Tortoise FYI เรื่องราวเกี่ยวกับเต่าและธรรมชาติ ฯลฯ

02/05/2024

Aujourd'hui, 1er mai, c'est l'anniversaire de Lune ! La bébé tortue albinos des Galapagos fête ses 2 ans. Joyeux anniversaire. 🥳💛

Kinixys🤍
01/10/2023

Kinixys🤍

My group of 1.3 Kinixys belliana are still going strong - took them outside for an update photo.

27/09/2023
11/07/2022
05/06/2022
19/01/2022

"ฟอสซิลเต่ายักษ์ชนิดใหม่ของไทย"
นักบรรพชีวินวิทยา ค้นพบฟอสซิลเต่ายักษ์ยุคไดโนเสาร์ชนิดใหม่จากชั้นหินยุคครีเทเชียสตอนต้น อายุประมาณ 145 - 140 ล้านปีก่อน ในภาคอีสานของไทย

เต่ายักษ์ชนิดใหม่นี้ได้รับการศึกษาโดย Dr. Haiyan Tong ร่วมกับนักวิจัยชาวไทยและชาวฝรั่งเศสอีกหลายท่าน ตั้งชื่อว่า "ยักษ์คีมิส มัลติพอร์คาตา" (Yakemys multip***ata) พบในชั้นหินตอนบนของหมวดหินภูกระดึง ยุคครีเทเชียสตอนต้น จากบ้านห้วยยาง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบไปด้วย ชิ้นส่วนกระดองจำนวนหลายชิ้น พบว่าจัดอยู่ในวงศ์ Macrobaenidae ซึ่งเป็นกลุ่มเต่าที่สูญพันธุ์ไปแล้ว พบได้ตั้งแต่ยุคครีเทเชียสจนถึงยุคพาลีโอจีน ในแถบซีกโลกเหนือ หรือลอเรเซีย (Laurasia) แต่มีลักษณะต่างจากที่เคยพบมาก่อน จึงตั้งเป็นชนิดใหม่ของโลก

"ยักษ์คีมิส มัลติพอร์คาตา" (Yakemys multip***ata) จัดเป็นเต่าน้ำจืด มีลักษณะเด่น คือ มีกระดองขนาดใหญ่ คาดว่ามีขนาดกระดองใหญ่มากกว่า 70 เซนติเมตร และยังพบว่ามีสันปรากฎอยู่บนหลังกระดองด้วย นอกจากจะพบชิ้นส่วนกระดองจากจังหวัดกาฬสินธุ์แล้ว ยังมีการพบชิ้นส่วนกระดองในพื้นที่อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู และอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งจัดเป็นชนิดเดียวกันอีกด้วย

อนุกรมวิธาน
Testudines
Cryptodira
Macrobaenidae
Yakemys multip***ata gen. et sp. nov. Tong et al., 2021
ชื่อสกุล : มาจากคำว่า "ยักษ์" ในภาษาไทย รวมกับภาษากรีก "emys" แปลว่า เต่า (โดยทั่วไปหมายถึงเต่าน้ำจืด) รวมหมายถึง เต่ายักษ์
ชื่อสปีชีส์ : มาจากภาษาละติน "multi" แปลว่า มาก หรือเยอะ รวมกับคำว่า "p***a" แปลว่า สัน บ่งบอกถึง ลักษณะเด่น คือ สันจำนวนมากที่พบบนกระดอง

ข้อมูล : Tong, H.; Chanthasit, P.; Naksri, W.; Ditbanjong, P.; Suteethorn, S.; Buffetaut, E.; Suteethorn, V.; Wongko, K.; Deesri, U.; Claude, J., 2021. "Yakemys multip***ata n. g. n. sp., a Large Macrobaenid Turtle from the Basal Cretaceous of Thailand, with a Review of the Turtle Fauna from the Phu Kradung Formation and Its Stratigraphical Implications". Diversity. 13 (12): 630. doi:10.3390/d13120630.

