Rangmod : รังมด

Rangmod : รังมด เรื่องมดๆ ที่ไม่มด

26/02/2022

Odontomachus rixosus Smith,1857 หรือ กระโดดเหลือง , กระโดดแดง ( Trap-jaw ants , Yellow-legged Long-jaw ) น้องมีเอกลักษณ์พิเศษเลยขากรรไกรล่างของน้องสามารถอ้ากว้างได้ 180 องศา และกัดด้วยความเร็วสูง เท่าที่เคยวัดตามสถิติจะอยู่ที่ 0.000312 วินาที แล้วเมื่อน้องกัดคู่ต่อสู้แล้วจะดีดตัวถอยไปด้านหลังคล้ายว่าตั้งหลัก พฤติกรรมดังกล่าวเลยทำให้น้องได้ฉายา " มดกระโดด "

คำว่า Odontomachus ในภาษากรีก Odonto นั้นมีความหมายว่า " Tooth " หรือ ฟัน และ machus หมายความว่า " Thrower " หรือ นักขว้าง , นักโยน

ในตามธรรมชาตินั้นมดกระโดดสามารถพบเจอได้ตามพื้นดิน ซากใบไม้แห้ง และตามรากไม้ต่างๆ การสร้างรังของน้องมีความพิเศษอยู่ที่ว่า น้องสามารถทำรังร่วมกับ Pheidole tandjongensis Forel, 1913 หรือ มดคันทานโจได้ รวมถึง Pheidole sp. หรือ มดคันบางชนิด

ขนาดตัวของมดงานนั้นจะมีขนาด 9-11 มิลลิเมตร ส่วนนางพญามีขนาดราวๆ 12-14 มิลลิเมตร สีของหัวจะมีน้ำตาลกลาง ส่วนลำตัวนั้นจะมีสีที่เข้มกว่าส่วนหัวเล็กน้อย ตามที่สังเกตหน้าที่หลักๆของมดงานนั้นคล้ายๆกับมดรังอื่นทั่วไป คือ การดูแลให้อาหารนางพญา ดูแลไข่ และดักแด้

Me : ไว้เดือนหน้าละกัน..
25/02/2022

Me : ไว้เดือนหน้าละกัน..

25/02/2022

ไม่กี่อาทิตย์ก่อนมีคนใจดีให้ Tetraponera rufonigra Jerdon, 1851 หรือ " มดตะนอยอกส้ม " ( อ้างอิงจาก Ant Keeping Thailand , Antwiki.org และ Journal Article ) กับทางเรามาต้องบอกก่อนว่า น้องมดตะนอยอกส้ม เป็นหนึ่งในสปีชีส์ที่แอดมินชอบมากที่สุด

และเป็นมดที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในประเทศไทย และต่างประเทศ เคยมีข่าวหนึ่งที่เกี่ยวกับคนที่โดนมดชนิดกัดเข้า แล้วมีอาการแพ้อย่างรุนแรงทำให้คนที่โดนกัดดังกล่าวเสียชีวิต ดังนั้นคนที่มีความปรารถนาที่อยากจะเลี้ยงมดดังกล่าว หรือมดชนิดอื่นๆอาจจะต้องศึกษาให้ดีว่า

มดที่กำลังจะนำมาเลี้ยงนั้นมีพิษหรือเปล่า? อาหารกินแบบไหน? ที่อยู่อาศัยในสภาพแบบไหน ชื้น หรือ แห้ง ดินหรือบนพื้น?

เนื่องจากรังของน้องเริ่มมีขนาดใหญ่มากขึ้น เมื่อคืนจึงตัดสินใจย้ายน้องลงตู้ใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าตู้เดิม (ไม่มีภาพตู้เดิมประกอบให้แต่มีภาพตู้ใหม่ใต้โพสต์)

โดยตามธรรมชาติแล้วน้องอาศัยอยู่ในร่องตามต้นไม้ที่ยังยืนต้น และที่ตายแล้วก็ด้วย อุปนิสัยของน้อง คือ ค่อนข้างมีนิสัยที่ก้าวร้าวไม่เป็นมิตรต่อสิ่งที่มารุกราน หรือแม้แต่เพียงรบกวนน้องก็พร้อมที่จะกระดิกก้นตั้งรับ

จากการสังเกตการณ์ทางเราได้เห็นว่าน้องมีความชอบให้รังแห้งมากกว่าชื้น แต่ไม่ใช่ไม่มีความชื้นเลย น้องยังต้องการความชื้นสัมพัทธ์อยู่พอสมควร อุณหภูมิในที่อยู่ควรมากกว่าหรือเท่ากับ 27 องศาเซลเซียส แต่ตัวเลขโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 27-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ควรน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50% โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 50-60%
( อ้างอิงจากจากการทดลองตลอดระยะเวลา 72 ชั่วโมง In Pulau Pinang , Malaysia )

น้องนั้นเป็นมดที่กระตือรือร้น และออกหากินในเวลากลางคืนเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงมดที่มีความก้าวร้าวมากกว่า น้องมักจะถูกพบเมื่อตอนเช้าในยามฤดูร้อน และตอนบ่ายในยามฤดูหนาว

ส่วนอาหารของน้องนั้นสามารถเป็นแมลงตัวเล็กๆ หนอนนก น้ำผึ้ง หรือน้ำหวานก็ได้ ในธรรมชาติน้องจะกินอาหารจำพวกโปรตีน และคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก

v

#ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ ( สามารถข้ามข้อมูลส่วนนี้ไปได้เลย )
ลักษณะของน้องค่อนข้างโดดเด่น คือ ส่วนหัว และ ส่วนก้นมีสีดำสนิท และส่วนตัวสี ส้ม-น้ำตาล อ่อน โดยที่ส่วนก้นของน้องนั้นมีต่อมพิษ ( Venom gland )
อ้างอิงจากการวิจัยนั้นมีการส่องกล้องไปในตัวน้องทำให้เห็นว่า ระบบปกคลุมของร่างกายน้องมีอยู่ 3 ชั้น คือ ชั้นผิวนอกที่บาง (epicuticle) มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle

ระบบย่อยอาหาร (Digestive System) ประกอบไปด้วย ทางเดินอาหารส่วนหน้า ( Foregut ) ทางเดินอาหารส่วนกลาง ( Midgut ) และ ระบบทางเดินอาหารส่วนท้าย ( Hindgut ) และพบปุ่มทวารหนักห้าถึงหกใบในขาหลัง ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยท่อ Malpighian ซึ่งเรียงรายไปด้วยเยื่อบุผิวทรงลูกบาศก์เรียบง่ายและหลอดลมที่ฝังอยู่ในเนื้อเยื่อไขมัน

Polyrhachis bihamata Drury, 1773 ( Fish hook ant ) หรือ “ มดหนามเคียวใหญ่ ” ( อ้างอิงจาก Ant Keeping Thailand และ mybis ...
23/02/2022

Polyrhachis bihamata Drury, 1773 ( Fish hook ant ) หรือ “ มดหนามเคียวใหญ่ ” ( อ้างอิงจาก Ant Keeping Thailand และ mybis ) เป็นหนึ่งในมดที่มีขนาดใหญ่ แลถเป็นที่ชื่นชอบของนักสะสม หรือนักเลี้ยงมดหลายๆคน แต่บอกได้เลยว่าหากเลี้ยงไม่ดีมีตายยกรัง

ใครที่กำลังสนใจที่จะเลี้ยง มดหนามเคียวใหญ่ นั้นขอให้คิดอย่างรอบคอบอีกครั้ง เพราะน้องมีพฤติกรรมหนึ่งที่นักเลี้ยงมดมือเก๋า หรือคนที่เป็นเจ้าของรังของน้องๆนั้น ประสบปัญหาก็คือ.. “ การฆ่านางพญา “

ไม่มีคำอธิบายที่แน่ชัดจากแหล่งข้อมูลต่างๆ แต่จากประสบการณ์พร้อมทั้งการสังเกตการณ์ และการรวบรวมข้อมูลที่หามาได้นั้น พฤติกรรมดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการย้ายรัง หรือ การเปลี่ยนที่อยู่น้องใหม่ รวมไปถึงรังที่ไม่เหมาะสมกับน้อง ทำให้น้องเกิดอาการเครียด และเปิดฉากตรึงขานางพญาจากนั้นก็ลงมือ สังหารนางพญาของพวกเขา

อย่างไรก็ตามแต่ใช่ว่าข้อเสียที่พูดมานั้นจะทำให้ความน่าสนใจของ มดหนามเคียวใหญ่ จะลดลง เพราะน้องมีสรีระ หรือลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดเจนนั่นก็คือ หลังของเขาที่มีลักษณะเหมือนตะขอ หรือเคียว

จุดเด่นของน้องนี้ทำให้นักเลี้ยงมดมือใหม่และเก่านั้นชื่นชอบในตัวน้องแถมว่าน้องยังเป็นมดที่ค่อนข้าง Active และ Attractive โดยปกติแล้วน้องๆชอบทำรังในดินหรือรากไม้ และมีรังขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ และจำนวนที่เยอะบางรังอาจจะจำนวนมดงานหลักพันตัวเลยทีเดียว

และแท้จริงแล้วหนามของน้องนั้นไม่ได้มีไว้ให้เป็นจุดสังเกตได้ง่ายเพียงอย่างเดียวแต่ยังมีไว้เพื่อป้องกันนักล่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ปกติแล้วน้องๆสามารถค้นพบได้ในประเทศที่มีป่าดงดิบ หรือป่าดิบชื้นทั่วไปในแทบ South East Asia เช่น เวียดนาม ลาว ไทย บรูไน ฟิลิปปินส์ และพม่า

23/02/2022

เมื่อวานนี้เพิ่งมีรังมดหนามคู่ไม่ทราบชนิด Diacamma sp. (อ้างอิงจาก Ant Keeping Thailand ) มาส่งโดยที่ทางเรา และทางผู้จัดส่งไม่รู้เลยว่าน้องเป็น เนื่องจากเราทั้งคู่ไม่มีกล้องสำหรับส่องน้องโดยตรงเลยไม่มีความรู้ว่าน้องนั้นคือชนิดไหน

แต่จากสันนิษฐานจากพฤติกรรมรวมถึงลักษณะของน้องแล้ว น่าจะเป็น Diacamma intricatum Smith,1857 หรือ “ มดหนามคู่บอร์เนียว “

โดยจากการสังเกตการณ์แล้วมดหนามคู่หลายชนิดนั้นมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว พร้อมที่จะจู่โจมผู้ที่มารุกราน แถมมีพฤติกรรมการกินที่แสนจะดุร้าย ไม่ต่างจากมดหนามคู่ตัวอื่นๆ เพียงแต่ว่าทางเรายังไม่แน่ใจเรื่องสายพันธุ์ของน้องที่แน่ชัด

ไว้มีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไรคืบหน้าจะมาอัพเดทให้เพื่อนๆพี่น้องได้ฟังกันค่ะ 🐜

(อ้างอิงจาก Ant Keeping Thailand และ Antwiki.org )
ปล.หากผิดพลาดประการใดเกี่ยวกับข้อมูลขออภัย ณ ที่นี้ด้วยค่ะ 🙏

วันนี้โชคดีเจอ Queen of Odontomachus simillimus Smith,1858 หรือ " นางพญามดกระโดดบ้าน " ( อ้างอิงจาก Ant Keeping Thailand...
21/02/2022

วันนี้โชคดีเจอ Queen of Odontomachus simillimus Smith,1858 หรือ " นางพญามดกระโดดบ้าน " ( อ้างอิงจาก Ant Keeping Thailand ) โดยบังเอิญ น้องกำลังจะมุดท่อระบายน้ำที่ไว้ใช้สำหรับการซักผ้าบริเวณระเบียงบ้านแต่ทางแอดมินได้จับน้องไว้ทัน

ลักษณะเด่นของน้องที่เห็นได้ชัดเลยว่าบริเวณขากรรไกรนั้นมีขนาดที่ใหญ่พอสมควร โดยปกตินั้นน้องจะสามารถอ้าขากรรไกรได้เป็น 180 องศา และสามารถกัดอาหาร หรือคู่ต่อสู้ด้วยความแรง และเร็วสูง

โดยปกติแล้วรังของน้องจะมีนางพญาแค่จำนวนหนึ่งตัวเท่านั้น และมี colonies ขนาดเล็กเท่านั้น ( ไม่เกิน 200 ตัว ) อาหารของน้อง คือ แมลงขนาดเล็ก และ สสารที่มีความหวาน เช่น น้ำผึ้ง น้ำหวาน เป็นต้น

รังตามธรรมชาติของน้องนั้นจะสร้างอยู่ในดิน เศษไม้ หรือรากไม้ หากรังของน้องถูกรุกราน มดงานจะทำการบุกโจมตีต่อผู้รุกรานทันที โดยการกัด และต่อย พิษต่อยของ มดกระโดด นั้นมีความเจ็บปวดอยู่พอสมควร ใครก็ตามที่แพ้พิษของมดกระโดดอาจมีอันตรายถึงชีวิต

คราวนี้เรารู้ข้อมูลเบื้องต้นไปแล้ว เรามาลุ้นกันดีกว่าน้องได้ผสมพันธุ์ไปหรือยัง!?

น้องจำเป็นจะต้องเลี้ยงแบบมีดินเพราะน้องจะต้องใช้ดินในการห่อดักแด้

ปล. ข้อมูลนี้ได้มาจาก ALLGOOD Pest Solutions

วันหนึ่งมีแฟนเพจหนึ่งประกาศขายมด  Polyrhachis dives Smith, 1857 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า " มดหนามกระทิงขนทอง " ( อ้างอิง...
21/02/2022

วันหนึ่งมีแฟนเพจหนึ่งประกาศขายมด Polyrhachis dives Smith, 1857 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า " มดหนามกระทิงขนทอง " ( อ้างอิงจาก Ant Keeping Thailand ) แอดมินจึงได้ทักไปสอบถามถึงความยากง่ายในการเลี้ยง ก่อนจะคุยสัพเพเหระไปเรื่อย จนตัดสินใจซื้อน้องๆรังนี้มา

ตอนที่คุยกันไว้ตอนแรกทางแฟนเพจได้บอกว่ามี นางพญาทั้งหมด 5-10 ตัว มดงาน 30-40+ แต่พอมาถึงจริงๆ นางมี 2 มดงานมี 20+ ( มดงานตายระหว่างการขนส่ง ) ซึ่งไม่อยากพูดถึงกรณีการเคลม และดราม่าที่เกิดขึ้น

ตอนแรกๆน้องดูเหมือนมีอาการซึม อาจจะเพราะเปลี่ยนย้ายรังใหม่น้องเลยไม่ค่อยชิน จนมีช่วงนึงน้องได้ย้ายจากในหลอดทดลองไปอยู่ที่ก้นตู้ ( คลิปในคอมเมนต์ ) อาการน้องดูแปลกๆ ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรมาก แต่ด้วยเพราะประสบการณ์เลี้ยงมดยังน้อย และไม่ค่อยได้ทำการรีเสิร์ชเอง ข้อมูลส่วนใหญ่ได้มาจากแฟนเพจเลยขาดความรู้ไปจนได้ไปพบกับพี่ในวงการคนหนึ่ง..

เราได้มีการพูดคุยกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนได้สืบสาวราวเรื่องกับน้อง หนามกระทิงขนทอง นั้นโดยปกติภายในรังสามารถมีแม่พันธุ์ หรือ นางพญา มากกว่า 1 ตัวได้ แต่ในจำนวน และรายละเอียดที่ได้มานั้น พี่เขาค่อนข้างมั่นใจว่ารังนั้นได้ถูกตอน หรือ แยกจากรังใหญ่ สับออกมาเป็นรังย่อยๆ เพื่อขาย

นั้นทำให้รู้ว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการตอนรัง มดงานบางตัวไม่ได้เกิดมาจาก นางพญา สองสายพันธุ์นี้ทำให้เกิดอาการเครียด ซึม และทยอยตายไปในที่สุด

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าควรศึกษาข้อมูลให้เข้าใจเองก่อนตัดสินใจซื้อน้องมดจากใคร

ปล1. ปัจจุบันน้องออกไข่ใหม่ และแข็งแรงขึ้นจากการประหงมอย่างดี รวมถึงการรีเสิร์ช
ปล2. พี่ในวงการเป็นนักวิชาการเกี่ยวกับมด และ "เคย" เป็นนายพรานรวมถึงพ่อค้ามดมาก่อน

28/01/2022

ใครชอบสายดำยกมือขึ้น ✋🙋‍♂️

มดคอยาวดำ ( Aphaenogaster senilis )
รังนี้แม่ 3 มดงาน 30+ ไข่ใหม่ ในคลิปคือน้องกำลังออกจากดักแด้เลย 🖤🖤

ติดต่อสอบถามได้ทาง Mailbox 💌
( รับมือในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเท่านั้น )

ที่อยู่

Bangkok

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Rangmod : รังมดผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


ร้านขายสัตว์เลี้ยง อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด