26/07/2024
🐖 เลี้ยงหมูขุน รู้ได้ยังไงว่าโตดี? 🐖
👨🏻⚕️🐷 ปกติการเลี้ยงหมูขุน มีดัชนี (index) ที่ใช้ชี้วัดประสิทธิภาพ 3 ตัวหลัก ได้แก่
👉🏻 ADG หรือ อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน
👉🏻 FCR หรือ ปริมาณอาหารที่ใช้ในการเพิ่มน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
👉🏻 FCG หรือ ราคาอาหารที่ใช้ในการเพิ่มน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
🌿 ADG 🌿
คำนวนได้จากสูตร (น้ำหนักสุดท้าย - น้ำหนักเริ่มต้น) / จำนวนวันที่เลี้ยง
ตัวอย่าง : สุกรลง 25 กิโลกรัม จับขายออกที่น้ำหนัก 110 กิโลกรัม จำนวนวันเลี้ยงทั้งหมด 120 วัน
ADG = (110 - 25) / 120 = 0.7 กิโลกรัม หรือ 700 กรัม/ตัว/วัน
🌿 FCR 🌿
คำนวนได้จากสูตร ปริมารอาหารที่กินทั้งหมด / (น้ำหนักสุดท้าย - น้ำหนักเริ่มต้น)
ตัวอย่าง : สุกรลง 25 กิโลกรัม จับขายออกที่น้ำหนัก 110 กิโลกรัม กินอาหารทั้งหมด 200 กิโลกรัม/ตัว
FCR = 200 / (110 - 25) = 2.35 หรือ กินอาหาร 2.35 กิโลกรัมเพื่อสร้างน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
🌿 FCG 🌿
คำนวนได้จากสูตร 🐷🐷
1) (ปริมาณอาหารที่กินทั้งหมด x ราคาอาหารเฉลี่ยทั้งหมดแบบถ่วงน้ำหนัก) / (น้ำหนักสุดท้าย - น้ำหนักเริ่มต้น)
2) (ราคาอาหารเล็ก x ปริมาณที่กิน) + (ราคาอาหารรุ่น x ปริมาณที่กิน) + (ราคาอาหารขุน x ปริมาณที่กิน) / (น้ำหนักสุดท้าย - น้ำหนักเริ่มต้น)
😊 ตัวอย่าง
สุกรลง 25 กิโลกรัม จับขายออกที่น้ำหนัก 110 กิโลกรัม กินอาหารทั้งหมด 200 แบ่งเป็น (อาหารหมูเล็ก 80 กิโลกรัม ราคา 20 บาท, อาหารหมูรุ่น 80 กิโลกรัม ราคา 18 บาท, อาหารหมูขุน 40 กิโลกรัม ราคา 16 บาท)
1) (200 x 18.4) / (110 - 25) = 43.3 บาท หรือ ใช้ค่าอาหาร 43.3 บาทเพื่อสร้างน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
2) (20 x 80)+(18 x 80)+(16 x 40) / (110 - 25) = 43.3 บาท
📌📌 เมื่อเราสามารถวัดประสิทธิภาพการเลี้ยงหมูขุนในฟาร์มได้ เราจะสามารถตั้งเกณฑ์ควบคุมประสิทธิภาพภายในฟาร์ม เพื่อดูข้อมูลว่าช่วงไหน ดัชนีแต่ละตัวไม่ว่าจะเป็น ADG FCR FCG ที่มีค่าเปลี่ยนไปในแต่ละชุดการเลี้ยง และตรวจสอบย้อนกลับถึงปัญหา และจัดการฟาร์มได้ง่ายขึ้น 🐷😊🐷
#เราพร้อมเคียงข้างปศุสัตว์ไทยสู่ความสำเร็จ #ก้าวสู่ชีวิตที่ดีขึ้น #ประสบความสำเร็จด้วยกัน #ปศุสัตว์ไทย