19/01/2022
07/01/2022

[ ตะพาบฉี่ทางปากจริงไหม? ]

ทุกครั้งที่คุณเข้าห้องน้ำ แล้วบรรจงปล่อยน้ำสีเหลืองใสลงโถส้วม เคยถามตัวเองไหมครับว่าเราทำไปเพื่ออะไร?

“น้ำปัสสาวะ/ฉี่ (urine)” ก็คือของเหลวที่ไตคัดกรองจากน้ำเลือด เราทุกคนฉี่ก็เพื่อขับน้ำและไอออนบางส่วนออกจากร่างกาย เป็นกลไกอย่างหนึ่งที่ช่วยรักษาความเข้มข้นของเลือดให้สมดุล นอกจากนี้การฉี่ยังเป็นการขับถ่าย “urea” ออกจากร่างกายอีกด้วย

urea คือหนึ่งในของเสียที่นักชีววิทยาเรียกว่า “nitrogenous waste” ของเสียกลุ่มนี้เกิดจากการสลายโปรตีนและกรดนิวคลีอิกในร่างกาย โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกตัวเต็มวัย ฉลาม จะขับถ่ายในรูป urea เป็นหลัก ส่วนสัตว์เลื้อยคลาน นก มักจะขับถ่ายในรูป uric acid ในขณะที่ปลากระดูกแข็งส่วนใหญ่มักขับถ่ายในรูป ammonia

สัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ขับถ่าย nitrogenous waste ออกทางน้ำปัสสาวะ จะมีข้อยกเว้นก็คือพวกปลากระดูกแข็ง ซึ่งขับ ammonia ออกทางเหงือก หรือพวกปลาฉลาม ซึ่งเน้นสะสม urea ในร่างกายมากกว่าจะขับออก แต่นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งกรณีน่าสนใจ นั่นคือ การขับถ่ายของ “ตะพาบ”

ผมบังเอิญไปเจอบทความเก่าจากสื่อบางแห่ง (ทั้งของไทยและต่างประเทศ) พาดหัวข่าวว่าตะพาบเป็นสัตว์ที่ฉี่ทางปาก! แต่คำกล่าวนี้ถูกต้องไหมนะ?

ตะพาบ เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Testudines เช่นเดียวกับเต่า แต่ตะพาบจะมีแผ่นหนังปกคลุมกระดอง ไม่ได้มีเกล็ดแข็ง ๆ เหมือนกับเต่า นั่นจึงเป็นที่มาของชื่อภาษาอังกฤษ “soft-shelled turtle” พวกมันใช้ชีวิตอยู่กับน้ำ และขับ nitrogenous waste ในรูป urea เป็นหลัก (มี ammonia นิดหน่อย)

ถ้าได้ยินว่าตะพาบฉี่ทางปาก เชื่อว่าบางคนอาจจินตนาการว่าตะพาบพ่นน้ำปัสสาวะสีเหลืองออกจากปาก ปี๊ด ๆๆ แต่ความจริงมันไม่เป็นอย่างนั้นนะ ตะพาบก็มีไต มีกระเพาะปัสสาวะเหมือนมนุษย์น่ะแหละ และจะขับน้ำปัสสาวะออกทาง “รูทวารร่วม (cloacal vent)” ซึ่งอยู่ใกล้กับโคนหาง รูนี้เป็นรูอเนกประสงค์ ใช้ขับน้ำปัสสาวะก็ได้ ใช้ขับกากอาหารจากลำไส้ก็ได้ หรือจะใช้ออกไข่ก็ได้เช่นกัน

อ้าว… แล้วทำไมเขาพาดหัวข่าวว่าตะพาบฉี่ทางปากล่ะ? ที่จริงมันไม่ได้ผิดอะไรหรอกนะ แต่ความหมายที่ข่าวจะสื่อมันไม่ใช่การขับน้ำปัสสาวะแบบจินตนาการในข้างต้น มันมีความหมายเจาะจงว่าตะพาบขับ “urea” ออกทางปากต่างหากล่ะ (urea ≠ น้ำปัสสาวะ (urine))

