11/09/2024
ข้อมูลดีๆเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิตฉับพลันในน้องแมวค่ะ
อยากให้คุณพ่อคุณแม่น้องๆ พาน้องๆตรวจหัวใจกันมากขึ้นนะคะ 🙏🏼😊💕
📌📌 สาเหตุของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในแมว
โดย ผศ. น.สพ.รุ่งโรจน์ โอสถานนท์ และ รศ. สพ.ญ. ดร.สิริลักษณ์ สุรเชษฐพงษ์
-----------------------------------------------------------------
หนึ่งในปัญหาที่สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้แก่ผู้เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะแมวนั้นคือภาวะการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน โดยจากการศึกษาของ Dr.Olsen และ Dr.Allen ในแมวจํานวน 994 ตัวที่เสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ระหว่างปีพ.ศ.2532 ถึง 2542 ในประเทศแคนาดา พบว่าการสาเหตุที่พบบ่อย ที่สุดได้แก่ การบาดเจ็บ และ โรคหัวใจ นอกจากนี้ในปี 2562 Dr.Stalker พบว่า สาเหตุของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในแมวจํานวน 71 ตัว ระหว่าง ปีพ.ศ.2558 ถึง 2562 ในประเทศแคนาดา สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้น โดยพบว่าสาเหตุหลักของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในแมวคือโรคหัวใจ และการบาดเจ็บเช่นกัน
#โรคหัวใจที่พบบ่อยในแมว
โรคหัวใจที่พบบ่อยในแมวคือโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยสามารถ
แบ่งออกได้อีกเป็นหลายชนิดย่อย โดยชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา (hypertrophic cardiomyopathy, HCM) แมวหลายตัวป่วยด้วย โรคนี้แบบไม่แสดงอาการและอาจไม่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจร่างกายแบบปกติ หรือจากการเอ็กซเรย์ช่องอก ซึ่งทําให้การวินิจฉัยแมวที่ป่วยด้วยโรค หัวใจแบบไม่แสดงอาการทําได้ด้วยความยากลําบาก ยกเว้นในกรณีที่แมวป่วย ด้วยโรคหัวใจและแสดงอาการแบบรุนแรง อาจตรวจพบอาการของภาวะหัวใจ ล้มเหลวแบบชัดเจน ได้แก่ อาการหายใจลําบาก หายใจเร็วและแรงกว่าปกติ มีลิ่มเลือดอุดกั้นบริเวณขาหลังส่งผลให้เกิดภาวะอัมพาตแบบเฉียบพลัน และในบางรายอาจเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน
#จะมีวิธีการวินิจฉัยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจในแมวแบบไม่แสดงอาการได้อย่างไร
ในบางรายของแมวที่ป่วยแบบไม่แสดงอาการ อาจตรวจพบความปกติของเสียงหัวใจ พบภาพเงาของหัวใจโตกว่าปกติจากภาพเอ็กซเรย์ช่องอก หรืออาจตรวจพบค่าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของหัวใจ (cardiac biomarker) ผิด ปกติ แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น อาจตรวจไม่พบความผิดปกติเหล่านี้ในแมวอีก หลาย ๆ ราย ดังนั้นการวินิจฉัยเพื่อยืนยันโรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ และความชํานาญของผู้ตรวจในการวินิจฉัย
#โรคของกล้ามเนื้อหัวใจทําให้เกิดอาการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้อย่างไร
การเสียชีวิตแบบเฉียบพลันในแมวที่ป่วยด้วยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ สันนิษฐานว่าเกิดจากภาวะหัวใจห้องล่างสั่นพลิ้ว (ventricular fibrillation) หรืออาจเกิดจากภาวะลิ่มเลือดขนาดใหญ่อุดกั้นที่ทางออกห้อง หัวใจด้านล่างช้าย หรือที่ระบบประสาทส่วนกลาง หรืออาจเกิดจากกล้ามเนื้อ หัวใจหนาตัวมากจนปิดกั้นทางออกของหัวใจห้องล่างซ้าย โดยแมวที่มีประวัติว่าเคยพบอาการหมดสติชั่วคราว (syncope) มาก่อนมักมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่ แน่ชัดของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันของแมวที่ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ จึงยังไม่มียาหรือวิธีการป้องกันการเสียชีวิตเฉียบพลันที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
#ปัจจัยโน้มนําที่อาจทําให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ในแมวที่ป่วยด้วยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจแบบไม่แสดงอาการ
สาเหตุที่อาจโน้มนําให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในแมวที่ป่วยด้วยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจแบบไม่แสดงอาการได้แก่ ภาวะที่ก่อให้เกิดความเครียด ต่าง ๆ อาทิ การต่อสู้ของแมว การได้รับยาสลบ การผ่าตัดทําหัตถการต่าง ๆ กับตัวแมว หรือการได้รับสารนํ้าบําาบัด
กล่าวโดยสรุปคือโรคของกล้ามเนื้อหัวใจในแมว เป็นหนึ่งในสาเหตุ หลักที่ทําให้เกิดการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน และวินิจฉัยได้ยาก เนื่องจากแมวหลายตัวตรวจไม่พบความปกติใด ๆ จากการตรวจร่างกาย และจากการ เอ็กซเรย์ช่องอก แต่บางรายอาจตรวจพบความผิดปกติของตัวบ่งชี้ทาง ชีวภาพของหัวใจ ดังนั้นในปัจจุบันอาจมีความจําเป็นต้องทําการตรวจหัวใจ
ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อวินิจฉัยภาวะนี้ในแมว ก่อนที่จะพิจารณาทํา หัตถการที่เกี่ยวข้องกับการวางยาสลบ หรือการผ่าตัด เพื่อจะได้เป็นข้อมูล ประกอบในการเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น และลดโอกาสเกิดภาวะ หัวใจล้มเหลว และการเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้
#เอกสารอ้างอิง
1. Causes of sudden and unexpected death in cats: A 10-year retrospective study, Tammy F.Olsen, Andrew L.Allen, Can Vet J Volume 2001; 42: 61-62
2. Causes of sudden unexpected death in dogs and cats - it's not the neighbour!, Margaret Stalker, AHL Newsletter 2019; 23(4):16-17
3. The Feline Cardiomyopathies: 1. General concepts, Mark D Kittleson, Etienne Côté, Journal of Feline Medicine and Surgery 2021; 23:1009-1027
#วิทยาลัยวิชาชีพการสัตวแพทย์ชำนาญการแห่งประเทศไทย
#สัตวแพทยสภา
#ฝ่ายประชาสัมพันธ์
#แมวเสียชีวิต