Nuk Anong Music Studio

Nuk Anong Music Studio ข้อมูลการติดต่อ, แผนที่และเส้นทาง,แบบฟอร์มการติดต่อ,เวลาเปิดและปิด, การบริการ,การให้คะแนนความพอใจในการบริการ,รูปภาพทั้งหมด,วิดีโอทั้งหมดและข่าวสารจาก Nuk Anong Music Studio, คาเฟ่สัตว์เลี้ยง, 559/27 หมู่ 6 ตำบลสันทราย อำเภอเมือง, Chiang Rai.

🎶 บริการสอนดนตรีทั้งรูปออนไซต์-ออนไลน์
🎸ส่งตรงครูถึงหน้าบ้าน
🎻ติวสอบเข้ามหาวิทยาลัยดนตรีและสอบเกรดทุกรูปแบบ
🎼 บริการวงเครื่องสายสำหรับอีเวนท์
🎷ทีมเรียบเรียงเสียงประสาน 🎹
🐱 คาเฟ่แมวและชิบะ พร้อมบริการเครื่องดื่มในบรรยากาศสุดชิล 🐕

11/12/2024

Autumn ของ Vivaldi: บทเพลงที่เป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 18

Autumn ของ Antonio Vivaldi ไม่ได้เป็นเพียงบทเพลงที่เล่าถึงฤดูใบไม้ร่วงเท่านั้น แต่ยังเป็นหน้าต่างที่เปิดให้เราได้เห็นถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวอิตาลีในช่วงศตวรรษที่ 18 เนื่องจากบทเพลงนี้มีบทกวีประกอบอยู่ในโน้ตเพลงจึงทำให้เราไม่ได้ยินแค่เสียงเพลงที่ไพเราะ แต่เรายังได้เห็นภาพของการเฉลิมฉลอง ความสุข การล่าสัตว์ และความเงียบสงบของค่ำคืนที่เต็มไปด้วยความอ่อนโยนของฤดูกาลเก็บเกี่ยว

#เรียนดนตรีกับครูโน้ต

Follow us on Facebook, TikTok, Youtube & IG : Nuk Anong Music Studio

09/12/2024

🎶✨ Beethoven กับ Napoleon: จากความหวังสู่อุดมคติที่แตกสลาย ✨🎶

หลายคนอาจจะทราบว่าต้นฉบับบทเพลงของ Beethoven มักเต็มไปด้วยรอยขีดฆ่าที่สะท้อนถึงความเป็น perfectionist ของเขา ไม่ถูกใจตรงไหน ก็ขีดฆ่าแก้ใหม่อยู่เสมอ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าครั้งหนึ่ง Beethoven โกรธจัดจนถึงขั้นขีดฆ่าชื่อบทเพลงที่เขาตั้งใจตั้งไว้และเปลี่ยนเป็นชื่อใหม่แทน?

#เรียนดนตรีกับครูโน้ต

Follow us on Facebook, TikTok, Youtube & IG : Nuk Anong Music Studio

✨ใกล้คริสต์มาสแล้ว! มาร่วมดื่มด่ำไปกับมนต์เสน่ห์ของ The Nutcracker ผลงานระดับโลกโดย Tchaikovsky ที่กลับมาสร้างความประทับ...
08/12/2024

✨ใกล้คริสต์มาสแล้ว! มาร่วมดื่มด่ำไปกับมนต์เสน่ห์ของ The Nutcracker ผลงานระดับโลกโดย Tchaikovsky ที่กลับมาสร้างความประทับใจทุกปี และนี่คือเรื่องราวความน่าประทับใจของ The Nutcracker✨

🎄 เรื่องนี้เริ่มต้นกันที่งานเลี้ยงคริสต์มาสของครอบครัว Silberhaus�ที่บ้านของ Clara Silberhaus (เด็กสาวผู้รักการผจญภัย) และ Fritz (น้องชายจอมซน) มีการจัดงานเลี้ยงคริสต์มาสที่เต็มไปด้วยบรรยากาศสนุกสนาน ครอบครัวและเพื่อนๆ มาร่วมฉลองและมอบของขวัญกัน

เมื่อ Herr Drosselmeier (ลุงนักประดิษฐ์ผู้ลึกลับ) มาถึง เขาสร้างความตื่นเต้นให้กับเด็กๆ ด้วยของเล่นสุดวิเศษ รวมถึง ตุ๊กตา Nutcracker ที่ Clara หลงรักทันที แต่ Fritz ด้วยความอิจฉา ก็เผลอทำตุ๊กตาพัง โชคดีที่ Drosselmeier ซ่อมให้ได้

🕰️ เที่ยงคืนที่เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์�หลังงานเลี้ยงจบลง Clara แอบกลับมาหา Nutcracker แต่สิ่งที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น! บ้านทั้งหลังและต้นคริสต์มาสขยายใหญ่ขึ้นอย่างมหึมา และเหล่าหนูจอมซนปรากฏตัวออกมาเต็มห้อง
Herr Drosselmeier ใช้เวทมนตร์ทำให้ Nutcracker กลายเป็นเจ้าชาย (Nutcracker Prince) และช่วย Clara ต่อสู้กับเหล่าหนูนำโดย Mouse King (ราชาหนูสุดน่ากลัว) จน Clara กลายเป็นผู้ช่วยชีวิตเจ้าชายได้สำเร็จ!

❄️ การเดินทางสู่ป่าหิมะ
�หลังชนะศึก Nutcracker Prince พา Clara เดินทางผ่านป่ามหัศจรรย์ พบกับ Snow Queen และ Snowflakes ที่ออกมาร่ายรำต้อนรับ ทั้งสองเดินทางต่อไปยังดินแดนแห่งขนมหวาน

🍬ในช่วงองค์ที่สองนั้นเป็นดินแดนแห่งขนมหวาน (Kingdom of the Sweets)
�ในอาณาจักรที่เต็มไปด้วยเมฆหมอกและความหวาน Sugar Plum Fairy (นางฟ้าผู้ดูแลอาณาจักร) ต้อนรับ Clara และ Nutcracker Prince อย่างอบอุ่น
เพื่อเป็นการขอบคุณที่ Clara ช่วยชีวิตเจ้าชายไว้ เหล่าขนมจากทั่วโลกจึงออกมาแสดงโชว์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ

* Spanish Chocolate: การเต้นเร่าร้อนแบบสเปน
* Arabian Coffee: ท่วงท่าเย้ายวนแห่งตะวันออกกลาง
* Chinese Tea: การแสดงอันน่ารักสดใสแบบจีน
* Russian Troika: การเต้นที่เต็มไปด้วยพลังจากรัสเซีย
* Dewdrop และดอกไม้: การร่ายรำวอลทซ์ที่แสนงดงาม

💖 ฉากสุดท้าย
�Sugar Plum Fairy และ Nutcracker Prince ร่วมกันแสดง Grand Pas de Deux ซึ่งเป็นการเต้นรำคู่ที่สง่างามเพื่อมอบเกียรติให้ Clara ก่อนที่เธอจะเริ่มต้นการเดินทางกลับบ้าน

และเมื่อ Clara ตื่นขึ้นมาอีกครั้งบนโซฟาที่บ้าน เธอพบว่าทั้งหมดอาจเป็นเพียงความฝัน… หรือว่าเป็นเรื่องจริง?

🎄 ขอให้ทุกท่านมีความสุขในช่วงเทศกาลคริสต์มาสอันอบอุ่นนี้ เต็มไปด้วยความรัก เสียงหัวเราะ และความทรงจำที่งดงามครับ 🩰✨

#เรียนดนตรีกับครูโน้ต

Follow us on Facebook, TikTok, Youtube & IG : Nuk Anong Music Studio

ที่มา

https://www.bostonballet.org/stories/the-nutcracker-synopsis/

🎶 Castrato: เสียงสวรรค์ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยน้ำตาและความเจ็บปวด 🎶คุณอาจเคยได้ยินชื่อของ Castrato หรือ "นักร้องชายที่ถูกตอน...
06/12/2024

🎶 Castrato: เสียงสวรรค์ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยน้ำตาและความเจ็บปวด 🎶


คุณอาจเคยได้ยินชื่อของ Castrato หรือ "นักร้องชายที่ถูกตอน" เสียงที่งดงามดุจสวรรค์นี้เคยเป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์แบบทางดนตรี แต่ราคาที่ต้องจ่ายนั้นน่าสะพรึงกลัว และนี่คือเรื่องราวของเสียงที่ถูกสร้างขึ้นจากการแลกด้วยอนาคตของเด็กชายหลายพันคน... 😢🎶

Castrato คือชายที่ถูกตอน (ผ่าตัดนำอัณฑะออก) ก่อนเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ การผ่าตัดนี้ทำให้เสียงของพวกเขาไม่เปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ และเมื่อร่างกายเติบโตขึ้น พวกเขายังคงเสียงโซปราโนหรืออัลโต แต่มันจะมีความเต็มไปด้วยพลังและความลึกที่ธรรมชาติไม่สามารถมอบให้ได้
เนื่องจากการตอนตั้งแต่วัยเด็กจะทำให้ขาดฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) และ Estrogen ทำให้กระดูกไม่หยุดยาว ซึ่ง Castrato จึงมีรูปร่างสูงโปร่งเกินธรรมดา และมีซี่โครงที่ใหญ่กว่าปกติทำให้พวกเขามีความจุปอดมหาศาล 💨 สามารถร้องลากเสียงได้ยาวนานจนคนฟังเหมือนต้องกลั้นหายใจไปด้วย

ในศตวรรษที่ 17-18 การมีลูกชายเป็น Castrato เปรียบเหมือนการถูกรางวัลใหญ่ในชีวิต คือถ้าลูกดัง ครอบครัวจะมีฐานะร่ำรวยทันที 💰 แต่เด็กชายเหล่านี้ไม่มีทางเลือกเลย พวกเขาจะถูกตอนตั้งแต่อายุ 7-10 ปี
หลายครอบครัวสร้างเรื่องราวปลอมๆ เช่น เด็กตกจากหลังม้าหรือถูกหมูป่าทำร้าย เพื่อปกปิดเรื่องพาลูกไปตอน เพราะสมัยก่อนจริงๆแล้วการผ่าตัดแบบนี้มันผิดกฎหมายและมักจะทำโดยหมอเถื่อนในสภาพที่ไม่ปลอดเชื้อ ผลลัพธ์คือไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะรอดชีวิต... 😔�สำหรับคนที่รอด พวกเขาต้องแบกรับชะตากรรมอันโหดร้าย ต้องฝึกฝนเสียงของตนอย่างหนักหน่วง เพื่อไม่ให้ความเสียสละของพวกเขาและครอบครัวสูญเปล่า 🥺


Castrato เป็นที่นิยมในยุคบาโรคมาก 🎭 Farinelli หนึ่งใน Castrato ที่เซเลปมาก มีช่วงเสียงตั้งแต่ A ที่ต่ำกว่า middle C จนถึง D สองอ็อกเทฟจาก middle C 🎶 และเขาก็สามารถลากเสียงได้ยาวมาก 🕊️ จนนักวิจารณ์ในยุคนั้นบอกว่าแค่ฟังเขาร้องก็เหมือนได้ขึ้นสวรรค์แล้ว ☁️


แต่แม้ว่าเสียงของ Castrato จะยิ่งใหญ่เพียงใด ก็เริ่มเสื่อมความนิยม ช่วงต้นศ.ที่ 19 โลกก็เริ่มตั้งคำถามกับเกี่ยวกับจริยธรรมเบื้องหลัง เริ่มมีคนเทคแอคชันเรื่องกฎหมาย ทางศาสนจักรก็ให้เด็กชายมาร้องในโบสถ์แทน castrato เพราะมองว่าไม่เหมาะสมกับค่านิยมทางศาสนาและมนุษยธรรม จนกระทั่ง Castrato คนสุดท้ายของโลก “Alessandro Moreschi” ลองเปิดยูทูปเสิร์ชชื่อเค้าดูได้เลยเรามีการบันทึกเสียงของเค้าหลงเหลืออยู่นะครับ 📹


เสียงของ Castrato เป็นเครื่องเตือนใจว่า ความงดงามของศิลปะไม่ควรถูกสร้างจากบนทุกข์ของใคร ทุกวันนี้ เรามี Countertenor ที่สร้างเสียงอันไพเราะด้วยวิธีธรรมชาติ และพวกเขายังช่วยนำบทเพลงของ Castrato ในอดีตกลับมามีชีวิตอีกครั้ง แล้วเองคุณเคยได้ยินเสียง Castrato หรือ Countertenor กันไหมครับ ชอบเสียงแบบไหนอย่างไรบ้าง มาแชร์กันได้เลย 💬

#เรียนดนตรีกับครูโน้ต

Follow us on Facebook, TikTok, Youtube & IG : Nuk Anong Music Studio

ที่มา

https://www.classicfm.com/discover-music/what-is-a-castrato/

The dynamics of bone structure development during pubertal growth
https://ismni.org/jmni/pdf/47/01RAUCH.pdf

Concerted actions of insulin‐like growth factor 1, testosterone, and estradiol on peripubertal bone growth: A 7‐year longitudinal study

https://academic.oup.com/jbmr/article-abstract/26/9/2204/7597917?redirectedFrom=fulltext&login=false&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1rPS7qh853IX1iHk87sf94eO8FO-UX-ekdM6YMpjY17ANaEo3t3567ovs_aem_z2thoU-1rL51QsFkLLQmkg

ROLE OF CASTRATION BEFORE OR AFTER PUBERTY ON S*X DIFFERENCES IN GROWTH AND LONGEVITY IN UM-HET3 MICE

https://academic.oup.com/innovateage/article/7/Supplement_1/553/7488851?login=false&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1rPS7qh853IX1iHk87sf94eO8FO-UX-ekdM6YMpjY17ANaEo3t3567ovs_aem_z2thoU-1rL51QsFkLLQmkg

05/12/2024

🎩✨ วิกผมสีขาว: สัญลักษณ์ของสถานะในยุคสมัยจากหลุยส์ที่ 14 ถึงโมสาร์ท 🎶👑

หลายคนอาจสังเกตเห็นว่าในภาพวาดของ Bach, Haydn, Mozart หรือภาพวาดจากยุคนู้น ทุกคนดูเหมือนจะมีผมสีขาวใช่มั้ยครับ แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้วนั่นคือ "วิก" ไม่ใช่ผมจริง! และนี่คือเรื่องราวของการสวมใส่วิกสีขาวที่เป็นเทรนด์แฟชั่นสุดฮิตที่มาเร็วและไปเร็วในช่วงศตวรรษที่ 17-18

#เรียนดนตรีกับครูโน้ต

Follow us on Facebook, TikTok , Intagram & Youtube : Nuk Anong Music Studio

04/12/2024

🎄✨ Christmas Medley by M&N's Duo 🎶

เทศกาลสุดพิเศษกำลังใกล้เข้ามาแล้ว! คุณมีวงดนตรีสำหรับเติมเต็มบรรยากาศงานของคุณแล้วหรือยัง? 🎷🎹

ให้เราได้ร่วมสร้างโมเมนต์สุดประทับใจให้กับงานพิเศษของคุณ 💌🎶

ติดต่อเราได้เลย Nuk Anong Music Studio
โทร : 0882527772 Line : Notewilhelmina

#เชียงราย #เชียงใหม่ #วงดนตรีสำหรับงานพิเศษ #วงดนตรีงานแต่ง #เทศกาลแห่งความสุข

🎼✨ หลายคนคงเคยได้ยินว่า Beethoven เป็นนักแต่งเพลงที่หูหนวก แล้วเคยสงสัยกันหรือไม่ ว่าทั้งๆ ที่เค้าหูหนวก แต่ยังกลับแต่งเ...
02/12/2024

🎼✨ หลายคนคงเคยได้ยินว่า Beethoven เป็นนักแต่งเพลงที่หูหนวก แล้วเคยสงสัยกันหรือไม่ ว่าทั้งๆ ที่เค้าหูหนวก แต่ยังกลับแต่งเพลงที่สามารถสะกดหัวใจคนทั้งโลกได้อย่างไร? 🤔💡

🎵 เบโธเฟ่นเริ่มได้ยินเสียงแปลกๆ ในหูตอนอายุ 26 และเมื่ออายุ 30 ปี เขาได้เขียนจดหมายไปหาเพื่อนที่เป็นหมอ โดยบ่นว่า:

“ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การได้ยินมันค่อยๆ แย่ลงเรื่อยๆ เวลาฟังวงออร์เคสตรา ต้องเข้าไปใกล้ๆ ไม่อย่างนั้นจะไม่ได้ยินเสียงย่านสูงเลย บางครั้งคนพูดเบาก็ฟังไม่ออก หรือถ้าคนตะโกนก็ปวดหัวมาก” 😔🎻

เมื่อเบโธเฟ่นอายุ 44 ปี เขาหูหนวกสนิท แต่ด้วยความที่ช่วงชีวิตแรกของเขาเคยได้ยินดนตรี 🎶 เค้าจึงเข้าใจเสียงและโน้ตดนตรีอย่างลึกซึ้ง เขาสามารถ “จินตนาการเสียงดนตรีในหัว” ได้ และยังคงแต่งเพลงที่มีความซับซ้อนและสวยงามจนทุกวันนี้ เช่น Symphony No. 9 🖋️🎶

🔍 การสูญเสียการได้ยินของเบโธเฟ่น เกิดจากอะไร?

ไม่มีใครทราบแน่ชัดครับ มีหลายทฤษฎี เช่น โรคซิฟิลิส, การได้รับพิษตะกั่ว, ไข้รากสาดใหญ่ หรือแม้แต่พฤติกรรมที่ชอบเอาหัวจุ่มน้ำเย็น 🧊🛁 (อันนี้แปลกแต่จริง!)

👨‍⚕️ เบโธเฟ่นลองหาวิธีรักษามากมายในยุคนั้น เช่น:
* อุปกรณ์ช่วยฟัง
* การช็อตไฟฟ้า
* เอาเปลือกไม้เปียกมาพันแขน ซึ่งไม่ช่วยอะไร แถมเล่นเปียโนไม่ได้อีก! 😅🎹

แม้จะหูหนวก แต่เบโธเฟ่นยังคงแสดงดนตรี 🎼 บางครั้งเล่นเปียโนแรงจนพังเพราะไม่ได้ยินเสียงตัวเอง หรือเล่นเบามากจนโน้ตไม่ครบ 🤦‍♂️ และในงาน เปิดตัว Symphony No. 9 เขาดื้อจะคอนดักเอง! 😤

👨‍🎤 เพื่อกันวงล่ม วงเลยจ้างคอนดักเตอร์อีกคนมายืนข้างๆ พร้อมสั่งนักดนตรีว่า “อย่าตามคุณลุงหูหนวก ให้ดูทางนี้!” 😂 แต่สุดท้ายงานนั้นได้รับเสียงชื่นชมอย่างล้นหลาม 🎉 ผู้คนปรบมือและโห่ร้องดีใจกันสนั่นฮอลล์ แต่เบโธเฟ่นไม่ได้ยินเสียงเหล่านั้นเลย...

💖 มีเรื่องเล่าว่านักร้องต้องเดินเข้าไปบอกให้เขาหันไปมองผู้ชม เมื่อเห็นผู้คนชื่นชมขนาดนั้น เขาก็ถึงกับอึ้งไป... ดนตรีที่เขาแต่งไม่ได้แค่ท้าทายความหูหนวกของเขา แต่ยังเอาชนะใจคนทั้งโลก 🌍✨

#เรียนดนตรีกับครูโน้ต

Follow us on Facebook, TikTok & IG : Nuk Anong Music Studio

ที่มา 
https://www.classicfm.com/composers/beethoven/guides/deaf-hearing-loss-composing/

01/12/2024

Bach และ Handel นักดนตรีตาบอดกับการรักษาตาในศตวรรษที่ 18 👁️🎶

หลายคนทราบกันดีว่า Beethoven ต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการหูหนวกในช่วงท้ายชีวิต แต่จริงๆแล้วมีนักแต่งเพลงอีกหลายท่านที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากจากการเจ็บป่วย นี่คือเรื่องราวของ Bach และ Handel ที่ต้องเผชิญกับการสูญเสียในการมองเห็น อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับการรักษาที่น่ากลัวในอดีต คือการผ่าตัดตาใน ศตวรรษที่ 18

#เรียนดนตรีกับครูโน้ต

Follow us on Facebook, TikTok & IG : Nuk Anong Music Studio

29/11/2024

✨ คุณรู้หรือไม่ว่า # , ♭ และ ♮เกิดขึ้นจากอะไร? เรามาย้อนกลับไป 1,000 ปีกับเรื่องราวดนตรีสุดคลาสสิก

🎶 #เรียนดนตรีกับครูโน้ต

Follow us on Facebook, TikTok & IG : Nuk Anong Music Studio

คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมการแสดงดนตรีในปัจจุบันถึงเรียกว่า ‘คอนเสิร์ต’? 🎶 ในอดีต ดนตรีไม่ได้มีจุดประสงค์แค่ให้คนมาฟังกันเพลิ...
27/11/2024

คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมการแสดงดนตรีในปัจจุบันถึงเรียกว่า ‘คอนเสิร์ต’? 🎶 ในอดีต ดนตรีไม่ได้มีจุดประสงค์แค่ให้คนมาฟังกันเพลินๆ แต่เมื่อคำว่า ‘คอนเสิร์ต’ เกิดขึ้น มันเปลี่ยนแปลงโลกเราอย่างไรบ้าง? มาทำความรู้จักกับคำๆ นี้กัน! 🌟

ที่มาของคำว่า “concert” ที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน มันมาจากคำว่า concerto ซึ่งเป็นคำนามของ concertare หากย้อนดูรากศัพท์ภาษาละติน คำนี้หมายถึงการประชันหรือแข่งขันอะไรบางอย่างร่วมกัน และเมื่อพัฒนามาเป็นภาษาอิตาเลียนความหมายก็ค่อยๆเปลี่ยนมาเป็นการร่วมมือหรือประสานงานกัน

ย้อนกลับไปยุคกลาง ดนตรีส่วนใหญ่ต้อง “รับใช้” บางสิ่ง เช่น ประกอบพิธีทางศาสนา เต้นรำ หรือละคร จนกระทั่งมีบทเพลงที่แต่งขึ้นมาเพื่อให้คนมาฟังอย่างเดียว โดยไม่มีหน้าที่ประกอบสิ่งอื่นๆ เริ่มปรากฏขึ้น 🎵

Concerto เริ่มโผล่มาให้เห็นในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 และตอนนั้นคำนี้มีความหมายแบบงงๆ หน่อย 😄 ถ้าแปลจากอิตาเลียนจะหมายถึง “การปรับเสียงและทำนองให้เข้ากัน” เช่น un concerto di voce in musica ก็หมายถึงเพลงร้องที่เสียงเพราะๆ เข้ากั๊นเข้ากัน หรือ un concerto di viole ก็จะหมายถึงเพลงวิโอล่าที่ฟังแล้วเสนาะหู

เมื่อการชมดนตรีแบบที่ไม่ได้ทำหน้าที่ประกอบอะไรนี้มันแมสขึ้น หลายประเทศก็ปรับคำให้เข้ากับภาษาตัวเอง เช่นการตัดตัว -o ท้ายคำ concerto ออก กลายมาเป็น concert และสุดท้ายก็กลายเป็นคำว่า คอนเสิร์ต ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม คำว่า concerto ที่เราเข้าใจในปัจจุบันว่าหมายถึงเพลงสำหรับเครื่องดนตรีเดี่ยวประชันกับวงออเคสตรา จริงๆ แล้วเกิดทีหลัง! 🎻 ไอเดียการประชันกันเริ่มใน concerto grosso ช่วงปลายศตวรรษที่ 17 หรือเกือบ 100 ปีหลังจากคำว่า concerto ถือกำเนิด และ solo concerto อย่างที่เราคุ้นเคย ก็เพิ่งมาแมสขึ้นโดย Vivaldi ในศตวรรษที่ 18

สรุป Timeline แบบง่ายๆ:
* ปลายศตวรรษที่ 16: คำว่า Concerto เกิดขึ้นในความหมาย “คอนเสิร์ต”
* ปลายศตวรรษที่ 17: เริ่มมี Concerto Grosso 🎻
* ศตวรรษที่ 18: เกิด Solo Concerto เช่น The Four Seasons ของ Vivaldi ก็แต่งขึ้นช่วงปี 1720 หรือเมื่อ 300 กว่าปีก่อนนี้เอง

สำหรับในปัจจุบันเองที่อิตาลีคำว่า concerto จะมี 2 ความหมาย อย่างเช่นคอนเสิร์ตไวโอลินคอนแชร์โต ก็จะพูดได้ว่า Concerto di concerto per violino ดนตรีไม่เพียงเปลี่ยนแปลง แต่ยังรวมคนไว้ด้วยกันในทุกยุคสมัยจริงๆ ✨🎶🥰

📜อ้างอิง

คมธรรม ดำรงเจริญ, ดนตรีบาโรค (1600 - 1752), คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553

#เรียนดนตรีกับครูโน้ต

Follow us on Facebook, TikTok & IG : Nuk Anong Music Studio

26/11/2024

🎶☠️ ฝิ่น ความหมกมุ่น และโลกแห่งความฝันของ Berlioz 🌙✨ #เรียนดนตรีกับครูโน้ต

คุณรู้หรือไม่ว่า Swan Lake ของ Tchaikovsky  มีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นบ้านยุโรปที่เต็มไปด้วยความมืด 🌌 คำสาปพ่อมดแม่มด 🧙‍♂️...
24/11/2024

คุณรู้หรือไม่ว่า Swan Lake ของ Tchaikovsky มีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นบ้านยุโรปที่เต็มไปด้วยความมืด 🌌 คำสาปพ่อมดแม่มด 🧙‍♂️🧙‍♀️ และนิทานพื้นบ้านเหล่านั้นมันไม่ได้จบแบบแฮปปี้เอนดิงเหมือนเจ้าหญิงดิสนีย์เลยนะครับ 🏰 มาทำความรู้จัก Swan Lake และเรื่องเล่าจากยุคกลางกัน 🦢✨

นิทานพื้นบ้านยุโรปส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดจากช่วงยุคกลาง 🏺⛓ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีความยากลำบาก มีความเชื่อเรื่องเวทมนตร์ 🪄 แม่มด 🔥 เล่นแร่แปรธาตุ ⚗️ มีโรคระบาด Black Death ☠️ ดังนั้นมันจะมีความดาร์ก 🖤 ความรุนแรงต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย 🔪 จริงๆ บ้านเราก็ดาร์กพอกันนะครับ อย่างเรื่องของ นาง 12 ที่ต้องกินลูกตัวเอง 😱 หรือ ปลาบู่ทอง 🐟 ตุยซ้ำตุยซ้อนเกิดใหม่เรื่อยๆ 🌀

ซึ่ง Swan Lake ก็ได้มีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นบ้าน ✨ เนื้อเรื่องมันจะประมาณว่า มีเจ้าหญิงที่สวยงามมาก 👸 แต่นางโดนสาปให้กลายเป็นหงส์ในตอนกลางวัน 🌞 ตอนกลางคืนถึงจะกลับมาเป็นคน 🌜 เรื่องของเรื่องคือนางโดนสาปเพราะไปปฏิเสธหัวใจดวงน้อยๆ ของพ่อมด 🧙‍♂️ "เธอไม่รักฉันใช่มั้ย? ด้าย! ฉันสาปให้กลายเป็นหงส์ไปเลย โอมมะลึกกึกกึ๋ย! เพี้ยง!"🦢💔

วันหนึ่งก็มีเจ้าชายมาพบกับฝูงหงส์ที่ทะเลสาบ 🏞 เล็งละ จะยิงธนูใส่ 🏹 แล้วแต่หงส์ตัวนั้นค่อยๆ กลับกลายเป็นเจ้าหญิง 💫 พอเจ้าชายเห็นปุ๊บคือจังหวะตกหลุมรัก (เพลงมา) 🎶💘 และสาบานว่าจะช่วยนางทำลายคำสาปนี้ให้ได้ 💍✨
คือวิธีคลายคำสาปมันต้องมีคนมอบรักแท้และความสัตย์ซื่อต่อนางคนเดียวเท่านั้น 💖 อย่างไรก็ตาม ถ้าเจ้าชายบอกรักตอนนี้เรื่องก็จะจบเลย แต่! มันมีตัวร้ายไง 👹 พ่อมดก็ไม่ยอมให้คำสาปถูกทำลาย เขาจึงใช้มนต์ลูกสาวตัวเองให้เหมือนเจ้าหญิงเป๊ะ แล้วหลอกให้เจ้าชายสารภาพรักกับลูกสาวของพ่อมด 🖤 อย่างที่เราเห็นในเรื่องเป็นหงส์สีดำนะครับ ⚫🦢 เจ้าชายหลงกล "เอ๊ะ ทำไมมนต์ไม่คลายซักที?" 🤔 พอมารู้ความจริง "อ้าว! บอกรักผิดคน!" 😱 ก็รีบมาง้อนางเอก 🏃‍♂️❤️

ในต้นฉบับลุงไชคือ พระเอกและนางเอกเลือกที่จะจบชีวิตด้วยการกระโดดลงทะเลสาบ 🌊 เพื่อที่จะหนีจากคำสาป 🕊 ถึงแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ด้วยกันชาตินี้ แต่โลกหลังความตายก็จะได้อยู่เคียงคู่กัน 👼👼

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันฉากจบของ Swan Lake มีหลายฉากเลยนะครับ 🩰 อาจจะด้วยความรักจริง คำสาปก็เลยคลาย รักกันได้โดยที่ไม่ต้องตุย 🌈 หรือบางครั้งอาจเป็นฉากที่ดราม่ากว่าเดิม 😭 คือแบบเจ้าหญิงก็เป็นหงส์ต่อไป 🦢 เจ้าชายเสียใจที่ไม่สามารถแก้คำสาปได้ 💔 ดังนั้น ถ้าเราไปดู Swan Lake ในแต่ละที่บนโลก 🌍 ฉากจบก็จะไม่เหมือนกันครับ อันนี้แล้วแต่การตีความของคณะบัลเลต์เลย 🎭 แต่ดนตรีของลุงไชเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนครับ 🎻🎶

จริงๆ มีอีกเรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง 🕯 เป็นเรื่องที่มีธีมคล้ายๆ กันเลยนะ คือเรื่อง The Six Swans 🦢
คือมันมีเจ้าชาย 6 คน โดนแม่เลี้ยงสาปให้เป็นหงส์ 🖤 แล้วกลายเป็นคนได้แค่ตอนกลางคืน 🌙 เหมือน Swan Lake เลย แม่เลี้ยงต้องการครองบัลลังก์ 👑 ก็เลย "พวกแกกลายเป็นหงส์ซะไป้!" แต่! น้องสาวของครอบครัวนี้ไม่โดนคำสาป 🌸 ด้วยความงดงามบริสุทธิ์ก็มีนางฟ้ามากระซิบบอกว่า "ชั้นรู้วิธีแก้ไขมนต์นี้นะ คือยูห้ามพูดกับใครเป็นเวลา 6 ปี แล้วต้องถักเสื้อจากต้น nettles 🌿 ให้พี่ๆ ใส่"

ซึ่งต้นนี้มันมีขนคันทำให้เป็นผื่นได้ 😖 ลองไปเสิร์ชดูนะครับ ภาพน่ากลัวนิดนึง 🫣 คือด้วยความที่นางไม่พูดเลย 6 ปี ถักอะไรไม่รู้อยู่คนเดียว 🧶 มือก็เป็นแผลจากพิษของพืช ✋ นางโดนชาวบ้านมองว่าเป็นแม่มด 🧙‍♀️ "จับเผาโลด!" 🔥 แต่เนื้อนางก็โยนเสื้อทั้ง 6 ให้พี่ชายนางจากบนกองไฟ 🧥✨ จริงๆ ยังถักไม่เสร็จด้วยนะ แต่ด้วยความเสียสละของน้องเล็ก มนต์ก็คลายให้พี่ชายกลับมาเป็นคน 👦 แต่น้องสาวของพี่ก็ต้องโดนเผาไป 😢

นิทานพื้นบ้านแบบดาร์กๆ 🕷 มันสะท้อนให้เห็นว่าในสมัยยุคกลาง ชีวิตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนในหลายๆ ด้าน 🌪 ทำให้เราจะเห็นหลายๆ เรื่องจบแบบโศกนาฏกรรม 🥀 เพื่อให้ผู้ชมได้ชำระจิตใจและรับรู้ว่าเราไม่สามารถควบคุมโลกใบนี้ได้ 🍂

23/11/2024

เสียงร่ำไห้ของ Shostakovich ในเมืองที่พังทลาย 🎻💔 #เรียนดนตรีกับครูโน้ต

คุณเคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำไมภาษาดนตรีอย่าง Allegro 🎵, Andante 🎶, Forte Piano 🎹 ถึงเป็นภาษาอิตาเลียน ทั้งที่ทุกวันนี้ภาษ...
21/11/2024

คุณเคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำไมภาษาดนตรีอย่าง Allegro 🎵, Andante 🎶, Forte Piano 🎹 ถึงเป็นภาษาอิตาเลียน ทั้งที่ทุกวันนี้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางที่เราใช้สื่อสารกันทั่วโลก 🌍 แต่เพราะอะไรภาษาอิตาเลียนถึงกลายเป็นภาษาหลักในวงการดนตรีคลาสสิก? 🤔

ต้นกำเนิดมาจากภาษาอิตาเลียนกลางที่พัฒนามาจากภาษาของแคว้นทอสกานา (Toscana) 🏞️ ซึ่งมีเมืองฟลอเรนซ์ (Florence) 🏛️ เป็นศูนย์กลางสำคัญของแคว้นนี้ ยุค Renaissance ✨ เกิดขึ้นที่นี่ และตระกูลเมดิชี (Medici) 👑 ที่เป็นมหาเศรษฐีแห่งยุค ก็สนับสนุนศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังมากมาย เช่น มิเกลลังเจโล 🎨, ลีโอนาโดดาวินชี 🖌️, นักดาราศาสตร์กาลิเลโอ 🔭 และบอลติเชลลิ (ผู้สร้าง Birth of Venus) 🖼️ ทำให้ฟลอเรนซ์กลายเป็นศูนย์กลางศิลปะและวิทยาการระดับโลก 🌟

เมื่อเมดิชีแต่งงานเชื่อมโยงกับราชสำนักฝรั่งเศส 👰‍🤵 พวกเขาก็ว่าจ้างให้สร้างเพลงแนวใหม่ที่เรียกว่า โอเปร่า 🎭 แม้จะเริ่มจากการนำสิ่งที่มีอยู่มาต่อยอด แต่ความแปลกใหม่ของมันก็ บูมมากกกก 🔥 จนราชสำนักประเทศอื่นอิจฉาและเริ่มจ้างนักดนตรีและศิลปินชาวอิตาลี 🎻 เพื่อสร้างความโดดเด่นในราชสำนักของตัวเอง เช่นในฝรั่งเศส 🇫🇷 ซึ่งการแสดงโอเปร่าต้องใช้ภาษาอิตาเลียนเท่านั้น 📜💬 ถือเป็นเรื่องเกียรติยศ ผู้ดีต้องเข้าใจภาษาอิตาเลียน! ดังนั้นในราชสำนักประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอิตาเลียนจึงต้องมีครูสอนภาษา 🧑‍🏫 เพื่อให้ชนชั้นสูงเสพงานศิลปะได้

ถึงแม้ว่าในยุคหลุยส์ที่ 14 👑 จะมีความขัดแย้งกับผู้สำเร็จราชการชาวอิตาเลียน (จนห้ามอิตาเลียนเข้าใกล้! 🚫) แต่ในยุคหลุยส์ที่ 16 👑 และพระนางมารีอังตัวเน็ต 💍 ที่มาจากออสเตรีย 🇦🇹 ก็ได้ฟื้นฟู Italian Opera 🎶 อีกครั้ง (แม้จะสั้นๆ เพราะเจอปฏิวัติฝรั่งเศส ⚔️) แต่ไม่ว่าภาษาอื่นจะเริ่มแทรกซึมในยุคหลังแค่ไหน ภาษาอิตาเลียนก็ยังคงฝังลึกในวงการดนตรี 🎼

ภาษาอิตาเลียนวันละคำวันนี้ขอเสนอ Allegro 🕺✨ แปลว่า “ร่าเริง” ว่าแต่ความร่าเริงนี่มันต้องเร็วแค่ไหนกัน? ใครรู้ช่วยคอมเมนต์บอกทีนะครับ! 🧐🎤

20/11/2024

🎼 Castrato : เสียงสวรรค์ แลกด้วยความเจ็บปวด 💔 #เรียนดนตรีกับครูโน้ต

คุณเคยได้ยินเรื่องราวของ “ราชาแห่งวอลทซ์” Johann Strauss II หรือไม่? 🎻✨เบื้องหลังบทเพลงเต้นรำอันงดงาม หรูหรา และสง่างามน...
19/11/2024

คุณเคยได้ยินเรื่องราวของ “ราชาแห่งวอลทซ์” Johann Strauss II หรือไม่? 🎻✨

เบื้องหลังบทเพลงเต้นรำอันงดงาม หรูหรา และสง่างามนี้ มีเรื่องราวดราม่าสุดแซ่บที่ไม่ธรรมดาอยู่เบื้องหลัง มาร่วมฟังเรื่องราวของตำนานแห่งวงการดนตรีกัน!

Johann Strauss II มีชื่อเดียวกับบิดาของเขา Johann Strauss I ซึ่งเป็นธรรมเนียมของครอบครัวในออสเตรีย-เยอรมันในสมัยนั้นที่จะตั้งชื่อลูกชายเหมือนบิดา เพื่อเป็นการสืบทอดชื่อเสียงและเกียรติยศของตระกูล Johann Strauss I เองก็เป็นนักดนตรีแถวหน้าของกรุงเวียนนา และได้รับสมญานามว่า “บิดาแห่งวอลทซ์”

แต่ที่น่าประหลาดใจคือ บิดาไม่อยากให้ลูกชายเรียนดนตรี โดยอาจมองว่าอาชีพนี้ไม่มั่นคง หรือบางคนก็ว่าอาจกลัวว่าลูกจะเก่งกว่าตนเอง หากจับได้ว่า Strauss II แอบเรียนดนตรีมา พ่อถึงกับลงโทษอย่างรุนแรงเลยทีเดียว

จนกระทั่งวันหนึ่ง เหตุการณ์ที่เปลี่ยนทุกอย่างในครอบครัวเกิดขึ้น เมื่อ Johann Strauss I พาผู้หญิงคนหนึ่งมาแนะนำครอบครัวว่า “นี่คือลูกของฉัน” แม่ของ Strauss II ตกใจมากถึงขั้นกรีดร้อง และทันทีที่แน่ใจว่าสามีนอกใจ เธอก็ฟ้องหย่า! 😡🔥 ด้วยความมุ่งมั่นที่จะแก้แค้น เธอส่ง Strauss II ไปเรียนดนตรีอย่างจริงจัง และนั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ Strauss II ก้าวเข้าสู่วงการดนตรีเต็มตัว

ความแซ่บไม่ได้หยุดอยู่แค่รุ่นพ่อ ลูกชายเองก็ไม่น้อยหน้า Strauss II ถึงขั้นเปลี่ยนศาสนาจากคาทอลิกมาเป็นโปรเตสแตนต์เพื่อแต่งงานใหม่ คล้ายกับเรื่องของ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 กษัตริย์อังกฤษที่เปลี่ยนนิกายคริสต์เพื่อจะได้หย่ากับราชินีและแต่งงานใหม่ ในกรุงเวียนนาสมัยนั้น การเปลี่ยนศาสนาเช่นนี้ถือเป็นการทรยศต่อค่านิยมของสังคม แต่ด้วยความสำเร็จด้านดนตรีและสถานะในวงสังคม Strauss II ก็แคร์ไหม? 😏

พูดถึงดนตรีวอลทซ์ ในยุคแรกเริ่มเป็นเพียงจังหวะเต้นรำง่าย ๆ ที่ชาวบ้านเต้นกันสนุกสนาน แต่ Johann Strauss I ได้ยกระดับวอลทซ์ให้มีความหรูหรา สง่างามขึ้น และ Strauss II ก็พัฒนาเพลงวอลทซ์ให้มีความซับซ้อนและงดงามยิ่งกว่าเดิม ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ The Beautiful Blue Danube ที่เริ่มต้นด้วยอินโทรแสนสง่างาม ก่อนเข้าสู่จังหวะวอลทซ์ที่เต็มไปด้วยทำนองซับซ้อนแบบย้อนกลับไปกลับมา ใครเคยเล่นเวอร์ชันต้นฉบับคงเข้าใจว่ามันมีความซับซ้อนมาก! 🎼

เพลงวอลทซ์ของ Strauss II จึงกลายเป็นที่นิยมในงานเลี้ยงของชนชั้นสูง โดยเฉพาะแกรนด์บอลรูมที่เต็มไปด้วยการเต้นรำที่สวยงามต่างจาก Ländler เพลงเต้นรำพื้นบ้านที่มีจังหวะหนักแน่นและสนุกสนานแบบชาวบ้านซึ่ง Mahler ใช้ในผลงานของเขา

สำหรับใครที่อยากสัมผัสความงดงามและสง่างามของวอลทซ์ในแบบ Strauss II วันที่ 1 ธันวาคม 2024 เวลา 18.00 น. ที่จังหวัดเชียงใหม่ จะมีบทเพลงวอลทซ์ของ Strauss และ Mozart สำรองที่นั่ง Facebook fan page : Chiangmai Serenade String Orchestra หรือโทร 086-921-9592 งานนี้ถ้าจะแต่งตัวในสไตล์ยุควิคตอเรียน หรือควงคู่มาเต้นรำในบรรยากาศโรแมนติกก็ไม่ว่ากัน! 💃✨

#เรียนดนตรีกับครูโน้ต

18/11/2024

Johann Strauss II : The waltz king จากลานเต้นชาวบ้าน สู่บอลรูมแสนสง่างาม 💃🏰 Chiangmai Serenade String Orchestra #เรียนดนตรีกับครูโน้ต

ที่อยู่

559/27 หมู่ 6 ตำบลสันทราย อำเภอเมือง
Chiang Rai
57000

เวลาทำการ

จันทร์ 10:00 - 18:00
พุธ 10:00 - 18:00
พฤหัสบดี 10:00 - 18:00
ศุกร์ 10:00 - 18:00
เสาร์ 10:00 - 18:00
อาทิตย์ 10:00 - 18:00

เบอร์โทรศัพท์

+66882527772

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Nuk Anong Music Studioผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Nuk Anong Music Studio:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์