ย้อนไปเมื่อปี 2012 นักวิจัยจากสิงคโปร์ได้วิเคราะห์การขับถ่ายของตะพาบ Chinese soft-shelled turtle แล้วพบว่าน้ำปัสสาวะของตะพาบแทบไม่มี urea อยู่เลย ในทางกลับกัน พวกเขาพบ urea จำนวนมากถูกขับออกทางช่องปากและคอหอยของตะพาบ (น้ำลายเต็มไปด้วย urea)

นักวิจัยทดลองนำตะพาบขึ้นมาบนบก แล้วติดตั้งอ่างน้ำเล็ก ๆ ไว้ใกล้ ๆ ผลพบว่าตะพาบจะชอบเอาหัวมาจุ่มอ่างน้ำ โดยจะจุ่มหัวรอบนึงนานราว 20 ถึง 100 นาที อีกทั้งยังอมน้ำแล้วบ้วนน้ำออกเป็นจังหวะด้วย นักวิจัยวิเคราะห์น้ำในอ่างแล้วพบว่าปริมาณ urea สูงขึ้น แสดงให้เห็นว่ามันขับ urea ออกทางปากจริง ๆ โดยใช้น้ำในอ่างเป็นตัวทำละลาย

ในช่องปากและคอหอยของตะพาบจะเต็มไปด้วย “โครงสร้างคล้ายเส้นขน (villiform process)” ซึ่งมีหลอดเลือดจำนวนมากมาหล่อเลี้ยง แถมนักวิจัยยังพบการสร้าง mRNA ของ urea transporter ที่บริเวณนี้ด้วย จึงแสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้มีบทบาทสำคัญในการขับ urea

แล้วทำไมต้องขับ urea ทางปากล่ะ? ขับทางน้ำปัสสาวะแบบชาวบ้านชาวช่องมันไม่เท่หรอ?

นักวิจัยอภิปรายว่า… มันน่าจะเป็นการปรับตัวเพื่อให้ตะพาบว่ายไปหากินในแหล่งน้ำเค็มได้ แต่คำอธิบายมันซับซ้อนนิดนึงนะ

ถ้าตะพาบขับ urea ทางปัสสาวะเหมือนสัตว์อื่น มันก็จำเป็นจะต้องดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อใช้เจือจางความเป็นพิษของ urea ในทางเดินปัสสาวะ แต่เมื่อตะพาบเข้าสู่แหล่งน้ำเค็ม น้ำที่มันดื่มก็จะมีเกลือติดมาด้วย ทำให้เลือดตะพาบเข้มข้นขึ้น และอาจสร้างภาระให้การรักษาดุลยภาพ (ไตของสัตว์เลื้อยคลานขับเกลือไม่เก่ง) ฉะนั้นตะพาบจึงเลือกใช้วิธีขับ urea ทางช่องปากแทน โดยจะอมน้ำเพื่อละลาย urea แล้วค่อยบ้วนน้ำออก ไม่ได้ดื่มเข้าไป (ไม่ได้รับเกลือ)

เพิ่มเติม 1: นอกจากขับ urea ทางปากแล้ว นักวิจัยพบว่าตะพาบก็แลกเปลี่ยนแก๊สในช่องปากได้ด้วยนะ นอกจากนี้เต่าบางชนิดก็มีช่องทางแลกเปลี่ยนแก๊สที่พิเศษไม่แพ้กัน อย่างเช่น Fitzroy River Turtle ซึ่งสามารถหายใจทางก้นได้ (ใช้ถุงบริเวณรูทวารร่วม เรียกว่า cloacal bursae)

เพิ่มเติม 2: จริงอยู่ที่มนุษย์เราขับ urea เป็นหลัก แต่ไม่ใช่ว่ามนุษย์ไม่ขับ nitrogenous waste รูปแบบอื่นนะ น้ำปัสสาวะเรามี uric acid และ ammonium ion อยู่ด้วย ขอแนะนำเพจนี้เลยยย https://www.facebook.com/Nakcorephysio/posts/1161751874336239

อ้างอิงเรื่องตะพาบ: Ip et al. (2012) The Chinese soft-shelled turtle, Pelodiscus sinensis, excretes urea mainly through the mouth instead of the kidney. The Journal of Experimental Biology. 215: 3723–3733. https://doi.org/10.1242/jeb.068916

อ้างอิงเรื่องเต่า: https://www.straightdope.com/21343468/is-it-true-turtles-breathe-through-their-butts

#ตะพาบ #เต่า #ปลา #ฉี่ #ยูเรีย #แอมโมเนีย #ปัสสาวะ

Stop destroyed this world
31/12/2021

Stop destroyed this world

วันนี้ได้มีโอกาสไปเที่ยวชมสถานีอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล จังหวัดระยอง แอดมินเลยนำภาพบรรยากาศภายในสถานีมาฝากครับ
22/12/2021

วันนี้ได้มีโอกาสไปเที่ยวชมสถานีอนุรักษ์พันธ์เต่าทะเล จังหวัดระยอง แอดมินเลยนำภาพบรรยากาศภายในสถานีมาฝากครับ

15/06/2021
23 พฤษภาคม สวัสดี วันเต่าโลก 🤍
23/05/2021

23 พฤษภาคม
สวัสดี วันเต่าโลก 🤍

บทความพิเศษตอนที่ 1 เต่าทะเล ตะพาบ เต่าน้ำ และ เต่าบก ที่อาศัยและเคยอาศัยอยู่ในประเทศไทย ทั้งหมด 32 ชนิดnote : เต่าและตะ...
19/04/2021

บทความพิเศษตอนที่ 1
เต่าทะเล ตะพาบ เต่าน้ำ และ เต่าบก ที่อาศัยและเคยอาศัยอยู่ในประเทศไทย ทั้งหมด 32 ชนิด
note : เต่าและตะพาบบางชนิดในลิส อาจสูญพันธ์ หรือ ไม่อาจสามารถพบได้ในประเทศไทย

เต่าทะเล
- เต่าหัวค้อน, เต่าล็อกเกอร์เฮด หรือ เต่าจะละเม็ด (Caretta caretta, Loggerhead Sea Turtle)
- เต่าตนุ (Chelonia mydas, Green Sea Turtle)
- เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea, Leatherback Sea Turtle)
- เต่ากระ หรือ เต่าปากเหยี่ยว (Eretmochelys imbricata, Hawksbill Sea Turtle)
- เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea, Olive ridley Sea Turtle)

ตะพาบน้ำ
- ตะพาบสวน (Amyda Ornata, Southeast Asian soft-shell turtle)
- ตะพาบม่านลายไทย (Chitra chitra, Nutaphand’s narrow-headed soft-shell turtle)
- ตะพาบม่านลายพม่า (Chitra vandijki, Burmese narrow-headed softshell turtle)
- ตะพาบแก้มแดง (Dogania subplana, Malayan softshell turtle)
- ตะพาบหับพม่า (Lissemys scutata, Burmese flapshell turtle)
- ตะพาบนกยูงพม่า (Nilssonia formosa, Burmese peacock softshell turtle)
- ตะพาบหัวกบ (Pelochelys cantorii, Asian Giant softshell turtle)
- ตะพาบไต้หวัน (Pelodiscus sinensis, Chinese softshell turtle)

เต่าน้ำจืด
- เต่าปูลู (Platysternon megacephalum, Big-headed Turtle)
- เต่าจาน (Batagur affinis, Southern river terrapin)
- เต่ากระอาน (Batagur baska, Northern river terrapin)
- เต่าลายตีนเป็ด (Batagur borneoensis, Painted terrapin)
เต่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- เต่าหับเอเชีย (Cuora amboinensis, Amboina box turtle)
- เต่าจัน (Cuora mouhotii, Keeled box turtle)
- เต่าห้วยเขาบรรทัด, เต่าห้วยท้องเหลือง (Cyclemys atripons, Western black-bridge leaf turtle)
- เต่าใบไม้, เต่าแดง (Cyclemys dentata, Asian leaf turtle)
- เต่าใบไม้ซุนดรา, เต่าใบไม้มลายู (Cyclemys enigmatica, Enigmatica leaf turtle)
- เต่าห้วยท้องดำ (Cyclemys oldhamii, Oldham's leaf turtle)
- เต่าบึงหัวเหลือง (Heosemys annandalii, Yellow-headed temple turtle)
- เต่าหวาย (Heosemys grandis, Giant Asian pond turtle)
- เต่าจักร (Heosemys spinosa, Spiny turtle)

เต่ากินหอย
- เต่านา (Malayemys khoratensis, Khorat snail-eating turtle)
- เต่านาหัวใหญ่ (Malayemys macrocephala, Malayan snail-eating turtle)
- เต่านาอีสาน (Malayemys subtrijuga, Mekong snail-eating turtle)
- เต่าทับทิม (Notochelys platynota, Malayan flat-shelled turtle)
- เต่าบึงดำ (Siebenrockiella crassicollis, Black marsh turtle)

เต่าบก
- เต่าเหลือง (Indotestudo elongata, Elongated tortoise)
- เต่าหก (Manouria emys, Brown tortoise)


Credits : Thai national park

17/04/2021

Google Earth ออกฟีเจอร์ใหม่ Timelapse ให้สามารถดูภาพการเปลี่ยนแปลงของโลกย้อนหลังได้ถึง 37 ปี
Google Earth ได้รับการอัปเดทครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ด้วยการเพิ่มแถบใหม่อย่าง "เวลา" ให้ผู้คนสามารถหวนคืนวันวานไปดูโลกเมื่ออดีตว่ามีการเปลี่ยนแปลงยังไงบ้างได้
https://youtu.be/5W-zPqrGQWA
แอปเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่เลือกว่า Timelapse เพื่อให้คุณสามารถเห็นได้ว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยรวบรวมภาพถ่ายดาวเทียมกว่าหลายล้านภาพในช่วงปี 1984 ถึง 2020 โดยภาพเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าโลกของเรากำลังแย่ลงขนาดไหนทั้งจากภาวะโลกร้อน ป่าไม้ที่ลดลง
การสร้างภาพ Timelapse ของดาวเคราะห์ทั้งดวงนั้นใช้พลังการประมวลผลอย่างมหาศาล โดยภาพจำนวนมากจาก Landsat ของ NASA ใช้เวลาประมวบผลมากกว่า 2 ล้านชั่วโมงด้วย Google Could เพื่อรวบรวมภาพถ่านดาวเทียมขนาด 20 petabyte ให้เป็นวีดีโอขนาด 4.4 Terapixel หรือเทียบง่าย ๆ ก็คือชัดกว่าวีดีโอ 4K 530,000 เท่า ถือเป็นไฟล์วีดีโอที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
Google ได้รวบรวม Timelapse กว่าหลายร้อยรายการไว้ใน Playlist นี้
https://bit.ly/3so12qJ
สำหรับใครที่ต้องการจะสำรวจโลกด้วยตัวเองสามารถเข้าไปชมได้ที่นี่ !
https://earthengine.google.com/timelapse/

14/04/2021

Long and shiny! Victorian three-toed earless skink photographed on the banks of the Goulburn River in central Victoria, Australia by Rob Valentic. TRR is made possible by The Bio Dude

08/04/2021

#แอลลิเกเตอร์เผือก หรือ White Alligator คือจระเข้ที่มีความผิดปกติของเม็ดสีเมลานิน ทำให้พวกมันมีสีขาวตลอดทั้งลำตัว และมีดวงตาสีฟ้าเข้ม ขณะที่บางตัวมีดวงตาสีชมพู นอกนั้นแล้วพวกมันก็มีลักษณะอื่นเหมือนกับแอลลิเกเตอร์ทั่วไป โดยแอลลิเกเตอร์เผือกที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบ มีน้ำหนักมากถึง 455 กิโลกรัมเลยทีเดียว

แอลลิเกเตอร์ (Alligator) หรือจระเข้ตีนเป็ด จัดเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่ง มีบรรพบุรุษมาตั้งเเต่เมื่อ 200 ล้านปีที่แล้ว และพวกมันไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างเลยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จำแนกออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ แอลลิเกเตอร์อเมริกัน ซึ่งถือเป็นสัตว์จำพวกจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ และแอลลิเกเตอร์จีนที่พบในลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนเท่านั้น

ภาพ Luna อัลลิเกเตอร์เผือกในนอร์ทแคโรไลนาอควาเรียม โดย Sherrif2966

#ดูสารคดีสำรวจโลก ที่ Good TV ผ่านดาวเทียม ไม่ยุ่งยาก จานทึบ KU Band เปลี่ยนกล่อง ดูได้ทันที เพียง 990 บาท ดูฟรี ไม่มีรายเดือน
💻 ดูสารคดี ดีที่สุด ชัดที่สุด ที่ Good TV http://tv.co.th/
☎️ Good TV โทร 020263399
📌สั่งซื้อกล่อง Good TV ได้ง่ายๆ 📌
Line Good TV👉 https://line.me/R/ti/p/%40goodtv
Shopee 👉 https://bit.ly/3bwLmLj
Lazada 👉 https://bit.ly/2ZJlM0l

รู้หรือไม่ เต่าสามารถจดจำสิ่งต่างๆรอบตัว ได้อย่างที่เราคาดไม่ถึง!
05/04/2021

รู้หรือไม่ เต่าสามารถจดจำสิ่งต่างๆรอบตัว ได้อย่างที่เราคาดไม่ถึง!

A trio of researchers with the Okinawa Institute of Science and Technology, the Hebrew University and Tiergarten Schönbrunn, Maxingstrasse, has found that giant tortoises are not only trainable, but have long memories. In their paper published in the journal Animal Cognition, Tamar Gutnick, Anton W...

บทความที่ 2 : ”เต่าไดมอนด์แบร็ค”ชื่อสามัญ : Diamondback Terrapinชื่อวิทยาศาสตร์ : Malaclemys Terrapinขนาดโตเต็มวัย : 15-...
05/04/2021

