โรงพยาบาลสัตว์สบายใจสัตวแพทย์ ลำปาง

โรงพยาบาลสัตว์สบายใจสัตวแพทย์ ลำปาง รักษาสัตว์ เปิดบริการทุกวัน จันทร์ -
(1)

ตรวจรักษาโรคสัตว์ทุกชนิด ผ่าตัดทั่วไป ทำหมัน ผ่าคลอด ทำวัคซีนสัตว์เลี้ยง กำจัดเห็บ หมัด รับปรึกษาปัญหาสัตว์ใหญ่ ( ม้า โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ) บริการถอดเล็บไก่ชน รักษาสัตว์ Exotic pet บริการนอกสถานที่

26/12/2024

น้องที่มีโรคประจำตัวกรุณารับยาให้เรียบร้อยให้ครอบคลุมวันที่7ม ค เนื่องจากเคสเยอะมากอาจจะทำต้องรอนานขอ อภัยในความไม่สะดวกค่ะ🙏🙏🍭

26/12/2024

31ธค-1มค คลินิกเปิดบริการตามปกติ แต่จะเลื่ิอนเวลาปิดเป็น18.00เฉพาะ2วันนี้นะคะเนื่องจากบุคคลากร มีน้อยขอ อภัยในความไม่สะดวกค่ะ🙏

26/12/2024

ศุกร์27ธันวานี้ทางคลินิกขอเลื่ิอนเวลาปิดเร็วขึ้นเป็น18น.เนื่องจากมีงานเลี้ยงปีใหม่ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ🙏🍀

แฮปปี้ ตัวตึง ขอบคุณสำหรับขนมน้องๆที่ร้านนะคะ 😁
20/12/2024

แฮปปี้ ตัวตึง ขอบคุณสำหรับขนมน้องๆที่ร้านนะคะ 😁

13/12/2024

📣โรคไข้หัดสุนัขเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Morbilivirus เป็นโรคที่มีความรุนแรง เนื่องจากมีอัตรา การเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะในสุนัขที่ไม่ได้รับวัคซีนไข้หัดสุนัขมาก่อน พบการติดต่อในสัตว์วงศ์สุนัข (Canidae) ได้แก่ สุนัข เฟอร์เร็ท หมาป่า สกังก์ และ แรคคูน โดยสุนัขจะแสดงอาการของโรคภายหลังการได้รับเชื้อประมาณ 2 สัปดาห์ ไวรัสไข้หัดสุนัขสามารถติดต่อผ่านทางอากาศและสิ่งแวดล้อม ผ่านการสัมผัสกับสุนัขที่เป็นพาหะ แม้ว่าโรคไข้หัดสุนัขไม่ติดต่อสู่คน แต่การสัมผัสกับสุนัขที่เป็นโรคอาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อไปยังสุนัขตัวอื่นได้ จากการที่เชื้อติดอยู่บนตัวคน หรือเสื้อผ้าของบุคคลที่สัมผัสกับสัตว์ป่วย
📌อาการของโรคไข้หัดสุนัข
อาการที่เด่นชัดของโรคไข้หัดสุนัข ได้แก่ ไอ จาม หอบ มีน้ำมูกหรือน้ำตา เยื่อบุตาอักเสบ หรี่ตา อาเจียน ถ่ายเหลว ผื่นแดงบริเวณผิวหนัง และเนื้อเยื่อบริเวณจมูกหรือแผ่นเท้าหนาตัว ในรายที่อาการรุนแรง อาจพบความผิดปกติของระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ชัก น้ำลายไหล ใบหน้ากระตุก และเคี้ยวโดยไม่มีสาเหตุ
📌การรักษาโรคไข้หัดสุนัข
ปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสที่จำเพาะในการรักษาโรคไข้หัดสุนัข แนวทางการรักษาจึงเป็น การรักษาแบบประคับประคองตามอาการผิดปกติที่พบเป็นหลัก เช่น การให้สารน้ำ การให้ยาระงับอาเจียน และการให้ยาระงับชักเป็นต้น
📌การป้องกันโรคไข้หัดสุนัข
โรคไข้หัดสุนัข สามารถป้องกันได้โดยการทำวัคซีน เพื่อช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ และลดความรุนแรงของโรค โดยช่วงอายุที่เหมาะสมในการเริ่มทำวัคซีนไข้หัดสุนัข คือ 8 สัปดาห์เป็นต้นไป หรือ 6 สัปดาห์ สำหรับลูกสุนัขที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรค และควรมีการกระตุ้นวัคซีนสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่พบการแพร่ระบาด หากเจ้าของสุนัขมีการนำสุนัขหรือลูกสุนัขที่ไม่มีหรือไม่ทราบประวัติเข้ามาในบ้านที่มีการเลี้ยงสุนัขอยู่ก่อน แนะนำให้แยกพื้นที่เลี้ยงเพื่อทำการกักโรค หลีกเลี่ยงการสัมผัส ระหว่างสุนัข และทำวัคซีนให้ครบก่อนให้อยู่ร่วมกับสุนัขตัวอื่น การทำความสะอาดพื้นที่เลี้ยงสัตว์ สามารถทำได้
โดยการใช้น้ำยาทำความสะอาดกลุ่มฟีนอล (phenols) หรือ ควอเทอร์นารี่ แอมโมเนียมคอมพาวด์ (quaternaryammonium compounds)
👉อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางลิงก์นี้
https://www.vetcouncil.or.th/news-detail/20241213144754-121-679
👉สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
วิทยาลัยวิชาชีพการสัตวแพทย์ชำนาญการแห่งประเทศไทย สัตวแพทยสภา
📧E-mail:[email protected]
📍Line: ☎️โทร:02-017-0700

13/12/2024

ปรับเปลี่ยนเวลาทำการเป็น 9.00-19.00นเริ่ม16ธันวาคม67
ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ🙏

07/12/2024

ตลอดเวลาการทำงานในฐานะสัตวแพทย์ด้านนก มีเจ้าของหลายคนเข้ามาถามว่า “เลี้ยงนกจะเป็นภูมิแพ้ไหม” ส่วนตัวก็ได้แต่ตอบไปว่า “ก็แล้วแต่คน เพราะภูมิแพ้เป็นเรื่องเฉพาะส่วนตัว เกิดได้ทุกช่วงอายุ และก็แล้วแต่วิธีการเลี้ยง รวมไปถึงสถานที่เลี้ยงด้วย” ซึ่งเท่าที่เคยทบทวนเอกสารทางการแพทย์ พบว่ามีการตั้งชื่อภาวะนี้เป็นการเฉพาะว่า “โรคเจ้าของฟาร์มนก - Bird fancier's lung (BFL)” ซึ่งจะแสดงอาการหายใจติดขัดเหมือนหืดหอบ ไข้ขึ้น ไอแห้ง น้ำมูกไหล เจ็บตา เจ็บช่องอก หายใจลำบาก ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด อ่อนแรง ไปจนถึงในรายที่ป่วยเรื้อรังจะมีพังผืดในเนื้อเยื่อปอด (progressive pulmonary fibrosis) จนทำให้ออกซิเจนในกระแสเลือด oxygen saturation ต่ำลงเหลือ 70%
โรคเจ้าของฟาร์มนก ถือเป็นหนึ่งในโรคปอดอักเสบจากภูมิคุ้มกันไวเกิน (hypersensitivity pneumonitis หรือ immunologically mediated lung disease) ในคน ซึ่งมักเกิดมาจากการสูดดมสารแพ้จากนก (air borne avian antigen) เข้าไปอย่างต่อเนื่อง โดยโรคนี้ถูกค้นพบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 หรือ ค.ศ.1965 โดยสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้มาจากโปรตีนในอุจจาระของนก (highly antigenic avian proteins excreted in bird droppings) และโปรตีนเคลือบขนนก (waxy proteins covering feathers birds)
เท่าที่มีรายงานถึงนกที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ คือ ไก่งวง (turkeys), ไก่ (chickens), ห่าน (geese), เป็ด (ducks), นกหงส์หยก (budgerigars), นกแก้ว (parrots), นกพิราบ (pigeons), นกเขา (doves), นกแก้ว (lovebirds) และนกคีรีบูน (canaries) ส่วนใหญ่แล้วคนไข้มักไม่ค่อยได้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ ด้วยเพราะอาการมันไปเหมือนอีกหลายโรค และเพียงได้รับยากลุ่ม steroid ก็จะดีขึ้น แต่สักพักก็จะเป็นใหม่อีก วนเช่นนี้ไปหลายปี เพราะแม้จะย้ายนกออกไปจนหมดบ้านแล้ว แต่สารแพ้นี้สามารถคงทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานถึง 18 เดือน
ชนิดนกที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบจากภูมิคุ้มกันไวเกินได้ดี คือ นกพิราบ ด้วยเพราะลักษณะการเลี้ยงและการทำฟาร์มจะอยู่กันอย่างหนาแน่นในพื้นที่เล็ก ๆ เช่น ดาดฟ้าตึกแถว และไม่ได้ทำความสะอาดขี้นกทุกวัน พอเข้าไปในกรงที นกก็กระพือปีกหนี ช่วยพัดฝุ่นละอองทั้งอุจจาระและจากขนให้ลอยฟุ้งในอากาศ พอคนเลี้ยงสูดเข้าไปก่อโรคนี้ได้ ต่อมาก็คือการเลี้ยง “นกแก้วอยู่ในบ้านตลอดเวลา” ซึ่งก็ทำให้เจ้าของใกล้ชิดกับนกมาก จึงสูดดมสารต่าง ๆ ที่ขับออกมาจากนกเข้าไปมากด้วยเช่นกัน ซึ่งภาวะนี้ไม่ได้เป็นกันทุกคนเพราะต้องมีพันธุกรรมที่ไวต่อสารแพ้ (genetic susceptibility) แล้วตามมาด้วยได้รับสารกระตุ้นภูมิแพ้ (antigen exposure) อย่างต่อเนื่อง จึงจะเกิดปัญหานี้ขึ้นได้
การวินิจฉัยส่วนใหญ่จะเริ่มจากการถ่ายภาพทางรังสีวิทยาของช่องอก (chest radiograph) และ computer tomography (CT) เพื่อหารอยโรคและประเมินความรุนแรง จากนั้นก็ตรวจเลือด เพาะเชื้อแบคทีเรียจากเสมหะ หรือแม้กระทั่งต้องทำ bronchoalveolar lavage (BAL) ออกมาเพาะเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส หรือ cytology สุดท้ายก็จะเป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหา serum specific IgG antibodies ต่อโปรตีนในอุจจาระของนก (highly antigenic avian proteins excreted in bird droppings) และโปรตีนเคลือบขนนก (waxy proteins covering feathers birds) ของนกแต่ละชนิดที่เลี้ยงอยู่ในบ้าน ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าเราจะแพ้นกทุกตัวพร้อมกัน เนื่องจากเคยมีตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่น ที่เลี้ยงนกแก้ว African grey parrot และนกหงส์หยกไว้ในบ้านด้วยกัน แต่ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการออกมาว่าเกิดโรคปอดอักเสบจากภูมิคุ้มกันไวเกินจากนกแก้ว African grey parrot เท่านั้น
ในประเทศอังกฤษ มีการเก็บสถิติจากผู้ป่วยปอดอักเสบ พบโรคปอดอักเสบจากภูมิคุ้มกันไวเกินประมาณ 0.5% ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ แต่ถ้านับเฉพาะผู้ป่วยที่เลี้ยงนกแก้วไว้ในบ้าน ก็จะเพิ่มขึ้นมาเป็น 7.5% ซึ่งก็ยังถือว่าไม่มาก จึงถูกจัดเป็นโรคหายาก
สำหรับในประเทศไทย โอกาสพบโรคนี้มีมากใน “นกพิราบจรจัด” ในที่สาธารณะ เช่น วัด หมู่บ้าน สถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งมีการขายอาหารนกเป็นกิจจะลักษณะ เพราะยิ่งทำให้นกมารวมตัวกันมากขึ้น และพอกระพือปีกขึ้นพร้อม ๆ กันก็จะพัดพาสารภูมิแพ้ให้สูดดมไปกระตุ้น hypersensitivity pneumonitis กันได้ง่าย ๆ จึงอยากจะขอเตือนนายสัตวแพทย์ทุกท่านว่าอย่าไปสนับสนุนการเลี้ยงนกพิราบจรจัดที่ที่สาธารณะ ต่อมาก็คือ เจ้าของฟาร์มนกพิราบแข่ง เจ้าของร้านขายนกที่ตลาดค้าสัตว์ เจ้าของฟาร์มนกแก้วขนาดใหญ่ ฯลฯ ซึ่งเป็นหน้าที่ของสัตวแพทย์ที่จะต้องแนะนำให้เจ้าของนกทราบถึงความเสี่ยงนี้
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทความเท่านั้น อ่านบทความฉบับเต็มพร้อมภาพประกอบต่อได้ที่ : https://readvpn.com/article/detail/2292
บทความโดย : น.สพ.เกษตร สุเตชะ - คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำหรับคุณหมอสัตวแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก
ตอนนี้ทาง VPN มีโปรโมชั่นน่าสนใจอยู่นะ
💙 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,500 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💙 อ่านจากเล่ม เน้นสะสม -
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/register
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line :

คุณตำหนวด ออกตรวจร้าน 😁
05/12/2024

คุณตำหนวด ออกตรวจร้าน 😁

รับเพิ่มค่ะ
01/12/2024

รับเพิ่มค่ะ

29/11/2024

วันเสาร์ 30/11/67
รพ.ปิดรับเคส 17:00 น.
ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ

ส้มซ่า 😁
23/11/2024

ส้มซ่า 😁

คุณหมอคนสวย และเคส ตรวจechoหัวใจของเค้า💜❤️💚อาซาเพนยา ตาลาลาซีวา วาวา555
16/11/2024

คุณหมอคนสวย และเคส ตรวจechoหัวใจของเค้า💜❤️💚อาซาเพนยา ตาลาลาซีวา วาวา555

น้องมอมหูบวมน้ำสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากน้องเกาจนเส้นเลือดฝอยในหูแตก ปัจจัยที่ทำให้มีการเกาหูนั้นมีหลายสาเหตุ ได้แก่ การติดเ...
30/10/2024

น้องมอมหูบวมน้ำ

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากน้องเกาจนเส้นเลือดฝอยในหูแตก ปัจจัยที่ทำให้มีการเกาหูนั้นมีหลายสาเหตุ ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อยีสต์ในช่องหู ตลอดจนการติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณใบหู เพราะฉะนั้นหมั่นคอยดูแลทำความสะอาดหูน้องๆ และคอยสังเกตุอาการเกาก่อนที่หูจะบวมกันด้วยนะคะ

แฮปปี้😁
26/10/2024

แฮปปี้😁

น้องบลูอาย ของใครหลุดหาย มาติดต่อรับได้ที่รพส.สบายใจสัตวแพทย์ ได้นะคะ #นกบินอิสระเขลางค์นครลำปาง  #โรงพยาบาลสัตว์สบายใจส...
26/10/2024

น้องบลูอาย ของใครหลุดหาย มาติดต่อรับได้ที่รพส.สบายใจสัตวแพทย์ ได้นะคะ
#นกบินอิสระเขลางค์นครลำปาง

#โรงพยาบาลสัตว์สบายใจสัตวแพทย์ลำปาง

ที่อยู่

292/26​ Khelangnakorn Road, Hua Wiang
Muang Lampang
52000

เวลาทำการ

จันทร์ 09:00 - 20:00
อังคาร 09:00 - 20:00
พุธ 09:00 - 20:00
พฤหัสบดี 09:00 - 20:00
ศุกร์ 09:00 - 20:00
เสาร์ 09:00 - 20:00
อาทิตย์ 09:00 - 20:00

เบอร์โทรศัพท์

0890060224

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ โรงพยาบาลสัตว์สบายใจสัตวแพทย์ ลำปางผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

แชร์