สองทะเล สัตวแพทย์ - หมอไก่

สองทะเล สัตวแพทย์ - หมอไก่ รักษาสัตว์ ตรวจเลือด, ultrasound , Echo,ผ่าคลอด,ผ่าตัดกระดูก, ทำหมัน เปิดบริการ 8:00-24:00 น.
(17)

เราจะเรียนรู้ เพื่อการพัฒนา  เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาและการดูแลสัตว์เลี้ยงของท่าน รักเรียนเราจะมีความรู้ ”Echocardiog...
02/11/2023

เราจะเรียนรู้ เพื่อการพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาและการดูแลสัตว์เลี้ยงของท่าน

รักเรียนเราจะมีความรู้ ”Echocardiography“

#สแงทะเลสัตสแพทย์ #หมอไก่ #สงขลา

วิธีจัการความผิดปกติทางระบบประสาทในระบบปัสสาวะในสัตว์เลี้ยง
01/11/2023

วิธีจัการความผิดปกติทางระบบประสาทในระบบปัสสาวะในสัตว์เลี้ยง

ภาวะความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ (Bladder disorder) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยครั้งในสัตว์ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบประสาท เนื่องจากความผิดปกติดังกล่าวส่งผลต่อการควบคุมระบบทางเดินปัสสาวะและมักส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตในระยะยาวของสัตว์ป่วย ซึ่งหลายครั้งสัตว์ป่วยต้องการการดูแลและการจัดการที่เหมาะสมในระยะยาว
ดังนั้นความเข้าใจใน pathophysiology และการวางแผนการจัดการที่เหมาะสมจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของสัตว์ป่วย โดยภาวะดังกล่าวสามารถแบ่งตามลักษณะความผิดปกติของระบบประสาท ได้แก่ ความผิดปกติที่ระบบประสาทส่วนบน (upper motor neuron dysfunction) และ ความผิดปกติที่ระบบประสาทส่วนล่าง (lower motor neuron dysfunction) โดยความผิดปกติทั้ง 2 แบบ จะมี pathophysiology, clinical signs และ การจัดการปัญหา (management) แตกต่างกัน
1.Upper motor neuron dysfunction
ความผิดปกติในกลุ่มนี้เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนบน (pons จนถึง L7 spinal segment) ซึ่งมักจะส่งผลลดการทำงานของ detrusor reflex ที่เกิดในขณะที่มีการขับปัสสาวะออก รวมถึงสูญเสียการควบคุม external urethral sphincter ดังนั้นสัตว์ป่วยจึงมักเกิดการอั้นปัสสาวะและไม่สามารถสั่งการให้เกิดการขับปัสสาวะได้อย่างปกติ โดยอาการที่พบส่วนมากมักพบว่าสัตว์ป่วยไม่สามารถขับปัสสาวะได้เอง และมักคลำพบผนังกระเพาะปัสสาวะมีการแข็งตัวเนื่องจากการอั้นปัสสาวะ และจากการสูญเสียการยับยั้งการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อจากระบบประสาทส่วนบน (inhibitory dysfunction)
2. Lower motor neuron dysfunction
ความผิดปกติในกลุ่มนี้เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนล่าง (S1-S3 spinal segment หรือ lumbosacral plexus) โดยมักพบในสัตว์ป่วยที่มีความเสียหายของ caudal lumbar spine/sacral spine หรือ pelvic canal ในกลุ่มนี้มักพบว่าสัตว์ป่วยไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ เนื่องจากสูญเสียการควบคุมของ urethral และ detrusor muscle สัตว์ป่วยมักไม่สามารถเบ่งปัสสาวะได้เองและมักพบว่าสัตว์ป่วยเกิดการขับปัสสาวะหลังจากที่กดบริเวณหน้าท้องเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการกดส่งผลให้ความดันในช่องท้องสูงขึ้น
ยาที่ใช้ในการจัดการภาวะ Neurological Urinary Disorder สามารถแบ่งได้ตามจุดมุ่งหมายในการใช้ดังนี้
1. Detrusor muscle stimulation : Bethanechol chloride
Bethanechol chloride เป็นยาในกลุ่ม parasympathomimetics โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มการทำงานของ detrusor muscle สามารถใช้ได้ทั้งในราย UMN และ LMN bladder disorder หากแต่ควรระวังในการใช้กับสัตว์ป่วย ที่มีภาวะ UMN dysfunction เนื่องจาก bethanechol ไม่มีผลต่อการคลายตัวของ urethral muscle และ sphincter ดังนั้นจึงไม่ควรใช้เป็นยาเพียงชนิดเดียวในการรักษา โดยควรให้ร่วมกับยาที่มีความสามารถในการคลาย urethral muscle เช่น diazepam หรือ prazosin เป็นต้น ขนาดยาที่ใช้ในสุนัขและแมว ได้แก่ 2.5 - 25 mg/dog และ 1.25 - 5 mg/cat ทุก 8-12 ชม.
2. ลดการทำงานของ internal urethral sphincter : Prazosin
Prazosin เป็นยาในกลุ่ม alpha-adrenergic antagonist โดยสามารถลดการทำงานของ internal urethral sphincter มักใช้ในราย UMN bladder dysfunction โดยขนาดยาที่แนะนำ ได้แก่ 1mg/15kg dog และ 0.25 - 0.5 mg/cat ทุก 12-24 ชม. โดย prazosin อาจมีผลข้างเคียงคือภาวะ hypotension เนื่องจากมีความสามารถในการคลายกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ดังนั้นในสัตว์ป่วยที่มีภาวะวิกฤติ คุณหมอควรมีการตรวจติดตามความดันโลหิตก่อนพิจารณาให้ยาในกลุ่มนี้
3. ลดการทำงานของ external urethral sphincter : Diazepam
Diazepam มีความสามารถในการคลายตัวกล้ามเนื้อลายโดยการกระตุ้น GABA inhibitory neuron ที่ sacral spinal cord ขนาดยาที่แนะนำได้แก่ 0.2 mg/kg ทุก 8 ชม. โดยคุณหมอควรระวังการใช้ยาชนิดนี้ในแมว เนื่องจากมีรายงานการเกิดภาวะ hepatic necrosis จาก idiosyncratic reaction ถึงแม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อยครั้ง แต่คุณหมอควรมีการแจ้งเจ้าของสัตว์ถึงภาวะดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นได้
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทความเท่านั้น อ่านบทความฉบับเต็มพร้อมภาพประกอบได้ที่ : https://readvpn.com/article/detail/Management%20of%20Neurological%20Bladder%20Disorder
บทความโดย : น.สพ. ปราชญ์ หมายหาทรัพย์
สำหรับคุณหมอสัตวแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก
ตอนนี้ทาง VPN มีโปรโมชั่นน่าสนใจอยู่นะ
💙 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,500 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💙 อ่านจากเล่ม เน้นสะสม -
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/VPN/Subscription
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line :

แนวทางการวินิจฉัยและจัดการภาวะโลหิตจางในสัตว์เลี้ยง
13/10/2023

แนวทางการวินิจฉัยและจัดการภาวะโลหิตจางในสัตว์เลี้ยง

ภาวะโลหิตจาง คือ ภาวะที่มีค่าปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ
• ค่า hematocrit (Hct) < 37% ในสุนัข
• ค่า hematocrit (Hct) < 27% ในแมว
ในสภาวะปกติ เลือดมีหน้าที่ในการนำส่งออกซิเจนไปเลี้ยงตามอวัยวะทั่วร่างกาย ปริมาณเม็ดเลือดที่น้อยลงจะทำให้ปริมาณออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายน้อยกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดอาการทางคลินิก เช่น หอบ เหนื่อยง่าย ซึม ไม่อยากอาหาร โดยหากปริมาณเม็ดเลือดแดงมีค่าลดลงอย่างรุนแรง อาจส่งผลทำให้สัตว์เสียชีวิตได้ ลักษณะการเกิดภาวะเลือดจากสามารถแบ่งตามสาเหตุการเกิดได้เป็นดังนี้
1. การสูญเสียเลือดมากเกินไป ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย : เช่น การเสียเลือดผ่านทางปรสิตภายในและนอก เช่น เห็บ หมัด การเกิดเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือบาดแผลจากภายนอกที่เกิดขึ้น การเกิดโลหิตจางแบบนี้จะทำให้ปริมาณเลือดและโปรตีนในร่างกายลดต่ำกว่าปกติ การให้วิตามินและยาบำรุงเลือดค่อนข้างจำเป็นในกรณีนี้เนื่องจากจะไปช่วยทดแทนปริมาณธาตุเหล็กและวิตามินที่เสียออกไปภายนอกร่างกาย
2. เกิดเม็ดเลือดแดงแตกในร่างกาย สาเหตุที่พบบ่อยในสุนัขและแมว : เช่น การเกิดเม็ดเลือดแดงแตกจากพยาธิเม็ดเลือด ภาวะ immune-mediated hemolytic anemia การเกิดโลหิตจางลักษณะนี้มักพบการลดลงของปริมาณเม็ดเลือดแดงเพียงอย่างเดียว แต่ปริมาณโปรตีนและธาตุเหล็กมักจะใกล้เคียงค่าปกติ เนื่องจากจะถูกนำกลับไปใช้ใหม่ อาจพบการเปลี่ยนสีของของพลาสมาเป็นสีเหลืองร่วมด้วย จากสาร bilirubin ที่ถูกปล่อยออกมาจากเม็ดเลือดแดงที่โดนทำลาย โลหิตจางลักษณะนี้หากไม่รีบทำการรักษาอาจทำให้สัตว์เสียชีวิตได้ในระยะเวลาไม่นาน จึงจำเป็นต้องมีการวินิจฉัยหาสาเหตุและทำการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
3. การลดการสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกาย อาจเกิดจากการขาดสารตั้งต้นในการสร้าง : เช่น การขาดธาตุเหล็ก หรือความผิดปกติของการทำงานของไขกระดูก ลักษณะโลหิตจางประเภทนี้จำเป็นต้องหาสาเหตุที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขและกระตุ้นให้ไขกระดูกสามารถทำงานได้ปกติ เช่น การขาดฮอร์โมน Erythropoietin (EPO) หรือการขาดธาตุเหล็กเป็นต้น การรักษาสาเหตุที่เกิดขึ้นจะทำให้ร่างกายสัตว์สามารถกลับมาสร้างเม็ดเลือดแดงเป็นปกติได้
แนวทางการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางในสัตว์เลี้ยง
1. ตรวจเพื่อยืนยันว่ามีภาวะโลหิตจางเกิดขึ้นจริง : การตรวจร่างกายทางคลินิกมักพบว่า สัตว์มีอาการซึม กินอาหารน้อยลง นอนนานขึ้น เหงือกซีด ถ้ามีภาวะโลหิตจางแบบรุนแรงอาจพบว่าสัตว์หายใจเร็ว หอบ หัวใจเต้นเร็ว การตรวจเลือดจะพบว่าค่า Hct < 37% ในสุนัข และ Hct < 27% ในแมว
2. หากพบว่าสัตว์ป่วยมีภาวะโลหิตจางจริง ให้ทำการวินิจฉัยว่าเกิดจากความผิดปกติในการสร้างเม็ดเลือดแดงหรือจากการเสียเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ โดยทำการตรวจหาค่า reticulocyte : ซึ่งค่าที่เพิ่มมากกว่าปกติแสดงให้เห็นว่าร่างกายไม่ได้มีความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดแดง (regenerative anemia) แต่จะมีปัญหาจากการเสียเลือดหรือเม็ดเลือดถูกทำลายมากกว่าปกติ (แนวทางการแปลผลค่า reticulocyte ดังแสดงตามตารางที่ 1) แต่หากผลที่ได้เป็นมีค่า reticulocyte น้อยกว่าปกติแสดงว่าสัตว์มีความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดเกิดขึ้นซึ่งจำเป็นต้องหาสาเหตุต่อไป
2.1 กรณีที่พบว่าสัตว์ป่วยมีการสร้างเม็ดเลือดแดงปกติ (regenerative anemia) ให้ทำการตรวจเพื่อหาว่าความผิดปกติที่เกิดมาจาก hemolysis หรือ hemorrhage : โดยทำการตรวจหาค่า Hct และ total protein (TP) โดยความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุการเกิดภาวะโลหิตจาง Hct และ TP
ปกติในรายที่มีการเสียเลือดออกนอกร่างกายเรามักจะพบว่าค่า Hct และ TP น้อยกว่าปกติแต่ในบางกรณี เช่น การเกิด acute hemorrhage อาจทำให้ค่า Hct, TP มีค่าปกติได้เนื่องจากในระยะแรกที่มีการเสียปริมาณเลือดและน้ำไปด้วยกันจะทำให้อัตราส่วนของ Hct, TP และพลาสมามีอัตราส่วนคงที่ ทำให้ค่าเลือดที่ได้จะยังไม่พบการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป น้ำในร่างกายจะแพร่เข้ามาในหลอดเลือดเพื่อชดเชยการขาดเลือดจะทำให้อัตราส่วนของค่า Hct, TP และพลาสมา มีค่าน้อยลงทำให้ตรวจพบค่า Hct, TP น้อยลงได้ในภายหลัง นอกจากนี้ในบางกรณีอาจพบการเกิด hemolysis ร่วมกับโรคบางโรค เช่น protein losing nephropathy ส่งผลให้เกิดการลดลงของโปรตีนจึงอาจทำให้พบโลหิตจางแบบ hemolysis ร่วมกับการลดลงของโปรตีนได้ การเกิดโลหิตจางทั้งแบบ hemolysis และ hemorrahge เป็นโลหิตจางที่เกิดจากความผิดปกติของการสูญเสียเม็ดเลือด จึงมักพบว่าร่างกายมีการพยายามสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยปริมาณเลือดที่ลดลง หรือที่เราเรียกว่า regenerative anemia
2.2 ในกรณีที่พบว่าร่างกายไม่มีการตอบสนองต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงเกิดขึ้น (non-regenerative anemia) แนะนำให้ทำการตรวจซ้ำอีกครั้งภายใน 4-5 วัน : เนื่องจากการเกิดโลหิตจางระยะแรกอาจจะต้องใช้เวลา เพื่อให้ไขกระดูกเริ่มมีการทำงานเพื่อสร้างเม็ดเลือดแดง หากทำการตรวจซ้ำแล้วยังพบ non regenerative anemia อยู่แสดงว่าสัตว์น่าจะมีความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดแดงจริง ให้ทำการตรวจหา blood morphology ค่า Mean corpuscular volume (MCV) และ Mean corpuscular hemoglobin concentration (MCHC) ต่อไปเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดแดง
3. ทำการประเมินค่า MCV และ MCHC ในราย non-regenerative anemia : เพื่อหาสาเหตุโดยแนวทางการวินิจฉัยภาวะดังกล่าว
4. ทำการวินิจฉัยแยกแยะภาวะโลหิตจางจากการขาด EPO หรือจากภาวะ AID จากการตรวจร่างกายและการตรวจเลือดเบื้องต้นออกจากภาวะอื่น : หากยังไม่พบความผิดปกติที่เกิดขึ้นแนะนำให้ทำการตรวจ bone marrow cytology หรือ bone marrow biopsy เพื่อหาสาเหตุความผิดปกติที่เกิดขึ้นในไขกระดูกเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป ความผิดปกติของไขกระดูกที่มักพบได้บ่อยในทางคลินิก เช่น myelopthisis, aplastic anemia, myelofibrosis เป็นต้น
สาเหตุของภาวะโลหิตจางที่พบบ่อยในทางคลินิก
1. ภาวะโลหิตจางจากการขาดสารอาหาร ขาดธาตุเหล็ก : โลหิตจางจางสาเหตุนี้มักพบลักษณะเลือดเป็นแบบ microcytic hypochromic anemia ร่วมกับประวัติการขาดสารอาหาร หรือมีการเสียเลือดเป็นระยะเวลานาน โลหิตจางลักษณะนี้ จะตอบสนองได้ดีกับการให้ยาบำรุงเลือดซึ่งในปัจจุบันพบลักษณะการเกิดโลหิตจางแบบนี้น้อยลงมากในทางสัตวแพทย์
2. ภาวะโลหิตจางจากการป่วยเรื้อรัง (anemia of inflammatory disease; AID) : การเกิดโลหิตจางลักษณะนี้พบได้บ่อยในทางสัตวแพทย์ สามารถพบได้จากในสัตว์ที่มีการป่วยเรื้อรัง เช่น เนื้องอก กลไกการเกิดภาวะโลหิตจางแบบนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อว่าอาจจะเกิดจากการเพิ่มระดับของ hepcidin ในกระแสเลือดทำให้ร่างกายไม่สามารถนำธาตุเหล็กไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเกิดโลหิตจางลักษณะนี้จะไม่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางแบบรุนแรง (ประมาณ PCV 15-17% ในแมว) ปัจจุบันยังไม่พบการรักษาที่ได้ผลในภาวะโลหิตจางลักษณะนี้ อย่างไรก็ตามการกำจัดสาเหตุที่ซ่อนอยู่จะทำให้เม็ดเลือดแดงของสัตว์ค่อยๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้นกลับมาเป็นปกติได้
3. ภาวะโลหิตจางจากการขาด EPO : มักพบโลหิตจางแบบนี้ในสัตว์ป่วยที่มีปัญหาโรคไตแบบเรื้อรังร่วมด้วย เกิดจากความผิดปกติในการสร้างฮอร์โมน EPO ทำให้ไขกระดูกไม่มีการผลิตเม็ดเลือดแดงออกมาชดเชยกับเม็ดเลือดแดงที่เสียไป โดยมักพบลักษณะโลหิตจางแบบ normocytic normochromic anemia แบบ non-regenerative การรักษาสามารถทำได้โดยการฉีดฮอร์โมน EPO เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มมากขึ้น
4. Pure red cell aplasia : เป็นลักษณะของโลหิตจางที่เกิดขึ้นจากการขาดเซลล์ตั้งต้นในการสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูกจากภาวะ immune-mediated โดยที่ส่วนของ granulopoietic และ thrombopoietic ไม่ได้รับผลกระทบ (เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด) โรคนี้พบได้ไม่ค่อยบ่อยในสัตว์ แต่อาจะพบได้ในสัตว์ที่มีอายุน้อยจนถึงอายุ 3 ปี มีภาวะโลหิตจางแบบรุนแรง PCV < 7% normocytic normochromic anemia การรักษาภาวะโลหิตจางแบบนี้ทำได้โดยการให้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น prednisolone โดยสัตว์ที่เป็นโรคนี้จะตอบสนองต่อการรักษาภายใน 1-2 สัปดาห์
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการเกิดภาวะโลหิตจางสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ การรักษาที่ไม่ตรงกับสาเหตุที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลและทำให้เกิดผลเสียต่อสัตว์ในระยะยาว เช่น การฉีด EPO ในสัตว์ป่วยที่เกิด hemolysis จะไม่ช่วยให้เม็ดเลือดแดงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากร่างกายมีการกระตุ้นให้สร้าง EPO ด้วยตัวเองอยู่แล้ว และอาจทำให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อ EPO ในอนาคต ทำให้การใช้ EPO ไม่ได้ผลเมื่อจำเป็นต้องใช้จริง หรือการให้ยากดภูมิในรายที่เกิดการเสียเลือดแทนที่จะเป็นจากภาวะ immune mediated hemolytic anemia ก็จะยิ่งทำให้ร่างกายสัตว์แย่ลงได้ ก่อนทำการรักษาภาวะโลหิตจางทุกครั้งจึงควรตรวจหาสาเหตุที่เกิดขึ้นเพื่อจะได้ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพและลดอัตราการเสียชีวิตของสัตว์ป่วยจากภาวะนี้ต่อไป
เรื่องที่เรามักเข้าใจผิดเกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง
1. ในสัตว์ที่มีภาวะโลหิตจางอยู่แล้ว การให้สารน้ำจะยิ่งทำให้สัตว์แย่ลง
ปกติแล้วการขนส่งออกซิเจนในร่างกายสัตว์เรานับจำนวนเม็ดเลือดแดงทั้งหมดภายในร่างกาย ไม่ใช่ระดับของความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงในร่างกาย ดังนั้นการที่ให้สารน้ำแล้วทำให้ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงน้อยลงไม่ได้หมายความว่าสัตว์จะรับออกซิเจนได้น้อยลงเนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดแดงโดยรวมของร่างกายยังคงมีค่าเท่าเดิม นอกจากนี้ในสัตว์ที่มีภาวะโลหิตจางและมีการขาดน้ำเกิดขึ้นการให้สารน้ำแก้ไขยังช่วยให้การนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนอื่นของร่างกายได้ดีมากขึ้นด้วย ดังนั้น อย่าลังเลที่จะให้สารน้ำในรายที่สัตว์มีภาวะโลหิตจางเกิดขึ้น
2. สัตว์ที่มีภาวะโลหิตจางจำเป็นต้องได้รับออกซิเจน
ในภาวะโลหิตจาง ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงจะพยายามขนส่งออกซิเจนอย่างเต็มความสามารถอยู่แล้ว การให้ออกซิเจนสามารถช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นในรายที่สัตว์เครียดมาก เช่น ในแมวการบังคับให้ออกซิเจนอาจจะส่งผลเสียมากกว่าการไม่ให้ออกซิเจน อย่างไรก็ตามหากสัตว์ป่วยสามารถให้ออกซิเจนได้โดยไม่ได้มีภาวะเครียดมาก การให้ออกซิเจนก็ยังสามารถช่วยเพิ่มระดับออกซิเจนในกระแสเลือดได้ดีกว่าสัตว์ป่วยที่ไม่ได้รับออกซิเจน
3. การฉีด EPO จะช่วยทำให้สัตว์ที่ภาวะโลหิตจางดีขึ้น
ปกติเมื่อมีภาวะโลหิตจางเกิดขึ้นร่างกายสัตว์จะมีการตอบสนองให้กระตุ้นการหลั่ง EPO อยู่แล้ว ดังนั้นการเกิดภาวะโลหิตจางที่ไม่ใช่จากการขาด EPO การฉีดอาจจะไม่ช่วยในการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ EPO ที่ฉีดอาจทำให้ร่างกายมีการสร้างภูมิต้านทาน ทำให้เกิดการต่อต้าน EPO ที่สร้างเป็นปกติในร่างกาย และอาจทำให้การใช้ EPO ไม่ได้ผลในอนาคต ดังนั้นจึงควรฉีด EPO ในรายที่สงสัยว่ามีการขาด EPO ร่วมด้วยเท่านั้น

สามารถติดตามอ่านบทความฉบับเต็มได้ในคอลัมน์ Vet Station โดย น.สพ. ประกิจ เกาะกายสิทธิ์
---------------------------------------------------------------
นิตยสาร VPN ฉบับที่ 187 เดือน เมษายน 2561
: Oral Issue ได้อ่านกันเร็วๆ นี้ค่ะ
สามารถสมัครสมาชิกได้ผ่านทาง LINE@
แค่คลิ๊ก https://line.me/R/ti/p/%40vpnmagazine
หรือค้นหา ID: (มี@ด้วย)
ติดต่อ/สอบถามได้ที่
inbox Facebook : VPNmagazine
E-mail : [email protected]
โทร. 0-2965-5020, 084-435-5675
( จ-ศ เวลา 8.00-16.00 น.)

13 ตุลาคมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหสที่สุดมิได้ สถานพยาบาลสองทะเลสัตวแพทย์
13/10/2023

13 ตุลาคม

น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหสที่สุดมิได้

สถานพยาบาลสองทะเลสัตวแพทย์

ภาวะน้ำตาไหลมากผิดปกติ (epiphora)
13/10/2023

ภาวะน้ำตาไหลมากผิดปกติ (epiphora)

ระบบน้ำตาประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างน้ำตา (secretory system) และส่วนทางระบายน้ำตา (excretory system) โดยน้ำตามีการสร้างจากหลายส่วนทั้ง orbital lacrimal gland, third eyelid gland ,globlet cell จากบริเวณ conjunctiva และ meibomian gland และมีการระบายน้ำตา เริ่มจากส่วนหัวตา มีรูเปิดท่อระบายน้ำตา (lacrimal punctum) อยู่ 2 รู ที่ขอบของเปลือกตาบนและล่าง ซึ่งท่อระบายน้ำตา (lacrimal canaliculus) นี้จะทำหน้าที่เป็นรูระบายน้ำ ท่อน้ำตาเล็ก ๆ ทั้ง 2 รูนี้จะรวมกันเป็นท่อเดียวและเชื่อมต่อกับถุงน้ำตา (lacrimal sac) หลังจากนั้นจึงระบายน้ำตาผ่านลงมาทางกระดูกโหนกแก้มและมาเปิดที่ภายในจมูก และไหลผ่านลงคอตามลำดับ
คำนิยามและการวินิจฉัยแยกแยะ
ภาวะ epiphora นั้นเป็นภาวะที่สัตว์มีปัญหาเกี่ยวกับการระบายของทางเดินน้ำตา คนส่วนใหญ่มักจะสับสนกับภาวะ lacrimation ซึ่งโดยปกติเราจะเรียก epiphora ก็ต่อเมื่อ ปัญหานั้นเกิดจากสาเหตุทางเดินน้ำตาอุดตัน ส่วน lacrimation เกิดจากการผลิตน้ำตามากกว่าปกตินั่นเอง ภาวะ epiphora นี้ หากเกิดขึ้นแบบเรื้อรัง จะทำให้สีขนและผิวหนังบริเวณรอบดวงตาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และมักทำให้เกิดปัญหาเรื่องการอักเสบของผิวหนัง (moist dermatitis) บริเวณหัวตาตามมาได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ เช่น สิ่งแปลกปลอมเข้ามาระคายเคืองดวงตา การอุดตันของท่อน้ำตา ขนบริเวณใบหน้าทิ่มดวงตา หรือโครงสร้างหนังตาที่ผิดปกติโดยเฉพาะหนังตาทางด้านล่าง ซึ่งจะทำให้มีการอุดตันของท่อน้ำตา เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุที่พบได้ ดังนี้
1. ภาวะไม่มีรูระบายน้ำตาตั้งแต่กำเนิด (congenital atresia of the lacrimal punctum) พันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ American cocker spaniel, Bedlington terrier, Golden retriever, Poodle toy, Samoyeds เป็นต้น โดยมักพบความผิดปกติที่รูระบายน้ำตาด้านล่าง (lower punctum) และมักพบว่าเป็นเพียงข้างเดียว
2. รูระบายน้ำตาอยู่ผิดตำแหน่ง (malplacement of ventral punctum) อาจพบได้ในภาวะที่หนังตาทางด้านหัวตาของหนังตาล่างมีการม้วนเข้า (entropion of median lower lid) ซึ่งทำให้มีการระคายเคืองดวงตา เป็นสาเหตุให้น้ำตาไหลได้ โดยสาเหตุดังกล่าวนี้มักพบในสุนัขพันธุ์หน้าสั้น เช่น Miniature, Poodle, Bichon พันธุ์ Toy breed และ American cocker เป็นต้น
3. รูระบายน้ำตาตีบแคบกว่าปกติ (micropunta)
4. ภาวะที่มีการยึดติดกันระหว่างเยื่อบุหนังตากับเยื่อตาขาว (symblepharon) มักพบในแมวที่ติดเชื้อ herpes virus ที่เยื่อตาขาว
5. ภาวะ trauma ที่หนังตาด้านล่าง หนังตาล่างฉีก หรือการผ่าตัดหนังตาด้านใน (median canthoplasty) ซึ่งทำให้รูระบายน้ำตาเกิดความเสียหาย
6. ขนบริเวณหัวตายาวทิ่มดวงตา (facial hair trichiasis) มักพบในสุนัขพันธุขนยาว เช่น Poodle, Bichon, Shih tzu, Maltese, Lhasa apso เป็นต้น
7. ภาวะต่อมน้ำตาเกิดการระคายเคือง จึงทำให้เกิดการหลั่งน้ำตามากกว่าปกติ สาเหตุอาจมาจากการอักเสบบริเวณต่อมน้ำตาที่ 3 (enlargement of third eyelid), mononuclear inflammatory infiltration, หรือ squamous metaplasia of ducts เป็นต้น
8. Reflex lacrimation เกิดเมื่อสัตว์มีอาการปวดดวงตาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น districhia, trichiasis, entropion, ectopic cilia, หรือ foreign body เป็นต้น สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยคือภาวะ conjunctivitis จากภูมิแพ้ (atopy) ซึ่งมักทำให้สัตว์มีปัญหาน้ำตาไหลเรื้อรัง ขนบริเวณหัวตาเปลี่ยนสี อีกทั้งการมีแผลที่กระจกตาก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำตาไหลมากกว่าปกติได้เช่นเดียวกัน
อาการที่พบ
พบได้ตั้งแต่น้ำตาไหลมากกว่าปกติ ขนบริเวณรอบหัวตาเปลี่ยนสี (tear stain) โครงสร้างหนังตาผิดปกติ (entropion / ectropion) การอักเสบของเยื่อตาขาวและหนังตาโดยรอบ หรืออาการปวดดวงตา โดยเฉพาะกรณีที่มีแผลที่กระจกตาร่วมด้วย
การวินิจฉัย
เริ่มตั้งแต่การซักประวัติ การตรวจดวงตาโดยละเอียด สังเกตลักษณะของหนังตาว่าอยู่ในตำแหน่งปกติหรือมีการม้วนหรือไม่ ตรวจดูว่ามีการระคายเคืองจากขนรอบ ๆ ดวงตา สิ่งแปลกปลอมติดอยู่ที่ดวงตา หรือมีอาการปวดตาจากภาวะต้อหิน ม่านตาอักเสบหรือกระจกตาอักเสบหรือไม่ การใช้แผ่น fluorescein เพื่อตรวจ Jone’s test เพื่อตรวจภาวะท่อน้ำตาอุดตัน และบ่อยครั้งการประเมินสัตว์ตาม predisposing breed (เช่น median entropion/trichiasis ซึ่งพบบ่อยในพันธุ์หน้าสั้น) ก็สามารถช่วยในการวินิจฉัยได้
การสวนท่อน้ำตาสามารถช่วยวินิจฉัยการตีบตันของท่อน้ำตาได้ โดยการ flush ท่อน้ำตาที่รูเปิดฝั่งใดฝั่งหนึ่ง (dorsal or ventral punctum) หากเกิดการบวมของท่อน้ำตาอีกฝั่ง น้ำที่ทำการสวนเข้าไปแล้วไม่มีน้ำไหลสวนออกมาแสดงว่าสัตว์เกิดภาวะ punctal atresia นั่นเอง นอกจากนี้ยังสามารถวินิฉัยภาวะดังกล่าวได้โดยใช้เทคนิคทางรังสีวิทยาที่เรียกว่า cystorhinography ได้อีกด้วย
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทความเท่านั้น อ่านบทความฉบับเต็มพร้อมวิธีการรักษาต่อได้ที่ : https://readvpn.com/article/detail/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%20(Epiphora)
บทความโดย : น.สพ.กฤตมุข ชวลิตธิติกร
สำหรับคุณหมอสัตวแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก
ตอนนี้ทาง VPN มีโปรโมชั่นน่าสนใจอยู่นะ
💙 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,500 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💙 อ่านจากเล่ม เน้นสะสม -
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/register
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line :

พรุ่งนี้ 14/10/66 คลีนิคปิดทำการ 1 วันนะค่ะ เดินทางขับขี่ปลอดภัยค่ะ
13/10/2023

พรุ่งนี้ 14/10/66 คลีนิคปิดทำการ 1 วันนะค่ะ
เดินทางขับขี่ปลอดภัยค่ะ

เคสน้องดำ ผ่าตัดย้ายผิวหนัง skin flap  เคสนี้เป็นน้องแมวที่มีการติดเชื้อบริเวณผิวหนังรุนแรงทำให้เกิดการสูญเสียผิวหนังบริ...
10/10/2023

เคสน้องดำ ผ่าตัดย้ายผิวหนัง skin flap เคสนี้เป็นน้องแมวที่มีการติดเชื้อบริเวณผิวหนังรุนแรงทำให้เกิดการสูญเสียผิวหนังบริเวณหลัง ไหล่ซ้ายและขาหน้าซ้ายเป็นบริเวณกว้างมาก หลังจากควบคุมการติดเชื้อได้แล้วเริ่มทำการผ่าตัดย้ายผิวหนังเมื่อ 4/9/66 และผ่าตัดซ่อมเมื่อวันที่ 237/9/66 ลักษณะผิวหยีเชื่อต่อกันดี ยกเว้นตรงแนวข้อศอกเล็กน้อยที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลายังมีแผลเปิดอยู่ เมื่อวันที่ 9/10/66 ได้ทำการผ่าตัดแก้ไขบริเวณข้อศอกอีกครั้งได้ผลดีมากสามารถปิดแผลบริเวณข้อศอกได้เรียบร้อยดีแล้ว เนื่องจากน้องดำเป็นแมวที่อดทน กินเก่ง เรียบร้อย ไม่ดื้อซนทำให้แผลหายได้เร็ว ขอบคุณทีมหมอสองทะเลสัตวแพทย์และทีมงานพยาบาลที่ดูแลน้องดำเป็นอย่างดีตลอดระยะเวลาที่รักษาตัวอยู่ที่คลินิกจนน้องดำใกล้จะกลับบ้านได้แล้ว ขอบคุณเจ้าของที่ไว้วางใจสองทะเลสัตวแพทย์ได้ดูแลน้องดำด้วยครับ

วันที่ 14/10/66คลีนิคปิดทำการวันสารทเดือนสิบ 1 วันนะคะ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 099-7758896 #สองทะเลสัตวแพทย์  #รักษา...
29/09/2023

วันที่ 14/10/66
คลีนิคปิดทำการวันสารทเดือนสิบ 1 วันนะคะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 099-7758896
#สองทะเลสัตวแพทย์ #รักษาสัตว์

โรคตาในสุนัขสายพันธุ์หน้าสั้น
27/09/2023

โรคตาในสุนัขสายพันธุ์หน้าสั้น

นอกจากปัญหาเรื่องของระบบทางเดินหายใจแล้ว สุนัขพันธุ์หน้าสั้นที่มีหัวขนาดใหญ่ สันจมูกสั้น และตากลมโตขนาดใหญ่จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคตามากกว่าสุนัขกลุ่มอื่นได้เช่นกัน ในสุนัขพันธุ์หน้าสั้นมีการนิยามคำศัพท์ brachycephalic ocular syndrome หรือ BOS เพื่อใช้อธิบายโรคตาที่มีรอยโรคที่ลูกตาทั้งสองข้าง ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติเชิงโครงสร้าง และการทำงานของอวัยวะรอบดวงตาของสุนัขพันธุ์หน้าสั้น (Nutbrown-Hughes, 2021)
โดยพันธุ์ที่มีรายงานพบความผิดปกติของดวงตาได้บ่อยคือพันธุ์ French Bulldog, Shih Tzu, Pug, English Bulldog, Pekingese และ Lhasa Apso (Costa et al., 2021) ความผิดปกติเชิงโครงสร้างของสุนัขพันธุ์หน้าสั้นที่ก่อให้เกิดภาวะ BOS มีดังนี้
1. ความผิดปกติของโครงสร้างหัวกะโหลก
หัวกะโหลกของสุนัขเหล่านี้มีลักษณะเบ้าตาตื้น ลูกตาจึงได้รับการปกป้องจากกระดูกเบ้าตาน้อย และทำให้ตาโปน (physiologic exophthalmos) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะตาทะลัก (proptosis) นอกจากนี้หากสุนัขมีจมูกสั้นกว่า 50% ของความยาวกะโหลก หรือมีขนที่รอยพับผิวหนังบริเวณสันจมูกที่ยาวไประคายเคืองกระจกตา (nasal fold trichiasis) ก็จะมีโอกาสเกิดแผลที่กระจกตามากขึ้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสุนัขที่มีรอยพับบริเวณจมูกจะมีความเสี่ยงในการเกิดแผลที่กระจกตา (corneal ulcer) มากกว่าสุนัขที่ไม่มีเกือบ 5 เท่า (Packer et al., 2015)
2. ความผิดปกติของเปลือกตา
ช่องเปิดเปลือกตาขนาดใหญ่ (Macroblepharon) เป็นปัจจัยเสี่ยงร่วมกับ physiologic exophthalmos ที่ทำให้สุนัขพันธุ์หน้าสั้นมีโอกาสเกิด protosis และโรคของผิวกระจกตาเนื่องจากปิดตาไม่สนิท (lagophthalmos) ในปี 2015 พบว่าสุนัขพันธุ์ Pug มีโอกาสเกิดแผลที่กระจกตามากกว่าพันธุ์อื่น 0.36 เท่า แต่ความเสี่ยงนี้จะลดลงเหลือ 0.15 เท่า หากมีความกว้างของช่องเปิดตา (palpebral fissure) ลดลง 20% (Packer et al., 2015)
หนังตาม้วนเข้า (entropion) เป็นโรคของหนังตาที่พบได้มากที่สุดในการศึกษาปี 2021 โดยมีรายงานว่าพบหนังตาม้วนเข้าที่เปลือกตาล่างบริเวณหัวตา (lower medial entropion) กว่า 65%ในสุนัขพันธุ์ Pug และ 60% ในสุนัขพันธุ์ English Bulldog (Costa et al., 2021) รอยโรคนี้ทำให้ช่องเปิดน้ำตา (nasolacrimal duct opening) มีขนาดเล็กลง จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้น้ำตาไหลมาก (epiphora) และมีคราบน้ำตาเกิดขึ้น
3. ความผิดปกติของขนตา
ขนตาที่งอกยาวบริเวณหัวตา (lacrimal caruncle) อาจก่อความระคายเคืองแก่กระจกตา และสามารถนำทางให้น้ำตาไหลออกนอก palpebral fissure ทำให้มีอาการน้ำตาไหลมาก และมีคราบน้ำตา นอกจากนี้ยังอาจพบขนตาขึ้นผิดที่แบบอื่น ได้แก่ distichiasis คือขนตาที่งอกจากต่อมไขมันที่บริเวณขอบตา และ ectopic cilia ซึ่งเป็นขนที่งอกออกมาจากเยื่อบุตา (palpebral conjunctiva) ขนเหล่านี้มีทิศทางทิ่มกระจกตาและทำให้เกิดแผลที่กระจกตาแบบตื้นเรื้อรัง (superficial corneal ulcer)
4. ความผิดปกติของการรับความรู้สึกของผิวกระจกตา .
โดยปกติแล้วกระจกตาจะมีเส้นประสาทมาเลี้ยงที่ผิวของกระจกตาเพื่อกระตุ้นการกะพริบตา และการสร้างน้ำตา ทำให้กระจกตามีความชุ่มชื้น แต่จากการศึกษาพบว่าสุนัขพันธุ์หน้าสั้นมีเส้นประสาทบริเวณกระจกตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณกลางตา ที่น้อยกว่าสุนัขที่มีหัวกะโหลกลักษณะอื่น (Bolzanni et al., 2020) ทำให้มีการรับรู้ที่บริเวณผิวกระจกตาน้อย ซึ่งปัจจัยนี้ทำให้การกะพริบตา ปริมาณน้ำตา ความชุ่มชื้นของกระจกตา รวมถึงความสมบูรณ์ของกระจกตาน้อยลง อันส่งผลต่อความใสของกระจกตา อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่กระจกตามากขึ้น และหากเป็นแผลที่กระจกตาจะทำให้แผลหายช้า รวมถึงมีโอกาสติดเชื้อได้มากขึ้น
จากที่กล่าวไปข้างต้นจะพบว่าความผิดปกติที่พบได้ในสุนัขที่มีภาวะ BOS จะส่งผลต่อคุณภาพของผิวกระจกตาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมักโน้มนำทำให้สุนัขกลุ่มนี้เกิดโรคดังนี้
โรคตาแห้ง (Keratoconjunctivitis Sicca, KCS)
โรคตาแห้งเป็นโรคที่เกิดจากการขาดองค์ประกอบอย่างน้อย 1 อย่างของน้ำตา ซึ่งทำให้ผิวหน้าตาอักเสบ โดยมากแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โรคตาแห้งเชิงปริมาณ (quantitative KCS) และเชิงคุณภาพ (qualitative KCS) สำหรับโรคตาแห้งเชิงปริมาณจะเกิดจากการขาดส่วนประกอบของน้ำ (aqueous layer) ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันตนเอง (T lymphocyte) ทำลายต่อมน้ำตา มักพบในสุนัขที่มีสายพันธุ์จำเพาะ เช่น Shih Tzu, Pug, Pekingese และ Lhasa Apso เนื่องจากน้ำตามีองค์ประกอบที่ช่วยลดการอักเสบ เพิ่มประสิทธิภาพในการหายของแผลที่กระจกตาและเยื่อบุตา ปกป้องผิวกระจกตา รวมถึงลดปริมาณแบคทีเรียที่ผิวกระจกตา
ดังนั้นอาการของสัตว์ป่วยโรค KCS มักมีปัญหาขี้ตามาก เยื่อบุตาแดงหรือบวม กระจกตาอักเสบ เช่น พบว่ากระจกตามีเส้นเลือด บวมน้ำ หรือมีเม็ดสีมาสะสม และในบางครั้งอาจเกิดแผลที่กระจกตาร่วมด้วย ซึ่งแผลนี้ก็มักจะหายช้ากว่าปกติ และมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้น การศึกษาในปี 2007 พบว่าสุนัขพันธุ์หน้าสั้นมีอาการนี้ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย (2เดือน - 2ปี) หรืออาจพบที่ช่วงอายุ 6 - 8ปี ในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย โดยมักมีอาการตาแดงไม่มาก มีขี้ตา รวมถึงมักพบแผลกระจกตาที่ลึก (50-72%) และทะลุได้อย่างรวดเร็ว (Sanchez et al., 2007) สัตว์ป่วยที่มีอาการและมีสายพันธุ์ตามที่กล่าวไปข้างต้นควรได้รับการตรวจวัดปริมาณน้ำตา (STT-1) เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค quantitative KCS ร่วมกับการพิจารณาโรคตาอื่น ๆ ที่สัตว์เป็นร่วมด้วย
ส่วนโรคตาแห้งในเชิงคุณภาพเกิดจากการขาดองค์ประกอบไขมัน (lipid layer) หรือเมือก (mucus layer) ทำให้น้ำตาระเหยมาก ชั้นฟิล์มน้ำตาจึงไม่เสถียร ซึ่งพบในสุนัขพันธุ์หน้าสั้น เนื่องจากมีการรับความรู้สึกของกระจกตาที่น้อย จึงกะพริบตาน้อยลง ทำให้การหลั่งไขมันจากต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา (meibomian gland) รวมถึงการกระจายฟิล์มน้ำตาน้อยลง ซึ่งเมื่อเกิดร่วมกับ macroblepharon และ physiologic exophthalmos ก็ยิ่งทำให้น้ำตาระเหยได้เร็ว นอกจากนี้ภาวะโรคผิวหนังที่มักพบในสุนัขกลุ่มนี้เป็นอีกปัจจัยเสริมทำให้เปลือกตาอักเสบเรื้อรัง และส่งผลต่อคุณภาพของเมือกและไขมันได้เช่นกัน โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจหาเวลาที่น้ำตาสามารถคงสภาพบนผิวกระจกตา (tear film break-up time) ซึ่งค่าปกติจะอยู่ที่ 19.7±5 วินาที และหากวัดได้ค่าน้อยกว่า 5 วินาทีจะถือว่ามีโรค qualitative KCS อย่างมีนัยยะสำคัญ
โรคแผลที่กระจกตา (Corneal Ulcer)
แผลที่กระจกตาก่อให้เกิดความเจ็บปวดและการอักเสบของดวงตา (reflex uveitis) สามารถตรวจวินิจฉัยได้โดยการย้อมสีที่กระจกตา โดยทั่วไปสามารถแบ่งชนิดของแผลที่กระจกตาออกเป็นประเภทแผลหลุมที่ตื้นหรือไม่มีภาวะอื่นแทรกซ้อน (simple corneal ulcer) ที่มักจะรักษาได้โดยการใช้ยา แต่ในบางกรณีที่แผลมีความลึกมาก อาจก่อให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นหรือสูญเสียดวงตา ทั้งนี้แนะนำให้ตรวจความดันตาเพื่อติดตามภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ภาวะการอักเสบ (uveitis) หรือต้อหิน (secondary glaucoma) หากกระจกตามีความเปื่อยยุ่ย อาจทำการเก็บตัวอย่างกระจกตาไปย้อมสี หรือเพาะเชื้อเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้ยาในการรักษา และในบางกรณีอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดควบคู่กับการใช้ยา
จากการสำรวจพบว่าสุนัขพันธุ์หน้าสั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลที่กระจกตามากกว่าสุนัขที่มีหัวกะโหลกแบบอื่น ๆ 11 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ Pug จะมีโอกาสเกิดแผลที่กระจกตามากกว่าสุนัขพันธุ์ผสมถึง 19 เท่า นอกจากนี้ความผิดปกติของตัวโครงสร้าง และการทำงานของอวัยวะรอบดวงตาอย่างที่กล่าวไปข้างต้นจะทำให้แผลที่เกิดขึ้นที่ตาของสุนัขพันธุ์หน้าสั้นแย่ลงได้อย่างรวดเร็วได้ จึงควรมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด (O’Neill et al., 2017)
เม็ดสีสะสมที่กระจกตา (Corneal Pigmentation)
ภาวะกระจกตาอักเสบแบบมีเม็ดสีสะสมที่กระจกตามักเกิดกับการอักเสบเรื้อรังของตัวกระจกตา พบมากในพันธุ์ Pug, Pekingese, Shih Tzu และ Lhasa Apso โดยปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดรอยโรคนี้คือ lower medial entropion, โรคของขนตา, KCS, อายุที่เพิ่มขึ้น และเม็ดสีที่บริเวณลิมบัส ( Costa et al., 2021) ซึ่งส่งผลให้สัตว์มีคุณภาพการมองเห็นลดลง
โรคต่อมหนังตาที่สามยื่น (Pr*****ed Nictitating Membrane Gland, Cherry Eye)
เป็นโรคที่เกิดจากการอ่อนแรงของเนื้อเยื่อที่ยึดบริเวณต่อมหนังตาที่สาม อาจเกิดร่วมกับการแบ่งตัวของเซลล์น้ำเหลืองในบริเวณนั้นที่มากกว่าปกติ (lymphoid hyperplasia) มักพบในสุนัขพันธุ์ Neapolitan Mastiffs (4.9%), English Bulldogs (4.8%), Lhasa Apsos (1.6%) และ American Cocker Spaniels (1.5%) สำหรับสุนัขพันธุ์หน้าสั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้มากกว่าสุนัขที่มีหัวกะโหลกแบบอื่น ๆ ถึง 6.7 เท่า (O’Neill et al., 2022)
ตาทะลัก (Proptosis)
Proptosis คือภาวะที่ดวงตาถูกดันออกมานอกเบ้าตา และเปลือกตา จึงทำให้สัตว์ไม่สามารถกะพริบตา จนก่อให้เกิดภาวะกระจกตาอักเสบ แผลที่กระจกตา การอักเสบของดวงตา (uveitis) เลือดออกในช่องหน้าตา (hyphema) หรือแม้กระทั่งดวงตาแตก (globe rupture) นอกจากนี้การที่ดวงตาถูกดึงออกมาข้างนอกเบ้าตาก็มักทำให้เกิดความเสียหายของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทบริเวณรอบดวงตา ซึ่งล้วนทำให้สัตว์เสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็นหรือสูญเสียดวงตา proptosis จึงจัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางโรคตา โรคนี้มักเกิดจากอุบัติเหตุหรือการกระแทก สำหรับ proptosis ที่เกิดในสุนัขพันธุ์หน้าสั้น มักเกิดจากอุบัติเหตุที่มีความรุนแรงน้อยกว่าสุนัขที่มีกะโหลกแบบอื่น ๆ ดังนั้นจึงมักมีพยากรณ์โรคที่ดีกว่า
น้ำตาไหลมาก (Epiphora)
Epiphora เป็นผลที่เกิดจากการระบายของท่อน้ำตาที่ผิดปกติจาก lower medial entropion ซึ่งทำให้รูเปิดท่อน้ำตามีขนาดเล็กลง ท่อน้ำตามีการหักงอจากโครงสร้างใบหน้า และลักษณะจมูกที่สั้น หรือเกิดจากการระคายเคืองของผิวกระจกตา ซึ่งหากพบร่วมกับ nasal fold ก็อาจทำให้เกิดภาวะผิวหนังอักเสบตามมาได้
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทความเท่านั้น อ่านบทความฉบับเต็มพร้อมภาพประกอบและหัวข้อการรักษาโรคตาในสุนัขสายพันธุ์หน้าสั้นต่อได้ที่ : https://readvpn.com/article/detail/Brachycephalic%20Ocular%20Syndrome%20in%20Dogs
บทความโดย : สพ.ญ.อธิชา ศรีสุทธาการ
สำหรับคุณหมอสัตวแพทย์ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก
ตอนนี้ทาง VPN มีโปรโมชั่นน่าสนใจอยู่นะ
💙 อ่านออนไลน์ จ่ายถูกกว่า -
สำหรับสัตวแพทย์ท่านที่สมัครสมาชิกแบบอ่านออนไลน์ (ไม่รับหนังสือ) จ่ายเพียง 1,000 บาท/ปี เท่านั้น และยังสามารถทำ CE online ในเว็ปไซต์ได้ตามปกติ
💙 อ่านจากเล่ม เน้นสะสม -
สำหรับท่านที่สมัคร/ต่ออายุสมาชิกแบบรับหนังสือ (สามารถใช้งานเว็ปไซต์และทำ CE online ได้ด้วย)
📍 ได้ทำ CE online มากกว่า 40 คะแนน/ปี
📍 ดาวโหลด E-book ไปอ่านได้
📍 ใช้งานเว็ปไซต์ได้เต็มรูปแบบ
📍 E-learning online course
ดูรายละเอียดแพคเกจ
และสมัครออนไลน์ด้วยตัวเองได้ที่ https://www.readvpn.com/register
หรือสอบถามเพิ่มเติม
add Line :

เตรียมความพร้อม ตรวจก่อน ดูแลก่อน เรายินดีให้คำปรึกษา เพื่อให้คุณภาพชีวิตของน้องดีขึ้น
24/09/2023

เตรียมความพร้อม
ตรวจก่อน ดูแลก่อน
เรายินดีให้คำปรึกษา เพื่อให้คุณภาพชีวิตของน้องดีขึ้น

ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่❤️คุณหมอแบม  คุณหมอประจำสถานพยาบาลสัตว์ น้องเจมส์   น้องเปิ้ล  ผู้ช่วยประจำสถานพยาบาลสัต...
21/09/2023

ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่❤️
คุณหมอแบม  คุณหมอประจำสถานพยาบาลสัตว์ 
น้องเจมส์  น้องเปิ้ล  ผู้ช่วยประจำสถานพยาบาลสัตว์ 
ในโอกาสสำเร็จการศึกษาอย่างเป็นทางการด้วยครับ

ฝนเริ่มมา อากาศเริ่มหนาวน้องนกมีสุขภาพพร้อมไหม ?ให้เราช่วยดูแลสิครับ ด้วย  #โปรแกรมตรวจสุขภาพนกช่วงฝนนี้ รับทันทียาถ่ายพ...
17/09/2023

ฝนเริ่มมา อากาศเริ่มหนาว
น้องนกมีสุขภาพพร้อมไหม ?
ให้เราช่วยดูแลสิครับ

ด้วย #โปรแกรมตรวจสุขภาพนก
ช่วงฝนนี้ รับทันทียาถ่ายพยาธิ(ไม่บวกค่าใช้จ่ายเพิ่ม)

ไอเราก็น่ารักซะด้วย ^^นุดเห็นเราก็อยากจะตกเราเลยงับตาเบ็ดมา ว้าวุ่นเลยทีนี้ตกด้วยเบ็ดซะด้วย !!คุณหมอจัดการเอาตาเบ็ดออกให...
13/09/2023

ไอเราก็น่ารักซะด้วย ^^
นุดเห็นเราก็อยากจะตก
เราเลยงับตาเบ็ดมา ว้าวุ่นเลยทีนี้

ตกด้วยเบ็ดซะด้วย !!
คุณหมอจัดการเอาตาเบ็ดออกให้แล้วนะครับ

ที่อยู่

145/27 ถนนสามสิบเมตร-ท่าสะอ้าน ม. 8 ต. เขารูปช้าง
Songkhla
90000

เวลาทำการ

จันทร์ 08:00 - 20:00
อังคาร 08:00 - 20:00
พุธ 08:00 - 20:00
พฤหัสบดี 08:00 - 20:00
ศุกร์ 08:00 - 20:00
เสาร์ 08:00 - 20:00
อาทิตย์ 08:00 - 20:00

เบอร์โทรศัพท์

+66997758896

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สองทะเล สัตวแพทย์ - หมอไก่ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง สองทะเล สัตวแพทย์ - หมอไก่:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

ประเภท


สัตวแพทย์ อื่นๆใน Songkhla

แสดงผลทั้งหมด