Pet's Angel Clinic By หมอเม

Pet's Angel Clinic By หมอเม รักษาสัตว์
(13)

มาอัพเดทกันค่ะ
22/04/2024

มาอัพเดทกันค่ะ

ปัจจุบันยาป้องกันปรสิตทางสัตวแพทย์ที่ใช้กับสุนัขและแมวมีด้วยกันหลายตัวยา ส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบการใช้ยาหลายกลุ่มในหนึ่งสูตรยา (combination drug) เพื่อให้ขอบเขตการออกฤทธิ์กว้างขึ้นและครอบคลุมกับปรสิตทุกชนิด ทั้งปรสิตภายนอก เช่น เห็บ หมัด เหา ไรขี้เรื้อน ไรในหู และปรสิตภายใน ซึ่งก็คือ หนอนพยาธิชนิดต่าง ๆ ได้แก่ พยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร พยาธิปากขอ พยาธิหนอนหัวใจ พยาธิตัวตืด
และเนื่องจากปรสิตภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เห็บ หมัด และไร ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดรอยโรคบริเวณผิวหนังที่นำมาซึ่งภาวะโลหิตจางเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคพยาธิเม็ดเลือดที่อาศัยแมลงเหล่านี้เป็นพาหะ เช่น anaplasmosis, babesiosis, bartonellosis หรือ ehrlichiosis เป็นต้น ดังนั้นการป้องกันปรสิตทั้งภายนอกและภายในจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ บทความนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อแสดงข้อมูลของยาป้องกันปรสิตที่นิยมใช้ในสุนัขและแมวในปัจจุบัน
รูปแบบในการบริหารยาป้องกันปรสิตในสุนัขและแมวมีความแตกต่างกัน โดยในสุนัขจะมีทั้งรูปแบบยาหยดหลัง (spot-on) และรูปแบบยากิน ส่วนในแมวนั้นส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบยาหยดหลังเป็นหลัก
1. Fipronil ร่วมกับ (S)-methoprene (รูปแบบยาหยดหลัง ทั้งสุนัขและแมว)
Fipronil เป็นสารในกลุ่ม phenylpyrazoles ออกฤทธิ์ได้กับเห็บ หมัด และเหา กลไกการออกฤทธิ์คือ ยับยั้งการเปิดช่องทางของคลอไรด์ในเซลล์ประสาท (gamma-aminobutyric acid; GABA) ส่งผลให้เห็บหมัดเกิดอัมพาตแบบชักเกร็ง (spastic paralysis) และตายในที่สุด ส่วน (S)-methoprene เป็นสารที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของสัตว์ขาปล้อง อีกทั้งยังทำให้ไข่ของหมัดฝ่อ
ข้อบ่งใช้ คือ ใช้กับสุนัขและแมวที่มีอายุ 8 สัปดาห์ขึ้นไป และห้ามใช้ยานี้ในกระต่ายโดยเด็ดขาด โดยใช้หยดหลังเดือนละครั้ง
2. Imidacloprid ร่วมกับ Moxidectin (รูปแบบยาหยดหลัง ทั้งสุนัขและแมว)
Imidacloprid ออกฤทธิ์เป็น neurotoxin กับหมัด ทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ส่วน moxidectin เป็นยาในกลุ่ม macrocyclic lactones ออกฤทธิ์ทำให้การเปิดช่องทางของคลอไรด์ในเซลล์ประสาท (GABA agonist) ของปรสิตภายนอกและพยาธิตัวกลมมากขึ้น ส่งผลทำให้การส่งกระแสประสาทผิดปกติ (hyperpolarization) เป็นอัมพาต (flaccid paralysis) และตายในที่สุด
ข้อบ่งใช้ คือ ใช้กับสุนัขอายุ 7 สัปดาห์ขึ้นไป และ แมวที่มีอายุ 9 สัปดาห์ขึ้นไป โดยใช้หยดหลังเดือนละครั้ง
3. Selamectin (รูปแบบยาหยดหลัง ทั้งสุนัขและแมว)
Selamectin เป็นยาในกลุ่ม macrocyclic lactones ออกฤทธิ์คล้ายกับยาอื่น ๆ ในกลุ่ม ได้แก่ ivermectin, moxidectin, eprinomectin และ milbemycin คือ ทำให้การส่งกระแสประสาทของปรสิตผิดปกติ และตายในที่สุด สามารถต้านปรสิตทั้งภายนอกและภายในทางเดินอาหารรวมทั้งพยาธิหนอนหัวใจ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยกับสุนัขพันธุ์คอลลี่ แมว และ exotic pet
ข้อบ่งใช้ คือ ใช้กับสุนัขอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป และ แมวที่มีอายุ 8 สัปดาห์ขึ้นไป โดยใช้หยดหลังเดือนละครั้ง
4. Fipronil และ (S)-methoprene ร่วมกับ Eprinomectin และ Praziquantel (รูปแบบยาหยดหลังในแมว)
Fipronil และ (S)-methoprene เป็นยาที่กำจัดปรสิตภายนอกของแมว เช่น หมัด ไข่ของหมัด เหา ส่วนยา eprinomectin เป็นยาในกลุ่ม macrocyclic lactones ที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายพยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร พยาธิตัวกลมในปอด พยาธิตัวกลมในกระเพาะปัสสาวะ รวมไปถึงป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ ส่วนยา praziquantel จะออกฤทธิ์ในการถ่ายพยาธิตัวตืด พยาธิตืดหมัด และพยาธิหัวหนาม
ข้อบ่งใช้ เช่นเดียวกับยา fipronil คือ ใช้กับแมวที่มีอายุ 8 สัปดาห์ขึ้นไป และห้ามใช้ยานี้ในกระต่ายโดยเด็ดขาด ใช้หยดหลังเดือนละครั้ง
5. Afoxolaner ร่วมกับ Milbemycin (รูปแบบยากินในสุนัข)
Afoxolaner เป็นยาในกลุ่ม isoxazolines ออกฤทธิ์เช่นเดียวกันกับยาอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ ได้แก่ esafoxolaner, fluralaner และ sarolaner โดยการยับยั้งการเปิดช่องทางของคลอไรด์ในเซลล์ประสาท (GABA antagonist) ของปรสิตอย่างจำเพาะ ทำให้ระบบประสาทของปรสิตถูกกระตุ้นง่ายขึ้นจนเป็นอัมพาตแบบชักเกร็ง (spastic paralysis) และตายในที่สุด ยาในกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพสูงในการต้านปรสิตภายนอกหลายชนิด เช่น เห็บ หมัด เหา ไรขี้เรื้อน ไรในหู ทั้งยังสามารถใช้กับสุนัขพันธุ์คอลลี่ได้อย่างปลอดภัย ส่วน milbemycin เป็นยาในกลุ่ม macrocyclic lactones ออกฤทธิ์ถ่ายพยาธิตัวกลมในทางเดินอาหาร พยาธิปากขอ พยาธิหลอดอาหาร และป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ
ข้อบ่งใช้ คือ ใช้กับสุนัขอายุ 8 สัปดาห์ขึ้นไป โดยให้กินเดือนละครั้ง
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทความเท่านั้น อ่านบทควมฉบับเต็มพร้อมตัวยาอื่นๆ และตารางสรุปยาทุกตัวแบบเข้าใจง่ายได้ที่ : https://readvpn.com/article/detail/2186
บทความโดย : น.สพ. ธนวิทย์ สีหอำไพ
สำหรับคุณหมอสัตวแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก
ตอนนี้ทาง VPN มีโปรโมชั่นน่าสนใจอยู่นะ
💙 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,500 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💙 อ่านจากเล่ม เน้นสะสม -
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/VPN/Subscription
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line :

เต้านมใหญ่ อาจไม่ใช่มะเร็งทุกเคสนะคะ
10/04/2024

เต้านมใหญ่ อาจไม่ใช่มะเร็งทุกเคสนะคะ

สวัสดีปีใหม่2567
01/01/2024

สวัสดีปีใหม่2567

วันนี้ระวังเสียงพลุกันด้วยนะคะ…เด็กๆที่บ้านอาจจะตกใจวิ่งหนีออกจากบ้าน
27/11/2023

วันนี้ระวังเสียงพลุกันด้วยนะคะ…เด็กๆที่บ้านอาจจะตกใจวิ่งหนีออกจากบ้าน

30/07/2023

เปิดหูเด็กๆที่บ้านดูกันด้วยนะคะ….ถ้าเห็นน้องเกาบ่อยๆ🐶🐱

เรื่องเก่าแต่บอกเล่าหลายรอบ….ช่วยๆกันนะคะ
15/06/2023

เรื่องเก่าแต่บอกเล่าหลายรอบ….ช่วยๆกันนะคะ

🙄จะให้น้องหมาน้องแมวกิน/ฉีดยาคุมแน่นะวิ❌

📌กรมปศุสัตว์เค้าประกาศให้ยกเลิกการฉีดยาคุมกำเนิดในสุนัขและแมวมาตั้งแต่มกราคม 2560 แล้วเน้อ

📌อย่าบอกนะตัวเองว่าเล่นโซเชียลแล้วไม่รู้ผลเสียของการฉีดยาคุมกำเนิด

🙄ตอนนี้มียาคุมแบบกินสำหรับหมาแมวจำหน่ายตามออนไลน์กันเกลื่อน หลายท่านทักมาถาม ก็เตือนว่า ❌อย่าหาซื้อ❌

❌ปัจจุบันยาคุมกำเนิดแบบกินในสุนัข และแมว ยังไม่มีตัวไหนได้รับการรับรอง หรือขึ้นทะเบียนการค้านะคะ

🙄หลายเดือนก่อนใช้เฟสปลอมไปลองล่อซื้อยาคุมแบบกินในหมาแมวจาก 3 เพจ
นี่คือหนึ่งในคำตอบจากเพจหนึ่ง🙄🙄
(comment แรก)

😢เราจะกล้าซื้อยาที่คนขายยังไม่ทราบแม้กระทั่งตัวยา จะกล้าซื้อยาเถื่อนที่ไม่มีทะเบียนจริงๆ หรือคะ

🤧มีบางท่านยอมรับว่าซื้อให้สุนัขกิน แต่ก็สุนัขก็ท้องเหมือนเดิม

🤭มีรุ่นน้องทำหมันแมวที่ได้รับยาคุมแบบกิน เจอภาวะมดลูกอักเสบที่กำลังจะพัฒนาไปเป็นมดลูกเป็นหนอง ปล่อยทิ้งไว้ก็รอระเบิดเวลาของการเสียชีวิต

❌ไม่แนะนำยาคุมทั้งฉีดและกิน❌

💕ไม่ทำหมันก็กักบริเวณเอานะคะ💕

ป.ล. มีคำถามเพิ่มเติม ส่งมาทาง inbox นะคะ

หมายเหตุ: ทางโรงพยาบาลทำได้เพียงแจ้งผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้ยาคุมเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าที่ต้องการทางเลือก ส่วนลูกค้าสามารถยอมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน หรือ ต้องการใช้วิธีใด ส่วนนี้เป็นดุลยพินิจของลูกค้านะคะ เพราะผลเสียที่แจ้งเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วค่ารักษาสูงกว่าค่าทำหมันมาก บางเคสรักษาไม่ได้ถึงขั้นเสียชีวิตและมีหลายเคสที่มารักษาด้วยสาเหตุนี้เพราะเจ้าของไม่ทราบถึงผลเสียจึงเลือกวิธีที่มีความเสี่ยง ทางโรงพยาบาลไม่สามารถบังคับลูกค้าหรือคุณหมอท่านอื่นๆได้ ทำได้เพียงแจ้งข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเพิ่มเติมค่ะ

❌❌ซื้อง่ายราคาถูกแต่เป็นยาปลอมอันตรายกับน้องหมาน้องแมวมากๆๆ…..ใช้ยากับสัตว์ปรึกษาสัตวแพทย์ใกล้บ้านก่อนนะคะ….🙀😵❌❌
06/05/2023

❌❌ซื้อง่ายราคาถูกแต่เป็นยาปลอมอันตรายกับน้องหมาน้องแมวมากๆๆ…..ใช้ยากับสัตว์ปรึกษาสัตวแพทย์ใกล้บ้านก่อนนะคะ….🙀😵❌❌

12/04/2023

🎊สุขสันต์วันสงกรานต์🎊
ทางคลีนิคปิดบริการ 13-16 เมษายน2566
เปิดบริการอีกครั้ง 17 เมษายน 2566
ขออภัยในความไม่สะดวกทุกท่านค่ะ

14/11/2022

🙄จะให้น้องหมาน้องแมวกิน/ฉีดยาคุมแน่นะวิ❌

📌กรมปศุสัตว์เค้าประกาศให้ยกเลิกการฉีดยาคุมกำเนิดในสุนัขและแมวมาตั้งแต่มกราคม 2560 แล้วเน้อ

📌อย่าบอกนะตัวเองว่าเล่นโซเชียลแล้วไม่รู้ผลเสียของการฉีดยาคุมกำเนิด

🙄ตอนนี้มียาคุมแบบกินสำหรับหมาแมวจำหน่ายตามออนไลน์กันเกลื่อน หลายท่านทักมาถาม ก็เตือนว่า ❌อย่าหาซื้อ❌

❌ปัจจุบันยาคุมกำเนิดแบบกินในสุนัข และแมว ยังไม่มีตัวไหนได้รับการรับรอง หรือขึ้นทะเบียนการค้านะคะ

🙄หลายวันก่อนใช้เฟสปลอมไปลองล่อซื้อยาคุมแบบกินในหมาแมวจาก 3 เพจ
นี่คือหนึ่งในคำตอบจากเพจหนึ่ง🙄🙄
(comment แรก)

😢เราจะกล้าซื้อยาที่คนขายยังไม่ทราบแม้กระทั่งตัวยา จะกล้าซื้อยาเถื่อนที่ไม่มีทะเบียนจริงๆ หรือคะ

