23/09/2022
โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว หรือ Feline Infectious Peritonitis (FIP) เป็นโรคที่คุณหมอหลายคนคุ้นเคย และอาจเคยต้องทำการรักษามาบ้างทั้งมากและน้อย คาดการณ์ว่าแมวที่เป็นโรคนี้จะติดเชื้อ Feline Corona Virus (FCoV) ซึ่งเป็นเชื้อที่ติดต่อผ่านทาง fecal-oral route โดยส่วนมากมักพบว่ารับเชื้อมาจากการสัมผัสกับตัวกลางหรือ fomite และสามารถพบได้ตามสิ่งแวดล้อม
ส่วนใหญ่แล้วการติดเชื้อ FCoV จะไม่ทำอันตรายต่อตัวสัตว์มากนัก อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เล็กน้อย แต่ถ้าหากเชื้อไวรัสมีการติดเข้าไปในเซลล์ monocyte และเกิดการกลายพันธุ์ภายในร่างกายของแมวแต่ละตัว ก็อาจพัฒนาเป็นโรค FIP ในที่สุด อาการหลัก ๆ ที่สามารถพบได้ก็คือการมีน้ำในช่องของร่างกาย เช่น ช่องอก ช่องท้อง ซึ่งมักพบในแมวที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรค FIP หรือไม่เป็นหนึ่งในกำแพงใหญ่ ๆ ของสัตวแพทย์เลยก็ว่าได้ การตรวจยืนยัน FIP ที่เป็น gold standard คือการดูการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องทาง histopathology ร่วมกับการย้อมสี FCoV antigen immunostaining ซึ่งดูจะห่างไกลกับ in-house lab ของสถานพยาบาลสัตว์ส่วนใหญ่ รวมถึงยังมีความ invasive ต่อตัวสัตว์ป่วยอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม European Advisory Board on Cat Diseases (ABCD) ได้ทำ FIP diagnostic tree ให้คุณหมอสามารถนำไปใช้เป็น guideline ในการวินิจฉัยได้ โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในลิ้งค์ในคอมเมนต์
ยาต้านไวรัสในแมวป่วยเป็น FIP
การดูแลจัดการที่คุณหมอต้องจัดการสำหรับกรณี FIP ที่สำคัญก็คือ supportive care ทั้งการให้ยาลดอักเสบและการเจาะระบายของเหลวออก และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญก็คือการให้ยาต้านไวรัส สำหรับ FIP มียาต้านไวรัสที่น่าสนใจก็คือยาในกลุ่ม nucleoside analogue ซึ่งก็คือ GS-441524 และ remdesivir นั่นเอง
GS-441524 ความหวังท่ามกลางความคลุมเครือ
GS-441524 ที่มี remdesivir เป็น prodrug มีการพูดถึงอย่างกว้างขวาง มีการใช้เพื่อรักษาโรค FIP มาสักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ดูเหมือนจะให้ผลการรักษาที่อาจเป็นความหวังใหม่ในการรักษาโรค FIP เลยก็ว่าได้ แต่กลับเป็นยาที่ไม่ได้มีการขึ้นทะเบียน ทำให้การใช้ยานี้ในปัจจุบันอาจไม่เป็นที่ยอมรับในหลาย ๆ ที่ทั่วโลก ทำให้หากสัตวแพทย์ตัดสินใจใช้ GS-441524 ในการรักษาแมว FIP จำเป็นต้องมีการพูดคุยกับเจ้าของให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ รวมถึงต้องแบกรับความเสี่ยงว่ามีโอกาสจะถูกฟ้องเมื่อไหร่ก็ได้
รายงานการใช้ GS-441524 ที่รวบรวมโดย European Advisory Board on Cat Diseases (ABCD)
European Advisory Board on Cat Diseases หรือ ABCD ได้จัดทำ guideline สำหรับการรักษาโรคแมวต่าง ๆ โดยอ้างอิงการศึกษา และได้มีการอัปเดตเนื้อหาสำหรับโรค FIP ไว้ล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน 2022 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รวบรวมรายงานการใช้ GS-441524 ที่ผ่านไว้ด้วย คุณหมอที่สนใจสามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.abcdcatsvets.org/feline-infectious-peritonitis/
ผลการรักษา FIP ด้วยการใช้ GS-441524 ในทุกการศึกษาที่นำมากล่าวถึงใน guideline นี้ให้ผลไปในแนวทางเดียวกันว่า แมวส่วนใหญ่อาการดีขึ้นหลังใช้ GS-441524 รักษา ไม่ว่าจะได้รับยาทางการฉีดหรือการกิน อย่างไรก็ตามก็แมวส่วนหนึ่งที่เสียชีวิตในขณะที่ทำการรักษา รวมถึงยังสามารถพบแมวบางตัวกลับมาเป็นซ้ำภายหลังจากการหยุดยาได้อีกด้วย
อย่างที่เกริ่นไปก่อนหน้านี้ว่าการตรวจที่เป็น gold standard สำหรับ FIP นั้นทำได้ยาก ทำให้มีแมวเพียงไม่กี่ตัวในการศึกษาที่ยืนยันได้จริง ๆ ว่าเป็นโรค FIP ทำให้อาจจะกล่าวว่า GS-441524 สามารถใช้รักษา FIP ได้ไม่เต็มปากมากนัก นอกจากนี้ตัว GS-441524 ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญอีกอย่างก็คือทำให้แสบบริเวณที่ฉีด ทำให้เจ้าของฉีดยาเองลำบากยิ่งขึ้นไปอีก
สิ่งที่น่าสนใจคือ มีงานวิจัยที่พบว่าค่า alpha-1-acid glycoprotein (AGP) สามารถใช้เพื่อติดตามอาการได้ดีกว่าค่า lymphocyte count และ serum globulin และแนะนำให้ใช้ค่านี้เพื่อพิจารณาการหยุดใช้ยาเมื่อค่าต่ำกว่า 5 mg/ml
สรุปการใช้ GS-441524 เพื่อรักษา FIP โดย Niels C. Pedersen จาก UC DAVIS
Niels C. Pedersen ได้เขียนบทความ Summary of GS-441524 treatment for FIP สรุปการใช้ GS-441524 เพื่อรักษา FIP ไว้ โดยสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดตัวเต็มได้ในลิ้งค์ที่คอมเมนต์
ในบทความได้มีการแนะนำโดสสำหรับรักษาแมวที่ไม่พบอาการที่เกี่ยวข้องกับตาหรือระบบประสาท เริ่มให้ที่ 4-6 mg/kg sid ต่อเนื่อง 12 สัปดาห์ สำหรับแมวที่มีปัญหาเกี่ยวกับตาแต่ไม่พบปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทให้ใช้โดส 8 mg/kg ต่อเนื่องกัน 12 สัปดาห์ และถ้าแมวมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วยให้เริ่มที่ 10 mg/kg ต่อเนื่องกัน 12 สัปดาห์
เมื่อเริ่มต้นให้ยาแล้ว ควรพิจารณาปรับยาประมาณสัปดาห์ละครั้ง เพราะเมื่ออาการเริ่มดีขึ้น แมวอาจน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะลูกแมว รวมถึงช่วงก่อนรักษาแมวอาจจะโทรมไม่ยอมกินอาหารทำให้น้ำหนักน้อยกว่าที่ควรจะเป็น แต่ไม่ควรพิจารณาเพิ่มโดสหากไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน เช่น ผลเลือดไม่ดีขึ้น น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น หรือเริ่มแสดงอาการที่เกี่ยวกับตาและระบบประสาท เป็นต้น
สำหรับการพิจารณาหยุดยา Dr. Pedersen มองว่าไม่ควรให้ยาต่อเนื่องน้อยกว่า 84 วัน จากนั้นให้พิจารณาอาการร่วมกับผลเลือดต่าง ๆ โดยแนะนำให้สนใจที่เป้าหมายการรักษา หากแมวมีระดับ activity เท่าปกติ เติบโตตามปกติ ผลเลือดปกติแล้ว ก็ควรจะสามารถหยุดยาได้
อย่างไรก็ตาม แมวอาจพบการกลับมาเป็นซ้ำได้หลังจากหยุดยา ซึ่งอาจเกิดจากการที่เชื้อหลบเข้าไปในระบบประสาทขณะที่ทำการรักษา หรือโดสที่ให้อาจไม่เพียงพอ และยังสามารถพบการดื้อยาได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังผลข้างเคียงของการใช้ GS-441524 ยังไม่น่ากังวลมากนัก มีรายงานว่าอาจสร้างความเสียหายต่อไตได้เล็กน้อย แต่เป็นความเสียหายที่สามารถรักษาได้ และมีข้อจำกัดสำคัญคือทำให้แสบบริเวณที่ฉีด ซึ่งอาจทำให้กลายเป็นแผลตามมาได้ด้วยเหมือนกัน
Remdesivir
ยาอีกตัวที่น่าสนใจที่มีการกล่าวถึงทั้งใน guideline ของ ABCD และ summary ของ Pedersen ในกลุ่ม nucleoside analogue คือ remdesivir เป็นยามีทะเบียนสำหรับใช้รักษาการติดเชื้อ corona virus ทางทางเดินหายใจอย่าง SARS-CoV-2 ในบางประเทศ สามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยจะมีแต่แบบฉีดและมีราคาสูงกว่า GS-441524 ให้ผลการรักษาที่น่าสนใจ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่าง remdesivir และ GS-441524 ในการรักษา FIP ออกมา
การเสาะหาให้ได้มาและการใช้
สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้ง GS-441524 และ remdesivir ยังไม่ได้รับการรับรองโดย US FDA ตามข้อมูลของ ABCD เล่าว่าเจ้าของส่วนใหญ่ค้นหาข้อมูลยาจากในอินเตอร์เน็ตและ Facebook รวมถึงหายามาฉีดให้แมวด้วยตัวเอง โดยมีสัตวแพทย์คอยดูแลเรื่อง supportive อื่น ๆ ให้
ในประเทศออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร มีการอนุญาตให้ใช้ GS-441524 แบบควบคุมพิเศษเพื่อการรักษา FIP โดยเฉพาะ ตัวยาที่ได้รับอนุญาตเป็นรูปแบบการกิน มีการควบคุมการผลิตและความเข้มข้นของตัวยา รวมถึงต้องใช้ตาม protocol ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดอีกด้วย
ส่วนในประเทศไทย การใช้ยาที่ไม่มีทะเบียนกับสัตว์ป่วยนั้น อาจทำให้สัตวแพทย์เสี่ยงในการโดนฟ้องร้องได้ สัตวแพทย์จำเป็นต้องสื่อสารและตกลงกับเจ้าของให้ชัดเจนก่อนเริ่มต้นการรักษาเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมา
เชื้อ FCoV เป็นเชื้อที่มีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม มักไม่ได้ทำให้แมวเจ็บป่วยรุนแรง หากไวรัสไม่เกิดการกลายพันธุ์และพัฒนาเป็น FIP แม้ว่าการตรวจวินิจฉัยที่เป็น gold standard ณ ปัจจุบันสำหรับ FIP ยังคงทำได้ไม่ง่ายนัก แต่การรักษาโดยใช้ GS-441524 ช่วยให้แมวหลายตัวหายป่วยจนกลับมามีชีวิตปกติได้อีกครั้ง การใช้ยาตัวนี้มีข้อจำกัดสำคัญคือเป็นยาที่ไม่มีทะเบียน ทำให้อาจเกิดข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายกับสัตวแพทย์ที่ใช้ยานี้รักษาแมวป่วยได้ ในบางประเทศมีการอนุญาตให้ใช้แบบพิเศษภายใต้การควบคุมทั้งการผลิตและการใช้งานซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้แมวป่วยได้เข้าถึงการรักษาได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
แม้ว่ายาจะไม่มีทะเบียน แต่ก็มีผลการศึกษาที่เป็นประโยชน์สำหรับตัวสัตว์ป่วยอยู่ไม่น้อย รวมถึงมีตัวอย่างการอนุญาตแบบควบคุมพิเศษในบางประเทศ คงจะดีหากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นความสำคัญ หารือและร่วมกันหาแนวทางปฏิบัติเพื่อปกป้องผู้ปฏิบัติงาน ยกระดับการรักษาและคุณภาพชีวิตของสัตว์ป่วยในประเทศไทยต่อไป
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทความเท่านั้น อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : https://www.readvpn.com/Topic/Info/d5496614-e308-4eaf-8618-3ed8474d647e
บทความโดย : สพ.ญ. วรรณิตา จิระสถิตย์วรกุล
สำหรับคุณหมอสัตวแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก
ตอนนี้ทาง VPN มีโปรโมชั่นน่าสนใจอยู่นะ
💙 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,000 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💙 อ่านจากเล่ม เน้นสะสม -
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/VPN/Subscription
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line : https://lin.ee/v8Ldcyu