต

🐶สิ่งที่ต้องจำไว้เลย ก็คือ โดยทั่วไปสุนัขจะไม่ทำร้ายเจ้าของ หรือ คนในบ้าน ยกเว้นมีความผิดปกติทางร่างกาย หรือ ทางจิตใจ และเมื่อถูกกระตุ้นก็จะทำให้เกิดการทำร้ายคนได้

🩺🩺การเจ็บป่วยทางกายที่ทำให้สุนัขก้าวร้าว ได้แก่🩺🩺

🩺โรคที่ทำให้สุนัขรุ้สึกเจ็บปวด เช่น การเจ็บท้องแบบเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะตับอ่อนอักเสบ ท้องอืด ข้ออักเสบ เหงือกและฟันอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีแผลตามร่างกาย โดยสัตว์ที่เป็นโรคกลุ่มนี้จะมีความก้าวร้าวแบบเฉียบพลัน จู่ๆก็เป็น

🩺โรคที่ทำให้สุนัขรู้สึกรำคาญ มักเป็นโรคที่เรื้อรังมานาน เช่น โรคผิวหนัง โรคไตเรื้อรัง โรคฮอร์โมนผิดปกติ

🩺โรคที่ทำให้สุนัขรู้สึกอึดอัด เช่น โรค อัมพาต โรคตาที่ทำให้มองเห็นไม่ชัด เป็นต้น

🩺โรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติในสมอง ส่วนควบคุมอารมณ์ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า โรคติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราขึ้นสมอง โรคมะเร็งในสมอง

🩺🩺การเจ็บป่วยทางจิตที่ทำให้สุนัขก้าวร้าว ได้แก่🩺🩺

🩺โรคหวาดกลัว เราจะสังเกตุเห็นสุนัขมีอาการหวาดกลัว ก่อนที่จะทำร้าย เช่น หลบตา หมอบ หางตก หลังจากนั้น ก็อาจจะขู่ หรือ ทำร้ายได้ สุนัขอาจจะหวาดกลัวจากการเคยถูกทำร้าย ถูกบ่นด่า หรือกลัวเสียงดัง เป็นต้น

🩺กลุ่มโรคสมาธิสั้น หรือ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ โรคนี้ยังไม่ได้มีการศึกษามาก แต่พบว่า สุนัขที่เป็นโรคนี้ จะทำร้ายคนโดยไม่มีเหตุผล ไม่มีสัญญาณเตือน ไม่มีอะไรกระตุ้นชัดเจน ฝึกยาก ไม่ยับยั้งชั่งใจ กัดโดยไม่มีเหตุผล

🩺โรคเครียดจากความคิดถึงเจ้าของ โรคนี้ผมได้เคยเขียนแล้วลองตามไปหาอ่านได้ ในบทความเก่าๆ ความก้าวร้าวนี้มักเกิดเวลาเจ้าของไม่อยู่บ้าน โดยเฉพาะในกรณีที่เจ้าของเอาน้องหมากลับบ้าน แล้วทิ้งไว้ให้คนในครอบครัวเลีั้ยงดู

🩺คสามเครียด จากการอิจษาริษยากันระหว่างสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงอื่นในบ้าน ก็ทำให้สุนัขในบ้านหงุดหงิดง่าย ก็อาจจะเรียกร้องความสนใจด้วยการกัดเจ้าของ หรือกัดกันเองได้ และถ้าหากเจ้าของเข้าไปแยกวงโดยไม่ระวังก็จะถูกกัดเอาได้ โดยไม่ตั้งใจ

🩺ความเครียดสะสมจากการ ไม่ได้ออกำลังกาย ไม่มีของเล่น การถูกรบกวนโดยเด็ก หรือ ถูกแกล้งหรือแหย่จากคนในบ้าน

💊💊การแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวของสุนัขต่อคนเจ้าของและคนในบ้าน💊💊

💊ตรวจสุขภาพทางกายและจิต ที่อาจจะเป็นสาเหตุทำให้สุนัขก้าวร้าว และทำการรักษา การรักษาพฤติกรรมจะต้องใช้หลายวิธีร่วมกันรักษาได้แก่ การปรับพฤติกรรมสุนัขและเจ้าของ การรับประทานยาปรับพฤติกรรม และการรักษาการเจ็บป่วยทางกาย

💊จากงานวิจัยของเราพบว่าการนำสุนัขเดินออกกำลังกายนอกบ้านทุกวันหรือเล่นกับสุนัขด้วยของเล่น จะช่วยลดความก้าวร้าวได้

💊การให้อาหารที่ดี มีสารอาหารครบถ้วน ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป จะช่วยลดโอกาสสุนัขก้าวร้าวได้ เพราะสาเหตุหนึ่งของความก้าวร้าว คือ ขาดสารอาหารที่จำเป็นในสมอง นอกจากนี้ยังพบว่าสุนัขที่ทานโปรตีนมากเกินไปจะมีผลทำให้ก้าวร้าวเพิ่มขึ้นได้

💊การส่งสุนัขไปฝึกกับโรงเรียนฝึกสุนัขมักไม่สามารถลดพฤติกรรมก้าวร้าวกับเจ้าของได้
โดยเฉพาะ หากสุนัขป่วยทางกายหรือสุขภาพจิตไม่ดี การฝึกสุนัขมักเป็นการฝึกทำตามคำสั่ง ไม่ได้เป็นการปรับพฤติกรรมโดยตรง การปรับพฤติกรรมท่าน และปรับพฤติกรรมสุนัขด้วยการให้รางวัล จะทำให้สุนัขรู้ว่าสิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ

💊เจ้าของสุนัข ควรหมั่นหาความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสุนัขอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการดูแลร่างกายและจิตใจสุนัข เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาพฤติกรรม

💊จากผลการวิจัย การทำหมันสุนัข ก็ไม่ได้ช่วยในการแก้ปัญหาสุนัขก้าวร้าวเท่าไร เป็นความเชื่อที่ผิดว่า ทำหมันแล้วสุนัขจะดุน้อยลง

💊การหาบ้านใหม่ ให้สุนัข ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพราะพฤติกรรมขอสุนัขยังไม่ได้ถูกวินิจฉัยและแก้ไข การย้ายบ้านใหม่ มีแต่ทำให้ สุขภาพจิตของสุนัขแย่ลง และจะทำให้พฤติกรรมเลวร้ายลงไปอีก

หากท่านมีปัญหาเรื่องพฤติกรรมก้าวร้าวในสุนัข สามารถปรึกษาออนไลน์ใน เฟสบุคนี้ สวัสดีครับ
🐶🐶🩺🩺💊

🐶🐶ทำไมสุนัขถึงดุและกัด......ตอนที่ 2… กัดเจ้าของ หรือคนในบ้าน 🐶🐶 🐶สวัสดีครับ วันนี้เรามาพูดกันต่อถึงสาเหตุว่า ทำไมสุนัขถ...
02/09/2024

🐶🐶ทำไมสุนัขถึงดุและกัด......ตอนที่ 2… กัดเจ้าของ หรือคนในบ้าน 🐶🐶

🐶สวัสดีครับ วันนี้เรามาพูดกันต่อถึงสาเหตุว่า ทำไมสุนัขถึงกัดเจ้าของ หรือคนในบ้าน ในที่นี้คำว่าเจ้าของผมจะหมายความถึง “คนที่สุนัขให้ความสนิทสนมและผูกพันที่สุดในบ้าน” เมื่อสุนัขผูกพันกับคนไหนที่สุด มันก็จะค่อนข้างเชื่อฟังคนคนนั้นมากที่สุด โอกาสจะทำร้ายก็จะมีน้อยที่สุด สุนัขจะคิดถึง หรือ เครียด เมื่อเจ้าของไม่อยู่บ้าน

🐶จากสถิติงานวิจัยเราและของต่างชาติพบว่า สุนัขสายพันธ์เล็กกัดคนบ่อยกว่าสุนัขสายพันธ์ใหญ่ แต่ไม่ค่อยเป็นข่าว เพราะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต

🐶สิ่งที่ต้องจำไว้เลย ก็คือ โดยทั่วไปสุนัขจะไม่ทำร้ายเจ้าของ หรือ คนในบ้าน ยกเว้นมีความผิดปกติทางร่างกาย หรือ ทางจิตใจ และเมื่อถูกกระตุ้นก็จะทำให้เกิดการทำร้ายคนได้

🩺🩺การเจ็บป่วยทางกายที่ทำให้สุนัขก้าวร้าว ได้แก่🩺🩺

🩺โรคที่ทำให้สุนัขรุ้สึกเจ็บปวด เช่น การเจ็บท้องแบบเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะตับอ่อนอักเสบ ท้องอืด ข้ออักเสบ เหงือกและฟันอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีแผลตามร่างกาย โดยสัตว์ที่เป็นโรคกลุ่มนี้จะมีความก้าวร้าวแบบเฉียบพลัน จู่ๆก็เป็น

🩺โรคที่ทำให้สุนัขรู้สึกรำคาญ มักเป็นโรคที่เรื้อรังมานาน เช่น โรคผิวหนัง โรคไตเรื้อรัง โรคฮอร์โมนผิดปกติ

🩺โรคที่ทำให้สุนัขรู้สึกอึดอัด เช่น โรค อัมพาต โรคตาที่ทำให้มองเห็นไม่ชัด เป็นต้น

🩺โรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติในสมอง ส่วนควบคุมอารมณ์ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า โรคติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราขึ้นสมอง โรคมะเร็งในสมอง

🩺🩺การเจ็บป่วยทางจิตที่ทำให้สุนัขก้าวร้าว ได้แก่🩺🩺

🩺โรคหวาดกลัว เราจะสังเกตุเห็นสุนัขมีอาการหวาดกลัว ก่อนที่จะทำร้าย เช่น หลบตา หมอบ หางตก หลังจากนั้น ก็อาจจะขู่ หรือ ทำร้ายได้ สุนัขอาจจะหวาดกลัวจากการเคยถูกทำร้าย ถูกบ่นด่า หรือกลัวเสียงดัง เป็นต้น

🩺กลุ่มโรคสมาธิสั้น หรือ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ โรคนี้ยังไม่ได้มีการศึกษามาก แต่พบว่า สุนัขที่เป็นโรคนี้ จะทำร้ายคนโดยไม่มีเหตุผล ไม่มีสัญญาณเตือน ไม่มีอะไรกระตุ้นชัดเจน ฝึกยาก ไม่ยับยั้งชั่งใจ กัดโดยไม่มีเหตุผล

🩺โรคเครียดจากความคิดถึงเจ้าของ โรคนี้ผมได้เคยเขียนแล้วลองตามไปหาอ่านได้ ในบทความเก่าๆ ความก้าวร้าวนี้มักเกิดเวลาเจ้าของไม่อยู่บ้าน โดยเฉพาะในกรณีที่เจ้าของเอาน้องหมากลับบ้าน แล้วทิ้งไว้ให้คนในครอบครัวเลีั้ยงดู

🩺คสามเครียด จากการอิจษาริษยากันระหว่างสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงอื่นในบ้าน ก็ทำให้สุนัขในบ้านหงุดหงิดง่าย ก็อาจจะเรียกร้องความสนใจด้วยการกัดเจ้าของ หรือกัดกันเองได้ และถ้าหากเจ้าของเข้าไปแยกวงโดยไม่ระวังก็จะถูกกัดเอาได้ โดยไม่ตั้งใจ

🩺ความเครียดสะสมจากการ ไม่ได้ออกำลังกาย ไม่มีของเล่น การถูกรบกวนโดยเด็ก หรือ ถูกแกล้งหรือแหย่จากคนในบ้าน

💊💊การแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวของสุนัขต่อคนเจ้าของและคนในบ้าน💊💊

💊ตรวจสุขภาพทางกายและจิต ที่อาจจะเป็นสาเหตุทำให้สุนัขก้าวร้าว และทำการรักษา การรักษาพฤติกรรมจะต้องใช้หลายวิธีร่วมกันรักษาได้แก่ การปรับพฤติกรรมสุนัขและเจ้าของ การรับประทานยาปรับพฤติกรรม และการรักษาการเจ็บป่วยทางกาย

💊จากงานวิจัยของเราพบว่าการนำสุนัขเดินออกกำลังกายนอกบ้านทุกวันหรือเล่นกับสุนัขด้วยของเล่น จะช่วยลดความก้าวร้าวได้

💊การให้อาหารที่ดี มีสารอาหารครบถ้วน ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป จะช่วยลดโอกาสสุนัขก้าวร้าวได้ เพราะสาเหตุหนึ่งของความก้าวร้าว คือ ขาดสารอาหารที่จำเป็นในสมอง นอกจากนี้ยังพบว่าสุนัขที่ทานโปรตีนมากเกินไปจะมีผลทำให้ก้าวร้าวเพิ่มขึ้นได้

💊การส่งสุนัขไปฝึกกับโรงเรียนฝึกสุนัขมักไม่สามารถลดพฤติกรรมก้าวร้าวกับเจ้าของได้
โดยเฉพาะ หากสุนัขป่วยทางกายหรือสุขภาพจิตไม่ดี การฝึกสุนัขมักเป็นการฝึกทำตามคำสั่ง ไม่ได้เป็นการปรับพฤติกรรมโดยตรง การปรับพฤติกรรมท่าน และปรับพฤติกรรมสุนัขด้วยการให้รางวัล จะทำให้สุนัขรู้ว่าสิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ

💊เจ้าของสุนัข ควรหมั่นหาความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสุนัขอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการดูแลร่างกายและจิตใจสุนัข เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาพฤติกรรม

💊จากผลการวิจัย การทำหมันสุนัข ก็ไม่ได้ช่วยในการแก้ปัญหาสุนัขก้าวร้าวเท่าไร เป็นความเชื่อที่ผิดว่า ทำหมันแล้วสุนัขจะดุน้อยลง

💊การหาบ้านใหม่ ให้สุนัข ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง เพราะพฤติกรรมขอสุนัขยังไม่ได้ถูกวินิจฉัยและแก้ไข การย้ายบ้านใหม่ มีแต่ทำให้ สุขภาพจิตของสุนัขแย่ลง และจะทำให้พฤติกรรมเลวร้ายลงไปอีก

หากท่านมีปัญหาเรื่องพฤติกรรมก้าวร้าวในสุนัข สามารถปรึกษาออนไลน์ใน เฟสบุคนี้ สวัสดีครับ
🐶🐶🩺🩺💊

😭😭ความเครียดของสัตว์เลี้ยง ที่เกิดจากความคิดถึงหรือแยกจากเจ้าของ😭😭

🐕สัตว์เลี้ยงและเจ้าของเมื่ออยู่ด้วยกัน เล่นด้วยกัน นอนด้วยกัน เป็นระยะเวลาหนึ่งจะเกิดความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่น เมื่อแยกจากกันก็ต่างฝ่ายก็จะคิดถึงกัน เจ้าของคิดถึงสัตว์ สัตว์คิดถึงเจ้าของ เมื่อการจากกันเป็นระยะเวลานาน เช่น วันหยุดยาว หรือจากกันบ่อยๆ เช่น เจ้าของออกไปทำงานทุกวัน (ว่ากันว่า แค่ 3 ชั่วโมง สัตว์เลี้ยงก็คิดถึงเจ้าของแล้ว) ก็อาจจะมีผลต่อสุขภาพทั้งเจ้าของและสัตว์เลี้ยง

❓คำถาม สัตว์เลี้ยง ชนิดใด เกิดความเครียดจากความคิดถึงหรือแยกจากเจ้าของได้บ้าง
☑️คำตอบ ก็คือ สัตว์เลี้ยงทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว กระต่าย หนู หรือ นก สามารถเกิดภาวะความเครียดแบบนี้ได้

❓คำถาม เราจะรู้ได้อย่างไร สัตว์เลี้ยงของเรามีความเครียดจากความคิดถึงเจ้าของ
☑️คำตอบ พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงที่เกิดจากความเครียดเมื่อคิดถึงเจ้าของมีดังต่อไปนี้

• มีพฤติกรรมกินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหารเลยในช่วงที่เจ้าของไม่อยู่ และมักจะกินอาหารเมื่อเจ้าของกลับมาบ้าน นี่เป็นพฤติกรรมที่อาจเจอแรกๆ สัตว์เลี้ยงบางตัวที่เครียดมากก็อาจจะไม่กินเลยทั้งตอนเจ้าของอยู่และไม่อยู่

• มีพฤติกรรมตื่นเต้นอย่างมาก เมื่อเจ้าของกลับมาบ้าน เช่น ส่งเสียงดังเรียกเจ้าของ วิ่งเข้ามาหาเจ้าของอย่างรวดเร็ว กระโดดใส่เจ้าของ ถ้าอยู่ในกรงก็จะพยายามจะออกมาจากกรง ในสุนัขอาจมีอาการวิ่งวนไปมา

• มีความผิดปกติของระบบย่อยอาการ สัตว์เลี้ยงพวกสุนัขและแมวอาจมีการอาเจียนออกมาในช่วงที่เจ้าของไม่อยู่บ้าน อาการนี้จะพบบ่อยในแมวมากกว่าสุนัข เพราะแมวที่มีความเครียดมักมีการเลียขนมากกว่าปกติแล้วจึงอาเจียนเป็นก้อนขน ส่วนกระต่ายนั้นไม่สามารถอาเจียนได้ด้วยข้อจำกัดทางกายวิภาค จึงจะแสดงออกมาด้วยอาการท้องอืดหรือท้องเสียมากกว่า หรือมีอุจาระพวงองุ่นมากขึ้น

• มีการกัดทำลายของที่ไม่ใช่ของกินมากขึ้น ในช่วงที่เจ้าของไม่อยู่บ้าน เช่น กัด ข่วน จิก กรง เฟอร์นิเจอร์ในบ้าน

• ขนร่วงมากขึ้น เมื่อเจ้าของไม่อยู่ ขนที่ร่วงมากขึ้นอาจเกิดความเครียดโดยตรง หรือเกิดจากการที่สัตว์เลี้ยงทำความสะอาดขนตัวเองมากเกินไป โดยเฉพาะนกอาจพบมากกว่าสัตว์อื่น เพราะนกจะจิกขนมากขึ้นเมื่อเกิดความเครียด

• พฤติกรรมขับถ่ายไม่เป็นที่ จะพบได้ในสุนัขและแมวที่มีความเครียดสูง บางตัวอาจจะฉี่ทันทีทีเห็นเจ้าของกลับมา

• พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ถ้าไม่เงียบมากขึ้น ก็ดุมากขึ้น ถ้ามีอาการถึงขั้นนี้คือสะสมความเครียดเป็นเวลานานแล้ว ต้องรีบรักษาโดยด่วน

• มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง เช่น กัดขา กัดหาง จิกหนัง เลียจนเป็นแผล ถ้ามีอาการนี้คือ อาการหนักแล้ว ต้องรีบทำการรักษาโดยด่วน

🩺วิธีป้องกันและรักษา💊

• มีเวลาที่มีคุณภาพให้สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เช่น มีการพาสุนัขไปเดินเล่น เล่นกับแมว พาแมวออกกำลังกาย เล่นกับกระต่าย มีการพูดคุยกับนก ไม่จำเป็นไม่ควรทิ้งสัตว์เลี้ยงอยู่ตามลำพังนานเกินไป

• การเลี้ยงสัตว์เป็นคู่ อาจช่วยให้สัตว์เลี้ยงลดความเหงาไปบ้าง แต่อย่างไรก็ดีสัตว์เลี้ยงก็ยังต้องการเจ้าของ

• หาคนมาเลี้ยง มาอยู่เป็นเพื่อนกับสัตว์เลี้ยง หากเจ้าของไม่อยู่บ้าน

• ให้อาหารโดยใช้ของเล่นที่ใส่อาหารได้ เพื่อส่งเสริม ให้สัตว์เลี้ยงได้ออกกำลังกาย และกระตุ้นสัญชาติญาณในการหาอาหาร สัตว์เลี้ยงจะสึกเบื่อน้อยลง และสงบมากขึ้น

• สุนัขและแมวบางตัวจะรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้กลิ่นน้ำมันหอมระเหย งานวิจัยส่วนใหญ่จะทำในสุนัขและมักใช้น้ำมันหอมระเหยจากลาเวนเดอร์ แต่ปัจจุบันยังไม่ทราบความเข้มข้น และระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับใช้ในสุนัขและแมว

• ในกรณีที่มีอาการทางจิตค่อนข้างหนักก็คงต้องได้รับยาปรับฮอร์โมนในสมอง เพื่อลดความเครียดและปรับพฤติกรรมสัตว์ กรณีนี้ต้องปรึกษาสัตวแพทย์ด้านพฤติกรรมเพื่อทำการรักษา

ผู้เขียน
🩺หมอเติม
กลุ่มวิจัยพฤติกรรมสัตว์และความสัมพันธ์กับมนุษย์
คลินิกจิตเวชสัตว์เลี้ยง
วิทยาลัยสัตวแพทย์ฯ นานาชาติ
ม วลัยลักษณ์

🐕🐕ทำไมสุนัขถึงดุและกัด......ตอนที่ 1… กัดคนแปลกหน้า👩👩👩พฤติกรรมความก้าวร้าว จะแสดงออกมาในรูปแบบของการเห่าขู่ และกัด โดยใน...
30/07/2024

🐕🐕ทำไมสุนัขถึงดุและกัด......ตอนที่ 1… กัดคนแปลกหน้า👩👩

👩พฤติกรรมความก้าวร้าว จะแสดงออกมาในรูปแบบของการเห่าขู่ และกัด โดยในสุนัขเราสามารถแบ่งพฤติกรรมก้าวร้าว ออกได้เป็น 3 ประเภท ตามสิ่งเร้า ได้แก่

🐶ความก้าวร้าวต่อคน หรือ สัตว์แปลกหน้า
🐶ความก้าวร้าวต่อสัตว์ในบ้าน
🐶ความก้าวร้าวต่อเจ้าของ

👩โดยสุนัขจะมีความก้าวร้าวต่อสัตว์และคนแปลกหน้ามากที่สุด ถัดมาก็จะเป็นสัตว์ในบ้าน และก็ต่อเจ้าของจะน้อยที่สุด

👩อะไรที่ทำให้สุนัขมีความก้าวร้าวต่อคน หรือสัตว์แปลกหน้า มากที่สุด สิ่งที่นั้นก็คือ ความกลัว ตามมาด้วย ความหวงบริเวณ หวงของ หวงเจ้าของ

🐕🐕ทำไมสุนัข ถึงกัดคนแปลกหน้า👩👩

🐶บางสายพันธุ์เราฝึกมาเพื่อให้เฝ้าบ้าน เฝ้าของ ทำให้พร้อมที่จะจู่โจมและกัดคนแปลกหน้า หรือสัตว์แปลกหน้าที่แอบเข้ามาในบ้าน เช่น สายพันธ์ ร้อตไวเลอร์ โดเบอร์แมน พิตบูล สุนัขเหล่านี้ถ้าหลุดออกจากบ้านไปมักจะไม่กัดคนอื่น เนื่องจากไม่ได้อยู่ในบริเวณบ้าน

🐶ส่วนใหญ่สุนัขจะไม่กัดคนโดยไม่มีเหตุผล ยกเว้น สุนัขที่ป่วย เช่น
สุขภาพจิตไม่ดี ทำให้เกิดความก้าวร้าวได้ง่าย ไม่ยับยั้งชั่งใจ กัดโดยไม่มีเหตุผล ไม่มีสัญญาณเตือน

🐶สุขภาพกายไม่ดี ก็เลยทำให้หงุดหงิดง่าย เนื่องจากการเจ็บปวด ไม่สบายตัว โดยเฉพาะโรคผิวหนัง โรคทางสมอง โรคข้ออักเสบ โรคตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

🐶สุนัขจรจัด ที่มีความกลัว ความระแวง ต่อคน อาจจะมีประสบการณ์ถูกไล่ตี ถูกทำร้าย มีความเสี่ยงที่จะกัดคนที่เข้ามาใกล้มากเกินไป

🐶คนแปลกหน้า ที่พยายามเข้าหาสุนัข ที่ไม่คุ้นเคย มีโอกาสถูกสุนัขกัดสูง ไม่ว่าจะเป็นจรจัด หรือมีเจ้าของ

🐶จากสถิติงานวิจัยเราพบว่า สุนัขสายพันธ์เล็กกัดคนบ่อยกว่าสุนัขสายพันธ์ใหญ่ แต่ไม่ค่อยเป็นข่าว เพราะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งก็คล้ายกับรายงานสำรวจของอเมริกาพบว่า สายพันธ์ดัชชุนและชิวาว่า เป็นสุนัขที่ดุและกัดคนแปลกหน้ามากที่สุด

🩺🩺การแก้ไขพฤติกรรมก้าวร้าวของสุนัขต่อคน หรือสัตว์แปลกหน้า🩺🩺

🩺ตรวจสุขภาพทางกายและจิต ที่อาจจะเป็นสาเหตุทำให้สุนัขก้าวร้าว และทำการรักษา การรักษาพฤติกรรมจะต้องใช้หลายวิธีร่วมกันรักษาได้แก่ การปรับพฤติกรรมสุนัขและเจ้าของ การรับประทานยาปรับพฤติกรรม และการรักษาการเจ็บป่วยทางกาย

🩺จากงานวิจัยของเราพบว่าการนำสุนัขเดินออกกำลังกายนอกบ้านทุกวันจะช่วยลดความก้าวร้าวสุนัขต่อคนแปลกหน้าได้

🩺การให้อาหารที่ดี มีสารอาหารครบถ้วน ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป จะช่วยลดโอกาสสุนัขก้าวร้าวได้ เพราะสาเหตุหนึ่งของความก้าวร้าว คือ ขาดสารอาหารที่จำเป็นในสมอง นอกจากนี้ยังพบว่าสุนัขที่ทานโปรตีนมากเกินไปจะมีผลทำให้ก้าวร้าวเพิ่มขึ้นได้

🩺การส่งสุนัขไปฝึกกับโรงเรียนฝึกสุนัขอย่างเดียวมักไม่สามารถลดพฤติกรรมก้าวร้าวกับคนแปลกหน้าได้ โดยเฉพาะหากสุนัขของท่านป่วยทางกายและจิต หากท่านไม่ได้แก้ไขพฤติกรรมท่านเอง หากท่านไม่ได้ทำการฝึกเอง และหากท่านไม่ได้เข้าใจสุนัขของท่านอย่างถ่องแท้

🩺ท่านสามารถปรับพฤติกรรมสุนัขเบื้องต้นด้วยการ ห้ามสุนัขไม่ให้เห่า หรือ วิ่งเข้าใส่คนหรือสัตว์แปลกหน้า เมื่อสุนัขนิ่งแล้วก็ให้รางวัล และหากสุนัขเริ่มไม่ก้าวร้าวต่อคนแปลกหน้าก็ให้รางวัลทุกครั้ง ไม่ควรดุหรือตีสุนัขเพราะจะทำให้พฤติกรรมแย่ลง

หากท่านมีปัญหาเรื่องพฤติกรรมก้าวร้าวในสุนัข สามารถปรึกษาออนไลน์ใน เฟสบุคนี้ สวัสดีครับ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://www.researchgate.net/publication/370694614_Factors_associated_with_pet_dog_behavior_in_Thailand
https://theswiftest.com/dog-bite-statistics/

#จิตเวชสัตว์เลี้ยง #พฤติกรรมสุนัข #สุนัขกัด #สุนัขดุ #คลินิกจิตเวชสัตว์เลี้ยง 🩺

น้องไข่หวาน French Bulldog, เด็กไฮเปอร์ มาออกกำลัง ฝึกทำตามคำสั่ง ทำให้มีสมาธิมากขึ้น ลดความเครียดตรวจสุขภาพกายและจิต กา...
02/06/2024

น้องไข่หวาน French Bulldog, เด็กไฮเปอร์ มาออกกำลัง ฝึกทำตามคำสั่ง ทำให้มีสมาธิมากขึ้น ลดความเครียดตรวจสุขภาพกายและจิต การออกกำลังกายช่วยลดความเครียดให้สัตว์เลี้ยง #จิตเวชสัตว์เลี้ยง

น้องไข่หวานมาฝึก ออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพ

🐕🐕ทำหมันสุนัขแล้วแต่ ทำไมน้องยังมีพฤติกรรม ขึ้นขี่🩺🩺 🐕พฤติกรรมขึ้นขี่ของสุนัขเป็นพฤติกรรมที่สามารถเกิดขึ้นได้ในสุนัขทั้ง...
29/05/2024

🐕🐕ทำหมันสุนัขแล้วแต่ ทำไมน้องยังมีพฤติกรรม ขึ้นขี่🩺🩺

🐕พฤติกรรมขึ้นขี่ของสุนัขเป็นพฤติกรรมที่สามารถเกิดขึ้นได้ในสุนัขทั้งตัวผู้ และตัวเมีย ถ้าเกิดขึ้นไม่บ่อยก็ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ปกติ แต่ถ้าบ่อยเกินไปถือว่าเป็นความผิดปกติ

🐶อะไรที่ทำให้น้องหมา มีพฤติกรรมขึ้นขี่🐶

🐕สิ่งที่กำหนดพฤติกรรมขึ้นขี่ในสัตว์ก็คือ สมอง และฮอร์โมนเพศ ได้แก่
🐕ฮอร์โมนเพศผู้ในระดับสูง จากรังไข่ อัณฑะ หรือต่อมหมวกไต
🐕ความเครียด จากสาเหตุ เช่น เบื่อ ไม่ได้ออกกำลังกาย อยู่ตัวเดียว คิดถึงเจ้าของ เรียกร้อง🐕ความสนใจ หรือ ไม่มีของเล่นอย่างเพียงพอ
🐕การเล่นกัน ข่มกันของสุนัข

🐶สุนัขขึ้นขี่ มีทั้งหมด 7 แบบ🐶

🐕ตัวผู้ขึ้นขี่ตัวเมีย ถือเป็นเหตุการณ์ที่่ค่อนข้างปกติ ยกเว้นตัวผู้ที่ทำหมันแล้ว
🐕ตัวผู้ขึ้นขี่ตัวผู้ ก็เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะต้องการข่มอีกตัว ยกเว้นตัวผู้ทำหมันแล้ว
🐕ตัวเมียขึ้นขี่ตัวเมีย มักจะเกิดขึ้นก่อนอาการเป็นสัด เนื่องจากฮอร์โมนเพศผู้สูงขึ้นชั่วคราว
🐕ตัวเมียขึ้นขี่ตัวผู้ มักไม่ค่อยเกิดขึ้น ยกเว้นตัวผู้ทำหมันแล้ว และตัวเมียขึ้นขี่ก่อนเป็นสัด
🐕สุนัขขึ้นขี่เจ้าของ มักเกิดจากฮอร์โมนเพศผู้สูง หรือเครียด
🐕สุนัขขึ้นขี่โต้ะ เก้าอี้ มักเกิดจากฮอร์โมนเพศผู้สูง หรือเครียด
🐕สุนัขที่ทำหมันแล้วขึ้นขี่ตัวอื่น มักเกิดจากฮอร์โมนเพศผู้สูง หรือเครียด

🩺สุนัขที่ยังไม่ได้ทำหมัน มีอาการขึ้นขี่เป็นประจำ ถือว่าเป็นอาการที่ผิดปกติ มีสัดส่วนฮอร์โมนเพศชายมากไป อาจเกิดจากเนื้องอกในรังไข่ อัณฑะ ต่อมใต้สมอง หรือต่อมหมวกไตก็ได้

🩺สุนัขที่ทำหมันแล้ว แต่มีอาการขึ้นขี่เป็นประจำ ถือว่าเป็นอาการที่ผิดปกติ มีสัดส่วนฮอร์โมนเพศชายมากไป อาจเกิดจาก ภาวะเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง หรือต่อมหมวกไตก็ได้

💊วิธีแก้ไข💊

🩺หากเกิดไม่บ่อย เช่นจากความเครียด ก็หาสาเหตุของความเครียดและแก้ไข ไม่สนใจหรือเดินหนึหากขึ้นขี่เจ้าของ แต่ถ้าประพฤติตัวดีก็ให้รางวัล ถ้าไม่ทราบจะต้องปรึกษาสัตวแพทย์ด้านจิตเวช

🩺หากเกิดเป็นประจำ ต้องพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจความผิดปกติฮอร์โมน และทำการรักษาครับ

ผู้เขียน
หมอเติม
กลุ่มวิจัยพฤติกรรมสัตว์และความสัมพันธุ์กับเจ้าของ
คลินิกจิตเวชสัตว์เลี้ยง
วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์ ม วลัยลักษณ์

#จิตเวชสัตว์เลี้ยง #พฤติกรรมสัตว์เลี้ยง #สัตวแพทย์วลัยลักษณ์

🐕เรื่องเล่าจากเคสจริง "บะหมี่" น้องหมาขี้กลัว ตื่นเต้นง่าย🐕🐶บะหมี่ หนุ่มน้อย English Cocker เป็นสุนัขที่ค่อนข้างกลัวคนแป...
10/05/2024

🐕เรื่องเล่าจากเคสจริง "บะหมี่" น้องหมาขี้กลัว ตื่นเต้นง่าย🐕

🐶บะหมี่ หนุ่มน้อย English Cocker เป็นสุนัขที่ค่อนข้างกลัวคนแปลกหน้า และสิ่งแปลกใหม่ นอกจากนี้ยังมีความไฮเปอร์สูง ชอบกระตุกสายจูง เป็นพิเศษ เจ้าของพาบะหมี่มาปรึกษาหมอหลังจากที่ลองแก้ไขมาแล้วหลายวิธี รวมถึงการไปฝึกกับครูฝึกสุนัข แต่ก็ยังแก้ไม่ได้ซะทีโดยเฉพาะปัญหาความหวาดกลัว

🩺ผมประเมินสุขภาพจิตและพฤติกรรมของบะหมี่ พบว่า มีปัญหาพฤติกรรมซ่อนอยู่หลายอย่าง และมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องทำการักษาทั้งหมด บะหมี่ มีพฤติกรรมกลัว ทำลายของในบ้าน และติดเจ้าของ/เรียกร้องความสนใจ เครียดเมื่อเจ้าของไม่อยู่ค่อนข้างสุง นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ส่งเสียงดัง

🩺สำหรับปัญหากระตุกสายจูงนั้น ส่วนใหญ่จะพบแค่ตอนจะกลับบ้าน เพราะมีความกลัว และอยากกลับบ้าน เมื่อก่อนเจ้าของถูกแนะนำให้ใช้ปลอกคอหนาม เพื่อหยุดการกระตุก จริงอยู่ว่าปลอกคอหนามหยุดการกระตุกสายจูงได้ แต่วิธีนี้ผมไม่แนะนำอย่างมากเพราะทำให้สุนัขเกิดความเจ็บปวด และอาจทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลมได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความเครียดและความเจ็บป่วยสะสมทำให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์อื่นๆได้ จึงแนะนำให้ใช้สายคาดอกแต่ ดึงสายให้สั้น และฝึกจังหวะการจูง แต่ถ้าเขากลัวมากก็ให้วิ่งออกกำลังกายกลับบ้านเลย วิธีนี้ถึงจะแก้ปัญหาไม่ได้ 100% แต่บะหมี่ก็ดูมีความสุขมากขึ้นในการจูงเดิน

🩺สำหรับการเรียกร้องความสนใจ การทำลายของในบ้าน และความเครียดเมื่อเจ้าของไม่อยู่ ผมก็ได้แนะนำให้ใช้ของเล่นที่มีอาหารและที่ให้เขากัดเล่นได้ โดยเฉพาะเวลาเจ้าของไม่อยู่ห้อง เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ว่านี่เป็นรางวัลของการเฝ้าบ้าน ผลก็ปรากฏว่ามีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์น้อยลง

🩺อาการไฮเปอร์ก็ต้องแก้ไขด้วยการให้ออกกำลังกายทั้งในบ้านและนอกบ้าน นอกจากเล่นของเล่นในบ้านแล้วบะหมี่ยังไปว่ายน้ำ และเดินเล่นด้วย

🩺สำหรับเรื่องของการกลัวคนแปลกหน้านั้น ผมก็แนะนำให้ คนแปลกหน้าที่มาที่บ้าน ป้อนขนม หรืออาหารให้น้อง ก็ทำให้น้องกลัวคนคนนั้นน้อยลง

🩺เนื่องจากเจ้าของมักจะต้องออก event เพื่อทำงานแต่อยากพา บะหมี่ไปด้วย แต่ที่ผ่านมาถือว่าเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลย แม้จะลองแล้วหลายครั้ง ในกรณีนี้ ผมลองให้ทานยาปรับอารมณ์แบบชั่วคราว ให้ทานเฉพาะก่อนที่จะออกงาน ผลปรากฏว่าน้องบะหมี่กลัวคนน้อยลงมาก และมีการปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้ากับคนมากขึ้น ยาที่ให้ไปนั้นจะออกฤทธิ์ประมาณ 4 ชม ถ้าเจ้าของต้องการอยุ่ให้นานขึ้นก็สามารถเพิ่มยาได้ จะเห็นได้ว่าความกลัวของน้องบะหมี่นั้นเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทและฮอร์โมนในสมอง เมื่อหมอให้ยาเพื่อปรับสมดุลสารเหล่านั้นก็พบว่าสามารถลดความกลัวลงได้ ตอนนี้นอกจากจะออกงาน event ได้แล้ว ยังสามารถพาบะหมี่ไปเที่ยวที่ต่างๆได้ด้วย มีความสุขทั้งเจ้าของและสุนัข

🩺🐶ในอนาคตเบื่อบะหมี่คุ้นเคยกับการออกงานแล้ว เขาก็จะสามารถออกงานได้เลย โดยไม่ต้องพึ่งยาอีกต่อไป

🩺🐶จะเห็นได้ว่า การรักษาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ให้สำเร็จนั้น ต้องอาศัยทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าของ การฝึกสุนัข และในหลายครั้งต้องอาศัยยาปรับสมดุลย์ของฮอร์โมนและสารสือประสาทในสมองด้วยครับ

ผู้เขียน
หมอเติม
กลุ่มวิจัยพฤติกรรมสัตว์และความสัมพันธุ์กับเจ้าของ
คลินิกจิตเวชสัตว์เลี้ยง
วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์ ม วลัยลักษณ์

โปรแกรมวิเคราะห์พฤติกรรมของแมว (รุ่นทดลอง, งานวิจัย ของสัตวแพทย์ ม วลัยลักษณ์)โปรดทราบ โปรแกรมนี้จะแสดงผลประเมินพฤติกรรม...
03/05/2024

โปรแกรมวิเคราะห์พฤติกรรมของแมว (รุ่นทดลอง, งานวิจัย ของสัตวแพทย์ ม วลัยลักษณ์)
โปรดทราบ โปรแกรมนี้จะแสดงผลประเมินพฤติกรรมเบื้องต้นเท่านั้น ความแม่นยำจะไม่เท่ากับประเมินโดยสัตวแพทย์ การแสดงพฤติกรรมที่ผิดปกติไม่ได้หมายความว่าแมวของท่านมีปัญหาทางสุขภาพจิต เพราะพฤติกรรมของแมว คือ ภาษากายของแมว สาเหตุของความผิดปกติของพฤติกรรมอาจมาจากความเจ็บป่วยทางกาย หรือทางจิตก็ได้ หากท่านต้องการข้อมูลที่ละเอียดและถูกต้องโปรดปรึกษาสัตวแพทย์ด้านพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง

โปรดทราบ โปรแกรมนี้จะแสดงผลประเมินพฤติกรรมเบื้องต้นเท่านั้น ความแม่นยำจะไม่เท่ากับประเมินโดยสัตวแพทย์ ...

สัตว์แพทย์ ม วลัยลักษณ์ เผย ผลวิจัยพฤติกรรมแมวและเจ้าของในประเทศไทย พบว่ามีปัญหาพฤติกรรมเยอะและคนเลี้ยงยังขาดความรู้ความ...
01/05/2024

สัตว์แพทย์ ม วลัยลักษณ์ เผย ผลวิจัยพฤติกรรมแมวและเจ้าของในประเทศไทย พบว่ามีปัญหาพฤติกรรมเยอะและคนเลี้ยงยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของแมว

จากงานวิจัยของทีมวิจัยพฤติกรรมสัตว์และความสัมพันธ์กับมนุษย์ ของวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์ฯ ม วลัยลักษณ์ นำโดย รศ.ดร.น.สพ.เติมพงศ์ วงศ์ตะวัน (หมอเติม) และ ผศ.ดร.สพ.ญ.วรกาญจน์ บุญเหาะ ได้ทำการวิจัยสำรวจพฤติกรรมแมวกว่า สามพันตัวจากเจ้าของในประเทศไทย ได้ข้อมูล สรุปได้ดังต่อไปนี้

ข้อมูลของผู้เลี้ยงแมว
🐈ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากถึง 82%
🐈ส่วนใหญ่มีอายุช่วง 23-40 ปี (60%)
🐈แมวส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร (32%) และเขตุปริมณฑล (15%)
🐈ผู้เลี้ยงแมวส่วนใหญ่จบการศึกษามากกว่าปริญญาตรีขึ้นไปถึง 85%
🐈มีประสบการณ์เลี้ยงแมวมากกว่า 5 ปีขึ้นไป (55%)
🐈กว่าครึ่งมีการหาความรู้เพิ่มเติมเรื่องการเลี้ยงแมวอย่างสม่ำเสมอ (48%)

ข้อมูลเกี่ยวกับแมวพบว่า
🐈แมวที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ผสม (43%) ถัดมาเป็นพันธ์ุแท้ เปอร์เซียและสกอตติชโฟล์ รวมกัน 20%
🐈อายุแมวส่วนใหญ่ ประมาณ 2-6 ปี (40%)
🐈จำนวนแมวเพศผู้และเพศเมียพอๆกัน
🐈คนส่วนใหญ่เลี้ยงแมวตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป (72%)
🐈โรคที่พบมากที่สุดคือโรคทางระบบขับถ่ายปัสสาวะ 6.3% ถัดมาคือโรคผิวหนัง 4.2%
🐈ลักษณะที่พักอาศัยส่วนใหญ่เป็นบ้าน (80%) โดยเลี้ยงระบบปิดมากถึง 84% ส่วนใหญ๋นอนกับเจ้าของ (60%)
🐈เจ้าของเกือบทั้งหมดให้อาหารสำเร็จรูป (93%) ส่วนการให้น้ำใช้น้ำพุเพียง 30% ที่เหลือ 70% ให้เป็นชามใส่น้ำ
🐈มีใช้ไม้ตกแมว หรือลูกบอล เล่นกับแมว 97% มีการใช้กัญชาแมว 73% เปิดเพลงให้แมวฟัง 70% มีที่ฝนเล็บ 95% ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้อง เพื่อลดความเครียดและลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์

การเลี้ยง การปฏิสัมพันธ์ และปัญหาพฤติกรรม
🐈ในมุมมองของเจ้าของ เจ้าของส่วนใหญ่คิดว่าแมวมีปัญหาพฤติกรรมเล็กน้อย (52%) และส่วนใหญ่คิดว่าเป็น พฤติกรรมติดเจ้าของ 25% ถัดมาคือ ก้าวร้าว 19%
🐈แต่ผลการวิจัยแสดงผลที่ต่างกัน เพราะพบปัญหาพฤติกรรมของแมวอยู่หลายแบบมาก บางพฤติกรรมพบมากกว่า 90% ปัญหาเหล่านี้ได้แก่

🩺ปัญหาพฤติกรรมหวาดกลัวเสียงดัง (เช่น ประทัด เสียงแตรรถ) พบมากถึง 90% โดยเป็นอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรง (อึฉี่ราด พยายามหนีออกจากบ้าน) ถึง 21% พฤติกรรมหวาดกลัวฝนตกฟ้าร้องพบ 66% โดยเป็นอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงถึง 12% พฤติกรรมกลัวการขึ้นรถ (72%) กลัวไปสถานที่คนเยอะ (75%) กลัวการไปพบสัตวแพทย์ (80%) และมักแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกี่ยวกับความกลัวกับหมอถึง 53%

🩺ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวกับแมวตัวอื่นพบได้ประมาณ 82% ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยทั่วโลกและน่าจะเป็นสัญชาติของแมวในการหวงพื้นที่ เจ้าของหลายคนมักหาทางแก้ด้วยการไปทำหมัน แต่จากการวิจัยนี้พบว่าแมวส่วนใหญ่ได้รับการทำหมันแล้ว (80%) ดังนั้นการทำหมันแมวไม่น่าจะช่วยแก้ปัญหาพฤติกรรมนี้ได้ดี

🩺มีที่ปีนป่าย 68% และมีการใช้อุปกรณ์เล่นกับแมวยังไม่มากแค่ 23% ซึ่งน้อยเกินไปอาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งทำให้เกิดความเครียดและปัญหาพฤติกรรมในแมว โดยเฉพาะปัญหาการทำลายข้าวของในบ้านซึ่งพบมากถึง 81% ปัญหารบกวนเจ้าของเวลาทำงาน 77% และมัก ส่งเสียงดังประมาณ 90% ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ ซึ่งอาจจะการขาดการปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ถูกต้อง มีของเล่นน้อยเกินไป และเสี่ยงให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์อื่นๆตามมาได้อีก

🩺ถึงแม้วว่าเจ้าของเกือบทุกคน มีกระบะทราย (94%) ให้แมว แต่ส่วนใหญ่มีจำนวนกระบะทรายไม่เพียงพอ (62%) เพราะเราควรมีกระบายทรายมากกว่าจำนวนแมวที่เลี้ยงเพื่อลดปัญหาการขับถ่ายไม่เป็นที่ ในการวิจัยครั้งนี้พบว่ามีปัญหาขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นประจำพบได้ 40% ปัญหานี้นอกจากอาจเกิดจากกระบะทรายที่ไม่เพียงพอ อาจจะเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพทางกายและจิตได้ด้วย

🩺เจ้าของส่วนใหญ่ต้องทิ้งแมวอยู่บ้านลำพัง (76%) เนื่องจากต้องออกไปทำงาน ทำธุระ โดยส่วนใหญ่ทิ้งไว้ประมาณ 5-8 ชม (40%) ซึ่งจำทำให้เกิดปัญหาความเครียดจากการคิดถึงเจ้าของได้ ซึ่งปัญหานี้ผมได้ประมาณ 58%

🩺เจ้าของส่วนใหญ่ชมเชยให้รางวัลแมวเมื่อแมวมีพฤติกรรมดีอยู่เสมอ (61%) ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่มีการลงโทษเล็กน้อยเมื่อมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (40%) อันนี้ไม่ดีจะยิ่งทำให้แมวเกิดความเตรียดและก้าวร้าวได้ ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวต่อเจ้าของพบได้ประมาณ 50% โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการถูกอาบน้ำแปรงขน ถัดมาเกิดจากการถูกสัมผัสตัวมากเกินไป เช่นอุ้มแมวและกอดแมวมากเกินไป (65%)

🩺พฤติกรรมของแมวนั้นเกิดจาการสั่งงานของระบบประสาทและฮอร์โมน ซึ่งถูกกระตุ้นโดยปัจจัยภายนอกหลายอย่าง เช่น อาหาร และวิธีการเลี้ยงดู และการเจ็บป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้หลายครั้งเราไม่สามารถปรับพฤติกรรมได้อย่างเดียว ต้องทำการรักษาโรคทางกายและใจร่วมไปด้วย โดยเฉพาะปัญหาความกลัวส่วนใหญ่จะเกิดจากความไม่สมดุลย์ของสารสื่อประสาทในสมอง การฝึกสุนัขเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพต้องทานยาปรับพฤติกรรมร่วมด้วยดถึงจะดีที่สุด

🐈🩺หากท่านมีปัญหาพฤติกรรมแมว สามารถอ่านบทความ หรืออยากปรึกษาเบื้องต้นสามารถทำได้ที่ Facebook คนน่ารักกับสัตว์เลี้ยงแสนดี (https://www.facebook.com/goodpetandhuman) หรือพาแมวมารักษาหรือปรับพฤติกรรมได้ที่ คลินิกจิตเวชสัตว์เลี้ยง โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยสามารถทำการรักษาได้ทั้งออนไลน์ และมาที่โรงพยาบาล🐈🩺

19/04/2024
🐶🐶พฤติกรรมสุนัขหวงชามใส่อาหาร อันตรายไหมและแก้ไขได้หรือไม่🐶🐶พฤติกรรมสุนัขหวงชามข้าวเป็นหนึ่งในกลุ่มพฤติกรรมสุนัขหวงของ ข...
07/04/2024

🐶🐶พฤติกรรมสุนัขหวงชามใส่อาหาร อันตรายไหมและแก้ไขได้หรือไม่🐶

🐶พฤติกรรมสุนัขหวงชามข้าวเป็นหนึ่งในกลุ่มพฤติกรรมสุนัขหวงของ ของที่หวงเป็นของที่สุนัขคิดว่าเป็นของล้ำค่าของพวกเขา อันได้แก่ อาหาร ชามอาหาร กระดูก ของเล่น ของที่ขโมยมาเช่น ถุงเท้า ร้องเท้า พื้นที่ และรวมถึงเจ้าของด่วย ว่ากันว่าเป็นสัญชาติญาณที่เหลือของสัตว์ผู้ล่า แต่ก็ถือว่าเป็นปัญหาพฤติกรรมที่เจ้าของไม่อยากให้เกิดขึ้นและเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายโดยสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้สุนัขจะมีอาการหวงของกับสุนัขด้วยกันด้วยซึ่งจะเสี่ยงให้เกิดปัญหาสุนัขกัดกันในบ้านด้วย

🐶เมื่อสุนัขหวงของ อาจแสดงอาการออกมาสามแบบ ได้แก่ ก้าวร้าว (เห่า ขู่ กัด) เอาของไปซ่อน คาบของหนีไป คาบของไว้ในปากไม่ยอมปล่อย กันไม่ให้คนหรือสัตว์อื่นเข้าใกล้ นั่งทับของ หรือกลืนกิน (อาหาร) เข้าไปอย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่เจ้าของและข่าวมันจะให้ความสนใจแต่พฤติกรรมก้าวร้าวซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาการท้ายสุดที่รุนแรงโดยก่อนหน้านั้นอาจจะมีอาการอื่นด้วยแต่เจ้าของไม่ได้สังเกตุ การกินอาหารเข้าไปอย่างรวดเร็วก็จะเป็นอันตรายต่อสุนัขเพราะอาจทำให้สุนัขสำลักอาหารเข้าไปในปอดได้ หรือไม่ทันเคี้ยวทำให้ย่อยอาหารไม่ทันเช่นกระดูกชิ้นใหญ่เป็นต้น

🐶จากงานวิจัยของนักวิจัยแคนาดาพบหลายปัจจัยและหลายสาเหตุที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมหวงของ โดยเฉพาะหวงของแบบก้าวร้าว🐶🐕‍🦺

🐕‍🦺มักจะเกิดในสุนัขที่ความใจร้อน ฉุนเฉียวง่าย ไม่อยู่นิ่ง และเดาพฤติกรรมยาก
🐕‍🦺มักเกิดในสุนัขที่มีความหวาดกลัวสูง
🐕‍🦺พบมากในสุนัขที่เป็นตัวผู้ทำหมันแล้ว
🐕‍🦺พบมากในสุนัขพันธุ์ผสม
🐕‍🦺พบน้อยในสุนัขที่ถูกฝึกให้ปล่อยของออกจากปาก
🐕‍🦺พบมากในสุนัขที่เคยถกแย่งชามอาหาร หรือของเล่น
🐕‍🦺มักพบในสุนัขที่อาศัยอยู่กับคนหลายคน ซึ่ง อาจเกิดจาก ความเครียดความกังวล และการถูกรบกวนมากเกินไป

🐶นอกจากนี้จากการสังเกตุของนักพฤติกรรมหลายคนพบว่า🐶

🐕‍🦺สุนัขจะมีอาการหวงของมากขึ้นหากมีคนแปลกหน้าเข้ามาในบ้าน
🐕‍🦺สุนัขที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอ อาจมีการหวงอาหารและชามอาหารมากขึ้น
🐕‍🦺สุนัขที่มีสุขภาพกายไม่ดี ก็จะหงุดหงิดง่ายทำให้มีพฤติกรรมหวงของมากเช่นกัน
🐕‍🦺สุนัขที่มีปัญหาสุขภาพจิต ก็จะหงุดหงิดง่าย
🐕‍🦺บ้านที่มีเด็กเล็ก อาจทำให้สุนัขเครีดดง่าย เกิดพฤติกรรมหวงของได้ เพราะเด็กชอบมาแย่งของเล่นสุนัข หรือส่งเสียงดังให้สุนัขกลัว
🐕‍🦺สุนัขอาจจะเคยถูกลงโทษด้วยการดึงชามข้าว หรือ ของเล่นออกไป

🐶ทำอย่างไรเมื่อสุนัขมีพฤติกรรมหวงของ🐶

🩺วิธีแก้ที่ดีที่สุดก็คือ หาสาเหตุของปัญหา และพยายามหาทางแก้ หากไม่ทราบสาเหตุควรปรึกษาสัตวแพทย์ด้านพฤติกรรมหรือจิตเวช
🩺ไม่ควรดุหรือลงโทษสุนัข เพราะจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น
🩺ไม่ควรไปยุ่งกับสุนัขเวลากินอาหาร ไม่ควรไปแย่งของเล่นสุนัข
🩺หากต้องการทำความสะอาดของใช้สุนัข ควรให้สุนัขไปอยู่ที่บริเวณอื่นก่อน

🩺🩺การรักษาสุนัขที่มีพฤติกรรมหวงของ🩺🩺

🩺หากมีอาการไม่มากสามารถฝึกได้ด้วยตัวเอง เช่น ฝึกให้สุนัขปล่อยของออกจากปากแล้วให้รางวัล การเพิ่มอาหารลงไประหว่างทานอาหาร ทำให้สุนัขมีพฤติกรรมหวงของลดลง เพราะจะเกิดจาการเรียนรู้ว่าเจ้าของมาดีไม่ได้มาร้าย
🩺สุนัขที่หวงชามข้าว อาจมีอาการสุขภาพกายและจิตไม่ดี ควรปรึกษาสัตวแพทย์ด้านพฤติกรรมและจิตเวช และอาจต้องมีการใช้ยาปรับอารมณ์และสมอง

🩺จากรายงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า การใช้ยาปรับอารมณ์ที่เหมาะสมสามารถลดพฤติกรรมก้าวร้าวจากการหวงของได้มากกว่า 90% ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยควรทำร่วมกับการปรับพฤติกรรมสุนัขและเจ้าของเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ผู้เขียน
🩺หมอเติม🐶
กลุ่มวิจัยพฤติกรรมสัตว์และความสัมพันธุ์กับเจ้าของ
คลินิกจิตเวชสัตว์เลี้ยง
วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์ ม วลัยลักษณ์

ข้อมูลงานวิจัยเพิ่มเติม
Jacobs, J. A., Coe, J. B., Pearl, D. L., Widowski, T. M., & Niel, L. (2018). Factors associated with canine resource guarding behaviour in the presence of people: A cross-sectional survey of dog owners. Preventive Veterinary Medicine, 161. https://doi.org/10.1016/j.prevetmed.2017.02.005

🐶🐶🐶🩺🩺
#สุนัขหวงของ #สุนัขหวงชามข้าว #สุนัขหวงกระดูก #สุนัขกัด

ที่อยู่

คลินิกจิตเวชสัตว์เลี้ยง และกลุ่มวิจัยพฤติกรรมสัตว์และความสัมพันธ์กับมนุษย์
Amphoe Tha Sala
80160

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ คนและสัตว์นิสัยดีผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์