Kaset Nawamin Pet Hospital

Kaset Nawamin Pet Hospital เปิดทำการทุกวัน 10.00-22.00 สอบถามเพิ่มเติม 085-072-4646
(8)

รพส.เกษตรนวมินทร์ ดำเนินงานโดยคณะสัตวแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจาก ม.เกษตรศาสตร์ ซึ่งมีประสบการณ์และความชำนาญในการรักษาสัตว์เล็กมากว่า 15 ปี

รพส.เกษตรนวมินทร์ มีบริการรักษาสัตว์เลี้ยงทั่วไปและสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ (exotic pet) มีสัตวแพทย์เฉพาะทาง (ทันตกรรม ผิวหนัง ระบบประสาท ศัลยกรรมกระดูก) มีห้องสัตว์ป่วยวิกฤติที่ท่านวางใจได้ว่าสัตว์เลี้ยงของท่านจะอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของสัตวแพทย์ และบริการ

รับฝากสัตว์ป่วยหรือสัตว์ที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เช่น หลังผ่าตัด

จะ เปิด ทำ การ วัน แรก ใน วั น ศุ ก ร์ ที่ 1 9 สิ ง ห า ค ม 2 5 5 4

รพส.เกษตรนวมินทร์ ตั้งอยู่บนถนนประเสริฐมนูกิจ (เกษตรนวมินทร์) ตรงกับเสาตอม่อที่ 23 ถ้ามาจากม.เกษตรฯ ให้ลอดอุโมงค์ข้ามแยกเกษตรมาประมาณ 1 ก.ม. รพส.จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ

สามารถจอดรถได้ริมถนน หรือในเวลาเร่งด่วนแนะนำให้นำมาจอดในซอยด้านหลัง รพส. โดยเลี้ยวซ้ายเข้าซอยที่ตรงกับตอม่อที่ 21

ตารางตรวจของสัตวแพทย์ในเดือนตุลาคม
02/10/2023

ตารางตรวจของสัตวแพทย์ในเดือนตุลาคม

12/04/2018
30/07/2017

ในยามวิกฤตไฟดับทั้งเมือง โรงพยาบาลไม่มีไฟ พวกเค้าจะกลับมา

Bird Respirator - วิหคแห่งความหวัง

Bird เป็น Ventilator ที่ไม่ใช้ไฟฟ้านะคะ ดังนั้นถ้าไฟดับ Bird จะสามารถทำงานต่อได้ค่ะ Bird มีการสร้างและนำมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1958 โดย Dr. Forest Bird กลไกการทำงานของเครื่องใช้ pressure-cycled, flow control ซึ่งก็คือการทำงานแต่ละครั้งเมื่อจ่ายก๊าซถึง pressure target ที่ตั้งไว้ เครื่องจะ cycled เป็น expiratory phase ทันที (inspiratory valve จะปิด, expiratory valve จะเปิด) และมีการตั้งค่า inspiratory flow rate ก่อนการใช้งานด้วย แต่ก่อนที่เราจะ set ค่าต่างๆ เรามาทำความรู้จักกับปุ่มต่างๆของ Bird กันก่อนค่ะว่าแต่ละปุ่มหมุนไปแล้วจะเปลี่ยนแปลงส่วนใดของ setting เพื่อจะได้เลือกปรับให้ได้ parameter ต่างๆตามความต้องการได้ค่ะ ซึ่งเท่าที่มีการใช้งานอยู่และจากที่เห็นใน comment มักจะเป็น Bird Mark 7 ซึ่งเป็น Second generation ของ Bird นะคะ (second generation ของ Bird จะมี Mark 7 และ Mark 7A) ปุมต่างๆที่จะอธิบายจึงเป็นของ Mark 7 นะคะ ส่วน Mark 7A จะมีบางปุ่มเพิ่มขึ้นมาแต่ไม่มีผลต่อการปรับตั้งเครื่องจึงขอไม่กล่าวถึงนะคะ

1. Gas inlet: ขั้วต่อเข้ากับแหล่งจ่ายก๊าซ

2. Ambient compartment: ห้องสำหรับอากาศภายนอก

3. Rotary switch: ปุ่มเปิด-ปิด เครื่อง ซึ่งจะมีให้หมุนไปที่ On กับ Off

4. Inspiratory flow rate: เพื่อปรับอัตราความเร็วในการไหลเข้าของก๊าซ จากรูปจะเห็นว่าถ้าหมุนทวนเข็มนาฬิกา จะมีตัวหนังสือเขียนกำกับลูกศรว่า “Increase” สรุปก็คือ หมุนทวนเข็ม Inspiratory flow rate จะเพิ่มขึ้น ดังนั้นจะทำให้ inspiratory time สั้นนะคะ เพราะลมเข้าไปได้เร็วก็จะถึง target ที่ตั้งได้เร็ว (หมุนทวนเข็ม → Increase inspiratory flow rate → Decrease inspiratory time)

5. Expiratory time control: ใช้ในการปรับเวลาในการหายใจออกซึ่งจะมีผลในการกำหนดอัตราการหายใจต่อนาที (Respiratory rate: RR) จากรูปจะเห็นว่าถ้าหมุนทวนเข็มนาฬิกาตามลูกศร จะมีอักษรกำกับ “Decrease” สรุปก็คือ หมุนทวนเข็มคือลด Expiratory time (E-time) เมื่อการหายใจ 1 ครั้ง E-time สั้น ดังนั้นใน 1 นาที จะมีจำนวนครั้งของการหายใจได้หลายครั้ง (หมุนทวนเข็ม → Decrease E-time → Increase RR)

6. Mainstream hose connection: ข้อต่อไว้ต่อสายหายใจไปสู่คนไข้

7. Power drive line connection: ข้อต่อไว้ต่อสายไปยัง humidifier และ exhalation valve

8. Pressure relief valve: แท่งเล็กๆสีแดงๆ เป็น valve ที่ช่วยป้องกันแรงดันที่สูงเกิน ซึ่งอาจทำให้เกิด Barotrauma ต่อคนไข้ได้

9. Pressure compartment: ห้องความดันสำหรับก๊าซที่คนไข้ใช้หายใจ

10. Manometer: มาตรวัดค่าความดันในการหายใจ ซึ่งคือหน้าปัดบนตัวเครื่องนั่นเองซึ่งจะมี scale ตัวเลขให้ และหน่วยของความดันจะเป็น cmH2O (แถวบน) และ kPa (แถวล่าง)

11. Air filter: ตัวกรองอากาศภายนอกก่อนเข้าเครื่อง ซึ่งมีผลต่อค่า FiO2 กล่าวคือ

a. ถ้าตัวกรองใหม่ที่เพิ่งเปิดใช้งาน จะมีอากาศภายนอกผ่านเข้าไปผสมกับ O2 ทีต่อเข้ากับ Bird ได้ดี ค่า FiO2 ที่ได้จะประมาณ 0.4

b. ถ้าถอด Air filter ออกแล้วใช้ฝาปิด หรือทำให้เป็น Closed system กับ Bird เช่น เอาถุงมาครอบ จะไม่มีอากาศภายนอกเข้าไปผสมกับ O2 ที่ต่อเข้าเครื่อง FiO2 ที่ได้จะใกล้เคียง 1.0

c. ถ้าตัวกรองใช้มานานมีฝุ่นเกาะ หรืออากาศภายนอกผ่านเข้าไปในตัวเครื่องได้ไม่ดีเหมือนแรกใช้ จะมีผลกับ FiO2 ซึ่งจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 0.4 เนื่องจากอากาศจากภายนอกเข้ามาผสมได้น้อย

12. Pressure selector: ก้านปรับตั้งความดันในการหายใจเข้า ซึ่งมีผลต่อ Tidal volume คือถ้าเพิ่ม Pressure ก็จะได้ Tidal volume เพิ่มขึ้นด้วยทั้งนี้ทั้งนั้น Tidal volume ที่ได้เพิ่มเท่าไหร่นั้น อาจจะต้องดู Inspiratory time ประกอบด้วยนะคะ

จะเห็นว่ามีลูกศรทึบเป็น marker บางเครื่องเป็นเลข 20 หรือบางเครื่องไม่มีสัญักษณ์ใดๆเลยเนื่องจากใช้งานมานานมากจนทุกอย่างเลือนลางไปถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็กำหนด marker เป็นที่จุด 12 นาฬิกานะคะ ซึ่งหมายถึง เมื่อเราดันก้านมาที่ลูกศรนี้หรือเลข 20 หรือที่ 12 นาฬิกา เครื่องจะจ่ายความดันให้ผู้ป่วยช่วงหายใจเข้าเท่ากับ 20 cmH2O ถ้าอยากดูว่าได้ตามที่ตั้งหรือไม่ ก็สามารถไปดูที่ Manometer หรือหน้าปัดหน้าตัวเครื่องว่าแต่ละครั้งที่เครื่องตี เข็มหมุนไปที่เลข 20 cmH2O หรือไม่ เลข 20 ที่เราตั้ง ก็คือ pressure target นั่นเอง เมื่อเครื่องสามารถตีได้ถึง target ที่เราตั้ง ก็จะทำการตัด cycle การหายใจนั้นให้เป็น Expiratory phase เราจึงเรียกการทำงานของ Bird ว่าทำงานแบบ Pressure-cycled ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วนะคะ ทีนี้ถ้าจะปรับความดันลดลงก็ให้ดันก้านมาด้านหน้า อยากปรับความดันเพิ่มก็ให้ดันก้านไปด้านหลัง การปรับแต่ละครั้งควรดูหน้าปัด Manometer ด้วยนะคะโดยเฉพาะเมื่อดันไปด้านหลังเพราะความดันจะเข้าปอดเพิ่มขึ้นหากไม่ระวังจะมี Barotrauma ต่อปอดได้ค่ะ เพราะส่วนใหญ่จะไม่มี scale บอกบน Pressure selector ว่าดันไปเท่าไหร่ความดันเป็นเท่าไหร่ค่ะ ต้องค่อยๆปรับ ค่อยๆดูไปค่ะ (พยายามหลีกเลี่ยงการปรับความดันไปถึง 30-35 cmH2O นะคะ)

13. Starting effort: เป็นก้านปรับความไวในการกระตุ้นเครื่อง หรือการตั้ง trigger sensitivity ในเครื่องโดยใช้แรงดึงในการหายใจเข้าของคนไข้เป็นตัวกระตุ้นเครื่องให้จ่ายความดันนั่นเอง

14. PEEP จะไม่สามารถตั้งได้โดยใช้ Bird นะคะ ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษมาต่อ ดังนั้นกรณีที่คนไข้จำเป็นต้องใช้ PEEP ควรเลือกใช้ Ventilator รุ่นอื่นจะดีกว่าค่ะ

ไปลากเก้าอี้มาค่ะ พี่จะสอนวิธีตั้งเครื่อง Bird Ventilator ให้เอง มีพี่อยู่ด้วยข้างๆไม่ต้องกลัว

1. หาเก้าอี้มานั่งก่อนค่ะ เพราะจะปรับให้ดีต้องปรับไปดูไป ใช้เวลาพอสมควรค่ะ

2. เลื่อนก้าน starting effort (อยู่ทางด้านซ้ายมือ เมื่อหันหน้าเข้าเครื่อง) มาที่ marker หรือเลข 20 ก่อน

3. เลื่อนก้าน pressure selector (อยู่ทางด้านขวามือ เมื่อหันหน้าเข้าเครื่อง) มาที่ marker หรือเลข 20

4. ดู setting คนไข้ว่ามีความต้องการ O2 มากน้อยเพียงใด ถ้าไม่ได้มีภาวะ hypoxemia รุนแรง ก็ต่อ air filter ได้ตามปกติ แต่หากต้องใช้ O2 สูงก็ทำการปิดช่อง air filter หรือทำให้เป็น closed system ค่ะ

5. หมุนปุ่ม inspiratory flow rate และ expiratory time control ไว้ที่ 12 นาฬิกาก่อน

6. เริ่มทำการเปิดเครื่องโดยหมุนปุ่ม rotary switch ไปที่ on

7. ต่อสายช่วยหายใจเข้ากับปอดเทียมก่อน เพื่อเตรียมปรับ Respiratory rate โดยปรับ expiratory time คร่าวๆก่อนต่อกับคนไข้ และเป็นการเช็ค circuit ว่ามีจุดรั่วหรือความผิดปกติในการจ่ายลมหรือไม่ค่ะ

8. บางกรณีเรามักจะต่อ Spirometer (ซึ่งก็คือตัวที่น้องๆใช้วัด tidal volume กับ RR ที่นำมาใช้คำนวนหา rapid shallow index ก่อน wean off ventilator นั่นเองค่ะ) เข้ากับ exhalation valve เพื่อขณะปรับ parameter ต่างๆจะได้ดู tidal volume ด้วยค่ะ โดยตัวที่มีผลต่อ tidal volume คือ การปรับ pressure, flow rate และ i-time

9. หมุนปรับ expiratory time โดยใช้การฟังและจับเวลาคร่าวๆจากเข็มวินาทีเพื่อให้ e-time เป็น 2-3 เท่า ของ i-time และปรับ expiratory time จนได้ respiratory rate อยู่ในช่วง 12-16 ครั้ง/นาที โดยถ้าคิดง่ายๆ ตั้งใจกำหนดให้ RR 15 ครั้ง/นาทีไว้ก่อน ดังนั้นในการหายใจ 1 ครั้ง จะใช้เวลา 60/15 = 4 วินาที โดยทั่วไปเรามักกำหนด ratio ของ i-time:e-time = 1:2, 1:3 ดังนั้น...

→ เราก็จะปรับหมุนปุ่ม inspiratory flow rate จนได้ยินช่วงของเสียงเวลาหายใจเข้าประมาณ 1 วินาที (มองนาฬิกาตัวเองไปด้วยก็ได้นะคะ) โดยหมุนทวนเข็ม i-time จะสั้นลง หมุนตามเข็ม i-time จะยาวขึ้น โดยในขณะที่ปรับ i-time อาจจะแอบมอง spirometry เพื่อดู tidal volume ไปด้วยค่ะ เพราะถ้า pressure เราค้างไว้ที่ marker หรือเลข 20 (pressure คงที่) เวลาลด i-time → tidal volume จะลดลงด้วยค่ะ และในกรณีที่ผู้ป่วยเหนื่อยมากๆ หายใจเร็วมาก พิจารณาหมุนปุ่ม inspiratory flow rate ทวนเข็มนาฬิกาไปให้สุดด้านซ้ายมือก่อน ระหว่างรอการแก้ไขเหตุที่ทำให้เหนื่อยมาก และหลังพิจารณาการ sedate คนไข้ให้หายใจช้าลงก่อน ก็ค่อยกลับมาปรับ inspiratory flow rate ดังข้างต้นอีกทีค่ะ

จากรูป Flow-time curve จะเห็นว่าแต่ละ breath จะมีความแตกต่างกันที่ I-time ที่สั้นยาวไม่เท่ากัน พื้นที่ใต้กราฟ Flow-time curve (ที่แรเงาสีฟ้า) คือ tidal volume ดังนั้นใน breath แรก I-time จะสั้น (โดยกำหนดให้ทุก breath มี inspiratory flow เท่ากัน) จะพบว่าพื้นที่ใต้กราฟจะน้อยกว่า Breath ที่ 2-4 แต่ I-time ที่ยาวมากขึ้นก็ไม่ใช่สื่งที่ดี สังเกตได้จาก breath ที่ 3 ที่มี I-time มากกว่า Breath ที่ 2 แต่พื้นที่ใต้กราฟก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่กลับส่งผลเสียทำให้ E-time สั้นลง ลมที่เข้าไปแต่ออกได้ไม่หมดเกิดลมค้างในถุงลม (air trapping) และเกิด auto-peep ตามมาได้ ดังนั้นถามว่าแล้ว I-time ค่าใดดีที่สุด ก็จะบอกว่าไม่มีตัวเลขให้จำค่ะ ถ้ามี ventilator ก็ดูที่กราฟและค่า O2 saturation ประกอบกัน แต่ถ้าไม่มีกราฟดังเช่นการใช้ Bird ก็ต้องตั้ง I-time ที่ทำให้ O2 saturation ดีที่สุดและไม่ทำให้เกิด reverse I:E ratio เพื่อป้องกัน air trapping ค่ะ จากกราฟนี้จึงสรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลง Inspiratory flow rate, inspiratory time รวมถึง pressure ส่งผลต่อ tidal volume ของคนไข้นะคะ

→ ต่อมาจึงมาปรับ e-time ให้ได้ประมาณ 3 วินาที โดยใช้หูและเข็มวินาทีกะๆเอาค่ะ เช่นเดียวกัน ถ้าหมุนปุ่ม expiratory time control ในทิศทวนเข็มนาฬิกา e-time จะสั้น หมุนตามเข็มนาฬิกา e-time จะยาวค่ะ

→ ในกรณีของคนไข้ที่จำเป็นต้องได้รับยา sedate ต้องตั้งให้ RR สูงสักเล็กน้อยนะคะ (16-20 ครั้ง/นาที) เพื่อป้องกันภาวะ hypoventilation โดยหมุนปุ่มไปในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา แล้วใช้ ABG เป็นตัว guide อีกทีโดยดูค่า pCO2 เป็นหลักค่ะ

10. หลังปรับได้ทั้งหมดตามนี้ก็ต่อ circuit กับคนไข้ดูค่ะ โดยสิ่งที่เราต้องสังเกตคือ spirometry ที่เราต่อเพื่อดู tidal volume โดยทั่วไปต้องการที่ 8-10 ml/kg หากต้องการเพิ่ม tidal volume สามารถปรับได้ 2 ที่ คือปรับดันก้าน pressure selector ไปด้านหลังค่ะ หรือปรับเพิ่ม i-time ได้ค่ะ แต่เวลาปรับเพิ่ม i-time → ratio ของ i-time:e-time จะเปลี่ยนไป แต่ถ้าจุดที่ปรับ i-time เพิ่มขึ้น และ i-time:e-time ยังอยู่ในช่วง 1:2-3 ก็อาจจะยังพอไหวอยู่ค่ะ แต่ถ้าปรับแล้วมีการ reverse i:e ratio อาจพิจารณาปรับ setting อื่นๆหรือให้การรักษาอย่างอื่นร่วมด้วยนะคะ มิเช่นนั้นลมหายใจจะค้างในปอดค่ะ เพราะลมจะเข้าไปได้มากกว่าแต่มีเวลาหายใจออกเพียงนิดเดียว จะตามมาด้วยปัญหา air trapping เกิด auto-peep ตามมา คนไข้จะหายใจโดยใช้ work of breathing มากขึ้น และได้ tidal volume ที่ลดลงตามมาภายหลังได้ค่ะ

WWP (นามปากกา)

ขอบคุณ WWP สตาฟ chest ที่เขียนบทความนี้ทิ้งไว้ให้พวกเราปีกว่าแล้ว ตัวจริงอาจารย์น่ารัก (ในรูปด้านล่าง) เก่ง และ ใจดีมากๆ โสดครับ

11/07/2017

ขออภัยในความไม่สะดวกระบบโทรศัพท์มีปัญหา. ติดต่อได้ที่ 025614379 ทางโรงพบายาลกำลังเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน

30/12/2016

ประกาศ โรงพยาบาลสัตว์เกษตรนวมินทร์ปิดทำการวันที่ 31 ธ.ค. 2559 -1 ม.ค. 2560

ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ครับ

เปิดทำการวันจันทร์ที่ 2 ม.ค. 2560 เวลา 10.00 น. 🎐🎐

๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๑ (วันนี้ในอดีต)ทองแดง ถวายตัวเป็นสุนัขทรงเลี้ยงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร.๙ และกลายมาเป็นคุณทองแดงในเว...
13/12/2016

๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๑ (วันนี้ในอดีต)
ทองแดง ถวายตัวเป็นสุนัขทรงเลี้ยงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร.๙ และกลายมาเป็นคุณทองแดงในเวลาต่อมา

ที่มา:วิกิพีเดีย

อาจจะแรงไปสักนิด แต่โดนใจมากๆอย่าทิ้งให้หัวใจน้อยๆรอเรานาน
05/11/2016

อาจจะแรงไปสักนิด
แต่โดนใจมากๆ

อย่าทิ้งให้หัวใจน้อยๆรอเรานาน

ความภูมิใจของหมา"พันทาง"
15/10/2016

ความภูมิใจของ
หมา
"พันทาง"

กลูต้ากับกอลลั่มรู้มั้ยลูกว่าหนูเป็นหมาที่โชคดีมากขนาดไหน ที่ได้เกิดในรัชกาลที่ท่านทรงรักสุนัขมากที่สุดพระองค์หนึ่ง สุนัขที่ไม่มีสายพันธุ์แบบพวกหนู สุนัขที่มักถูกเหยียดและถูกรังเกียจอย่างพวกหนู

ด้วยความเอ็นดูจากท่าน ท่านได้ทรงพระราชทานชื่อสายพันธุ์ให้กับสุนัขข้างถนนอย่างพวกหนูว่า ' หมาพันทาง' ที่แปลว่าหนึ่งพันเส้นทาง และทรงพระราชทานชื่อภาษาอังกฤษให้ด้วยว่า Thousand Ways

ทำให้เวลามีคนถามว่าเธอทั้งสองคือพันธุ์อะไร พ่อจะตอบคนอื่นได้เต็มปากว่า พวกหนูคือ 'สุนัขพันทาง' มันเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจมากขนาดไหน ที่เรามีชื่อสายพันธุ์ที่ตั้งโดย ประมุขที่ทรงรักสุนัขที่สุดในยุคสมัย

วันนี้ขณะที่หนูผ่าตัดและกำลังสลบไร้สติสัมปชัญญะอยู่ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โลกได้สูญเสียบางอย่างที่มีค่าที่สุดไป ลูกจะตื่นมาในวันที่ไม่มีพระองค์ท่านที่รักพวกเราอีกต่อไปแล้ว มันเป็นวันที่หม่นหมองแบบที่เราไม่เคยพบเจอมาก่อนประชาชนของท่านต่างน้ำตานองพร้อมกันทั่วแผ่นดิน

แม้จะเกิดเหตุการณ์ที่เศร้าสลดนี้ขึ้น แต่จากนี้ไป ขอให้ลูกจงภาคภูมิใจว่าลูกคือ " สุนัขพันทาง " เป็นสุนัขที่มีชื่อสายพันธุ์จากการพระราชทานชื่อ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช องค์กษัตริย์ที่ที่ทรงรักและเห็นคุณค่าของพวกหนูที่สุด
จงเป็นเกียรติและภาคภูมิใจ

After Gollum attended a Urinary Calculi Surgery and still in the effect of Anethesia, in the same time we got a bad news... We loss our King... a King who has a big heart to dogs, especially stray dogs. The King who see the value of stray dogs and named them "Thousand Ways" (mixed breeds).

Gluta & Gollum, you're not a mutt dog, your breed is Thousand Ways. Let's be proud of it.

14/10/2016

14 ตุลาคม ถึง 31 ธันวาคม 2559
โรงพยาบาลสัตว์เกษตรนวมินทร์
ให้บริการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า
โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ขอถวายคุณความดีนี้ให้เป็นพระราชกุศลแด่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ

เปิดบริการทุกวัน
10.00-22.00
สอบถามและนัดหมายที่
0-2561-4378

The greatest king will always be in our heart. KN pets hospitalOct 13,2016
13/10/2016

The greatest king will always be in our heart.

KN pets hospital
Oct 13,2016

ในนามของคณะผู้บริหารโรงพยาบาลสัตว์เกษตรนวมินทร์ โดย นายสัตวแพทย์พายุ ศรีศุภร พร้อมทีมสัตวแพทย์และพนักงาน ขอตั้งจิตอธิฐาน...
13/10/2016

ในนามของคณะผู้บริหารโรงพยาบาลสัตว์เกษตรนวมินทร์ โดย นายสัตวแพทย์พายุ ศรีศุภร พร้อมทีมสัตวแพทย์และพนักงาน ขอตั้งจิตอธิฐาน ถวายพระพรให้ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง เป็นมิ่งขวัญของประชาชนชาวไทยตราบนานเท่านาน

พวกเรารักและเทิดทูนพระองค์เหนือชีวิต
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

11/08/2016

12 สิงหา 59
เปิดทำการ
10.00-18.00

25/05/2016

พรุ่งนี้ (พฤ 26 พค 2559)
รพส.เกษตรนวมินทร์เรียนเชิญเจ้าของทุกท่านร่วมทำบุญเลี้ยงพระเพลที่ร้านและรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันนะคะ
(10.30-13.00)

=====================
**** เปิด รับ เคส เวลา 14.00 ****
=====================

น้องอะตอมวันนี้มาผ่าตัดนิ่ว การผ่าตัดเรียบร้อยดี นิ่วเยอะมากครับ
04/05/2016

น้องอะตอมวันนี้มาผ่าตัดนิ่ว การผ่าตัดเรียบร้อยดี นิ่วเยอะมากครับ

11/04/2016

****************************
เทศกาลสงกรานต์ ปิด 2 วัน
*** 14-15 เมษายน ***
****************************

วันที่ 13 เมษายน เปิดปกตินะคะ
คุณหมอลิตา 10.00-21.30
คุณหมอพายุ 12.00-17.00

ถ้าสะดวกโทรนัดเวลาล่วงหน้าจะขอบคุณมากค่ะ

ฝากข่าวนะคะ เริ่มแชร์ออกมาเมื่อวันเสาร์ที่ 9 เม.ย 59
11/04/2016

ฝากข่าวนะคะ เริ่มแชร์ออกมาเมื่อวันเสาร์ที่ 9 เม.ย 59

01/02/2016
16/01/2016

สวัสดีวันครู
ใครมีครูในเฟส อย่าลืมทักคุณครูกันบ้างนะคะ

วีคนี้
หมอพายุลงตรวจวันเสาร์แทนวันอาทิตย์นะคะ
: : 16 มค : : 12.00-21.00 : :

0-2561-4378

11/12/2015

bike for DaD
11/12/2558
เปิดปกติ 10.00-22.00
หมอพายุลงตรวจ 11.00-21.00
02 561 4378

24/11/2015

พรุ่งนี้ 25 พย 2558
วันลอยกะทง
ดูแลน้องหมาน้องแมวมากกว่าปกตินะคะ เพราะเสียงดังจากปะทัดจะทำให้เขาวิ่งหนีเตลิดได้

***เปิดปกติ 10.00-22.00***
คุณหมอพายุลงเวร 18.00-21.00

วันนี้โรงพยาบาลเปิดตามปกตินะครับ  ลาดปลาเค้า- แยกเกษตร ปิดถนน 15.00-20.00
16/08/2015

วันนี้โรงพยาบาลเปิดตามปกตินะครับ ลาดปลาเค้า- แยกเกษตร ปิดถนน 15.00-20.00

12/08/2015

12 สค 2558
***** ทรงพระเจริญ *****

วันนี้ร้านเปิด 10.00-18.00 นะคะ
คุณหมอพายุลงตรวจOPD 11.00-17.00
025614378

01/05/2015

1 พค 58
เปิดปกตินะคะ
หมอพายุลงเวร 12.00-20.00

ที่อยู่

531/11, Kaset-Nawamin Road
Bangkok
10900

เบอร์โทรศัพท์

025614378-9

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Kaset Nawamin Pet Hospitalผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Kaset Nawamin Pet Hospital:

แชร์

ประเภท


สัตวแพทย์ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด