12/12/2024
https://www.facebook.com/share/p/13wHuWXd3X/?mibextid=WC7FNe
📣 สรุปมาให้แล้ว The FIC Essentials
Feline Idiopathic Cystitis (FIC) เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของโรค Feline Lower Urinary Tract Disease (FLUTD) โดยมี “ความเครียด” เป็นหนึ่งในปัจจัยโน้มนำหลัก
Pathogenesis and Clinical signs⚡
“ความเครียด” เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นระบบประสาท sympathetic เกิด C-fibers stimulation ทำให้มีอาการเจ็บปวดและเกิด neurogenic inflammation ส่งผลให้ชั้น Glycosaminoglycans (GAG) ที่ช่วยปกป้องผนัง urothelium ที่กระเพาะปัสสาวะลอกหลุดออก ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะตามมา
เจ้าของส่วนใหญ่จะพาแมวมาด้วยอาการปัสสาวะไม่เป็นที่, ใช้เวลาในการปัสสาวะนาน, ปัสสาวะไม่ออก, เลียบริเวณอวัยวะเพศ, hematuria, dysuria และ pollakiuria
นอกจากนี้ คุณหมอและเจ้าของ อาจต้องจำแนกระหว่างพฤติกรรม marking ของแมวเพศผู้และการปัสสาวะถี่ (pollakiuria) ซึ่งมีอาการที่แสดงออกคล้ายกัน
Stress in cats 😾
แมวเป็นสัตว์ใช้ชีวิตตามลำพังได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่เป็นกลุ่ม ที่สำคัญคือแมวเป็นสัตว์ที่ให้ความสำคัญกับ “อาณาเขต” หากมีการเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อย จะทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย
การตรวจความเครียดสามารถทำได้โดยการสังเกตภาษากายต่างๆที่แสดงออกให้เห็นได้ดังนี้
1. Facial expression - สามารถสังเกตได้จากลักษณะใบหู รูม่านตา การขู่ เป็นต้น
2. Body posture –แมวอาจทำตัวให้ดูใหญ่ขึ้น หรือขดเล็กลงก็ได้
3. Lip licking – การเลียปากเลียจมูก อาจบ่งชี้ถึงความเครียดในแมวได้
4. Tail signals - การแกว่งหางฟาดไปมาแรงๆ มักสื่อถึงความเครียด
5. Behavioral responses - พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากปกติ สามารถชี้ถึงความเครียดได้ เช่น การเลียตัวเองน้อยลง/ มากขึ้น, กินน้ำน้อยลง, การขับถ่ายปัสสาวะน้อยลง, การทำกิจกรรมน้อยลง, ขับถ่ายไม่เป็นที่ เป็นต้น
Diagnosis🔍
ต้องวินิจฉัยแยกแยะสาเหตุของ FLUTD อื่นๆออกให้หมดก่อน แล้วจึงสามารถวินิจฉัยได้ว่าแมวมีปัญหาเป็น FIC
-History taking: จะช่วยให้หาสาเหตุที่อาจจะโน้มนำให้เกิดความเครียดในแมวได้
-Physical examination: แมวมักมีอาการท้องกางหรือเกร็ง และบริเวณอวัยวะเพศมักมีลักษณะบวม แดง
-Imaging: radiograph และ ultrasound ใช้เพื่อ rule out ภาวะนิ่ว
-Urinalysis: ต้องไม่พบการติดเชื้อแบคทีเรียของกระเพาะปัสสาวะ
Treatment🌿
-ในกรณีฉุกเฉิน จะต้องรักษาพยุงชีพ และที่สำคัญคือจะต้องเอาปัสสาวะที่ค้างอยู่ออกให้เร็วที่สุด
-การจัดการอาหาร น้ำ และสิ่งแวดล้อม เช่น การปรับให้อาหารเปียก และเพิ่มแหล่งน้ำกินในที่อยู่อาศัยของแมว
-N-acetyl-D-glucosamine (NAG) สามารถช่วยเสริมชั้น GAG layer ในกระเพาะปัสสาวะ ลดการระคายเคืองและการอักเสบของผนังกระเพาะปัสสาวะได้
-หากสามารถระบุสาเหตุของความเครียดได้ ก็ต้องกำจัดหรือหลีกเลี่ยงต้นเหตุนั้นๆ
Management of stress
การจัดการความเครียดในแมว สามารถจำแนกได้เป็น 3 วิธีหลักๆ ดังนี้
1. การจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การเพิ่มกระบะทราย แหล่งอาหาร และแหล่งน้ำ ให้มีหลายๆตำแหน่ง มีที่ให้ปีนป่าย มีที่ให้หลบซ่อน มีของเล่นต่างๆ เป็นต้น
2. การจัดการพฤติกรรม
a. Desensitization: ค่อยๆให้เจอกับสิ่งกระตุ้นทีละน้อย เพื่อให้แมวค่อยๆปรับตัว
b. Counter conditioning: การให้ของที่แมวชอบเมื่อเจอสิ่งกระตุ้นความเครียด จะได้รู้สึกดีกับสิ่งกระตุ้นนั้นๆ
3. การให้ยาลดความเครียด ให้เริ่มจากโดสที่ต่ำที่สุดก่อน แล้วปรับตามการตอบสนอง ให้อย่างน้อยเป็นเวลา 4 สัปดาห์
a. Fluoxetine dose 0.5 – 1.5 mg/kg sid
b. Amitriptyline dose 0.5 – 2.0 mg/kg sid – bid
ที่มา: THE FIC ESSENTIALS: All We Need To Know About Feline Idiopathic Cystitis
ทบทวนความรู้ ได้ที่ https://bit.ly/replyFIC