VetCAARE ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก VetCAARE, สัตวแพทย์, 91/9-10 Vacharaphol Road, Bangkok.

📝  ภาวะอักเสบทั่วร่างกายในสัตว์เลื้อยคลาน เปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 🐢🐾โดย สพ.ญ. อนัญญา ไทยมิตรชอบ (หมอมีน) และ ...
03/11/2024

📝 ภาวะอักเสบทั่วร่างกายในสัตว์เลื้อยคลาน เปรียบเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 🐢🐾
โดย สพ.ญ. อนัญญา ไทยมิตรชอบ (หมอมีน) และ ผศ.น.สพ.ดร.สมโภชน์ วีระกุล (อาจารย์แก้ว) 🩺
โรคบางโรคในสัตว์เลื้อยคลานจะถูกเรียกตามภาวะเหตุเป็นพิษจากการติดเชื้อ การติดเชื้อในกระแสเลือด หรือการอักเสบทั่วร่างกายที่เกิดจากการติดเชื้อ (sepsis) เช่น septicemic cutaneous ulcerative disease และพบว่าการก่อโรคส่วนใหญ่ของเชื้อในสัตว์เหล่านี้มักทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย แต่เป็นการอักเสบที่เกิดอย่างช้าๆ เนื่องจากสัตว์เลื้อยคลานมีเมตาบอลิสมที่ต่ำ จึงไม่พบการอักเสบรุนแรงแบบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นอวัยวะทำงานล้มเหลว จึงจะแสดงอาการรุนแรง อย่างไรก็ตาม หากทำการสังเกตอย่างใกล้ชิดจะพบอาการที่พอจะนำไปสู่ความสงสัยและวินิจฉัยต่อไป ได้แก่ มีอาการผอม ผิวหยาบกร้าน ผิวหนังอักเสบ และอาจพบแผลและฝีที่ผิว ปลายตีนหรือระยางค์ของร่างกายส่วนต่างๆ การขับถ่ายและลักษณะของมูลผิดปกติ เช่น พบยูเร็ตมาก สีเขียวคล้ำ หรือท้องเสียถ่ายเหลว จนไปถึงไม่พบการขับถ่าย และระดับกิจกรรมลดลงเรื่อยๆ เป็นต้น และพฤติกรรมที่มักพบผิดปกติ คือ ลดการกินอาหาร อาบแดดนานผิดปกติ (เพิ่มเมตาบอลิสม และการได้รับยูวีเอกระตุ้นภูมิคุ้มกันในสัตว์เลื้อยคลานและความอยากอาหาร) และนอนนานกว่าปกติ แม้ว่าอาการเหล่านี้จะไม่แตกต่างจากโรคอื่นๆ แต่หากพบให้สัตวแพทย์และผู้เลี้ยงประเมินไว้เบื้องต้นว่ามีโอกาสเป็นภาวะเจ็บป่วยและเสี่ยงต่อการอักเสบทั่วร่างกายไป ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่ความตาย
จะมีวิธีการอย่างไรในการพิสูจน์ว่าสัตว์ที่กำลังตรวจอยู่กำลังเสี่ยงต่อภาวะอักเสบทั่วร่างกาย
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะประเมินคล้ายกับในคนที่จะใช้เกณฑ์ 2 ใน 4 ในสุนัข และ 3 ใน 4 ในแมวจากกลุ่มอาการและผลเลือดที่ปรากฏ ซึ่งในที่นี้จะยกตัวอย่างเกณฑ์ในคนที่สุนัขและแมวประยุกต์มาใช้ และมีค่าแตกต่างกันไปตามด้านพยาธิสรีรวิทยา ดังนี้ 1. มีภาวะมีไข้สูง (หรือไข้ต่ำ) 2. หัวใจหรือชีพจรเต้นเร็วกว่า 90 ครั้งต่อนาที 3. อัตราการหายใจเร็วกว่า 24 ครั้งต่อนาที หรือค่า partial pressure of CO2 ต่ำกว่า 32 mmHg และ 4. ระดับเม็ดเลือดขาวจะสูงกว่า 12000 หรือต่ำกว่า 4000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร และพบว่า band form มากกว่าร้อยละ 10 อย่างไรก็ตาม ค่าดังกล่าวเป็นการประเมินเบื้องต้นและยังจำเป็นต้องประเมินกับกลุ่มชุดอาการที่เกิดร่วมกันได้เสมอ และยังต้องประเมินว่าสัตว์อยู่ในสภาวะ compensatory หรือ decompensatory เพราะค่าจะเปลี่ยนแปลงไปสู่จุดวิกฤติก่อนเสียชีวิต จึงพบว่ามีการตรวจอย่างอื่นร่วม เช่น ค่าแลคเตสในเลือด และเฝ้าระวังอาการอื่นๆ แม้ว่าสัตวแพทย์จะนำมาวิจัยและใช้ในสัตว์แล้ว ก็พึงเข้าใจและระมัดระวังในการใช้เครื่องมือนี้
เมื่อนำมาใช้ในสัตว์เลื้อยคลานจะประเมินด้วยหลักการเดียวกันได้หรือไม่?
คำตอบคือ นำมาใช้ได้โดยหลักการแต่ไม่ใช่ทั้งหมด และจะได้เกริ่นสักหน่อยถึงแนวทางในการรักษาที่สัตวแพทย์จำนวนไม่น้อยเข้าใจผิด
ในสัตว์เลื้อยคลานไม่สามารถใช้การประเมินอุณหภูมิร่างกายได้ แต่เราจะประเมินจากสิ่งใดแทนได้ นั่นคือการอาศัยที่พฤติกรรมอาบแดดผิดปกติ ที่เรียกว่า induced hyperthermia ซึ่งต้องแยกจากการอาบแดดจากภาวะร่างกายเย็นจากฤดูหนาวหรือจำศีล เพราะไม่เหมือนกัน
ส่วนการประเมินจากอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจ จะเหมาะสมกับในรายที่เพิ่งเกิดภาวะช็อค (acute shock) ที่ยังเกิดเป็น compensatory shock อยู่ ที่จะพบการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับภาวะพัก แต่ไม่ต่างจากเมื่อตื่นเต้นหรือถูกจับบังคับ จะเห็นชัดเจนในจระเข้ แต่ในสัตว์เลื้อยคลานที่เมื่อมาพบสัตวแพทย์ในขณะแสดงอาการป่วยแล้วมักจะเป็นอัตราต่ำทั้งสองอย่าง หัวใจเต้นช้า และหายใจช้า ทั้งนี้เป็นไปได้ที่เกิดขึ้นโดยปกติในภาวะพักของสัตว์ แต่อย่างไร ในกรณีที่เป็น septic shock มักจะเกิดภาวะความดันต่ำอย่างมาก สัตว์ต้องปรับตัวโดยการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อรักษาระดับ cardiac output แต่สัตว์เลื้อยคลานกลับประเมินได้ยาก และยังใช้ค่าทั้งสองวัดภาวะกรดในร่างกายสูงและมีการ compensatory shock ไม่ได้ เนื่องจากสัตว์เลื้อยคลานจะทนทานต่อการพบระดับแลคเตสสูง (lactate intolerance) ได้ดีกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมทั้งภาวะออกซิเจนในร่างกายต่ำหรือช็อคนั้น มักจะแสดงอาการไม่ชัดเจนนั่นเอง แต่ในการตรวจภาคปฏิบัติสามารถใช้ชีพจร การเต้นของหัวใจทั้งอัตราการเต้นและความแรงในการพิจารณาได้ ในสัตว์เลื้อยคลานที่เกิดภาวะนี้จะพบหัวใจเต้นเบาและช้า
อย่างไรก็ตามค่าเม็ดเลือดขาวจะช่วยในการประเมินได้ดีขึ้น ในระยะที่สัตว์ป่วยมาพบสัตวแพทย์มักจะเป็นระยะรุนแรงและเกิดอวัยวะต่างๆ ทำงานแย่ลงแล้ว (multiple organ dysfunction) ระดับเม็ดเลือดขาวรวมทั้งเม็ดเลือดแดงมักจะต่ำลงอย่างมาก แต่จะพบการสะสมจองเซลล์เม็ดเลือดขาวในบริเวณเนื้อเยื่อที่เกิดการอักเสบเป็นจำนวนมาก หลังจากทำการผ่าชันสูตรและกระบวนการทางพยาธิวิทยา และจะพบเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทั่วร่างกายหรือช่องว่างลำตัว พบของเหลวและจุดเลือดออกในช่องว่าง ร่วมกับอวัยะต่างๆ มีการอักเสบหลายรูปแบบ
การตรวจเชื้อในกระแสเลือดเพื่อยืนยันใช้ได้ผลหรือไม่? โดยปกติการจะระบุว่าเกิด sepsis แยกจากภาวะ SIRs หรือการอักเสบที่ไม่ได้จากการติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นต้องอาศัยการเก็บตัวอย่างเลือดในคนป่วยมาตรวจ แต่พบว่ามีการอนุโลมในเด็กเพราะอาจตรวจไม่พบเชื้อ แต่อาศัยอาการทางคลินิก และปัจจัยอื่นๆ ช่วยประเมิน รวมไปถึงการใช้ยาปฏิชีวนะและมีการตอบสนองต่อการรักษา ซึ่งต้องมีระยะเวลาที่เหมาะสม (5-7 วัน) ในกรณีที่ได้รับยา 1-2 วันแล้วอาการไข้ดีขึ้น อาจจะไม่ใช่กรณี sepsis แต่เป็นเพียง fever ทั่วไป ในสัตว์เลื้อยคลาน การตรวจเชื้อจากเลือดอาจไม่พบเชื้อที่สงสัยเสมอไปเช่นกัน แต่มักจะพบได้เมื่อเก็บจากเนื้อเยื่อ รอยโรค เมื่อทำการชันสูตรซาก และเมื่อทำด้านจุลพยาธิวิทยาจากรอยโรค
แล้วประเมิน sepsis ของสัตว์เลื้อยคลานได้จากอะไรในเมื่อค่าต่างๆ วัดได้แต่อาจไม่แม่นยำ: เมื่อทราบโดยหลักการของการอักเสบทั่วร่างกายว่า เกิดจากการอักเสบติดเชื้อจากที่ใดที่หนึ่งและกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ หรือห่างจากบริเวณติดเชื้อแรก และไปพบการติดเชื้อชนิดนั้นที่อวัยวะหรือส่วนอื่น และก่อให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้นทั่วร่างกาย ในสัตว์เลื้อยคลานที่ขณะมาตรวจมักจะเข้าข่าย severe sepsis เนื่องจากเป็น sepsis ที่เกิดร่วมกับ organ dysfunction แล้ว และพบ 2 อวัยวะขึ้นไป
ดังนั้นการประเมินจึงสังเกตได้จากอาการที่ได้กล่าวมาข้างต้น และทำการสำรวจเพิ่มเติมโดยการตรวจเลือด ซึ่งยังสามารถช่วยประเมินได้ดี และอาจได้ประเมินการเสื่อมของอวัยวะหลักในการประเมินความรุนแรงร่วม เช่น ตับ ไต เป็นเบื้องต้น โดยอาศัยร่วมกับอาการที่พบ การเพาะเชื้อจากเลือดหรือป้ายจากหลอดลมซึ่งมักพบการก่อโรคในระบบหายใจร่วมด้วยเสมอ ทั้งในกลุ่มเชื้อ Chlamydia, Streptococcus, Staphylococcus, Mycoplasma และ Coliform bacteria ต่างๆ และการสำรวจที่ทำได้สะดวกและแนะนำคือการเอกซเรย์สำรวจ ซึ่งเป็นงานเบื้องต้นที่ควรทำเพื่อร่วมการตัดสินใจ
อาการที่พบเพิ่มเติมเมื่อทำการตรวจ มักจะพบช่องปากอักเสบรุนแรงทั้งที่มีและไม่มี diphteritic membrane หลอดลมแดงและบวม มักจะพบร่วมกับช่องเพดานปากบวมแดง มีเสมหะเหนียวข้นติดไปถึงหลอดลม จะพบหน้าบวมหรือไม่ก็ได้ พบจุดเลือดออกตามร่างกาย รูทวารรวมบวมแดง มักมีคราบยูเร็ตเปรอะเปื้อนหรือมีการขับปัสสาวะบ่อยกว่าปกติได้ เมื่อทำการเอกซเรย์สำรวจซึ่งช่วยได้ดีมาก ในภาวะการอักเสบทั่วร่างกายมักจะใช้อย่างน้อยสองอวัยวะในการประเมิน และในสัตว์เลื้อยคลานมักพบปอดผิดปกติได้เป็นอันดับต้นๆ และใช้วัดระดับความรุนแรงได้ ในระยะแรกปอดมักจะ opacity ขึ้นแบบ interstitial pattern โดยเห็นเป็น recticular หรือ linear เป็นเส้น จะยังไม่เป็นแบบ nodular หรือ recticulonodular เมื่อรุนแรงขึ้น จะพบลักษณะขาวขุ่นแบบกระจาย หรือหมอก (hazy) และรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อเห็นเป็นเส้นขาวมีความเด่นเท่าๆ กับอวัยวะอื่นๆ รอบข้าง มักจะเกิดจากการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันจากการอักเสบ และกระบวนการซ่อมแซม ระยะนี้มักบ่งชี้ว่ากระบวนการอักเสบได้ดำเนินมานานแล้ว จนสร้างพังผืดในช่องว่างร่างกายและเกี่ยวกับอวัยวะต่างๆ และยังแสดงว่าอวัยวะต่างๆ ได้อักเสบและผ่านกระบวนการเหล่านี้มาแล้วเช่นกัน และเสี่ยงต่อการสูญเสียหน้าที่สำคัญในร่างกาย
และส่วนใหญ่ตั้งแต่ที่กระบวนการอักเสบเพิ่งดำเนินไปจะพบลำไส้และอวัยวะข้างเคียงอักเสบทำให้ดูได้ง่ายกว่าและสามารถทำการพยากรณ์ร่วมได้ดีและให้ความแม่นยำได้คือการพบ generalized ileus ในอัตราร้อยละ 100 แม้ว่าจะเกิดจากการอุดกั้นแบบสมบูรณ์ในทางเดินอาหารได้ (complete obstruction) ในสัตว์ แต่ภาวะอุดกั้นแบบสมบูรณ์พบได้ยากมักพบเป็น localized ileus แทน และเห็นบริเวณที่มีการอุดกั้น รวมทั้งการอักเสบของอวัยวะต่างๆ ก็มักจะทำให้ทางเดินอาหารข้างเคียงเกิด localized ileus เท่านั้น และอาจสังเกตเห็นผนังลำไส้มีการหนาตัวและขาวขึ้นกว่าปกติได้ ซึ่งจะสัมพันธ์กับผลการชันสูตรซาก ซึ่งลักษณะ generalized ileus มักพบในเต่าเสือดาว เรเดียต้า อัลดราบา แต่ลักษณะที่เป็นแบบ diphteritic เมื่อผ่าชันสูตร มักจะพบในเต่าซูลคาตา และจระเข้จำนวนมาก อย่างไรก็ตามในตัวเงินตัวทองมักจะพบจุดเลือดออกในอวัยวะภายในจำนวนมาก และมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และหลายรายพบของเหลวในช่องว่างลำตัวจากการอักเสบ และเปลี่ยนเป็นพังผืดในรายที่เกิดขึ้นนาน
การพยากรณ์และแนวทางรักษา?
การพยากรณ์ในสัตว์ที่เป็น severe sepsis ต้องเป็น poor หรือมีเหตุผลว่าไม่รอด แต่เพราะสัตว์เลื้อยคลานมักจะหลอกตา ตายยากในหลายเคส และพวกเขาทั้งหลายย่อมเชื่อว่ามีหวัง สัตวแพทย์ไม่ใช่เทวดา คนที่เข้าใจเคสลึกซึ้งผ่านประสบการณ์มาแล้วมักจะไม่ยินบอกว่าเคสนี้จะรอด เพราะเห็นหลักฐานบ่งชี้อยู่หลายประการ แม้กระทั่งการพบหลักฐานเดียวคือ generalized ileus และ edema ของระบบทางเดินอาหาร อย่างไรก็ตามสัตวแพทย์มักต้องค้นหาหลักฐานอื่นร่วมเป็นชุดอาการ (clinical approach algorithm) สัตวแพทย์ก็ต้องระมัดระวัง
มีหลายเคสพยายามทำการรักษาเคสเหล่านี้ ซึ่งตามหลักในการรักษา sepsis จะใช้หลัก EGDT เมื่อประเมิน ซึ่งสัตวแพทย์ควรทำความเข้าใจเรื่องนี้กันเพิ่มเติม เพราะหลายคนยังเห็นว่าการรอผลค่าเลือดสำคัญกว่าอาการที่ปรากฏ เพราะในกรณีที่ประเมินว่าเคสนั้นๆ เกิด septic shock การให้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมหรือตามข้อมูล (data base) ให้เลือกใช้ยาได้ในทันทีภายใน 1 ชั่วโมงแรก แม้ในสัตว์เลื้อยคลานไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าสามารถช่วยได้ดีเท่าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือไม่ และในคนพบว่าการเลือกใช้ empirical drugs จาก data base จะช่วยลดอัตราการตายจาก sepsis ได้เกือบร้อยละ 8 และการจัดการควรสำเร็จภายใน 6 ชั่วโมงในการแก้ไขสภาวะช็อคและวิกฤติ อย่างไรก็ตาม ในสัตว์เลื้อยคลานจากภาคปฏิบัติอาจไม่จำเป็น เพราะส่วนใหญ่จะเสมือนตอบสนองต่อการรักษาได้ดีในระยะแรก เมื่อประคับประคองอาการไปเรื่อย และหากตอบสนองต่อยาต้านจุลชีพ โอกาสรอดมีชีวิตอีกระยะจึงเกิดขึ้น แต่ไม่ต่างอะไรจากการเลี้ยงไข้ในรายที่เป็น severe sepsis เพราะอวัยวะเกิดการเสื่อมไปแล้ว ในที่สุดสัตว์เลื้อยคลานเหล่านี้จะตาย ตั้งแต่ระยะสั้นๆ สัปดาห์ถึงเดือน หรือระยะยาวเป็นเดือนถึงปี บางตัวที่พยายามยื้อ ประคับประคอง ป้อนยาและอาหาร ตรวจซ้ำๆ บ่อยๆ ก็อาจจะนานถึง 3-5 ปี สัตว์ป่วยมักจะผอม ไม่เติบโต ผิวหยาบกร้านและเป็นแผล ไม่กินอาหารซึ่งต้องป้อน แต่สุดท้ายเมื่อชันสูตรก็ยังพบปัญหาเดียวกัน เชื้อชนิดเดียวกัน และรอยโรคเรื้อรังแบบตัวที่ตายไปก่อนหน้านั้น
ในสัตว์เหล่านี้เมื่อทำการตรวจมักมีค่าเลือดผิดปกติแต่แรก สัตวแพทย์ที่ยึดแนวคิดแบบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาจมองไม่เห็นมุมที่ต่างกัน เมื่อต้องพิจารณาการรักษา severe sepsis โดยหลัก EGDT ซึ่งผลที่ทำให้ค่าเลือด (blood chemistry) เหล่านี้สูงขึ้นอาจไม่ได้เกิดจากยาที่ใช้รักษาแม้ว่าจะเกิดขึ้นได้ แต่เมื่อสัตวแพทย์จำเป็นต้องเลือก empirical drugs ที่ตรงกับข้อมูลเชื้อมีความสำคัญกว่า เช่นทั้ง Chlamydia
🐶🐱🐭🐹🐰🦊🐻🐯🐮🐷🐸🐵🐔🐦🦅🦉🐢🐍🦎
#คลินิกออนไลน์สำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
www.epofclinic.com...............................................................................
#ภาวะอักเสบทั่วร่างกายในสัตว์เลื้อยคลาน #โรคในสัตว์เลื้อยคลาน
#สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม #รักษาสัตว์เลี้ยง
#ปัญหาสุขภาพในสัตว์เลี้ยง #เกร็ดวิชาการขวัญคำ
#หมอเอกโซติก #หมอสารพัดสัตว์
#โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ #โรงพยาบาลสัตว์ExoticPet
#รักษาสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ

📝  ถาม - ตอบ ปัญหาสุขภาพสัตว์เลี้ยง 🏨โดย ผศ.น.สพ.ดร. สมโภชน์ วีระกุล (อาจารย์แก้ว) โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ👩‍💻  ถาม : แมวขาห...
29/10/2024

📝 ถาม - ตอบ ปัญหาสุขภาพสัตว์เลี้ยง 🏨
โดย ผศ.น.สพ.ดร. สมโภชน์ วีระกุล (อาจารย์แก้ว) โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ
👩‍💻 ถาม : แมวขาหลังบวมทั้ง 2 ข้าง
อยากทราบว่าน้องแมวเป็นอะไรคะ คือน้องขาหลังบวมทั้ง 2 ข้างเลยค่ะ เดินไม่ค่อยได้ น้องตรวจเลือดพบลิวคีเมียมาก่อนค่ะ ทีแรกบวมแค่ข้างเดียว แต่ตอนนี้เริ่มบวมทั้ง 2 ข้างแล้วค่ะ
👨‍💻 ตอบ : ผมขอกล่าวโดยรวมก่อน เมื่อพบว่าเกิดอาการบวมมักจะต้องตรวจเบื้องต้นว่าพบอาการบาดเจ็บก่อน เช่น การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อ กระดูก เป็นต้น เกิดการอักเสบ มีการบวมได้ทั้งจากเลือดและการบวมน้ำ บางกรณีเกิดการบาดแผล ติดเชื้อ ฝีหนอง ไปจนถึงถูกกัดจากสัตว์ชนิดอื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถคลำตรวจได้ด้วยตนเอง แต่หากไม่มั่นใจควรไปพบสัตวแพทย์
ในกรณีอื่นๆ ที่พบได้ในแมวที่เกิดท่อน้ำเหลืองอุดตัน ซึ่งทำให้การระบายน้ำที่ส่วนขาทำงานลดลง มักจะพบเกิดร่วมกับต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลืองมีปัญหาจากการติดเชื้อและอักเสบได้ ซึ่งพบได้ทั้งโรคติดเชื้อแบคทีเรีย และไวรัส ในกรณีของลิวคีเมียก็สามารถเกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะไม่ใช่อาการหลัก แต่ตามกลไกของการเกิดโรคนั้น ลิวคีเมียมีผลต่อต่อมน้ำเหลืองและท่อน้ำเหลืองได้เช่นเดียวกัน หรือเชื้อต่างๆ มีผลต่อการอักเสบของเส้นเลือดก็เกิดการบวมน้ำได้เช่นกัน แต่การอุดกั้นของท่อน้ำเหลืองจะทำให้พบการระบายของเหลวได้ช้าและเกิดการบวมได้ชัดเจนขึ้น
ส่วนโรคอื่นๆ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ทำให้เกิดการบวมที่ขาได้เช่นกัน แต่มักจะบวมทั่วตัว ในบริเวณส่วนล่างๆ ของร่างกาย เช่น โรคตับ ได หัวใจ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ในคนก็เกิดเป็นประจํา และยังเกิดได้จากเนื้องอกต่อมน้ำเหลืองหรือบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ยังเกิดจากการใช้ยาที่มีความเป็นพิษได้ ที่พบในแมว เช่น การใช้ยาพารา ซึ่งเป็นพิษในแมว แต่มักจะพบบวมทั้งตัวและใบหน้า เช่นเดียวกันกับอาการแพ้
อย่างไรก็ตามในเคสนี้เริ่มบวมจากขาแรกก่อนแล้วบวมอีกข้าง จึงมีแนวโน้มเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาจากระบบ เพราะหากบาดเจ็บมักจะเกิดที่ข้างใดข้างหนึ่งโดยตรง เว้นจะพร้อมใจกันบาดเจ็บสองข้างซึ่งก็เกิดขึ้นได้ มักจะพบบริเวณที่บาดเจ็บ มีอาการบวม ร้อน และเมื่อคลำจะเจ็บปวด ในกรณีที่เป็นระบบจะบวมจากขาก่อน และอาจเริ่มบวมที่ส่วนอื่นของร่างกาย และหากมีประวัติการติดเชื้อลิวคีเมีย มีโอกาสที่จะทำให้ภูมิคุ้มกัมกันลดลงและเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อน การบวมโดยมีแนวโน้มเป็นระบบจึงควรรีบไปพบสัตวแพทย์ ด้วยความไม่ประมาท อย่างไรก็ตามหากเกิดจากการบาดเจ็บอาการมักจะเริ่มทุเลาได้เอง ซึ่งใช้เวลาเร็วช้าขึ้นกับความรุนแรงของการบาดเจ็บครับ ขอให้หายไวไว
🐶🐱🐭🐹🐰🦊🐻🐯🐮🐷🐸🐵🐔🐦🦅🦉🐢🐍🦎
#คลินิกออนไลน์สำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
www.epofclinic.com...............................................................................
#แมว #แมวขาบวม #ลิวคีเมียในแมว #แมวร่างกายอักเสบ
#รักษาแมว #รักษาสัตว์เลี้ยง #ปัญหาสุขภาพในแมว
#โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ #โรงพยาบาลสัตว์ExoticPet
#รักษาสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ

24/10/2024

24 ตุลาคมเป็น #วันชะนีสากลโลก (International Gibbon Day)
วันชะนีสากลโลกเกิดขึ้นในปี 2015 จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองให้กับลิงเอปเล็กผู้เป็นดั่งนักกายกรรมแห่งผืนป่า และร่วมตระหนักรู้ถึงความจริงอันแสนเศร้าที่ยังมีชะนีอีกจำนวนมากในประเทศไทยถูกทารุณและใช้เป็นเครื่องมื่อในการแสวงหาผลประโยชน์ของมนุษย์

“ ชะนี ” จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มเดียวกับลิงที่ไม่มีหาง มีขนาดตัวที่เล็ก อยู่ในวงศ์ Hylobatidae ไม่มีการสร้างรังสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว และว่องไวโดยวิธีการห้อยโหนเกือบตลอดเวลา โดยการแกว่งแขนทั้งสองข้าง โหนตัวจากกิ่งหนึ่งสู่อีกกิ่งหนึ่ง ขณะที่โหนนั้นแต่ละแขนที่แกว่งไปจะหดกลับมาอยู่ในระดับใต้หัวไหล่ก่อนที่จะยื่นแขนออกไปโหนอีกครั้งหนึ่ง
ในประเทศไทยมีชะนีมี 4 ชนิด จาก 20 ชนิดที่อาศัยอยู่ทั่วโลก มีการกระจายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และตอนใต้ของจีนตั้งแต่ อัสสัม (อินเดีย) พม่า ไทย ไปจนถึงอินโดจีน ยูนาน แหลมมาลายู เกาะสุมาตรา เกาะชวา และเกาะเบอร์เนียว
ปัจจุบันชะนีเป็นสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ เนื่องจากถูกล่าและแหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นไม้ใหญ่เริ่มลดลง สถานภาพปัจจุบันของชะนีในไทยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

ที่มา: https://www.wfft.org/primates/international-gibbon-day-2021/?fbclid=IwY2xjawGG5RxleHRuA2FlbQIxMAABHXIevPRfqENnQpKx5YIM0UR2aJ5jyCP9CIf1U41EIghiLJEsk8M6nHKbwQ_aem_W4zyZD5uf9OOxG-D_s5Suw

16/10/2024

🐱 วันที่ 16 ตุลาคมของทุกๆ ปี ตรงกับ “วันแมวจรแห่งชาติ” (National Feral Cat Day) 🌎✨

จัดขึ้นเพื่อตระหนักถึงปัญหาของแมวจรจัดที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจและช่วยเหลือเจ้าเหมียวเพื่อนร่วมโลกของเรา

📸 ไหนนนนน...บ้านใครมีอดีตแมวจรกันบ้าง 🙌🏻

มาร่วมแชร์ความรัก และแบ่งปันความสุขให้กับน้องแมวเหล่านี้ใต้โพสต์กันได้เลย ขอให้แมวจรทั้งหลายมีบ้านกันทุกตัวเลยนะ 🥰

#วันแมวจรโลก #วันแมวจรแห่งชาติ
#16ตุลาคม #โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ

📝  ถาม - ตอบ ปัญหาสุขภาพสัตว์เลี้ยง 🏨โดย ผศ.น.สพ.ดร. สมโภชน์ วีระกุล (อาจารย์แก้ว) โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ🙍  ถาม : เต่าเสือ...
12/10/2024

📝 ถาม - ตอบ ปัญหาสุขภาพสัตว์เลี้ยง 🏨
โดย ผศ.น.สพ.ดร. สมโภชน์ วีระกุล (อาจารย์แก้ว) โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ
🙍 ถาม : เต่าเสือดาว ตาปิด 2 ข้าง ตาบวม เวลาลืมตาจะหรี่ มีน้ำตา
เต่าเสือดาว ตาบวม 2 ข้าง ไม่ค่อยลืมตา ลืมได้บ้าง ถ้าเกิดลืมตาจะหรี่ แต่ยังกินอาหารเม็ดบ้าง แต่กินไม่เยอะครับ แต่ถ้าผักจะกินเยอะ รูจมูกไม่มีน้ำมูกครับ
👨‍💻 ตอบ : อาการตาบวมตามที่ผู้เลี้ยงสงสัยว่าจะเป็นอาการของระบบหายใจก็เป็นไปได้ครับ และไม่จำเป็นต้องมีน้ำมูก เพราะเมื่อเกิดการอักเสบหลายตัวจะเกิดอาการบวมแข็งเป็นแบบเนย และเมื่อเอกซเรย์จะเห็นปอดขุ่นได้ ยังตัดทิ้งไม่ได้ แต่ไม่ใช่ปัญหาแรกที่จะพบได้บ่อยๆ แม้ว่าเต่าบกจะพบปัญหาการขาดวิตามินเอได้น้อยกว่าเต่าน้ำ แต่ปัญหานี้ก็พบได้ครับ ในการเลี้ยงเต่าจึงยังจำเป็นต้องได้รับผักสีเขียว สีเหลือง สีแดง หรืออาหารเม็ดที่มีเบต้าแคโรทีนอยด์ ตัวหลักก็ยังเป็นหญ้าและใบไม้ที่สามารถให้วิตามินเอได้เช่นกัน แต่วิตามินเอจะหายไปร้อยละ 80 ขณะที่แห้งหรือถูกแสงผ่านไปเป็นวันๆ การขาดจึงยังเกิดขึ้นได้เสมอ
นอกจากนี้ยังเกิดจากการติดเชื้อทั่วไป จากระบบหายใจ จมูก ไซนัส และปอดโดยตรง ซึ่งการติดเชื้อไวจะพบในเต่าวัยเด็ก ที่ยังไม่เจริญเต็มที่ อาการตาบวมจะเด่นชัดกว่าเต่าโตแล้ว ซึ่งจะมีลักษณะของน้ำมูกไหลมาก ที่เรียกว่า runny nose runny eye แทนครับ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องมักจะเกิดจากแสงแดดไม่เพียงพอ ความชื้นมากเกินไป อุณหภูมิไม่เหมาะสม และขาดการจัดการช่วงเวลาของแสงในแต่ละวัน โดยเฉพาะอุณหภูมิและแสงยูวีเอจะมีผลในการสร้างภูมิคุ้มกัน แต่อากาศเย็นและความชื้นสูงจะทำให้เกิดโรคติดเชื้อได้ง่าย
ที่เหลือยังต้องดูระบบอื่นๆ ให้ทำการเปิดปากเพื่อดูช่องปาก หลอดลม และเพดานปาก ว่ามีการอักเสบหรือไม่ เพราะมีความส้มพันธ์กับปอดอักเสบได้ครับ ลองพิจารณาตรวจดูนะครับ
🐶🐱🐭🐹🐰🦊🐻🐯🐮🐷🐸🐵🐔🐦🦅🦉🐢🐍🦎
#คลินิกออนไลน์สำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
www.epofclinic.com...............................................................................
#เต่าเสือดาว #เต่าตาปิด #เต่าตาบวม #เต่ามีน้ำตา
#รักษาเต่า #ปัญหาสุขภาพในเต่าเสือดาว
#โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ #โรงพยาบาลสัตว์ExoticPet
#รักษาสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ

📝  ภาวะหัวใจล้มเหลวในแมว (Congestive heart failure, CHF)  🐱🩺❤️‍🩹โดย น.สพ.จิรสิน จินตนาภูษิต (หมอเจเจ) โรงพยาบาลสัตว์ขวัญ...
10/10/2024

📝 ภาวะหัวใจล้มเหลวในแมว (Congestive heart failure, CHF) 🐱🩺❤️‍🩹
โดย น.สพ.จิรสิน จินตนาภูษิต (หมอเจเจ) โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ 🏨
หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure, CHF) คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เป็นปกติ จึงทำให้เกิดอาการผิดปกติและบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต สำหรับโรคหัวใจที่พบในน้องแมว ส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy) ซึ่งในระยะท้ายของโรคเป็นเหตุให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
ภาวะหัวใจล้มเหลวในแมว มักพบอาการ หายใจลำบาก เยื่อเมือกมีสีม่วงคล้ำ ไม่ค่อยทนต่อการออกกำลังกาย วิ่งเล่นน้อยลง เบื่ออาหาร ซูบผอม เป็นลม ท้องกาง อาจพบอาการไอ และในรายที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดง จะพบอาการขาหลังอ่อนแรงเฉียบพลัน ปลายเท้าหลังเย็น ปวด คลำไม่เจอชีพจรที่ขาหลัง หากมีอาการรุนแรงอาจพบว่าเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้
การตรวจวินิจฉัยจะอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และใช้เครื่องมือในการวินิจฉัย เช่น การถ่ายภาพรังสีช่องอก (X-rays) การอัลตราซาวน์หัวใจ (Echocardiography) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) และการตรวจเลือดเพื่อวัดค่าบ่งชี้การทำงานของหัวใจ (Cardiac biomarker)
การจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวในแมวนั้น จะใช้การรักษาทางอายุรกรรมเป็นหลัก เช่น การใช้ยาขับน้ำ ยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด(ในรายที่มีลิ่มเลือดอุดตัน) ยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ(ในรายที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะ) เป็นต้น นอกจากนี้ในรายที่มีอาการหายใจลำบากอาจจำเป็นต้องอยู่ในตู้ออกซิเจน หรือในรายที่มีน้ำในเยื่อหุ้มปอดอาจต้องเจาะระบายน้ำเพื่อแก้ไขภาวะฉุกเฉินให้น้องแมวหายใจได้สะดวกขึ้น
จะเห็นได้ว่าภาวะหัวใจล้มเหลวในแมวนั้นเป็นภาวะที่มีอันตรายต่อชีวิต ดังนั้นหากเจ้าของสังเกตเห็นอาการผิดปกติดังกล่าว ควรพาน้องแมวมารับการตรวจวินิจฉัยและรับคำแนะนำจากสัตว์แพทย์โดยเร็ว
_______________________________________________
#แมว #รักษาแมว #รักษาสัตว์ป่วย #แมวหัวใจล้มเหลว
#ภาวะหัวใจล้มเหลวในแมว


#โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ

#หมอเอ็กโซติก

🐶🐱🐭🐹🐰🦊🐻🐯🐮🐷🐸🐵🐔🐦🦅🦉🐢🐍🦎
#คลินิกออนไลน์สำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
www.epofclinic.com

📝  ถาม - ตอบ ปัญหาสุขภาพสัตว์เลี้ยง 🏨โดย ผศ.น.สพ.ดร. สมโภชน์ วีระกุล (อาจารย์แก้ว) โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ👩‍💻  ถาม : ค๊อกคา...
05/10/2024

📝 ถาม - ตอบ ปัญหาสุขภาพสัตว์เลี้ยง 🏨
โดย ผศ.น.สพ.ดร. สมโภชน์ วีระกุล (อาจารย์แก้ว) โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ
👩‍💻 ถาม : ค๊อกคาเทลก้นเลือดออก
รับน้องค๊อกคาเทลสองเดือนมาได้หนึ่งสัปดาห์ค่ะ วันนี้ออกไปข้างนอกกลับบ้านมา พ่อเล่าว่าเล่นกับน้องบนไหล่อยู่ๆ จู่ๆ ไหล่ตรงที่น้องเกาะก็เปียก เอาทิชชู่ซับๆ ดูเป็นสีเลือด เลยดูที่ก้นน้อง เหมือนเลือดจะออกไม่หยุดเลย แต่ตอนนี้เลือดแข็งตัวแล้ว เรามาดูที่ก้นน้องเองตอนนี้เห็นเป็นก้อนเลือดค่อนข้างหนาอยู่บริเวณก้นน้อง พรุ่งนี้จะพาน้องไปหาหมอค่ะ พอจะมีวิธีดูแลเบื้องต้นแนะนำไหมคะ สาเหตุเป็นจากอะไรได้บ้างหรอคะ น้องไม่มีอาการซึมเลยค่ะ กินอาหารเป็นปกติ พฤติกรรมที่เห็นบ่อยๆ คือน้องจะไซร้ขนตัวเองบ่อยๆ หรือหันก้มไปแถวๆ เยื้องๆ ก้นตัวเองบ่อยๆ เหมือนกันค่ะ
👨‍💻 ตอบ : น่าจะไปหาหมอแล้วใช่ไหมครับ ผมจะขอเล่าเพื่อเป็นกรณีศึกษาให้ผู้อื่นนำไปพิจารณาต่อไปนะครับ ในกรณีที่พบเป็นแบบเลือดสดไหลออกมา ส่วนใหญ่มาจากบาดแผลเป็นหลักเลยครับ อาจจะได้รับบาดเจ็บโดยตรงจากสิ่งของหรือของมีคม บางรายเป็นเพราะกัดกัน แต่ในกรณีที่เลี้ยงตัวเดียวก็น่าจะเป็นจากสาเหตุบาดเจ็บโดยตรง อย่างไรก็ตามในกรณีที่พบได้บ่อยคือการจิกแทะตัวเองจากอาการคัน ในกรณีของลูกนกมักจะพบอาการของเชื้อบางชนิดที่รบกวน เช่น Giardia ตัวนี้เป็นโปรโตซัว ทำให้เกิดอาการคันบริเวณทวารรวม และเกิดลำไส้อักเสบ แม้จะเป็นเชื้อที่ก่ออันตรายน้อยแต่ทำให้เกิดอาการคัน จะพบอาการไซร้ขนหรือแต่งตังตัวมากกว่าปกติได้ และบางรายแทะที่ทวารรวมจนเกิดเป็นแผลและพบเลือดออก ในกรณีแบบนี้ให้ไปพบหมอเพื่อทำการตรวจอุจจาระ และกินยาต่อเนื่องระยะหนึ่ง ในกรณีอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการคันแต่พบได้น้อย เช่น การมีเชื้อไรที่ขนและผิวหนัง
ความเครียด
ในกรณีที่เป็นแผลจากการกัดแทะ สามารถทำความสะอาดแผลโดยตรง แต่ในกรณีที่แผลแห้งแล้วปล่อยให้แผลหายจะดีกว่าครับ ให้กลไกของร่างกายและภูมิคุ้มกันได้ทำงาน เพราะแผลมักจะเป็นแผลขนาดเล็กและหายไว
ในกรณีอื่นๆ ที่ไม่มีแผลแต่เห็นเลือดหยดมาจากทวารรวม มักเกิดจากเชื้อบิดได้เช่นกัน แต่อาจจะพบมูกหรือกลิ่นเหม็นคาว บางรายท้องเสียถ่ายเหลว เพราะเชื้อทำให้เกิดลำไส้อักเสบและเยื่อบุลำไส้ถูกทำลาย จะต่างไปจากกลุ่มที่มีเลือดไหลออกมากๆ ครับ พวกนี้จะปนมากับมูล หมอจะจัดยาให้ชุดกินต่อเนื่องครับ
ในกรณีที่ไม่ได้รับการแก้ไข และยังพบว่ามีแผล นกจะยังมีอาการคันครับ และจะจิกกัด ให้พิจารณาใส่คอลลาร์หรือปลอกคอกันกัดเอาไว้ จนกว่าแผลจะหายขาดไม่งั้นจะเกิดบาดแผลที่ใหญ่ขึ้นครับ
🐶🐱🐭🐹🐰🦊🐻🐯🐮🐷🐸🐵🐔🐦🦅🦉🐢🐍🦎
#คลินิกออนไลน์สำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
www.epofclinic.com...............................................................................
#ค๊อกคาเทล #ค๊อกคาเทลมีเลือดออก #ค๊อกคาเทลบาดเจ็บ
#รักษาค๊อกคาเทล #ปัญหาสุขภาพในค๊อกคาเทล
#โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ #โรงพยาบาลสัตว์ExoticPet
#รักษาสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ

📝 หญ้าโอ๊ตระยะที่ดีที่สุดสำหรับกระต่ายและสัตว์กินพืชขนาดเล็ก 🐰🌾โดย ผศ.น.สพ.ดร.สมโภชน์ วีระกุล อาจารย์แก้ว โรงพยาบาลสัตว์...
06/09/2024

📝 หญ้าโอ๊ตระยะที่ดีที่สุดสำหรับกระต่ายและสัตว์กินพืชขนาดเล็ก 🐰🌾
โดย ผศ.น.สพ.ดร.สมโภชน์ วีระกุล อาจารย์แก้ว โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ🏨

พวกเรานิยมใช้หญ้าโอ๊ตเลี้ยงกระต่าย แกสบี้ ชินชิลล่ากันไม่น้อย ลองมาอ่านดูว่าหญ้าโอ๊ตเป็นอย่างไร

ต้นข้าวบางทีอาจจะไม่หมาะสมเลย เมื่อนำมาใช้เป็นหญ้าแห้ง เพราะต้นที่พ้นระยะเก็บเกี่ยวเมล็ดไปแล้ว จะกลายเป็นฟางข้าวที่แก่เกินไป และจะให้แต่เปลือกไม้ที่มีระดับของเยื่อใยชนิดย่อยไม่ได้สูงเกินไป ได้แก่ ลิกนิน และเซลลูโลส กระต่ายจะขาดเยื่อใยชนิดที่จะนำไปใช้หมักเป็นพลังงานหรือชนิดย่อยได้ จะผอมและถ่ายมูลแข็งใหญ่และมากผิดปกติ และยังพบว่าฟางข้าวจะมีความเป็นด่างมากเกินไป อาจทำให้ระดับกรด-ด่างในทางเดินอาหารเปลี่ยนแปลง แต่พบว่ามีการนำต้นข้าวโอ๊ตมาใช้ประโยชน์เป็นหญ้าแห้ง ซึ่งต้องมีการจัดการแปลงหญ้าที่ดี โดยเลือกระยะในการตัดที่เหมาะสมเพื่อจะให้ได้หญ้าที่เหมาะสำหรับการไปเลี้ยงสัตว์ช่วงวัยเด็ก นั่นหมายถึงคุณค่าอาหารต้องดีเยี่ยมต่อการเจริญเติบโต

ระยะที่เหมาะสมที่สุดในการตัดนำมาใช้ คือ ช่วงเริ่มออกดอกและได้ผลอ่อน หรือมีการสะสมแป้ง เรียกว่า ระยะน้ำนมระยะแรก (early milk stage) เมื่อทำการบีบที่ยอดดอกจะพบน้ำข้าวไหลออกมา บางทีก็เรียกว่า watery-ripe stage ถ้าเลยระยะนี้ไปพบว่าคุณค่าของหญ้าจะลดลงอย่างรวดเร็ว ระยะการตัดจึงพลาดไม่ได้ บางแหล่ง เช่น ออสเตรเลียจะพิจารณาตัดก่อนช่วงระยะน้ำนมด้วยซ้ำ เพื่อไม่ให้เลยช่วงที่เหมาะสม จะต่างจากหญ้าชนิดอื่นๆ ที่จะอยู่ในช่วงเจริญเติบโตทางลำต้นและใบในช่วง mid-bud ก่อนการออกดอก (vegetative stage) แต่หากปล่อยจนข้าวแก่แล้ว ตัวลำต้นและก้านใบจะมีคุณค่าต่ำลงอย่างมาก

ข้อดีของหญ้าโอ๊ตจึงแตกต่างจากหญ้าชนิดอื่น คือการให้พลังงานจากระยะน้ำนมของข้าว มักนิยมผสมกับอัลฟัลฟ่าเพื่อเพิ่มระบบโปรตีนในอาหารสำหรับเลี้ยงลูกสัตว์และแม่ และยังให้ระดับเยื่อใยอาหารกลุ่มย่อยไม่ได้ (indigestible fibers) สูงกว่าหญ้าทิโมธี เพราะระยะการตัดแก่กว่าทิโมธี จึงช่วยกระตุ้นการขับถ่ายเม็ดมูลใหญ่ขึ้น นอกจากนี้เปลือกไม่ที่แก่กว่านี้จะมีซิลิกาอยู่มาก จึงช่วยในการขัดฟัน

แม้ว่าระดับโปรตีนจะอยู่ในระดับ 6-9% สำหรับหญ้าโอ๊ตระดับพรีเมียม ซึ่งต่ำกว่าหญ้าทิโมธีระดับมาตรฐาน แต่เพิ่มคุณค่าด้วยการใช้ร่วมกับอัลฟัลฟ่าได้ หญ้าโอ๊ตยังให้ระดับวิตามินเอสูงกว่าหญ้าชนิดต่างๆ อันนี้สำคัญ เพราะสัตว์กินพืชทุกชนิตเสี่ยงต่อการขาดวิตามิน

ข้อดีอีกประการที่หญ้าโอ๊ตได้เปรียบ คือ การเก็บเกี่ยวในระยะนํ้ำนมช่วงแรกนี้ จะทำให้หญ้ามีความหอมและรสชาติดี เป็นที่ถูกใจของสัตว์หญ้าโอ๊ตจากออสเตรเลียจะได้รับความนิยมสูง เพราะจริงจังกับระยะของการตัดหญ้าให้ได้คุณค่าสูงสุดจริงจัง ประเทศที่นำเข้าจากออสเตรเลียมากที่สุดแห่งหนึงคือ ญี่ปุ่น

สัตวแพทย์มักแนะนำให้ใช้หญ้าโอ๊ตในกระต่ายที่พบการสึกของฟันไม่เหมาะสมในระยะแรก จะลดการเกิดฟันยาวผิดปกติ จึงช่วยไม่ให้เกิดความรุนแรงในระยะถัดไป

🐶🐱🐭🐹🐰🦊🐻🐯🐮🐷🐸🐵🐔🐦🦅🦉🐢🐍🦎
#คลินิกออนไลน์สำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
www.epofclinic.com...............................................................................
#กระต่าย #แกสบี้ #ชินชิลล่า #สัตว์กินพืชขนาดเล็ก
#หญ้าโอ๊ตสำหรับกระต่าย #ปัญหาสุขภาพในกระต่าย
#แรนดอล์ฟเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านอาหารสัตว์กินพืช
#หญ้าโอ๊ตแรนดอล์ฟนำเข้าจากออสเตรเลีย

#โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ #โรงพยาบาลสัตว์ExoticPet
#รักษาสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ

📝 ถาม - ตอบ ปัญหาสุขภาพสัตว์เลี้ยง 🏨โดย ผศ.น.สพ.ดร. สมโภชน์ วีระกุล (อาจารย์แก้ว) โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ👩‍💻 ถาม : สุนัขซึม...
04/09/2024

📝 ถาม - ตอบ ปัญหาสุขภาพสัตว์เลี้ยง 🏨
โดย ผศ.น.สพ.ดร. สมโภชน์ วีระกุล (อาจารย์แก้ว) โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ

👩‍💻 ถาม : สุนัขซึมไม่กินอาหาร
สุนัขซึมไม่กินอาหาร ต้องใช้ยารักษาอะไรคะ?

👨‍💻 ตอบ : อาการดังกล่าวเป็นอาการทั่วไป หรือต้องตอบได้กว้างมากครับ ดังนั้นการจะใช้ยาอะไรเลย ไม่สามารถดอบได้เลย เพราะการวินิจฉัยไม่มีทางแม่นยำได้ หากไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมที่จำเพาะ

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามแล้วจะพยายามช่วยเคลียร์เพื่อให้ผู้เลี้ยงไป ทำการประเมินต่อด้วยตนเองได้ครับ อาการซึมนั้นเกิดได้กับทุกๆ โรคครับ ที่มีผลทำให้สติและการรับรู้ลดลง เช่น เป็นหวัด ท้องเสีย ติดเชื้อ เจ็บปวด

ส่วนอาการเบื่ออาหารนั้น หากจะจำแนกแบบที่เจ้าของเอาไปใช้ได้ มี 4 รูปแบบ ดังนี้

แบบที่ 1 มื้ออาหารเทียม คือ มีอาการอยากกินแต่กินไม่ได้ จึงมีแต่ดม เลีย อาจมีปัญหาภายในช่องปาก หรือการกลืน การเคี้ยว ต้องตรวจช่องปากครับ
ในสุนัขอายุมากอาจพบเหงือกอักเสบ มีหินปูน บางตัวก็กินไม่ได้เพราะเจ็บช่องปาก หรือกระดูกกรามหักก็เคี้ยวไม่ได้

แบบที่ 2 เกิดจากผลทางสรีรวิทยาของร่างกายเอง เช่น เพิ่งไปวิ่งมาอย่างเหน็ดเหนื่อย ทางเดินอาหารจะระงับการหลั่งกรดในการย่อยอาหาร หรือมักจะดื่มน้ำจากอาการขาดมาก่อนการกิน อากาศร้อน อากาศหนาว และปัญหามักไม่ใช่มาจากแบบนี้

แบบที่ 3 ปัญหาทางจิตใจ ในกรณีที่โดนดุ หรือผิดหวัง สุนัขสามารถแสดงพฤติกรรมนี้ได้ โดยมีอาการตรอมใจ เศร้า หรือไม่พอใจ รวมไปถึงหวาดกลัว
การสูญเสีย มีผลกระทบได้เช่นกัน

แบบที่ 4 ที่พบบ่อย คือ ปัญหาจากโรค ในสุนัขมีโรคตั้งแต่อ่อนไปจนถึงตายได้จากการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อจากอาหารหรือกินสิ่งแปลกปลอม คุ้ยขยะ กิน
มูล บางตัวกินขนมหรือาหารไม่คุ้นเคย ท่าให้เกิดท้องเสียจากการติดเชื้อได้และเจ็บปวดช่องท้อง และอาการของระบบทางเดินอาหารรบกวน และทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารมากที่สุด ที่รุนแรงจะพบในการติดเชื้อไวรัส มักจะพบในสุนัขที่ไม่ได้ทำวัคซีนป้องกัน และพบในสุนัขอายุยังน้อยครับ จะเบื่ออาหาร และมีอาการถ่ายผิดปกติรุนแรง ในรายที่เกิดอย่างอ่อนๆ ทำให้เจ็บปวดเสียดช่องท้อง มาจากอาหารก็เกิดได้ หรือจากปรสิตหรือพยาธิ และทำให้เบื่ออาหารก็ได้ ส่วนโรคระบบอื่นๆ จะเบื่ออาหารน้อยกว่า เช่น โรคทางเดินหายใจ แต่ก็มีโรคที่เบื่ออาหารมากกว่าและยังพบอาการอาเจียนได้ เช่น ตับอักเสบ ตับบกพร่อง ไตอักเสบและบกพร่อง เป็นต้น นอกจากนี้โรคที่เกิดกับตับอ่อนก็จะรุนแรง นอกจากเบื่ออาหารอาจจะร้องครวญครางอย่างมาก โรคกับม้ามก็ถือว่ารุนแรง และทำให้เบื่ออาหาร จึงจำเป็นต้องไปตรวจและให้ข้อมูลเพิ่มเติม เพราะเมื่อมีอาการอื่นๆ ปรากฏก็มักจะรุนแรงครับ

🐶🐱🐭🐹🐰🦊🐻🐯🐮🐷🐸🐵🐔🐦🦅🦉🐢🐍🦎
#คลินิกออนไลน์สำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
www.epofclinic.com...............................................................................
#สุนัข #สัตว์เลี้ยง #สุนัขซึมไม่กินอาหาร #สุนัขป่วย
#รักษาสุนัข #โรคที่สามารถพบในสุนัข #ปัญหาสุขภาพในสุนัข
#โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ #โรงพยาบาลสัตว์ExoticPet #รักษาสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ

📝 Self mutilation (ภาวะทำร้ายตัวเองในชูการ์ไกลเดอร์) 🩸โดย หมอฝ้าย สพ.ญ.นฏกร ศิริวัฒนสาธร โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ 🏨ภาวะทำร้า...
16/08/2024

📝 Self mutilation (ภาวะทำร้ายตัวเองในชูการ์ไกลเดอร์) 🩸
โดย หมอฝ้าย สพ.ญ.นฏกร ศิริวัฒนสาธร โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ 🏨

ภาวะทำร้ายตัวเองในชูการ์ไกลเดอร์นั้น มีสาเหตุได้หลากหลาย อย่างเช่น การเลี้ยงตัวเดียว เพราะโดยปกติแล้วชูการ์ไกลเดอร์มักเป็นสัตว์สังคม ที่ต้องอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม หรือการเลี้ยงในที่โล่งแจ้งตลอดเวลา ทำให้กิจกรรมบางอย่างเช่นการออกหากิน หรือการแสดงออกทางพฤติกรรมทางสังคมถูกลดลงไปจนก่อให้เกิดความเครียดได้ เพราะโดยปกติแล้วจะเป็นสัตว์ที่ออกหากินและใช้ชีวิตส่วนมากในเวลากลางคืน ภาวะขาดสารอาหาร หรือสิ่งแวดล้อมไม่มีความเหมาะสม

โดยตำแหน่งที่มักจะเกิดการทำร้ายตัวเองนั้น จะเป็นบริเวณของหางเป็นส่วนใหญ่ ขา ถุงอวัยวะเพศ และอวัยวะเพศซึ่งมักจะเกิดกับตัวผู้ที่ต้องการผสมพันธ์ุแต่ไม่มีคู่ให้ผสม หรือตัวเมียไม่ยอมให้ผสมพันธุ์ทำให้ตัวผู้เกิดความเครียดได้

การจัดการและการรักษา ควรรักษาที่ต้นเหตุและหาสาเหตุว่าอะไรที่ทำให้ชูการ์ของเราเกิดความเครียดเกิดขึ้น ร่วมกับการรักษาแผลที่เกิดจากการแทะไปพร้อมๆกัน ในส่วนของแผลนั้น จะเป็นการทำแผลตามอาการซึ่งในช่วงแรกต้องมีการติดตามแผลกับคุณหมอเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากต้องประเมิณความเสียหายของแผลที่เกิดขึ้นว่าดีหรือแย่ลง ร่วมกับการทานยาปฏิชีวนะ ยาลดปวด ยาลดอักเสบ หรือในกรณีที่สัตว์มีภาวะเครียดมากโดยแทะตัวเองตลอดเวลา อาจต้องมีการให้ยาสงบประสาทเกิดขึ้นด้วยแต่จะมีผลข้างเคียงที่ทำให้ง่วงซึมได้ นอกจากนี้ยังต้องป้องกันการแทะตัวแผลเพิ่ม โดยอาจมีการใส่ลำโพงกันแทะหรือที่คุณหมอชอบเรียกว่า“คอลลา” ในช่วงแรกของการใส่อาจทำให้สัตว์เครียดได้ ต้องใช้เวลาปรับตัวในระดับนึง สัตว์อาจไม่กินอาหาร หรือกินลำบาก เจ้าของต้องมีการป้อนอาหารเสริมด้วย ในรายที่คุณหมอประเมิณแล้วว่าแผลมีระดับความรุนแรงมาก เสี่ยงต่อการติดเชื้อและโน้มนำไปสู่การเสียชีวิตได้ จะแนะนำให้ตัดแผลบริเวณส่วนนั้นๆออก เช่น การตัดหาง ตัดขา

การรักษาทางเลือกอื่นๆที่สามารถทำประคับประคองกันไปได้ คือการเลือกใช้เลเซอร์ เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณของแผล ลดปวด ลดการอักเสบ และยังช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าการรักษาทางยาและการทำแผลอย่างเดียว

ในกรณีของตัวผู้ที่มีความต้องการผสมพันธุ์สูงแต่ไม่ได้ผสมพันธุ์ การทำหมันสามารถช่วยลดพฤติกรรมดังกล่าวได้ในระดับนึงเท่านั้น
_______________________________________________
#ชูการ์ไกลเดอร์ #รักษาชูการ์ไกลเดอร์
#ภาวะทำร้ายตัวเองในชูการ์ไกลเดอร์
#ปัญหาสุขภาพในชูการ์ไกลเดอร์



#โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ

#หมอเอ็กโซติก

🐶🐱🐭🐹🐰🦊🐻🐯🐮🐷🐸🐵🐔🐦🦅🦉🐢🐍🦎
#คลินิกออนไลน์สำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
www.epofclinic.com

📝  ปริมาณอาหารนกที่ให้สำหรับจุดประสงค์ต่างๆ ✨🥣  Feeding Guidelines for Pet Birds 🐦โดย ผศ.น.สพ.ดร.สมโภชน์ วีระกุล (อาจารย...
06/08/2024

📝 ปริมาณอาหารนกที่ให้สำหรับจุดประสงค์ต่างๆ ✨
🥣 Feeding Guidelines for Pet Birds 🐦
โดย ผศ.น.สพ.ดร.สมโภชน์ วีระกุล (อาจารย์แก้ว) โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ🏨
🐣 นกลูกป้อน
นกลูกป้อนที่มีขนหนามขึ้นแล้ว จะมีปริมาณอาหารที่ให้ ดังนี้
Guideline for volumes and frequency for neonate to juvenile bird
- Finch ฟินซ์ 0.1-0.5 ml 6x per day
- Budgie หงษ์หยก 0.5-3 ml QID
- Lovebird เลิฟเบิร์ด 1-3 ml QID
- Cockatiel คอคคาเทล 1-8 ml QID
- Small conure คอนัวร์ 3-12 ml QID
- Large conure คอนัวร์ 7-24 ml TID or QID
- Amazon parrot อะเมซอน 5-35 ml TID
- Cockatoo กระตั้ว 10-40 ml BID or TID
- Macaw มาคอว์ 20-60 ml BID or TID
ปริมาณและความถี่ของการป้อนอาหารขึ้นกับขนาดตัว และพลังงานของอาหารนั้นๆ ซึ่งปกติอาหารส่วนใหญ่จะมีพลังงานใกล้เคียงกัน ก็ต้องไปดูแหล่งและคุณภาพของพลังงานเพิ่ม ควรเริ่มจากปริมาณน้อย และประเมินจากการขยายของกระเพาะพัก ขนาด 2/3 ถึง 3/4 ของความจุหรือน้อยกว่า เพื่อป้องกันการสำลักหรืออาหารค้างนานกว่า 6 ชั่วโมง ปกติอาหารควรจะลดลงไป และทำให้กระเพาะพักว่าง ระหว่าง 4-6 ชั่วโมง ถ้านานจะเกิดการบูดและทำให้เกิดลำไส้อักเสบได้ และปรับปริมาณและความถี่ตามความเหมาะสมแต่ละตัว
การป้อนลูกนกแรกเกิด การป้อนลูกนกอายุมากกว่า 1-2 วัน ควรเริ่มจากอาหารที่มี 25-35% ในส่วนผสม เพื่อให้อาหารผสมมีความเหลวในวันแรกๆ แล้วปรับให้ข้นขึ้น
ความถี่ในการให้อาหารลูกนกที่แนะนำ สำหรับลูกนกแก้วต่างๆ
Suggest feeding frequencies in psittacine neonate
Bird 1 to 5 days old: feed 6 to 10 times daily
Bird with eyes closed: feed 4 to 6 times daily
Bird with eyes open: feed 3 to 4 times daily
Bird with feather emerging: feed 2 to 3 times daily
ในระยะแรกจะป้อนปริมาณน้อยและมีความถี่สูงกว่า ให้ทำการชั่งน้ำหนักวัดอัตราการเจริญเติบโตเป็นกรัมก่อนกินอาหารในทุกเช้า หรือเมื่อกระเพาะพักว่าง เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานการเจริญเติบโตของแต่ละสายพันธุ์ เพื่อปรับอาหารและพลังงานให้เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ในช่วงใกล้งดหรือหย่าอาหารลูกป้อน นกจะมีการสูญเสียน้ำหนักได้ 10-15% อาจถึง 20% เป็นภาวะปกติ
👨‍🔬 การป้อนนกป่วยเพื่อการฟื้นฟู
Guideline for volumes and frequency for recovering bird
- Finch ฟินซ์ 0.1-0.5 ml 6x per day
- Budgie หงษ์หยก 0.5-3 ml QID
- Lovebird เลิฟเบิร์ด 1-3 ml QID
- Cockatiel คอคคาเทล 1-8 ml QID
- Small conure คอนัวร์ 3-12 ml QID
- Large conure คอนัวร์ 7-24 ml TID or QID
- Amazon parrot อะเมซอน 5-35 ml TID
- Cockatoo กระตั้ว 10-40 ml BID or TID
- Macaw มาคอว์ 20-60 ml BID or TID
ความต้องการพลังงานของนกป่วยแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ กลุ่มป่วยเฉียบพลันและเรื้อรัง ปริมาณและความถี่ของการป้อนอาหาร นอกจากจะขึ้นกับขนาดตัว และการขยายของกระเพาะพัก ยังขึ้นกับสาเหตุของความเจ็บป่วยและการอักเสบ ที่ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น 1.5-2 เท่า ปริมาณอาหารรวมที่ให้จึงมากกว่าตารางข้างต้นได้ ให้เมื่อกระเพาะพักว่างเพราะในภาวะเจ็บป่วยบางสาเหตุ ทำให้การย่อยและดูดซึมอาหารลดลง และการบีบตัวของทางเดินอาการแย่ลง แต่ละครั้งควรให้ขนาด 2/3 ถึง 3/4 ของความจหรือน้อยกว่า และปรับปริมาณและความถี่ตามความเหมาะสมแต่ละตัว ทำการชั่งน้ำหนักทุกวันเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำหนักและการฟื้นตัวที่ดี
💪 กลุ่มบูสเตอร์
สำหรับนกที่ต้องการเสริมสุขภาพและสมรรถภาพเป็นพิเศษ
นกในกลุ่มที่ต้องการเสริมพลังงานพิเศษ รวมทั้งการนำไปใช้ที่ดีขึ้น ได้แก่ นกป่วยที่ขาดพลังงานอย่างหนัก สูญเสียน้ำหนักรุนแรงและผอมแห้ง นกบินแข่ง นกที่ต้องการโครงสร้างใหญ่ทั้งกล้ามเนื้อและลำตัว และต้องการใช้
พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ปริมาณที่แนะนำสำหรับการเสริมพลังงาน
Guideline for volumes and frequency for boosters (daily)
- Amazon 1 - 2 Tbs (15-30 g.)
- Electus 1 - 2 Tbs (15-30 g.)
- African Greys 1 - 3 Tbs (15-45 g.)
- Cockatoos 1 - 4 Tbs (15-60 g.)
- Macaws 2 - 4 Tbs (30-60 g.)
- Small parrots 1/2 - 2 Tbs (7.5-30 g.)
- Doves and Pigeans 1/2 - 3 Tbs (7.5-30 g.)
- Fight Chickens 1 - 3 Tbs (15-45 g.)
- Other Birds: depend on size and BMR
จะให้พลังงานสูงแม้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย เหมาะสำหรับการเสริมในทุกกกรณี นอกจากได้พลังงานแล้ว จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและออกชิเจนไปสู่เซลล์ในร่างกายได้ดีขึ้น จึงช่วยฟื้นฟูสุขภาพให้เร็วขึ้น ป้องกันตายของเซลล์ เพิ่มการนำพลังงานไปใช้ และสร้างสมรรถภาพ ควรปรับปริมาณตามกิจกรรม และจุดประสงค์ของการเสริมสุขภาพ
🐶🐱🐭🐹🐰🦊🐻🐯🐮🐷🐸🐵🐔🐦🦅🦉🐢🐍🦎
#คลินิกออนไลน์สำหรับสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
www.epofclinic.com...............................................................................
#นก #นกเลี้ยง #นกลูกป้อน #การป้อนนกป่วยเพื่อการฟื้นฟู
#กลุ่มบูสเตอร์นก #ปริมาณอาหารนก #การเสริมสร้างพลังงานในนก

#โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ #โรงพยาบาลสัตว์ExoticPet
#รักษาสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ

ที่อยู่

91/9-10 Vacharaphol Road
Bangkok
10220

เบอร์โทรศัพท์

02-948-7727

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ VetCAAREผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง VetCAARE:

แชร์

ประเภท