จิตเวชสัตว์เลี้ยง

จิตเวชสัตว์เลี้ยง เพจที่ให้ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับพฤติกรรมของสุนัขและแมว โดยหมอเอก (อ.ดร.นายสัตวแพทย์ปรารมภ์ ศรีภวัศราคม)
(6)

ติดตามความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของสุนัขและแมว พฤติกรรมที่ปกติ พฤติกรรมที่เป็นปัญหา อะไรถูก อะไรไม่ถูก เกี่ยวกับการเลี้ยงน้องหมา น้องแมว โดย ดร.น.สพ.ปรารมภ์ ศรีภวัศราคม (ข้อมูลที่โพสบนเพจนี้เป็นการให้ข้อมูลในนามส่วนตัว - views are my own)

05/09/2024

ทุกครั้งที่มีข่าวหมากัดคน ก็จะมีการพูดถึงสาเหตุต่าง ๆ นา ๆ โดยสาเหตุนึงที่มักจะถูกพูดถึงอยู่เสมอก็คือ การที่สุนัขไม่ได้มองว่าเจ้าของเป็นจ่าฝูง หรือสุนัขมองว่าเจ้าของอ่อนแอ ปกป้องฝูงไม่ได้ หรือสุนัขท้าทายความเป็นจ่าฝูงของเจ้าของ จนพาลนำไปสู่คำแนะนำว่า เลี้ยงหมา เราต้องเป็นจ่าฝูง สุนัขต้องกลัวเรา ไม่กล้ากับเรา...

เอาคลิปนี้มาโพสซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อให้เห็นว่านักวิทยาศาสตร์ที่พูดถึงเรื่องจ่าฝูง พูดถึงเรื่อง alpha ออกมาบอกซักพักแล้วว่า เฮ้ยย! ในธรรมชาติของหมาป่าที่เป็นบรรพบุรุษของหมาบ้านที่เราเลี้ยง ๆ กันเนี้ยะ มันไม่ได้มีจ่าฝูงแบบที่เราเข้าใจนะเว้ย! ผู้นำของฝูงไม่ใช่หัวหน้าที่คอยกดลูกฝูง แต่เป็นพ่อแม่ ที่คอยซัพพอร์ทลูกฝูง ซึ่งก็คือลูก ๆ ของพวกมันนั้่นเองงง ความรุนแรงในฝูงจริง ๆ แล้วเกิดขึ้นน้อยมาก ลูก ๆ ก็ไม่เคยต่อสู้กับพ่อแม่ตัวเองเพื่อให้ตัวเองได้ขึ้นมาเป็นผู้นำฝูงแทน แต่ลูกฝูงจะแยกออกไปผสมพันธุ์กับหมาป่าจากฝูงอื่น สร้างเป็นฝูงใหม่ขึ้นมา

ในเมื่อหมาป่าไม่ได้มีเรื่องจ่าฝูงแบบที่เราเข้าใจ แล้วหมาบ้านหละ?

ถ้าไปดูการศีกษาในปี 2009 โดย Bradshaw และคณะ (https://www.sciencedirect.com/.../pii/S1558787808001159) ที่ทำการศึกษาโครงสร้างทางสัมคมของหมาจรจัด จะพบว่า หมาบ้านที่เราเห็น ๆ กันทุกวันนี้ไม่ได้มีลำดับชนชั้นที่ตายตัว พูดอีกนัยนึงคือ มีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่เราพยายามเรียกว่าลำดับชั้นทางสังคมได้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งพอเป็นแบบนี้ นักวิจัยจึงสรุปว่า สุนัขบ้านเองก็ไม่ได้มีลำดับชั้นทางสังคมที่แน่นอน ไม่ได้มีจ่าฝูงที่ born to be จ่าฝูง หรืออะไรแบบนั้น แต่จริง ๆ แล้ว พฤติกรรมก้าวร้าวที่สุนัขแสดงออก เป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ผ่านมาในอดีตของสุนัข ร่วมกับปัจจัยอื่น เช่น ความสำคัญหรือความต้องการ resource ใด resource หนึ่ง ณ เวลานั้น ๆ เป็นต้น ไม่ใช่เรื่องของความต้องการที่จะอยู่เหนือมนุษย์เราอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ
..ปีนี้ 2024 แล้ว เรามาก้าวข้ามแนวคิดที่ว่า หมาดุเพราะต้องการที่จะเป็นจ่าฝูง ต้องการที่จะอยู่เหนือมนุษย์ กันเถอะนะครับ

03/09/2024
มาเรียนรู้ และเข้าใจแมวกันครับ
02/09/2024

มาเรียนรู้ และเข้าใจแมวกันครับ

อยากรู้ว่าแมวคิดอะไร ? แมวสวบเราทำไม ? ที่นี่มีคำตอบ
✨ พบกับ CatDucation วิชาแมวศาสตร์ ครั้งที่ 2 : รู้ใจแมว เชื่อมใจเรา
Workshop เพื่อเข้าใจพฤติกรรมและความรู้สึกของแมว รวมไปถึงเชื่อมต่อคุณค่าและความหมายของแมวที่มีต่อเจ้าของ
ใน workshop นี้ คุณจะได้พบกับ
🐱 การทำความเข้าใจอารมณ์แมว พฤติกรรมแมว จิตวิทยาในการเลี้ยงแมวเชิงบวก การดูแลคุณภาพใจ และจิตเวชสัตว์เลี้ยง
🐱 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเลี้ยงแมว การลงโทษ การดูแล รวมไปถึงเรื่องพฤติกรรม อารมณ์ ความรู้สึก สิ่งที่แมวคิด รวมไปถึงการเข้าใจสัญชาตญาณตามธรรมชาติของแมว
🐱 ถาม-ตอบ กับคุณหมอเฉพาะทางด้านพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง ที่มีแค่ไม่กี่คนในประเทศไทย
🐱 กิจกรรมศิลปะที่ช่วยให้เรามองเห็นสายสัมพันธ์ของเรากับแมวในมิติที่ลึกซึ้ง เพื่อค้นพบคุณค่าและความหมาย ที่จะช่วยเสริมสร้างพลังชีวิตเรา และโอบอุ้มน้องแมวในแบบเขาเป็นจริงๆ
🐱 กิจกรรมใหม่ทั้งหมด ใครเคยมาครั้งที่แล้ว มาซ้ำได้ ไม่มีอะไรเหมือนเดิม
พบกับ
✨ รู้ใจแมว
📍 อ.ดร.น.สพ.ปรารมภ์ ศรีภวัศราคม
▪️ ปริญญาเอก: PhD (Animal Sciences), University of Lincoln, UK
▪️ อาจารย์ประจําภาควิชาปรีคลินิกและสัตวศาสตร์ประยุกต์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
▪️ ประธานชมรมสัตวแพทย์ด้านพฤติกรรมสัตว์แห่งประเทศไทย
▪️ เจ้าของ page : จิตเวชสัตว์เลี้ยง
✨ เชื่อมใจเรา
📍 ปิญชาดา ผ่องนพคุณ : Co founder & Facilitator Pet SOULciety
📍เอกภพ สิทธิวรรณธนะ : ศิลปิน และกระบวนกรชุมชน
📍 ทีมงาน Pet SOULciety
✅ workshop 1 วันเต็ม :
21 กันยายน 2567 เวลา 09.00 - 17.00 น.
ที่ บ้านเซเวียร์ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)
https://maps.app.goo.gl/e4SdznwtuUvc6JtY7
✅ ราคา early bird 2,900 บาท (ภายในวันที่ 5 ก.ย.67)
ราคาเต็ม 3,200 บาท (ตั้งแต่วันที่ 6 ก.ย.67)
***รวมอาหารกลางวันและของว่าง***
✅ สมัครได้ที่ : https://forms.gle/2P96gRgWGsm1qems9
ถึงแมวจะดูเหมือนเข้าใจยาก แต่เราก็สามารถเข้าใจได้
เพื่อให้เรากับแมว อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขกว่าเดิม
#วิชาแมวศาสตร์ #รู้ใจแมวเชื่อมใจเรา

Puppy class สำหรับน้องหมาที่เกิดหลังวันที่ 27 พค 67 ครับบ
28/07/2024

Puppy class สำหรับน้องหมาที่เกิดหลังวันที่ 27 พค 67 ครับบ

ทริคในการดูความเครียดของน้องหมาผ่านภาษากาย โดย น้อง ๆ นักศึกษาสัตวแพทย์ จากชมรมสุนัขนิสัยดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลั...
16/07/2024

ทริคในการดูความเครียดของน้องหมาผ่านภาษากาย โดย น้อง ๆ นักศึกษาสัตวแพทย์ จากชมรมสุนัขนิสัยดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

จะทำผิดไปกี่นาที ก็ไม่ควรตีทั้งนั้น
15/07/2024

จะทำผิดไปกี่นาที ก็ไม่ควรตีทั้งนั้น

“หลายครั้งหมาอาจจะทำหน้ารู้สึกผิด ตอนที่เราลงโทษ ในเรื่องที่เกิดขึ้น 2-3 ชั่วโมงก่อน จริงๆ เขาอาจจะแค่รู้สึกงง ว่าทำไมแม่ต้องดุเขา ต้องตีเขา เพราะตัวเขาเองจะไม่รู้ว่า พฤติกรรมไหนเป็นพฤติกรรมที่ทำให้ถูกลงโทษ เพราะฉะนั้นจะทำผิดไปกี่นาที ก็ไม่ควรตีทั้งนั้น”
พบกับ อ.ดร.น.สพ.ปรารมภ์ ศรีภวัศราคม
สัตวแพทย์ด้านพฤติกรรมสัตว์ อาจารย์ประจําภาควิชาปรีคลินิกและสัตวศาสตร์ประยุกต์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้ในงานนี้
DogDucation วิชาหมาศาสตร์
: รู้จักหัวใจหมา ดูแลหัวใจเรา
Workshop เพื่อเข้าใจพฤติกรรม ความรู้สึกของสุนัข และการดูแลใจในความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับสัตว์เลี้ยง

✅ workshop 1 วันเต็ม :
3 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 - 17.00 น.
ที่ บ้านเซเวียร์ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)
https://maps.app.goo.gl/e4SdznwtuUvc6JtY7
✅ อ่านรายละเอียดและสมัคร ได้ที่ : https://forms.gle/e2hd6wM4pub8TxbD7
#วิชาหมาศาสตร์ #รู้จักหัวใจหมาดูแลหัวใจเรา

เพราะการศึกษาบอกเราว่า สัตว์เลี้ยงที่มีปัญหาพฤติกรรม มากถึง 80% มีความผิดปกติทางร่างกาย หากสุนัขหรือแมวที่เราเลี้ยงอยู่ม...
11/07/2024

เพราะการศึกษาบอกเราว่า สัตว์เลี้ยงที่มีปัญหาพฤติกรรม มากถึง 80% มีความผิดปกติทางร่างกาย หากสุนัขหรือแมวที่เราเลี้ยงอยู่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป จึงควรต้องพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดก่อนทุกครั้ง

“เพราะหมาพูดไม่ได้ บางครั้งเวลาหมาเจ็บป่วยไม่สบาย จึงแสดงออกผ่านพฤติกรรมต่างๆ เช่น ก้าวร้าว เห่า กัด เป็นเพราะเขารู้สึกเจ็บ เขารู้สึกไม่สบายตัว ฉะนั้นก่อนจะเข้าโรงเรียนฝึก จึงควรพาเขาไปหาสัตวแพทย์ก่อนเพื่อเช็กอาการต่างๆ ก่อน”
พบกับ อ.ดร.น.สพ.ปรารมภ์ ศรีภวัศราคม
สัตวแพทย์ด้านพฤติกรรมสัตว์ อาจารย์ประจําภาควิชาปรีคลินิกและสัตวศาสตร์ประยุกต์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ได้ในงานนี้
DogDucation วิชาหมาศาสตร์
: รู้จักหัวใจหมา ดูแลหัวใจเรา
Workshop เพื่อเข้าใจพฤติกรรม ความรู้สึกของสุนัข และการดูแลใจในความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับสัตว์เลี้ยง

✅ workshop 1 วันเต็ม :
3 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 - 17.00 น.
ที่ บ้านเซเวียร์ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)
https://maps.app.goo.gl/e4SdznwtuUvc6JtY7
✅ อ่านรายละเอียดและสมัคร ได้ที่ : https://forms.gle/e2hd6wM4pub8TxbD7
#วิชาหมาศาสตร์ #รู้จักหัวใจหมาดูแลหัวใจเรา

ฝากกิจกรรมดี ๆ สำหรับคนรักหมาที่อยากจะเข้าใจจิตใจของสุนัข ไปพร้อม ๆ กับการสำรวจและดูแลใจตัวเอง มาเรียนรู้การพัฒนาความสัม...
05/07/2024

ฝากกิจกรรมดี ๆ สำหรับคนรักหมาที่อยากจะเข้าใจจิตใจของสุนัข ไปพร้อม ๆ กับการสำรวจและดูแลใจตัวเอง มาเรียนรู้การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างคนกับหมา เพื่อให้เราสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขที่สุด

ใครสนใจ อยากให้รีบสมัครนะครับ เนื่องจากรับผู้เข้าร่วมจำนวนจำกัด!

คุณรู้ไหม ว่าหมากำลังรู้สึกอะไรอยู่ ?
จะอยู่ร่วมกับหมาให้มีความสุขกว่าเดิมได้ยังไง ?
พบกับ DogDucation วิชาหมาศาสตร์
: รู้จักหัวใจหมา ดูแลหัวใจเรา
Workshop เพื่อเข้าใจพฤติกรรม ความรู้สึกของสุนัข และการดูแลใจในความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับสัตว์เลี้ยง
ใน workshop นี้ คุณจะได้พบกับ
🐶 การทำความเข้าใจอารมณ์สุนัข พฤติกรรมสุนัข จิตวิทยาในการเลี้ยงสุนัขเชิงบวก การดูแลคุณภาพใจ และจิตเวชสัตว์เลี้ยง
🐶 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเลี้ยงสุนัข การฝึกฝน และการลงโทษ รวมไปถึงเรื่องพฤติกรรม อารมณ์ ความรู้สึก และสิ่งที่สุนัขคิด
🐶 ทำความเข้าใจสายสัมพันธ์ของเรากับสุนัข ผ่านกิจกรรมที่สะท้อนความผูกพัน เพื่อค้นพบคุณค่า และความหมายที่จะนำไปสู่ความเข้าใจในมิติที่ซ่อนอยู่ระหว่างกันและกัน
พบกับ
✨ รู้จักหัวใจหมา
📍 อ.ดร.น.สพ.ปรารมภ์ ศรีภวัศราคม
▪️ ปริญญาเอก: PhD (Animal Sciences), University of Lincoln, UK
▪️ อาจารย์ประจําภาควิชาปรีคลินิกและสัตวศาสตร์ประยุกต์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
▪️ ประธานชมรมสัตวแพทย์ด้านพฤติกรรมสัตว์แห่งประเทศไทย
▪️ เจ้าของ page : จิตเวชสัตว์เลี้ยง
✨ ดูแลหัวใจเรา
📍 ปิญชาดา ผ่องนพคุณ : Co founder & Facilitator Pet SOULciety
📍 ทีมงาน Pet SOULciety
✅ workshop 1 วันเต็ม :
3 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 - 17.00 น.
ที่ บ้านเซเวียร์ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)
https://maps.app.goo.gl/e4SdznwtuUvc6JtY7
✅ ราคา early bird 2,500 บาท (ภายในวันที่ 20 ก.ค.2567)
ราคาเต็ม 2,800 บาท
✅ สมัครได้ที่ : https://forms.gle/e2hd6wM4pub8TxbD7
อยากดูแลหมาให้ดีที่สุด มาเริ่มเข้าใจความรู้สึกของหมา
และเข้าใจความรู้สึกของเราในสายสัมพันธ์นี้กัน
#วิชาหมาศาสตร์ #รู้จักหัวใจหมาดูแลหัวใจเรา

ทำไมน้องหมาแต่ละตัวถึงมีนิสัยไม่เหมือนกัน? มาทำความเข้าใจเรื่องบุคลิกภาพของสุนัขกันครับ
26/05/2024

ทำไมน้องหมาแต่ละตัวถึงมีนิสัยไม่เหมือนกัน? มาทำความเข้าใจเรื่องบุคลิกภาพของสุนัขกันครับ

25/04/2024

ไอเทมจำเป็นสำหรับน้องแมวที่ต้องมี!

เพราะสัตว์เลี้ยงก็มีความคิด มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน…
23/04/2024

เพราะสัตว์เลี้ยงก็มีความคิด มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน…

สัตว์เลี้ยงไม่ชอบถูกบังคับ และต้องการทางเลือกเช่นเดียวกับมนุษย์

รู้หรือไม่ว่า การบังคับสัตว์เลี้ยงให้ทำในสิ่งที่เราต้องการมากจนเกินไป อาจส่งผลให้สัตว์เลี้ยงแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ และยังเกิดปัญหาด้านพฤติกรรมในอนาคตได้

เราควรให้ทางเลือกกับสัตว์เลี้ยงอย่างไร ติดตามได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ
https://www.baanlaesuan.com/333977/pets/training/pets-can-choose

20/04/2024

เพิ่งได้ตามข่าว “ซาร่า” จากรายการโหนกระแส นั่งดูแล้วก็รู้สึกว่ามีประเด็นเกี่ยวกับความก้าวร้าวในสุนัขหลายอย่างที่อาจจะยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เลยขออนุญาตแชร์ข้อมูลเชิงวิชาการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันครับ
1. สุนัขที่ร่างกายปกติทุกตัวที่แสดงความก้าวร้าว ต้องมีสาเหตุ ต้องมีตัวกระตุ้นเสมอ อยู่ที่ว่าเราจะหาตัวกระตุ้น หาสาเหตุนั้น ๆ เจอหรือไม่ เพราะฉะนั้นที่บอกว่าสุนัขดุ ถ้ากัดแล้ว เดี๋ยวก็กัดอีก คงต้องมาพิจารณาดูก่อนว่า เราได้มีการทำอะไรเพื่อป้องกันหรือหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น หรือสถานการณ์ที่จะทำให้เกิดความก้าวร้าวรึยัง ถ้าทำแล้ว สิ่งที่ทำนั้นมีประสิทธิภาพในการหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นหรือสถานการณ์ได้มากน้อยแค่ไหน ตรงนี้คือหัวใจสำคัญของการจัดการกับปัญหาความก้าวร้าวในเบื้องต้น
2. พฤติกรรมก้าวร้าว เป็นพฤติกรรมที่ซับซ้อน เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น จากตัวสุนัขเอง ที่อาจจะมีนิสัยขึ้กลัว ขี้ระแวง หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดความสับสนง่ายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่สุนัขอยู่ ณ ขณะนั้น ว่ามีการกระตุ้นให้สุนัขต้องแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมามากน้อยแค่ไหน หรือเกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ผ่านมาในอดีต เช่น คนในบ้านบางคนอาจจะเคยแหย่หรือเล่นกับสุนัขแรง ๆ หรือมีการทำให้สุนัขเกิดอารมณ์เชิงลบบ่อย ๆ (ซึ่งบางทีผู้เลี้ยงก็อาจจะไม่ทราบ) ก็สามารถเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะกระตุ้นให้สุนัขแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อคนนั้น ๆ ได้เช่นกัน
3. ปัญหาเรื่องการหวงของ ไม่ว่าจะหวงชามน้ำ ชามอาหาร ของเล่น หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่ได้เกิดจากความดื้อ สอนไม่จำ ไม่รู้บุญคุญ หรือแม้แต่การเป็นผู้นำ เป็นจ่าฝูงในบ้านแต่อย่างใด แต่มักเกี่ยวกับสภาวะอารมณ์เชิงลบ เป็นความวิตกกังวล (anxiety) หรือความสับสน (frustration) ที่อาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ดังนั้น ผู้เลี้ยงควรหลีกเลี่ยงทุกการกระทำที่จะทำให้สุนัขเกิดอารมณ์เชิงลบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงโทษในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การดุ ด่า ว่า ตี การพยายามตอบโต้สุนัขด้วยความรุนแรง หรือการใช้การจับบังคับด้วยกำลัง เพราะสิ่งเหล่านี้จะยิ่งส่งผลให้ปัญหามีความรุนแรงและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
4. การสังเกตภาษากายของสุนัข เป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมก้าวร้าวได้ เนื่องจากสุนัขเป็นสัตว์สังคม สุนัขสื่อสารกับเราตลอดเวลาผ่านภาษากาย จริง ๆ แล้วสัญญาณที่สุนัขใช้เพื่อบ่งบอกให้เราหยุดสิ่งที่กำลังทำอยู่ หรือให้เราถอยห่างออกไป ไม่ได้มีแค่การขู่ การแยกเขี้ยว หรือการกัด อย่างที่หลาย ๆ ท่านเข้าใจ แต่ยังมีภาษากายอื่น ๆ ที่สุนัขแสดงออกมาเพื่อพยายามสื่อสารกับเราก่อนหน้าสัญญาณเหล่านี้ เช่น การเลียริมฝีปาก (เมื่อไม่มีอาหารอยู่ใกล้ๆ) การหาว (ในสถานการณ์ที่ไม่ควรจะหาว) มองไปทางอื่น เอนตัวหนี หรือเดินหนี เป็นต้น ถ้าเราไม่เข้าใจ และไม่ตอบสนองต่อสัญญาณเหล่านี้ ก็จะทำให้สุนัขเพิ่มระดับความรุนแรงและความชัดเจนของพฤติกรรมมากขึ้น ซึ่งการขู่ แยกเขี้ยว กัด ถือเป็นกลุ่มของพฤติกรรมก้าวร้าวที่อยู่ในอันดับท้าย ๆ ที่สุนัขจะเลือกใช้ เนื่องจากหากพิจารณาตามหลักนิเวศน์วิทยาเชิงพฤติกรรม (Behavioural Ecology) พฤติกรรมก้าวร้าวที่รุนแรงเหล่านี้ มีต้นทุนและความเสี่ยงที่สูง ซึ่งสามารถส่งผลในเชิงลบต่อการมีชีวิตอยู่ต่อไปของสัตว์ได้
5. สุนัขที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดจากสัตวแพทย์ ในทุกกรณี เพราะปัญหาทางด้านร่างกาย ที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วย หรือความไม่สบายตัว (แม้ในระดับต่ำ ๆ) ก็สามารถทำให้เกิดแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวได้มากขึ้น ดังนั้น สุนัขที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว (โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดแบบฉับพลัน อยู่ ๆ ก็เป็น แต่ก่อนไม่เป็น) ควรได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจากสัตวแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากร่างกายของสัตว์
6. การจัดการในเบื้องต้นกรณีสุนัขหวงของ คือการพยายามไม่เปิดโอกาสให้สุนัขได้แสดงความก้าวออกมาก เช่น ไม่เก็บชามอาหาร หรือสิ่งของที่สุนัขหวงเมื่อสุนัขอยู่ในบริเวณใกล้เคียง แต่ให้ล่อสุนัขไปยังบริเวณอื่นที่จะกลับเข้ามาไม่ได้ก่อน ค่อยเก็บของเหล่านั้นขึ้น วิธีดังกล่าวเป็นหนึ่งตัวอย่างของแนวปฏิบัติที่สามารถนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกทำร้ายของคนที่เกี่ยวข้องกับสุนัข ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการช่วยเหลือคนที่เกี่ยวข้องให้สามารถอยู่ร่วมกับสุนัขต่อไปได้ แต่ยังช่วยป้องกันไม่ให้ปัญหามีความรุนแรงมากขึ้นอีกด้วย
7. แนวทางการแก้ไขปัญหาความก้าวร้าวในระยะยาว ต้องอาศัยการบำบัดที่ประกอบไปด้วยแนวทางต่าง ๆ ตามหลักวิชาการ เช่น การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม การทำพฤติกรรมบำบัด หรือการใช้ยาเพื่อปรับระดับของสารเคมีในสมอง เป็นต้น การส่งสุนัขไปฝึก ไปเรียนปรับนิสัย ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาหมาดุได้เสมอไป เพราะปัญหาความก้าวร้าวจัดเป็นปัญหาทางด้านอารมณ์ เป็นปัญหาทางจิตเวช ไม่ใช่เรื่องของการไม่เชื่อฟังคำสั่ง ไม่ใช่การไร้ความสามารถในการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ตามที่เราต้องการ ดังนั้น หากสุนัขมีปัญหาพฤติกรรม ควรพาไปพบสัตวแพทย์ด้านพฤติกรรมสัตว์ เพื่อให้คุณหมอได้ทำการวินิจฉัยหาสาเหตุ และวางแผนการบำบัดด้วยแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชาการ และหลักสวัสดิภาพสัตว์ต่อไป
RIP #ซาร่า

Consent test คืออะไร ทำกับสัตว์เลี้ยงของเรายังไง มาดูกันครับ
13/04/2024

Consent test คืออะไร ทำกับสัตว์เลี้ยงของเรายังไง มาดูกันครับ

สัตว์เลี้ยงก็มีความยินยอม หรือไม่ยินยอม เช่นเดียวกับมนุษย์

วิธีการทดสอบความยินยอมในสัตว์เลี้ยง ต้องทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง ติดตามได้ที่ลิงก์นี้เลยค่ะ
https://www.baanlaesuan.com/334240/pets/lifestyle-pets/consent-test-in-pets

10/04/2024

เมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมเสวนาในหัวข้อ "พฤติกรรมสัตว์เลี้ยง เข้าใจ-เรียนรู้-ดูแล-แก้ปัญหา" ในงาน Pet Healthcare 2024 มีหลายประเด็นคำถามที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประโยชน์กับคุณพ่อ คุณแม่น้องหมา น้องแมวทุกท่าน ท่านที่สนใจสามารถรับฟังย้อนหลังได้เลยครับ

08/04/2024
มาร่วมกัน run for johnhud ทำบุญช่วยน้องหมาน้องแมว กับนิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ กันครับ เจอกัน เสาร์ที่ 20 เมษายนนี้ เวลา 16:0...
07/04/2024

มาร่วมกัน run for johnhud ทำบุญช่วยน้องหมาน้องแมว กับนิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ กันครับ เจอกัน เสาร์ที่ 20 เมษายนนี้ เวลา 16:00 น. เป็นต้นไป ที่ park@siam สยามแสควร์

Access Google Forms with a personal Google account or Google Workspace account (for business use).

ติดตามกันได้ ทางเพจสัตวแพทยสภา อังคารนี้สองทุ่มตรงครับ
25/03/2024

ติดตามกันได้ ทางเพจสัตวแพทยสภา อังคารนี้สองทุ่มตรงครับ

📌📌📌[Please save the date]

เมื่อ​พูด​ถึง​น้อง​หมา​ 🐩🐕🦮🐕‍🦺

เพื่อน​รัก​แสน​ดี​ตลอดกาลของ​มนุษย์ 🐕🐕🐶🐶

สมาชิก​ตัว​น้อย​จอมซนใน​ครอบครัวที่​พวกเรา​แสนรักนั้น ในบางครั้ง​ เรา​อาจไม่รู้​ว่า

,, น้อง​ต้องการ​อะไร? ,, 🤔

,, น้อง​ทำ​แบบนี้ทำไม? ,, 🤔

,, น้อง​กำลัง​คิด​อะไร​อยู่? ,,​ 🤔

,,​ อยาก​ให้​น้อง​ฝึก​ได้​ดั่งใจจัง ,, 😐

จะดีไหม หาก​เจ้าของ​สัตว์​เลี้ยง​ สามารถ​สื่อสาร​กับ​น้อง​ได้​ และ​เข้าใจ​ว่า​ต้อง​การ​อะไร? 😊

เชิญ​พบ​กับ​รายการ​ที่นี่.. ส​ั​ตว​แพทยสภา​ ตอนที่ 78 "วิธีการฝึกสุนัข​เบื้อง​ต้น.. สำหรับ​เจ้าของ​สัตว์เลี้ยง"

พบกับ​วิทยากร
1. ผศ.สพ.ญ.ดร.จุฑามาส เบญจนิรัตน์ 🪭🪭🪭
หัวหน้าหน่วยพฤติกรรมสัตว์ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. อ.ดร.น.สพ.ปรารมภ์ ศรีภวัสราคม 🪭🪭🪭
ภาควิชาปรีคลินิกและสัตวศาสตร์ประยุกต์
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ดำเนินรายการโดย​
น.สพ.นวพูน จำปานิล 🪭🪭🪭
ผู้จัดการศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางสัตวแพทย์
สัตวแพทยสภา

รายการ​ที่นี่..สัตวแพทยสภา
🐶 วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567
🐶 เวลา 20:00 - 21:00 น
🐶 LIVE ผ่าน​ Facebook สัตวแพทยสภา ประเทศไทย

ถาม​สด​ ตอบ​สด​ ที่นี่​ที่เดียว ห้าม​พลาด​ครับ​ 😊

05/03/2024
รวมทุกพฤติกรรมของสุนัขและแมว
01/03/2024

รวมทุกพฤติกรรมของสุนัขและแมว

อีกหนึ่งชีวิตที่สูญเสียไปแบบไม่ควรจะเกิดขึ้น…ย้ำอีกครั้งว่าในปัจจุบัน สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสุนัขคือสายรัดอก และสิ่งที่ไม...
13/02/2024

อีกหนึ่งชีวิตที่สูญเสียไปแบบไม่ควรจะเกิดขึ้น…
ย้ำอีกครั้งว่าในปัจจุบัน สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสุนัขคือสายรัดอก และสิ่งที่ไม่ควรจะนำมาใช้กับสุนัขที่ดึงสายจูง หรือใช้ในการฝึกสุนัขเลย คือสายกระตุก หรือ “สายจูงสำหรับฝึก” ตามที่คนฝึกสุนัขบางกลุ่มเรียกกัน
เวลาฝึกสัตว์ เราไม่ได้ต้องการแค่ผลลัพธ์การฝึกเพียงอย่างเดียว แต่เราควรจะต้องคำนึงถึงสวัสดิภาพของสัตว์ที่เข้ารับการฝึกด้วยครับ

08/02/2024

ขอบคุณ VetSynova ครับบ

28/01/2024

มาคุยกับน้องแมวกันครับ

ขอขอบคุณคุณหมอบรีฟ ที่ช่วยมาเน้นย้ำว่าถ้าหมาแมวมีปัญหาพฤติกรรมควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนอย่างที่หมอเคยบอกมาเสมอว่าไม่ใช่ทุกป...
24/01/2024

ขอขอบคุณคุณหมอบรีฟ ที่ช่วยมาเน้นย้ำว่าถ้าหมาแมวมีปัญหาพฤติกรรมควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อน

อย่างที่หมอเคยบอกมาเสมอว่าไม่ใช่ทุกปัญหาพฤติกรรมจะสามารถแก้ได้ด้วยการฝึก หรือการพาน้องเข้าโรงเรียนเสมอไป ในหลาย ๆ กรณี ปัญหาพฤติกรรมเกิดจากปัญหาทางร่างกาย และในอีกหลาย ๆ กรณีที่ถึงแม้ร่างกายจะแข็งแรงดี แต่สัตว์ควรจะต้องได้รับยาทางจิตเวชจากสัตวแพทย์ เพื่อช่วยลดปัญหาพฤติกรรมที่เกิดขึ้น และช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของน้องให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

นี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมน้องหมาน้องแมวมีปัญหาพฤติกรรม เราควรพาไปพบสัตวแพทย์ก่อน เป็นอันดับแรก ไม่ใช่การพาไปฝึกหรือพาเข้าโรงเรียน

ถ้าหมาแมวเราพฤติกรรมเปลี่ยนไป.. 🐕🐈
💥ก้าวร้าว
💥กัด
💥ขี้กลัว เก็บตัว
💥นิสัยแปลกประหลาดไป ไม่น่ารักเหมือนก่อน

⚠️ให้พาหาหมอก่อนพาไปฝึก เช็คก่อนว่าน้อง
📌ป่วยทางกาย อันนี้ต้องรักษาโรคที่เป็น
📌ป่วยทางใจจริงๆ ให้หมอพฤติกรรมประเมินว่าต้องปรับแก้ไข ฝึกยังไงบ้าง

👩🏻‍⚕️บางตัวเค้าเจ็บหลังเจ็บขา ไม่สบายตัว ปวดท้อง หรือเจอบ่อยๆว่าแก่แล้วเจ็บปากเจ็บฟันงี้ เลยไม่ชอบให้เราจับ ขี้หงุดหงิดขึ้น ไม่ให้ยุ่ง เก็บตัว เราเลยมองว่าน้องนิสัยเปลี่ยนไม่น่ารัก อันนี้พาฝึก พาเข้าโรงเรียนไม่ใช่คำตอบ พาหาหมอตรวจก่อนเพื่อรักษา จะได้ช่วยน้องได้ตรงจุด ถ้าไม่ป่วยแล้วจะไปต่อที่การฝึกกับครูฝึก Trainer ก็ว่าไป..

🩺💕 เดี๋ยวนี้คุณหมอพฤติกรรมหมาแมวโดยเฉพาะมีอยู่น้า ตามรพส.ของมหาวิทยาลัยหรือรพส.ใหญ่ๆ เข้าไปปรึกษากันก่อนสักรอบก่อนเมื่อน้องมีปัญหาดีกว่าน้า

แนะนำเพจคุณหมอพฤติกรรมหมาแมวโดยเฉพาะ ไปตามกันได้เลย เช่น
👨🏻‍⚕️หมอเอก เพจ จิตเวชสัตว์เลี้ยง
👨🏻‍⚕️หมอปิง เพจ Behavpet - พฤติกรรมสัตว์เลี้ยง

หมาแมวใครเคยมีปัญหาพฤติกรรม เคยพาปรึกษาหมอหรือต้องพาฝึกกันบ้าง โพสต์นี้มาแชร์ประสบการณ์กันๆ

เปิดรับสมัครแล้วววว คอร์สฝึกทักษะชีวิตสำหรับลูกสุนัข โดยชมรมสุนัขนิสัยดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ท่านใดสนใจติ...
14/01/2024

เปิดรับสมัครแล้วววว คอร์สฝึกทักษะชีวิตสำหรับลูกสุนัข โดยชมรมสุนัขนิสัยดี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ท่านใดสนใจติดต่อทางชมรมไปได้เลยครับบบ

ที่อยู่

Bangkok

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ จิตเวชสัตว์เลี้ยงผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์

ประเภท


สัตวแพทย์ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด

คุณอาจจะชอบ