ธนิภัทร สัตวแพทย์

ธนิภัทร สัตวแพทย์ รักษาสัตว์ ฉีดวัคซีน ป้องกันเห็บ-หม?

21/11/2024
12/09/2024

การทำงานของข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวราบรื่น ไม่ฝืดขัด ไม่เกิดข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวต้องอาศัยความสมบูรณ์แข็งแรงของโครงสร้าง ได้แก่ กระดูกอ่อนข้อต่อ (articular cartilage) ที่มีความหนา มีผิวเรียบเป็นมันวาวและมีความยืดหยุ่นอย่างเหมาะสมต่อการรับน้ำหนักตัวและการรับแรงกระแทก
การเข้ารูปกันระหว่างพื้นผิวกระดูกอ่อน (congruity of articular surface) ที่ประกอบกันเป็นข้อต่อทำให้การกระจายแรงกดลงบนพื้นผิวกระดูกอ่อนเกิดอย่างเหมาะสม ซึ่งจะป้องกันการสึกหรอจากการเสียดสีของกระดูกอ่อนขณะที่ข้อต่อมีการใช้งานหรือออกกำลัง ความแข็งแรงและมั่นคงจากโครงสร้างเนื้อเยื่อค้ำจุนรอบข้อและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของข้อต่อนั้น ๆ จะช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้สัตว์มีท่าทางการลุก นั่ง เดิน วิ่ง เหมาะสมและปลอดภัย ลดโอกาสการบาดเจ็บของร่างกาย
การเสื่อมของข้อต่อแบ่งตามสาเหตุออกเป็นการเสื่อมแบบปฐมภูมิ (primary หรือ idiopathic osteoarthritis) และการเสื่อมแบบทุติยภูมิ (secondary osteoarthritis) การเสื่อมแบบปฐมภูมินั้นเป็นการเสื่อมที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอนแต่มีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ อายุ การเสื่อมแบบทุติยภูมิมีสาเหตุมาจากโรคทางพัฒนาการในช่วงลูกสัตว์เจริญเติบโต (developmental diseases) หรือการบาดเจ็บที่ได้รับภายหลัง (acquired injury) โรคข้อเสื่อมทั้ง 2 ประเภทแม้ว่าจะมีสาเหตุที่แตกต่างกัน แต่ก็ส่งผลให้เกิดการทำลายโครงสร้างสำคัญของข้อต่อ ได้แก่ กระดูกอ่อนข้อต่อและเยื่อหุ้มข้อในลักษณะเดียวกัน
ในระยะแรกของโรคข้อเสื่อม อาการอาจยังไม่รุนแรงและโครงสร้างของกระดูกอ่อนข้อต่อและเยื่อหุ้มข้อยังมีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก เนื่องจากข้อต่อยังมีความสามารถในการซ่อมสร้าง (anabolic capacity) อยู่ หากสัตว์ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัย รักษา หรือกำจัดสาเหตุอย่างถูกต้องและทันท่วงที ภาวะการเสื่อมเรื้อรังนี้จะลดทอนความสามารถในการซ่อมสร้างจนข้อต่อไม่สามารถคงสภาพของความสมดุลไว้ได้ ในสภาวะเช่นนี้กระบวนการทำลาย (catabolic process) ของโครงสร้างกระดูกอ่อนข้อต่อและเยื่อหุ้มข้อจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างและการทำงานของข้อต่อแบบไม่สามารถฟื้นคืน (irreversible or end-stage osteoarthritis)

เมื่อถึงระยะนี้สัตว์ป่วยจะอยู่ในสภาวะความปวดรุนแรงและเรื้อรัง ความปวดและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของข้อต่อที่เกิดขึ้นส่งผลให้สัตว์ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการลดทอนประสิทธิภาพนี้รบกวนการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การลุก นั่ง เดิน วิ่ง และอาจทำให้เกิดความพิการในที่สุด ดังนั้นการจัดการโรคข้อเสื่อม ต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจถึงสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่โน้มนำให้เกิดโรค สัตวแพทย์ควรให้การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องทันท่วงทีในระยะแรกของโรค (accurate, timely และ early diagnosis) และการให้การรักษาที่เหมาะสมต่อระยะของโรค (stage) เพื่อควบคุมให้เกิดความเสียหายต่อข้อต่อน้อยที่สุด
แนวทางการรักษาโรคข้อเสื่อมอันเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันคือการรักษาแบบผสมผสาน (multimodal treatment) ที่มุ่งเน้นการลดปวดและลดอักเสบด้วยยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการซ่อมสร้างของกระดูกอ่อนและสร้างความแข็งแรงสมบูรณ์ของโครงสร้างเนื้อเยื่อค้ำจุนรอบข้อและกล้ามเนื้อโดยอาศัยโภชนบำบัด (nutraceuticals) และเทคนิคทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู (rehabilitation) ตลอดจนการควบคุมน้ำหนักตัวและการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอเพื่อให้ข้อต่อมีการเคลื่อนไหว รวมถึงการทำให้การรักษาทางศัลยกรรมต่าง ๆ ในช่วงอายุของสัตว์และระดับความรุนแรงของโรคข้อเสื่อม (stage of osteoarthritis) ที่เหมาะสม
วิธีการรักษาทั้งหมดที่กล่าวมา การลดปวดและลดอักเสบจัดเป็นการรักษาที่สำคัญและจำเป็นจะต้องกระทำเป็นอันดับแรกเพื่อหยุดยั้งหรือชะลอกระบวนการทำลายหรือการเสื่อมของกระดูกอ่อนข้อต่อ จากองค์ความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน กระบวนการดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับ cytokines และ growth factors หลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ interleukin-1 (IL-1) ซึ่งจัดเป็น proinflammatory cytokine ที่มีบทบาทในการกระตุ้นกระบวนการอักเสบในพยาธิกำเนิดของโรคข้อเสื่อม งานวิจัยชี้ว่า IL-1 กระตุ้นการสังเคราะห์เอนไซม์ matrix metalloproteinases ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลายของโครงสร้างกระดูกอ่อนข้อต่อ (cartilage matrix degradation) และส่งเสริมให้เกิดการสังเคราะห์ prostaglandin ซึ่งจัดเป็น mediator ที่สำคัญของการอักเสบและความปวดที่เกิดขึ้นจากกระบวนการอักเสบภายในข้อ
จากการศึกษาพบว่าปริมาณของ proinflammatory cytokine โดยเฉพาะอย่างยิ่ง IL-1 beta และปริมาณของเอนไซม์ matrix metalloproteinases มีระดับที่เพิ่มสูงขึ้นในน้ำไขข้อ (synovial fluid) และเยื่อหุ้มข้อ (synovial tissue) ของผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม และยังมีการเพิ่มขึ้นของ IL-1 receptor อย่างมีนัยสำคัญบนผิวเซลล์ chondrocytes และ fibroblasts ภายในข้อของผู้ป่วยอีกด้วย ซึ่งการปรากฏของ receptor ที่จำเพาะต่อ IL-1 บนเซลล์กระดูกอ่อนและเยื่อหุ้มข้อนี้ เชื่อว่ามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้กระบวนการอักเสบและการทำลายกระดูกอ่อนและโครงสร้างอื่น ๆ ของข้อเกิดรุนแรงขึ้น
Interleukin-1 เป็นโมเลกุลส่งสัญญาณ (signaling molecules) ทำงานโดยอาศัยการจับกับตัวรับจำเพาะ หรือ interleukin-1 receptors (IL-1R) ในสภาวะปกติร่างกายจะพยายามรักษาสมดุลของ IL-1 โดยการสร้างสารต้านตัวรับที่จำเพาะต่อ IL-1R (IL-1RA) หรือที่รู้จักกันในนาม interleukin-1 receptor antagonist protein (IRAP) เพื่อแข่งขันกับ IL-1 ในการแย่งจับกับตัวรับ จากรายงานการวิจัยพบว่าอัตราส่วน (ratio) ระหว่างปริมาณ IL-1RA ต่อ IL-1 มีความสำคัญอย่างมากในการรักษาสมดุลของกระบวนการซ่อมสร้าง (anabolic process) และกระบวนการทำลาย (catabolic process) ในข้อปกติ
แต่ในภาวะข้อเสื่อมที่มีความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้นโดยใช้อัตราส่วนปริมาณ IL-1RA:IL-1 เป็นตัวบ่งชี้ความรุนแรงของภาวะโรคข้อเสื่อม มีรายงานว่าอัตราส่วนนี้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ IL-1 มีปริมาณเพิ่มขึ้นและงานวิจัยพบว่าอัตราส่วนของ IL-1RA:IL-1 ที่ 130:1 น่าจะเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมในการยับยั้งการทำงานของ IL-1 ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งการทำให้ IL-1RA หรือ IRAP ภายในข้อต่ออยู่ในปริมาณหรือความเข้มข้นที่สูงมากระดับนี้อาจเป็นไปได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะโรคข้อเสื่อมเรื้อรัง
ในปี 2003 เทคนิคการเตรียม autologous conditioned serum (ACS) จากเลือดของผู้ป่วยได้ถูกพัฒนาขึ้นและมีการฉีด ACS กลับเข้าภายในข้อของผู้ป่วยคนเดียวกันเพื่อรักษาโรคข้อเสื่อมเป็นครั้งแรกในมนุษย์ โดย Peter Wehling และ Julio Reinecke คณะผู้วิจัยใช้เลือดที่ผ่านกระบวนการพิเศษโดยมีจุดมุ่งหมายให้ได้มาซึ่งซีรั่มที่มีโมเลกุลโปรตีน IL-1RA หรือ IRAP ความเข้มข้นสูงเป็นองค์ประกอบ โดยเก็บเลือด (whole blood) จากผู้ป่วยบรรจุในหลอดเก็บเลือดที่มีลูกปัดแก้ว (medical grade glass beads) เคลือบสาร CrSO4 บรรจุอยู่ กระบวนการแข็งตัวของเลือดภายนอกร่างกายนี้เกิดขึ้นในสภาวะการบ่มเพาะ (incubation) ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส (98.6 ฟาเรนต์ไฮต์) เป็นเวลา 6 -24 ชั่วโมง
กระบวนการเตรียม ACS นี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้หลอดเก็บเลือดแบบปิดป้องกันการปนเปื้อน (Orthokine®) ตัวอย่างเลือดที่เกิดลิ่มเลือด (blood clotting) ภายใต้เทคนิคการบ่มเพาะนี้ เมื่อนำมาปั่นแยกและกรองจะได้ซีรั่มที่มีองค์ประกอบของ cytokines และ growth factor ซึ่งเป็นผลผลิตจากเซลล์ชนิดต่าง ๆ เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด เซลล์ที่มีบทบาทสำคัญในการผลิต IRAP และ growth factors ในช่วงการบ่มเพาะ (incubation) ด้วยเทคนิคนี้คือเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด monocyte ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการผลิตและเคลือบผิวลูกปัดแก้วเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้ได้ซีรั่มที่มีปริมาณความเข้มข้นของ cytokines ที่สูงขึ้น
การศึกษาวิจัยโดยใช้เทคนิคการเตรียม ACS ด้วย Orthokine® ในผู้ป่วยพบว่า ACS ในปริมาณ 2 มิลลิลิตรมีความเข้มข้นของ IL-1RA เท่ากับ 3 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร และเมื่อฉีด ACS เข้าข้อเข่าผู้ป่วย คณะผู้วิจัยสามารถตรวจพบอัตราส่วนของปริมาณ IL-1RA:IL-1 ที่ 170:1 ซึ่งให้ประสิทฺธิผลในการยับยั้งการทำงานของ IL-1 และช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
มีรายงานการศึกษาวิจัยทางคลินิกจำนวนมากที่รายงานถึงประสิทธิภาพการใช้ ACS ในการรักษาโรคข้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) การรักษาภาวะเส้นเอ็นอักเสบ(tendinopathies) และภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท (radiculopathies) รายงานทางการแพทย์ส่วนใหญ่เป็นการใช้ ACS ในรักษาโรคหรือความผิดปกติในระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (musculoskeletal diseases) รายงานการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) พบว่าการศึกษาในมนุษย์แม้ว่าจะมีการนำไปใช้งานอย่างหลากหลายแต่การศึกษาวิจัยคุณภาพสูง (high quality papers) ส่วนใหญ่เป็นรายงานการฉีด ACS เข้าข้อเพื่อการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (knee osteoarthritis) ซึ่งให้ผลลดอาการปวดของข้อโดยมีคะแนนความปวดที่น้อยลง (improvement in pain score) และทำให้การทำงานของข้อดีขึ้นเป็นที่น่าพอใจ (improvement in functional score) และมีความปลอดภัยในการรักษาสูง มีผลข้างเคียงน้อย
งานวิจัยตีพิมพ์ในปี 2022 โดย Soontararak และคณะ รายงานการเพิ่มปริมาณของ IL-1RA, vascular endothelial growth factor และ transforming growth factor-beta อย่างมีนัยสำคัญใน autologous conditioned serum ที่บ่มเพาะจาก whole blood ของสุนัขโรคข้อเสื่อมโดยใช้เทคนิค Orthokine® เปรียบเทียบกับซีรั่มที่ไม่ผ่านกระบวนการในสุนัขตัวเดียวกัน และเมื่อคณะผู้วิจัยได้นำ ACS ที่ได้ไปทดสอบกับเซลล์กระดูกอ่อน (chondrocyte cell culture) และพบว่าให้ผลในการลดการอักเสบ (anti-inflammatory effects) และมีผลกระตุ้นการเจริญของเซลล์กระดูก (osteocyte cell culture) และ เซลล์ไฟโบรบลาสท์ (fibroblast cell culture)
ผลการศึกษาในสุนัขดังกล่าวแสดงถึงแนวโน้มความเป็นไปได้ในการใช้ ACS เพื่อการรักษาโรคข้อเสื่อมในสุนัข ส่วนรายงานการรักษาโรคข้อเสื่อมในม้าด้วย ACS ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี 2007 พบว่าการฉีด ACS เข้าข้อมีส่วนช่วยลดอาการขากะเผลกและลดความรุนแรงของรอยโรคเช่น cartilage fibrillation และ synovial membrane hyperplasia ในข้อของม้าที่ได้รับ ACS เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) ในม้าแสดงถึงผลการรักษาที่ดี (beneficial effect) ของ ACS ในรักษาโรคข้อเสื่อมในม้า
การนำ ACS ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพมาใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม สัตวแพทย์ผู้ให้การรักษามีความจำเป็นจะต้องทำการคัดเลือกสัตว์ป่วยที่มีสุขภาพดี ไม่มีภาวะโรคของเนื้องอก (neoplastic condition) มีการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องและมีการประเมินอาการของโรคเป็นระยะเพื่อปรับการรักษาให้เหมาะสม การเก็บตัวอย่าง การเตรียมตัวอย่างเพื่อผ่านกระบวนการบ่มเพาะ ตลอดจนการฉีด ACS เข้าข้อต่อต้องกระทำอย่างถูกต้องโดยยึดหลักปลอดเชื้อ (aseptic technique) อย่างเคร่งครัด การเก็บรักษา ACS เพื่อรอการใช้งานสามารถเก็บรักษาที่อุณภูมิ -18 องศาเซลเซียส หรือ 0 องศาฟาเรนไฮต์เป็นระยะเวลาไม่เกิน 7 เดือน ทั้งนี้การเตรียมตัวอย่างเลือดเพื่อการใช้งานและเก็บรักษาควรเป็นไปตามคำแนะนำของผู้ผลิต
แม้ว่าหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันจะแสดงถึงประสิทธิภาพในการรักษาโรคข้อเสื่อมด้วยการฉีด autologous conditioned serum (ACS) เข้าข้อทั้งในคนและในสัตว์ แต่ยังคงขาดข้อมูลที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญในแง่ปริมาณการใช้ที่เหมาะสม ระยะห่างระหว่างการฉีดแต่ละครั้ง (dosing interval) ระยะเวลาที่ออกฤทธิ์หรือให้ผลการรักษาในสัตว์ป่วยแต่ละชนิด ตลอดจนประสิทธิภาพของ ACS ในการรักษาโรคต่าง ๆ นอกเหนือจากโรคข้อเสื่อม
การใช้ ACS ในทางคลินิก สัตวแพทย์ยังคงมีความจำเป็นต้องสังเกตอาการและติดตามประเมินผลการรักษา เช่น การให้คะแนนความเจ็บปวด (pain score) การประเมินคะแนนการกะเผลก (lameness score) การวัดพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ (range of motion) เพื่อใช้วางแผนการรักษาโรคข้อเสื่อมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยทางคลินิกเพื่อเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับสัตวแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยทางคลินิกแบบการสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ (randomized placebo controlled trial) ที่มีคุณภาพ ข้อมูลจากงานวิจัยในอนาคตจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสร้างแนวทางเวชปฏิบัติของการรักษาโรคข้อเสื่อมในสุนัข และ ACS อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับสัตว์ป่วยด้วยโรคข้อกระดูกได้
อ่านบทความบนเว็บไซต์พร้อมดาวโหลด PDF ได้ที่ : https://readvpn.com/article/detail/2273
บทความโดย : สพ.ญ.ปิยธิดา อาจอ่ำ และ ผศ. สพ.ญ. ดร.มนชนก วิจารสรณ์

11/09/2024

📌📌 สาเหตุของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในแมว

โดย ผศ. น.สพ.รุ่งโรจน์ โอสถานนท์ และ รศ. สพ.ญ. ดร.สิริลักษณ์ สุรเชษฐพงษ์
-----------------------------------------------------------------
หนึ่งในปัญหาที่สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้แก่ผู้เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะแมวนั้นคือภาวะการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน โดยจากการศึกษาของ Dr.Olsen และ Dr.Allen ในแมวจํานวน 994 ตัวที่เสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ระหว่างปีพ.ศ.2532 ถึง 2542 ในประเทศแคนาดา พบว่าการสาเหตุที่พบบ่อย ที่สุดได้แก่ การบาดเจ็บ และ โรคหัวใจ นอกจากนี้ในปี 2562 Dr.Stalker พบว่า สาเหตุของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในแมวจํานวน 71 ตัว ระหว่าง ปีพ.ศ.2558 ถึง 2562 ในประเทศแคนาดา สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้น โดยพบว่าสาเหตุหลักของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในแมวคือโรคหัวใจ และการบาดเจ็บเช่นกัน

#โรคหัวใจที่พบบ่อยในแมว

โรคหัวใจที่พบบ่อยในแมวคือโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยสามารถ
แบ่งออกได้อีกเป็นหลายชนิดย่อย โดยชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา (hypertrophic cardiomyopathy, HCM) แมวหลายตัวป่วยด้วย โรคนี้แบบไม่แสดงอาการและอาจไม่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจร่างกายแบบปกติ หรือจากการเอ็กซเรย์ช่องอก ซึ่งทําให้การวินิจฉัยแมวที่ป่วยด้วยโรค หัวใจแบบไม่แสดงอาการทําได้ด้วยความยากลําบาก ยกเว้นในกรณีที่แมวป่วย ด้วยโรคหัวใจและแสดงอาการแบบรุนแรง อาจตรวจพบอาการของภาวะหัวใจ ล้มเหลวแบบชัดเจน ได้แก่ อาการหายใจลําบาก หายใจเร็วและแรงกว่าปกติ มีลิ่มเลือดอุดกั้นบริเวณขาหลังส่งผลให้เกิดภาวะอัมพาตแบบเฉียบพลัน และในบางรายอาจเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน

#จะมีวิธีการวินิจฉัยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจในแมวแบบไม่แสดงอาการได้อย่างไร
ในบางรายของแมวที่ป่วยแบบไม่แสดงอาการ อาจตรวจพบความปกติของเสียงหัวใจ พบภาพเงาของหัวใจโตกว่าปกติจากภาพเอ็กซเรย์ช่องอก หรืออาจตรวจพบค่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของหัวใจ (cardiac biomarker) ผิด ปกติ แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น อาจตรวจไม่พบความผิดปกติเหล่านี้ในแมวอีก หลาย ๆ ราย ดังนั้นการวินิจฉัยเพื่อยืนยันโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ และความชํานาญของผู้ตรวจในการวินิจฉัย

#โรคของกล้ามเนื้อหัวใจทําให้เกิดอาการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้อย่างไร

การเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในแมวที่ป่วยด้วยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ สันนิษฐานว่าเกิดจากภาวะหัวใจห้องล่างสั่นพลิ้ว (ventricular fibrillation) หรืออาจเกิดจากภาวะลิ่มเลือดขนาดใหญ่อุดกั้นที่ทางออกห้อง หัวใจด้านล่างช้าย หรือที่ระบบประสาทส่วนกลาง หรืออาจเกิดจากกล้ามเนื้อ หัวใจหนาตัวมากจนปิดกั้นทางออกของหัวใจห้องล่างซ้าย โดยแมวที่มีประวัติว่าเคยพบอาการหมดสติชั่วคราว (syncope) มาก่อนมักมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่ แน่ชัดของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันของแมวที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ จึงยังไม่มียาหรือวิธีการป้องกันการเสียชีวิตเฉียบพลันที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

#ปัจจัยโน้มนําที่อาจทําให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ในแมวที่ป่วยด้วยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจแบบไม่แสดงอาการ

สาเหตุที่อาจโน้มนําให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในแมวที่ป่วยด้วยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจแบบไม่แสดงอาการได้แก่ ภาวะที่ก่อให้เกิดความเครียด ต่าง ๆ อาทิ การต่อสู้ของแมว การได้รับยาสลบ การผ่าตัดทําหัตถการต่าง ๆ กับตัวแมว หรือการได้รับสารนํ้าบําาบัด

กล่าวโดยสรุปคือโรคของกล้ามเนื้อหัวใจในแมว เป็นหนึ่งในสาเหตุ หลักที่ทําให้เกิดการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน และวินิจฉัยได้ยาก เนื่องจากแมวหลายตัวตรวจไม่พบความปกติใด ๆ จากการตรวจร่างกาย และจากการ เอ็กซเรย์ช่องอก แต่บางรายอาจตรวจพบความผิดปกติของตัวบ่งชี้ทาง ชีวภาพของหัวใจ ดังนั้นในปัจจุบันอาจมีความจําเป็นต้องทําการตรวจหัวใจ
ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อวินิจฉัยภาวะนี้ในแมว ก่อนที่จะพิจารณาทํา หัตถการที่เกี่ยวข้องกับการวางยาสลบ หรือการผ่าตัด เพื่อจะได้เป็นข้อมูล ประกอบในการเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น และลดโอกาสเกิดภาวะ หัวใจล้มเหลว และการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้

#เอกสารอ้างอิง
1. Causes of sudden and unexpected death in cats: A 10-year retrospective study, Tammy F.Olsen, Andrew L.Allen, Can Vet J Volume 2001; 42: 61-62
2. Causes of sudden unexpected death in dogs and cats - it's not the neighbour!, Margaret Stalker, AHL Newsletter 2019; 23(4):16-17
3. The Feline Cardiomyopathies: 1. General concepts, Mark D Kittleson, Etienne Côté, Journal of Feline Medicine and Surgery 2021; 23:1009-1027

#วิทยาลัยวิชาชีพการสัตวแพทย์ชำนาญการแห่งประเทศไทย
#สัตวแพทยสภา
#ฝ่ายประชาสัมพันธ์
#แมวเสียชีวิต

มาจ้า มาจ้าาา
19/08/2024

มาจ้า มาจ้าาา

น้องไลล่า มาหาคุณหมอน้ำด้วยอาการ ฝีรากฟันคุณหมอจัดการผ่าออก ฟรัชโพรงช่องฟันทำความสะอาดตอนนี้ทานข้าวได้สบายแล้วค่ะ  ขนที่...
14/08/2024

น้องไลล่า มาหาคุณหมอน้ำด้วยอาการ ฝีรากฟัน
คุณหมอจัดการผ่าออก ฟรัชโพรงช่องฟันทำความสะอาด
ตอนนี้ทานข้าวได้สบายแล้วค่ะ
ขนที่แก้มน้องจะโดนโกนออกเพื่อความสะอาดของแผลระหว่างการรักษา
เดี๋ยวขึ้นใหม่สวยเหมือนเดิมนะลูกนะ

ฝีรากฟัน : เกิดได้ในสุนัขและแมว ที่มีปัญหาในช่องปาก
เช่นฟันผุ มีหินปูนมาก ทำให้เชื้อโรคสะสมที่รากฟัน จนทำให้เกิดอักเสบเป็นหนองขึ้น

แฮปปี้วันแม่นะคะทุกๆคนวันแม่นี้ มี้ๆท่านไหนไม่ได้ไปเที่ยว สามารถพาลูกๆมาเช็คสุขภาพได้นะคะคลินิคคุณหมอน้ำ เปิดทำการปกติค่...
11/08/2024

แฮปปี้วันแม่นะคะทุกๆคน

วันแม่นี้ มี้ๆท่านไหนไม่ได้ไปเที่ยว
สามารถพาลูกๆมาเช็คสุขภาพได้นะคะ
คลินิคคุณหมอน้ำ เปิดทำการปกติค่ะ

สามารถwalk in หรือจองคิวล่วงหน้า ทาง inbox กับแอดมินได้เลยนะคะ

คลินิค ธนิภัทร สัตวแพทย์ ยินดีรับบัตรเครดิตทุกธนาคารนะคะติดต่อสอบถาม จองคิว ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพน้องๆฟรีโทร : 087401454...
09/08/2024

คลินิค ธนิภัทร สัตวแพทย์ ยินดีรับบัตรเครดิตทุกธนาคารนะคะ
ติดต่อสอบถาม จองคิว ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพน้องๆฟรี
โทร : 0874014544

08/08/2024

ภาวะหูชั้นนอกอักเสบ หรือ otitis externa เป็นอาการที่พบได้บ่อยในสุนัข ซึ่งมีสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นได้แก่ primary causes, secondary causes, predisposing factors และ perpetuating factors (PSPP) สัตวแพทย์จำเป็นต้องวินิจฉัยให้ทราบถึงสาเหตุและปัจจัยสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหา otitis externa ในสุนัขแต่ละรายตามระบบ PSPP
การตรวจวินิจฉัยด้วยการทำ ear cytology มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถบ่งชี้ถึงภาวะ secondary causes และอาจพบสิ่งที่เป็น primary cause ของภาวะ otitis externa ได้ เช่น parasites หรือสิ่งแปลกปลอม แต่หากไม่สามารถวินิจฉัยและจัดการสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ได้ สุนัขอาจเกิดภาวะ recurrent otitis externa ตามมา และเมื่อเกิดภาวะ recurrent otitis externa การรักษาด้วย topical ear drops อาจช่วยให้อาการดีขึ้นเพียงช่วงเวลาหนึ่งแต่มักกลับมีอาการกำเริบในระยะเวลาที่สั้นลงและอาการที่รุนแรงมากขึ้น
โดยทุกครั้งเมื่อมีการ flare up จะทำให้ช่องหูมีการบวมขยายจนตีบแคบ เกิด pathological changed ของเนื้อเยื่อใน ear canal เช่น apocrine glands และ ceruminous glands เกิดภาวะ swelling /hyperplasia สุนัขอาจแสดงอาการเจ็บปวดเมื่อเกิด erosion /ulceration ภายในช่องหู และเกิด scar tissue ซึ่งทำให้สูญเสียความสามารถในการขจัดขี้หูหรือ self cleaning (lateral epithelial migration) เนื้อเยื่อรอบ ๆ ช่องหูเกิดภาวะ calcified ทำใช้ช่องหูตีบหรือ stenosis อย่างถาวร กลายเป็น perpetuating factor ซึ่งทำให้การจัดการยากขึ้น หรือไม่สามารถหายด้วยยา topical/systemic glucocorticoids อีกต่อไป จนต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น CO2 laser หรือ total ear canal ablation/lateral bulla osteotomy เพื่อป้องกันการรักษาที่ล้มเหลว และเกิด irreversible change ของ ear canal จนนำไปสู่การผ่าตัดยกช่องหู (TECA/LBO)
สัตวแพทย์ควรปฏิบัติตามขั้นตอนของระบบ PSPP เพื่อวินิจฉัยถึง primary causes, predisposing factors และ perpetuating factor และทำการจัดการแก้ไขหรือป้องกันปัจจัยหรือสาเหตุเหล่านั้น มิใช่เพียงมุ่งเน้นการจัดการ secondary causes เพียงอย่างเดียว ซึ่งการพบจุลชีพเมื่อทำ ear cytology มิใช่เรื่องผิดปกติหรือบ่งชี้ถึงภาวะ ear infection เสมอไป เนื่องจากในสุนัขที่มีสุขภาพดีและช่องหูปกติสามารถตรวจพบจุลชีพได้ และจุลชีพที่พบมักมีความหลากหลายมากกว่าสุนัขที่มีปัญหาช่องหูอักเสบ
Culture and sensitivity test
การเพาะเชื้อจุลชีพเพื่อระบุชนิดและหาความไวรับต่อยามีประโยชน์น้อยมากในรักษาภาวะ otitis externa ซึ่งไม่สามารถหวังผลการรักษาจากการให้ยาต้านจุลชีพตามระบบได้เนื่องจากค่าความไวรับต่อยามีความเข้มข้นของยาในขนาดต่ำ (ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) ในขณะที่ topical ear drops มีความเข้มข้นที่สูงกว่ามาก (มิลลิกรัม/มิลลิลิตร) และมีความเข้มข้นมากพอในการออกฤทธิ์ต้านจุลชีพแบบเฉพาะที่ นอกจากนี้จุลชีพส่วนใหญ่ที่พบว่าเป็น secondary causes คือ Staphylococcus spp., Pseudomonas spp. และ Malassezia spp. ซึ่งสัตวแพทย์สามารถประเมินได้จากการทำ ear cytology และสามารถเลือกชนิดของยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมตามผลการทำ ear cytology ได้ด้วยตนเอง
อีกทั้งผลจากการหาความไวรับต่อยาไม่สามารถรับรองผลของการรักษาเมื่อมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ความรุนแรงของการอักเสบ การขัดขวางการออกฤทธิ์ของยาจากหนองหรือ discharge และ biofilm ภายในช่องหู ซึ่งสัตวแพทย์ควรพิจารณาทำการเพาะเชื้อจุลชีพและหาความไวรับต่อยาก็ต่อเมื่อพบจุลชีพที่มีลักษณะที่พบได้ไม่บ่อยหรือพบ hyphae/pseudohyphae ที่อาจเป็น unusual infections เช่น Candida, Aspergillus spp. หรือเพื่อวินิจฉัยยืนยันชนิดของแบคทีเรียรูปร่าง rod เช่น Pseudomonas aeruginosa หรือเมื่อพบ ulceration/erosions ของ ear canals หรือสัตว์ป่วยมีภาวะ otitis media
Pseudomonas otitis พบได้ไม่บ่อยและไม่ได้เป็น primary cause เช่นเดียวกับจุลชีพชนิดอื่น และมักจะพบในกรณีที่มีปัญหาหูอักเสบแบบเรื้อรัง ซึ่งมักจะทำให้อาการหูอักเสบมีความรุนแรงมากขึ้นและทำให้ง่ายต่อการดื้อยา เนื่องจาก Pseudomonas aeruginosa เป็นแบคทีเรียที่สามารถสร้าง enzyme hemolysin และ protease และสามารถสร้าง biofilm ที่กำจัดออกได้ยาก สัตวแพทย์จำเป็นต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องหูที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดหรือสลาย biofilm เช่น TrisEDTA, N-acetyl cysteine, chlorhexidine, polihexanide หรือ hypochlorous acid หรืออาจจำเป็นต้องล้างหูด้วยวิธี deep ear flushing ซึ่งเป็นหัตถการที่ต้องใช้ video otoscope และการวางยาสลบแบบ generalize anesthesia
ประเมินความรุนแรงและพยากรณ์โรค
เมื่อเกิดภาวะ recurrent otitis externa สัตวแพทย์ควรประเมินถึง severity และขอบเขตของรอยโรคว่ามีปัญหาถึงหูชั้นกลางและหูชั้นในด้วยหรือไม่ โดยเริ่มจากการคลำกกหู (palpation of ear canal) เพื่อประเมินอาการเจ็บปวดและภาวะ calcification เบื้องต้น และควรทำการตรวจทางภาพวินิจฉัยมาช่วยในการประเมิน เช่น video-otoscope, X-ray, CT scan หรือ MRI ซึ่งอาจทำให้ทราบถึง primary causes เช่น tomors, polyp และช่วยประเมิน perpetuating factors ได้ เช่น การพบ pathologic change ของ ear canal หรือพบ otitis media โดยแต่ละวิธีมีก็ข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน
โดย CT scan เป็นเครื่องมือที่ครอบคลุมการวินิจฉัยที่ให้ภาพที่ชัดเจนและสามารถบ่งชี้ถึงรายละเอียดลักษณะของ tympanic membrane ภาวะ otitis media และ otitis interna ได้ และสามารถแสดงถึงการอักเสบของช่องหูและสภาวะ pathologic change เช่น ceruminous hyperplasia, mineralization, thickening, stenosis, polyp, tumors ได้อย่างชัดเจน ซึ่งสามารถช่วยให้สัตวแพทย์วางแผนการรักษาสัตว์ป่วยแต่ละรายได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และช่วยประเมินผลของการรักษาทางยาหรือประเมินแนวโน้มที่จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
การวางแผนการรักษา
ภาวะ recurrent/chronic otitis externa หากไม่ได้มี primary cause จากสิ่งแปลกปลอม, ectoparasites, immunemediated, hypothyroidism หรืออื่น ๆ แล้ว โดยส่วนใหญ่มักจะมี primary cause จากภาวะ allergic skin disease โดยจากการศึกษาพบว่า 50% ของสุนัขที่มีปัญหา atopic dermatitis มีอาการหูอักเสบร่วมด้วย ดังนั้นการจัดการ primay cause ที่เป็นสาเหตุหลักจึงเป็นวิธีที่ป้องกันการเกิด recurrent otitis extterna ได้ สัตวแพทย์ควรวางแผนการรักษาเป็น 2 ระยะ คือ
1. Reactive therapy คือ การรักษาเมื่อมีอาการกำเริบหรือ flare up ไม่ว่าจะเป็น acute flare หรือ chronic flare การรักษาระยะนี้มีจุดประสงค์คือ ต้องทำให้การอักเสบและการติดเชื้อแทรกซ้อนหายไป (secondary causes) โดยรวมถึงการทำ ear cleaning ซึ่งสัตวแพทย์ควรสาธิตวิธีการล้างทำความสะอาดช่องหูอย่างถูกวิธี และเลือกผลิตภัณฑ์ในการทำความสะอาดช่องหูที่เหมาะสม เช่น มีคุณสมบัติในการละลาย wax สำหรับ erythroceruminous otitis หรือสลาย biofilm ในกรณี suppurative otitis หรือ pseudomonas otitis
นอกจากนี้ควรเลือกใช้ topical ear drops ตามการทำผล ear cytology และใช้ topical หรือ systemic glucocorticoids โดยหากช่องหูตีบแคบมากไม่สามารถใช้ topical therapy ได้ อาจให้เฉพาะ systemic glucocorticoids เช่น prednisolone ในขนาด 1-2 mg/kg/day 7-14 วัน เพื่อทำการลดอักเสบและเปิดช่องหู
2. Proactive therapy คือระยะของการรักษาควบคุมและป้องกันการ flare up/recurrent otitis externa ซึ่งถือว่าเป็นการรักษาสภาวะช่องหูให้คงที่และป้องกันไม่ให้หูกลับมาอักเสบอีก โดยการลดปัจจัยโน้มนำต่าง ๆ ลง (predisposing factors) เช่น อาจมีการกำจัดขนหูที่หนาแน่นเกินไป หรือแนะนำให้งดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงที่ทำให้ช่องหูชื้นแฉะ เช่น การว่ายน้ำ การอาบน้ำสุนัขอย่างระมัดระวังไม่ให้น้ำเข้าหู การทำความสะอาดช่องหูอย่างสม่ำเสมอด้วยน้ำยาล้างหูที่มีส่วนผสมของ drying agent หรือมีคุณสมบัติ antiseptic อย่างไรก็ตามควรแนะนำให้เจ้าของสัตว์ป่วยไม่ล้างทำความสะอาดหูบ่อยจนเกินไปซึ่งอาจทำให้เกิด ear canal marceration โดยเฉพาะในรายที่ช่องหูมี occlusion
นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นระยะการรักษาที่ต้องควบคุมสาเหตุหลักของหูอักเสบอย่างต่อเนื่อง (primary causes) เช่น การป้องกันปรสิตภายนอกเป็นประจำ การควบคุมอาหาร ในราย adverse food reaction การควบคุมอาการ allergic flare up ในราย atopic dermatitis ด้วยยารักษาหรือการทำ immunotherapy นอกจากนี้การใช้ topical cortisosteroids เช่น hydrocortisone aceponate, mometazone foroate หรือ betamethasone valerate หยอดหูสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง สามารถลดการอักเสบหรือป้องกันการ flare up ของภาวะ otitis externa ได้โดยไม่พบรายงานว่ามีผลข้างเคียงหรือ adverse effect แต่หากสุนัขป่วยที่จำเป็นต้องมีการทดสอล adrenal function test ควรหยุดยา topical corticosteroids ทุกชนิดก่อนทดสอบอย่างน้อย 2 สัปดาห์
นอกจากนี้ ในปัจจุบัน topical ear drops สำหรับสัตว์ในประเทศไทยมีเพียงผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนผสมของ corticosteroids ร่วมกับ antimicrobial +/- antiparacitic drug เท่านั้น การเลือกใช้ topical steroids เพื่อเป็น proactive therapy จึงเป็นการใช้แบบ extra label use ซึ่งสัตวแพทย์ควรให้เหตุผลในการรักษาและทำความเข้าใจต่อของสัตว์ป่วยก่อนใช้ทุกครั้ง
เมื่อสัตวแพทย์ทำการรักษาทั้งระยะ reactive และ proactive therapy ได้ประสบความสำเร็จแล้ว จะเป็นการลดการเกิดปัจจัยซ้ำเติม (perpetuating factors) ได้โดยปริยาย โดยลดการเกิดภาวะ ear canal stenosis หรือ tympanic membrane rupture จาก pathological change ลด calcifiation หรือ mineralization ของช่องหูซึ่งเป็นภาวะ end stage otitis externa จนนำไปสู่การรักษาด้วยการผ่าตัด TECA/LBO ซึ่งมีความซับซ้อนและอาจเกิด complication หลังการผ่าตัด เช่น facial nerve paralysis, head tilt, dry eye, surgical site infection หรือ recurrent abscess
ดังนั้นการจัดการภาวะ chronic/recurrent otitis externa จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการป้องกันหรือควบคุมไม่ให้เกิด end stage otitis externa หรือ pathologic changed แบบ irreversible ไม่สามารถรักษาทางยาหรือ medical tretment และนำไปสู่การรักษาด้วยการผ่าตัด TECA/LBO ซึ่งควรติดตามอาการเพื่อประเมินวิธีการรักษาและปรับเปลี่ยนการให้ยาหรือปรับเปลี่ยนน้ำยาล้างหู/ยาหยอดหูตามความเหมาะสมเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ
อ่านบทความบนเว็บไซต์และดาวน์โหลด PDF ได้ที่ (สมาชิกฟรีก็อ่านได้) : https://readvpn.com/article/detail/2241
บทความโดย : น.สพ. ศิววัชร์ พานิชอนันต์กิจ

แหมะ อยากจะลาออกจากการเป็นตัวเองแล้วมาสมัครเป็นคุณไข่เจียวสักวันสองวัน อาการมันจะเกินปุยมุ้ยยยยยย  #ไข่เจียวเป็นหมาที่มา...
29/06/2024

แหมะ อยากจะลาออกจากการเป็นตัวเองแล้วมาสมัครเป็นคุณไข่เจียวสักวันสองวัน อาการมันจะเกินปุยมุ้ยยยยยย #ไข่เจียวเป็นหมาที่มาจากประเวศ #หมาจรประเวศ แรกๆกำพร้า หลังๆกำแหง

มาแล้วคร้าฟฟฟฟหลังจากที่คุณลูกค้าเรียกร้องกันมาหลายท่าน หมอกะจัดให้ตามคำขอค่ะ ใครไม่รูด จะตีแล้วนะ!!!!🤣🤣🤣🤣
13/06/2024

มาแล้วคร้าฟฟฟฟหลังจากที่คุณลูกค้าเรียกร้องกันมาหลายท่าน หมอกะจัดให้ตามคำขอค่ะ ใครไม่รูด จะตีแล้วนะ!!!!🤣🤣🤣🤣

ตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีนกับหมอน้ำ 😊หมอน้ำบริการถึงบ้านเลยค่า 😊
24/04/2024

ตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีนกับหมอน้ำ 😊
หมอน้ำบริการถึงบ้านเลยค่า 😊

บริการฉีดวัคซีน ตรวจสุขภาพถึงบ้านวันนี้ทำวัคซีนให้เด็กๆที่หมู่บ้านชัยพฤกษ์ ซ.พระยาสุเรนทร์ 30 จ้า
24/12/2023

บริการฉีดวัคซีน ตรวจสุขภาพถึงบ้าน
วันนี้ทำวัคซีนให้เด็กๆที่หมู่บ้านชัยพฤกษ์ ซ.พระยาสุเรนทร์ 30 จ้า

ร้านเรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนร่วมให้เกิดค่ายพิทักษ์รักสัตว์นี้  #สนับสนุนเสมอ  #เพื่อนสัตว์ทุกชนิดบนโลก
14/11/2023

ร้านเรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนร่วมให้เกิดค่ายพิทักษ์รักสัตว์นี้ #สนับสนุนเสมอ #เพื่อนสัตว์ทุกชนิดบนโลก

"ประกาศๆ ร้านหยุด3-5 พ.ย.66"ขออภัยในความไม่สะดวกนะค้าบบบ❤️❤️❤️🥰🥰🥰🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙇🏼‍♀️🙇🏼‍♀️🙇🏼‍♀️
13/10/2023

"ประกาศๆ ร้านหยุด3-5 พ.ย.66"ขออภัยในความไม่สะดวกนะค้าบบบ❤️❤️❤️🥰🥰🥰🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙇🏼‍♀️🙇🏼‍♀️🙇🏼‍♀️

ที่อยู่

346 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว
Bangkok
10220

เบอร์โทรศัพท์

0874014544

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ธนิภัทร สัตวแพทย์ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์

ประเภท