Big Beetle Breeder

Big Beetle Breeder กว่างช้างเป็นด้วงเลี้ยงง่าย ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย
ไม่คุมอุณหภูมิก็เลี้ยงได้หากไม่ร้อนเกินไป ราคาไม่แพง
(1)

สวัสดีครับ วันนี้ได้มีโอกาสได้ด้วงกว่างช้างมาร์เข้ามาเพาะอีก 1 ชนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑚𝑎𝑟𝑠 (Reiche, 1852) ผู้ขนาด...
17/05/2023

สวัสดีครับ วันนี้ได้มีโอกาสได้ด้วงกว่างช้างมาร์เข้ามาเพาะอีก 1 ชนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑚𝑎𝑟𝑠 (Reiche, 1852)
ผู้ขนาด 109 mm
เมียขนาด 74 mm
รุ่น CBF2
ถิ่นกำเนิด South America เป็นด้วงกว่างช้างชนิดที่ 3 ในปีนี้ของเพจเราที่จะทำการเพาะพันธุ์วหวังว่าจะได้เลี้ยงหนอนรุ่น F3 และทางเพจเราจะมีชนิดที่ 4 แน่นอน
รอติดตามกันได้ครับว่าจะเป็นชนิดไหน 🌑🐘

สวัสดีครับ วันนี้มีด้วงหลงเข้าระยะดักแด้มัน 1 หน่วย นั้นก็คือกว่างช้างแอคเตียน ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑎𝑐𝑡𝑎𝑒𝑜𝑛 (Linnaeu...
09/05/2023

สวัสดีครับ วันนี้มีด้วงหลงเข้าระยะดักแด้มัน 1 หน่วย นั้นก็คือกว่างช้างแอคเตียน ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑎𝑐𝑡𝑎𝑒𝑜𝑛 (Linnaeus, 1758)
ข้อมูล พ่อแม่พันธุ์ไม่ทราบ รุ่นไม่ทราบ
ขนาดดักแด้ประมาณ 120 mm
น้ำหนักสูงสุด 150 กรัม
อายุหนอนจนเข้าระยะดักแด้ประมาณ 30 เดือน โดยประมาณ
เป็นกว่างช้างแอคเตียนผู้เดี่ยว ไม่มีเพศเมีย ดังนั้นถ้าลอกคราบออกมาสมบูรณ์ต้องหาเพศเมียมาทำรุ่น CBF1 ใหม่ ท่านใดมีเพศเมียกำลังเข้าระยะดักแด้ทักมาเสนอให้ผมได้นะครับ 🐘🌑

สวัสดีครับ หลังจากได้มาเราก็จับผสมทันทีเลย สำหรับด้วงกว่างช้างไทฟอน ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑡𝑦𝑝ℎ𝑜𝑛 𝑡𝑦𝑝ℎ𝑜𝑛 (Olivier, 178...
30/04/2023

สวัสดีครับ หลังจากได้มาเราก็จับผสมทันทีเลย สำหรับด้วงกว่างช้างไทฟอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑡𝑦𝑝ℎ𝑜𝑛 𝑡𝑦𝑝ℎ𝑜𝑛 (Olivier, 1789)
ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ Bahia, Brazil 🇧🇷 , ชุดนี้เป็นตัวเพาะจากญี่ปุ่น 🇯🇵
ผู้ขนาด 99 mm
เมียขนาด 68 mm
รุ่น CBF3
ตัวผู้ให้ทานอาหาร 25 วัน
ตัวเมียให้ทานอาหาร 25 วัน
เวลาผสม ประมาณ 25-30 นาที ผสมเสร็จแล้วก็จับลงถังเพาะเลยครับ เพจของเราใช้เป็นถังกะปิในการเพาะเลี้ยง ขนาด 20-25 ลิตร ใช้ทั้งเป็นถังลงเพาะแม่พันธุ์และเลี้ยงตัวอ่อน ขั้นตอนต่อไปก็รอได้ตัวอ่อน และชนิดต่อไปจะเป็นอะไรนั้นก็รอติดตามกันได้ครับ ฝากติดตามเพจกันต่อไปด้วยนะครับ เราจะทำไปทีละนิดแต่ทำเรื่อย ๆ ครับ

สวัสดีครับ วันนี้มาอวดพ่อแม่พันธุ์ด้วงกว่างช้างไทฟอนครับ ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑡𝑦𝑝ℎ𝑜𝑛 𝑡𝑦𝑝ℎ𝑜𝑛 (Olivier, 1789) หรือบางค...
28/04/2023

สวัสดีครับ วันนี้มาอวดพ่อแม่พันธุ์ด้วงกว่างช้างไทฟอนครับ ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑡𝑦𝑝ℎ𝑜𝑛 𝑡𝑦𝑝ℎ𝑜𝑛 (Olivier, 1789) หรือบางคนอาจรู้จักในชื่อ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑔𝑦𝑎𝑠 𝑝𝑜𝑟𝑖𝑜𝑛𝑖
ชุดนี้ได้มา ผู้ 1 ตัว เมีย 2 ตัว ซึ่งจะผสมพันธุ์และลงเพาะเร็ว ๆ นี้ครับ รอติดตามกันได้
ผู้ขนาด 99 mm
เมียขนาด 68, 64 mm
รุ่น CBF3
ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ Bahia, Brazil 🇧🇷
เป็นด้วงกว่างช้างที่อยากได้มานานแล้วครับ รอมานานก็ได้สักทีกับชนิดนี้ โดยชนิดนี้มีชื่อว่ากว่างช้างไทฟอน ซึ่งบางคนรู้จักกันในชื่อกว่างช้างจียาสหรือกีอาส แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นคนละชนิดกับกว่างช้างจียาสหรือกีอาสครับ ผมเลยเลือกที่จะเรียกมันว่าไทฟอนดีกว่าจะได้ไม่สับสนกับด้วงกว่างจียาสหรือกีอาสซึ่งเป็นคนละชนิดกับด้วงกว่างไทฟอนครับ

สวัสดีครับ วันนี้จับด้วงกว่างช้างเผือกผสมพันธุ์กันเป็นที่เรียบร้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑒𝑙𝑒𝑝ℎ𝑎𝑠 (Fabricius, 1775)ตัว...
23/04/2023

สวัสดีครับ วันนี้จับด้วงกว่างช้างเผือกผสมพันธุ์กันเป็นที่เรียบร้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑒𝑙𝑒𝑝ℎ𝑎𝑠 (Fabricius, 1775)
ตัวผู้ ขนาด 112 mm
ตัวเมีย ขนาด 70 mm
รุ่น CBF2
ตัวผู้ให้ทานอาหาร 20 วัน
ตัวเมียให้ทานอาหาร 20 วัน
เวลาในการผสมประมาณ 25 นาที เดี๋ยวให้ตัวเมียทานอาหารอีกสัก 3-4 วัน ก็จะจับลงถังเพาะครับ หวังว่าจะมีหนอนรุ่น CBF3 ให้เลี้ยงกันยาว ๆ
เป้าหมายคือทำขนาดให้ได้มากกว่ารุ่นก่อน 🐘

สวัสดีครับ วันนี้ผมรื้อดูไข่มูแดง/มูชิคิง/คาบูโตะ/กว่างญี่ปุ่น มาให้ชมกันครับ หลังจากปล่อยตัวผู้และตัวเมียรวมกันเป็นเวลา...
19/04/2023

สวัสดีครับ วันนี้ผมรื้อดูไข่มูแดง/มูชิคิง/คาบูโตะ/กว่างญี่ปุ่น มาให้ชมกันครับ หลังจากปล่อยตัวผู้และตัวเมียรวมกันเป็นเวลา 1 อาทิตย์
ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑇𝑟𝑦𝑝𝑜𝑥𝑦𝑙𝑢𝑠 𝑑𝑖𝑐ℎ𝑜𝑡𝑜𝑚𝑢𝑠 𝑠𝑒𝑝𝑡𝑒𝑛𝑡𝑟𝑖𝑜𝑛𝑎𝑙𝑖𝑠 Kôno, 1931 เป็นชนิดย่อยจากประเทศญี่ปุ่น 🇯🇵
พ่อพันธุ์ขนาด 73 mm
แม่พันธุ์ขนาด 48 mm
รุ่นไม่ทราบ
ให้พ่อพันธุ์ทานอาหาร 14 วัน
ให้แม่พันธุ์ทานอาหาร 21 วัน
ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดไข่น่าจะฟักเป็นตัวในเดือนหน้า, อัตราไข่ของชนิดนี้ถือว่าเยอะดีครับ ผมลงไข่ไปแค่ 2 วันเท่านั้น ได้ไข่มา 28 ฟองเลยทีเดียว ‼️

สวัสดีครับ ออกจากด้วงกว่างช้างมาเพาะชนิดอื่นกันบ้าง วันนี้รื้อเช็คตัวอ่อนด้วงกว่างชนอินโดชวา หรือในวงการกว่างชนชอบเรียกก...
17/04/2023

สวัสดีครับ ออกจากด้วงกว่างช้างมาเพาะชนิดอื่นกันบ้าง วันนี้รื้อเช็คตัวอ่อนด้วงกว่างชนอินโดชวา หรือในวงการกว่างชนชอบเรียกกันว่า "ชนอินโด100" ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑋𝑦𝑙𝑜𝑡𝑟𝑢𝑝𝑒𝑠 𝑔𝑖𝑑𝑒𝑜𝑛 𝑔𝑖𝑑𝑒𝑜𝑛 (Linnaeus, 1767)
ข้อมูลตัวอ่อน
พ่อพันธุ์ขนาด 77 mm
แม่พันธุ์ไม่ได้วัดขนาด
รุ่น CBF1
เกิด 4/66
ให้พ่อพันธุ์ทานอาหาร 14 วัน
ให้แม่พันธุ์ทานอาหาร 14 วัน
ได้ตัวอ่อนมา 21 ตัว, ชนอินโดชวา หรืออีกชื่อในวงการกว่างชนคือ "ชนอินโด100" ที่มีคำว่า100 ตามหลังนั้นก็เพราะว่าให้รู้ว่าเป็นพันธุ์แท้ ไม่ใช่ลูกผสม เนื่องจากมีบางท่านนำชนิดนี้มาผสมกับกว่างชนไทยก็อาจจะให้ได้ลูกผสมเติมแต่งความสวยงามก็ว่ากันไป แล้วแต่ความชอบ ความต้องการในแต่ละคน

สวัสดีครับ วันนี้มาอวดพ่อแม่พันธุ์ด้วงกว่างช้างเผือก ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑒𝑙𝑒𝑝ℎ𝑎𝑠 (Fabricius, 1775) ที่กำลังจะลงเพาะ...
12/04/2023

สวัสดีครับ วันนี้มาอวดพ่อแม่พันธุ์ด้วงกว่างช้างเผือก ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑒𝑙𝑒𝑝ℎ𝑎𝑠 (Fabricius, 1775) ที่กำลังจะลงเพาะเร็ว ๆ นี้
ตัวผู้ ขนาด 112 mm
ตัวเมีย ขนาด 70 mm
รุ่น CBF2
ที่ผ่านมาส่วนใหญ่โชว์แต่การเลี้ยงหนอนมานาน เลยจะโชว์การเพาะพันธุ์กันบ้าง โดยด้วงกว่างช้างเผือกคู่นี้ลองจับผสมพันธุ์กันในราว ๆ สิ้นเดือนนี้ ให้กินอาหารประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ก่อนทำการผสม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับชนิดนี้ จะได้ไข่ไปจนถึงตัวอ่อนหรือไมฝากติดตามกันด้วยนะครับ 🦣

https://youtu.be/KYBkeFQRN9sคลิปวิดีโอฝรั่งใช้กับดักแสงไฟดักได้ด้วงกว่างช้างเผือก ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑒𝑙𝑒𝑝ℎ...
09/04/2023

https://youtu.be/KYBkeFQRN9s
คลิปวิดีโอฝรั่งใช้กับดักแสงไฟดักได้ด้วงกว่างช้างเผือก ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑒𝑙𝑒𝑝ℎ𝑎𝑠 (Fabricius, 1775) ลองไปชมกันได้ครับ ตัวใหญ่มาก ๆ 🐘

Go to our sponsor https://betterhelp.com/bravewilderness for 10% off your first month of therapy with BetterHelp and get matched with a therapist who will li...

สวัสดีครับ วันนี้เอามูแดง/มูชิคิง/คาบูโตะ/กว่างญี่ปุ่น มาให้ชมกันครับ ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑇𝑟𝑦𝑝𝑜𝑥𝑦𝑙𝑢𝑠 𝑑𝑖𝑐ℎ𝑜𝑡𝑜𝑚𝑢𝑠 𝑠𝑒𝑝𝑡𝑒𝑛𝑡𝑟𝑖𝑜𝑛𝑎...
05/04/2023

สวัสดีครับ วันนี้เอามูแดง/มูชิคิง/คาบูโตะ/กว่างญี่ปุ่น มาให้ชมกันครับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑇𝑟𝑦𝑝𝑜𝑥𝑦𝑙𝑢𝑠 𝑑𝑖𝑐ℎ𝑜𝑡𝑜𝑚𝑢𝑠 𝑠𝑒𝑝𝑡𝑒𝑛𝑡𝑟𝑖𝑜𝑛𝑎𝑙𝑖𝑠 Kôno, 1931 เป็นชนิดย่อยจากประเทศญี่ปุ่น 🇯🇵
ออกมาสีสันออกไปทางแดงเลยครับ ยิ่งโดนแสงยิ่งแดงเข้าไปใหญ่ ตัวผู้ทั้ง 3 ตัวในรูปขนาดประมาณ 70-75 mm ทุกตัวเลยครับ เลี้ยงแบบธรรมชาติ เลี้ยงแบบธรรมชาติเลยครับ ไม่ได้ใช้ตู้แช่หรือห้องแอร์แต่อย่างใด แต่มีสูตรเลี้ยงของแอดมินเอง
ชุดนี้รับหนอนระยะแอล2-3 จากญี่ปุ่นมาเลี้ยงซึ่งเป็นหนอนที่คัดมา ปีนี่เลยจะลองเพาะเองดูสัก 1 คู่ ครับหวังว่าจะมีหนอนให้เลี้ยงในปีนี้ครับ ‼️🔴

สวัสดีครับ มาเช็คน้ำหนักด้วงกว่างช้างโนกุกันครับ รื้อดูประมาณวันที่ 7 มีนาคม ที่ผ่านมา แต่พึ่งเอามาโพสต์ อายุหนอนประมาณ ...
18/03/2023

สวัสดีครับ มาเช็คน้ำหนักด้วงกว่างช้างโนกุกันครับ รื้อดูประมาณวันที่ 7 มีนาคม ที่ผ่านมา แต่พึ่งเอามาโพสต์ อายุหนอนประมาณ 4 เดือนนิด ๆ แต่น้ำหนักเป็นที่น่าพอใจมากครับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑛𝑜𝑔𝑢𝑒𝑖𝑟𝑎 Morón, 2005
พ่อขนาด 97 mm.
แม่ขนาด 66 mm.
รุ่น CBF3
เกิด 10/65
จะบอกว่าในรูปมีแต่ตัวผู้นะครับ คือเช็คเพศแล้วเห็นจุดเพศเป็นตัวผู้หมดเลย แปลกมากที่ได้ผู้หมดเลย อนาคตคงต้องหาตัวเมียจากที่อื่นมาทำรุ่น CBF1 ใหม่ แต่ถึงอย่างไรก็พอใจกับน้ำหนักอยู่ครับ มีตัว 65 กรัม โดยที่อายุพึ่ง 4 เดือน โดยชนิดนี้จะเล็กกว่าช้างเผือกและช้างมาร์เล็กน้อยครับ เต็มวัย เพศผู้ถ้ามีขนาด 90 มม. ก็ถือว่าใหญ่แล้วสำหรับชนิดนี้

สวัสดีดีครับ วันนี้มารื้อดูหนอนด้วงกว่างญี่ปุ่น ปรากฎว่าเข้าระยะดักแด้ไปซะงั้น ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑇𝑟𝑦𝑝𝑜𝑥𝑦𝑙𝑢𝑠 𝑑𝑖𝑐ℎ𝑜𝑡𝑜𝑚𝑢𝑠 𝑠𝑒𝑝...
11/03/2023

สวัสดีดีครับ วันนี้มารื้อดูหนอนด้วงกว่างญี่ปุ่น ปรากฎว่าเข้าระยะดักแด้ไปซะงั้น ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑇𝑟𝑦𝑝𝑜𝑥𝑦𝑙𝑢𝑠 𝑑𝑖𝑐ℎ𝑜𝑡𝑜𝑚𝑢𝑠 𝑠𝑒𝑝𝑡𝑒𝑛𝑡𝑟𝑖𝑜𝑛𝑎𝑙𝑖𝑠 Kôno, 1931
ตัวอ่อนชุดนี้ รับมาตั้งแต่ 4 เดือนกว่าที่แล้ว ระยะแอล 2-3 จำนวน 10 ตัว(ตายไป 1 ตัว) นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่นแท้ ๆ เลย ปัจจุบันเข้าระยะดักแด้กันบ้างแล้ว น้ำหนักสูงสุดก็อยู่ที่ 33-34 กรัม คิดว่าน่าจะออกมาเป็นเต็มวัยอยู่ที่ขนาด 70 mm บวกลบนิดหน่อยครับ

สวัสดีครับ วันนี้ผมว่าจะมาแนะนำการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ของด้วงที่ถูกต้องนะครับ ที่เขียนโพสต์นี้ขึ้นมาก็เพราะว่าช่วงนี้เห็...
04/03/2023

สวัสดีครับ วันนี้ผมว่าจะมาแนะนำการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ของด้วงที่ถูกต้องนะครับ ที่เขียนโพสต์นี้ขึ้นมาก็เพราะว่าช่วงนี้เห็นมีคนเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ของด้วงในโพสต์ของตัวเองอยู่ค่อยข้างเยอะมาก และก็มีหลายท่านที่เขียนถูกและเขียนผิด ดังนั้นโพสต์นี้ผมจึงเขียนขึ้นมาเป็นแนวทางให้นักเลี้ยงด้วงหลาย ๆ ท่านเข้าใจถึงการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ของด้วงที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นครับ

ก่อนอื่นเรามารู้กันก่อนว่าทำไมต้องมีชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) ?
เพราะว่า ชื่อสามัญ (common names) มันแตกต่างกันในแต่ละที่ ยกตัวอย่างเช่น กว่างชนซึ่งเป็นแมลงที่คนไทยทางภาคเหนือนำมาแข่งขันชนกัน คนไทยบางที่ก็จะเรียกว่า "กว่างชน, กว่างโซ้ง" แต่ในทางภาคอีสานจะเรียกว่า "แมงคาม" และในหลาย ๆ ที่ หลาย ๆ ประเทศที่พบก็จะอาจจะมีชื่อเรียกที่ต่างกันออกไป มันจึงทำให้ชื่อพวกนี้ไม่มีความเป็นสากล เพราะถูกตั้งตามใจชอบในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ก็ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและความสับสนได้ด้วย ยกตัวเองเช่น ด้วงแรดมะพร้าว บางคนก็เรียกว่าเป็น"ด้วงมูลสัตว์"มั้งแหละ เรียก"แมงกุดจี้"มั้งแหละ ดังนั้นชื่อวิทยาศาสตร์มีไว้ให้เป็นสากลแบบเดียวกันทั่วโลก ถ้าหากเขียนชื่อนี้จะเข้าใจตรงกันได้ครับ
โดยการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์จะประกอบด้วย 2-3 คำ (ตามหลักการตั้งชื่อ binomial, trinomial nomenclature) โดย
#คำแรกคือ ชื่อสกุล (generic name) ต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่และตามด้วยตัวพิมพ์เล็กเท่านั้น เช่น 𝐷𝑦𝑛𝑎𝑠𝑡𝑒𝑠 ✔️ DYNASTES❌ dynastes❌
#คำที่สองคือ ชื่อเฉพาะ (specific epithet) ต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด เช่น ℎ𝑒𝑟𝑐𝑢𝑙𝑒𝑠 ✔️ Hercules❌ HERCULES❌
#ส่วนคำที่สาม บางครั้งไม่มี ใช้ในกรณีที่ชนิดนั้นมีชนิดย่อยหรือซับสปีชีส์ และอยากจะระบุไปในการเขียนว่าเป็นชนิดย่อย (subspecific name) ให้เขียนด้วยตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด เช่น 𝑙𝑖𝑐ℎ𝑦𝑖 ✔️ Lichyi❌ LICHYI❌
โดยในแต่ละคำต้องเว้นวรรค 1 วรรค ห้ามเขียนติดกัน เช่น
𝐴𝑢𝑔𝑜𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑐𝑒𝑛𝑡𝑎𝑢𝑟𝑢𝑠 ✔️ Augosomacentaurus ❌
𝐶ℎ𝑎𝑙𝑐𝑜𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑎𝑡𝑙𝑎𝑠 ℎ𝑒𝑠𝑝𝑒𝑟𝑢𝑠 ✔️ Chalcosomaatlashesperus❌
Chalcosoma atlashesperus❌ Chalcosomaatlas hesperus❌
และโดยทั้ง 2-3 คำต้องเขียนในลักษณะของตัวเอียง หลักการเหล่านี้สามารถใช้กับสัตว์อื่น ๆ ได้เช่นกันนะครับ ไม่ใช่แค่ด้วง (นอกจากนี้ก็มีการขีดเส้นใต้ตรงชื่อวิทยาศาสตร์ด้วย แต่ที่นิยมกันคือการเอียง ในที่นี้จะขอพูดเฉพาะการเอียงชื่อวิทยาสศาสตร์)
สามารถทำอักษรตัวเอียงได้จากเว็บไซต์: https://yaytext.com/bold-italic/
**ถ้าจะเขียนโพสต์บนเฟสบุ๊กอาจจะค้นหาคำไม่เจอครับนะครับ ถ้าเป็นตัวเอียง อันนี้แล้วแต่วัตถุประสงค์ของผู้อ่านเลยครับ ผมแค่เสนอการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง ส่วนตัวคิดว่าอย่างน้อย ถ้าไม่เอียงก็ทำตามหลักที่เหลือให้ถูกต้องก็ดีแล้วครับ
ยกตัวอย่างการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง เช่น
𝐷𝑦𝑛𝑎𝑠𝑡𝑒𝑠 𝑡𝑖𝑡𝑦𝑢𝑠✔️ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑎𝑛𝑢𝑏𝑖𝑠✔️ 𝐸𝑢𝑝𝑎𝑡𝑜𝑟𝑢𝑠 𝑔𝑟𝑎𝑐𝑖𝑙𝑖𝑐𝑜𝑟𝑛𝑖𝑠✔️ 𝑂𝑟𝑦𝑐𝑡𝑒𝑠 𝑔𝑛𝑢✔️ 𝐷𝑦𝑛𝑎𝑠𝑡𝑒𝑠 ℎ𝑒𝑟𝑐𝑢𝑙𝑒𝑠 ℎ𝑒𝑟𝑐𝑢𝑙𝑒𝑠✔️ 𝐷𝑦𝑛𝑎𝑠𝑡𝑒𝑠 ℎ𝑒𝑟𝑐𝑢𝑙𝑒𝑠 𝑜𝑐𝑐𝑖𝑑𝑒𝑛𝑡𝑎𝑙𝑖𝑠✔️ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑗𝑎𝑛𝑢𝑠 𝑟𝑎𝑚𝑖𝑟𝑒𝑧𝑜𝑟𝑢𝑚✔️ 𝐶ℎ𝑎𝑙𝑐𝑜𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑎𝑡𝑙𝑎𝑠 𝑚𝑎𝑛𝑡𝑒𝑡𝑠𝑢✔️
ยกตัวอย่างการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ที่ผิด เช่น
Dynastes hercules occidentalis❌ (ไม่เอียงคำ)
Megasoma Anubis, Dynastes Hercules Occidentalis, Dynastes Hercules occidentalis, Dynastes hercules Occidentalis❌ (คำที่ 2-3 ขึ้นต้นโดยตัวพิมพ์ใหญ่)
MEGASOMA MAR, DYNASTES HERCULES LICHYI❌ (ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด)
chalcosoma atlas hesperus ❌ (ชื่อสกุลไม่ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่)
𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎𝐴𝑛𝑢𝑏𝑖𝑠, 𝐷𝑦𝑛𝑎𝑠𝑡𝑒𝑠 𝐻𝑒𝑟𝑐𝑢𝑙𝑒𝑠 𝑂𝑐𝑐𝑖𝑑𝑒𝑛𝑡𝑎𝑙𝑖𝑠, 𝑐ℎ𝑎𝑙𝑐𝑜𝑠𝑜𝑚𝑎𝑎𝑡𝑙𝑎𝑠𝑚𝑎𝑛𝑡𝑒𝑡𝑠𝑢, 𝑀𝐸𝐺𝐴𝑆𝑂𝑀𝐴 𝑀𝐴𝑅❌ (เอียงคำ แต่การเขียนรูปแบบผิดถือว่าก็ผิด)

โดยชื่อวิทยาศาสตร์อาจจะมี ชื่อสกุลผู้ตี้งชื่อ และปีที่ตั้งชื่อตามหลังได้ด้วย โดยจะเขียนหรือไม่เขียนก็ได้ แต่เขียนไว้ก็ดีจะได้รู้ที่มาที่ไปที่มากขึ้นครับ
โดยการเขียนให้เขียนต่อจากชื่อวิทยาศาสตร์ โดยเว้นวรรค 1 วรรค ตามด้วยชื่อสกุลผู้ตั้งชื่อ (ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่และตามด้วยตัวพิมพ์เล็ก) ตามด้วย "," ตามด้วยการเว้นวรรค 1 วรรค แล้วตามด้วยปีที่ตั้งชื่อ (ในส่วนนี้ไม่ต้องเอียง)
ยกตัวอย่างชื่อ เช่น
𝐶ℎ𝑎𝑙𝑐𝑜𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑚𝑜𝑒𝑙𝑙𝑒𝑛𝑘𝑎𝑚𝑝𝑖 Kolbe, 1900
𝐺𝑜𝑙𝑜𝑓𝑎 𝑝𝑜𝑟𝑡𝑒𝑟𝑖 Hope, 1837
𝐶ℎ𝑎𝑙𝑐𝑜𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑎𝑡𝑙𝑎𝑠 𝑘𝑒𝑦𝑏𝑜ℎ Nagai, 2004
𝐷𝑦𝑛𝑎𝑠𝑡𝑒𝑠 ℎ𝑒𝑟𝑐𝑢𝑙𝑒𝑠 𝑙𝑖𝑐ℎ𝑦𝑖 Lachaume, 1985
โดยบางชื่อวิทยาศาสตร์จะมีการวงเล็บอยู่ด้วย นั้นแปลว่าชื่อนี้เคยมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบางอย่างมาก่อน เช่น มีการย้ายสกุล (genus) แล้วมีการเปลี่ยนแปลงชื่อสกุล (genus name) ยกตัวอย่างชื่อ เช่น
𝐴𝑢𝑔𝑜𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑐𝑒𝑛𝑡𝑎𝑢𝑟𝑢𝑠 (Fabricius, 1775)
𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑎𝑐𝑡𝑎𝑒𝑜𝑛 (Linnaeus, 1758)
𝐶ℎ𝑎𝑙𝑐𝑜𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑎𝑡𝑙𝑎𝑠 ℎ𝑒𝑠𝑝𝑒𝑟𝑢𝑠 (Erichson, 1834)
𝐷𝑦𝑛𝑎𝑠𝑡𝑒𝑠 ℎ𝑒𝑟𝑐𝑢𝑙𝑒𝑠 ℎ𝑒𝑟𝑐𝑢𝑙𝑒𝑠 (Linnaeus, 1758)
โดยส่วนของชื่อวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีการวงเล็บแปลว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก่อน
ห้ามเอาวงเล็บไปใส่ ยกตัวอย่างเช่น 𝐺𝑜𝑙𝑜𝑓𝑎 𝑝𝑜𝑟𝑡𝑒𝑟𝑖 Hope, 1837 ➡️
𝐺𝑜𝑙𝑜𝑓𝑎 𝑝𝑜𝑟𝑡𝑒𝑟𝑖 (Hope, 1837) ❌ (ผิด)
โดยชื่อสกุลผู้ตั้งชื่อ ห้ามเอียงตามชื่อวิทยาศาสตร์เด็ดขาด
𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑎𝑛𝑢𝑏𝑖𝑠 Chevrolat, 1836 ➡️
𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑎𝑛𝑢𝑏𝑖𝑠 𝐶ℎ𝑒𝑣𝑟𝑜𝑙𝑎𝑡, 1836 ❌ (ผิด)
สามารถดูชื่อวิทยาศาสตร์จากเว็บไซต์: https://www.catalogueoflife.org/

*ข้อมูลบางอย่างอาจมีความคิดเห็นส่วนตัว เนื่องจากพยายามเขียนให้เข้าใจง่ายและครบถ้วนมากที่สุด ถ้าผิดพลาดประการใดขออภับด้วยนะครับ

สวัสดีครับ ไม่ได้โพสต์นานเลยครับ วันนี้มาอัพเดทหนอนช้างโนกุชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑛𝑜𝑔𝑢𝑒𝑖𝑟𝑎 Morón, 2005พ่อขนาด 97 mm. แ...
22/01/2023

สวัสดีครับ ไม่ได้โพสต์นานเลยครับ วันนี้มาอัพเดทหนอนช้างโนกุ
ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑛𝑜𝑔𝑢𝑒𝑖𝑟𝑎 Morón, 2005
พ่อขนาด 97 mm.
แม่ขนาด 66 mm.
รุ่น CBF3
เกิด 10/65
เหลือรอดอยู่ 9-10 ตัว เนื่องจากไม่มีเวลาเพาะจนจบเลยแบ่งพ่อแม่พันธุ์ไปให้คนอื่นเพราะต่อ ตอนนี้เข้าระยะ L2-L3 กันแล้วครับ อัตราส่วนเพศก็ใกล้เคียงกันดี แต่จะมี 1-2 ตัว ยังอยู่ระยะ L1 อยู่เลย ไม่ทราบสาเหตุเหมือนกันว่าทำไมไม่ยอมเปลี่ยนระยะ แต่โดยรวมก็โตและแข็งแรงกันดีครับผม รอลุ้นน้ำหนักกันต่อไปครับ 🌟

สวัสดีครับ วันนี้จะมาพูดถึงชื่อวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการแก้ไขใหม่ของด้วงกว่างช้างในสกุล 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 จากงานวิจัยหนึ่งนั้นก็คือ...
24/12/2022

สวัสดีครับ วันนี้จะมาพูดถึงชื่อวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการแก้ไขใหม่ของด้วงกว่างช้างในสกุล 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 จากงานวิจัยหนึ่ง
นั้นก็คือด้วงกว่างช้าง 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑔𝑦𝑎𝑠 𝑟𝑢𝑚𝑏𝑢𝑐ℎ𝑒𝑟𝑖 และ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑔𝑦𝑎𝑠 𝑝𝑜𝑟𝑖𝑜𝑛𝑖 โดยทั้ง 2 ชนิดนี้มีการแก้ไขชื่อใหม่เนื่องจากมีการศึกษาว่าทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่ใช่ชนิดเดียวกัน ย้ำ! ไม่ใช่ชนิดเดียวกัน ไม่ใช่แค่ชนิดย่อยต่างกัน แต่เป็นคนละชนิดกันเลยครับ เลยต้องแก้ไขชื่อแยกกัน
โดย 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑔𝑦𝑎𝑠 𝑟𝑢𝑚𝑏𝑢𝑐ℎ𝑒𝑟𝑖 ถูกแก้ไขชื่อให้เป็น 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑔𝑦𝑎𝑠 เฉย ๆ ไม่มีชื่อชนิดย่อยต่อท้ายเนื่องจากในชนิดนี้มีแค่ชนิดเดียวไม่มีชนิดย่อยแล้ว
ส่วน 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑔𝑦𝑎𝑠 𝑝𝑜𝑟𝑖𝑜𝑛𝑖 ที่ถูกศึกษาว่าไม่ใช่ชนิด 𝑀. 𝑔𝑦𝑎𝑠 แล้วจึงถูกแก้ไขให้เป็นอีกชื่อคือ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑡𝑦𝑝ℎ𝑜𝑛 𝑡𝑦𝑝ℎ𝑜𝑛
สรุปแล้ว
𝑀. 𝑔. 𝑟𝑢𝑚𝑏𝑢𝑐ℎ𝑒𝑟𝑖❌ ➡️ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑔𝑦𝑎𝑠 ✅
𝑀. 𝑔. 𝑝𝑜𝑟𝑖𝑜𝑛𝑖❌ ➡️ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑡𝑦𝑝ℎ𝑜𝑛 𝑡𝑦𝑝ℎ𝑜𝑛 ✅
ความแตกต่างทั้ง 2 ชนิด โดยแอดมินจะมีวิธีดูง่าย ๆ แค่ดูเขาล่างพอ (เฉพาะตัวผู้ฟอร์มกลาง-ใหญ่)
1. 𝑀. 𝑔𝑦𝑎𝑠 จะมีเขาที่สั้นหนา ฐานเขาแคบ แต่ปลายเขาบานกว้างออกเป็น 2 แฉก จนทำให้แฉกมองดูเหมือนรูปตัว U
2. 𝑀. 𝑡. 𝑡𝑦𝑝ℎ𝑜𝑛 จะมีเขาที่ยาวบาง ฐานเขากับปลายเขาขนาดไม่ต่างกันมาก ปลายเขามีแฉกแค่เล็กน้อยเท่านั้น และที่ใกล้ ๆ โคนเขาจะมีตุ่มแหลม ๆ ขึ้นมา โดยใน 𝑀. 𝑔𝑦𝑎𝑠 จะแทบไม่เห็น
*เป็นแค่การสังเกตของแอนมินเท่านั้น
ถ้าถามความคิดเห็นแอดมินว่าแล้วใช้ชื่อเดิมผิดไหม อันนี้แอดมินก็ตอบไม่ได้ มันไม่เชิง เพราะว่าคนในวงการเลี้ยงด้วงส่วนใหญ่ก็ยังใช้ชื่อเดิมกันและถ้าพูดชื่อเดิมหลายคนก็เข้าใจว่าคือตัวไหน ๆ กว่าที่จะพูดชื่อที่ถูกแก้ไขใหม่ แต่แอดมินคิดว่าควรใช้ชื่อที่ถูกแก้ไขใหม่ตามงานวิจัยนี้เพราะว่ามันเป็นด้วงคนละชนิด ควรใช้ชื่อที่ต่างกันออกไป
จริง ๆ แล้วมีอีก 2 ชนิดที่แอดมินไม่ได้เอามาพูดถึงในโพสต์นี้เนื่องจากเป็นชนิดที่หายาก และแทบไม่มีเลี้ยงในปัจจุบัน นั้นก็คือ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 ℎ𝑦𝑝𝑒𝑟𝑖𝑜𝑛 ที่ถูกค้นพบใหม่ และ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑔𝑦𝑎𝑠 𝑝𝑟𝑎𝑛𝑑𝑖𝑖 เลยขอเอาของแค่ 𝑀. 𝑔𝑦𝑎𝑠 และ 𝑀. 𝑡. 𝑡𝑦𝑝ℎ𝑜𝑛 ซึ่งพอมีคนรู้จักและคนเลี้ยงอยู่ในปัจจุบัน เอามาพูดก่อน

อ้างอิงจาก: https://zookeys.pensoft.net/article/53130/download/pdf/481548

สวัสดีครับ วันนี้จะมาเล่าถึงวงจรชีวิตด้วงกว่างช้างสำหรับการเลี้ยงและเพาะพันธุ์แบบคร่าว ๆ และจะมีการเสริมความรู้ให้ด้วย น...
07/12/2022

สวัสดีครับ วันนี้จะมาเล่าถึงวงจรชีวิตด้วงกว่างช้างสำหรับการเลี้ยงและเพาะพันธุ์แบบคร่าว ๆ และจะมีการเสริมความรู้ให้ด้วย นะครับ
ไข่จะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-5 สัปดาห์ ก่อนที่จะฟักเป็นตัวอ่อนระยะ L1 หลังจากนั้นประมาณ 3-5 สัปดาห์จะเข้าสู่ระยะ L2 และประมาณ 6-9 สัปดาห์จะเข้าสู่ระยะ L3 ซึ่งเป็นระยะตัวอ่อนที่นานที่สุดกินเวลาประมาณ 8-16 เดือน ก่อนที่จะเข้าสู่ระยะดักแด้ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนก่อนที่จะเป็นตัวเต็มวัย ในส่วนของตัวเต็มวัยที่เกิดมาจะอยู่ในช่วงที่เรียกว่า "ระยะพักตัว" ก่อน ซึ่งด้วงนั้นจะไม่ค่อยแอคทีฟและยังจะไม่ทานอาหาร โดยระยะพักตัวจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ หลักจากนั้นด้วงจะเริ่มแอคทีฟและทานอาหาร โดยอาหารสำหรับให้ด้วงทานนั้น ยกตัวอย่างเช่น ปีโป้ กล้วย และผลไม้อื่น ๆ ที่ปลอดสารพิษ ต้องให้ด้วงทานอาหารประมาณ 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจับมาผสมพันธุ์กันและให้ตัวเมียว่างไข่ได้ ตัวเต็มวัยจะอยู่ได้นานถึง 4-8 เดือน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่เราเลี้ยง ถ้าเลี้ยงด้วยอุณหภูมิที่ไม่ร้อน เช่น 22-28 C°ก็อาจจะอยู่ได้นาน แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านั้นก็อาจจะอายุสั้นลงมานิดหน่อย

ข้อควรรู้❗❗
1. ควรให้ด้วงทานอาหาร 3-4 สัปดาห์ หรือมากว่านั้นนิดหน่อย เพื่อให้ด้วงได้รับพลังงานที่เพียงพอไม่เช่นนั้นอาจทำให้ไข่ของด้วงฝ่อจนทำให้ไม่ได้หนอนได้
2.ตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์ แล้วกำลังว่างไข่จะมีชีวิตที่สั้นลงเนื่องจากสูญเสียพลังงานในการใช้ว่างไข่ (เป็นเรื่องปกติ)
ในส่วนที่กล่าวไปนั้นเป็นเพียงแค่วงจรชีวิตคร่าว ๆ ของด้วงกว่างช้างส่วนใหญ่ ถ้าพูดแบบง่าย ๆ ก็จะบอกว่าวงจรชีวิตด้วงกว่างช้างนั้นจากไข่ไปจนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 2 ปี ± ยกตัวอย่างชนิด เช่น กว่างช้างมาร์ กว่างช้างเผือก กว่างช้างไทฟ่อน กว่างช้างกีอาสหรือจียาส ช้างโนกุ แต่ก็มีบางชนิดที่วงจรชีวิต 3-4 ปี เช่น กว่างช้างแอคเตียน กว่างช้างจานัส บางชนิดก็วงจรชีวิตไม่นานมากแค่ 8-12 เดือน เช่น ช้างขนจิ๋ว ช้างพาเชโก
คำถาม ❓❓❓
1. ตัวอ่อนทานอะไร ?
ตอบ: อาหารด้วงกว่าง(แมท) จะเป็นแมทด้วงกว่างชนก็สามารถใช้เลี้ยงได้ หรือจะเป็นแมทคีมก็ใช้เลี้ยงได้เหมือนกันด้วงกว่างช้างอยู่ง่ายทานง่ายครับ

2. ตัวอ่อนเลี้ยงอุณหภูมิเท่าไหร่ ?
ตอบ: ช่วงอุณหภูมิที่ดีที่สุดคือ 26-28 C° แต่ก็สามารถเลี้ยงที่อุณหภูมิสูงกว่านี้ได้ เช่น 32 C°± เนื่องจากด้วงกว่างช้างเป็นด้วงที่ทนความร้อนได้ดี เคยได้ยินว่ามีบางท่านเลี้ยง 35 C° ก็สามารถอยู่ได้เช่นกัน

3. เลี้ยงความชื้นเท่าไหร่ ?
ตอบ: ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเลี้ยงที่ความชื้น 70-80 % กำลังดีครับ, ตัวอ่อนวัด %ความชื้นจากแมท และตัวเต็มวัยวัด %ความชื้นจากวัสดุรองพื้นที่ใช้เลี้ยง
ในระยะเต็มวัยถ้าเราเลี้ยงด้วยความชื้นมาก ๆ อาจทำให้ขาด้วงหลุดหรือขาดได้ง่ายก่อนระยะเวลาอันควร (ถ้าอายุด้วงมากแล้วขาหลุดจะเป็นเรื่องปกติ)

4. เลี้ยงตัวอ่อนใช้แมทปริมาณเท่าไหร่ ?
ตอบ:
ระยะL1 4oz ขึ้นไป /ตัว
ระยะL2 16oz ขึ้นไป /ตัว
ระยะL3 ตัวผู้ 5 ลิตรขึ้นไป /ตัว
ระยะL3 ตัวเมีย 3 ลิตรขึ้นไป /ตัว
สามารถไปจนถึงระยะดักแด้ได้เลย

จะให้ปริมาณมากกว่านี้ก็ได้นะครับ เพื่อให้หนอนได้มีพื้นที่มากขึ้น แต่ถ้าใครที่มีพื้นที่น้อยก็สามารถใช้เท่านี้ได้ ด้วงกว่างช้างจะใช้พื้นที่ในการทำโพรงน้อยกว่าด้วงกว่างหลายชนิด เช่น กว่างเฮอร์คิวลิส กว่างเนปจูน กว่างสามเขาคอเคซัส เนื่องจากเป็นด้วงที่ทำโพรงเขาไม่ยาว ไม่จำเป็นต้องยืดเขามากเหมือนชนิดอื่น ๆ จึงเป็นด้วงที่ใช้พื้นที่น้อยในการเลี้ยงกว่าด้วงกว่างชนิดอื่น ๆ

5. ใช้ดิน เลี้ยงแทนแมทได้ไหม ?
ตอบ: ขอตอบสั้น ๆ เลยว่า ไม่! ไม่ได้! ไปซื้อแมทครับถ้าคิดจะเลี้ยง ดินเป็นอนินทรีย์ไม่สามารถให้พลังงานได้นะครับ ไหนจะพวกเชื้อโรคกับปรสิตอีก แนะนำให้ซื้อแมทอย่างเดียวครับ

6. ต้องเปลี่ยนอาหารด้วงกว่างตอนไหน ?
ตอบ: มีหลักการดู 2 แบบ
1. เมื่อมีขี้ของด้วงในภาชนะเลี้ยงมากกว่า 50-60% ของอาหารที่เหลืออยู่ควรเปลี่ยน
2. ถ้าขี้ของด้วงยังไม่มาก แต่ระยะเวลาของอาหารด้วงกว่างใช้มานานแล้วกว่า 3 เดือนควรเปลี่ยน เนื่องจากอาหารด้วงกว่าง(ทั่วไป)มักเสียสภาพในระยะเวลาประมาณ 3 เดือน

แต่ปกติแล้วแอดมินแนะนำว่า 2-2.5 เดือนก็เปลี่ยนเลยก็ได้ครับ

7. ให้ด้วงทานอาหาร 3-4 สัปดาห์แล้วจับลงที่เพาะพันธุ์เลยได้ไหม หรือต้องรอไหม ด้วงกี่วันถึงจะไข่ ?
ตอบ: จับลงที่เพาะพันธุ์ได้เลยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรอ เนื่องจากด้วงทานอาหารมาอย่างเหมาะสมแล้ว และหลังจากจับลงในที่เพาะพันธุ์ไม่เกิน 24 ชม. ด้วงก็จะไข่แล้วครับ แต่ก็อาจจะแนะนำว่าถึงแม้ด้วงจะไข่แล้วแต่ก็ไม่ควรรื้อไข่มาดูสักเท่าไหร่ ให้รอประมาณ
2 สัปดาห์แล้วรื้อดู ถามต่อ!!! ทำไมต้อง 2 สัปดาห์ เพราะถ้าเรารื้อบ่อย ๆ รื้อตั้งแต่วันแรก ๆ เลย แล้วจับลงไปไข่ใหม่ ด้วงก็ต้องเสียพลังในการมุดลงไปว่างไข่หรือขุดโพรงว่างไข่บ่อยเป็นการเสียพลังงานมากเกินไป และถามต่ออีกว่า!!! ไม่รื้อได้ไหม ส่วนตัวผมแนะนำให้รื้อ 2 สัปดาห์หลังจากจับลงที่เพาะพันธุ์อย่างที่บอกไป เพราะว่าเราควรเช็คว่าได้ไข่ไหม ถ้าไม่ได้เราก็จะมาหาทางแก้ไขต่อ ดังนั้นระยะเวลา 2 สัปดาห์จึงเหมาะสมในทั้ง 2 ทางอย่างที่บอกไป แล้วถามต่ออีก!!! หลังจากรื้อไข่ดู 2 สัปดาห์แล้วทำไงต่อ คำตอบก็คือจับลงไข่ใหม่แล้วให้ทิ้งยาวไป 1 เดือนแล้วค่อยรื้อดูอีกครั้ง ที่ไม่รื้อทุก ๆ 2 สัปดาห์ก็เพราะว่าด้วงจะมีอัตราไข่เยอะในช่วง 2 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นอัตราจะไข่น้อยลงตามมาระยะเวลา ดังนั้น 1 เดือนจึงเหมาะสม (แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน ที่กล่าวไปเป็นวิธีที่แอดมินคิดว่าดีที่สุดแล้ว)

8. จัดที่เพาะพันธุ์อย่างไร ใช้ที่เพาะแบบไหน ?
ตอบ: ใช้ภาชนะที่มีฝาปิดเพื่อไม่ให้ด้วงบินหนีออกไป และเจาะรูที่ฝาเพื่อให้มีอากาศถ่ายเท เป็นภาชนะทรงสีเหลี่ยมหรือทองกระบอกก็ได้ ความกว้าง ความยาว ความสูง ซักด้านละ 30 ซม. หรือ 1 ไม้บรรทัด ใช้แมทเทลงไปในภาชนะให้แบ่งเป็น 2 ชั้น โดยชั้นล่างให้กดแมทลงไปให้ได้ประมาณ 15-20 ซม. กดแมทที่ว่าให้กดลงไปพอดี ๆ ไม่ต้องแน่นมาก
ชั้นบนไม่ต้องกดแมทเทลงไปเฉย ๆ 5-10 ซม.
ที่ต้องกดให้นึกง่าย ๆ ว่าจำลองที่ว่างไข่ตามธรรมชาติที่พวกดินและเศษซากชั้นล่างจะแน่นกว่าชนบน
เหลือช่องว่างด้านบนไว้นิดหน่อยเพื่อว่างอาหารให้ด้วงขึ้นมาทานเพื่อเพิ่มพลังงานได้ ควรว่างวัสดุกันด้วงหงายท้องไว้บนชั้นบนสุด เพื่อด้วงขึ้นมาทานอาหารจะได้ไม่หงายท้อง เช่น เศษเปลือกไม้ กิ่งไม้ หรือตะแกรงที่คิดว่าด้วงสามารถเกาะได้อย่างสะดวก
จะเห็นได้ว่าด้วงกว่างช้างนั้นเป็นชนิดที่เลี้ยงง่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์เสริมมาเพื่อคุมอุณหภูมิเหมือนชนิดอื่น ๆ ที่ต้องการความเย็น เลี้ยง 32 C° ยังได้ ทั้งการใช้พื้นที่ในการเลี้ยงตัวอ่อนไปจนถึงระยะดักแด้ก็ใช้ไม่มากเหมือนชนิดอื่นที่มีเขายาว แถมยังเป็นชนิดที่ทานอาหารได้ง่ายไม่เรื่องมาก สามารถเลี้ยงโดยไม่ใช้งบประมาณที่สิ้นเปลือก ท้ายที่สุดอยากแนะนำให้มาเลี้ยงด้วงกว่างช้างกันครับ 🦣

18/11/2022

สวัสดีครับ ต่อจากโพสต์ที่แล้วจะมาบอกวิธีการร่อนแมท และพรวนแมทให้สามารถใช้งานแมทได้เร็วมากขึ้น ในกรณีที่แมทมีความร้อนสะสม (สามารถทำตามคลิปวิดีโอได้เลยครับ)

สวัสดีครับ วันนี้จะมาเล่าวิธีพักอาหารด้วงกว่าง(แมท) ยังไงให้เหมาะสมสำหรับใช้ทั้งว่างไข่และเป็นอาหารให้แก่ตัวอ่อนของเราลั...
18/11/2022

สวัสดีครับ วันนี้จะมาเล่าวิธีพักอาหารด้วงกว่าง(แมท) ยังไงให้เหมาะสมสำหรับใช้ทั้งว่างไข่และเป็นอาหารให้แก่ตัวอ่อนของเรา
ลักษณะแมทที่จะใช้ว่างไข่หรือให้เป็นอาหารตัวอ่อนของด้วงกว่าง พื้นฐานเราน่าจะรู้กันอยู่แล้วก็คือได้ที่ซื้อมาแล้วไม่ว่าจะเป็นแบบผสมน้ำมาแล้วหรือแบบแห้งแล้วเอามาผสมน้ำให้พอดีพอหมาดๆ วิธีเช็คพื้นฐานก็คือ
1. ใช้มือกำแมทแล้วเป็นก้อน หากไม่เป็นก้อนแปลว่าแห้งไป (รูปภาพที่ 1)
2. ต้องไม่มีน้ำไหลออกมาเวลากำ ถ้ามีน้ำไหลออกมาแปลว่าเปียกไป
ต้องชื้นพอดี ๆ อันนี้เราน่าจะรู้กันดีอยู่แล้วเป็นพื้นฐาน แต่เราต้องเข้าใจต่ออีกว่าทำแบบนี้แล้ว แมทจะยังไม่พร้อมใช้เนื่องจากแมทจะมีการคายความร้อนออกมา ไม่ว่าจะเป็นแมทแห้งที่ผสมน้ำ หรือแมทที่ผสมน้ำมาแล้วที่จะมีความร้อนสะสมมาจากระยะเวลาของการขนส่ง
หลังจากทำแมทให้มีความชื้นที่เหมาะสมดังที่กล่าวไปข้างต้น ขั้นตอนต่อมาก็คือการพักแมทที่เราจะพูดถึงเป็นหลัก การพักแมททำเพื่อให้ความร้อนในแมทหรือความร้อนที่สะสมอยู่ในแมทหายออกไป
เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียที่ตามมา เช่น โรคต่าง ๆ ที่อาจจะทำให้หนอนลอกคราบไม่ผ่านและทำให้ตัวอ่อนตายในที่สุด หรือตัวอ่อนตายเพราะอุณหภูมิสูงเกินกว่าช่วงที่จะทนได้, ตัวอ่อนน้ำหนักลด หรือไม่ทานอาหาร และในกรณีการใช้ว่างไข่ก็อาจจะทำให้ไข่ฝ่อจนทำให้ไม่ได้หนอน
แล้วเราต้องพักแมทกี่ชั่วโมง กี่วัน ถึงจะสามารถใช้ได้ แอดมินมีวิธีที่แน่นอน ชัวร์ และสามารถใช้แมทได้เร็วที่สุด โดยให้เราต้องมีอุปกรณ์วัดอุณหภูมิแบบดิจิตอลที่สามารถวัดอุณหภูมิในเนื้อแมทได้ จะเป็นแบบไหนก็ได้แต่ที่แอดมินใช้จะเป็นตาม (รูปภาพที่ 4) ราคาไม่แพง หาซื้อตามร้านค้าทั่วไป หรือในแอพ Shoppe
เอาละมาพูดวิธีการกันสักที หลังจากผสมแมทหรือทำแมทให้ชื้นพอดี ให้เราใช้ที่วัดอุณหภูมิวัดอุณหภูมิอากาศ และวัดอุณหภูมิแมท อุณหภูมิที่แมทต้องต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศ 1.5 - 2 C° ลงมาถ้าสูงกว่าแปลว่าแมทยังคายความร้อนอยู่ ต้องเข้าใจว่าแมทที่ผสมน้ำมันต้องเย็นกว่าอุณหภูมิอากาศถ้าไม่มีการคายความร้อน สังเกตจาก (รูปภาพที่ 2) เป็นรูปภาพที่ถ่ายเมื่อผสมแมทกับน้ำให้พอดีไปแล้ว 2 วัน หรือ 48 ชั่วโมง แต่แมทยังไม่พร้อมใช้เนื่องจากมีการคายความร้อนอยู่ และ (รูปภาพที่ 3) คือรูปภาพในวันที่ 3 หรือ 72 ชั่วโมง จะสังเกตได้ว่าแมทพร้อมใช้งานแล้ว เนื่องจากอุณหภูมิแมทต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศ นั้นแปลว่าแมทคายความร้อนออกไปหมดหรือเกือบจะหมดและสามารถใช้ได้
*บางครั้ง 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมงหลังจากพักแมทอาจใช้งานได้เลย ทั้งนี้มันขึ้นกับสภาพแวดล้อมในสถานที่พักแมทของเรา เช่น สถานที่สำหรับพักแมท, อุณหภูมิในช่วงนั้น, ภาชนะที่ใช้พักแมทนั้นกว้างแค่ไหน? อากาศจะถ่ายเทได้แค่ไหน?, แมทเราเป็นแมทแบบแห้งหรือแบบผสมน้ำมาอยู่แล้ว ถ้าแบบแห้งอาจจะใช้ระยะเวลานานกว่า อย่างการทดลองนี้แอดมินก็ใช้แมทแห้งจึงใช้เวลา 3 วัน ถ้าเป็นแมทผสมน้ำมาแล้วก็อาจจะเร็วกว่านี้
*ภาชนะในการพักแมท ควรจะเป็นภาชนะฝาเปิดเผื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี และมีอีก 1 วิธีที่จะช่วยทำให้แมทคายความร้อนได้เร็ว เดี๋ยวจะลงคลิปต่อจากโพสต์นี้ให้ครับ มันคือการ "ร่อนแมท และพรวนแมท"
*การใช้มือสัมผัสและกะเอาว่าแมทพร้อมใช้แล้วอาจไม่ถูกต้อง เพราะว่าช่วงอุณหภูมิแมทกับอากาศอาจจะไม่ต่างกันมากและแมทอาจจะยังคายความร้อนไม่หมด เช่น อุณหภูมิแมท 28 C° อุณหภูมิอากาศ 27 C° มันต่างกันแค่ 1 C° การใช้ความรู้ในการวัดอาจไม่เที่ยงตรงเท่าการใช้เครื่องมือ
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นวิธีที่แอดมินค้นพบส่วนตัวเท่านั้น และในส่วนของการผสมน้ำกับแมทให้พอดีสำหรับใช้ สำหรับมือใหม่ที่ไม่รู้จริง ๆ สามารถสอบถามเพิ่มเติมหรือสอบถามตามกลุ่มที่ให้ความรู้เรื่องการเพาะด้วงต่าง ๆ ได้ หรือสามารถค้นดูใน YouTube ก็มีเช่นกัน
แต่วิธีการพักแมทที่ผมเล่าไปข้างต้นผมไม่เคยเห็นใครมาแชร์วิธีการแบบนี้เลย ส่วนใหญ่ที่เห็นก็บอกแค่พักไว้ 1 วันบ้าง 3 วันบ้าง แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดเพิ่มเติมสักเท่าไหร่ เลยอยากจะมาแชร์เป็นข้อมูลให้แก่คนที่ไม่รู้ หวังว่าโพสต์นี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่อ่านนะครับ

สวัสดีครับ วันนี้รื้อไข่ของด้วงช้างโนกุที่ลงเพาะไปเมื่อเดือนที่ผ่านมา ปรากฏว่าเป็นหนอนแล้วครับชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑛...
29/10/2022

สวัสดีครับ วันนี้รื้อไข่ของด้วงช้างโนกุที่ลงเพาะไปเมื่อเดือนที่ผ่านมา ปรากฏว่าเป็นหนอนแล้วครับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑛𝑜𝑔𝑢𝑒𝑖𝑟𝑎 Morón, 2005
พ่อขนาด 97 mm.
แม่ขนาด 66 mm.
รุ่น CBF3
เกิด 10/65
ได้หนอนมาจำนวนหนึ่ง ก็คือว่าเพาะด้วงกว่างช้างสำเร็จไปอีก 1 ชนิด ชนิดต่อไปจะเป็นอะไรรอติดตามได้เลยครับ🦣

สวัสดีครับ วันนี้มีโอกาสทำการผสมพันธุ์ด้วงช้างโนกุชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑛𝑜𝑔𝑢𝑒𝑖𝑟𝑎 Morón, 2005ผู้ขนาด 97 mm. เมียขนาด 6...
22/09/2022

สวัสดีครับ วันนี้มีโอกาสทำการผสมพันธุ์ด้วงช้างโนกุชื่อวิทยาศาสตร์ 𝑀𝑒𝑔𝑎𝑠𝑜𝑚𝑎 𝑛𝑜𝑔𝑢𝑒𝑖𝑟𝑎 Morón, 2005
ผู้ขนาด 97 mm.
เมียขนาด 66 mm.
เวลาในการผสม 25 นาที โดยประมาณ
ให้ตัวผู้ท่านอาหาร 10 วัน
ให้ตัวเมียทานอาหาร 25 วัน
มีเรื่องหน้าขำจะบอกคือ วันแรกที่ซื้อด้วงมาตัวเมียหลุดออกจากกล่องเลี้ยงหายไป แต่โชคดีไปเจอเกาะอยู่หลอดไฟตรงถนน ก่อนจะหาเจอทำแอดมินหงอยไปทั้งวันเลยครับ 🤣
ชนิดนี้ถือว่ามีคนเพาะน้อย และเป็นชนิดสุดท้ายที่ผมจะเพาะในปีนี้ เนื่องจากจะไปรับใช้ชาติในเดือนหน้า น่าจะจับลงไข่ได้นิดหน่อย แต่ก็อยากจะเพาะเพราะว่าใจมันรักในการเพาะด้วงช้างไงละครับ อิอิ! 🦣

สวัสดีครับ ได้มีโอกาสจัดทำวิดีโอตามหาด้วงในมหาวิทยาลัยเชียง ไปรบชมกันได้ครับ เจอด้วงมากมายกันเลยทีเดียว อาทิเช่น ด้วงกว่...
20/12/2021

สวัสดีครับ ได้มีโอกาสจัดทำวิดีโอตามหาด้วงในมหาวิทยาลัยเชียง ไปรบชมกันได้ครับ เจอด้วงมากมายกันเลยทีเดียว อาทิเช่น ด้วงกว่างซางเหนือ ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝐸𝑢𝑝𝑎𝑡𝑜𝑟𝑢𝑠 𝑔𝑟𝑎𝑐𝑖𝑙𝑖𝑐𝑜𝑟𝑛𝑖𝑠 Arrow, 1908 และด้วงคีมร่องเก่า ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝐴𝑒𝑔𝑢𝑠 𝑐ℎ𝑒𝑙𝑖𝑓𝑒𝑟 Macleay, 1819

#ด้วงกว่าง #กว่างชน #แมงคามกล้องสั่นๆต้องขออภัยด้วยนะครับ พึ่งหัดทำครับ5555ถ้ามีข้อผิดพลาดอะไร ก็ขออภัยด้วย....

20/12/2021

ที่อยู่

Chiang Mai

เบอร์โทรศัพท์

+66927912717

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Big Beetle Breederผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

  • Petz World Chiang Mai

    Petz World Chiang Mai

    63 19/8 ถ. อารักษ์ พระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่

บริการสำหรับสัตว์เลี้ยง อื่นๆใน Chiang Mai

แสดงผลทั้งหมด