บทความที่ 2 : ”เต่าไดมอนด์แบร็ค”
ชื่อสามัญ : Diamondback Terrapin
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Malaclemys Terrapin
ขนาดโตเต็มวัย : 15-25 cm (8 inches)
สถานะการอนุรักษ์ : เสี่ยงสูญพันธ์ (VU : Vulnerable)
เต่าไดมอนด์แบร็คจัดอยู่ในตระกูลเต่าน้ำที่ใช้ชีวิตแบบครึ่งบกครึ่งน้ำ เป็นเต่าขนาดเล็กที่มี่ถิ่นที่อยู่อาศัยในน้ำกร่อยตามแนวชายฝั่งตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา พบได้ตามรัฐ หลุยเซียนา, เดลาแวร์, เท็กซัส, มิสซิสซิปปี, จอร์เจีย, นิวยอร์ก, แมสซาซูเซต, ฟลอริดา, นอร์ท และ เซ้าท์แคโรไลนา, นิวเจอร์ซีย์, แมริแลนด์, อะลาไบมา และเวอร์จิเนีย
เต่าไดมอนด์แบร็คนั่นถูกตั้งชื่อตามรูปแบบบนกระดองที่เหมือนเพรช ขนาดของตัวเมียสามารถโตได้ถึง 8-10 นิ้ว และ 5-7 นิ้วในตัวผู้ พวกมันมีเล็บหน้า 5 เล็บ และหลัง 4 เล็บ บริเวณเท้าของพวกมันมีผังผืดที่เอาใว้ช่วยให้พวกมันว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว
จุดเด่นของเต่าชนิดนี้คือ บริเวณหน้าและลำตัวจะมีสีเทา, ขาว, ฟ้าเทา หรือในบางชนิดมีสีเหลืองอ่อนหรือส้ม และมีจุดดำตามตัวและใบหน้า ซึ่งความสวยงามของเต่าแต่ละตัวนั้นก็ขึ้นอยู่กับลายบนตัวมันนั่นเอง
เต่าไดมอนด์แบร็ค มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 25-40 ปีในธรรมชาติ จริงๆแล้ว พวกมันนั้นมีสายพันธ์ที่ย่อยลงไปอีกถึง 7 สายพันธ์ และ แต่ละสายพันธ์นั้นมีความคล้ายคลึงกัน แต่ละสายพันธ์จะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันออกไป
เต่าไดมอนด์แบร็ค พบได้ในน้ำกร่อยที่มีความช่วงความเค็มอยู่ที่ 0-35 (Salinity range)
อาหารของเต่าไดมอนด์แบร็คนั้นประกอบไปด้วย กุ้ง หอย และพืชสาหร่ายต่างๆตามแหล่งธรรมชาติ โดยพวกมันถูกเรียกว่านักล่าหอยโดยสมบูรณ์ ในธรรมชาติของพวกมันมักจะให้ไข่ได้ 13-40 ฟอง
ตามรีพอร์ตระบุการให้ไข่ของเต่าชนิดนี้ที่ต่างกัน เต่าไดมอนด์แบร็คโตเต็มวัยทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาโดยเฉลี่ยจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าทางตอนใต้ อย่างเช่น เต่าตัวเมียจากนิวยอร์คสามารถให้ไข่ได้ 12 ฟอง แต่ตัวเมียในแมริแลนด์อาจให้ไข่ได้มากกว่า 26 ฟองต่อหนึ่งครั้ง และแม่เต่าบางชนิด อาจจะให้ไข่ได้เพียง 4-6 ฟอง/ปี เท่านั้น ซึ่งการวางไข่ของพวกมันจะขึ้นมาวางไข่บนบก บริเวณที่มีดิน หรือ ทราย จากนั้นแม่เต่าจึงกลบไข่และกลับลงสู่ธรรมชาติ และรอลูกเต่าฟักและเจาะไข่ออกมาสู่โลกภายนอก ซึ่งระหว่างนั้นมีศัตรูตามธรรมชาติหลายชนิดที่คอยจะกินไข่ของพวกมัน นั่นทำให้อัตราการรอดของเต่าชนิดนี้มีอัตรการรอดที่น้อยลง ทำให้พประชากรของพวกมันลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา




Credits : IUCN Redlist

01/04/2021
บทความที่ 1 : ”เต่าเหลือง หรือเต่าเทียน”ชื่อสามัญ : Elongated Tortoiseชื่อวิทยาศาสตร์ : Indotestudo Elongataขนาดโตเต็มวั...
30/03/2021

บทความที่ 1 : ”เต่าเหลือง หรือเต่าเทียน”
ชื่อสามัญ : Elongated Tortoise
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indotestudo Elongata
ขนาดโตเต็มวัย : 30 cm (12 inches)
สถานะการอนุรักษ์ : ใกล้สูญพันธ์ (CR : Critically Endangered)
ลักษณะโดยทั่วไปของเต่าเหลืองนั้น มีสีเหลืองและสีน้ำตาล บริเวณขามีเกล็ดปกคุลม เล็บเท้าหน้ามีข้างละ 5 เล็บ และเท้าหลังมีข้างละ 4 เล็บ ตัวผู้จะมีลำตัวกับหางที่ยาว ในตัวผู้โตเต็มวัย บริเวณใต้ท้องจะมีลักษณะเว้าเข้า ตัวเมียจะมีลำตัวกลมกว่าตัวผู้ เล็บหลังของตัวเมียนั้นจะมีความยาวและโค้งกว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด เพื่อที่จะได้อำนวยความสะดวกในการขุดหลุมฝังไข่ ส่วนน้ำหนักโดยเฉลี่ยของเต่าเหลืองนั้นสามารถหนักได้ถึง3.5 กิโลกรัมหรือมากกว่า
ถิ่นที่อยู่อาศัยในอดีตและปัจจุบันของเต่าเหลืองนั้นพบได้ในประเทศบังกลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา อินเดีย ลาว มาเลเชีย เนปาล และทางตอนใต้ของประเทศไทย
เต่าเหลือง มักจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าที่มีแหล่งน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เต่าเหลืองจัดเป็นเต่าบกสายชื้นที่ขึ้นชื่อว่าสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ อัตราส่วนทางเพศของเต่าเหลืองนั้น จากสถิติพบว่า เต่าเหลืองในธรรมชาตินั้นมีตัวเมียมากกว่าตัวผู้ ถึง 2.45 ต่อ 1 ตัว ปัจจุบันเต่าเหลืองในธรรมชาตินั้นหาได้ค่อนข้างยากมากโดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเพราะการถูกคุมคามอาณาเขตจากมนุษย์ ประชากรเต่าเหลืองจัดอยู่ในอยู่ในกลุ่มที่กำลังลดลงอย่างมาก จากรายงานกล่าวว่าประชากรเต่าเหลืองที่ลดลงอย่างน้อย 80% ในรอบ 90 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลที่ว่าพวกมันสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยให้กับศัตรูทางธรรมชาติหรือแม้กระทั่งมนุษย์ และยังถูกนำไปบริโภคและการค้าการส่งออกนอกประเทศ บางความเชื่อของมนุษย์ เชื่อว่าการกินเต่านั้นจะทำให้อายุยืนขึ้นเหมือนเต่าที่มีอายุยืนนานหลายสิบปี ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิด
ในรายงานยังกล่าวอีกว่า เต่าเหลืองหรือเต่าเทียนนั้น เป็นเต่าสายพันธ์ที่มีการฟื้นตัวที่ช้าในธรรมชาติ ซึ่งประชากรเต่าเหลืองที่ยังคงเหลืออยู่ในธรรมชาตินั้น อาจจะมีอัตราการขยายพันธ์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในบางพื้นที่เมื่อประชากรมนุนย์เพิ่มขึ้น ปัจจุบันเต่าเหลืองถูกขึ้นบัญชีให้เป็นสัตว์ที่ ห้ามมีผู้ใดมีใว้ในครอบครอง ห้ามมีในครอบครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี 2562




Credits : IUCN Redlist

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เพจ Tortoise FYIเพจ Tortoise FYI สร้างขึ้นเพื่อแนะนำ และ ให้ความรู้เกี่ยวกับเต่าและธรรมชาติ เนื้อหาขอ...
29/03/2021

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เพจ Tortoise FYI
เพจ Tortoise FYI สร้างขึ้นเพื่อแนะนำ และ ให้ความรู้เกี่ยวกับเต่าและธรรมชาติ เนื้อหาของเพจนั้นจะเน้นไปทางการให้ความรู้เกี่ยวกับเต่าบกและเต่าน้ำในธรรมชาติ
กด follow เพื่อติดตาม จะได้ไม่พลาดข้อมูลนะคร้าบ

ที่อยู่

Bangkok
10100

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Tortoise FYIผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์


Bangkok ร้านค้าสัตว์เลี้ยงและบริการสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด