Animal Enrichment Khao Kheow Open Zoo

Animal Enrichment Khao Kheow Open Zoo Zoo
(10)

สวนสัตว์เป็นสถานที่ที่มีความผูกพันกับคนไทยมานานกว่า 60 ปี แล้ว หากจะแตกต่างไปบ้าง ก็คือ จำนวนของสวนสัตว์ที่มีเพิ่มขึ้นในภูมิภาคของประเทศและการนำเสนองานบริการที่มีการ ผสมผสานความรู้ หลักวิชาการและศาสตร์ต่างๆ จนทำให้สวนสัตว์มีขีด ความสามารถในการใช้ ประโยชน์จากสังคมมากกว่าแต่ก่อนสวนสัตว์ของรัฐให้เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและจิตใจของประชาชน ในด้านการนันทนาการและการเป็นแหล่งเรียนรู้

แบบตลอดชีวิตและในความเป็นเลิศของ การเป็นมืออาชีพที่พัฒนาความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศจนสามารถนำมาซึ่ง รายได้จากนักท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาประเทศชาติ อย่างมีเกียรติเป็นที่ชื่นชมของคนทั่วไปการพัฒนาสวนสัตว์แบบบูรณาการ โดยยึดผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ สวนสัตว์ที่สวยงาม ร่มรื่น มีสัตว์ที่หลากหลายชนิด สามารถสื่อความหมายของธรรมชาติและชีวิต สัตว์ป่า เมื่อได้มาเยี่ยมชม จนเป็นที่ชื่นชอบและมาเที่ยวกัน ต้องใช้ทั้งเวลาและงบประมาณ จำนวนมาก บางครั้งอาจถึงชั่วอายุคนเราก็ว่าได้

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับสวนสัตว์และมีการสร้างสวนสัตว์ใหม่ๆขึ้นมามากกว่า 1,000 แห่ง ในเอเซีย ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย โดยในปีหนึ่งๆ มีคนมาเที่ยวสวนสัตว์กันมากว่า 1 หน จนกล่าวได้ว่าสวนสัตว์กำลังจะเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตคนเราไปแล้วการดำเนินงานให้บริการสังคมของสวนสัตว์กำลังผ่านเข้าสู่รอยต่อของวิวัฒนาการของสวนสัตว์ สมัยใหม่อีกช่วงหนึ่งโดยสามารถสัมผัสได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจากการหล่อหลอมเข้ากันไว้ด้วยวัฒนธรรมใหม่และการเปลี่ยน แปลงของวิถีการดำเนินชีวิตของสังคม ทั้งทางด้านพฤติกรรม ค่านิยมระบบการปฏิรูปการศึกษา เทคโนโลยี และความต้องการที่จะปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมใน แบบยั่งยืนการดำเนินงานของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวยังคงดำเนินการตามนโยบายหลัก 4 ประการ คือ การอนุรักษ์สัตว์ป่า การให้การศึกษา การค้นคว้าวิจัยและการเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มาโดยตลอด ในปัจจุบันงานทุกด้านเป็นกลไกสำคัญสนับสนุนซึ่งกันและกัน กล่าวได้ว่ามีการพัฒนา เป็นรูปธรรม ชัดเจนมากขึ้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางสังคมและทำให้สวนสัตว์มีคุณค่าจนเป็นที่ยอมรับ

วัตถุประสงค์การจัดตั้งสวนสัตว์เปิดเขาเขียว

1. เพื่อดำเนินงานด้านการเลี้ยงและสงวนพันธุ์สัตว์ รวมทั้งสร้างสมดุลย์ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
2. เพื่อบริการด้านการศึกษาค้นคว้า-วิจัย การนันทนาการ การพัฒนาจิตใจประชาชน-เยาวชน ให้ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. เพื่อพัฒนาสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ให้เป็นที่รู้จัก และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน

12/08/2024
https://www.facebook.com/share/p/g2vEFKKf1UJx4A3T/?mibextid=WC7FNe
11/08/2024

https://www.facebook.com/share/p/g2vEFKKf1UJx4A3T/?mibextid=WC7FNe

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว 🙏“ขอบพระคุณทุกท่านที่สนับสนุนกางเกงกะปิปลาร้า”

❤️น้ำใจของทุกท่านเราส่งต่อไปถึงเพื่อนๆของกะปิฯที่อยู่ในสวนสัตว์ฯ อาทิ จ่ายค่าอาหารให้ลุงเสือลายเมฆ,ทำเปลและแคร่นอนเพื่อสวัสดิภาพสัตว์ให้พี่เสือ,ป้าหมี,น้าหมีขอและน้องลีเมอร์,ปรับปรุงบ้านให้ป้าช้าง และพี่แรดขาว,ซื้อยาและเวชภัณฑ์ส่วนเกินในการรักษาสัตว์ ,ซื้ออาหารเสริมให้เพื่อนสัตว์อื่นๆ ,รวมมูลค่ากว่า1 ล้านบาท❤️

เสร็จสิ้นแล้วกับโครงการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มองค์ความรู้แก่บุคลากรภายใต้ โครงการฝึกอบรม หลักสูตร การส่งเสริมพฤติกรรมและสวั...
09/08/2024

เสร็จสิ้นแล้วกับโครงการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มองค์ความรู้แก่บุคลากรภายใต้ โครงการฝึกอบรม หลักสูตร การส่งเสริมพฤติกรรมและสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อรักษามาตรฐาน waza และ seaza ของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ระหว่างวันที่ 8-9 สิงหาคม 2567

ขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการสวนสัตว์เปิดเขาเขียว นายณรงวิทย์ ชดช้อย ให้เกียรติเป็นประธานในการจัดฝึกอบรมครั้งนี้

น.ส.อุฬาริกา กองพรหม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสวนสัตว์เปิดเขาเขียว

คณะวิทยากร น.ส.พ.วิศิษฐ์ อาศัยธรรมกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันอนุรักษ์และวิจัย,
ดร.สุดารัตน์ บ่ายเจริญ หัวหน้าศูนย์พันธุศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์,
สพ.ญ อุมาพร ใหม่แก้ว หัวหน้างานสุขภาพสัตว์ , สพ.ญ เสาวภางค์ สนั่นหนู หัวหน้าศูนย์เนื้อเยื่อสัตว์ป่าเพื่อการอนุรักษ์,
สพ.ญ ปิยะพร คงเมธี ,
นายชัยณรงค์ ปั้นคง หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์และวิจัย,
นางสาวอันญาดา ดุลฤทธิ์เดช หัวหน้างานส่งเสริมพฤติกรรมและสวัสดิภาพสัตว์ ที่ให้เกียรติและสละเวลาอันมีค่ามาบรรยายให้ความรู้แก่บุคคลากรของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวของเราในครั้งนี้คะ 😊🙏

รวมภาพเฟอร์นิเจอร์สัตว์ป่าในสวนสัตว์
05/08/2024

รวมภาพเฟอร์นิเจอร์สัตว์ป่าในสวนสัตว์

ขอบคุณคณะ BMW และสำนักอนุรักษ์และวิจัย อสส. ที่นำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์แก่สัตว์ป่าของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวนะคะ ...
03/08/2024

ขอบคุณคณะ BMW และสำนักอนุรักษ์และวิจัย อสส. ที่นำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์แก่สัตว์ป่าของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวนะคะ ได้ทำเฟอร์นิเจอร์ทางเลือกเอาไว้ให้สัตว์ป่าได้ใช้ประโยชน์หลายชิ้นเลยคะ 😊🙏🥰 #ของเล่นสัตว์ป่า #สวัสดิภาพสัตว์ป่า #ความสุขเล็กๆ #ความสุขของสัตว์ป่า #สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

https://www.facebook.com/share/p/fXCiKKcWDcH4NvHK/?mibextid=JOZb8W
04/07/2024

https://www.facebook.com/share/p/fXCiKKcWDcH4NvHK/?mibextid=JOZb8W

𝗪𝗶𝗹𝗱 𝗪𝗲𝗹𝗳𝗮𝗿𝗲 𝘄𝗼𝗿𝗸 𝗴𝗹𝗼𝗯𝗮𝗹𝗹𝘆 𝘁𝗼 𝗶𝗺𝗽𝗿𝗼𝘃𝗲 𝘄𝗲𝗹𝗳𝗮𝗿𝗲 𝗳𝗼𝗿 𝘄𝗶𝗹𝗱 𝗮𝗻𝗶𝗺𝗮𝗹𝘀 𝗹𝗶𝘃𝗶𝗻𝗴 𝗶𝗻 𝗰𝗮𝗽𝘁𝗶𝘃𝗶𝘁𝘆 🐾

We were the first captive wild animal charity solely focused on improving welfare standards by uniting animal welfare organisations and captive wildlife facilities, such as zoos, aquariums and sanctuaries, around the world 🌎

👉 https://wildwelfare.org

01/07/2024

แค่ใส่ฟางใหม่ๆ กลิ่นหอมๆ เป็นวัสดุวันรองนอนเป็นวันแรก
ก็ถือเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมสัตว์แบบง่ายๆได้นะคะ สัตว์ชอบด้วยคะ 😊🥰 #เสือโคร่งอินโดจีน #สวัสดิภาพสัตว์ป่า #ความสุขของสัตว์ป่า #สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

น้องหนูคือตัวกินมดยักษ์คะ เค้าชอบกินมดและปลวกจริงๆ คะในธรรมชาติ การหาปลวกเป็นหัวๆแบบนี้มาเสริมให้เค้า จึงเป็นการช่วยทำให...
28/06/2024

น้องหนูคือตัวกินมดยักษ์คะ เค้าชอบกินมดและปลวกจริงๆ คะในธรรมชาติ การหาปลวกเป็นหัวๆแบบนี้มาเสริมให้เค้า จึงเป็นการช่วยทำให้เค้ามีโอกาสได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติมากขึ้น สำหรับการใช้เล็บและมือขุดออกแรงหากินปลวกในดินแบบนี้ แถมได้ใช้ลิ้นยาวๆ ชอนไชไปหาปลวกได้ด้วย เพลินเลย มีความสุขสุดๆ คะ ^^

เฟอร์นิเจอร์ที่หลากหลายของสัตว์กลุ่มไพรเมตเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญ เนื่องจากเค้ามีพฤติกรรมที่หลากหลายใกล้เคียงมนุษย์ ...
27/06/2024

เฟอร์นิเจอร์ที่หลากหลายของสัตว์กลุ่มไพรเมตเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญ เนื่องจากเค้ามีพฤติกรรมที่หลากหลายใกล้เคียงมนุษย์ แต่เค้าต้องอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด อาจส่งทำให้เค้าอาจเครียดและเบื่อหน่ายได้ การมีของเล่นหรือเฟอร์นิเจอร์ที่หลากหลายและเหมาะสม จะช่วยป้องกันไม่ให้เค้ามีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้คะ เอื้อให้สัตว์ได้แสดงพฤติกรรมตามปกติ สัตว์รู้สึกสนุก และสุขภาพจิตดีได้ ด้วยสิ่งเหล่านี้ด้วยคะ ^^

ถ้าไม่ซน ก็ไม่ใช่ลิงอะจิ ชอบกันใหญ่เลย พี่ๆเอากิ่งไม้ใบไม้พุ่มใหญ่ๆให้ในคอก ซุกซนเหมือนเด็ก ค้นหา เรียนรู้ สุขกาย สบายใจ...
26/06/2024

ถ้าไม่ซน ก็ไม่ใช่ลิงอะจิ ชอบกันใหญ่เลย พี่ๆเอากิ่งไม้ใบไม้พุ่มใหญ่ๆให้ในคอก ซุกซนเหมือนเด็ก ค้นหา เรียนรู้ สุขกาย สบายใจ สุดท้ายธรรมชาติก็คือสิ่งที่ดีที่สุดของสิ่งมีชีวิต ^^

Zoo keeper ใจดี มีชัยไปกว่าครึ่ง ขยันหาของเล่นมาให้เค้าบ่อยๆ ได้กัดแทะกิ่งไม้ใบไม้ใหม่ๆแบบนี้เป็นประจำทุกวัน มีสภาพแวดล้...
26/06/2024

Zoo keeper ใจดี มีชัยไปกว่าครึ่ง ขยันหาของเล่นมาให้เค้าบ่อยๆ ได้กัดแทะกิ่งไม้ใบไม้ใหม่ๆแบบนี้เป็นประจำทุกวัน มีสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ทำให้สัตว์กลุ่มนกปากขอไม่เครียด มีของเล่นใหม่ๆเป็นธรรมชาติทุกวัน ลดการจิกกัดขนตัวเองและเพื่อนๆ ได้ดีเลยนะ

อยู่กับสภาพแวดล้อมเดิมๆก็เบื่อเนอะ พี่ๆเลยจัดการเอาใบไม้ ต้นไม้สีเขียวสดชื่นๆ เข้ามาจัดในตู้เลี้ยงงูชนิดต่างๆ ให้เค้าได้...
25/06/2024

อยู่กับสภาพแวดล้อมเดิมๆก็เบื่อเนอะ พี่ๆเลยจัดการเอาใบไม้ ต้นไม้สีเขียวสดชื่นๆ เข้ามาจัดในตู้เลี้ยงงูชนิดต่างๆ ให้เค้าได้เรียนรู้สภาพแวดล้อมใหม่ๆ สร้างความสดชื่นเป็นธรรมชาติให้เค้ากันคะ

ปกติแล้วพี่ๆ Zoo Keeper ก็จะตัดใบไม้รอบๆสวนสัตว์ของเรามาเสริมให้ยีราฟอยู่แล้วคะ แต่วันนี้พิเศษนิดนึงคะ เอาใบไม้มาใส่ในกร...
25/06/2024

ปกติแล้วพี่ๆ Zoo Keeper ก็จะตัดใบไม้รอบๆสวนสัตว์ของเรามาเสริมให้ยีราฟอยู่แล้วคะ แต่วันนี้พิเศษนิดนึงคะ เอาใบไม้มาใส่ในกระบอกไฟเบอร์กลาสยักษ์แบบหมุนได้ ให้ยีราฟได้ใช้แรงและรู้สึกตื่นเต้นขึ้นมานิดนึงเวลาที่ได้กินใบไม้ในภาชนะบรรจุอาหารใหม่ๆคะ #สวัสดิภาพสัตว์ป่า #ความสุข #ความสุขของสัตว์ป่า #สวนสัตว์เปิดเขาเขียว

https://www.facebook.com/share/p/tfQWbFh4UEuoA8rL/?mibextid=JOZb8W
21/06/2024

https://www.facebook.com/share/p/tfQWbFh4UEuoA8rL/?mibextid=JOZb8W

We recently joined forces with Southeast Asian Zoos and Aquariums Association (SEAZA) to train a new generation of Animal Welfare Auditors! 🐾📋

This intensive programme equipped 40+ participants with the knowledge & skills to effectively assess animal care and welfare at zoos and aquariums across the region.

💚 All with ultimate aim of improving the lives of captive wildlife throughout Southeast Asia.

Read the full article here 👇 https://wildwelfare.org/seaza-auditor-training-news/

https://www.facebook.com/share/p/dykLEQxaFns4RyBp/?mibextid=JOZb8W
20/06/2024

https://www.facebook.com/share/p/dykLEQxaFns4RyBp/?mibextid=JOZb8W

ขอเชิญเข้าร่วมและนำเสนอผลงานทางวิชาการ
ในงานสัมมนาทางวิชาการสัตว์ป่าสวนสัตว์ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2567 (The 16th Zoo Animal Conference)
ภายใต้หัวข้อ
เชื่อมโยงผู้คนและโลกของเราไปด้วยกัน จากองค์ความรู้สวนสัตว์สู่การอนุรักษ์สัตว์ป่า (Connecting people and planet : Exploring zoo knowledge in wildlife conservation)
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 22 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพมหานคร
*เปิดรับนำเสนอผลงาน ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2567
*เปิดรับลงทะเบียน ถึงวันที่ 7 สิงหาคม 2567
ลงทะเบียนและลงทะเบียนนำเสนอผลงาน ได้ที่ https://forms.gle/MLcDEy1jp7ZJ1BdN6
ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป ท่านละ 2,000 บาท
นักเรียน นักศึกษา ท่านละ 1,000 บาท
รายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1XWh9D1st0WdT-MdzyaMBlpbiGG1B8upu?usp=drive_link
สอบถามเพิ่มเติม
E-mail; [email protected]
โทรศัพท์ 02 163 4955 ต่อ 1048, 1049
facebook; สถาบันอนุรักษ์และวิจัยสัตว์ Animal Conservation and Research Institute
จัดโดย
สถาบันอนุรักษ์และวิจัยสัตว์ (สอว.)
องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อสส.)

ชะนีมงกุฎ (ชะนีหัวมงกุฎ)/Pileated Gibbon (Hylobates pileatus) วันนี้พี่ตอง ซ่อนสมุนไพรให้กลิ่นและอาหารประจำวันในกระบอกไม...
07/06/2024

ชะนีมงกุฎ (ชะนีหัวมงกุฎ)/Pileated Gibbon (Hylobates pileatus)

วันนี้พี่ตอง ซ่อนสมุนไพรให้กลิ่นและอาหารประจำวันในกระบอกไม้ไผ่คะ ผูกติดกันเป็นพวงๆ แล้วโยนไว้บนต้นไม้สูงๆให้ชะนีมงกุฎ ซึ่งเพศผู้จะมีขนสีดำคะ กระตุ้นพฤติกรรมการค้นหาอาหาร ใช้เป็นของเล่น และกระตุ้นพฤติกรรมการห้อยโหนให้สัตว์ได้ออกกำลังกายและแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติอย่างเต็มที่คะ

สิ่งที่น่าสนใจ :
ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีขาวนวล เมื่อเกิดใหม่สีขาวนวลเหมือนกัน พออายุ 4 - 6 เดือน ขนที่หน้าอกจะเปลี่ยนสีเป็นสีดำเกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมลงที่ท้อง และบนหัวขนเปลี่ยนเป็นสีดำ เกิดขึ้นตรงกลางหัวเป็นรูปทรงกลม พออายุประมาณ 3 - 4 ปี ตัวผู้ขนจะเปลี่ยนเป็นสีดำทั่วตัว ยกเว้นคิ้ว ถุงอัณฑะ หลังมือหลังเท้าและวงรอบใบหน้า ซึ่งขนจะเป็นสีขาวดังเดิม รอบๆ จุดดำบนหัวจะมีขนสีขาวยาวเป็นลอนแซมขึ้นมาเห็นเด่นชัด ส่วนตัวเมียขนทั่วตัวไม่เปลี่ยนสีดำ สีขนจะคงเดิม ที่หน้าอกและบนหัวจะมีสีดำ มองดูที่หน้าอกคล้ายผูกเอี๊ยมดำจึงเป็นที่มาของชื่อ “ ชะนีเอี๊ยมดำ ” และ บนหัวดูคล้ายเป็นมงกุฎสีดำ ขนรอบจุดดำบนหัวเป็นลอนยาวสีขาวเช่นเดียวกับตัวผู้

ถิ่นอาศัย :
พบในประเทศลาวและกัมพูชาทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง สำหรับประเทศไทย พบทางทิศตะวันออก เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ตราด และพบที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ด้วย

อาหาร :กินผลไม้ ยอดไม้ ไข่นก และแมลงต่าง ๆ

พฤติกรรม :
อาศัยอยู่บนไม้ ใช้ชีวิตเกือบทั้งวันอยู่บนต้นไม้สูง เวลากินน้ำใช้หลังนิ้วแตะน้ำและยกดูด ร้องเวลาเช้าตรู่ยอดไม้

สถานภาพปัจจุบัน : สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์

ที่มา https://khaokheow.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=181&c_id=64

ม้าแคระก็มีหัวใจ เราแค่เปลี่ยนภาชนะใส่หญ้าให้เค้าคะ เป็นกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมแบบการเปลี่ยนรูปแบบการให้อาหาร และภาชนะบร...
07/06/2024

ม้าแคระก็มีหัวใจ เราแค่เปลี่ยนภาชนะใส่หญ้าให้เค้าคะ เป็นกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมแบบการเปลี่ยนรูปแบบการให้อาหาร และภาชนะบรรจุอาหารรูปแบบใหม่คะ แต่ม้าแคระก็ยังกินอาหารได้เหมือนเดิม อุปกรณ์ควันหลงจากวันวาเลนไทด์คะ เอามาใช้ประโยชน์ได้หลายครั้งกับสัตว์หลายชนิดเลย ^^ แต่อย่าลืมทำความสะอาดอุปกรณ์ใส่อาหารทุกครั้งที่นำกลับมาใช้ใหม่ด้วยนะคะ ^^

นกแก้วมาคอว์น้ำเงินอกเหลือง/Blue-and-yellow Macaw (Ara ararauna)วันนี้เราเสริมกิ่งไม้ขนาดต่างๆ ให้เป็นเฟอร์นิเจอร์ทางเลื...
06/06/2024

นกแก้วมาคอว์น้ำเงินอกเหลือง/Blue-and-yellow Macaw (Ara ararauna)

วันนี้เราเสริมกิ่งไม้ขนาดต่างๆ ให้เป็นเฟอร์นิเจอร์ทางเลือกให้นกแก้วมาคอว์น้ำเงินอกเหลืองคะ นอกจากจะใช้ไต่ เกาะเล่นแล้ว นกยังใช้ปากกัดแทะเปลือกไม้ใหม่ๆ เล่นได้อีกด้วย ถือเป็นกิจกรรมคลายเครียดอย่างหนึ่งของเค้านะคะ เพราะเค้าเป็นกลุ่มนกปากขอ ที่มีพฤติกรรมชอบกัดแทะชอบลับจงอยปากกับกิ่งไม้ใบไม้ หากมีเสริมให้เค้าอยู่เรื่อยๆ ก็ช่วยป้องกันความเครียดในกลุ่มนกแก้วได้ดีมากๆคะ

ข้อมูลทั่วไป

สิ่งที่น่าสนใจ :
นกแก้วมาคอว์น้ำเงินอกเหลืองเป็นนกแก้วขนาดใหญ่ซึ่งมีขนสีฟ้าเข้ม มีแถบสีเหลืองอมทองบริเวณลำตัว มีหางยาวมีปากขนาดใหญ่สีดำ มีแถบสีขาวบนใบหน้าแต่ละข้างของส่วนหัวสลับกับแถบขนาดเล็กสีดำ แต่ละตัวมี ลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันมาก และมีแถบบนลำคอสีฟ้า ลักษณะกว้างโดยมีลวดลายสีเหลืองภายในแต่ละข้างของลำคอ มีสีสันสดใส ส่วนหลังและปีกมีสีฟ้า ท้องมีสีเหลือง ส่วนบนของหัวมีสีเขียว ปลายหางมีสีเขียวใต้ปีกด้านใน และอกมีสีส้มอมเหลือง และปาก ลำคอ และขามีสีดำ ดวงตามีสีเหลือง และบริเวณใบหน้ามีขนสีขาวสลับกับแถบสีดำรอบดวงตา

ถิ่นอาศัย :
อเมริกาใต้ จาก เวเนซุเอล่า ไปจนถึงบราซิล โบลิเวีย โคลัมเบีย และปารากวัย แมกซิโก ปานามา ในอเมริกากลาง

อาหาร :
สัตว์ชนิดนี้ส่วนใหญ่มักจะกินเมล็ดพืช ถั่ว และผลไม้ต่างๆโดยใช้ปากที่แข็งแรงในการแกะเปลือกถั่ว และบดเมล็ดพืชในบางครั้งพวกมันมักจะกินดินเหนียวที่พบในชายฝั่งแม่น้ำเพื่อช่วยในการย่อยสารพิษจากเมล็ดพืชดิบที่กินเข้าไป

พฤติกรรม :
สัตว์ชนิดนี้ส่วนใหญ่มักจะพบในป่าไม้เขตร้อนภายในหนองน้ำ และในพื้นที่ชายฝั่งแม่น้ำ รังของนกชนิดนี้จะอยู่ในที่สูงเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกโจมตีจากผู้ล่า

สถานภาพปัจจุบัน :
สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN Red List 2010).สิ่งมีชีวิตที่จัดให้อยู่ในอนุสัญญาไซเตส ในบัญชีหมายเลข 2 (CITES 2010)

วัยเจริญพันธุ์ :
สัตว์ชนิดนี้มีการเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุได้ 3-4 ปี ฤดูผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นเมื่อนกชนิดนี้มีอายุได้ 1 ปีครึ่งและพวกมันจะผสมพันธุ์ทุกๆหนึ่งถึงสองปี และมีการสร้างรังบนต้นไม้สูงซึ่งส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในโพรงไม้ที่สัตว์ตัวอื่นสร้างขึ้น ตัวเมียมีการวางไข่ 2-3 ฟอง และมักจะฟักไข่ภายใน 24-28 วันโดยในช่วงแรกลูกนกจะยังมองไม่เห็นและไร้ขน แต่หลังจาก 10 วันผ่านไปลูกนกจะเริ่มมีขนงอกออกมา และภายในเวลา 3 เดือนลูกนกจะเริ่มมีปีกและสามารถบินได้

ขนาดและน้ำหนัก :
ความยาวของลำตัว 81 – 91.5 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 0.9-1.8 กิโลกรัม ความกว้างของปีกคือ 104 – 114 เซนติเมตร

ที่มา https://www.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=767

หมีควาย/Asiatic Black Bear (Ursus thibetanus)กิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมสัตว์วันนี้ เราสร้างป่าจำลองให้เค้าในส่วนเลี้ยงคะ  ส...
06/06/2024

หมีควาย/Asiatic Black Bear (Ursus thibetanus)

กิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมสัตว์วันนี้ เราสร้างป่าจำลองให้เค้าในส่วนเลี้ยงคะ สำหรับหมีควายที่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ส่วนเลี้ยงที่มีขนาดจำกัด การเสริมกิ่งไม้พุ่มไม้ใหญ่ๆให้เค้าแบบนี้ เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในคอกให้แปลกใหม่ ช่วยกระตุ้นพฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์ได้หลายด้านคะ เช่น พฤติกรรมการค้นหา ดมกลิ่น การสัมผัส(เล่น) เป็นต้น ช่วยลดความน่าเบื่อให้หมีควายได้มากเลยทีเดียว สัตว์ป่าเค้าชอบกิ่งไม้พุ่มไม้จากธรรมชาติแบบนี้คะ ^^

ข้อมูลทั่วไป

สิ่งที่น่าสนใจ :
จัดเป็นหมีที่มีขนาดใหญ่ จะแตกต่างจากหมีหมาตรงที่ขนาด และขนที่เรียบตรง ยาว สีดํา และมีหูยาวตัวเต็มวัยของหมีควายจะใหญ่เป็น 2 เท่าของหมีหมา อกมีแถบสีขาวอมเหลืองหม่น เป็นรูปตัว V แผ่ไปเกือบถึง รักแร ปลายจมูกค่อนข้างดำ เล็บเท้าโค้งยาวแหลม มักเดินด้วยส้นเท้า ปากยาว มีหางสั้น ปลายเท้ามีสีขาวหรือเหลือง ประสาทตาและหูไม่ค่อยไว แต่ประสาทรับกลิ่นดีมากเนื่องจากมีโพรงจมูกที่ยาว

ถิ่นอาศัย :
พบในเอเชียตะวันออกและใต้ จากญี่ปุ่น ไต้หวัน ไฮนาน ธิเบต เนปาล พม่า และไทย สำหรับประเทศไทยมีตามป่าดงดิบทั่วไป

อาหาร :
หมีควายเป็นสัตว์กินไม่เลือก เช่น ลูกไม้ ใบไม้อ่อน สัตว์เล็ก ๆ และแมลง ที่ชอบมากคือน้ำผึ้ง และตัวอ่อนของผึ้ง

พฤติกรรม :
หมีควายชอบอาศัยในป่าดิบที่มีอาหารสมบูรณ์ ปกติออกหากินกลางคืน ยกเว้นในช่วงที่ผลไม้ที่มันชอบกินนั้นกําลังสุกงอม อาจพบมันได้ในตอนกลางวัน มักพบตามพื้นที่สูงที่มีอากาศเย็น เช่นป่าบนภูเขาหินปูนกลางวันนอนตามโพรงไม้หรือถ้ำ ขึ้นต้นไม้เก่งอีกทั้งว่ายน้ำเก่งด้วย มีนิสัยดุ สามารถใช้สองขาหลังเดินได้ในขณะที่สองขาหลังยกสูงขึ้น ชอบอยู่โดดเดี่ยวหรืออยู่ด้วยกัน 2-3 ตัว ชอบการต่อสู้ ถ้าเห็นคนมักหลบหนีไปก่อน เมื่อได้รับบาดเจ็บหรือจวนตัวจะสู้จนถึงที่สุด

สถานภาพปัจจุบัน : สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์

อื่นๆ : สัตว์ป่าคุ้มครอง

ที่มา https://dusit.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=10&c_id=

ลิงแสม/Crab-eating Macaque (Macaca fascicularis)กิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมสัตว์วันนี้ พี่ๆซ่อนอาหารประจำวันในกระบอกไฟเบอร์ก...
06/06/2024

ลิงแสม/Crab-eating Macaque (Macaca fascicularis)
กิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมสัตว์วันนี้ พี่ๆซ่อนอาหารประจำวันในกระบอกไฟเบอร์กลาสคะ ให้เค้าได้ค้นหาและใช้เวลาในการหากินอาหารที่นานขึ้น ช่วยลดเวลาว่างระหว่างวันที่อาจจะทำให้เค้าเบื่อหน่ายจากการมีเวลาว่างมากเกินไปได้ด้วยคะ

ข้อมูลทั่วไป

สิ่งที่น่าสนใจ :
แตกต่างจากลิงชนิดอื่นตรงที่มีหางยาว โดยเท่ากับความยาวของหัวและลําตัว มีขนปกคลุมร่างกายสีเทาถึงน้ำตาลแดง ลําตัวด้านล่างมีสีจางกว่าลําตัวด้านบน ขนบนกระหม่อมชี้ไปทางด้านหลังจนมักเห็นเป็นจุกแหลม ตัวผู้มีหนวดทีแก้มและเคราเหมือนลิงวอก

ถิ่นอาศัย :
พบในทวีปเอเชียแถบอินโดจีน พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ชวา ฟิลิปปินส์ บอร์เนียว และในประเทศไทยพบอยู่ทั่วไป โดยมีชุกชุมตามป่าชายเลนและริมฝั่งทะเล

อาหาร :
ลิงแสม ชอบกินปู ปลา หอย แมลง และพืช ผักผลไม้ต่างๆ เป็นอาหาร

พฤติกรรม :
อาศัยอยู่บนต้นไม้มากกว่าพื้นดิน ลิงแสมชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง ขณะดำน้ำจะลืมตาจับเหยื่อ ออกหากินตอนกลางวัน

สถานภาพปัจจุบัน :
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

วัยเจริญพันธุ์ :
เมื่อมีอายุได้ราว 3-4 ปี จึงสามารถผสมพันธุ์ได้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกที่มีอายุน้อยจะเกาะติดแม่เสมอ

ที่มา https://khaokheow.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=97&c_id=

ลิงกระรอก/Squirrel Monkey(Common Squirrel Monkey) (Saimiri sciureus)วันนี้ได้สะพานไต่อันใหม่ เจ้าลิงกระรอกน้อยสำรวจใหญ่เ...
05/06/2024

ลิงกระรอก/Squirrel Monkey(Common Squirrel Monkey) (Saimiri sciureus)
วันนี้ได้สะพานไต่อันใหม่ เจ้าลิงกระรอกน้อยสำรวจใหญ่เลย เป็นเฟอร์นิเจอร์ทางเลือกของสัตว์ที่ทางสวนสัตว์เราคอยเพิ่มให้สัตว์ป่ากลุ่มไพรเมตอยู่เสมอ ให้เค้าได้มีทางเลือกในการแสดงพฤ๖ิกรรมที่หลากหลายตามธรรมชาติ เป็นการเพิ่มพื้นที่การใช้ประโยชน์ในส่วนเลี้ยงด้วยคะ

ข้อมูลทั่วไป
สิ่งที่น่าสนใจ :
เป็นลิงขนาดเล็กขนาดพอ ๆ กับตัวทามาริน (TAMARINS) หางมีความยาวมากกว่าลำตัว หางยาวประมาณ 16 นิ้ว หนังบริเวณรอบจมูกและปากเป็นวงสีดำ ใบหน้าเป็นสีชมพูหรือสีเนื้อ มองเผิน ๆ เหมือนกับสวมหน้ากากอยู่ ดวงตาสีน้ำตาลดำ ขนตามลำตัวยาวไม่มากนัก มีสีน้ำตาลแซมด้วยสีเทาเหมือนสีของกระรอก บริเวณศีรษะจะมีขนสีดำขึ้นแซมอยู่ทั่วไป ขนบริเวณใต้อกลงไปถึงใต้หางจะมีสีเหลืองนวล

ถิ่นอาศัย :
พบในทวีปอเมริกาใต้

อาหาร :
กินผลไม้ ดอกไม้บางชนิด ลูกนก จิ้งจก ไข่นก กบ และแมลงต่าง ๆ

พฤติกรรม :
ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่ง ๆ จะอยู่รวมกันประมาณ 20 - 30 ตัว ชอบกระโดดโลดเต้นไปมา เวลากระโดดมันจะกระโดดไปพร้อม ๆกันทั้ง 4 ขา เหมือนกับการกระโดดลอยตัวของกระรอก ดังนั้นเวลามองจากที่ไกล ๆ จะเหมือนกับกระรอกมาก การเคลื่อนที่โดยมากจะใช้วิธีกระโดดจากยอดไม้หนึ่งไปยังอีกยอดหนึ่ง ไม่ค่อยชอบเดินบนพื้นดิน เวลานอน ชอบนอนบนต้นไม้สูง ๆ นอนบนคาคบไม้ จะไม่ลงมานอนบนพื้นดินหรือในซอกโพรง มีนิสัยไม่ดุร้าย รักความสงบไม่ก้าวร้าว จึงไม่ค่อยมีเรื่องทะเลาะวิวาทกัน ทั้งกับฝูงของตน หรือกับฝูงอื่น สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ค่อนข้างดี จึงมักไม่ค่อยมีปัญหาในการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย

สถานภาพปัจจุบัน :สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

อายุเฉลี่ย :อายุยืนราว 20 ปี

วัยเจริญพันธุ์ :ลิงกระรอกผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ตั้งท้องนาน 6 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว

ขนาดและน้ำหนัก :
ลำตัววัดจากหัวจรดโคนหางยาวประมาณ 12 นิ้ว หรือ 1 ฟุต หางมีความยาวมากกว่าลำตัว หางยาวประมาณ 16 นิ้ว

ที่มา https://khonkaen.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=120&c_id=

สมเสร็จ/Malayan Tapir (Tapirus indicus) กิจกรรมนี้เป็นควันหลงวาเลนไทด์คะ เรานำหญ้าซึ่งเป็นอาหารประจำวันมาใส่ในตะแกรงรูปห...
05/06/2024

สมเสร็จ/Malayan Tapir (Tapirus indicus)

กิจกรรมนี้เป็นควันหลงวาเลนไทด์คะ เรานำหญ้าซึ่งเป็นอาหารประจำวันมาใส่ในตะแกรงรูปหัวใจ ถือเป็นกิจกรรมส่งเสริมพฤ๖ิกรรมแบบเปลี่ยนภาชนะบบรจุอาหารใหม่ ที่แปลก และสร้างความประหลาดใจให้กับสัตว์ได้ในวันเหงาๆ กินยากขึ้นนิด แต่อร่อยเหมือนเดิมคะ

ข้อมูลทั่วไป

สิ่งที่น่าสนใจ :
เป็นสัตว์กีบเดี่ยว มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดอยู่รวมกันในตัว กล่าวคือ รูปร่างคล้ายหมู กีบเท้าคล้ายแรด จมูกและริมฝีปากมนยาวยื่นออกมาคล้ายงวงช้าง หางสั้นคล้ายหางหมี หูเล็กสั้นกลม ตาเล็ก สมเสร็จเป็นสัตว์กีบคี่เช่นเดียวกับแรดและกระซู่แต่ไม่มีนอบริเวณจมูกตีนหลังของสมเสร็จมีกีบนิ้ว 3 นิ้วคล้ายแรดส่วนตีนหน้ามีกีบนิ้ว 4 นิ้วลักษณะกีบค่อนข้างเรียวแยกจากกันโดยมีร่องระหว่างนิ้วลึกร่องขารวมถึงหางและก้นเป็นสีดeบริเวณกลางลำตัวตั้งแต่หลังขาหน้าถึงก้นเป็นสีขาวหนังตามลำตัวของสมเสร็จไม่หนา และไม่มีรอยพับเหมือนแรดและกระซู่ ยกเว้นบริเวณคอจะมีแผ่นหนังหนามากไว้ช่วยป้องกันอันตรายจากศัตรู เช่น เสือโคร่งที่ชอบตะปบเหยื่อบริเวณคอ สมเสร็จเอเชียมีขนาดใหญ่กว่าสมเสร็จพันธุ์อื่นๆ และตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้

ถิ่นอาศัย :
พบในเอเชียตั้งแต่แถบเทือกเขาตะนาวศรีของไทย ลงไปจนถึงคาบสมุทรมลายา สุมาตรา

อาหาร :
สมเสร็จกินใบไม้ ต้นอ่อนของพืช ผลไม้ พืชน้ำ และหญ้า เป็นอาหาร

พฤติกรรม :
ปกติชอบอยู่ลำพังตัวเดียวหรืออยู่กับลูก จะอยู่เป็นคู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน รักสงบ อาศัยตามป่าดงดิบหรือป่าทึบ ใกล้แหล่งน้ำลำธาร ชอบนอนแช่น้ำปลักโคลน ดำน้ำเก่งมาก จมูกไว เนื่องจากมีตาเล็กการมองเห็นไม่ดีนัก การดำรงชีวิตจะใช้จมูกในการดมกลิ่นมากกว่า ส่งเสียงร้องเหมือนนกหวีดเมื่อภัยมา การทำกิจกรรมของสมเสร็จจึงใช้เวลากลางคืนมากกว่ากลางวันโดยมีเวลาการทำกิจกรรมอยู่ในระหว่าง 18.00 น. จนถึง 05.00 น. ในตอนเช้ามืด เป็นสัตว์ที่ถ่ายมูลซ้ำที่เดิมโดยพบมากที่สุดบริเวณสันเขา มีการติดต่อสื่อสารโดยการขูดดินซึ่งมักจะทำในบริเวณใกล้ต้นไม้ใหญ่การขูดดินนี้จะพบมากบริเวณสันเขาและลาดเขาในฤดูฝน เนื่องจากในฤดูฝนการสื่อสารโดยใช้กลิ่นทำได้ไม่ค่อยได้ผลจึงทำให้มีการทำสัญลักษณ์เพิ่มมากขึ้น

สถานภาพปัจจุบัน :สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์

ที่มา https://www.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=19&c_id=

ชะนีมงกุฎ (ชะนีหัวมงกุฎ)/Pileated Gibbon (Hylobates pileatus)ตัวนี้เป็นชะนีมงกุฎเพศเมียนะคะ จะสีขาวนวลคะ พี่ๆทีมงานเอนริ...
05/06/2024

ชะนีมงกุฎ (ชะนีหัวมงกุฎ)/Pileated Gibbon (Hylobates pileatus)

ตัวนี้เป็นชะนีมงกุฎเพศเมียนะคะ จะสีขาวนวลคะ พี่ๆทีมงานเอนริชเมนซ่อนอาหารประจำวันในกระบอกไฟเบอร์กลาสที่ภายในใส่ใบไม้หลากชนิดเอาไว้ให้เค้าค้นหาอาหาร เป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นพฤติกรรมการค้นหา ได้ใช้ทักษะการหาอาหารในรูปแบบต่างๆด้วยคะ ใช้ฆ่าเวลาที่แสนจะหน้าเบื่อของสัตว์ที่อยู่ในส่วนเลี้ยงได้ดีมากๆ ปกติจะกินอาหารในถาดปกติ ใช้เวลากินไม่นาน ไม่น่าตื่นเต้นด้วย คร่าวนี้กินยากขึ้นมาหน่อยคะ แก้เบื่อให้เค้ากัน ^^

ข้อมูลทั่วไป

สิ่งที่น่าสนใจ :
ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีขาวนวล เมื่อเกิดใหม่สีขาวนวลเหมือนกัน พออายุ 4 - 6 เดือน ขนที่หน้าอกจะเปลี่ยนสีเป็นสีดำเกิดเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมลงที่ท้อง และบนหัวขนเปลี่ยนเป็นสีดำ เกิดขึ้นตรงกลางหัวเป็นรูปทรงกลม พออายุประมาณ 3 - 4 ปี ตัวผู้ขนจะเปลี่ยนเป็นสีดำทั่วตัว ยกเว้นคิ้ว ถุงอัณฑะ หลังมือหลังเท้าและวงรอบใบหน้า ซึ่งขนจะเป็นสีขาวดังเดิม รอบๆ จุดดำบนหัวจะมีขนสีขาวยาวเป็นลอนแซมขึ้นมาเห็นเด่นชัด ส่วนตัวเมียขนทั่วตัวไม่เปลี่ยนสีดำ สีขนจะคงเดิม ที่หน้าอกและบนหัวจะมีสีดำ มองดูที่หน้าอกคล้ายผูกเอี๊ยมดำจึงเป็นที่มาของชื่อ “ ชะนีเอี๊ยมดำ ” และ บนหัวดูคล้ายเป็นมงกุฎสีดำ ขนรอบจุดดำบนหัวเป็นลอนยาวสีขาวเช่นเดียวกับตัวผู้

ถิ่นอาศัย :
พบในประเทศลาวและกัมพูชาทางด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำโขง สำหรับประเทศไทย พบทางทิศตะวันออก เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ตราด และพบที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ด้วย

อาหาร :
กินผลไม้ ยอดไม้ ไข่นก และแมลงต่าง ๆ

พฤติกรรม :
อาศัยอยู่บนไม้ ใช้ชีวิตเกือบทั้งวันอยู่บนต้นไม้สูง เวลากินน้ำใช้หลังนิ้วแตะน้ำและยกดูด ร้องเวลาเช้าตรู่ยอดไม้

สถานภาพปัจจุบัน : สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์

ที่มา : https://khaokheow.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=181&c_id=

เมียร์แคท/Slender-tailed Meerkat(Suricate) (Suricata suricatta) พฤติกรรมเด่นๆของเมียแคทคือ เค้ามักใช้ขาหน้าในการขุดดินทร...
04/06/2024

เมียร์แคท/Slender-tailed Meerkat(Suricate) (Suricata suricatta)

พฤติกรรมเด่นๆของเมียแคทคือ เค้ามักใช้ขาหน้าในการขุดดินทราย ใช้ขาหน้าเป็นอาวุธในการค้นหาอาหาร เราจึงเสริมปลวกทั้งหัว ซึ่งหาได้ตามป่าธรรมชาติของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวคะ เป็นการทำกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมสัตว์ที่ส่งเสริมด้านอาหารตามธรรมชาติของสัตว์ และกระตุ้นพฤติกรรมการหาอาหารตามธรรมชาตินั่นเอง ^^

ข้อมูลทั่วไป
เมียร์แคทหนึ่งในสมาชิกสัตว์ป่าของ ทวีปแอฟริกา มีลักษณะ หัวสั้น หน้ากว้าง จะมีจมูกยื่นยาวเพื่อประโยชน์ในการดมกลิ่น รอบขอบตาเป็นวงแหวนสีดำ มีนิ้วเท้าสี่นิ้ว มีขนสีน้ำตาลทองสลับดำขวางลำตัว หางยาวและส่วนปลายมีสีดำ เป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกับพังพอน และชะมด

ถิ่นอาศัย :
พบในประเทศแอฟริกาใต้ ประเทศบอตสวานา ประเทศนามิเบีย และทางตะวันตกเฉียงใต้สุดของประเทศแองโกลา

ที่มา : https://dusit.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=140&c_id=
อาหาร :
เมียร์แคทกินแมลงปีกแข็งและ หนอนผีเสื้อ รวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังเล็กๆ

พฤติกรรม :
ไม่ชอบอยู่กับที่ ชอบยืนชะเง้อคอ เพื่อตรวจดูและดมกลิ่นในบริเวณรอบๆ จะออกมารับแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเช้าเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น จะอาศัยรวมอยู่กันเป็นกลุ่ม บางกลุ่มอาจมีถึง 30 ตัว บางครั้งอาจพบอาศัยอยู่กับพวกกระรอกและเมียร์แคทแดง

สถานภาพปัจจุบัน :
สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

วัยเจริญพันธุ์ :
เมียร์แคทจะขยายพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี จะออกลูกตามโพรง, ถ้ำ ช่วงฤดูผสมพันธุ์คือเดือน ตุลาคม-มีนาคม ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 11 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว

ที่อยู่

235
Bang Phra
20110

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 16:30
อังคาร 08:30 - 16:30
พุธ 08:30 - 16:30
พฤหัสบดี 08:30 - 16:30
ศุกร์ 08:30 - 16:30

เบอร์โทรศัพท์

+6638318444

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Animal Enrichment Khao Kheow Open Zooผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Animal Enrichment Khao Kheow Open Zoo:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


Bang Phra ร้านค้าสัตว์เลี้ยงและบริการสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด