หมอแก้วรักษาสัตว์

หมอแก้วรักษาสัตว์ เปิดเวลา 8.00 - 19.00
(6)

เคสฉุกเฉิน......
24/11/2023

เคสฉุกเฉิน......

เจ้าเหมียวเพศเมียลายสลิดส้ม หมอเจอที่7-11ข้างออมสินบางระจันหากท่านใดเปงจข.มารับน้องได้คับ. หมอได้รับมาดูแลไว้
24/11/2023

เจ้าเหมียวเพศเมียลายสลิดส้ม หมอเจอที่7-11ข้างออมสินบางระจัน
หากท่านใดเปงจข.มารับน้องได้คับ. หมอได้รับมาดูแลไว้

โกรธกันทุกทีเวลาฉีดวัคซีนข้าวปุ้นๆๆๆๆๆแมวกลมๆๆๆๆ
20/11/2023

โกรธกันทุกทีเวลาฉีดวัคซีน
ข้าวปุ้นๆๆๆๆๆแมวกลมๆๆๆๆ

โชว์หล่อ.....ตัดไหมแย้วคับแผลแห้งสวยงามคับ
20/11/2023

โชว์หล่อ.....ตัดไหมแย้วคับ
แผลแห้งสวยงามคับ

รบกวนฝากดูน้องหมาpepsi คับน้องเป็นพันธุ์ไทยผสมสีขาวลายจุดน้ำตาลดำ น้องหายออกจากบ้านเมื่อวานช่วงเย็นเนื่องมาจากกลัวเสียงด...
19/11/2023

รบกวนฝากดูน้องหมาpepsi คับน้องเป็นพันธุ์ไทยผสมสีขาวลายจุดน้ำตาลดำ น้องหายออกจากบ้านเมื่อวานช่วงเย็นเนื่องมาจากกลัวเสียงดังจากพรุทำให้เตลิดออกจากบ้านแถวดงยางอินวกูลสอบถามน้องpepsiไปแถววัดดาวเรือง
ท่านใดพบเห็นน้องสามารถโทรแจ้งคุณครูส้ม092-2548135 ขอบคุณคับ

16/11/2023

What causes these lesions in cats? Take a look at this image and test your knowledge now with our quiz!

15/11/2023
15/11/2023
14/11/2023

คอร์น่ารัก......คอร์กี้
น่ารัก.....ทักมาได้นะคับ

วันนี้เปิดช่วงเย็นคับ16:00-19:00น.คับต้าวอ้วน....กินเก่งจัง16วัน
14/11/2023

วันนี้เปิดช่วงเย็นคับ
16:00-19:00น.คับ
ต้าวอ้วน....กินเก่งจัง16วัน

13/11/2023

เมื่อสัตว์มีอายุมากขึ้น ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงหรือพบความผิดปกติเกี่ยวกับตาได้มากขึ้น ซึ่งภาวะที่พบอาจทำให้สัตว์มีอาการไม่สบายตาเพียงเล็กน้อยหรืออาจส่งผลต่อการมองเห็นตามมาได้ โดยสัตว์สูงวัยตามนิยามของ 2019 AAHA Canine Life Stage Guidelines คือสุนัขที่มีอายุอยู่ในช่วง 25% สุดท้ายของอายุขัยเฉลี่ย และสำหรับแมวสูงวัย โดยอ้างอิงจาก 2021 AAHA/AAFP Feline Life Stage Guidelines คือแมวที่มีอายุมากกว่า 10 ปีเป็นต้นไป
แม้ว่าสัตว์จะมีอายุมากขึ้น แต่สัตว์สมควรที่จะได้รับการดูแลและมีคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้วสัตวแพทย์จึงควรวินิจฉัยหาสาเหตุและจัดการกับภาวะโรคอย่างเหมาะสม โดยในบทความนี้จะแบ่งโรคตาที่พบได้บ่อยในสัตว์สูงวัยตามแต่ละโครงสร้างต่าง ๆ ของตา ดังนี้
โรคของเบ้าตา (Orbital Changes)
Orbital neoplasia
คือ เนื้องอกที่เนื้อเยื่อรอบลูกตาหรือที่แพร่กระจายมาจากอวัยวะรอบเบ้าตา มักพบในสัตว์ที่มีอายุมากกว่า 9.5-10 ปี โดยส่วนใหญ่พบว่าเป็นมะเร็ง เช่น lymphosarcoma, adenocarcinoma, meningioma เป็นต้น ซึ่งมักมีการดำเนินของโรคไปอย่างช้า ๆ ลักษณะอาการที่พบ ได้แก่ ตาโปน (exophthalmos) หรือลูกตาจม (enophthalmos) ก็ได้ ลูกตาอาจเบี่ยงไปจากตำแหน่งปกติหรือตาเหล่ (strabismus) หนังตาที่สามโผล่ยื่น (third eyelid elevation) การกลอกตาทำได้จำกัด หรือบางกรณีอาจพบอาการตาบอดได้ การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจร่างกายและประเมินโครงสร้างรอบเบ้าตาหรือภายในช่องปาก ร่วมกับการใช้รังสีวินิจฉัยและเก็บตัวอย่างส่งตรวจเซลล์หรือชิ้นเนื้อ การรักษาทำได้โดยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ออกทั้งหมดหรืออาจต้องเอาลูกตาออก รวมถึงอาจใช้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) หรือรังสีรักษา (radiotherapy) ร่วมในการรักษาด้วย
Horner’s syndrome
เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติของใบหน้าและดวงตาที่มักพบในสัตว์โตหรืออายุมาก เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic) โดยมีสาเหตุของโรคได้หลายอย่าง เช่น เนื้องอกในสมองหรือไขสันหลัง โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม อุบัติเหตุบริเวณหน้าอกรวมถึงมีการฉีกขาดของ brachial plexus การบาดเจ็บบริเวณคอจากการโดนกัดหรือสายจูงรัดคอ ช่องหูอักเสบ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้เองในกลุ่มสายพันธุ์ Golden Retriever เป็นต้น โดยจะพบลักษณะลูกตาจม หนังตาบนตกลง (ptosis) หนังตาที่สามโผล่ยื่น และม่านตาหด (miosis) การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจความผิดปกติของร่างกายเพื่อหาสาเหตุของโรคต่าง ๆ ร่วมกับทดสอบด้วยการใช้ 10% phenylephrine หยอดตา และดูการตอบสนองของม่านตา โดยจะพบว่าม่านตาขยายมากขึ้นและหนังตาที่สามโผล่ยื่นลดลง การรักษาทำได้โดยการรักษาสาเหตุหลักของโรค ร่วมกับหยอดตาด้วย phenylephrine เพื่อช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น
โรคเกี่ยวกับหนังตา (Eyelid Changes)
Eyelid neoplasia
คือ เนื้องอกจากส่วนของผิวหนังบริเวณหนังตาหรือเปลือกตา ในสุนัขมักพบเป็นเนื้องอกชนิด meibomian adenoma และ melanoma ส่วนในแมวมักพบเป็นมะเร็งชนิด squamous cell carcinoma ซึ่งรักษาได้โดยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออก หรือรักษาร่วมกับการจี้เย็น (cryotherapy) หรืออาจต้องตัดแต่งหนังตา (blepharoplasty) ร่วมด้วยกรณีเนื้องอกมีขนาดใหญ่ โดยการตัดสินใจผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกนั้นจะขึ้นกับขนาด ความไวในการโต ตำแหน่ง การระคายเคืองต่อดวงตา การขัดขวางการกะพริบตา และลักษณะของเนื้องอกที่ดูคล้ายมะเร็ง เป็นต้น
ความผิดปกติของระบบการสร้างและการระบายน้ำตา (Changes in Tear Film and Distribution)
Keratoconjunctivitis sicca (KCS)
คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสร้างน้ำตาน้อยกว่าปกติ โดยเมื่อวัดระดับน้ำตา (Schirmer’s tear teat : STT) จะพบว่ามีค่าน้อยกว่า 15 มิลลิเมตรต่อนาที ซึ่งทำให้เกิดอาการตาแห้งและอักเสบตามมา จะพบลักษณะขี้ตาข้นเหนียว (mucoid discharge) เยื่อบุตาแดง (conjunctival hyperemia) การมีเส้นเลือดเข้ามาในกระจกตา (corneal vascularization) และการเกิดเม็ดสีที่กระจกตา (corneal pigmentation) รวมไปถึงอาจพบการติดเชื้อแบคทีเรียและแผลหลุมกระจกตาแทรกซ้อนตามมาได้ สาเหตุอาจเกิดได้จากโรค immune-mediated adenitis, neurogenic KCS, เนื้องอกที่ต่อมสร้างน้ำตาหรือหนังตาที่สาม หรือโรคทางระบบ เช่น diabetes mellitus, Cushing’s disease, hypothyroidism เป็นต้น แนวทางการรักษาสามารถทำได้โดยการเช็ดทำความสะอาดคราบน้ำตาที่สะสมออกร่วมกับการใช้น้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นของกระจกตา รวมถึงยาที่ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำตา เช่น ยาหยอดตา cyclosporin หรือ tacrolimus นอกจากนี้บางรายอาจใช้วิธีการผ่าตัด parotid duct transposition หรือการนำ stem cell มาใช้เป็นทางเลือกในการรักษาร่วมด้วยได้
โรคของกระจกตา (Corneal Changes)
Indolent ulceration
หรือ Spontaneous chronic corneal epithelial defects (SCCED) เป็นการเกิดแผลหลุมของกระจกตาเรื้อรัง จากการไม่เชื่อมติดกันของเซลล์ชั้น epithelium กับชั้น stroma ซึ่งมักไม่มีการติดเชื้อร่วม พบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ Boxer, Corgi หรือสุนัขอายุ 7-10 ปี โดยจะพบลักษณะขอบของแผลกระจกตาชั้นนอกที่หลวม สัตว์ป่วยแสดงอาการเจ็บตา และเมื่อย้อมตรวจด้วย fluorescein จะพบว่าสีติดแทรกไปด้านใต้ของขอบแผล การรักษาทำได้โดยการลอกชั้นเยื่อบุผิวกระจกตาที่หลวมออก (corneal debridement) หรือร่วมกับการทำ grid keratotomy, diamond burr และหยอดตาด้วยยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
Corneal dystrophy/deposition
คือ การสะสมของไขมันที่พบเป็นหลัก คือ คอเลสเตอรอล (cholesterol) และแร่ธาตุ คือ แคลเซียม (calcium) บนกระจกตา ซึ่งพบได้บ่อยในสุนัขอายุ 13-14 ปี โดยจะพบเห็นลักษณะประกายสีขาวเงินแวววาว เป็นผลึกหรือเป็นกระจุกสีครีม อยู่ที่ระหว่างชั้น epithelium และ stroma ซึ่งสาเหตุอาจเกิดตามมาจากการอักเสบเรื้อรังของกระจกตา การใช้ยาหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์ (steroid lipid keratopathy) หรือจากความไม่สมดุลของไขมันหรือแร่ธาตุในร่างกาย (systemic lipid/mineral imbalances) ในกรณีที่มีการดําเนินของโรคไปค่อนข้างช้าและคงที่ มักไม่ค่อยส่งผลต่อการมองเห็น ซึ่งอาจไม่จําเป็นต้องทำการรักษา หรือถ้าบริเวณที่เกิดการสะสมมีการลอกหลุดออก อาจทำให้เกิดแผลหลุมตามมาได้ การรักษาทำได้โดยใช้ EDTA หยอดตา ลอกชั้นเยื่อบุผิวกระจกตาออก (debridement) หรือการผ่าตัด keratectomy
Endothelial dystrophy
คือ การเสื่อมของชั้น endothelium ของกระจกตา มักพบในสุนัขอายุประมาณ 12 ปี โดยจำนวนเซลล์ที่ลดลงทำให้ความสามารถในการดึงน้ำออกจากกระจกตาทำได้ลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะกระจกตาบวมน้ำ (corneal edema) ตามมา จะเห็นกระจกตาเปลี่ยนเป็นสีฟ้าขาว มีลวดลายคล้ายกับหินลูกเต๋าหรือลวดตาข่าย มักพบที่ตาทั้งสองข้าง การรักษาทำได้โดยการใช้ hypertonic sodium chloride (NaCl) ป้ายตาอย่างน้อย 4-6 ครั้งต่อวัน หรือถ้าหากมีอาการรุนแรงมากจนพบลักษณะของถุงนํ้า (acute bullous keratopathy) อาจใช้วิธีการผ่าตัดด้วย conjunctival graft หรือ third eyelid flap มาช่วยปิดไว้
Corneal hemorrhage
คือ การพบเลือดออกภายในชั้น stroma ของกระจกตา จากปัญหาเส้นเลือดที่เปราะแตกง่ายในสุนัขอายุมาก แต่พบได้ไม่บ่อยนัก ส่วนใหญ่มักเป็นผลตามมาจากโรคทางระบบมากกว่า เช่น diabetes mellitus, hypothyroidism, hyperadrenocorticism หรือ hypertension เป็นต้น ปกติแล้วร่างกายสามารถดูดซึมกลับได้เองในระยะเวลาเป็นสัปดาห์ถึงเดือน ให้ทำการรักษาสาเหตุหลักของโรค หรืออาจใช้ยาหยอดตากลุ่มสเตียรอยด์ร่วมด้วยได้
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทความเท่านั้น อ่านบทความฉบับเต็มพร้อมภาพประกอบได้ที่ : https://readvpn.com/article/detail/2096
บทความโดย : น.สพ.สุธาวี สุขสิน
สำหรับคุณหมอสัตวแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก
ตอนนี้ทาง VPN มีโปรโมชั่นน่าสนใจอยู่นะ
💙 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,500 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💙 อ่านจากเล่ม เน้นสะสม -
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/register
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line :

แมวญี่ปุ่นจิงๆ......เจ้าซูซิไง5555555555555555555
12/11/2023

แมวญี่ปุ่นจิงๆ......เจ้าซูซิไง
5555555555555555555

วันนี้ครบ7วันแล้วนะคับทักมาได้นะ....สบายๆเบาๆ
12/11/2023

วันนี้ครบ7วันแล้วนะคับ
ทักมาได้นะ....สบายๆเบาๆ

สาธุ.......ขอบคุณลูกค้าที่คลีนิคทุกๆท่านนะคับขอให้รวยๆเฮงๆสุขภาพแข็งแรงคับ
12/11/2023

สาธุ.......ขอบคุณลูกค้าที่คลีนิคทุกๆท่านนะคับ
ขอให้รวยๆเฮงๆสุขภาพแข็งแรงคับ

11/11/2023

หลายคนในที่นี้อาจเคยมีประสบการณ์ตรง หรือไม่ก็เห็นเรื่องราวทางอ้อมว่า คุณแม่ คุณพ่อ หรือคนรอบตัว ที่ยืนย....

11/11/2023

“แมวอ้วน” น่ารัก แต่ส่งผลเสียต่อร่างกายเจ้าเหมียวอย่างยิ่ง
แมวอ้วน อาจดูน่ารัก แต่นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังทำให้แมวย่อยอาหารได้น้อยลงและจุลินทรีย์ในลำไส้เปลี่ยนไปได้ ซึ่งซ้ำเติมปัญหามากยิ่งขี้น ทาสแมวทั้งหลายต้องระวัง
ในบรรดาแมวบ้าน โรคอ้วนคือโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ในสหรัฐอเมริกา มีแมวที่น้ำหนักเกินมากกว่าครึ่งของแมวทั้งหมด
ปัญหานี้นำไปสู่โรคเบาหวานและการอักเสบเรื้อรัง อีกทั้งยังมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาอีกมาก
แต่งานวิจัยล่าสุดเผยให้เห็นว่ายังมีผลกระทบเพิ่มเติมขึ้นอีกนั่นคือในลำไส้และระบบย่อยอาหารของแมว
“ในขณะที่การศึกษาจำนวนมากได้ตรวจสอบการลดน้ำหนักของแมว แต่ก็ยังไม่ค่อยมีใครสนใจกระบวนการที่ตรงกันข้าม ซึ่งก็มีความสำคัญเช่นกัน” เคลลี สเวนสัน (Kelly Swanson) นักวิทยาศาสตร์ด้านโภชนาการ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์กล่าว
“ในการศึกษานี้ เราต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิซึม และระบบทางเดินอาหารที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการกินมากเกินไปและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในแมว” สเวนสันเสริม ทีมวิจัยจึงได้ศึกษาแมวตัวเมียเต็มวัย 11 ตัวที่ทำหมันแล้วเป็นเวลา 20 สัปดาห์
โดยใน 2 สัปดาห์แรกพวกเขาให้อาหารแมวเป็นเวลาและปริมาณจำกัด ซึ่งมีการวัดขนาดร่างกาย ตัวอย่างอุจจาระและเลือดอยู่เป็นประจำ
รวมถึงข้อมูลการขยับตัวที่บันทึกผ่านจอภาพที่ติดอยู่ปลอกคอของแมว เพื่อเอาไว้เปรียบเทียบกับสัปดาห์ต่อ ๆ ไป
โดยค่านี้เรียกว่าคะแนนสภาพร่างกาย (BCS) ซึ่งคล้ายกับค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ในมนุษย์
หลังเสร็จสิ้นสองอาทิตย์แรก ทีมวิจัยได้เปลี่ยนวิธีการให้อาหารเป็นแบบไม่จำกัด หรือก็คือบุฟเฟ่ต์ต่อไปอีก 18 สัปดาห์ เจ้าแมวจะได้กินตามเท่าที่พวกมันต้องการและบ่อยเท่าไหร่ก็ได้
ผลลัพธ์เป็นไปอย่างที่คาดค่า BCS ในตอนเริ่มต้นอยู่ที่ 5.41 และพุ่งขึ้นไปที่ 8.27 หลังเสร็จสิ้นงานวิจัย
โดยเฉลี่ยแล้ว แมวในการทดลองมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จากตอนแรก และมันทำให้พวกเขาได้พบการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยถูกรายงานมาก่อน
คือเมื่อแมวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ระดับไขมันก็เพิ่มขึ้น แต่กลับทำให้ความสามารถในการย่อยสารอาหารลดลง
ซึ่งหมายความว่าแมวต้องกินเพิ่มขึ้นอีกเพื่อให้ได้สารอาหารเท่าเดิม กลายเป็นวัฎจักรที่ซ้ำเติมปัญหาให้รุนแรง
“เราพบว่าเมื่อแมวกินอาหารมากขึ้นและน้ำหนักเพิ่มขึ้น ระยะเวลาในเดินทางของอาหารก็ลดลง และประสิทธิาพในการย่อยอาหารก็ลดลงด้วย” สเวนสันกล่าว
“เมื่อปริมาณอาหาร (ที่กินเข้าไป) เพิ่มขึ้น มันจะผ่านระบบย่อยอาหารเร็วขึ้น และสารอาหารจะถูกสกัดน้อยลงในกระบวนการนี้”
ไม่เพียงเท่านั้น มันยังไปเปลี่ยนองค์ประกอบของจุลินทรีย์ในลำไส้แมวด้วยเช่นกัน จากการตรวจสอบค่า pH ของอุจจาระแมว ทีมวิจัยพบว่ามีความเป็นกรดมากกว่าเดิม
สำหรับมนุษย์แล้วค่า pH ที่ต่ำ (มีความเป็นกรด) บ่งชี้ว่ามีการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตและไขมันได้ไม่ดี นั่นหมายความแมวก็ดูดซึมได้ไม่ดีเช่นเดียวกัน
“การเปลี่ยนแปลงระยะเวลาในการขนส่งระบบทางเดินอาหารเป็นการค้นพบใหม่และเป็นเหตุผลที่เป็นไปได้สำหรับการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในอุจจาระ" สเวนสันบอก
และพวกเขายังพบอีกว่าแมวที่อ้วนขึ้นส่วนใหญ่มีการขยับตัวน้อยลง และอาจทำให้การออกกำลังกายลงด้วยเช่นกัน
แต่สิ่งนี้อาจแตกต่างกันไปตามแมวแต่ละตัว สภาพแวดล้อม และจำนวนเจ้าของที่มีปฏิสัมพันธ์กับแมว
การทำความเข้าใจเมตาบอลิซึมและระบบทางเดินอาหารที่เปลี่ยนไปในโรคอ้วนของแมว จะช่วยป้องกันและรักษาโรคนี้ได้ดีขึ้น
ทีมงานกล่าวว่าต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมอย่างใกล้ชิดเพื่อเข้าใจสุขภาพของแมวทั้งหมด และไม่ต้องห่วง แมวทั้ง 11 ตัวในงานวิจัยได้รับการลดน้ำหนักให้กลับมาเท่าเดิมอย่างที่มันเคยเป็น
ทีมวิจัยแนะนำว่าเจ้าของควรสร้างปฏิสัมพันธ์ต่าง ๆ กับแมวเพื่อให้แมวได้ออกกำลังกาย รวมถึงการจำกัดอาหาร
แม้แมวดูเหมือนจะไม่ชอบให้ใครมาบอกว่าต้องทำอะไร แต่แมวที่มีสุขภาพดีก็จะได้ใช้ชีวิตเต็มที่อย่างที่พวกเขาต้องการได้มากกว่า
สืบค้นและเรียบเรียง วิทิต บรมพิชัยชาติกุล
#แมวอ้วน #แมวน่ารัก #ทาสแมว #เลี้ยงแมว

11/11/2023

Learn to recognize the varied appearances and locations of eosinophilic granuloma complex lesions in cats with this image gallery.

11/11/2023

น้องแมวดื่มน้ำน้อย จะช่วยกระตุ้นให้น้องดื่มน้ำมากขึ้นได้อย่างไร

วันนี้ บ้านและสวน Pets ได้พูดคุยกับคุณหมอก้อย - สพ.ญ. ปิยวรรณ ภู่ระหงษ์ จากโรงพยาบาลแมว PURRfect Cat Hospital เกี่ยวกับความสำคัญ และการกระตุ้นน้องแมวให้ดื่มน้ำมากขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดีของน้องนะคะ

คุณหมอแนะนำว่าอย่างไรบ้าง ไปติดตามอ่านบทความในคอมเมนต์ได้เลย ค่ะ

11/11/2023

บ้านเรามีน้องหมานะ.....กำลังกินกะนอน
ลิมตาแย้วนะมอลลี่

10/11/2023

เด็กชายดุ๊กดิ๊ก......น้องหมาpoodle
วันนี้ผ่าตัดทำหมันคับ.
น้องรู้สึกตัวแล้วคับหมอให้พักฟื้นดูอาการก่อนคับ
ขอกำลังใจให้น้องdookdikคร๊าบบบบบบบบบบบ

09/11/2023

Clinicians should be able to determine the likelihood of metastatic disease based on the radiographic or sonographic appearance of lesions, as the presence of metastasis may affect the diagnostic plan, prognosis, and course of treatment. This quiz addresses the characteristics of metastatic lesions....

น้องสุดสวยจิงๆItemตัวช่วยเจ้าแฮร์รี่คับ
09/11/2023

น้องสุดสวยจิงๆ
Itemตัวช่วยเจ้าแฮร์รี่คับ

หล่อมาก.....เจ้าดุ๊กดิ๊กทำความสะอาดแผลดีมากคับ
09/11/2023

หล่อมาก.....เจ้าดุ๊กดิ๊ก
ทำความสะอาดแผลดีมากคับ

08/11/2023

What is this object from a f***l examination in a dog? Take a look at this image and test your knowledge now with our quiz!

คออะไร.....น่าย้ากกกกกกที่ซู้ดดดดดดดCorgi คอร์กี้นี้เอง.....สายดุ๊กดิ๊กdookdikอย่าพลาดนะมิเช่นนั้นว้าวุ่นไปหญ่ายยยยสนใจท...
08/11/2023

คออะไร.....น่าย้ากกกกกกที่ซู้ดดดดดดด
Corgi คอร์กี้นี้เอง.....
สายดุ๊กดิ๊กdookdikอย่าพลาดนะมิเช่นนั้นว้าวุ่นไปหญ่ายยยย
สนใจทีกมาไก้นะคับบบบบ😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍😍

Jjay
07/11/2023

Jjay

ดู ติดตาม และค้นพบเนื้อหาที่กำลังติดเทรนด์เพิ่มเติม

คุงยิ้ม......มีไข้ซึม...ตอนนี้หมอรับตัวมาคลีนิคแล้วคับ
06/11/2023

คุงยิ้ม......
มีไข้ซึม...ตอนนี้หมอรับตัวมาคลีนิคแล้วคับ

ไข่บวมอักเสบ.....เจ้าdooddd
06/11/2023

ไข่บวมอักเสบ.....
เจ้าdooddd

ตะเอ๋
04/11/2023

ตะเอ๋

มาใหม่กับลูกๆสวัสดีชาวโลก
04/11/2023

มาใหม่กับลูกๆ
สวัสดีชาวโลก

คุงแม่มือใหม่😍
03/11/2023

คุงแม่มือใหม่😍

คุงแม่หลังผ่าคลอด......
30/10/2023

คุงแม่หลังผ่าคลอด......

Cute😍
29/10/2023

Cute😍

28/10/2023

Review treatment options for a 6-year-old spayed miniature poodle with primary immune-mediated thrombocytopenia.

28/10/2023

สำหรับการรับมือกับปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในสุนัขและแมว สิ่งที่สัตวแพทย์ต้องเรียนรู้และเข้าใจ คือความรู้พื้นฐานด้านกายวิภาค สรีรวิทยา ระบบภูมิคุ้มกัน การทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะ เข้าใจข้อดีและข้อเสียของเครื่องมือการวินิจฉัยอย่างถูกวิธี รวมถึงการเลือกวิธีการรักษาบนพื้นฐานที่จะไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเกิดการบาดเจ็บให้น้อยที่สุดต่อโครงสร้างเนื้อเยื่อทางเดินปัสสาวะ และการเลือกแผนการรักษาที่เหมาะสมโดยมองภาพระยะยาวหลังจากเลือกวิธีนั้น ๆ
กายวิภาคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
ประกอบด้วย กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) ท่อปัสสาวะ (urethra) และส่วนท้ายของท่อไต (ureter) โดยการทำงานของทั้งสามส่วนนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกล้ามเนื้อ Detrusor muscle วางตัวอยู่ที่ส่วนของกระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่ช่วยในการขับปัสสาวะออก, smooth muscle sphincter (internal urethral sphincter: IUS) วางตัวอยู่บริเวณคอกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะส่วนต้น, striated urethral sphincter (external urethral sphincter: EUS) วางตัวอยู่ส่วนท้ายของท่อปัสสาวะ
ระบบประสาทที่สำคัญที่ทำการควบคุมการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
ประกอบด้วยระบบประสาท 3 ส่วน คือ 1. thoracolumbar sympathetic (เกิดจากส่วน spinal segments L1–L4 ในสุนัขและ L2–L5 ในแมว) 2. sacral parasympathetic (เกิดจากส่วน spinal segments S1–S3) และ 3. somatic (เกิดจาก spinal segments S1–S3) โดยจะควบคุมผ่านจากระบบ sympathetic และ parasympathetic preganglionic neurons ซึ่งจะผ่านการทำงานของ 3 เส้นประสาทหลัก คือ pelvic nerve, hypogastric nerve และ pudendal nerve โดยภาวะการทำงานของการขับปัสสาวะจะแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน คือระยะที่กักเก็บปัสสาวะ (urine storage) ซึ่งจะอยู่ภายใต้การทำงานของระบบ sympathetic system และระยะที่ทำการขับปัสสาวะ (urine voiding) จะอยู่ภายใต้การทำงานของระบบ parasympathetic system
อาการทางคลินิกที่พบได้บ่อย
ปัสสาวะปนเลือด (hematuria), มีความถี่ของการปัสสาวะมากขึ้นผิดปกติ (pollakiuria), ปัสสาวะลำบาก (dysuria), ปัสสาวะด้วยความเจ็บปวด (stranguria), ปัสสาวะขุ่น (cloudy urine), ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (urinary incontinence), ปัสสาวะผิดที่ผิดทาง (periuria)
กลุ่มโรคระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างที่พบได้บ่อย
1. กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (lower urinary tract infection; LUTI) : โดยการวินิจฉัยด้วยการตรวจปัสสาวะ พบเม็ดเลือดขาวหรือเม็ดเลือดแดงในตะกอนปัสสาวะ อาจหมายถึงการอักเสบ โดยการอับเสบจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ต้องทำการเพาะเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะร่วมด้วย สามารถแบ่งประเภทของการติดเชื้อได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัตว์ป่วยไม่มีความผิดปกติทางโครงสร้างหรือโรคอื่น ๆ ร่วม (uncomplicated UTI) และ กลุ่มการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะที่สัตว์ป่วยที่มีความผิดปกติทางโครงสร้าง ระบบประสาท หรือโรคอื่น ๆ ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในทางเดินปัสสาวะ (complicated UTI)
ยกตัวอย่างกลุ่มของ complicated UTI จากโรคอื่นที่ก่อปัจจัยให้ติดเชื้อได้บ่อย เช่น การอักเสบของต่อมลูกหมาก (prostatitis) การเกิดฝีต่อมลูกหมาก (prostatic abscess) ช่องคลอดอักเสบ (vaginitis) กรณีการติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะรุนแรงหรือกลับมาเป็นซ้ำในสัตว์ป่วยที่มีปัญหาอัมพาต หรือกรณีที่สัตว์ป่วยมีโรคเบาหวาน เป็นต้น
ดังนั้นหลักการวินิจฉัยและรักษาในโรคกลุ่มนี้คือ การระบุตำแหน่งการติดเชื้อ การเก็บตัวอย่างเพื่อหาเชื้อสาเหตุ การเพาะเชื้อ และเลือกใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการปรับขนาดของยาที่เหมาะสม การหยุดยาปฏิชีวนะอย่างถูกวิธี จึงเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเชื้อแบคทีเรียดื้อต่อยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้รายที่ดื้อยาปฏิชีวนะหรือมีการติดเชื้อซ้ำ ควรวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคอื่น ๆ ที่อาจเป็นปัจจัย แล้วทำการแก้ไขหรือลดสาเหตุปัจจัยนั้น ๆ
2. กลุ่มโรคนิ่ว (calculi) ที่มีหลายชนิด นอกจากจะเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อแล้ว ยังทำให้เกิดภาวะอุดตันทางเดินปัสสาวะ ส่งผลให้กระทบต่อไตได้ในระยะยาว และมีโอกาสพบปัญหาการอุดตันได้ ซึ่งมักจะพบในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย เนื่องด้วยขนาดความกว้างและความยาวของท่อปัสสาวะ
โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างที่ทาง ACVIM consensus statement 2016 ได้กำหนดข้อควรปฏิบัติไว้ 8 ข้อ ดังนี้
1. นิ่ว struvite ควรเริ่มจากการรักษาตามคำแนะนำโดยใช้อาหารละลายนิ่ว

2. นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อเริ่มมีอาการทางคลินิกควรพิจารณาการนำเอานิ่วออก ด้วยวิธีที่ทำให้เนื้อเยื่อเสียหายน้อยที่สุด

3. สำหรับนิ่ว urate ให้พิจารณาวิธีการละลายนิ่วก่อนการพิจารณาการผ่าตัดเอาออก

4. สำหรับนิ่ว cystine ให้พิจารณาวิธีการละลายนิ่วก่อนการพิจารณาการผ่าตัดเอาออก

5. กรณีของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่ยังไม่ทำให้เกิดการอุดตันทางเดินปัสสาวะ ยังไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด

6. กรณีของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่มีโอกาสทำให้เกิดการอุดตันทางเดินปัสสาวะ ควรเอานิ่วออก

7. นิ่วที่อยู่บริเวณท่อปัสสาวะควรจัดการด้วยวิธี intracorporeal lithotripsy ร่วมกับ basket retrieval (ซึ่งปัจจุบันในไทยยังไม่มีที่ใดเปิดบริการ)

8. ไม่แนะนำการผ่าตัดบริเวณท่อปัสสาวะในการจัดการนิ่ว
จากข้อกำหนดข้างต้นจะเห็นได้ว่าหลักการ คือ ต้องการลดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ หรือใช้วิธีที่ทำให้เนื้อเยื่อเสียหายน้อยที่สุด ในปัจจุบันมีวิธีจัดการกับนิ่วในทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ที่ลดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ ดังตารางแสดงวิธีในการจัดการนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
ดังนั้นหลักการวินิจฉัยและรักษาโรคกลุ่มนี้ คือ การระบุตำแหน่งและขนาดของนิ่ว เพื่อเลือกวิธีการผ่าตัด การเก็บตัวอย่างนิ่วเพื่อวิเคราะห์ชนิดนิ่วเป็นการหาแนวทางการป้องกันในระยะยาว หรือในทางกลับกันก็ช่วยหาโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุการเกิดนิ่วได้เช่นกัน ในปัจจุบันทางโรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เปิดให้บริการตรวจวิเคราะห์นิ่วด้วยเทคนิค infrared spectroscopy; IR) (การติดต่อส่งตรวจวิเคราะห์นิ่ว: http://kuuc.net) นอกจากนี้เป้าหมายที่จะควบคุมการเกิดนิ่วไม่ให้กลับมาเป็นอีก การให้ความรู้ในการจัดการการได้รับน้ำและอาหารที่ถูกต้องกับเจ้าของสัตว์เลี้ยง การนัดติดตามการกลับมาของนิ่ว จะเป็นการลดโอกาสการเกิดนิ่วซ้ำหรือสามารถจัดการกับนิ่วขนาดเล็กได้ทันท่วงที
3. กลุ่มโรคที่เกิดจากการบาดเจ็บ (trauma) ไม่ว่าจะเกิดหลังจากอุบัติเหตุ หรือจากการสวนปัสสาวะบ่อยครั้ง จนทำให้เกิดการฉีกขาดของท่อไต (rupture of ureter) ท่อปัสสาวะ (rupture of urethra) หรือกระเพาะปัสสาวะ (rupture of urinary bladder) หลักการวินิจฉัยและรักษาในโรคกลุ่มนี้คือ การแก้ไขภาวะฉุกเฉินอย่างทันท่วงที การเลือกเครื่องมือในการวินิจฉัยหาตำแหน่งปัญหา และสามารถระบุตำแหน่งของปัญหาได้อย่างแม่นยำเพื่อการวางแผนการรักษาระยะยาว
4. กลุ่มโรคเนื้องอก (neoplasia) สามารถเกิดได้ตลอดแนวทางเดินปัสสาวะ บางกรณีไม่พบอาการทางคลินิกที่ผิดปกติในระยะแรก แต่พบโดยบังเอิญจากการอัลตราซาวด์ บางกรณีพบว่ามีอาการปัสสาวะลำบาก การวินิจฉัยคือการอัลตราซาวด์และผ่าตัดเพื่อนำชิ้นเนื้องอกไปตรวจ เนื้องอกชนิดที่พบได้บ่อยในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างคือ transitional cell carcinoma (TCC) ในสุนัขและแมว โดยเนื้องอกชนิดนี้สามารถพบได้ที่กระเพาะปัสสาวะ มักจะเป็นตำแหน่งบริเวณ trigone บางกรณีพบว่ามีการแพร่กระจายไปยังส่วนของท่อปัสสาวะ ซึ่งสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมลูกหมากได้ นอกจากนี้เนื้องอกสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำได้ ทำให้สัตว์ป่วยมักจะมีอาการคล้ายกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทความเท่านั้น อ่านบทความฉบับเต็มพร้อมภาพประกอบต่อได้ที่ : https://readvpn.com/article/detail/fline-flutd-disease
บทความโดย : สพ.ญ. คาริน วิชชุกิจ
สำหรับคุณหมอสัตวแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก
ตอนนี้ทาง VPN มีโปรโมชั่นน่าสนใจอยู่นะ
💙 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,500 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💙 อ่านจากเล่ม เน้นสะสม -
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/register
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line :

หวานหวาน.....ตัดไหมให้เรียบร้อยคับ
24/10/2023

หวานหวาน.....ตัดไหมให้เรียบร้อยคับ

❤️🥰❤️🥰❤️🥰❤️🥰❤️🥰❤️🥰
24/10/2023

❤️🥰❤️🥰❤️🥰❤️🥰❤️🥰❤️🥰

นุด.....พรุ่งนี้ทำงานนะ
23/10/2023

นุด.....พรุ่งนี้ทำงานนะ

19/10/2023

ที่อยู่

ทางหลวง ชนบท สห. 4035
Bang Racham
16130

เบอร์โทรศัพท์

036510906

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ หมอแก้วรักษาสัตว์ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


Bang Racham ร้านค้าสัตว์เลี้ยงและบริการสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด