01/03/2024
🩺 FIP 101: มารู้จักกับโรคเยื้อบุช่องท้องอักเสบในแมวกัน !
ในปัจจุบันโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบหรือ Feline Infectious Peritonitis (FIP) เป็นที่รู้จักกันอย่างเเพร่หลายมากขึ้น ทั้งนี้ด้วยความซับซ้อนของโรคและงานวิจัยที่ยังมีไม่เพียงพอที่จะคอนเฟิร์มข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ได้อย่าง 100% ทำให้ยังมีผู้เลี้ยงแมวหลายๆท่านสับสนกับตัวโรค การวินิจฉัยและการรักษาโรคกันอยู่มาก และด้วยความน่ากลัวของโรคที่อาจจะส่งผลถึงแก่ชีวิตของน้องแมวกับค่ารักษาที่หลายๆคนคิดว่าเเพงหูฉีกทำให้โรคนี้ยังเป็นโรคที่ผู้เลี้ยงแมวหลายๆคนยังหวาดกลัวกันอยู่ ทั้งนี้ในปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับโรคนี้มีเพิ่มมากขึ้นทำให้ option การรักษาที่มีประสิทธิภาพก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย วันนี้ทางทีม Knowledge Center ของ FUR จึงอยากมาอัพเดทข้อมูลเรื่องโรคนี้กันค่ะ
❓FIP คือโรคอะไรและเกิดจากอะไรกันเเน่ ❓
ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับโรค FIP อย่างเเรกที่เราต้องรู้ก่อนเลยคือโรคนี้เกิดจากเชื้อโรคอะไร หลายๆคนจะทราบกันดีว่าโรคนี่เกิดจากเชื้อโคโรน่าในแมวหรือ Feline Corona Virus (FCoV) ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์นั้น FCoV สามารถเเบ่งย่อยๆได้เป็น Feline Infectious Peritonitis Virus (FIPV) และ Feline Enteric Corona Virus (FECV) ในส่วนของโรค FIP ที่มีความรุนเเรงเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคคือ FIPV ในปัจจุบันมีหลาย Theory ที่พยายามจะอธิบายว่าเชื้อ FIPV มาจากไหน แต่ Theory ที่ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดคือ “Internal mutation” theory หรือการกลายพันธุ์ของเชื้อภายในตัวของน้องแมวแต่ละตัว อ้างอิงจาก Theory นี้ FIPV เกิดจากการกลายพันธุ์ของ FECV ที่ไม่ได้รุนแรงกับน้องแมวมากและเวลาติดเชื้อเข้าไปมักพบตัวเชื้อได้ในระบบทางเดินอาหารของน้องแมว สถิติการติดเชื้อพบว่า ประมาณ 20%-60% ของแมวบ้านจะตรวจพบว่าเคยติดเชื้อมาก่อน และอัตราส่วนนี้เพิ่มขึ้นไปถึง 90% ในบ้านที่เลี้ยงน้องแมวหลายตัวหรือในสถานดูแลน้องแมวจร โดยทั่วไปแล้วการติดเชื้อ FECV ในแมวมักจะไม่เป็นอันตรายรุนเเรงกับน้องแมว น้องแมวอาจจะไม่แสดงอาการหรืออาจจะเเสดงอาการท้องเสียเล็กน้อย ทั้งนี้เคยมีรายงานออกมาว่าการติดเชื้อ FECV อาจจะทำให้เกิดลำไส้อักเสบขั้นรุนแรงได้ในบ้างกรณี
การศึกษาพบว่าเวลา FECV เข้าไปในร่างกายของน้องแมวแล้วนั้นส่วนที่ไวรัสชอบไปเพิ่มปริมาณและสร้างอนาจักรมากที่สุดคือลำไส้เล็กส่วนปลายและสำไส้ใหญ่ เพราะเซลล์ที่เป็นจุดหมายปลายทางหลักของเชื้อไวรัส FECV คือเซลล์ลำไส้ ทั้งนี้เรายังสามารถตรวจพบ FECV ได้ในเลือดและเนื้อเยื้อต่างๆเพราะนอกจากไวรัสนี้จะสามารถเอาตัวเองเข้าไปในเซลล์ลำไส้แล้ว นางยังเข้าไปในเซลล์ Monocytes ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดนึงได้อีกด้วย (ถึงแม้ประสิทธิภาพการเข้าเซลล์จะต่ำกว่าการเข้าเซลล์ลำไส้ก็ตาม) ไวรัสชนิดนี้ถือว่าติดต่อกันได้ง่ายผ่านทางอุจจาระ ซึ่งน้องเเมวที่ติดเชื้อจะขับเชื้อออกมาและหากมีน้องแมวตัวอื่นมาใช้กะบะทรายนั้นด้วยกันก็มีโอกาสที่เชื้อจะติดตามขนและตามตัวของน้องทำให้เวลาน้องทำความสะอาดตัวเองก็จะมีโอกาสได้รับเชื้อเข้าไปได้ หรือเเม้กระทั้งน้องเเมวเจ้าของเชื้อตั้งแต่เริ่มก็สามารถติดเชื้อซ้ำๆ re-infect ตัวเองซ้ำๆผ่าน fecal-oral transmission นี้ได้เช่นกัน
กรณีที่น้องแมวติดเชื้อด้วย FECV น้องแมวอาจจะขับเชื้อหรือไม่ขับก็ได้ โดยการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าเราสามารถแบ่งแพทเทินการขับเชื้อได้ออกเป็น 3 แบบ
1. แมวที่มีภูมิคุ้มกันดีและสามารถขจัดเชื้อได้อย่างรวดเร็วทำให้อาจจะมีการขับเชื้อเพียงเล็กน้อยและหยุดไปอย่างรวดหรืออาจจะไม่ขับเชื้อเลย (พบในแมวประมาณ 5%)
2. ขับเชื้อติดต่อกัน 2-3 เดือนหรือนานกว่านั้นนิดหน่อยแล้วหยุดไป หรือมีช่วงที่ขับเชื้อสลับกับไม่ขับเชื้อ (พบในแมวประมาณ 70%-80%)
3. ขับเชื้อปริมาณมากอย่างต่อเนื่องยาวนาน (พบในแมวประมาณ 10%-15%)
จากที่อธิบายไปข้างต้นเชื้อ FECV สามารถกลายพันธฺุ์ไปเป็นเชื้อ FIPV ที่รุนเเรงกว่าได้ซึ่งหลักการการกลายพันธุ์ในปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัดว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ที่ส่วนไหนบ้างแน่ๆ ทั้งนี้ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่หากแอดมินอธิบายเพิ่มเติมอาจจะทำให้งงงวยไปตามๆกัน เพราะฉะนั้นสิ่งที่แอดมินอยากจะให้ทุกคนโฟกัสคือข้อแตกต่างระหว่าง FECV และ FIPV หลังจากกลายพันธุ์มากกว่าเพราะนั้นคือส่วนที่ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าทำไม FIPV ถึงก่อโรคที่รุนเเรงอย่าง FIP ได้
ก่อนอื่นเลยทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่าไวรัสจำเป็นต้องเข้าไปในเซลล์ในร่างกายไม่เซลล์ใดก็เซลล์นึงเพื่อแบ่งตัวและขยายกองทับ ข้อเเตกต่างหลักๆระหว่าง FECV และ FIPV ที่ทำให้ FIPV เป็นอันตรายมากขึ้นนั้นก็คือ FIPV ตัวร้ายนี้หลังจากที่กลายพันธุ์แล้วจะเปลี่ยนความสนใจและจะไม่ได้พุ่งเป้าไปที่เซลล์ทางเดินอาหารเหมือน FECV อีกต่อไปแต่นางจะพุ่งเป้าไปที่ Monocytes / macrophage ซึ่งคือเหล่าเม็ดเลือดขาวเป็นหลัก !! ซึ่งพอพุ่งเป้าและเข้าไปในเม็ดเลือดนั้นเเปลว่าเจ้าตัวร้ายจะสามารถไปได้ทั่วส่วนต่างๆของร่างกายของน้องแมวและแสดงผลของโรคได้กับอวัยวะหลายๆระบบ หลังจากที่น้องเชื้อร้ายอย่าง FIPV เข้าไปในเม็ดเลือดขาวแล้วน้องก็จะทำการเเบ่งตัวเพิ่มปริมาณ นอกจากนี้น้องยังสามารถควบคุมการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านี้ให้ปล่อยสารต่างๆออกมาได้ สารบางตัวสามารถเป็นตัวที่ไปเชื่อมหรือเหมือนตัวส่งสัญญานเปิดประตูให้น้องตัวร้ายเข้าไปสร้างรากฐานเพิ่มในเซลล์ชนิดอื่นๆได้ต่อไปอีกด้วย !
หลายๆคนอาจจะเข้าใจกันโดยทั่วไปว่าเวลาน้องแมวป่วยติดเชื้อเราควรจะกระตุ้นภูมิให้น้องเเข็งเเรงขึ้นมีเม็ดเลือดขาวหรือทหารที่จะมาขจัดโรคได้มากขึ้น แต่ในกรณีของโรค FIP ที่ตั้งใจพุ่งเป้าไปที่เม็ดเลือดขาว ทางสัตวเเพทย์และงานวิจัยจะระมัดระวังเรื่องของการกระตุ้นภูมิเป็นพิเศษ เพราะถ้าเราดันกระตุ้นภูมิมากไปนั้นอาจจะเเปลว่าเราเพิ่ม target destination ให้กับเจ้าไวรัสตัวร้ายมากขึ้นนั้นเอง ! หวานหมูเจ้าไวรัสเลยนะ !
** เรื่องของการกระตุ้นภูมิผู้เลี้ยงควรจะเสริมภูมิหรือป้องกันไม่ให้น้องภูมิตกตั้งแต่ก่อนจะเป็นโรค เพราะการที่ระบบภูมิคุ้มกันดีนั้นหมายถึงน้องจะมีกองทัพทหารและป้อมปราการที่แข็งแกร่งไว้ในตัวตั้งเเต่เเรกเริ่ม หากมีไวรัสหรือเชื้อโรคอะไรก็ตามเข้ามากองทัพทหารที่มีอยู่ในตัวเหล่านี้จะสามารถขจัดเชื้อร้ายก่อนที่เจ้าเชื้อร้ายจะแบ่งตัวและออกฤทธิ์ได้อย่างทันทวงที **
โรค FIP แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดหลักๆได้แก่
1. แบบเปียก (Wet/effusive form): มีน้ำในช่องท้อง
2. แบบแห้ง (Dry/non-effusive form): มักพบอาการที่ดวงตาและระบบประสาท
ทั้งนี้มีรายงานหลายเคสว่าเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของน้องแมวที่เป็น FIP แบบแห้งถึงจุดที่เเย่มากๆแล้ว สุดท้ายน้องอาจจะแสดงอาการของน้ำในช่องท้องและกลายเป็นแบบเปียกในที่สุด
ชนิดของ FIP ที่พบบ่อยที่สุดคือเเบบเปียก การศึกษาวิจัยพบว่าอาการต่างๆและการดำเนินการของโรค FIP นั้นจะขึ้นอยู่กับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของน้องแมวตัวนั้นๆ เช่นหากมีการตอบสนองของ B cell เยอะน้องแมวมักจะโชว์อาการของโรคชนิดเปียก ในทางกลับกันหากมีการตอบสนองของ T cell เยอะน้องเเมวมักจะโชว์อาการของโรคชนิดแห้ง ! มาถึงตรงนี่ทุกคนอาจจะ งง อะไรคือ B cell T Cell … ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวกับการกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆและชนิดของ FIP ยังไม่ได้มีการวิจัยออกมาคอนเฟิร์มกันมากนักและอาจจะลึกไปสำหรับผู้เลี้ยงแมวหลายๆคน เอาเป็นว่าสิ่งที่ทางสมาคมอยากให้เข้าใจก็คือการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของน้องเป็นตัวกำหนดความรุนเเรงของโรคและชนิดของโรค FIP เท่านั้นเอง และเเอดมินอยากจะย้ำอีกรอบด้วยว่าการที่เจ้าเชื่อตัวร้ายนี้เจาะจงที่ระบบภูมิคุ้มกันการรักษาหรือจัดการโรค FIP จึงไม่ควรไปกระตุ้นในส่วนการทำงานของเม็ดเลือดขาวน้า ! คุณพ่อคุณแม่พักยาเสริมภูมิไปก่อนเลย !
ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นการกลายพันธุ์ของเชื้อ FECV มาเป็น FIPV และการดำเนินการของโรค FIP ละมีอะไรบ้าง อย่างเเรกเลยคือความเครียด (Stress) และ/หรือการติดเชื้อซ้ำซ้อนด้วยเชื้อ Feline Leukemia Virus, และ Feline Immunodeficiency Virus ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่สามารถมายืนยันนอนยันได้แบบ 100% ว่าปัจจัยเหล่านี้กระตุ้นการกลายพันธุ์ด้วยวิธีไหน แต่ผู้เชี่ยวชาญต่างๆเชื่อกันว่า ความเครียดและการติดเชื้อที่ทำให้ภูมิน้องตกนั้นทำให้มีการหลุดลอดของเชื้อกลายพันธุ์ออกมาได้มากขึ้นและทำให้มีโอกาสพัฒนาโรคและแสดงอาการโรค FIP มากขึ้นตามไปด้วย อีกปัจจัยนึงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคและดำเนินโรคของ FIP คือพันธุกรรม ซึ่งแมวสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรค FIP ได้แก่ Abyssinians, Bengals, Birmans, Himalayans, Ragdolls, และแมวขนหยิกสายพันธุ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาหนึ่งพบว่าอัตตราการเกิด FIP ยังสูงกว่าในแมวเพศผู้เมื่อเทียบกับตัวเมียทำให้นักวิจัยบางกลุ่มเชื่อกันว่าเพศของแมวอาจจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรค FIP โรค FIP มักพบได้บ่อยในแมวที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี การศึกษาพบว่ายิ่งน้องอายุมากขึ้นโอกาสเป็น FIP จะยิ่งลดลง
ข้อเเตกต่างอีกอย่างนึงของ FIP เนื่องจากว่าเชื้อ FIPV จะอยู่ในเม็ดเลือดขาวเป็นหลักทำให้การส่งผ่านเชื้อไปยังแมวอีกตัวนั้นต่ำ เข้าใจได้ง่ายๆว่า FIPV ไม่ติดต่อกันนั้นเอง ทั้งนี้การศึกษาวิจัยในห้องแลปเคยตรวจพบเชื้อ FIPV ในอุจจาระแต่เชื้อ FIPV ในอุจจาระนี้ไม่ก่อให้เกิดโรค FIP ในแมวที่ได้รับเชื้อน้า
สำหรับโพสนี้เเอดมินหวังว่าโพสนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโรคนี้กันมากขึ้น โพสต่อไปแอดมินจะมาอธิบายเรื่องแนวทางการวินิจฉัยโรค FIP ในปัจจุบัน หลายๆคนที่เคยมีน้องเเมวที่ตรวจพบ FCoV หรือเสี่ยงเป็น FIP อาจจะส่งตรวจนั้นตรวจนี้รัวๆ หรือบางคนอาจจะคำนึงว่าควรเลือกตรวจอะไรบ้างเพราะการตรวจแต่ละอย่างมีค่าใช้จ่าย เเอดมินหวังว่าโพสหน้าจะพอช่วยเป็นข้อมูลให้เจ้าของน้องแมวตัดสินใจกันได้มากขึ้นว่าควรจะเลือกตรวจอะไรบ้าง แล้วเจอกันในโพสหน้านะคะ ❤️
If you own a cat at home one of the feline diseases that you may be aware of is FIP, which stands for Feline Infectious Peritonitis. Despite the fact that this disease is gaining much more attention than ever before due to the increasing incidences across the world, scientific research to confirm everything about this disease is, in contrast, not yet achievable. With the fragmented information about FIP, cat owners and breeders are left with contradicting information and still fear this deadly disease. That being said, more and more scientific evidence has been published recently about FIP. For this reason, FUR’s Knowledge Center Team would like to take this opportunity to keep our community updated about this disease.
What is FIP and what causes the disease (Pathogenesis of FIP)?
Before we talk about the disease, we should know what causes the disease. A lot of you may already know that this disease is caused by Feline Corona Virus (FCoV). This is true! but do you know that FCoV can be divided based on its pathogenicity into two types namely “Feline Enteric Corona Virus” (FECV), and Feline Infectious Peritonitis Virus (FIPV), and it is the latter type, as per its name, that causes the development of FIP.
In terms of the pathogenesis of FIP, multiple theories seek to explain how FCoV can cause FIP in cats. The most widely accepted theory to date is the “Internal Mutation Theory”, which proposes that FIPV arises from mutation(s) of FECV inside the cat body itself. Approximately 20–60% of domestic cats are seropositive for FCoV, with seropositivity rates approaching 90% in animal shelters or multi-cat households. The vast majority of FECV infections are benign and they either remain undetected or cause mild diarrhea. Post-mortem analyses showed that, in acute infections, FECVs have a tropism to the apical epithelium of the intestinal villi from the lower part of the small intestines to the caecum. Although coronaviral RNA can be detected in persistently infected cats in the entire gastrointestinal tract, blood, and different tissues, experimental infections revealed that the lower part of the gastrointestinal tract is the major site for viral replication and FECV persistence. These observations confirm that FECVs are primarily associated with the gastrointestinal tract, but they are also capable of infecting monocytes, albeit less efficiently, and thereby spread throughout the body. FECVs are highly contagious and are transmitted horizontally via the fecal–oral route.
There are three scenarios of outcomes of primary FECV infection:
1. Cats are fairly resistant to infection, with quick cessation of shedding or never shed the virus at all (~5%)
2. Cats develop temporary low-level shedding for 2-3 months or longer, and only shed intermittently (~70%-80%)
3. Cats develop long-term persistent shedding of high viral loads (~10%-15%)
As mentioned earlier, FIPV arises from mutation(s) of FECV. However, there is no clear conclusive confirmation of the exact mutations at present. That being, the information on mutations itself may be too deep for cat owners and breeders. The main thing that our team wants you guys to focus on is the differences between FECV and FIPV as they are the main reasons why FIPV can cause such a harmful disease like FIP.
The first thing you need to know about viral infection is that a virus will need to enter a cell in its host’s body to replicate. The main thing about FECV and FIPV is its cell tropism or, in simpler terms, its favourite cell (target destination) to enter when entering the cat’s body. Previously FECV favours intestinal cells and tend to cause mild symptom like diarrhea, however, once mutated, FIPV not change its target destination to white blood cell known as monocytes/macrophage. Entering into blood cells means that FIPV is capable of spreading systematically and affecting different organ systems of the infected cats. FIPVs are able to efficiently infect and replicate in monocytes/macrophages and to trigger an activation of these cells. Circulating activated monocytes heavily express cytokines such as tumor necrosis factor -α, IL-1β, and adhesion molecules ; the latter facilitate the interaction of monocytes with activated endothelial cells in the small- and medium-sized veins. Moreover, it has been suggested that the increased expression of enzymes such as matrix metalloproteinase-9 by the activated monocytes contributes to endothelial barrier dysfunction and subsequent extravasation of monocytes. Furthermore, the production of vascular endothelial growth factor produced in FIPV-infected monocytes and macrophages was proposed to induce increased vascular permeability and hence effusion in body cavities. Although leukocytes are not susceptible to FIPV infection, they appear to become activated during FIPV infection by as-yet-unknown mechanisms, thereby probably contributing to endothelial cell damage and the development of FIP lesions. Another difference between FIPV and FECV is that FIPV is rarely shed in feaces meaning that the transmission rate is relatively minimal. Even though a laboratory finding has found FIPV in feaces, but the shedded FIPV in feaces does not cause FIP in cats.
FIP can be divided into 2 forms:
1. Wet/Effusive form: usually present with abdominal fluid or fluid in other cavities.
2. Dry/Non-effusive form: often has symptoms related to ocular and nervous system
The type of FIP depends on the reaction of the infected cat’s immune system. However, the information in this area is too deep and has not yet reached a consensus.
There are several factors that many people believe to have a stimulating effect on the mutation of FECV to FIPV and the progression of FIP disease. The first is stress and/or repeated infections with Feline Leukemia Virus, and Feline Immunodeficiency Virus. Currently, there are no studies that can confirm with 100% certainty how these factors stimulate mutation, but various experts believe that stress and infection that weaken the immune system allow more mutations to escape and increase the chance of developing the disease and showing symptoms of FIP. Another factor that influences the onset and progression of FIP is genetic predisposition. Cat breeds that are at higher risk of FIP include Abyssinians, Bengals, Birmans, Himalayans, Ragdolls, and other curly-haired breeds. In addition, one study found that the incidence of FIP was higher in male cats compared to female cats, leading some researchers to believe that the cat's gender may also be one of the factors that increase the risk of FIP. FIP is most common in cats under 2 years of age. Studies have shown that the older the cat, the less likely it is to develop FIP.
For this post, FUR Knowledge Center team hopes that this post will help make everyone understand more about FIP. In the next post, our team will explain the current methods for diagnosing FIP. Many people who have had a cat that was tested positive with FCoV or at risk of FIP may send their at-risk cat for countless of tests for diagnosis, or some people may consider what tests they should choose because each test has a cost. Our team highly hopes that the next post will be enough to help provide information for cat owners to make more informed decisions about what diagnosis tests their beloved cats should take if their cats are at risk of FIP. See you in the next post.
📖Bibliography for Pathogenesis of FIP:
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7112361/
- https://www.preprints.org/manuscript/202305.0519/v1
- https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0168170223000217
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7128820/https://bvajournals.onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1136/inp.m3187