โรงพยาบาลสัตว์เพ็ทอีส PETiS Animal Hospital

โรงพยาบาลสัตว์เพ็ทอีส PETiS Animal Hospital PETiS มีความตั้งใจจะดูแลหัวใจดวงน้อยๆด้วยความรัก
(35)

PETiS ให้บริการรักษาสุนัขและแมวด้านอายุรกรรมและศัลยกรรม เราให้บริการตรวจเลือดและปัสสาวะ เอกซเรย์ดิจิตัลและอัลตราซาวด์ และมีที่พักสำหรับสัตว์ป่วยเพื่อพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย สุขกายสบายใจ

รู้กันหรือยัง !!Probiotics แต่ละยี่ห้อไม่ได้แปลว่าใช้แล้วจะได้ผลเหมือนกัน เคยมีการสำรวจในประเทศแคนนาดาพบเพียง 15% ที่มีท...
23/08/2024

รู้กันหรือยัง !!
Probiotics แต่ละยี่ห้อไม่ได้แปลว่าใช้แล้วจะได้ผลเหมือนกัน เคยมีการสำรวจในประเทศแคนนาดาพบเพียง 15% ที่มีทั้งชนิดและปริมาณเชื้อตรงตามฉลากที่ระบุจริง ที่เหลือไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน บางยี่ห้อไม่มีเชื้อที่ระบุเลย บางยี่ห้อมีเชื้ออื่น 🫢 เชื้อที่ระบุต้องระบุถึงชนิด strain ของเชื้อ แค่ Genus และ Species ไม่พอนะจ๊ะ ไม่ต้องพูดถึงผลทดสอบด้วยงานวิจัย ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ ผมดูแล้วในท้องตลาดมีไม่ถึง 10% ที่มีงานวิจัยของตัวผลิตภัณฑ์จึงอย่าแปลกใจที่ probiotics เหมือนกัน แต่ราคาต่างกันจัง

Did you know?

Not all probiotics are created equal. A survey in Canada found that only 15% of products contained the exact strain and amount of bacteria as claimed on their labels. The rest didn't meet quality standards—some didn't contain the listed bacteria at all, while others had different strains. The strain of bacteria must be specified, not just the genus and species. And that's not even mentioning the clinical research published in medical journals. From what I've seen, less than 10% of products on the market have supporting research. So, it's no surprise that probiotics can vary significantly in price, even if they seem similar
#เอาอะไรให้ลูกกิน

Option นี้อย่าเข้าใจผิด แม้จะชื่อเดียวกัน นอกจาก preparation form ที่ต่างกันแล้ว ของสำคัญข้างในก็ไม่เหมือนกันนะครับ อยาก...
20/08/2024

Option นี้อย่าเข้าใจผิด แม้จะชื่อเดียวกัน นอกจาก preparation form ที่ต่างกันแล้ว ของสำคัญข้างในก็ไม่เหมือนกันนะครับ อยากรู้ความเหมือนที่แตกต่างปรึกษาสัตวแพทย์ของคุณ… ความลับที่ต้องบอกต่อ

Don't be mistaken by the name. Even though they share the same name, not only are the preparation forms different, but the key ingredients inside are also distinct. If you'd like to know more about these subtle differences, consult your veterinarian. A secret worth sharing.

เด็กๆกำลังได้รับการปรนนิบัติพัดวี จากพี่ๆเลย
08/07/2024

เด็กๆกำลังได้รับการปรนนิบัติพัดวี จากพี่ๆเลย

ก็ออกจะเหงาๆอยู่ ป่ะป๊า ม่ะม้า อย่าลืมมาเยี่ยมเด็กๆน๊าา
08/07/2024

ก็ออกจะเหงาๆอยู่ ป่ะป๊า ม่ะม้า อย่าลืมมาเยี่ยมเด็กๆน๊าา

มาฟังนิทานกันครับ
28/06/2024

มาฟังนิทานกันครับ

กาลครั้งหนึ่งกับ Ursodeoxycholic acid (UDCA)

วันนี้ผมอยากชวนคุณๆอ่านประวัติศาสตร์ของ ursodeoxycholic acid (UDCA) หรือ ursodial ที่หลายๆท่านคุ้นเคยกันนะครับ ผมว่า UDCA เป็นหนึ่งในยาที่ถูกใช้กันบ่อยมากๆโดยเฉพาะกรณีโรคตับและโรคระบบน้ำดี น้อยคนที่จะทราบถึงที่มาที่ไปว่ามันมีความลึกล้ำเหลือกำหนดแค่ไหน เอาหละจะมากจะน้อยเพียงไรเชิญคุณๆอ่านกันนะขอรับ
UDCA ถูกใช้มานานมากกก (ก.ไก่ร้อยตัว) เรียกได้ว่าเป็นศตวรรษมาแล้วในแพทย์แผนจีนโบราณ (Traditional Chinese Medicine) เพื่อการรักษาโรคตับ โดยคนจีนเรียกยาจีนชนิดนี้ว่า “yutan” มีลักษณะเป็นรูปแบบยาผง (powder) ที่ถูกเตรียมจากน้ำดีของ “หมีโตเต็มวัย” ที่มาทำให้แห้งครับ
ในปี 1902 Hammarsten ได้รายงานการพบกรดน้ำดี (unknown bile acid) ที่ไม่ทราบชนิดในน้ำดีหมีขั้วโลก (polar bear) เป็นครั้งแรก ซึ่งเขาเรียกมันว่า “ursocholeinic acid” และอีก 25 ปีต่อมาคือในปี 1927 Shoda ได้รายงานถึง รูปแบบทางเคมีของ UDCA จากน้ำดีของหมีดำในจีน (Chinese black bear) Shoda ตั้งชื่อว่า “ursodeoxycholic acid” เพราะมันถูกพบครั้งแรกในหมี และคำว่า “ursus” เป็นภาษาละตินที่แปลว่าหมี และเขามีความเชื่อว่า UDCA นี้เป็น isomer นึงของ deoxycholic acid (กรดน้ำดีของเราๆท่านๆนี่แหละ) ต่อมาในปี 1936 Iwasaki ได้ค้นพบโครงสร้างทางเคมี (chemical structure) ที่ชัดเจนของ UDCA อันนำไปสู่ความสามารถในการสังเคราะห์สารชนิดนี้ขึ้นเพื่อประโยชน์ในการศึกษาและการใช้ในทางคลินิกในที่สุด
ต่อมาในปี 1975 Makino รายงานเป็นครั้งแรกถึงการศึกษาแบบ prospective ถึงการใช้ UDCA ในคนไข้ที่ป่วยด้วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี และพบว่าสามารถสลายนิ่วดังกล่าวได้ด้วย และในอีก 10 ปีต่อมา (1985) Leuschner ได้รายงานเป็นครั้งแรกว่าผลการตรวจเกี่ยวกับตับ (liver tests) นั้นดีขึ้นหลังใช้ UDCA เพื่อการสลายนิ่วในถุงน้ำดีในคนไข้ที่ป่วยด้วยภาวะ chronic active hepatitis สองปีต่อมีคือในปี 1987 Poupon พบว่าการใช้ UDCA ในระยะยาวมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในคนไข้ที่ป่วยด้วยภาวะ primary biliary cirrhosis (PBC) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมามีการศึกษาตามมาอีกมากมายและหลากหลายที่แสดงถึงประโยชน์ของ UDCA ในกลุ่มอาการโรคตับทั้งหลาย จนในปัจจุบันถือว่า UDCA มีบทบาทสำคัญในการรักษาโรคตับที่มีภาวะคั่งของน้ำดีและ UDCA เป็นยาเพียงชนิดเดียวที่ได้รับการ approved โดย US FDA เพื่อการรักษาโรค PBC ในมนุษย์
(ที่มา: Wang and Wu, 2017; in Liver Pathophysiology)
ในสุนัขและแมว เราใช้ UDCA ในการรักษาโรคตับเช่นกันโดยเฉพาะโรคตับที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบน้ำดี UDCA มีประสิทธิภาพเป็นน้ำดีชนิดดี (good bile acid) ที่ส่งเสริมการไหลของน้ำดีในระบบท่อน้ำดี (choleretic) ช่วยให้ตับสามารถขจัดน้ำดีชนิดเลว (toxic bile acids) และสารพิษต่างๆที่อาศัยน้ำดีเป็นทางในการขับทิ้งให้ไหลออกไปสู่ลำไส้เล็กและขับทิ้งทางอุจจาระได้มากขึ้น นอกจากนี้ UDCA ยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับลำไส้ในการแย่งการถูกดูดกลับ (reabsorb) มาเพื่อการ recycle กรดน้ำดีทำให้เพิ่มการขับทิ้งกรดน้ำดีชนิดเลวที่เกิดจากการถูกเปลี่ยนรูปโดยแบคทีเรียในลำไส้ไปกับอุจจาระ ไม่กลับมาทำร้ายตับอีกต่อไป
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า UDCA ไม่ได้ limit แต่เพียงเรื่องการขับน้ำดีเท่านั้นแต่พบว่ามันยังมีผลต่อระบบภูมิคุ้นกันและสามารถลดการอักเสบของตับลงได้ในรายตับแข็ง (cirrhosis) และตับอักเสบเรื้อรัง chronic active hepatitis อีกด้วย
เขาพบว่า UDCA มีประสิทธิภาพในการลดระดับ plasma cholesterol ได้ทั้งในคนและสัตว์ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ UDCA จะถูกนำมาประกอบการรักษาภาวะ hypercholesterolemia ได้
การใช้ UDCA เป็นเวลานานในแมวอาจส่งผลให้แมวเกิดภาวะขาดกรดอะมิโนจำเป็น taurine ได้ ดังนั้นเราอาจต้องเสริม taurine ในแมวหากต้องใช้ UDCA แบบยาวๆ ขณะที่ในสุนัขเป็น species ที่มีความสามารถในการสร้าง taurine ได้เองมากกว่าแมว การขาด taurine ดังกล่าวจึงไม่ค่อยจะเป็นปัญหาในสุนัขครับ นี่แหละที่เขาเรียกว่า แมวไม่ใช่สุนัขตัวเล็ก (และสุนัขก็ไม่ใช่คนตัวเล็กเช่นกัน)
อย่างไรก็ตามอาจมีข้อจำกัดในการใช้ยาร่วมกันอยู่บ้างครับ เราควรหลีกเลี่ยงการให้ยา UDCA พร้อมๆกับกลุ่มยาลดกรด เคลือบกระเพาะที่มีองค์ประกอบของ aluminum เช่น alummilk เพราะอาจมีการจับกันของ aluminum กับ UDCA ทำให้ลดประสิทธิภาพของยาลง
ยาดีราคาถูก หาซื้อง่าย แต่ก็ไม่ได้ปลอดภัย 100% นะครับ (ไม่มียาไหนในโลกใบนี้ที่ปลอดผลข้างเคียง) แม้ UDCA จะมีรายงานน้อยมากๆที่จะเกิดผลข้างเคียงกับสัตว์ จะมีเพียงน้อยรายจริงๆที่อาจมีอาการคลื่นไส้ได้ อันนี้คือขออนุญาตอุ๊บอิ๊บว่าเป็นการให้ตามขนาดที่เหมาะสมเท่านั้นนะครับ เพราะหากให้เกินขนาดไปมากๆปัญหาผลข้างเคียงที่ว่าน้อยก็อาจเกิดขึ้นได้บ่อยกว่าที่คิด
โปรดขอคำปรึกษาจากสัตวแพทย์ (ตัวจริง) ถึงการใช้ยาอย่างถูกต้องเพื่อความปลอดภัยของเด็กๆนะครับ หมอที่ให้การรักษาย่อมจะรู้ดีที่สุดว่าอะไรเหมาะสมกับน้องและไม่เป็นอันตรายต่อพวกเขาในระยะยาว


Big shout out to my newest top fans! 💎SE NA
26/06/2024

Big shout out to my newest top fans! 💎

SE NA

Big shout out to my newest top fans! 💎Panda K, SE NA
13/06/2024

Big shout out to my newest top fans! 💎

Panda K, SE NA

04/06/2024
อุปกรณ์นี้คือดียยยย์ พยาบาลยิ้มสวยเลยเบาะนอนสำหรับสัตว์เพื่อฝังเข็ม กายภาพ เด็กทำหน้า Fin เหมือนมาร้าน SPA & massage 😂😂 ...
17/05/2024

อุปกรณ์นี้คือดียยยย์ พยาบาลยิ้มสวยเลย
เบาะนอนสำหรับสัตว์เพื่อฝังเข็ม กายภาพ
เด็กทำหน้า Fin เหมือนมาร้าน SPA & massage 😂😂

https://www.facebook.com/100063505210840/posts/947938377332994/?
18/04/2024

https://www.facebook.com/100063505210840/posts/947938377332994/?

ไม่ใช่แพะรับบาป
เจ้าเหมียวป่วย ซึม ไม่ทานอาหาร บางทีตัวเหลือง บางตัวเจอของเหลวในช่องอก บางตัวเจอของเหลวในช่องท้อง บางตัวชัก บางตัวมีอาการทางประสาท อย่าพึ่งคิดว่าเจ้าเหมียวของเราจะเป็น FIP (Feline Infectious Peritonitis) ไปเสียทั้งหมดนะครับถ้ายังหาสาเหตุ-วินิจฉัยไม่ได้จนสุดทาง
อาการที่เรามักเจอบ่อยๆแล้วทำให้หลายๆคนคิดว่าแมวเป็น FIP นั้น คือมีของเหลวในช่องอกหรือช่องท้อง (wet form FIP) โดยโรคที่จะมีอาการคล้ายๆกันก็คือโรคมะเร็งในช่องท้องและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphoma), ภาวะโปรตีนในเลือดต่ำ, ตับวาย,ไตวาย,โรคหัวใจ, โรคต่างๆ (นอกจาก FIP) ที่ทำให้เกิดเยื่อบุช่องอกและช่องท้องอักเสบ ทำให้มีของเหลวและโปรตีนรั่วออกมา, การอุดตันของระบบน้ำเหลือง, โรคการติดเชื้อในช่องอก, หรือแม้กระทั้งการติดเชื้อในกระแสเลือด ก็อาจทำให้มีอาการคล้ายโรค FIP ได้เช่นเดียวกัน
นอกจาก wet form แล้ว โรค FIP ก็ยังอีกรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า dry form FIP ที่จะไม่พบของเหลวสะสมอยู่ในช่องอกหรือช่องท้อง แต่จะพบว่ามีการอักเสบเกิดขึ้นเป็นก้อนหนอง (pyogranuloma inflammation) ตามอวัยวะต่างๆ ทำให้การวินิจฉัยยากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง สาเหตุที่ทำให้เจ้าเหมียวมีอาการคล้าย dry form FIP เช่น การติดเชื้อโปรตัวซัว ชนิด Toxoplasma, การติดเชื้อกลุ่มไวรัสเอดส์/ ลิวคีเมีย, โรคสมองหรือไขสันหลังอักเสบ, โรคความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับไขสันหลัง, บางตัวอาจจะเห็นลักษณะของม่านตาอักเสบ (uveitis) ซึ่งก็ควรต้องนึกถึงโรคทางระบบต่างๆที่ส่งผลถึงลูกตาร่วมด้วยครับ เหมือนดังคำกล่าวที่ว่าดวงตาเป็นหน้าตาของหัวใจ (แล้วต้องมองดวงตาคู่ไหนถึงจะมีคนเปิดประตูหัวใจให้สักที)
หากเราคิดว่าแมวที่เราเลี้ยงหรือให้การดูแลอยู่เป็น FIP โดยที่ละเลยโรคและความผิดปกติอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ที่มีอาการคล้ายกันกับการติดเชื้อ FIP ก็ย่อมทำให้การรักษาดำเนินไปได้ไม่ถูกทาง ในทางกลับกันแมวที่เป็น FIP ถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่รวดเร็วมีโอกาสหายได้ถึง 70% เลยทีเดียวครับ ซึ่งทั้งสองกลุ่มโรคถ้าหากปล่อยไว้นานจนเกินไป พอรู้ถึงสาเหตุแล้วกลับมารักษาอย่างจริงจังก็อาจจะไม่ทันการเสียแล้ว

เรียนลูกค้าค่ะตั้งแต่วันอังคารที่ 16 เมษายนช่วงบ่าย ถึง วันอังคารที่ 23 เมษายน 2567 คุณหมอวชิระชัย และ อ.ศิรามจะลาไปดูงา...
14/04/2024

เรียนลูกค้าค่ะ

ตั้งแต่วันอังคารที่ 16 เมษายนช่วงบ่าย ถึง วันอังคารที่ 23 เมษายน 2567 คุณหมอวชิระชัย และ อ.ศิรามจะลาไปดูงานต่างประเทศนะคะ และจะกลับมาออกตรวจอีกครั้ง ในวันพุธที่ 24 เมษายน 2567 นะคะ

ในช่วงเวลาดังกล่าว โรงพยาบาลจะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.00 น.นะคะ (รับเคสสุดท้าย 15.30 น.)... ขอบคุณค่ะ

Dear valued customers,

We wish to inform you that from Tuesday, April 16th, until Tuesday, April 23rd, 2024, Doctors Watchirachai and Siram will be absent from duty as they will be attending a seminar abroad. They will resume their duties on Wednesday, April 24th, 2024.

During this period, PETiS will be open from 08:30 to 16:00 (Last Customer at 15.30)

Thank you for your understanding and cooperation.

12/04/2024

เนื่องจากวันนี้ คุณหมอชาครลาอบรม PETiS จะมีคุณหมอปิยสิริ (หมอปุ้ย)ออกตรวจท่านเดียวนะคะ วันนี้โรงพยาบาลจึงจะเปิดตั้งแต่ 08.30 - 16.00 เท่านั้นนะคะ (รับเคสสุดท้าย 15.30 น) ^^ ... ขอบคุณค่ะ

Dear Customer.. Today PETiS will open from 08.30 - 16.00 only (Last customer at 15.30).. Thank you

NSAIDs แม้จะโฆษณาว่าออกฤทธิ์ได้จำเพาะแค่ไหน ปลอดภัยแค่ไหน ดีแค่ไหน โปรดจำไว้เสมอว่า คำพูดนี้ “มันไม่ได้จริงกับสัตว์ทุกตั...
02/04/2024

NSAIDs แม้จะโฆษณาว่าออกฤทธิ์ได้จำเพาะแค่ไหน ปลอดภัยแค่ไหน ดีแค่ไหน โปรดจำไว้เสมอว่า

คำพูดนี้ “มันไม่ได้จริงกับสัตว์ทุกตัว กับคนทุกคน”
ตุยกันมาเยอะแล้ว

เตือนเพื่อให้ใช้ด้วยความระมัดระวัง ประเมินก่อนใช้อย่างรอบคอบ คอยติดตาม ตรวจสอบ แต่ไม่ใช่กลัวการใช้ ยาทุกอย่างมีคุณย่อมมีโทษเสมือนเหรียญที่มีสองด้านเสมอ

https://www.facebook.com/share/p/FkRPgAheDNgCXeLq/?mibextid=WC7FNe

ยาลดอักเสบ ดูไม่ดี อาจลดชีวิต

บางครั้งที่หมาแมวเรามีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย มีไข้ หรือเจ็บตามเนื้อตามตัว ปวดหลัง ปวดเอว สิ่งแรกๆที่เรามักจะคิดถึงเลยคือยาแก้ปวดลดอักเสบ ซี่งเป็นยาที่หาซื้อง่าย แต่ต้องระมัดระวังถึงเรื่องของความปลอดภัยด้วยเช่นกันครับ

ยาลดอักเสบที่ผมจะพูดถึงก็คือยาที่เป็นยาลดปวดที่ไม่ใช่สเตอร์รอย หรือ เรียกชื่อสั้นๆว่า NSAIDs , (non-steroidal anti inflammatory drugs) ซึ่งยากลุ่มนี้ต้องให้ในขนาดยาที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงการใช้ในสัตว์ป่วยที่ตั้งท้องหรือให้นม และห้ามใช้ในสัตว์ที่ป่วยด้วยโรคทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะ โรคเลือด โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ ซึ่งเราเองไม่มีทางรู้ได้เลยครับว่าอาการไม่พึงประสงค์หรือว่าผลข้างเคียงของยาที่จะเกิดกับลูกๆเราจะมีอะไรบ้าง ถ้าหมาและแมวตัวที่มีความไวต่อยามากๆ บางตัวเพียงแม้ว่าจะได้รับในโดสปกติเพียงครั้งเดียว ก็อาจจะมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเหลว ถ่ายเหลวเป็นเลือด ถ้าบางตัวเป็นมากๆอาจจะทำให้ถึงตายได้ ขณะที่บางตัวกินในระยะเวลานานๆก็ไม่เป็นอะไร เพราะว่าสัตว์ป่วยแต่ละตัวมีความแตกต่างและความไวต่อยาที่ไม่เหมือนกัน นอกจากความแตกต่างของแต่ละตัวแล้วนั้น น้ำหนักตัวของหมาและแมวแต่ละตัวก็มีผลเช่นเดียวกัน ตัวที่อ้วนมากๆถ้าให้ยาตามน้ำหนักตัวก็อาจจะกลายเป็นเกินโดสที่เหมาะสมได้เช่นกัน

ดังนั้นหากเราได้รับยา NSAIDs มาจากที่โรงพยาบาล แล้วเกิดมีอาการแปลกๆ ให้รีบพากลับไปพบสัตวแพทย์ครับ อย่ามัวแต่รอว่าให้อาการดีขึ้นเลย เพราะว่าอาการจากยากลุ่ม NSAIDs นี้ วิธีที่ดีสุดคือต้องได้รับน้ำเกลือ และรับการรักษาดูแลอย่างทันที หากปล่อยทิ้งไว้จะยิ่งทำให้อาการหนักขึ้น และรุนแรงมากขึ้นจนเสียชีวิตได้

บริษัท โรงพยาบาลสัตว์เพ็ทอีส จำกัด รับสมัคร ผู้ช่วยสัตวแพทย์ 3 ตำแหน่ง- สวัสดิการและค่าตอบแทน    - เงินเดือนเริ่มต้นที่ ...
04/02/2024

บริษัท โรงพยาบาลสัตว์เพ็ทอีส จำกัด
รับสมัคร ผู้ช่วยสัตวแพทย์ 3 ตำแหน่ง
- สวัสดิการและค่าตอบแทน
- เงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 - 20,000 บาท ขึ้นกับวุฒิการศึกษาและประสบการณ์
- ประกันสังคม ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ
- เบี้ยสนับสนุนค่าที่พัก 1,000 บาทหลังพ้นระยะทดลองงาน
- ค่าล่วงเวลา และ incentive ประจำเดือน
- ทุนสนับสนุนการศึกษา
- วันหยุดพักผ่อน 6 วันต่อปี และวันหยุดตามประเพณี 13 วันต่อปี (รวม 19 วัน)
- โบนัสประจำปี
- สัมมนาท่องเที่ยวประจำปีทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ
- รายละเอียดงาน
- พนักงานงานประจำ ทำงาน 40-48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- ปฏิบัติการผู้ช่วยประจำห้องตรวจสัตว์ป่วยนอก
- งานพยาบาลสัตว์ป่วยใน
- งานผู้ช่วยห้องผ่าตัด
- จัดเตรียม ดูแลรักษา อุปกรณ์ทางการแพทย์
- งานห้องปฏิบัติการ ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดและปัสสาวะ
- คุณสมบัติ
- วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี สาขาสัตวศาสตร์ สัตวบาล เทคนิคการสัตวแพทย์ นักการพยาบาลทางสัตวแพทย์ หรือสาขาใกล้เคียง (กรณีมีประสบการณ์จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)
- สามารถทำงานเป็นกะและทำงานเสาร์-อาทิตย์ได้
- รักสัตว์และงานบริการ สามารถทำงานเป็นทีมได้
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับโปรแกรมพื้นฐานได้
สนใจติดต่อส่ง CV portfolio หรือ resume ได้ที่คุณสรรกมล (คุณตูน)
โทร 02-0006115 หรือ Email: [email protected] Line:

PETiS คัดเลือก omega-3 polyunsaturate fatty acid มาให้คุณๆโดยพิจารณารอบด้านครับ เพราะประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่เด็กๆจะได้ร...
29/01/2024

PETiS คัดเลือก omega-3 polyunsaturate fatty acid มาให้คุณๆโดยพิจารณารอบด้านครับ เพราะประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่เด็กๆจะได้รับและคุ้มค่ากับเงินที่คุณๆจะต้องเสียเพื่อแลกมากับสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำให้กับเค้าได้ครับ

5 คำถามกับ -3 PUFA
ปัจจุบันคุณๆจะเห็นได้ว่า trend การเลี้ยงสุนัขและแมว รวมถึงสัตว์ exotic นั้นขยับเข้าสู่งการเลี้ยงสัตว์แบบประณีต คือไม่ใช่เพียงแค่พาไปรักษายามเจ็บป่วย หากแต่การป้องกันความเจ็บป่วยที่จะยังไม่เกิดขึ้นรวมไปถึงดูแลต่อยอดให้มีอายุยืนยาวแบบไม่แก่ คงคุณภาพชีวิตที่ดีไปจนวันสุดท้ายที่มีลมหายใจนั้นเป็นแนวคิดของคนในยุคปัจจุบันครับ ทำให้ในตลาดเกิด supplement นานาชนิดวางขายทั้งในรูป online วางขายตาม petshop น้อยใหญ่ คลินิก โรงพยาบาล ขาดแต่ร้านสะดวกซื้อหน้าปากซอยเท่านั้นที่ยังไม่มี และนับวันจะยิ่งทวีคูณทั้งชนิดและปริมาณให้เราๆเลือกซื้อกันจนหูตาลาย จริงไหมครับ
ผมในฐานะสัตวแพทย์ถูกตั้งกระทู้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันว่า หมอคะ อาหารเสริมตัวนี้หมอว่ายังไง หมอคับ วิตามินตัวไหนเหมาะกับน้องในเวลานี้บ้าง เห็น page นั้นเค้าเล่าว่าดีอย่างนู้น ดีอย่างนี้ จนผมตามอ่านแทบไม่ทันครับ บ้างก็ได้รับข้อมูลมาจากหมอบางท่านก่อนหน้าว่า “กินไปทำไม ตับไตพัง” บ้างก็แนะนำว่า “ต้องกินตัวนี้เพิ่ม ที่กินอยู่ยังไม่ cover” หรือบ้างก็ว่า “ยี่ห้อนี้ดีกว่าตัวที่กินอยู่” พ่อแม่ก็มาด้วยความมึนงงครับ
คงปฏิเสธไม่ได้ในเวลานี้ว่า supplement ที่ top hit ที่สุดคือ Omega-3 PUFA (polyunsaturated fatty acid) ที่มีกรดไขมันตัวสำคัญอันเป็นที่รู้จักกันคือ DHA และ EPA หากลองหาในท้องตลาดจะพบว่ามีมากกว่า 10 ยี่ห้อในเวลานี้ครับ มีทั้งที่มาแบบ pure ๆ และเป็นองค์กระกอบในอาหารเสริมชนิดอื่นๆ วันนี้ผมเลยจะมาชวนคุยเรื่องนี้กัน
คำถามที่ 1 Omega-3 PUFA นั้นดีจริงไหม
เจ้า Omega-3 PUFA ที่มีองค์ประกอบเป็นกรดไขมันชนิด EPA และ DHA นั้นมีหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์ ทั้งในแง่ clinical study ที่ well design แบบ RCT และ experimental models รวมทั้งในแง่ทฤษฎีว่ามีประสิทธิภาพในการลดการอักเสบของโรคข้อเสื่อมในสุนัขและแมว ลดการอักเสบและรักษาภาวะคันจากโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ลด triglyceride และ cholesterol ในสุนัข เพิ่มอัตราการกรอง ลดการสูญเสียโปรตีนทางปัสสาวะ ลด glomerular hypertension ลดปัญหา cardiac cachexia และปัญหา arrhythmia ใน Boxer RACM ลดโอกาสการเกิด atrial fibrilation ใน cardiac pacing model มีส่วนร่วมใน cocktail อาหารเสริมสำหรับ dog Alzheimer ฯ ดังนั้นไม่ควรจะมีข้อกังขากับประสิทธิภาพของ omega-3 PUFA ครับ
คำถามที่ 2 Omega-3 PUFA มาจากแหล่งไหนบ้าง
แหล่งสำคัญในปัจจุบันที่มีการใช้กันคือ ปลา ที่เรียกกันว่า Fish oil ตัวเคยที่เรียกว่า krill oil หอยแมลงภู่ New Zealand ที่เรียกว่า green lipped mussel oil หลายคนอาจอ่านพบว่าจริงๆ Omega-3 PUFA สามารถเจอในพืชได้ด้วย เช่น algae ซึ่งถือเป็น marine source และ canola, flaxseed, chia, h**p oil เป็นต้น แต่ไม่ได้รับความนิยมในสัตว์ด้วยเหตุที่ในสุนัขและแมวนั้นขาดเอนไซม์ในการเปลี่ยนรูป ALA (alphalinolenic acid) ซึ่งเป็น Omega-3 PUFA ในพืชให้กลายเป็น EPA และ DHA ได้ในทุกๆช่วงวัย การให้ plant based omega-3 จึงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพถ้าเทียบกับ marine based ครับ
คำถามที่ 3 Omega-3 PUFA จากแหล่งไหนดีกว่ากัน
ถ้าให้เลือกระหว่าง marine based กับ plant based ก็ต้องเลือก marine ครับ แต่หากถามว่า ใน marine based ด้วยกันอันไหนดีที่สุด คำถามนี้ตอบยากนะครับ ส่วนตัวผมไม่สามารถให้คำตอบที่เด็ดขาดลงไปได้ เพราะ fatty acid profile ของแต่ละแหล่ง (ปลา เคย หอย สาหร่าย) มีความแตกต่างกัน อันนี้ต้องอธิบายก่อนว่า fatty acids ที่มีคุณประโยชน์จากแต่ละแหล่งนั้นไม่ได้มีแค่ DHA กับ EPA นะครับ สองตัวนี้แค่ได้รับการสนใจและศึกษามาก่อน จึงมีข้อมูลการศึกษามากที่สุด ใน profile ของกรดไขมันมีเป็นสิบชนิดที่พบในแต่ละแหล่งครับ แต่ละตัวที่เราไม่ได้ศึกษาก็มี potential ที่จะให้คุณประโยชน์ต่อตัวสัตว์ได้ทั้งสิ้น การเปรียบเทียบแต่ละแหล่งจึงกระทำได้ยากยิ่ง หากจะขยายความกันอีกนิด นอกจาก fatty acid profile แล้วยังมีเรื่องของ indication ที่เราจะนำไปใช้ บางชนิด omega-3 อาจดีกับข้ออักเสบมากกว่า บางชนิดดีกับผิวหนังอักเสบมากกว่า บางชนิดดีกับไตมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นกับทั้งชนิดและ dose ที่สัตว์ได้รับและดูดซึมไปใช้ได้ด้วยนะครับ สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับคุณๆที่จะเลือกใช้คือ ต้องมีงานวิจัยที่กระทำในสัตว์ป่วยจริงสนับสนุน อันนั้นคือมั่นใจได้มากที่สุดครับ
คำถามที่ 4 Omega-3 PUFA จากแหล่งเดียวกัน ยี่ห้อ A ดีกว่ายี่ห้อ B จริงไหม
คำตอบที่ดีที่สุดของคำถามนี้คือการที่มี well design clinical study เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสองยี่ห้อในกลุ่มทดลองเดียวกัน แต่ไม่มีใครทำหรอกครับ ถ้าทำก็ไม่ค่อยจะเผยแพร่ออกมา ดังนั้้นเราก็ต้องดูเป็นรายๆไปว่ายี่ห้อให้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในแง่การศึกษาในสัตว์ป่วยมีเจ้าของจริง และเป็น well design study บ้าง ผลการศึกษากระทำโดยคณะวิจัยที่มีความเป็นกลาง เช่น นักวิจัยจากสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิชาชีพที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลประกอบการของผลิตภัณฑ์ ยี่ห้อที่ผมเห็นในตลาดมีทั้งที่มีงานวิจัย support และไม่มี ส่วนมากจะไม่มีครับ อย่างดีอาจแค่ยกเอาผลการศึกษาในสัตว์ทดลอง หรือทฤษฎีที่หาอ่านได้มาสาธยายคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ น้อยรายที่จะเอาผลิตภัณฑ์ของตัวเองจริงๆมาศึกษา หากถามว่าทำไมเขาไม่ค่อยทำกัน ก็เพราะยากและแพงครับ Requirement สำหรับอาหารเสริมในการขึ้นทะเบียนไม่จำเป็นต้องมีงานวิจัย support เหมือนกับขึ้นทะเบียนยาครับ อาหารเสริมส่วนใหญ่จึงไม่ทำการศึกษาวิจัย เพราะไม่จำเป็น
อีกประการคือ เวลาเราดูองค์ประกอบของวัตถุออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์ การที่มีจำนวนเท่ากันไม่ได้แปลว่าทำงานได้ดีเหมือนกันนะครับ เพราะมีปัจจัยอีกมากมายครับที่อาจส่งผลให้แต่ละยี่ห้อที่ดูเหมือนๆกัน “ไม่เหมือนกัน” ผมยกตัวอย่างเช่น form ของ omega-3 PUFA ซึ่งปัจจุบันเท่าที่ทราบมีอยู่ประมาณ 5 forms คือ
- [ ] Ethyl ester ฟอร์มนี้มีเยอะที่สุดในท้องตลาด เปลี่ยนรูปมาจาก triglyceride ด้วยการแทนที่ glycerol ด้วย ethanol เพื่อให้สามารถปรับแต่งเพิ่มความเข้มข้นของ DHA และ EPA ได้มากขึ้น แต่ปัญหาคือการย่อยและดูดซึมไปใช้ประโยชน์น้อยที่สุด (อาจแค่ไม่เกิน 20%) และหืนง่ายครับ
- [ ] Triglyceride ฟอร์มนี้เป็น form ดังเดิมที่เรียกว่า virgin oil ที่ได้จากอาหาร แต่มีข้อจำกัดเรื่องปริมาณ omega-3 ที่ไม่คงที่ vary ตามแต่แหล่งวัตถุดิบ
- [ ] Re-esterified triglyceride เป็นฟอร์มที่ถูกเปลี่ยนรูปจาก ethyl ester กลับไปเป็น triglyceride form เพื่อเพิ่มการย่อย การดูดซึม การนำไปใช้ครับ ฟอร์มนี้คือแพงที่สุด และถูกจัดอยู่ใน pharmacological grade มีอยู่ไม่กี่ brand ในท้องตลาด
- [ ] Free fatty acid ฟอร์มนี้เป็นการย่อยให้ molecule ของ omega-3 เล็กที่สุดเพื่อการดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีค่าการดูดซึมที่สูงเช่นกัน
- [ ] Phospholipid ฟอร์มนี้พบได้ในแหล่ง krill และ green lipped mussel ครับ เป็นฟอร์มที่พบว่าสามารถดูดซึมได้ดีเช่นกัน
น้อยรายจะ declare ฟอร์มของ omega-3 ครับ ส่วนมากจะเป็น ethyl ester กรณีที่ผลิตภัณฑ์ตนเป็น form อื่นนอกจาก ethyl ester ผู้ผลิตมักจะนำมาเป็นจุดเด่นในการโฆษณาและแน่นอนว่าราคาจะค่อนข้างสูงกว่า omega-3 ทั่วไป บางคนที่เคยใช้ omega-3 PUFA แล้วพบว่าไม่เห็นความแตกต่างเลย แถมค่าไขมันในเลือดก็สูงขึ้นอีกต่างห่าง หมอก็ว่าอ้วนขึ้นเพราะกินเจ้านี่ซะด้วย ผมขอเรียนว่า คุณๆน่าจะได้รับ omega-3 ที่ไม่มีประสิทธิภาพจริง อาจมีปริมาณ DHA และ EPA น้อย หรือหากว่ามีก็ย่อยและดูดซึมไม่ได้ตามคาด มีแต่ไขมันที่เป็นตัวทำละลาย ยิ่งกินเลยยิ่งอ้วน มันจุกอก
คำถามที่ 5 omega-3 PUFA กินนานๆมีข้อเสียไหม
หากเราพยายามหาข้อมูลจากท้องตลาดเราจะพบ concern ในเรื่องการแข็งตัวของเลือดครับ อันนี้ในคนอาจเป็น concern ที่สำคัญเพราะพบว่า omega-3 อาจส่งผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือดที่มีหน้าที่ห้ามเลือดครับ ขณะที่ในสุนัขและแมวมี study ที่พยายาม investigate ในเรื่องนี้และพบว่าผลต่อการแข็งตัวของเลือดคือต่ำมาก แม้เราให้ overdose ถึง 10 เท่าก็ยังไม่พบ แถมท้ายว่าจะมีโอกาสพบได้ก็ต่อเมื่อใช้ร่วมกับยาตระกูลต้านการแข็งตัวของเลือดชนิด aspirin อยู่ก่อนแล้ว ดังนั้น สัตวแพทย์หลายๆท่านอาจไม่ได้ recommend ให้หยุด supplement ตระกูล omega-3 PUFA ก่อนและหลังการผ่าตัดครับ นอกจากนั้นจะเป็นเรื่องของ GI upset คือคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น ทั้งนี้พบว่าเป็น dose-dependent ครับและส่วนตัวพบน้อยมากเช่นกัน
ทีนี้กินนานๆจะพบข้อเสียอะไรไหม นอกจากเสียเงินเพราะค่อนข้าง costly และอาจดูเกินจำเป็นเพราะหลายครั้งอาหารที่กินก็มีการ supple DHA และ EPA อยู่สูงอยู่แล้วผมไม่เห็นว่าจะมีอะไรที่เสียหายในภาวะ long term นะครับ AAFCO guideline 2016 ถือว่า DHA และ EPA เป็น essential fatty acid ที่ขาดไม่ได้ในสัตว์แรกเกิดและสัตว์วัยเด็กครับ เพราะมีความสำคัญต่อการเจริญของระบบประสาทและจอตา (สังเกตได้ว่าเหมือนในนมผมเด็กครับ) วัยที่สำคัญอีกครั้งคือสัตว์สูงวัยที่จะเริ่มพบความเสื่อมถอยของอวัยวะและมีการอักเสบเป็น background ครับ จุดนี้ EPA และ DHA เริ่มกลับมามีความสำคัญ ส่วนตัวผมเองนั้น ผมกิน omega-3 PUFA ในแง่ supplement ที่เป็น antiaging ครับ ดังนั้นสุนัขและแมวที่ผมรักษาจึงอยู่ใน way เดียวกัน เหตุเพราะผมจะเน้นที่การป้องกันมากกว่าการรักษา แม้หลักฐานการศึกษาในแง่การป้องกันจะยังไม่มีในสัตว์นะครับ แต่ด้วย safety of margin ของ omega-3 นั้นกว้างยิ่งนัก หากสวยและรวยมากก็จัดไปครับ แต่หากเงินเป็นเหตุปัจจัยก็งดเว้นไว้ใช้เมื่อจำเป็นจริงๆละกันนะครับ เอวังฯ


PETiS ใช้ smectite มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงพยาบาล เราใช้จนมั่นใจว่าไม่เกิดผลข้างเคียงและหลายรายขาดไม่ได้ที่ต้องมีติดบ้าน...
22/01/2024

PETiS ใช้ smectite มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงพยาบาล เราใช้จนมั่นใจว่าไม่เกิดผลข้างเคียงและหลายรายขาดไม่ได้ที่ต้องมีติดบ้านไว้ครับ บ้านไหนสนใจสอบถามคุณหมอได้เลยนะครับ มีติดไว้หน่อยเวลาไปเที่ยว อุ่นใจดี

https://www.facebook.com/share/UpAB8TSJ1WTb95eg/?mibextid=WC7FNe

พนักงานและผู้บริหาร PETiS จะไปสัมมนาและดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 19-23 พฤศจิกายน นี้นะคะโรงพยาบาลจะปิดในช่วงดัง...
18/11/2023

พนักงานและผู้บริหาร PETiS
จะไปสัมมนาและดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น
ระหว่างวันที่ 19-23 พฤศจิกายน นี้นะคะ
โรงพยาบาลจะปิดในช่วงดังกล่าวนะคะ
^^
พบกันอีกครั้ง วันที่ 24 พฤศจิกายน ค่า ❤️

02/11/2023

เรียนลูกค้า วันนี้พฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน 2566 คุณหมอวชิระชัย (หมอตี๋) ลานะคะ จะมีคุณหมอพิพัฒ เข้าระหว่างเวลา 08.30 น.- 17.00 น... ขอบคุณค่ะ 😬

Dear Customer , Today on 2nd of NOVEMBER 2023 Dr.Watchirachai will NOT be on duty. There is only Dr.Pipat on duty from 08.30 - 17.00... Thank you 😬

11/10/2023

เสริมอัลบูมินให้สุนัขป่วยด้วย protein losing nephropathy (PLN) ช่วยต่อหรือตัดอายุ
Glomerulonephropathy หรือจาก clinical sign ที่มักเรียกกันว่า nephrotic syndrome หรือจากการสังเกตพบว่ามีการเสียโปรตีนทางปัสสาวะจึงมักเรียกกันว่า protein losing nephropathy (PLN) นั้น เป็นโรคที่มีความเสียหายที่ glomerulus ของไต จนทำให้โปรตีนใน plasma โดยเฉพาะ albumin นั้นหลุดลอดออกเข้าสู่ ultrafiltrate มากเกินกว่าที่ proximal tubule จะ reabsorb กลับได้หมด จึงปรากฏภาวะ proteinuria
กลุ่มอาการ nephrotic syndrome ประกอบด้วย clinical signs สำคัญ 4 ประการคือ
- Proteinuria
- Hypoproteinemia (hypoalbuminemia)
- Hypercholesterolemia
- Peripheral edema
และ clinical signs เสริมอีก 2 ประการคือ
- Systemic hypertension
- Hypercoagulation
วันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องการเสริมโปรตีนให้กับสัตว์ป่วยในกลุ่มอาการนี้กัน
เป็นข้อสงสัยที่ได้รับการไถ่ถามมาโดยตลอดระยะเวลาอันยาวนานสำหรับการเสริม albumin ให้กับสัตว์ป่วยที่มีการสูญเสียโปรตีนทางปัสสาวะจากภาวะ glomerulonephropathy ในเกือบจะทุกครั้งที่มีโอกาสไปบรรยายเกี่ยวกับเรื่องนี้ สำหรับตัวผมเองก็เป็นหนึ่งในคนที่เคยให้การเสริม albumin เช่นในรูปไข่ขาวต้มให้กับสัตว์ป่วยที่มีภาวะ hypoproteinemia จากการ loss albumin ไปทางไตครับ เพราะตรวจพบว่าสัตว์ป่วยมีอาการจาก low oncotic pressure โดยเฉพาะเมื่อมีระดับของ plasma albumin ต่ำกว่า 1.5 g% เช่น ตัวบวมน้ำ และท้องมาน จึงได้แนะนำให้เจ้าของไปหาไข่ขาวมาป้อนเสริม เพราะอยากให้ค่าโปรตีนในเลือดสูงขึ้นกับความเชื่อที่ว่าจะทำให้อาการสัตว์ดีขึ้นได้ ผมเชื่อว่าเหตุการณ์เหล่านี้ในครั้งหนึ่งท่านคงเชื่อไม่ต่างกับที่ผมเชื่อในตอนนั้น
แต่หลังจากที่ได้ศึกษาเพิ่มเติมถึงกลไกการเกิดและการพัฒนาของ PLN แล้วจนในปัจจุบันเรากลับพบว่า ตัว proteinuria เองนั่นแหละเป็นกลจักรสำคัญต่อการเสื่อมถอยและ progression ของความรุนแรงของรอยโรคที่ glomerulus และ renal tubules กล่าวคือเมื่อมี albumin กรองผ่าน filtration membrane หรือถูก reabsorb ผ่านท่อไต จะสร้างความเสียหายต่อทั้งตัว filtration membrane เองและตัวเซลล์ท่อไตได้โดยตรง
การเสริมโปรตีนไม่ว่าจะเป็นการกินหรือการฉีดเข้าหลอดเลือดจะส่งเสริมให้มีการ loss protein ทางปัสสาวะมากขึ้นกว่าเดิมด้วยจะยิ่งทำให้ lesion ทั้งที่ glomerulus และ tubular cell นั้น progress เร็วขึ้น อันเป็นการเร่งให้ไตที่ยังไม่วาย…วาย ไตที่วายแล้วถึงระยะ end stage ไวขึ้น
แต่ครั้นจะให้อาหารที่จำกัดปริมาณโปรตีนมากจนเกินไป ก็จะทำให้สัตว์มีภาวะขาดโปรตีน ระดับ albumin ในเลือดก็จะลดต่ำลงจนเป็นอันตรายต่อสัตว์ได้เช่นกัน เช่น เสียน้ำออกนอกหลอดเลือดจากการสูญเสียความดัน oncotic อันนำมาซึ่งภาวะ hypovolemia เกิดภาวะตัวบวมน้ำ ปอดบวมน้ำ ascites จนหายใจลำบากและการขาดตัว carry แร่ธาตุและฮอร์โมนหลายชนิดในเลือด ดังนั้นโจทย์คือเราต้องให้อาหารที่มีโปรตีนที่อยู่ในระดับเพียงพอแต่ต้องไม่มากเสียจนทำให้ proteinuria รุนแรงขึ้นกว่าเดิม และไม่น้อยจนขาดโปรตีนอย่างรุนแรง ความยากอยู่ตรงที่ว่าแค่ไหนถึงจะถือว่าพอดี
คำแนะนำในปัจจุบันนั้นผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนาการแนะนำให้ใช้อาหารที่ design มาโดยเฉพาะสำหรับโรคไต เพราะปริมาณโปรตีนแม้จะถูกจำกัดลง แต่ก็ไม่น้อยเกินกว่า minimal requirement จนจะเกิดภาวะ protein malnutrient ได้ หากแต่ก็ไม่มากจนเป็นทำให้ภาวะ proteinuria รุนแรงขึ้น
หากปริมาณ protein ในอาหารเฉพาะโรคนี้มีอย่างพอดิบพอดีแล้ว คำแนะนำให้เสริมแหล่งโปรตีนอื่นๆเพิ่มเติมเข้าไปอีก เช่น ไข่ขาวต้ม albumin ผง หรือ albumin อัดเม็ด ล้วนแล้วแต่จะทำให้สัดส่วน protein intake สูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นและ worsen glomerular และ tubular lesion แทบทั้งสิ้น แม้ระยะแรกระดับโปรตีนในเลือดจะดูสูงขึ้นจนกลับมาอยู่ระดับที่น่าพอใจ จนอาการจาก hypoproteinemia จะดีขึ้นก็ตาม ในตอนท้ายสัตว์กลับจะตายไวขึ้นเพราะไตเสียหายอย่างรวดเร็วและรุนแรง
ในเรื่องนี้มีการศึกษากันทั้งในคนและสัตว์สำหรับระดับโปรตีนที่เหมาะสมในอาหารสำหรับโรคในกลุ่มอาการ PLN ซึ่งพบในทิศทางเดียวกันว่า กลุ่มที่ป่วยด้วย PLN ซึ่งได้รับอาหารเฉพาะที่จำกัดปริมาณโปรตีนมีอายุที่ยืนยาวมากกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารที่มีระดับโปรตีนปกติ
สิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้เราเข้าใจคือ ในอาหารเฉพาะโรคไตทุกๆยี่ห้อนั้นเขาไม่ได้จำกัดปริมาณโปรตีนจนต่ำกว่า minimum daily requirement แต่อย่างใดนะครับ ระดับโปรตีนในอาหารยังคงสูงกว่าปริมาณความต้องการต่ำสุดตามมาตรฐานที่มีการแนะนำอยู่ดี ดังนั้นโปรดสบายใจได้ครับว่า การกินอาหารเฉพาะโรคไตนั้นจะไม่ทำให้สัตว์ขาดโปรตีนอย่างแน่นอน อีกประการหนึ่งคือ โปรตีนที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารนั้นถูกเลือกสรรมาเป็นอย่างดี คือต้องเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดี กล่าวคือมีสัดส่วนที่จะให้ essential amino acid อย่างเพียงพอ และให้ non-essential amino acid ต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงการผลิต NH3 ซึ่งเป็น by-product สำคัญอันนำไปสู่การสร้าง urea ตามมา
นอกจากโปรตีนแล้วคุณประโยชน์ของอาหารเฉพาะโรคไตนั้นยังเกิดจากอีกหลายคุณสมบัติ อาทิ การจำกัด phosphorus อันเป็นปฏิปักษ์ที่สำคัญที่สุดสำหรับ progression ของโรคไต การจำกัด sodium เพื่อลดปัญหา salt and water retention และน่าจะทำให้สามารถควบคุมปัญหา hypertension ได้ดีขึ้น การเสริม omega-3 ที่มี evidence ในสุนัขทดลองและคนในการเพิ่ม GFR ลดภาวะ glomerular hypertension ลด proteinuria และลดระดับไขมันในเลือดได้
ทีนี้มาดูในแง่การรักษาโรค PLN กันบ้าง การรักษาที่เหมาะสมคงหนีไม่พ้นการให้ยาที่จะหวังผลชะลอหรือสามารถตัดวงจรอุบาทว์ของการเสื่อมสภาพของไตได้ ยาตัวสำคัญคือ RAAS antagonists (ACE-i และ ARB) ซึ่งส่งผลเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์การกรองหรือ Kf จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ filtration membrane ขณะที่มีผลลด glomerular hypertension ทำให้สามารถ maintain GFR ได้ทั้งๆที่ glomerular capillary pressure นั้นลดลงหลังให้ยา ผลดังกล่าวของยาทำให้ลด filtration fraction จึงอาจชะลอปัญหาการ remodeling ของ glomerulus ลงได้ ผลลัพธ์สำคัญในที่สุดที่เราคาดหวังคือการลดการสูญเสียโปรตีนที่ glomerulus นี้ ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากการลดลงของ UPCR หลังเริ่มให้ยา โดยค่าคาดหวังควรอยู่ที่ต่ำกว่า 0.5 ในสุนัขและ 0.4 ในแมว
นอกจากนี้เคยมีความเข้าใจจากการศึกษาในปี 2012 ว่าหากว่าระดับ plasma albumin ต่ำกว่า 2.0 g% จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะ thromboembolism จากการสูญเสีย protein ตัวสำคัญทางไตคือ antithrombin III ซึ่งมีขนาดโมเลกุลใกล้เคียงกับ albumin โปรตีนชนิดนี้ทำงานร่วมกับ heparin ในการป้องกันไม่ให้เลือดในหลอดเลือดแข็งตัว แต่การศึกษาในเวลาต่อมา ไม่พบความสอดคล้องดังกล่าว ประกอบกับการตรวจวัดภาวะ hypercoagulation ด้วย TEG เองก็ไม่พบความสัมพันธ์กับระดับ albumin และ antithrombin III ดังนั้นหากคุณๆต้อง deal กับภาวะ PLN ถ้าไม่มี contraindication ยาต้านการแข็งตัวเลือดด้วย antiplatelet เช่น clopidogrel ก็สามารถให้ได้เลยอย่างปลอดภัย
กรณีที่ต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่สัตว์มีภาวะวิกฤตจากระดับ protein ในเลือดต่ำ คุณๆสามารถให้ CRI synthetic colloidal solution ได้ โดยอาจคำนวณให้อยู่ที่ประมาณ 1ml/kg/h drip IV ไปโดยตลอด หรืออาจให้เป็น bolus ในขนาด 10-20ml/kg/day หากไม่สะดวกในการจัดการ ข้อพึงสังเกตคือการให้ synthetic colloid นั้นไม่ใช่ protein ที่แท้จึงไม่อาจเพิ่มค่า plasma protein หรือ plasma albumin ขึ้นมาได้ หากแต่สามารถเพิ่ม total solid หรือ plasma osmotic pressure ได้ชั่วคราวตามแต่ halflife ในการคงตัวอยู่ในหลอดเลือดของ colloid ชนิดนั้นๆ แม้จะมี concern ที่มากขึ้นในเรื่องผลเสียต่อไตในระยะยาวที่อาจทำให้เกิดความเสียหายกับไตได้ ซึ่งเป็น concern ที่มีหลักฐานค่อนข้างชัดเจนในคน และเริ่มพบหลักฐานบ้างในสุนัขและแมว คุณๆอาจเลี่ยงไปใช้ human albumin extract แทนที่จะเพิ่มระดับ albumin ได้อย่างรวดเร็ว หรือถ้าสวยและรวยมากอาจให้ frozen plasma หรือ fresh frozen plasma ที่หลายคนมักประนามว่าเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำก็ตาม
มีการรายงานในการประชุมวิชาการ ACVIM 2009 และผลงานตีพิมพ์ใน Canadian Vet Journal 2017 ถึงการเสริม amino acids โดยการให้กินกับการเปลี่ยนแปลงของ plasma creatinine UPC และ ระดับ albuminในเลือดในสุนัขที่ป่วยด้วย PLN ซึ่งผลการศึกษาพบว่า การเสริม amino acid นั้นให้ผลลัพท์เชิงบวกต่อระดับโปรตีนในเลือด คือมีค่า albumin เพิ่มขึ้น และมีน้ำหนักตัวที่ดีขึ้น แต่ไม่ส่งผลต่อค่า plasma creatinine และ UPCR อย่างมีนัยสำคัญในระยะ 4-8 สัปดาห์แรก จึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับสัตว์ป่วย PLN ผมว่ามุมมองนี้คงมีความน่าสนใจไม่น้อยเพราะปัจจุบันมีบางบริษัทที่ผลิด supplement ชนิด essential amino acid สำหรับบำรุงไตสำหรับสุนัขออกมาขายในท้องตลาดและมีอาหารอยู่ยี่ห้อหนึ่งที่ใช้ concept นี้ในการปรับปรุงสูตรอาหารเฉพาะสำหรับโรคไตของตัวเอง และหลังการทดลองพบว่าสัตว์ป่วยมี body conformation และ lean body mass ที่ดีขึ้น และมี survival time ที่ยาวนานกว่าอาหารสูตรเดิม คงต้องตามกันดูยาวๆครับสำหรับ amino acid supplement เพราะ campaign เพิ่งเริ่มขึ้นไม่นาน คงต้องรอให้หมดยกแล้วค่อยมาตัดสินกัน
โดยสรุปคือหากคุณๆกำลังเผชิญหน้ากับ life theatening hypoalbuminemia แน่นอนว่าสัตว์น่าจะต้อง admit อยู่กับเรา การให้ plasma protein supplement ทาง parenteral ถือเป็นหนทางหนึ่งในการ resuscitation ซึ่งไม่ผิดอะไรเพราะพยายามทำให้สัตว์ป่วยรอดชีวิต ในทางกลับกันหากกำลังเผชิญหน้าภาวะ relatively compensated hypoalbuminemia เราควรจัดการด้วยยาที่จะ convert proteinuria ร่วมกับการใช้ low protein diet มากกว่าการเสริมโปรตีนด้วยวิธีการใดๆเพื่อเป็นการยืดอายุไตและตัวสัตว์ให้อยู่ได้นานที่สุดครับ
เอกสารอ้างอิง
Polzin D, and Vaden S. 2013. Consensus recommendations for standard therapy of glomerular disease in dogs. J Vet Intern Med. 27:S27-S43
Zatelli A, D’lppolito P, Roura X, and Zini E. 2017. Short-term effects of dietary supplementation with amino acids in dogs with proteinuric chronic kidney disease. Can Vet J. 58(12):1287-1293
Zatelli A, Nizi F, and Zini E. 2009. Effects of supplementation with amino acids in dogs with glomerulonephritis. Proceeding in ACVIM 2009.

ที่อยู่

122/3 ถนนราษฎร์พัฒนา แขวงราษฎร์พัฒนา เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ Https://goo. Gl/maps/MZAtHXyhRFr
Bangkok
10240

เวลาทำการ

จันทร์ 08:30 - 18:30
อังคาร 08:30 - 18:30
พุธ 08:30 - 18:30
พฤหัสบดี 08:30 - 18:30
ศุกร์ 08:30 - 18:30
เสาร์ 08:30 - 18:30
อาทิตย์ 08:30 - 18:30

เบอร์โทรศัพท์

6620006115

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ โรงพยาบาลสัตว์เพ็ทอีส PETiS Animal Hospitalผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง โรงพยาบาลสัตว์เพ็ทอีส PETiS Animal Hospital:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ประเภท

ตำแหน่งใกล้เคียง ร้านค้าสัตว์เลี้ยงและบริการสัตว์เลี้ยง


สัตวแพทย์ อื่นๆใน Bangkok

แสดงผลทั้งหมด