17/05/2022
เมื่อเช้าแชร์ข่าวที่ทางกระทรวงต่างประเทศไปเจรจาขอซื้อปุ๋ยกับทางประเทศซาอุดิอาระเบียแล้วสนใจ เพราะประเทศไทยผู้นำเข้าระดับเบอร์ต้นๆแบรนด์ยูเรียดังๆ ก็นำเข้ายูเรียมาจากทางประเทศซาอุดิอาระเบียและแถบตะวันออกกลาง ถ้าเจรจาสามารถซื้อได้ในราคาที่ถูกลงก็อาจจะช่วยให้ราคาปุ๋ยในประเทศพอลดลงได้บ้าง (ตัวยูเรียนะ ส่วนราคา DAP ราคา MOP นี่ทะลุโลกไปแล้ว )
มาดูว่าประเทศไทยมีการซื้อขายยูเรียอย่างไร เคยเขียนไว้เมื่อซัก 2-3 ปีที่แล้ว เอามาให้อ่านกันอีกรอบ
ปรกติการซื้อขายยูเรีย ราคาจะขึ้นกับจำนวนออเดอร์ของสินค้า ถ้าเซนต์สัญญากันเป็นปีก็จะมีสูตรราคาบวกค่าเฟรจท์เรือตามขนาดของเรือ เช่น ตะวันออกกลางมาไทย ค่าเรือตันละ 22-24 เหรียญ ราคาเมืองนอกคิดแค่ cfrเกาะสีชัง และจะมีค่าดำเนินการของผู้ซื้อ เช่น ค่าโหลดลงเรือเล็ก ค่าลากมาที่ฝั่ง ค่าผ่านท่า ค่ารถ และผู้ซื้อจะต้องรับความเสี่ยงที่ของจะมาไม่ครบ เช่น ซื้อขาย 40,000 ตัน +,-10% ของถ้ามาแค่ 36988 ตัน ก็ซวยไป ต้องจ่ายเต็ม 40,000 ตัน แต่ถ้าของเกินก็กำไร ซึ่งตรงนี้มันคือความเสี่ยงของผู้นำเข้าที่ต้องแบกรับเลยอันดับแรก
ในรูปนี้ที่โพสคือกองยูเรียกจำนวน 10,000 ตัน ถ้าบรรจุลงกระสอบก็ได้ 200,000 กระสอบ อันนี้แค่โกดังเดียวนะ ลองคิดภาพว่ามีแบบนี้ทั้งประเทศ 30 โกดัง หรืออาจจะมากกว่านี้ คิดดูแล้วกันว่าปริมาณจะมหาศาลแค่ไหน นี่แค่ปุ๋ยยูเรียตัวเดียวนะไม่รวมแม่ปุ๋ยตัวอื่น ซึ่งปีนี้ จีน กับ เวียดนาม ไม่ได้ส่งเข้าประกวดมานะ และทางมาเลเซียก็ปรับปรุงโรงงานบ๊อย บ่อย มาจากแค่แหล่งหลักๆแค่นั้น
พอพูดถึงเวียดนาม กูก็เลยสงสัยว่าเอ้าเห้ย เวียดนาม ผลิตยูเรียด้วยหรอ กูเลยถามพี่คนที่เค้าให้ข้อมูลกู แกบอกว่า เวียดนาม มีโรงผลิตยูเรีย ณ ตอนนี้จำนวน 4 โรงเป็นยูเรีย แก๊สเบส 2 โรง และ โคลเบส 2 โรง (เดี๋ยวจะอธิบายว่า แก๊สเบส กับ โคลเบส คืออะไร) รวมถึง อินโดนีเซีย (ที่ไม่นิยมเพราะราคาแพง) และ มาเลเซีย โดยเฉพาะมาเลเซีย ที่นำเข้าแก๊สธรรมชาติจากบ้านเรา แล้วเอาไปทำยูเรีย มาขายเราอีกที กูก็ถามว่าแล้วทำไมไทยถึงไม่ผลิตเองละพี่ ทั้งๆที่เรามีวัตุดิบ แกบอกว่า
1. NGO ต่อต้าน (อีกแล้ว 555 )
2. ไม่คุ้มทุน เพราะถึงทำได้ต้นทุนมันสูงจนเลยจุดคุ้มที่จะสร้างไปแล้วเพราะราคานำเข้าถูกกว่าทำเอง เหมือนถั่วเหลืองไทยที่แพงกว่าของอเมริกา นำเข้ามาคุ้มกว่า
มาอธิบายเพิ่มเติมเรื่อง แก๊สเบส กับ โคลเบส
** แก๊สเบส คือ ยูเรียจากแก๊สธรรมชาติ
** โคลเบส คือ ยูเรีย จากถ่านหิน มลภาวะเยอะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของจีน จีนเลยสั่งห้ามผลิต
มาถึงเรื่องกำลังการผลิตของแต่ละแหล่ง
ตอนนี้ผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก
ซาอุดิอาระเบีย ผลิตได้ปีละ 2,000,000ตัน
การ์ตา 4,000,000ตัน
กลุ่ม AG (อาหรับกัล์ฟ) รวมๆกันอีก 4,000,000ตัน
อเมริกาเองมีโรงงานเปิดเพิ่มอีก 3 โรงจึงลดการนำเข้าลง
ประเทศไทยมีการส่งยูเรียเข้ามาเป็นอันดับ 2-3 ของโลก อย่าง ยาร่าเอง ส่งเรือคอนแทรค (ขายแบบผูกสัญญา) 3 ลำ/2เดือน ลำละ 40,000 ตัน ไม่รวมเรือของ ซาอุ ที่เป็นของ ประวิทย์กรุป เจียไต๋ และ ซีพีหมอดิน
และยังมีสินสุวรรณที่นำของการ์ต้าเข้ามาอีกนอกจากนี้ยังมีเรือสปอต ( เรือที่นำเข้ามาแบบไม่ผูกสัญญา)เข้ามาอีกส่วนทางเปโตรนาสเองก็มีการนำเข้ามาให้แทบทุกเดือน แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะ ยูเรียไทยราคาเละราคาต่ำกว่าราคานำเข้า
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นเหมือนจุดพักปุ๋ยเพื่อส่งต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า เขมร ลาว โดยกลุ่มบริษัทที่นำเข้าอันดับต้นๆของประเทศไทย มีดังนี้
1.กลุ่มเจียไต๋ หรือ ยูเรียกระต่าย ที่รู้จักกันดี
2.ไอซีพี แบรนด์ ท๊อปวัน ม้าบิน
3.สินสุวรรณ ซึ่งเน้นขายแบบเทกอง และทำแบรนด์ของตัวเองคือ สามห่วง
4.ประวิทย์กรุ๊ป อันนี้คงไม่ต้องบอกนะ รู้จักกันดีแน่นอน ก็ เรือใบไวกิ้ง รุ่งอรุณ ดาวเหนือ
และมีน้องใหม่ที่กำลังมาแรงคือ แบรนด์ นกปากห่าง ที่กำลังขึ้นมาเรื่อยๆ
ส่วนคุณภาพของยูเรียแต่ละยี่ห้อถ้าเอาไปหว่านโดยตรงลงพืชเลยคุณภาพไม่ต่างกันเท่าไหร่ ขอให้ 46%- N พอ
เว้นแต่ที่เอาไปผลิตผสมเป็นปุ๋ยผสมสูตร โรงผสมจะเลือกขนาดเม็ดเพราะมีผลกับปุ๋ยผสมที่เขาทำ เพราะเม็ดเล็กเม็ดใหญ่ ทำให้การผสมต่างกันเครื่องต้องตั้งค่าใหม่ถ้าเบลนไม่ดี เปอร์เซนต์ไม่ถึงก็มีปัญหาได้ (กฎหมายปุ๋ยค่อนข้างแรงนะ)
ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้คงรู้แล้วว่าทำไมถึงบอกว่า การที่กระทรวงการต่างประเทศไปเจรจาซื้อปุ๋ยกับประเทศซาอุดิอาระเบีย น่าจะเป็นเรื่องดี คืออย่างน้อยถ้าเจรจาได้ อาจจะทำให้ได้ปุ๋ยราคาถูกลงมาหน่อย ก็ขอให้การเจรจาสำเร็จและบริษัทที่ไปได้ปุ๋ยราคาดีๆมาขายให้เกษตรกร
ด้วยรักจาก ควายดำทำเกษตร เพจเกษตรอันดับหนึ่งในจักรวาล