02/04/2024
หัวใจสำคัญในการเริ่มเลี้ยงกระต่าย
https://www.facebook.com/share/p/vh9vE8f1DbL9MXCP/?mibextid=WC7FNe
การเลี้ยงลูกกระต่ายอายุก่อนหย่านม (น้อยกว่า 45 วัน )
โดย ผศ.น.สพ.ดร.สมโภชน์ วีระกุล (อาจารย์แก้ว).....
จากการวิจัยพบว่าลูกกระต่ายอายุน้อยเหล่านี้จะมีอัตราการตายสูงกว่าร้อยละ 70 สรุปคือซื้อวันนี้ อีกสามสี่วันก็ตายกันจำนวนมาก จนมีสถิติที่เราพบกระต่ายเข้าทำการรักษาในเดือนกุมภาพันธ์สูงที่สุดในรอบปี และหายไปเกือบหมดในเดือนถัดมา แม้ว่าจะเข้าสู่กระบวนการรักษาแล้วแต่ก็ยังตายอยู่ เพราะลูกกระต่ายนั้นเปราะบางมาก อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงให้รอดนั้นยังมีวิธี
สิ่งที่เป็นปัญหาแบบคร่าวๆ..
1.นมของแม่กระต่ายมีคุณสมบัติมีระดับของกรดไขมันจำเป็นสูงเรียกว่า “milk oil” มิลค์ออยด์นอกจากจะเป็นแหล่งพลังงานที่ดี ยังเป็นตัวช่วยต้านเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี หากขาดตัวนี้ไปหรือหย่านมไว ลูกกระต่ายย่อมเสี่ยงต่อการถูกคุกคามด้วยเชื้อโรค
2.น้ำนมมีความเป็นด่าง และเชื้อแบคทีเรียก่อโรคก็ชอบอาศัยได้ดีในทางเดินอาหารที่เป็นด่าง แต่ตายในทางเดินอาหารที่เป็นกรด เมื่อน้ำนมเป็นด่างจึงเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อเป็นอย่างดี แต่น้ำนมแม่กระต่ายมีสารต้านเชื้อยู่ จึงเป็นตัวคอยช่วยลูกกระต่ายให้อยู่รอด
3.การได้กินมูลอ่อน หรือซีโคโทรป ที่มีลักษณะคล้ายพวงองุ่นเพราะมูลอ่อนจะเป็นก้อนเล็กๆ จะรับจากแม่กระต่ายในขณะที่ลูกกระต่ายเริ่มหัดกินอาหาร ในมูลอ่อนนั้นอุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันสูงมากพอที่จะเป็นพลังงานที่ดี และสามารถย่อยได้ที่กระเพราะอาหาร และยังเป็นวิตามินและแร่ธาตุจำเป็นหลายอย่าง แต่หากทำการหย่านมก่อน อาหารที่ลูกกระต่ายได้รับที่นิยมกันคืออาหารเม็ด ซึ่งไม่ใช่อาหารที่เหมาะสม เพราะกลับมีแป้งมากเกินไป พวกนี้จะไปหมักที่กระเพราะหมัก จะย่อยไม่ได้ ทำให้เกิดอาการท้องอืด และเกิดการอักเสบตามมา ลูกระต่ายจึงตาย
4.,ลูกกระต่ายมาจากแหล่งที่มีการติดเชื้อ ที่พบอยู่เสมอคือเชื้อบิด ซึ่งเป็นกลุ่มโปรโตซัว พวกนี้คอยทำลายทางเดินอาหาร และจะรุนแรงและทำให้ถึงตายได้ ถ้าไม่ตายก็แคระแกร็น
5ลูกกระต่ายที่หย่านมเร็ว มักได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม หรือ นมทดแทนต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากใช้แบบไม่เข้าใจ จะทำให้ลูกกระต่ายเกิดลำไส้อักเสบและตายได้..
"เมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น แบบว่าตายแน่ๆ แต่อยากจะรอดล่ะ".
1.ลูกกระต่ายควรได้รับการตรวจสุขภาพเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น การตรวจมูลเพื่อหาเชื้อโรค เช่น บิด หรือดูปัจจัยเสี่ยงต่อการตายจากโรคระบบทางเดินอาหาร หากพบเชื้อให้เริ่มทำการกำจัดเชื้อนั้นๆเลย
2.ทำการเสริมจุลชีพ ที่สำคัญ ในการช่วยป้องกันเชื้อก่อโรค และช่วยให้ลูกระต่ายเริ่มปรับตัวเข้าสู่ระบบการย่อยอาหารได้ตั้งแต่ช่วงแรกๆของการกินอาหาร เสมือนได้กรับจุลชีพจากมูลอ่อนของแม่ แนะนำ BUNNY ENZYME
3.ทำการป้อนนมทดแทนที่มีระดับไขมันสูง เดิมทีเราใช่พวก Esbilac หรือ KMR ซึ่งเป็นน้ำนมทดแทนที่ดีมากในสุนัขและแมว ตามลำดับ
4.การเริ่มต้นกินพืช มักเริ่มด้วยการให้กินอัลฟัลฟ่า เพราะให้แคลเซียม อัลฟัลฟ่าเป็นพืชที่ช่วยในการบัฟเฟอร์ระดับกรดด่างในทางเดินอาหารหรือกระเพราะหมักให้อยู่ในระดับปกติ และต่อต้านเชื้อได้ดี
5.การให้อาหารเม็ด แม้ว่าลูกกระต่ายจะเริ่มกินอาหารได้ตั้งแต่ 3 สัปดาห์ แต่การเริ่มต่นการทำงานในระบบ ยังไม่แข็งแรงพอที่จะนำอาหารไปหมักและใช้อย่างสมบูรณ์ ระยะนี้จึงให้หัดกินหรือกินในปริมาณที่น้อยมากให้พอดีต่อการย่อย ควรเลือกอาหารที่มีระดับกากอาหารสูงกว่าร้อยละ 20 และทำมาจาก อัลฟัลฟ่าเป็นหลัก
6.ไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจระดับของจุลชีพ ที่เป็นประโยชน์จกามูล เพราะกระต่ายที่ปลอดภัยจริงๆจะมีระดับของจุลชีพในทางเดินอาหารสูง การไปตรวจซ้ำจะช่วยยืนยันว่าลูกกระต่ายปลอดภัยแล้ว
.
#อาหารสัตว์ #อาหารกระต่าย