ยาสัตว์ ปลีก-ส่ง

ยาสัตว์ ปลีก-ส่ง รักษาสัตว์ จำหน่ายยาสัตว์ วัคซีน อุปกรณ์ฟาร์ม อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง.
�096-5851959
(189)

จำหน่าย #ยาสัตว์ #ยาวัว #สุนัข #ยาหมาแมว
#ยาแพะแกะ #ยาไก่ชน #ยาหมู #วัคซีน #อุปกรณ์ฟาร์ม #อุปกรณ์สัตวแพทย์ #เวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ #เข็มไซริ้งค์ #ยาฉีด #ยาถ่ายพยาธิ # วิตามิน
#ยาสามัญประจำฟาร์ม #สัตวแพทย์ #สัตวบาล #เกตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ โทร.096-5851959

โรคอหิวาต์​แอฟริกาในสุกร หรือ ASF​ (African Swine Fever)เป็นโรคติดต่อที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส กลุ่ม Asfarviridae โดยเชื้...
10/09/2024

โรคอหิวาต์​แอฟริกาในสุกร หรือ ASF​ (African Swine Fever)
เป็นโรคติดต่อที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส กลุ่ม Asfarviridae โดยเชื้อไวรัสกลุ่มนี้สามารถแพร่ระบาดได้จากการกินอาหารที่ปนเปื้อน การสัมผัสสารคัดหลั่งที่มีเชื้อ การหายใจนำเชื้อเข้าสู่ปอด ติดเชื้อทางบาดแผล และถูกเห็บอ่อนสกุล Ornithodoros ที่เป็นพาหะกัด

อาการของโรคเมื่อหมูมีการติดเชื้อแล้วจะมีไข้สูง ​เกิดการอาเจียน ​ขับถ่ายเป็นเลือด และมีจุดเลือดออกหรือรอยช้ำบริเวณใบหู นอกจากนี้ยังแท้งลูกทุกช่วงของการตั้งครรภ์อีกด้วย หลังจากการติดเชื้อจะแสดงอาการภายใน​ 3-4 วัน

โรคเมลิออยด์ หรือ โรคมงคล่อเทียมเกิดจาการติดเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ติดต่อในคนและสัตว์ เช่น แพะ แกะ สุก...
04/09/2024

โรคเมลิออยด์ หรือ โรคมงคล่อเทียม
เกิดจาการติดเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ติดต่อในคนและสัตว์ เช่น แพะ แกะ สุกร โค กระบือ สุนัข การติดต่อเกิดจากการกิน ทางผิวหนัง บาดแผลโดยสัมผัสดิน โคลน น้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเป็นเวลานานๆ การหายใจนำละอองเชื้อเข้าไปในปอด
อาการ อาการหลากหลาย เฉียบพลัน รุนแรงและเรื้อรังหรือไม่มีอาการ ส่วนใหญ่มีไข้ หอบ มีน้ำมูก ไอ ปอดอักเสบ ในแพะแกะพบอาการทางระบบประสาท อาการเฉียบพลัน สัตว์ติดเชื้อในกระแสเลือดและตาย อาการเรื้อรัง ฝีเกิดขึ้นในอวัยวะภายใน เช่นปอด ตับ ไต ม้าม

https://dcontrol.dld.go.th/.../8303-2023-01-17-09-19-14

21/08/2024

✨รวมภาพน้องหมาน้องแมว💕 เพิ่มความน่ารัก ความสดใสวันนี้ค่ะ🌈🥰ขอบคุณนะคะที่ไว้วางใจพาลูกๆมาตรวจสุขภาพกับเราค่ะ🐶🐕‍🦺🐈🦮

◇คลินิก.สุรนารายณ์888 ยาสัตว์◇

🥰ยินดีให้บริการ
✅ บริการ ตรวจรักษาตรวจสุขภาพสัตว์ทั่วไป
✅รักษาด้านอายุรกรรม
✅โปรแกรมวัคซีน สุนัขแมว ถ่ายพยาธิ
✅ป้องกันเห็บหมัด พยาธิหนอนหัวใจ
✅โปรแกรมรักษาโรคผิวหนังในสัตว์
✅โปรแกรมรักษาโรคพยาธิในเม็ดเลือด
✅ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ
✅จำหน่ายยาสัตว์ เวชภัณฑ์สำหรับสัตว์
อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง

📣ติดต่อสอบถาม
แผนกบริการลูกค้า
📞โทร. 096-5851959
📲สอบถามคลิ๊ก👇🏻
https://lin.ee/f72GGCs

⏰เปิดบริการ
ตั้งแต่ 08.00น-17.00น
วันจันทร์ถึงเสาร์
หยุดทุกวัน อาทิตย์

📍ที่ตั้ง : ใกล้โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ ตำบลโคกสูง จังหวัด นคราชสีมา
📌พิกัด : โรงพยาบาลสัตว์สุรนารายณ์
https://g.co/kgs/e8HN83T

#รักษาสัตว์ yasat
#โรงพยาบาลสัตว์ในโครราช #ฉีดวัคซีน #ตรวจเลือด #รักษาสัตว์โคราช
#ยาสัตว์
#ยาสัตว์ ปลีก ส่ง
#ยาวัว
#ยาแพะ
#อุปกรณ์ฟาร์ม
#ยาสามัญประจำฟาร์ม
#ยาหมู
#ยาไก่ชน
#ยาหมา
#ยาแมว
#ยาสุนัขแมว
#ยาสัตว์เลี้ยง
#ยาสามัญประจำฟาร์ม
#อุปกรณ์ฟาร์ม
#เข็มไซริ้งค์ สแตนเลส
#เข็มพลาสติก ไซริ้งคพลาสติก
#ยาหมา #ยาแมว #ยาสุนัข #ยาเหมียว #ยาสัตวเลี้ยง #ฟาร์มหมา #เพาะหมา #ความรู้โรคสัตว์
#ยาเห็บหมัด
#สั่งยาสัตว์
#ยาไก่ชน #ยา ไก่ชนและอุปกรณ์ไก่ชน #ยาสัตว์ใหญ่ #ยาสัตว์นึกถึงเรา
#ยาสัตว์ปลีกส่ง

09/08/2024
โรคนิวคาสเซิล (Newcastle Disease)โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสในสัตว์ปีก เป็นโรคที่มีความสำคัญมากในสัตว์ปีกที่เลี้ยงเป็น...
03/08/2024

โรคนิวคาสเซิล (Newcastle Disease)
โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสในสัตว์ปีก เป็นโรคที่มีความสำคัญมากในสัตว์ปีกที่เลี้ยงเป็นอาหาร อาการของโรคมีตั้งแต่อ่อนจนถึงรุนแรง โรคนิวคาสเซิลติดต่อได้โดยการสัมผัสกับอุจจาระ หรือสิ่งคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของสัตว์ปีกที่ติดเชื้อ เชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน เชื้อไวรัสจากนกที่ติดเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายไปกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น รองเท้า เสื้อผ้า และอุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ได้ นกที่ติดเชื้อนิวคาสเซิลอาจไม่แสดงอาการของโรคเลย หรืออาจตายอย่างกะทันหันได้นกที่ติดเชื้ออาจแสดงอาการ ไอ จาม มีน้ำ มูก ซึม และท้องเสีย ในไก่ไข่ จะออกไข่ลดลงอย่างรวดเร็วและเปลือกไข่บาง อาการของโรคชนิดรุนแรง คือ เนื้อเยื่อบริเวณหัวบวม กล้ามเนื้อสั่น ปีกตก คอบิด เดินวน อัมพาต หรือตายอย่างเฉียบพลัน

🔰โรคเฮโมรายิกเซฟติซีเมีย (Haemorrhagic septicemia)หรือนิยมเรียกตามอาการว่า “โรคคอบวม”เป็นโรคระบาดรุนแรงของโค-กระบือ แต่โ...
29/07/2024

🔰โรคเฮโมรายิกเซฟติซีเมีย (Haemorrhagic septicemia)
หรือนิยมเรียกตามอาการว่า “โรคคอบวม”เป็นโรคระบาดรุนแรงของ
โค-กระบือ แต่โรคนี้จะมีความรุนแรงน้อยลงในสัตว์อื่นๆ เช่น แกะ สุกร ม้า อูฐ กวางและช้าง
เป็นต้น ลักษณะสำคัญของโรคคือ หายใจหอบลึกมีเสียงดัง คอหรือหน้าบวมแข็ง อัตราการป่วย
และอัตราการตายสูง
สาเหตุและการแพร่ระบาด
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ พาสทูเรลลา มัลโตชิดา (Pasteurella multocida) พบในประเทศต่างๆ
ของเอเชียและอาฟริกาเป็นส่วนมาก การระบาดของโรคจะเกิดขึ้นในสภาวะที่สัตว์เกิดความเครียด เช่น ต้นหรือปลายฤดูฝน มักเกิด ในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม การ
เคลื่อนย้ายสัตว์หรือการใช้แรงงานสัตว์มากเกินไป ในสภาวะความเครียดเช่นนี้สัตว์ที่เป็นตัวเก็บเชื้อ (carrier) จะปล่อยเชื้อออกมาปนเปื้อนกับอาหารและน้ำ เมื่อสัตว์ตัวอื่นกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปนอยู่เข้าไป ก็จะป่วยเป็นโรคนี้และขับเชื้อออกมากับสิ่งขับถ่ายต่างๆ เช่นน้ำมูก น้ำลาย
อุจจาระ ทำให้โรคแพร่ระบาดต่อไป เชื้อ P. multocida นี้เมื่อปนเปื้อนอยู่ในแปลงหญ้าจะมีชีวิต
อยู่ได้ประมาณ 24 ชั่ว โมง แต่ถ้าอยู่ในดินที่ขึ้นแฉะอาจมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 1 เดือน
😈อาการ
สัตว์ที่เป็นโรคแบบรุนแรงจะมีอาการซึม ไข้สูง 104-107 องศาฟาเรนไฮท์ น้ำลายฟูมปาก น้ำลาย
ไหล ไม่เคี้ยวเอื้อง และมักจะตายภายในเวลาอันรวดเร็ว 18-48 ชั่วโมงหลังแสดงอาการ แต่ถ้า
เป็นโรคแบบเรื้อรังจะสังเกตเห็นอาการทางระบบหายใจคือ อ้าปากหายใจ หายใจหอบลึก-ถี่ ยืด
คอไปข้างหน้า หายใจมีเสียงดัง ตาแดง ลิ้นบวมจุกปาก หน้า คอ หัวไหล่ หรือบริเวณหน้าอกจะ
บวมแข็งร้อน ลำตัวแข็ง ต่อมาจะมีอาการเสียดท้อง ท้องอืด อุจจาระมีมูกเลือดปน สัตว์จะตายภายใน 2-3 วัน กรณีรุนแรงน้อย จะตายภาย ใน 4-6 วัน เมื่อเปิดผ่าซากสัตว์ จะพบสารลักษณะ
คล้ายวุ้นแทรกอยู่ระหว่างผิวหนังและกล้ามเนื้อตรงบริเวณที่บวม มีจุดเลือดออกที่ต่อมน้ำเหลือง
และหัวใจ ปอดจะมีเลือดคั่ง หรือถ้าเป็นเรื้อรังจะพบเยื่อหุ้มปอดหนาตัวขึ้น เนื้อปอดแข็ง ภายในหลอดลมมีของเหลวปนฟองอากาศ (frothy exudate) ตับคั่งเลือดบวมขยายใหญ่ ลำไส้อักเสบต่อมน้ำเหลืองบวมน้ำขยายใหญ่ อัตราการป่วยในกระบือ 1.58-3.09% อัตราการตายในกระบือ1 .40 - 1 .89% พบการป่วยตายในโคน้อยกว่ากระบือ
💉การตรวจวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคนอกจากสังเกตอาการ วิการ และศึกษาประวัติสัตว์ป่วยแล้ว การตรวจหาเชื้อจาก
ตัวอย่างต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำควบคู่กัน ซึ่งกระทำได้ดังนี้คือ
1. ตรวจหาเชื้อขณะสัตว์มีชีวิตและมีไข้สูง จะพบเชื้อในกระแสเลือดได้ ขณะที่สัตว์มีไข้สูง หรืออาจ
ตรวจพบเชื้อในน้ำมูก น้ำลายก็ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรเก็บตัวอย่างเลือด น้ำลายหรือน้ำมูกจาก
สัตว์ป่วย ก่อนทำการรักษา ป้ายเลือดไว้บน กระจก (slide) ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเก็บใส่หลอด
แก้วส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เชื้อ P. multocida เมื่อย้อมด้วยสี เมทิลิน บลู (Methylene blue)
จะมีลักษณะเป็นรูปแท่งหัวท้ายมน ติดสีเข้มคล้ายเข็มกลัด
2. ตรวจหาเชื้อจากซากสัตว์ เปิดผ่าซากพร้อมบันทึกวิการที่ตรวจพบ แล้วเก็บอวัยวะต่างๆ เช่น
ต่อมน้ำเหลือง ปอด ตับ ม้าม หัวใจ ไต และลำไส้ แยกกันใส่ถุงพลาสติกแต่ถ้าซากสัตว์ถูก
ชำแหละหรือเน่ามาก ควรตรวจหาเชื้อจากไขกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเป็นกระดูกท่อน โต
เช่นกระดูกขาจะสามารถตรวจพบเชื้อได้ง่ายขึ้น
💉การรักษา
การรักษาจะได้ผลดีเมื่อทำการรักษาขณะสัตว์เริ่มแสดงอาการป่วย โดยให้ยาปฏิชีวนะ หรือยา
ซัลฟาต่างๆ เช่น อ๊อกซีเตตาไซคลิน เทอราไมชิน เพนนิซิลิน ซัลฟาไดมิดิน หรืออ๊อกซีเตตาไซคลิน
ร่วมกับเด๊กซาเมธา โซน ติดต่อต่อกัน 3-5 วัน เป็นต้น
💉การควบคุมและป้องกัน
เมื่อมีสัตว์ป่วยหรือตายที่สงสัยว่าจะเป็นโรคระบาดนี้ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ในท้องที่โดยเร็ว
สัตว์ที่ตายไม่ควรนำไปบริโภค ควรฝังหรือเผาป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ควรแยกสัตว์ป่วย
ออกจากฝูงทันทีและรีบตามเจ้าหน้าที่มาทำการรักษา หลีกเลี่ยงสภาวะที่ทำให้สัตว์เกิดความเครียด ด้วยการจัดการและสุขาภิบาลที่ดี ทำวัคซีนป้องกันโรคให้โค-กระบือ อายุตั้งแต่ 4
เดือนขึ้นไป ทุกๆ 1 ปี
วิธีการใช้วัคซีน
1.วัคซีนต้องเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเชียส ห้ามแช่แข็งก่อนนำวัคซีนไปใช้ นำวัคนออกจากตู้เย็น ทิงไว้ให้วัคนมีอณหภูมิเท่าอณหภูมิภายนอก

โรคบรูเซลโลซิส ( Brucellosis ) หรือโรคแท้งติดต่อโรคติดต่อเกิดจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ เรียกว่า บรูเซลล่า ( Brucella spp. ...
26/07/2024

โรคบรูเซลโลซิส ( Brucellosis ) หรือโรคแท้งติดต่อ
โรคติดต่อเกิดจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ เรียกว่า บรูเซลล่า ( Brucella spp. ) ที่มักพบการติดเชื้อบรูเซลล่าในฟาร์มปศุสัตว์และสามารถแพร่เชื้อสู่คนได้ เนื่องจากเชื้อบรูเซลล่าสามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ทางบาดแผลที่ผิวหนัง การกินเนื้อสัตว์ที่ไม่สุก การหายใจสูดดมเชื้อบรูเซลล่าที่ปนเปื้อนในอากาศภายในโรงฆ่าสัตว์ การสัมผัสกับเนื้อ เลือด เยื่อเมือก ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งของสัตว์จากการสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือผลิตภัณฑ์นมจากสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อซึ่งสัตว์ที่พบมักติดเชื้อ ได้แก่ แกะ วัว แพะ หมู อูฐ ควาย และสุนัข เป็นต้น

ที่อยู่

สุรนารายณ์
Nakhon Ratchasima
30310

เวลาทำการ

จันทร์ 08:00 - 18:00
อังคาร 08:00 - 18:00
พุธ 08:00 - 18:00
พฤหัสบดี 08:00 - 20:00
ศุกร์ 08:00 - 18:00
เสาร์ 08:00 - 18:00

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ ยาสัตว์ ปลีก-ส่งผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง ยาสัตว์ ปลีก-ส่ง:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ประเภท


สัตวแพทย์ อื่นๆใน Nakhon Ratchasima

แสดงผลทั้งหมด