19/11/2022
Partที่1-กระต่ายฮอลแลนด์ลอป(hollandlop)ในอุดมคติ-
บทความนี้เกิดขึ้นได้จากการที่เลี้ยงกระต่ายHLมา2ปี บวกกับการได้เรียนรู้จากคุณแบงค์ (lovely rabbitry) และกลุ่มเพจพัฒนากระต่ายHLในต่างประเทศ จึงเขียนมาเพื่อให้ผู้พัฒนา(บรีดเดอ)กระต่ายHLในไทยหรือกลุ่มคนไทยที่เลี้ยงเล่นแต่อยากได้คุณลักษณะของกระต่ายHL ที่สวยและน่ารัก ดูเป็น เข้าใจและใช้อ้างอิงประกอบการตัดสินใจซื้อนะครับ
*จะอ้างอิงโครงสร้างของกระต่ายฮอลแลนด์ลอปตามมาตรฐานสายพันธุ์ARBAนะครับ (ใช้ดูกระต่าย6เดือนขึ้นไปนะครับ ไม่ควรใช้ดูกระต่ายเด็กเพราะกระต่ายเด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างได้ ส่วนจะเปลี่ยนไปแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และการเลี้ยงดู เพราะผมเคยเจอกระต่ายเด็กที่ดูแล้วฟอร์มสวยกับอีกตัวฟอร์มดีน้อยกว่า แต่พออายุ6เดือน ตัวที่เรามองว่าฟอร์มดีน้อยกว่ากลับมีโครงสร้างหัวกับลำตัวที่พัฒนาดีกว่า หากต้องการหากระต่ายเพื่อบรีดต่อแนะนำว่า6เดือนขึ้นไปครับ ส่วนผู้ซื้อเลี้ยงทั่วไปหากไม่ได้คิดมากก็ข้ามไปครับ แต่ถ้าอยากได้สวยก็แนะนำ6เดือนขึ้นไปครับ จะได้ไม่ต้องมานั่งลุ้น กระต่ายอยู่กับเราได้ถึง 6-8ปี อยู่ที่การเลี้ยงดู หายไปแค่6เดือนแต่ไม่ต้องลุ้นฟอร์ม ก็เลือกเอาครับว่าอยากได้แบบไหน )
โดยคุณลักษณะของกระต่ายฮอลแลนด์ลอปจะแบ่งดูภาพใหญ่ได้สองส่วน คือส่วนหัวกับส่วนลำตัว
1.หัว(Head) โครงสร้างของหัวที่เราจะดูนั้นแบ่งออกได้เป็น หู ฟัน หน้าผาก โครงหน้า มงกุฎหรือที่เรียกกันว่าคราวน์
1.1หู - ลักษณะของหูที่ดีนั้นควรมีใบหูที่หนา แผ่กว้างและใหญ่ ไม่ควรเป็นใบหูที่ห่อลีบ และยาวเกินตำแหน่งของหัว(คาง)มากเกินกว่า 2 นิ้ว และควรอยู่ในตำแหน่งหลังดวงตากับแนวระนาบเดียวกับดวงตา หูไม่ควรจะชี้ไปด้านหน้าหรือกางออก หรือตกข้างตั้งข้าง ปลายของหูต้องกลมมน ปลายต้องไม่แหลม
1.2โครงหน้า - ใบหน้าของกระต่ายเมื่อมองจากด้านหน้าหรือหน้าตรง ควรที่จะมีลักษณะเหมือนผลชมพู่หรือลูกแพร หากมองจากด้านข้าง ควรมีลักษณะที่ใบหน้าที่สั้น กลม และใหญ่สมส่วนไปกับลำตัว ไม่ควรมีใบหน้าที่ยื่นยาว
1.3หน้าผาก - ส่วนหน้าผากควรมีหน้าผากที่กว้างโดยดูจากระยะห่างระหว่างดวงตาโดยที่มองจากด้านหน้าตรงแล้วควรที่จะต้องไม่เห็นดวงตาหรือเห็นน้อยที่สุดถึงจะดี
1.4ฟัน - ควรมีฟันที่สบกันหรือฟันบนค่อมฟันล่าง ฟันต้องไม่ยาว ฟันที่ไม่ดีคือฟันล่างค่อมฟันบน หรือฟันที่ยาว
1.5มงกุฏหรือคราวน์ - คราวน์ที่ดีต้องกว้างและขนที่ยาว กว้างในที่นี้หากมองจากด้านข้างคือเหนือดวงตา มาถึงท้ายทอย
คราวน์ที่ไม่ดีคือแคบ และขนคราวน์สั้น
ปล.1 partแรกนี้จะขอเขียนแค่ส่วนหัวนะครับ ส่วนลำตัว จะขอเป็นpartที่2 ส่วนpartที่3 จะพูดถึงเรื่องการประกวดและเกรดประกวด
ปล.2 แถมอีกนิด ในความเป็นจริงสิ่งที่บรีดเดอหรือผู้พัฒนาสายพันธุ์ จะได้กระต่ายในอุดมคติตามมาตรฐานสายพันธุ์แบบเปะทั้งหมดเป็นไปได้ยากมากๆๆ เราจึงต้องบรีดให้ได้ใกล้เคียงที่สุดหรือมีส่วนที่แย่ให้น้อยที่สุด ในบางตัวอาจจะมีคราวน์ ที่ดีแต่หูไม่ดี เราก็จะนำตัวนั้นมาเก็บไว้พัฒนาคราวน์ หรือบางตัวมีหูและคราวน์ที่ดี เราก็จะนำตัวนั้นไว้พัฒนาแก้จุดที่กระต่ายที่มีหูและคราวน์ที่ไม่ดีได้ หรือกระต่ายตัวนึงมีหัวภาพรวมที่ไม่ดีมากนักแต่ก็ไม่ได้แย่มาก แต่ดันมีลำตัว(body)ที่ดีมากๆ เราก็จะนำกระต่ายตัวนั้นไว้พัฒนาลำตัว นี่จึงเป็นที่มาของคำว่ากระต่ายเกรดบรีด กระต่ายเกรดบรีดคือกระต่ายที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งที่มีคุณลักษณะที่ดีที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ และบรีดเดอร์จะต้องบอกผู้ซื้อได้ว่ากระต่ายเกรดบรีดตัวนั้นมีลักษณะที่ดีอะไรบ้าง เรายังไม่พูดถึงเรื่องของลำตัวนะครับ เพราะเกรดบรีดที่ควรนำไปพัฒนาต่อไม่ใช่มีแค่หัวกลมโตและใหญ่ หรือใบหูที่สั้นและแผ่กว้าง ยังรวมถึงลำตัวด้วยซึ่งเป็นส่วนที่ทำได้ยากที่สุด กระต่ายที่เหมาะแก่การนำไปพัฒนาต่อ เรายังคงต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ลำตัว(body)รวมถึงสเกลภาพรวมที่ดีด้วย