🤧มีบางท่านยอมรับว่าซื้อให้สุนัขกิน แต่ก็สุนัขก็ท้องเหมือนเดิม

🤭มีรุ่นน้องทำหมันแมวที่ได้รับยาคุมแบบกิน เจอภาวะมดลูกอักเสบที่กำลังจะพัฒนาไปเป็นมดลูกเป็นหนอง ปล่อยทิ้งไว้ก็รอระเบิดเวลาของการเสียชีวิต

❌ไม่แนะนำยาคุมทั้งฉีดและกิน❌

💕ไม่ทำหมันก็กักบริเวณเอานะคะ💕

ป.ล. มีคำถามเพิ่มเติม ส่งมาทาง inbox นะคะ

17/10/2022
อ่านกันค่ะ
26/09/2022

อ่านกันค่ะ

❌ 10 อาหารต้องห้ามสำหรับสัตว์เลี้ยง ❌

หลายครั้งที่สัตว์เลี้ยงแสนรักของเรามาขออาหาร ทำตาแป๋วจนเราต้องยอมใจอ่อนแบ่งให้น้องทาน

แต่…รู้หรือไม่ว่า??

อาหารที่คนสามารถทานได้และมีประโยชน์ต่อร่างกายนั้นบางอย่างเป็นอันตรายแก่สัตว์เลี้ยง ส่งผลเสียต่อสุขภาพและหากรับประทานในปริมาณมากอาจร้ายแรงถึงชีวิตน้อง ๆ ได้

สัตว์เลี้ยงไม่สามารถพูดหรือเลือกได้ สุขภาพที่ดีและความปลอดภัยของน้องจึงเป็นสิ่งที่เจ้าของควรใส่ใจและให้ความสำคัญ

✅เจ้าของควรเลือกอาหารที่เหมาะสมกับ สายพันธุ์ อายุ น้ำหนัก สุขภาพ โซเดียมต่ำ ปริมาณสารอาหาร แร่ธาตุ และวิตามินที่เหมาะสม กับน้อง ๆ เพื่อสุขภาพที่ดีนะคะ

📍ฝากกดแชร์เพื่อเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆสัตว์เลี้ยงแสนรักกันเยอะ ๆ นะคะ

ตัดอย่างไรให้ถูกวิธี….👍🏻🐱💓
25/05/2022

ตัดอย่างไรให้ถูกวิธี….👍🏻🐱💓

อย่าหาทำกันนะคะ
29/03/2022

อย่าหาทำกันนะคะ

คลิปผู้ปกครองคิดว่าลูกปวดหัว ให้กินยาไม่หาย สุดท้ายเจอเห็บตัวใหญ่อยู่บนหัว ด้านสัตวแพทย์ เตือนเทแอลกอฮ.....

30/12/2021

ปีใหม่ปิด31-3มกราคม65 เปิดบริการ4 มกราคม65 สวัสดีปีใหม่ทุกๆท่านนะคะ 🎉🎁🎂💐🎊

30/12/2021

วันนี้คลีนิคปิด5โมงเย็นขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ🙏🏻🙏🏻🙏🏻

ระวังกันด้วยนะคะ….
13/12/2021

ระวังกันด้วยนะคะ….

ขออนุญาตแชร์ค่ะ🙏🏻🙏🏻🙏🏻
09/09/2021

ขออนุญาตแชร์ค่ะ🙏🏻🙏🏻🙏🏻

📍ขนบางๆบริเวณระหว่างตาถึงด้านหน้าของใบหูที่เห็นในภาพ..ถือเป็นลักษณะปกติที่พบได้ในแมว
มีชื่อภาษาอังกฤษว่า "preauricular alopecia"

📍โดยจะเป็นทั้งซ้ายและขวาของหัวแมว
คล้ายแมวหัวล้าน
(ขออภัยถ้าคำว่า "หัวล้าน" กระทบจิตใจผู้อ่านบางท่าน)

📍ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นชัดในแมวที่มีขนสั้น ขนบาง รวมถึงแมวสีดำ
ส่วนแมวขนยาว ขนหนา จะเห็นไม่ค่อยชัด

📍ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใดๆ เพราะไม่ได้เป็นโรคผิวหนังค่ะ

📍แต่ถ้าบริเวณดังกล่าวพบว่าแมวมีอาการคัน/เกา ผิวหนังอักเสบแดง มีตุ่มหรือผื่น สะเก็ดรังแค ฯลฯ อาจมีสาเหตุจากโรคผิวหนังได้ค่ะ กรณีนี้ให้พาไปตรวจผิวหนังกับคุณหมอโดยละเอียดนะคะ

ADMIN: DVTHKKU

23/07/2021

⚠️ ห้ามละเลย ! สิ่งที่ต้องทำทันที เมื่อกลับถึงบ้านในช่วงสถานการณ์ COVID - 19

💬 หลายคนอาจจะเผลอตัว ละเลยสิ่งนี้ไป หากมีความจำเป็นต้องออกไปนอกบ้านหรือ กลับจากทำงาน อาจจะนำเชื้อโรคกลับมาโดยไม่รู้ตัว วันนี้แอดนำข้อควรทำ ที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังคนในบุคคลในครอบครัว ก็คือกลับบ้านปุ๊บ ต้องทำทันที ช่วงนี้ก็ดูแลตัวเองอย่างเคร่งคัดน้าทุกคน

🙏🏻 ขอบคุณข้อมูลจาก
- https://ppro.pro/36Ob5NB
- https://ppro.pro/3zyKosH
- https://ppro.pro/3kKc1dV

#ปันโปร
#สิ่งที่ต้องทำทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน

📌📌📌😷😷😷เรียนมาเพื่อทราบและขอบพระคุณที่ทุกท่านให้ความร่วมมือ🙏🏻🙏🏻🙏🏻😷😷😷
18/04/2021

📌📌📌😷😷😷เรียนมาเพื่อทราบและขอบพระคุณที่ทุกท่านให้ความร่วมมือ🙏🏻🙏🏻🙏🏻😷😷😷

23/12/2020

เรียนรู้....สู้โควิท....ขอบคุณหมอก้องนะคะ

08/09/2020

👍อัพเดทความรู้เกี่ยวกับวัคซีนในแมว
(ดัดแปลงจากบทความของ ศ.สพ.ญ.ดร.สันนิภา สุรทัตต์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
***บทความนี้ได้รับการอนุญาตดัดแปลงจากอาจารย์ผู้เขียนแล้ว
...ในปัจจุบันได้มีการแบ่งกลุ่มวัคซีนสำหรับแมวออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. วัคซีนหลัก (core vaccine) ซึ่งควรให้แก่แมวทุกตัว ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคหัด-หวัดแมว รวมถึงวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากประเทศไทยเป็นเขตระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า
2. วัคซีนทางเลือก (non-core vaccine) ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคลิวคีเมีย โรคเอดส์แมว โรคเยื่อตาขาวอักเสบ ซึ่งพิจารณาให้เฉพาะแมวที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อหรือเกิดโรค โดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของสัตวแพทย์
3. วัคซีนที่ไม่แนะนำให้ใช้ (not-recommended vaccine) ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (FIP) ซึ่งเป็นวัคซีนที่ไม่มีข้อบ่งใช้ในประชากรแมวส่วนใหญ่ เนื่องมาจากปัญหาในด้านประสิทธิภาพของตัววัคซีนเอง และโอกาสในการเกิดผลอันไม่พึงประสงค์ภายหลังให้วัคซีน...ในส่วนของคำแนะนำเรื่องโปรแกรมการให้วัคซีน ยังคงให้ความสำคัญกับระดับภูมิคุ้มกันถ่ายทอดจากแม่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการรบกวนการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในลูกสัตว์ ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าลูกแมวได้รับวัคซีนในช่วงเวลาที่เหมาะสมโดยไม่มีการรบกวนจากภูมิคุ้มกันถ่ายทอดจากแม่ ควรเริ่มให้วัคซีนหลักแก่ลูกแมวที่มีสุขภาพแข็งแรงตั้งแต่อายุ 6-8 สัปดาห์ (โดยปกติแล้ว แนะนำให้เริ่มให้วัคซีนเมื่อลูกแมวมีอายุประมาณ 8สัปดาห์ แต่ในกรณีที่ลูกแมวไม่ได้รับภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดจากแม่ (เช่น ลูกแมวกำพร้า) และมีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง อาจพิจารณาเริ่มให้วัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์) จากนั้นให้วัคซีนกระตุ้นซ้ำทุก 2-4 สัปดาห์ จนแมวมีอายุ 16 สัปดาห์ขึ้นไป และให้วัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิอีกหนึ่งครั้งเมื่ออายุ 6 เดือน หรือ 1 ปี ในท้องที่ที่มีการระบาดของโรคสูง
ปัจจุบันมีข้อมูลทางวิชาการยืนยันแน่ชัดว่า วัคซีนหลักของแมว สามารถให้ความคุ้มโรคได้เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี ประกอบกับความต้องการที่จะลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะอันไม่พึงประสงค์ภายหลังการให้วัคซีนโดยไม่จำเป็น จึงแนะนำให้เว้นระยะเวลาการให้วัคซีนหลักชนิดเชื้อเป็น (หัด-หวัดแมว) และวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า ในสัตว์ที่โตเต็มวัยแล้วไม่น้อยกว่าทุก 3 ปี ยกเว้นแต่ในกรณีที่มีกฎหมายระบุไว้ในแต่ละท้องที่ เช่น ในกรณีของวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งสัตวแพทย์พึงต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศกำหนดโดยเคร่งครัด (ประเทศไทยควรมีการกระตุ้นทุก 1 ปี) ทั้งนี้ในแมวที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ควรมีการกระตุ้นวัคซีนป้องกันหัด-หวัดแมวทุก 1 ปี เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลที่แสดงว่าวัคซีนป้องกันกลุ่มไวรัสหวัดแมว อาจให้ระยะเวลาความคุ้มโรคได้ไม่ดีเท่ากับวัคซีนป้องกันโรคหัดแมว..วัคซีนไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ด้วยตัวเอง แต่ทำงานภายใต้ปัจจัยภายในตัวสัตว์เป็นหลัก คำแนะนำในด้านการจัดการโปรแกรมวัคซีนในแมว มักอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า..แมวที่จะรับวัคซีนต้องมีสุขภาพดี อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีว่า การติดเชื้อบางชนิด ภาวะความเจ็บป่วย การได้รับยา สารเคมี หรือพยาธิสภาพบางอย่าง ล้วนมีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจสามารถส่งผลในการรบกวนประสิทธิภาพของวัคซีนได้
🎈🎈ข้อควรพิจารณาและคำแนะนำเบื้องต้นในการให้วัคซีนแมวที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องในกรณีต่างๆ
1.แมวที่ติดเชื้อเอดส์แมว
♦️ข้อควรพิจารณา: ความสามารถในการตอบสนองต่อการให้วัคซีนขึ้นอยู่กับระยะของโรค และการกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกัน อาจส่งผลให้มีการเพิ่มจำนวนและแพร่กระจายของเชื้อในแมวที่ติดเชื้อมากขึ้น
♦️คำแนะนำ: ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ (เลี้ยงในบ้าน) ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนแล้ว ควรตรวจหาระดับภูมิคุ้มกัน ก่อนการกระตุ้นวัคซีน และให้วัคซีนเฉพาะในกลุ่มที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเท่านั้น แต่ถ้าไม่สามารถตรวจระดับได้ภูมิคุ้มกันได้ ไม่จำเป็นต้องให้วัคซีน นอกจากนี้แมวในกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ ให้ฉีดวัคซีนกลุ่มหลักชนิดเชื้อตายเท่านั้น

2.แมวที่ติดเชื้อลิวคีเมียไวรัส
♦️ข้อควรพิจารณา: ความสามารถในการตอบสนองต่อการให้วัคซีนขึ้นอยู่กับระยะของโรค และวัคซีนอาจกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ไม่สมบูรณ์ รวมถึงไม่ให้ระยะความคุ้มโรคนานเท่าแมวปกติ
♦️คำแนะนำ: ให้วัคซีนกลุ่มหลักตามโปรแกรมปกติแก่แมวที่ติดเชื้อทุกกลุ่ม ส่วนในแมวกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
ในการได้รับเชื้อ (เลี้ยงระบบเปิด) อาจต้องให้วัคซีนถี่ขึ้น (ทุก 6 เดือน) หรือตรวจระดับภูมิคุ้มกันเพื่อให้แน่ใจว่ามีภูมิคุ้มเพียงพอ

3.แมวที่เป็นเนื้องอก (tumor)
♦️ข้อควรพิจารณา: การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการให้วัคซีนต่ำกว่าแมวปกติ
♦️คำแนะนำ: ควรตรวจระดับภูมิคุ้มกัน เพื่อประเมินสถานภาพทางภูมิคุ้มกัน แต่ถ้าไม่สามารถตรวจระดับภูมิคุ้มกันได้ ควรให้วัคซีนทุกปี

4. แมวที่เป็นเบาหวาน
♦️ข้อควรพิจารณา: ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีผลกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
♦️คำแนะนำ: ให้วัคซีนตามโปรแกรมปกติ แต่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติก่อนการให้วัคซีน

5. แมวที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง
♦️ข้อควรพิจารณา: การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อการให้วัคซีนต่ำกว่าแมวปกติ และมีรายงานว่าความถี่ของการให้วัคซีน อาจมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการของโรคไตได้ สำหรับแมวที่มีอาการส่วนมากเป็นแมวมีอายุมาก และได้รับวัคซีนมาแล้วหลายครั้ง ความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ อาจไม่จำเป็นต้องกระตุ้นวัคซีน
♦️คำแนะนำ: ควรตรวจหาระดับภูมิคุ้มกัน ก่อนการกระตุ้นวัคซีน และให้วัคซีนเฉพาะในกลุ่มที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเท่านั้น ถ้าไม่สามารถตรวจเลือดได้และแมวเคยได้รับวัคซีนมาก่อนแล้ว และเลี้ยงภายในบ้านเท่านั้นไม่ต้องให้วัคซีนซ้ำ

6. แมวที่กำลังได้รับเคมีบำบัด (ยาต้านมะเร็ง)
♦️ข้อควรพิจารณา: ยาเคมีบำบัดบางชนิดมีผลยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ดังนั้นจึงมีผลรบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโดยตรง และบางชนิดมีผลกดภูมิคุ้มกันโดยตรง
♦️คำแนะนำ: หลีกเลี่ยงการให้วัคซีนในช่วงที่แมวได้รับเคมีบำบัด หากต้องการให้วัคซีน ควรให้หลังจากเคมีบำบัดไปแล้วอย่างน้อย 3 เดือน

7. แมวที่กำลังวางยาสลบ
♦️ข้อควรพิจารณา: การให้วัคซีนในช่วงการวางยาสลบเพื่อทำหมัน ไม่มีผลต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีน
♦️คำแนะนำ: สามารถให้วัคซีนได้ตามความจำเป็น

8. แมวที่อายุมากกว่า 15 ปี ขึ้นไป
♦️ข้อควรพิจารณา: แมวอายุมากมีปริมาณเซลล์และการควบคุมตอบสนองทางภูมิคุ้มกันไม่ดีเท่าแมวอายุน้อย
♦️คำแนะนำ: แมวที่มีสุขภาพดีควรได้รับวัคซีนตามโปรแกรมปกติ ถ้าจำเป็นต้องได้รับวัคซีนชนิดใหม่ที่ไม่เคยได้รับมาก่อน ควรให้วัคซีน 2 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันอย่างเต็มประสิทธิภาพ

❤️หากมีคำถามเพิ่มเติมกรุณาโพสทิ้งไว้ใน inbox นะคะ แต่ถ้าเป็นคำถามเร่งด่วน กรุณาปรึกษาสัตวแพทย์ใกล้บ้านได้เลยนะคะ

เผื่อใครอยากพาเด็กๆไปรับบริการค่ะ
01/07/2020

เผื่อใครอยากพาเด็กๆไปรับบริการค่ะ

เวลาการเปิดให้บริการ "โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร" คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหิดล ศาลายาค่ะ

เรื่องน่ารู้ใกล้ตัวเรา....ป้องกันได้ค่ะ
19/06/2020

เรื่องน่ารู้ใกล้ตัวเรา....ป้องกันได้ค่ะ

จากภาพข่าวที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ รายงานว่ามีผู้ป่วยเป็นโรค Echinococcosis ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันนะครับ

ข้อมูลโดย รศ.น.สพ.ดร. ปิยนันท์ ทวีถาวรสวัสดิ์ หน่วยปรสิตวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลิตสื่อโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และกลุ่มนิสิตมดงาน CUVET Infographic คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนใจติดต่อเจ้าของโพสต์ได้ค่ะ
12/05/2020

สนใจติดต่อเจ้าของโพสต์ได้ค่ะ

2 very friendly kittens need a new family and home😊😊

เกล็ดความรู้เล็กๆน้อยให้เข้ากับสถานการณ์ตอนนี้.....ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ😻😍🥰😘
08/04/2020

เกล็ดความรู้เล็กๆน้อยให้เข้ากับสถานการณ์ตอนนี้.....ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ😻😍🥰😘

อัพเดทสถานการณ์COVIDในสัตว์เลี้ยง กันค่ะ
03/04/2020

อัพเดทสถานการณ์COVIDในสัตว์เลี้ยง กันค่ะ

สรุปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงกับ COVID-19
ช่วงนี้มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง และ สัตว์ในห้องทดลอง กับความสามารถในการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ออกมาค่อนข้างเยอะ ข่าวที่ออกมาอาจเกิดความสับสนได้ รูปที่แนบมานี้สรุปใจความสำคัญที่ดีมาก (จาก Twitter ของ ของ Dr. Siddharth Sridhar) สามารถสรุปได้ดังนี้ (ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนจะเขียนไว้หลัง ***)

1. ข้อมูลล่าสุดที่มีการรายงานมาในขณะนี้ คือ มีสุนัข 2 ตัว และ แมว 2 ตัว ที่ฮ่องกง และ เบลเยี่ยม สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสโรค COVID-19 (SARS-CoV-2) ได้ โดยเจ้าของของสุนัขและแมวเป็นผู้ป่วย COVID-19 และ น่าจะเป็นผู้แพร่เชื้อดังกล่าวให้สัตว์เลี้ยงของตัวเอง ***ยังไม่ชัดเจนว่าไวรัสจากน้องหมาน้องแมว เอาไปเพาะเชื้อต่อได้หรือไม่ หรือว่าตรวจพบแต่ซากของไวรัส
2. ในห้องปฏิบัติการ มีการทดลองนำเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ทดสอบในสัตว์หลายประเภท คือ แมว หนูแฮมสเตอร์ เฟอร์เร็ต สุนัข และ ลิง พบว่า สามารถติดเชื้อได้ แต่มีความสามารถแพร่เชื้อได้ไม่เท่ากัน เช่น สุนัข แพร่เชื้อได้น้อยกว่าแมว และ แฮมสเตอร์ เป็นต้น *** อันนี้ต้องหยุดคิดนิดนึงว่าในห้องแล็บใช้ไวรัสปริมาณเยอะกว่าที่เจอกันทั่วไป ในสภาวะปกติเราจะไม่เจอไวรัสเยอะแบบนี้
3. สำคัญมากๆ...สัตว์ติดไวรัสได้ แต่ไม่มีหลักฐานว่า สัตว์เหล่านั้นสามารถแพร่เชื้อมาสู่คนได้ เนื่องจากสัตว์ไม่มีอาการป่วย เหมือนในคน ไวรัส SARS-CoV-2 อาจจะไม่ชอบ หรือ ไม่เหมาะที่จะแพร่กระจายในสัตว์ *** เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะปริมาณไวรัสจากสัตว์เลี้ยงถ้ามีจะน้อยมากๆ จนอาจจะไม่สามารถแพร่สู่คนได้
ข้อควรระวังเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อไวรัสในช่วงนี้คือ

1. อย่าให้สัตว์เลียหน้า เลียมือ หรือ หน้ากากอนามัย
2. งดการจูบ หรือ หอมสัตว์เลี้ยง
3. เล่นกับสัตว์เลี้ยงได้ แต่ควรล้างมือให้สะอาด ก่อนและหลัง เล่นกับสัตว์เลี้ยง
4. ทิ้งหน้ากากอนามัยให้ถูกที่ อย่าให้สัตว์เลี้ยงเอามาแทะเล่นได้
5. ถ้าเป็นไปได้ อย่าเอาอาหารที่เราทาน ไปเลี้ยงสัตว์

*** ช่วยกันดูแลน้องหมาน้องแมว อย่าเอาเค้าไปทิ้งนะครับ***
---------------------------------
ติดตามบทความอื่นๆเกี่ยวกับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ที่นี่
https://www.facebook.com/avctbiotec/posts/545656446025072
---------------------------------

📌📌แอลกอฮอล์เจลล้างมือเข้ามาเพิ่มแล้วนะค่ะ📌📌📍แอลกอฮอล์75%🧪🌡📍มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส 99.9%🦠🧬💊📍ใช้แล้วไม่ต้องล้างนำ้...
30/03/2020

📌📌แอลกอฮอล์เจลล้างมือเข้ามาเพิ่มแล้วนะค่ะ📌📌

📍แอลกอฮอล์75%🧪🌡

📍มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส 99.9%🦠🧬💊

📍ใช้แล้วไม่ต้องล้างนำ้👍🏻👏🏻🤲🏻😃

📍ผิวไม่แห้งตึง🌱☘️🌿

📍มีกลิ่นหอม🌺🌸🌼🌷🌹

📍มีเลขจดแจ้ง

📍ผลิตจากโรงงานมาตรฐาน

📍ขนาดบรรจุ470ml ราคาขวดละ:250 บาท😘🥰😍

📍ของมีจำนวนจำกัดค่ะ....รีบๆเลยน๊า😻😻😻

ข้อแนะนำก่อนพาสัตว์เลี้ยงของท่านมารับการรักษา....ลองอ่านกันดูนะคะ......🙏🏻🙏🏻🙏🏻💉😻🐶
28/03/2020

ข้อแนะนำก่อนพาสัตว์เลี้ยงของท่านมารับการรักษา....ลองอ่านกันดูนะคะ......🙏🏻🙏🏻🙏🏻💉😻🐶

25/03/2020

เนื่องจากมีการประกาศใช้
พรก ฉุกเฉิน
ทางคลินิกขอเปลี่ยนแปลงเวลาปิดทำการชั่วคราว
จาก20.00น เป็น19.00น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป

ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ
21/03/2020

ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ

ที่อยู่

1921/14-15 ถ. พระราม4 แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
Bangkok
10330

เวลาทำการ

จันทร์ 10:00 - 20:00
อังคาร 10:00 - 20:00
พุธ 10:00 - 20:00
พฤหัสบดี 10:00 - 20:00
ศุกร์ 10:00 - 20:00
เสาร์ 10:00 - 20:00
อาทิตย์ 13:00 - 20:00

เบอร์โทรศัพท์

+6620675150

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Pet's Angel Clinic By หมอเมผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์

ประเภท


สัตวแพทย์ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด