มิตรแท้ รักษาสัตว์

มิตรแท้ รักษาสัตว์ คลินิกรักษาสัตว์เลี้ยงทั่วไป-พิเศษโรคมะเร็ง ผ่าตัดศัลยกรรม ดูแลสัตว์หลังผ่าตัด บริการฝากเลี้ยง และโรงแรมสำหรับสัตว์เลี้ยง
(9)

ให้บริการรักษาโรคทั่วไป วัคซีน ตรวจเลือดด่วน อัลตร้าซาวน์เฉพาะทางโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคตา โรคแมว โรคแมวและexotic pets และคำปรึกษาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง พร้อมบริการ
โรงแรมสำหรับสุนัขและแมว ด้วยทีมแพทย์คุณภาพ บริการเป็นกันเอง

🐱🐱🐱ประกาศช่วยน้องหาบ้านค่ะต้องการหาบ้านที่อบอุ่นให้น้องแมว ชื่อ จั๋งได๋  น้องเป็นแมวจร อายุประมาณ 4 เดือน ขอความจากน้องเ...
11/08/2024

🐱🐱🐱ประกาศช่วยน้องหาบ้านค่ะ

ต้องการหาบ้านที่อบอุ่นให้น้องแมว ชื่อ จั๋งได๋ น้องเป็นแมวจร อายุประมาณ 4 เดือน
ขอความจากน้องเจ้าของค่ะ

"ผมอยากหาบ้านให้น้องแมวที่เจอมาครับเจอน้องนั่งตัวสั่นตากฝนใต้สะพานลอยแล้วสงสารเลยเก็บมา น้องเพศผู้อายุประมาณ4เดือนครับ น่ารักมากแล้วก็ไม่ซนเลยครับขี้อ้อนชอบเดินมาให้ลูบหัวแล้วก็ชอบวิ่งเล่นในห้องครับแต่หลังๆมาผมเรียนหนักด้วยเลยไม่มีเวลาเล่นกับน้อง และเนื่องจากตอนนี้สภาพการเงินของผมยังไม่พร้อมบวกกับที่ต้องกลับต่างจังหวัดบ่อยๆเลยไม่อยากทิ้งน้องไว้ที่หอเหงาๆ (จริงๆแล้วที่หอก็ไม่ได้ให้เลี้ยงสัตว์) เลยอยากมาบ้านให้น้องได้เจอคนที่พร้อมดูแลน้องจริงๆครับ ผมพาน้องไปฉีดวัคซีนเข็มแรก หยดเห็บหมัดถ่ายพยาธิแล้วก็ให้คุณหมอตรวจร่างกาย น้องแข็งแรงดีมากครับ ผมอยู่แถวสะพานพระราม5ฝั่งนครอินทร์ครับ"

น้องร่าเริงแจ่มใส และสุขภาพดีค่ะ อยากได้บ้านหลังสุดท้ายให้น้องไว้พักกาย สนใจติดต่อ มิตรแท้รักษาสัตว์ หรือ โทร 0926700424 (เจ้าของ)

31/07/2024

โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว (feline infectious peritonitis; FIP) เป็นโรคติดเชื้อที่สำคัญในแมว โดยโรคนี้มีความรุนแรงและมีอัตราการรอดชีวิตค่อนข้างต่ำ เกิดจากไวรัสโคโรนาในแมว (feline coronavirus; FCoV) ซึ่งเป็นไวรัสที่สามารถพบได้ในลำไส้ของแมวและก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหาร โดยส่วนมากมักพบในแมวที่ถูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่หนาแน่น ทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อ FCoV ผ่านทางอุจจาระ (fecal-oral transmission) อีกทั้งยังโน้มนำทำให้เกิดความเครียดและเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อมากขึ้น
🔵 อาการทางคลินิก
อาการแรกเริ่มของโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมวมักคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ บางรายจะเกิดขึ้นแบบกะทันหัน โดยเป็นผลจากระบบภูมิคุ้มกัน อาการแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบเปียก (effusive form) และแบบแห้ง (non-effusive form)
แมวที่เป็นโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อแบบเปียก มักมาด้วยการสะสมของเหลวในช่องท้อง ที่เป็นผลมาจากการอักเสบของหลอดเลือด เนื่องจากการจับของ immune complex บริเวณหลอดเลือด โดยจะสังเกตเห็นว่าช่องท้องขยายใหญ่ หรือมีอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว หรือมีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ
สำหรับโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อแบบแห้งนั้น มักสังเกตอาการได้ยากกว่า เนื่องจากไม่มีการสะสมของของเหลว แต่อาจพบก้อนผิดปกติในช่องท้อง หรือ pyogranulomatous lesions ที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้าง immune complexes รวมกับสารประกอบบนผนังหลอดเลือด ประกอบกับการมีเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบเข้ามายังตำแหน่งดังกล่าว
🔵 การวินิจฉัย
1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เป็นการวินิจฉัยค่า complete blood count และ serum biochemistry โดยความผิดปกติที่พบได้บ่อยคือ
- Chronic non-regenerative anemia

- Leukocytosis ร่วมกับการเพิ่มขึ้นของ neutrophils และการลดลงของ lymphocytes

- Hyperproteinemia โดยมากพบเป็น hyperglobulinemia และ hypoalbuminemia

- Albumin:Globulin ratio (A:G) โดยพบว่า
มีค่า < 0.45 มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว

มีค่า 0.45-0.8 มีความเป็นไปได้ในการเกิดโรค

มีค่า > 0.8 มีโอกาสเป็นโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมวน้อย
- Hyperbilirubinemia และ hyperbilirubinuria โดยการเพิ่มขึ้นของ bilirubin (หรือ biliverdin) ในเลือดและปัสสาวะไม่สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของ liver enzymes
2. ลักษณะของตัวอย่างน้ำในช่องว่างของร่างกาย
- ลักษณะเป็นน้ำใสไปจนถึงเป็นเมือกคล้ายไข่ขาว (clear to moderately cloudy, viscous)

- ค่าความถ่วงจำเพาะ 0.17 - 1.047

- ค่าโปรตีนสูงอยู่ที่ 9.0 - 9.8 g/dL จึงอาจทำให้เห็นลักษณะของการแข็งตัว หรือเห็นเป็นเส้นสายของโปรตีนของน้ำตัวอย่างได้

- สีเหลืองใสถึงเหลืองเข้ม (บางครั้งอาจพบเป็นสีเขียว หากสารประกอบภายในนั้นเป็น biliverdin)

- เซลล์ส่วนใหญ่ที่พบมีปริมาณปานกลาง (500–5000/μL) มักพบเป็น macrophages neutrophils และ lymphocytes
3. การทำ Rivalta test
เป็นการตรวจที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้ผลง่าย และนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศแถบยุโรป แต่ไม่สามารถใช้ในการยืนยันและสรุปผลการเป็นโรคได้ เป็นเพียงแค่วิธีการแยก exudate และ transudate ออกจากกันอย่างรวดเร็ว
การตรวจทำได้โดยการนำน้ำตัวอย่างที่เจาะได้จากช่องท้อง ช่องอก หรือช่องหุ้มหัวใจ หยดลงในสารละลาย acetic acid แล้วหากพบการคงตัวของน้ำตัวอย่างจะถือว่าให้ผลบวก เนื่องจากในน้ำตัวอย่างมีโปรตีน ไฟบริน และ เซลล์อักเสบอยู่ จึงมีผลให้เกิดการคงตัว
4. การทำอัลตราซาวด์ และรังสีวินิจฉัย
วิธีนี้จะพบของเหลวในช่องอกหรือช่องท้อง การเพิ่มขึ้นของ opacities ในปอด หรืออาจไม่พบความผิดปกติใด ๆ จากการทำรังสีวินิจฉัย ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณและรูปแบบของโรค โดยทั่วไปการทำอัลตราซาวด์ มักไม่พบความผิดปกติเป็นลักษณะจำเพาะ โดยมากมักพบเป็นลักษณะของ mesenteric lymphadenopathy, renomegaly irregular renal contour หรือ hypoechoic subcapsular, ascites หรือ retroperitoneal effusion, intestinal wall thickening, ileocecocolic junction mass
5. Reverse transcriptase-polymerase chain reaction (RT-PCR)
วิธีนี้สามารถตรวจการติดเชื้อ active coronavirus ในตัวอย่างซีรั่ม อุจจาระ น้ำในช่องท้อง ตัวอย่างจากการ biopsy หรือ FNA แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้ไม่สามารถแยกเชื้อที่ก่อโรคหรือไม่ก่อโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมวได้ อีกทั้งยังมีโอกาสให้ผลทั้ง false negative และ false positive ดังนั้นจึงควรวินิจฉัยร่วมกับข้อมูลสัตว์ป่วยและผลการตรวจอื่น ๆ ด้วย
6. การตรวจวัดระดับไตเตอร์ของแอนติบอดีใน coronavirus
แม้จะไม่สามารถวินิจฉัยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมวได้แม่นยำนัก เพราะเนื่องจากเป็นการตรวจทดสอบการสัมผัสเชื้อ FCoV เท่านั้น อีกทั้งระยะท้ายของโรคนี้แอนติบอดีอาจไปจับกับเชื้อไวรัส ทำให้ผลที่ออกมาเป็นลบ แต่จากการศึกษาพบว่าสัตว์ป่วยที่เป็นโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อ มักพบระดับไตเตอร์สูงร่วมกับผลการตรวจอื่น ๆ ที่สอดคล้องกัน เมื่อเทียบกับแมวสุขภาพดี
7. Histopathology
ถือเป็นวิธีการวินิจฉัยที่มีความแม่นยำสูง และจัดเป็น gold standard ในการวินิจฉัยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว โดยรอยโรคที่พบได้ คือ perivascular granulomatous inflammation และ vasculitis โดยวิธีนี้อาจทำร่วมกับ immunostaining (immunofluorescence/ immunohistochemistry) เพื่อช่วยยืนยันผลการวินิจฉัยจากรอยโรคที่พบ โดยเป็นการตรวจแอนติเจนของ coronavirus ใน macrophage อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ไม่สามารถแยกระหว่าง virulent และ avirulent coronavirus ออกจากกันได้ แต่หากพบใน macrophages ที่อยู่ใน granulomatous lesion หรือ effusion อาจพิจารณาได้ว่ามีแนวโน้มจะเป็นโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมว
8. CSF Examination

- สามารถใช้ยืนยันผลโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อในแมวที่แสดงอาการทางระบบประสาทได้

- วิธีนี้ทำได้โดยการเจาะเก็บตัวอย่าง CSF ไปตรวจด้วยวิธีการต่าง ๆ
🔵 การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาด การรักษาเป็นแบบการรักษาเพื่อพยุงอาการเท่านั้น โดยมีแนวทางการรักษาดังนี้
1. Antiviral drugs
ยาในกลุ่มนี้จะแบ่งกลไกการทำงาน 2 ประเภทด้วยกันคือ ออกฤทธิ์ต่อ cellular machinery มีผลขัดขวางการจำลองตัวของไวรัส และออกฤทธิ์ต่อกลไกอื่น ๆ ที่มีผลต่อการแพร่และการจำลองตัวของไวรัส ตัวอย่างยา เช่น chloroquine ที่ใช้ในการรักษาโรคมาลาเรีย พบว่ามีผลในการยับยั้งการจำลองตัวของเชื้อในการทดสอบนอกร่างกาย (in vitro) และมีคุณสมบัติในการลดการอักเสบอีกด้วย
2. Anti-inflammatory และ immunosuppressive drugs
- Prednisolone และ alkylating drugs เช่น cyclophosphamide ถูกนำมาใช้ในการรักษาแมวที่ป่วยด้วยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อ โดยหวังผลกดการอักเสบและการตอบสนองจากภูมิคุ้มกัน และลดอาการทางคลินิก อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่ายากลุ่มดังกล่าวมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินไปของโรค
- Pentoxifylline นิยมนำมาใช้เพื่อหวังผลลด vasculitis แต่จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่ายาดังกล่าวไม่ได้มีผลต่อการเพิ่ม survival time และสนับสนุนคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้
3. Immune modulator
ยกตัวอย่างเช่น feline interferon omega และ human interferon alpha เป็นยาที่ใช้เพื่อหวังผลช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีการใช้อย่างแพร่หลายในบางภูมิภาคเท่านั้น ยาให้ผลลดความรุนแรงของอาการทางคลินิกได้ดี เมื่อใช้ควบคู่กับยากลุ่ม corticosteroids อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่ายากลุ่มนี้ยังคงให้ประสิทธิภาพการรักษาที่ไม่แน่นอน อีกทั้งยังไม่พบว่ามีผลช่วยในการยืดอายุหรือทำให้คุณภาพชีวิตของแมวป่วยดีขึ้นแต่อย่างใด
4. Virus inhibitory peptides
ในปี 2013 Liu และคณะ ได้ทำการศึกษาและออกแบบเปปไทด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส โดยเปปไทด์นี้จะเข้าไปยับยั้งที่ตำแหน่งกึ่งกลางของ heptad repeat (HR) 1 และ 2 ซึ่งเป็นบริเวณที่สำคัญในกลไกการแบ่งตัวของไวรัสบริเวณหนึ่ง จากการศึกษาพบว่าเปปไทด์ดังกล่าวสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของ FIPV ได้ถึง 97% เมื่อใช้ที่ความเข้มข้น

ฝากถึงคนที่กำลังหางานค่ะงานมันไม่ได้หายาก ถ้าหากเราต้องการจะทำงานและทำงานจริงๆค่ะเรียนเชิญคนที่สนใจสมัครค่ะ
17/07/2024

ฝากถึงคนที่กำลังหางานค่ะ
งานมันไม่ได้หายาก ถ้าหากเราต้องการจะทำงานและทำงานจริงๆค่ะ

เรียนเชิญคนที่สนใจสมัครค่ะ

เราพร้อมบริการแล้วWe Are READY.ธนาคารเลือดมิตรแท้รักษาสัตว์--------มีเลือด กรุ๊ปทั้งลบและบวกนะคะ  ถ้าต้องการแจ้งได้เลยนะ...
09/07/2024

เราพร้อมบริการแล้ว
We Are READY.

ธนาคารเลือดมิตรแท้รักษาสัตว์--------
มีเลือด กรุ๊ปทั้งลบและบวกนะคะ
ถ้าต้องการแจ้งได้เลยนะคะ
ตอนนี้
มีผลิตภัณฑ์เลือดดังนี้
สุนัข Fresh Whole blood/Fresh Frozen Plasma/Stored Whole blood
แมว Fresh Whole blood group A
มิตรแท้รักษาสัตว์ พิบูลสงคราม นนทบุรี
สอบถามโทร 0871063058 คุณพงศ์(เจ้าหน้าที่ธนาคารเลือด)
รับ-ส่งตัวอย่าง/เลือด/ถุงเลือดทั่วไทยค่า
#มิตรแท้รักษาสัตว์ #ธนาคารเลือด #เลือดสุนัข #เลือดหมา #เลือดแมว #นนทบุรี #กรุงเทพและปริมณฑล #ทั่งประเทศ #ต้องการเลือด

------ธนาคารเลือดมิตรแท้รักษาสัตว์--------
มีเลือด กรุ๊ปทั้งลบและบวกนะคะ
ถ้าต้องการแจ้งได้เลยนะคะ
ตอนนี้
มีผลิตภัณฑ์เลือดดังนี้
สุนัข Fresh Whole blood/Fresh Frozen Plasma/Stored Whole blood
แมว Fresh Whole blood group A

มิตรแท้รักษาสัตว์ พิบูลสงคราม นนทบุรี
สอบถามโทร 0871063058 คุณพงศ์(เจ้าหน้าที่ธนาคารเลือด)
รับ-ส่งตัวอย่าง/เลือด/ถุงเลือดทั่วไทยค่า
#มิตรแท้รักษาสัตว์ #ธนาคารเลือด #เลือดสุนัข #เลือดหมา #เลือดแมว #นนทบุรี #กรุงเทพและปริมณฑล #ทั่งประเทศ #ต้องการเลือด

สวัสดีวันสงกรานต์ค่า
12/04/2024

สวัสดีวันสงกรานต์ค่า

11/04/2024

***หน้าร้อน หยุดยาวนี้***
-->ฝากเลี้ยง ตรวจสุขภาพ ฟังเสียงหัวใจ/ปอด ตรวจหู ฟรีโดยคุณหมอ สงกรานต์นี้ไม่ปิดนะคะ
-->พาน้องๆมาทำหมันแลเวฝากจนตัดไหมก็มีบริการ

------ไม่ว่าจะวันหยุดยาวหรือวันไหนๆ ให้มิตรแท้รักษาสัตว์ช่วยดูแลน้องๆ ได้นะฮะ พร้อมบริการตรวจร่างกายโดยคุณหมอ ดูแลสุขภาพ ตรวจร่างกายก่อนเข้าพัก อัพเดทอาการผ่านรูปถ่ายและวีดีโอคอล เปิดแอร์เย็นๆทุกห้องเลย-------

ติดต่อสอบถาม 0814996229
Line เบอร์โทร 0814996229
#มิตรแท้รักษาสัตว์ #สุนัข #แมว #ฝากเลี้ยง #นนทบุรี #พิบูลสงคราม #พระราม7 #พระราม5 #บางกรวย #บางใหญ่ #นอกสถานที่ #รับส่ง #ฝากน้องไว้กับหมอ #เพราะสัตว์เลี้ยงของคุณคือมิตรแท้ของเรา

11/04/2024
11/04/2024

สงกรานต์นี้ หมอไม่ได้ไปไหน
มีเรื่องด่วน เหตุใดติดต่อ หมอได้เลยนะคะ (ฉุกเฉิน 24 ชั่วโมงได้ค่า)

13 เมษายน 67 - เปิด 8.00-12.00 น.
14 เมษายน 67 - เปิด 10.00-20.30 น.
15 เมษายน 67 - ปิดวันจันทร์ตามปกติ
16 เป็นต้นไป เปิด 10.00-20.30 น.ค่ะ
สอบถาม 0814996229
line 0814996229
ธนาคารเลือด 0871063058 (โทรได้ 24 ชั่วโมง)

ว่าด้วยเรื่องถั่ว  ถั่วแบบไหนให้ทานได้ แบบไหนห้ามทาน ไปเช็คกันเลยยย
04/04/2024

ว่าด้วยเรื่องถั่ว ถั่วแบบไหนให้ทานได้ แบบไหนห้ามทาน ไปเช็คกันเลยยย

[DOG TALK] ถามกันเข้ามาเยอะมากว่า "น้องหมา กินถั่วได้ไหม?" 🐶🤎🥜
✅ คำตอบก็คือ "กินได้บางชนิด และต้องกินในปริมาณน้อยเท่านั้นค่ะ"
🔎 จะมีถั่วชนิดไหนที่น้องหมากินได้บ้าง และจะต้องมีวิธีกินที่ถูกต้องยังไงบ้าง แอดมินรวบรวมข้อมูลมาให้แล้วค่ะ
ไปดูกันเลย ⬇⬇⬇

------ธนาคารเลือดมิตรแท้รักษาสัตว์--------มีเลือด กรุ๊ปทั้งลบและบวกนะคะ  ถ้าต้องการแจ้งได้เลยนะคะตอนนี้มีผลิตภัณฑ์เลือดด...
03/04/2024

------ธนาคารเลือดมิตรแท้รักษาสัตว์--------
มีเลือด กรุ๊ปทั้งลบและบวกนะคะ
ถ้าต้องการแจ้งได้เลยนะคะ
ตอนนี้
มีผลิตภัณฑ์เลือดดังนี้
สุนัข Fresh Whole blood/Fresh Frozen Plasma/Stored Whole blood
แมว Fresh Whole blood group A

มิตรแท้รักษาสัตว์ พิบูลสงคราม นนทบุรี
สอบถามโทร 0871063058 คุณพงศ์(เจ้าหน้าที่ธนาคารเลือด)
รับ-ส่งตัวอย่าง/เลือด/ถุงเลือดทั่วไทยค่า
#มิตรแท้รักษาสัตว์ #ธนาคารเลือด #เลือดสุนัข #เลือดหมา #เลือดแมว #นนทบุรี #กรุงเทพและปริมณฑล #ทั่งประเทศ #ต้องการเลือด

เปิดร้านตามปกติ 29 มีนาคมค่าเดือน เมษายน ไม่ปิด เปิดบริการตามปกติค่า
28/03/2024

เปิดร้านตามปกติ 29 มีนาคมค่า
เดือน เมษายน ไม่ปิด เปิดบริการตามปกติค่า

วันนี้ถึงวันที่ 24 มีนาคม เปิดตามปกติ25-29 มีนาคม หยุด 5 วันเปิด 30 มีนาคม ตามปกติ สงกรานต์ไม่ปิดค่ะ เปิดยาวๆไปเลยค่า
20/03/2024

วันนี้ถึงวันที่ 24 มีนาคม เปิดตามปกติ
25-29 มีนาคม หยุด 5 วัน
เปิด 30 มีนาคม ตามปกติ
สงกรานต์ไม่ปิดค่ะ เปิดยาวๆไปเลยค่า

ปิดประจำปี  25-29 มีนาคม 2567ขออภัยคุณลูกค้าทุกท่านด้วยค่ะปล.ช่วงสงกรานต์ไม่ปิดนะคะ #มิตรแท้รักษาสัตว์  #นนทบุรี
19/03/2024

ปิดประจำปี 25-29 มีนาคม 2567
ขออภัยคุณลูกค้าทุกท่านด้วยค่ะ
ปล.ช่วงสงกรานต์ไม่ปิดนะคะ
#มิตรแท้รักษาสัตว์ #นนทบุรี

ธนาคารเลือด มิตรแท้รักษาสัตว์ หยุด 21 มีนาคม - 1 เมษายน  เปิดอีกครั้ง 2 เมษายน ยาวๆไปทั้งปีนะคะสามารถติดต่อสอบถามเรื่องเ...
19/03/2024

ธนาคารเลือด มิตรแท้รักษาสัตว์ หยุด 21 มีนาคม - 1 เมษายน เปิดอีกครั้ง 2 เมษายน ยาวๆไปทั้งปีนะคะ
สามารถติดต่อสอบถามเรื่องเลือดได้ทาง
addline: 0814996229
โทร 0871063058

#ธนาคารเลือดสุนัขและแมว #มิตรแท้รักษาสัตว์

💝💝สุขสันต์วันแห่งความรักฮับ ขอให้พ่อๆแม่ทุกท่านสุขสันต์วันวาเลนไทน์  มีความรักให้กันเยอะๆนะฮะ"แอมมีน ลูกหมอแอม" กล่าวววว...
13/02/2024

💝💝สุขสันต์วันแห่งความรักฮับ ขอให้พ่อๆแม่ทุกท่านสุขสันต์วันวาเลนไทน์ มีความรักให้กันเยอะๆนะฮะ
"แอมมีน ลูกหมอแอม" กล่าวววว

#แอมมีนแมวหมอแอม #แมวหล่อตาเหล่ #มิตรแท้รักษาสัตว์ #นนทบุรี

สุขสันต์วันปีใหม่ค่ะขอให้มีความสุขในทุกๆวันสุขภาพร่างกายแข็งแรงได้พบได้เจอแต่สิ่งดีๆHappy New Year 2024Thank you for you...
01/01/2024

สุขสันต์วันปีใหม่ค่ะ
ขอให้มีความสุขในทุกๆวัน
สุขภาพร่างกายแข็งแรง
ได้พบได้เจอแต่สิ่งดีๆ

Happy New Year 2024
Thank you for your support
We promise we will do better and better every day

#มิตรแท้รักษาสัตว์
#เพราะสัตว์เลี้ยงของคุณคือมิตรแท้ของเรา

เปิดบริการทุกวัน
30/12/2023

เปิดบริการทุกวัน

30/12/2023

ปีใหม่นี้ ไปเที่ยวไหนกันคะ? ☀️☁️🐶😸🚘☁️
บ้านไหนพกน้องหมาแมวไปด้วย วันนี้เอาเทคนิคพาน้องขึ้นรถเที่ยวมาฝากกัน เตรียมตัวไว้ก่อน ตอนพาเที่ยวเด็กๆจะได้ไม่เมารถ น้ำลายไม่ยืด ไม่อ้วกน้า

🌈😆 ใครพาน้องไปเที่ยวไหนกันบ้าง มารีวิวความป่วง ความซน เอ้ย ความสนุกกันได้นะคะ

ขอให้ทั้งคนและน้องหมาน้องแมวเดินทางปลอดภัย เที่ยวกันให้สนุกทุกๆบ้านเลยน้า 🙏🏻❤

30/12/2023

ประชาสัมพันธ์ เรื่องการจดทะเบียนสุนัขในพื้นที่กรุงเทพฯ ค่ะ

สวัสดีปีใหม่ ทุกๆท่านค่าปีใหม่เปิดบริการเสาร์ที่  30  -11.00-20.30 น.อาทิตย์ที่  31 -11.00-20.30 น.จันทร์ที่ 1 -12.00-15...
29/12/2023

สวัสดีปีใหม่ ทุกๆท่านค่า
ปีใหม่เปิดบริการ
เสาร์ที่ 30 -11.00-20.30 น.
อาทิตย์ที่ 31 -11.00-20.30 น.
จันทร์ที่ 1 -12.00-15.00 น.
อังคารที่ -11.00-20.30 น.
สอบถาม โทร 081-499-6229

#มิตรแท้รักษาสัตว์ #นนทบุรี #พิบูลสงคราม #รักษาสัตว์ #แอดมิท #ผ่าตัด #มะเร็ง #วัคซีน #รักษาสัตว์ #อัลตร้าซาวน์ #ตรวจหัวใจ #คลินิกโรคแมว

20/12/2023

ในฐานะสัตวแพทย์ เรามีบทบาทที่สำคัญในการดูแลรักษาสัตว์ป่วย รวมไปถึงการดูแลคุณภาพชีวิต และการควบคุมความเจ็บปวด โดยเฉพาะในขั้นตอนของการทำศัลยกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานศัลยกรรมเนื้อเยื่ออ่อน ศัลยกรรมกระดูก รวมไปถึงงานทันตกรรมและศัลยกรรมช่องปาก โดยการควบคุมความเจ็บปวดนั้น เป็นขั้นตอนที่มีความจำเป็นและควรให้ความสำคัญ ทั้งในระหว่างการผ่าตัด ไปจนถึงหลังการผ่าตัด
ความเจ็บปวด เป็นกระบวนการทางสรีรวิทยา ที่เกิดขึ้นเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยร่างกายจะมีการตอบสนองต่อความเจ็บปวดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นผ่านการรับรู้ทางระบบประสาท โดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่
1. Transduction คือ การรับความรู้สึกเจ็บปวด จาก pain receptor และเปลี่ยนแปลงไปเป็นกระแสประสาท
2. Transmission คือ การเคลื่อนที่ของกระแสประสาทผ่านไปยังไขสันหลัง
3. Modulation คือ การส่งผ่านความรู้สึกเจ็บปวดจากไขสันหลัง ไปยังสมอง
4. Perception คือ การรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดของสมอง
การควบคุมความเจ็บปวดโดยวิธี Multimodal Analgesia หรือ Balanced Analgesia
คือหลักการใช้ยาหลายชนิดที่มีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมความเจ็บปวดให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงลดผลข้างเคียงของยาแต่ละชนิด เช่น การใช้ยากลุ่ม NSAIDs ร่วมกับ opioids และยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ี เป็นต้น
การควบคุมความเจ็บปวดก่อนการผ่าตัด โดยการใช้ balanced analgesia อย่างเหมาะสม จะช่วยลดการใช้ยาสลบ ลดผลข้างเคียงจากยาสลบต่าง ๆ ลดระดับความลึกของการสลบ และลดปัญหาแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในขณะวางยา เช่น ภาวะ hypotension หรือ bradycardia เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้การวางยาสลบมีความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมความเจ็บปวดไปจนถึงช่วงหลังการผ่าตัด ทำให้ลดการใช้ยาลดปวดอื่น ๆ ได้
สำหรับงานทันตกรรมและศัลยกรรมช่องปาก วิธีที่ช่วยควบคุมความเจ็บปวดได้ดีที่สุดทางหนึ่งคือการใช้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายและไม่ต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือพิเศษ
ยาที่นิยมใช้ในการระงับความรู้สึกเฉพาะที่
1. Lidocaine
- เป็นยาที่ออกฤทธิ์สั้น มี onset ประมาณ 2-5 นาที และออกฤทธิ์ได้นานประมาณ 60-120 นาที
- เหมาะกับการใช้ในระหว่างการผ่าตัดที่ต้องการให้ยาชาหมดฤทธิ์พอดีกับช่วงเวลาที่สัตว์ฟื้นจากยาสลบ
- ขนาดของยาที่แนะนำ คือ ไม่เกิน 5 mg/kg ในสุนัข และ 1 mg/kg ในแมว โดยการคำนวณขนาดของยา ต้องนำมาคำนวณร่วมกับปริมาณยาที่ใช้ทั้งหมดในร่างกาย รวมถึงปริมาณที่ใช้เป็นยานำสลบหรือการให้ยาต่อเนื่องทางน้ำเกลือ (constant rate infusion; CRI) ด้วย
2. Bupivacaine
- เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยาว มี onset ประมาณ 8 – 30 นาที และออกฤทธิ์ได้นานประมาณ 4-10 ชั่วโมง
- เหมาะกับการใช้ในระหว่างการผ่าตัดที่ใช้เวลานาน และต้องการให้ฤทธิ์ยาคงอยู่จนถึงช่วงพักฟื้นหลังการผ่าตัด
- ขนาดของยาที่แนะนำ คือ ไม่เกิน 2 mg/kg ทั้งในสุนัขและแมว
- ข้อควรระวัง คือ ยามีฤทธิ์ cardiotoxic ไม่สามารถให้เข้าเส้นเลือดได้ จึงควรระมัดระวัง และตรวจสอบก่อนการฉีดทุกครั้ง ว่าเข็มฉีดยาไม่ได้อยู่ในเส้นเลือด
Anatomy
เส้นประสาทส่วนที่รับความรู้สึกบริเวณกรามบนและกรามล่าง คือแขนงของเส้นประสาทที่แยกมาจาก trigeminal nerve ได้แก่ infraorbital nerve ที่ต่อมาจาก maxillary nerve และ inferior alveolar nerve ที่ต่อมาจาก mandibular nerve ดังภาพที่ 1 (ดูภาพได้ที่บทความบนเว็บไซต์)
วิธีการให้ยาระงับความรู้สึกบริเวณช่องปาก จะสามารถแบ่งได้เป็น 4 ตำแหน่งหลัก ๆ ดังนี้
1. The infraorbital block/ rostral maxillary regional block
ออกฤทธิ์ที่ infraorbital nerve และ rostral maxillary alveolar nerve ควบคุมความเจ็บปวดบริเวณฟันหน้า ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อย 3 ซี่แรก กระดูกกรามบนและเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณรอบ ๆ กรามบนในฝั่งเดียวกันกับฝั่งที่ให้ยา เหมาะสำหรับการผ่าตัดกรามบน เช่น rostral maxillectomy หรือการถอนฟันหน้าด้านบนและฟันเขี้ยวด้านบน เป็นต้น
- เปิดริมฝีปากบนของฝั่งที่ต้องการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่
- คลำหาตำแหน่ง infraorbital foramen ที่เหงือกบริเวณรากฟัน mesiobuccal ของฟัน premolar ที่ 4
- แทงเข็มฉีดยาเข้าบริเวณเหงือกด้านหน้าของ infraorbital foramen ให้เข็มผ่านเข้าไปใน infraorbital foramen โดยไม่ชนกับกระดูก
- ตรวจสอบว่าเข็มฉีดยาไม่ได้เข้าหลอดเลือด แล้วจึงฉีดยาเข้าในตำแหน่งนั้น
หมายเหตุ ในแมวและสุนัขพันธุ์หน้าสั้นมี infraorbital foramen ที่สั้นมาก การให้ยาระงับความรู้สึกเข้าทาง infraorbital foramen จะสามารถออกฤทธิ์ควบคุมความเจ็บปวดบริเวณฟันด้านบน กระดูกกรามบน และเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณรอบ ๆ กรามบน รวมทั้งเพดานปาก เนื้อเยื่อเพดานอ่อนและเพดานแข็งของฝั่งเดียวกันกับฝั่งที่ให้ยาได้เหมือนการทำ caudal maxillary nerve block
2. The maxillary block/ caudal maxillary regional block
ออกฤทธิ์ที่แขนงของ maxillary nerve ได้แก่ infraorbital nerve, pterygopalatine nerve, major และ minor palatine nerve ควบคุมความเจ็บปวดบริเวณฟันด้านบน กระดูกกรามบน และเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณรอบ ๆ กรามบน รวมทั้งเพดานปาก เนื้อเยื่อเพดานอ่อนและเพดานแข็งของฝั่งเดียวกันกับฝั่งที่ให้ยา เหมาะสำหรับการผ่าตัดกรามบนแบบ hemimaxillectomy หรือการถอนฟัน molar เป็นต้น
- เปิดปากของสัตว์ป่วยให้อ้าออก และทำการดึงมุมปากไปทางด้านหลัง
- แทงเข็มฉีดยาเข้าบริเวณเหงือก ด้านหลังรากฟัน distobuccal ของฟัน molar ที่ 2 ในทิศทางตั้งฉากกับเพดานปาก
- แทงเข็มฉีดยาเข้าไปลึกประมาณ 3 ถึง 5 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กับขนาดตัวของสัตว์
- ตรวจสอบว่าเข็มฉีดยาไม่ได้เข้าหลอดเลือด แล้วจึงฉีดยาเข้าในตำแหน่งนั้น
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทความเท่านั้น อ่านบทความฉบับเต็มพร้อมภาพประกอบและหัวข้อเรื่อง The mental block/ rostral mandibular regional block และ The inferior alveolar block/ mandibular block ต่อได้ที่ : https://readvpn.com/article/detail/2117
บทความโดย : สพ.ญ.เกตุแก้ว วาสนาสุข
สำหรับคุณหมอสัตวแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก
ตอนนี้ทาง VPN มีโปรโมชั่นน่าสนใจอยู่นะ
💙 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,500 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💙 อ่านจากเล่ม เน้นสะสม -
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/VPN/Subscription
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line :

02/12/2023

Pain management ในสัตว์เลี้ยงนั้น นับว่าเป็นการจัดการทางคลินิกที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามพบว่า pain management ในสัตว์สูงอายุ หรือสัตว์ที่มีความเจ็บปวดแบบรุนแรงหรือเรื้อรังนั้น มีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลถึงความสำเร็จในการดำเนินการในคลินิก
Drug Corner ในฉบับนี้ จึงนำแนวทางของ pain management ในสัตว์สูงอายุ หรือสัตว์ที่มีความเจ็บปวดแบบรุนแรงหรือเรื้อรัง มาเล่าสู่กันฟังครับ โดยเนื้อหาของแนวทางจะเป็นการสรุปประเด็นสำคัญของ 2 guidelines สำคัญ ที่มีการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน คือ 2022 WSAVA Guidelines for Recognition, Assessment and Treatment of Pain (Monteiro et al., 2023) และ 2022 AAHA Pain Management Guidelines for Dogs and Cats (Gruen et al., 2022)
Understanding Pain Principle & Coordinated Pain Management
ใน 2 guidelines ได้มีการกล่าวถึงหลักการสำคัญ 2 ประเด็น ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อความเข้าใจและการวางแนวทางของ pain management ทางคลินิก ได้แก่ understanding pain principle และ coordinated pain management โดยสามารถขยายความ ดังนี้
Understanding pain principle คือความเข้าใจในหลักการของ pain โดย International Association for the Study of Pain (IASP) ได้ให้คำนิยามของ pain ดังนี้ “An unpleasant sensory and emotional experience associated with, or resembling that associated with, actual or potential tissue damage” ซึ่งพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อ pain perception ที่สำคัญ ได้แก่ cognitive function, emotional state, physical & social environment, neurobiology, past experiences
ในทางคลินิก สัตวแพทย์ควรมีความเข้าใจในกลไกการเกิด pain โดยเฉพาะในส่วนของ adaptive pain และ maladaptive pain รวมถึงชนิดของ pain ที่สำคัญ คือ inflammatory pain, neuropathic pain, dysfunctional pain ซึ่งได้สรุปประเด็นสำคัญใน ตารางที่ 1 และ ตารางที่ 2 (ดูตารางได้ที่บทความบนเว็บไซต์)
Coordinated pain management คือ ความร่วมมือและความรับผิดชอบใน pain management ร่วมกัน ของ veterinary team and pet owners โดยเริ่มตั้งแต่ความเข้าใจใน pain principle ไปจนถึง pain assessment และ pain control and treatment ซึ่งพบว่า team and client communication นั้นมีส่วนสำคัญอย่างมาก รวมไปถึงการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้หลักการของ gentle and friendly handling of animal ยังมีผลสำคัญต่อความสำเร็จของ pain management ซึ่งรวมไปถึงการให้ pre-visit medications เช่น gabapentin ยังช่วยให้สัตว์ป่วยให้ความร่วมมือในการตรวจร่างกายและ pain assessment อีกด้วย
Pain Recognition and Assessment
ในการดำเนินการด้าน pain management นั้น การทำ pain recognition and assessment มีส่วนสำคัญในการประเมิน และจัดระดับความเข้มข้นของ pain management protocol ในแต่ละ pain episode โดยในปัจจุบัน การทำ pain recognition and assessment ควรดำเนินการตาม guidelines ซึ่งพบว่าสามารถแบ่งการใช้ตาม pain stage ได้ ดังตารางที่ 3 (ดูตารางได้ที่บทความบนเว็บไซต์)
Factors Affecting Pain Management in Senior Pets
การดำเนินการด้าน pain management ใน senior pets นั้น มีปัจจัยทางเภสัชวิทยาที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ pain management protocol สามารถแบ่งออกได้เป็นปัจจัยด้าน pharmacodynamics (PDs) และปัจจัยด้าน pharmacokinetics (PKs) โดยปัจจัยด้าน PDs นั้น มักได้แก่ severity and duration of diseases ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อ mechanisms and severity of pain โดยทั่วไป chronic (maladaptive) pain นั้น จะค่อนข้างเป็นปัญหาในการดำเนินการด้าน pain management ซึ่งต้องอาศัยการติดตามและปรับ pain management protocol อย่างใกล้ชิด รวมถึงความสามารถในการทนต่อการรักษาของตัวสัตว์ป่วย และการตอบสนองต่อการรักษาที่ลดลงของสัตว์ป่วย (tolerance of treatment)
ส่วนปัจจัยด้าน PKs นั้น มักเกี่ยวข้องกับ drug metabolism and excretion ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรักษาที่ใช้ใน pain management protocol นั้น ๆ ดังนั้นจึงควรติดตามสภาวะการทำงานและความสมบูรณ์ของร่างกายสัตว์ป่วยอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยเฉพาะ renal functions และ hepatic functions
Pain Management and Tools
สำหรับแนวทางและวิธีการสำหรับ pain management นั้น สามารถสรุปแนวทางได้ ดังตารางที่ 4 (ดูตารางได้ที่บทความบนเว็บไซต์) ซึ่ง veterinary team and owners สามารถปรับใช้ได้ตามสถานการณ์และระดับความรุนแรงของ pain ที่เกิดขึ้น
อ่านบทความฉบับเต็มพร้อมดูตารางสรุปต่อได้ที่ : https://readvpn.com/article/detail/2087
บทความโดย : ผศ.น.สพ.ดร.เจนภพ สว่างเมฆ - อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับคุณหมอสัตวแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก
ตอนนี้ทาง VPN มีโปรโมชั่นน่าสนใจอยู่นะ
💙 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,500 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💙 อ่านจากเล่ม เน้นสะสม -
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/register
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line :

26/10/2023

โรคไตวายเรื้อรังในสัตว์เลี้ยงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในทางคลินิก การวินิจฉัยนอกจากการตรวจเลือด เพื่อดูค่าบ่งชี้ต่าง ๆ เช่น blood urea nitrogen (BUN), creatinine (Cr), symmetric dimethyl arginine (SDMA) หรือการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะแล้วนั้น การทำรังสีวินิจฉัยด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น การทำเอกซเรย์ หรือ การทำอัลตราซาวนด์ ก็มีความสำคัญที่ช่วยให้สัตวแพทย์ใช้ประเมินถึงความผิดปกติทางโครงสร้างของไตได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำอัลตราซาวนด์ ซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมากในการประเมินลักษณะต่าง ๆ ของไต อาทิเช่น ใช้ประเมินขนาดของไตที่เล็กหรือใหญ่กว่าปกติ ประเมินถุงน้ำในไต ประเมินก้อนเนื้อในไต หรืออาจใช้เพื่อประเมินภาวะนิ่วที่ไต ซึ่งในบางครั้งพบว่า สามารถช่วยให้เห็นความผิดปกติทางโครงสร้างก่อนการเปลี่ยนแปลงค่าเลือดอีกด้วย เพราะฉะนั้นอัลตราซาวนด์จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยวินิจฉัยแยกชนิดโรค ระบุระยะและติดตามการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการพยากรณ์โรค เพื่อปรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
ข้อบ่งชี้ในการอัลตราซาวนด์ไต ได้แก่ เมื่อพบปัญหาปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะปนหนอง ผลการตรวจปัสสาวะมีค่าความผิดปกติ ประกอบกับการหาสาเหตุของภาวะที่พบ เช่น เมื่อพบภาวะกินน้ำเยอะร่วมกับปัสสาวะมาก ภาวะไตวายเฉียบพลัน ภาวะโรคไตเรื้อรัง รวมถึงเมื่อต้องการประเมินความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ และเมื่อพบภาวะปวดบริเวณหลัง หรือ ปวดโพรงหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum)
ข้อจำกัดในการอัลตราซาวนด์ไต ได้แก่ ไม่สามารถแยกชนิดเนื้องอกของไตว่าเป็นเนื้องอกทั่วไป หรือเป็นมะเร็งได้ ไม่สามารถบอกประสิทธิภาพการทำงานของไตได้ (glomerular filtration rate: GFR) ไม่สามารถวินิจฉัยภาวะกรวยไตและไตอักเสบได้โดยการอัลตราซาวนด์เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถแยกประเภทและชนิดของของเหลวที่เกิดบริเวณโพรงหลังเยื่อบุช่องท้องได้ ไม่สามารถระบุสาเหตุการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ เช่น จากการได้รับสาร ethylene glycol หรือสาเหตุจากอื่น ๆ ทั้งนี้ต้องอาศัยการซักประวัติร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด
ประโยชน์ในการทำอัลตราซาวนด์ไต ได้แก่ เพื่อประเมินเนื้อเยื่อไต (ถุงน้ำในไต, ก้อนเนื้อในไต) ภาวะนิ่วในไต เพื่อประเมินความผิดปกติทางโครงสร้าง เช่น ภาวะกรวยไตขยาย (pyelectasia) ภาวะไตบวมน้ำ ภาวะน้ำในโพรงหลังเยื่อบุช่องท้อง ภาวะไตขาดเลือด รวมถึงประเมินขนาดและความสมมาตรของไต เป็นต้น
กายวิภาคของไตในสุนัขและแมว
ไตมีโครงสร้างเป็นคู่สมมาตรอยู่ในโพรงหลังเยื่อบุช่องท้อง และล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) ปกติแล้วจะมีขนาดและรูปร่างสมมาตร ไตสุนัขมีรูปร่างคล้ายถั่ว ในขณะที่ไตแมวจะกลมมนมากกว่า โดยลักษณะของไตซ้ายจะติดอยู่กับ greater curvature ของกระเพาะอาหาร และอยู่ในช่วงกลางค่อนไปทางหลังจนถึง ส่วนหน้าของทางหลังของตัวม้าม ในสุนัข ไตขวาจะอยู่ไปทางด้านหน้ากว่าไตซ้ายและอยู่ใกล้กับตับส่วน caudate lobe ขณะที่แมวจะแยกจากตับด้วย ไขมันของโพรงหลังเยื่อบุช่องท้อง1 ในภาวะปกติภาพอัลตราซาวนด์ไตแมวจะมีความยาวประมาณ 3-4.3 เซนติเมตร กว้าง 2.2–2.8 เซนติเมตร และสูง 1.9-2.5 เซนติเมตร2 ส่วนในสุนัขความยาวของไตค่อนข้างหลากหลายขึ้นอยู่กับขนาดของร่างกาย และมีการใช้วิธีเปรียบเทียบความยาวของไตกับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นเลือด aorta โดยมีอัตราส่วนอยู่ที่ 5.5-9.1 เซนติเมตร ดังภาพที่ 1 (ดูภาพได้ที่บทความบนเว็บไซต์)
ในการทำอัลตราซาวนด์ไตควรทำให้ครบทั้ง 3 มุม ได้แก่ sagittal, dorsal และ transverse ดังภาพที่ 2 สำหรับการอัลตราซาวนด์เพื่อหาไตข้างซ้ายมักจับสัตว์ให้นอนท่าตะแคงขวา วางหัวตรวจที่ตำแหน่งหลังซี่โครงซี่ที่ 13 ใต้กระดูกสันหลังช่วงเอว ส่วนการหาไตข้างขวาให้มักจับสัตว์นอนตะแคงซ้าย ตำแหน่งหลังซี่โครงซี่ที่ 13 ใต้กระดูกสันหลังช่วงเอวเช่นกัน หรือถัดขึ้นไปเล็กน้อยในตำแหน่งระหว่างซี่โครงซี่ที่ 12 และ 13 ภาพอัลตราซาวนด์ในสภาวะปกติของไตสุนัขพบว่าบริเวณเนื้อไตส่วนนอก (renal cortex) จะมีลักษณะที่ขาวกว่าชั้นเนื้อไตส่วนใน (renal medulla) แต่จะมีความหนาใกล้เคียงกัน ส่วนบริเวณที่ขาวที่สุดคือตำแหน่งกรวยไต เพราะมีไขมันแทรกอยู่ และถ้าหากเทียบความขาวของชั้นเนื้อไตส่วนนอกกับอวัยวะอื่น ๆ จะพบว่ามีความเทากว่าเมื่อเทียบกับม้าม และอาจจะมีความเทากว่าหรือสีเท่ากันเมื่อเทียบกับตับ แต่ในแมวเนื้อไตส่วนนอกอาจจะมีความขาวกว่าม้ามได้ ส่วนถุงหุ้มไตจะมีลักษณะผิวเรียบ และสีขาวผนังบาง ดังตัวอย่าง ภาพที่ 3 (ดูภาพได้ที่บทความบนเว็บไซต์)
การวินิจฉัยภาวะไตวายเรื้อรัง
โรคไตวายเรื้อรังบางชนิดอาจไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างให้เห็นชัดเจนในภาพอัลตราซาวนด์ ยกเว้นว่าจะมีสาเหตุจากการติดเชื้อ การอักเสบอย่างรุนแรง หรือลักษณะเนื้องอกที่จะส่งผลให้เห็นความผิดปกติอย่างชัดเจน แต่การอัลตราซาวนด์ก็ยังเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สำคัญที่ช่วยในการวินิจฉัย โดยอาจพบลักษณะดังนี้
1. เนื้อไตส่วนนอกมีลักษณะขาวขึ้น (Renal cortical hyperechogenicity) : เป็นลักษณะที่พบได้มากที่สุด ในสุนัขและแมวที่ป่วยด้วยไตวายเรื้อรัง โดยกลไกการเกิดยังไม่ทราบชัดเจน แต่คาดว่าเป็นลักษณะพยาธิสภาพ ที่มีเนื้อเยื่อเส้นใยมาแทนที่ส่วนที่เสียหาย อาจจะมีหรือไม่มีการสะสมของตะกอนแคลเซียมร่วมด้วยก็ได้ โดยเมื่อพบชั้นเนื้อไตส่วนนอกที่ขาวขึ้น (ดังตัวอย่างภาพที่ 4 - ดูภาพได้ที่บทความบนเว็บไซต์) อาจจะไม่ได้บ่งบอกความผิดปกติของโรคอย่างเฉพาะเจาะจง แต่มักมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะ glomerulosclerosis, tubular atrophy หรือ fibrosis ในสุนัข และภาวะ interstitial nephritis/necrosis หรือ fibrosis ในแมว
นอกจากนี้ยังเป็นลักษณะจำเพาะที่บ่งชี้ถึงภาวะไตวายเรื้อรังสืบเนื่องจากภาวะขาดน้ำเป็นเวลานานจนทำให้เกิดการ collapse ของ Bowman’s space และส่วน renal tubule นั่นเอง นอกจากนี้ยังอาจบ่งบอกถึงภาวะไตวายเฉียบพลันได้ เช่น การได้รับสารพิษจากดอกลิลลี่ในแมว หรือการติดเชื้อโรคฉี่หนูในสุนัข
2. การแยกชั้นของเนื้อไตส่วนนอกและเนื้อไตส่วนในลดลง (Reduced corticomedullary distinction): สาเหตุที่ทำให้เห็นความต่างของสีเนื้อเยื่อระหว่างชั้นเนื้อไตส่วนนอกและเนื้อไตส่วนในอย่างชัดเจน เพราะชั้นเนื้อไตส่วนนอกมีความหนาแน่นของเซลล์สูงกว่า (Bowman’s capsule และ tubular cells) ในขณะที่ชั้นเนื้อไตส่วนในมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้มีสีเข้มกว่า แต่เมื่อมีการสูญเสียน้ำเป็นเวลานานจากภาวะไตวายเรื้อรัง จึงทำให้สีของชั้นเนื้อไตส่วนในมีความขาว มากขึ้นจนแยกสีกับชั้นเนื้อไตส่วนนอก ได้ไม่ชัดเจน
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทความเท่านั้น อ่านบทความฉบับเต็มพร้อมวิธีการวินิจฉัยด้วยอัลตราซาวนด์อื่นๆ เช่น การขยายของกรวยไต หรือพื้นผิวไตขรุขระ พร้อมด้วยภาพประกอบทุกขั้นตอนและทำข้อสอบรับ CE 3 คะแนน ได้ที่ : https://readvpn.com/article/detail/2068
บทความโดย : น.สพ.สุนิพัจ พร้อมมูล
สำหรับคุณหมอสัตวแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก
ตอนนี้ทาง VPN มีโปรโมชั่นน่าสนใจอยู่นะ
💙 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,000 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💙 อ่านจากเล่ม เน้นสะสม -
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/register
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line :

ที่อยู่

130/88 ถนนพิบูลสงคราม สวนใหญ่ นนทบุรี
Nonthaburi
11000

เวลาทำการ

อังคาร 10:00 - 20:30
พุธ 10:00 - 20:30
พฤหัสบดี 10:00 - 20:30
ศุกร์ 10:00 - 20:30
เสาร์ 10:00 - 20:30
อาทิตย์ 10:00 - 20:30

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ มิตรแท้ รักษาสัตว์ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


Nonthaburi ร้านค้าสัตว์เลี้ยงและบริการสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด