เปิดคลินิกแล้วเด้ออ จร้า จันทร์ 1 กค 67 9.00-20.00 น
วันอังคาร 16 เมย 67 เปิดทำงานปกติจร้า
คลินิกหยุดช่วงปีใหม่ วันศุกร์ 29 ธค 66 เวลา 16:00
ถึงวันจันทร์ 1 มค 67
เปิด วันอังคาร 2 มค 67
ปล. เปิดวันอังคารที่ 2 มค 67 หมอยังไม่ได้รับเคสผ่าตัดนะครับ
น่าจะเริ่มผ่าตัดได้ วันพฤหัสที่ 4 มค 67
เปิดทำงานปกติเช่นเดิมครับ อังคาร 3 ตค 66 (9:00-20:00)
เช้านี้มีผ่าตัดฉุกเฉินครับ 9:30-12:00 น
วอคอินหลังเที่ยงครับถึงสองทุ่มเช่นเดิม
ลำไส้อักเสบ
ช่วงไวรัสโควิด-19 ในคนระบาด
ช่วงนี้ก็ลำไส้อักเสบในสุนัข (พาร์โวไวรัสสุนัข) ระบาดเช่นกันครับ ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมามีอากาสเปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ว่าจะหนาวเป็นระยะๆ บางวันฝนตก ซึ่งก็ทำให้สุนัขช่วงเจริญวัย 2เดือน -1 ปี อ่อนแอป่วยง่าย ทำให้ร่างกายติดเชื้อลำไส้ได้ง่าย หากสุนัขไม่ได้รับวัคซีนครบคอร์ส (3-4 ครั้งในปีแรก เริ่มที่อายุ 30-45 วัน) หรือแม้กระทั่งสุนัขโต ที่ลืมฉีดวัคซีนประจำปีก็มีโอกาสติดเชื้อลำไส้ได้เช่นกัน มาดูว่าการเกิดโรคเป็นอย่างไร การดูแล ป้องกันทำอย่างไร
โรคลำไส้อักเสบ เป็นเชื้อไวรัส ชื่อ พาร์โวไวรัส (รุนแรง) และโคโรน่าไวรัส (อาการเดียวกัน ไม่รุนแรงเท่ากับพาร์โว และไม่ใช่ที่ติดคนโควิด 19 นะ มันคนละสายพันธุ์ครับ )
หมอจะอธิบายเกี่ยวกับไวรัสพาร์โวที่เป็นชนิดรุนแรงและมีโอกาสทำให้สุนัขเสียชีวิตได้
การติดต่อ ส่วนมากรับเชื้อจากทางกิน และเข้าสู่ระบบน้ำเหลืองและระบบเลือด ใช้เวลา ระยะฟักตัวเฉลี่ย 4-14 วันย และไปทำลายทางเดินอาหารโดยเฉพาะผิวเยื่อบุลำไส้ ทำให้ไม่สามารถย่อยดูดซึมอาหารและ อาเจียน มีเลือดออก ถ่ายเหลวปนเลือด ( ดังนั้นสุนัขบางตัวรับเชื้อมาแล้วอาจไม่แสดงอาการใดๆก็ได้เพราะเชื้อโรคกำลังเพิ่มจำนวนเมื่อถึงช่วงเวลาอ่อนแอ จับอาบน้ำ ตากลมตากแดด อากาศเปลี่ยน เชื้อโรคค่อยแสดงอาการรุนแรงได้) ทีเข้าใจผิดกันคือ คนเลี้ยงส่วนมากเข้าใจว่าเลี้ยงในบ้านปลอดภัยแล้ว หรือมีรั้วรอบขอบชิดปลอดภัย เลยปล่อยสัตว์เลี้ยงกัน ความจริงเชื้อสามารถปนเปื้อนในสิ่งล้อมและสัตว์ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันมีโอกาสกินสัมผัสเข้าไปได้โดยเฉพาะสุนัขเด็ก แทะเลียดม ดังนั้นการขังกรงหรือพื้นที่จำกัดผูกล่ามจะป้องกันได้ดีกว่าปล่อยอิสระจนกว่าจะทำวัคซีนให้ครบคอร์ส
การวินิจฉัยโรค
1.การสังเกตตามอาการ (แยกจากภาวะอื่นๆโรคทางเดินอาหาร ชนิดอื่นเช่น การกินของแข็งกระดูก เศษอาหารแข็งก็อาจทำให้ถ่ายเหลวปนเลือดได้ ติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด การติดเชื้อโปรโตซัว เชื้อบิด ซึ่ง อาการใกล้เคียงคือถ่ายเหลวเลือดได้เช่นกัน )
2.การตรวจเทสคิตคือเอาอุจจาระมาเทสกับอุปกรณ์จำเพาะต่อเชื้อไวรัส (สะดวกและเห็นผลไว แต่อาจได้ผลลวงถ้ามีการตรวจในช่วงที่สุนัขรับวัคซีนมา 4-10 วันมาแล้ว)
3.การตรวจเลือด (เม็ดเลือขาวลดลง โปรตีน อัลบูมินต่ำลง น้ำตาลต่ำลง)
อาการ เมื่อรับเชื้อเข้าไป และก่อโรค คือ ซึมอาเจียน ไม่กินอาหาร ผอม กินน้ำและอาเจียน ถ่ายเหลว ถ่ายเลื
Alopecia X ขนร่วงแบบไม่ทราบสาเหตุ
Post-Clipping alopecia ขนร่วง ขนไม่ขึ้น จากหลังตัดโกนขน
วันนี้จะพูดถึง ปัญหาที่เจอเป็นพักๆ การรักษาทั้งตอบสนองดีและไม่ดี การติดตามการรักษาค่อยข้างยาก
Alopecia แปล วว่า ขนร่วง เป็นรอย เป็นหย่อมๆ ขนอาจแห้งๆ ผิวหนังอาจจะเปลี่ยนสีเข้ม ดำ (ในคนก็เป็นได้) ส่วน X นี่คือ ไม่รู้สาเหตุ สาเหตุหลากหลาย หลายทฤษฎี เป็นกันส่วนมากสุนัข พันธุ์ Alaskan Malamute, Siberian husky , Pomeranian , Chow chow
มีหลายทฤษฎี ทั้ง เรื่อง
1. ฮอร์โมนเพศ จะเห็นว่าถ้าเกิดกับตัวผู้ ถ้าตอนแล้วจะสามารถทำให้ ขนที่ร่วง ขึ้นใหม่ได้ แต่ก็ประมาณ 40-60 % ซึ่งบางตัวทำหมันตอนไปแล้วก็ไม่ขึ้น
2. ฮอร์โมน ไทรอยด์ T4 ก็ต้องมีการตรวจTotal T4 ก่อน ถ้า
ถ้ามีค่าปกติก็ตัดปัญหาไป
3.ฮอร์โมนอีกตัวที่ทำให้ขนร่วงคือฮอร์โมนสเตียรอยด์(Cushing's disease) ต้องประเมินการตรวจ urine cortisol /creatinine ratio. หรือทำการตรวจเลือดที่เรียกว่าlow dose dexamethasone suppression testซึ่งต้องใช้เวลาตรวจ8ชั่วโมง
การรักษาเป็นเรื่องที่ยุ่งยากเพราะต้องประเมินหลายๆอย่าง การติดตามผล การพูดกับเจ้าของเคส ทำความเข้าใจว่าการรักษาอาจใช้เวลาพอสมควร แต่ตามจริงแล้ว สุขภาพสัตว์ถ้ามีอาการขนร่วงแบบนี้ ไม่ได้มีปัญหาเรื่องสุขภาพเลยเพราะจะร่าเริงเป็นปกติ ไม่ได้เจ็บป่วยอะไร ไม่ได้คันอะไร เพียงแค่ขนร่วงผิวหนังเข้มดำขึ้น ไม่สวยงามในสายตาผู้เลี้ยงเท่านั้น
การรักษามีหลากหลายวิธี คือ
อาจะเลือกทำหมันตอนก่อน ถ้ายังไม่ดีขึ้น เลือกใช้ยา เช่น การเพิ่มสารบำรุงผิวหนังต่างๆ ครีมโลชั่น ออย โอเมก้า 3 6 เพื่อปรับสภาพผิวและขนให้ดีขึ้น หรือเลือกใช้ยา melatonin ยาตัวนี้เป็นยาที่คนใช้รับประทานเพื่อช่วยในการนอนหลับ ยาตัวนี้มาช่วยเกี่ยวกับการขนร่วง มีการศึกษาพบว่ายาตัวนี้ช่วยให้มีขนขึ้นแต่ก็ควรสังเกตสัตว์เลี้ยงอาจทำให้ง่วงซึม ยาอีกตัวที่เลือกใช้แต่ต้องสอบถามจากสัตวแพทย์คือยา trilostane ยาตัวนี้จะไปลดระดับฮอร์โมนสเตียรอยด์โดยไปยับยั้งการทำงานของenzyme ที่เป็นตัวเปลี่ยนฮอร์โมน17-hydroxyprogesterone ให้เป็นสเตียรอย
การเลือกใช้ยาแต่ละอย่างควรได้รับคำแนะนำจากสัตวแพทย์และติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
Post-Clipping alopecia คือ
ปัญหาขนไม่ขึ้นหลังการตัดขน เป็นความผิดปกติทางผิวหนังที่เกิดจากควา
ระบบภูมิคุ้มกัน วัคซีน เซรุ่ม ?
ระบบภูมิคุ้มกันประกอบขึ้นด้วยสารเคมีที่สร้างขึ้นภายในร่างกายเพื่อใช้ต่อสู้กับการติดเชื้อ และเซลล์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดขาว โดยเซลล์ชนิดนี้จะถูกสร้างขึ้นภายในไขกระดูก จากนั้นจะเคลื่อนที่เข้าสู่กระแสเลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ตามธรรมชาติ (innate immunity/ natural immunity) ภูมิคุ้มกันเเบบนี้มีมาตั้งเเต่เกิด ์ จะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันได้เอง เเต่ยังสร้างได้น้อยมาก เนื่องจากเริ่มมีการเจริญของอวัยวะน้ำเหลือง
2. ภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังคลอดโดยแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
2.1 ภูมิคุ้มกันก่อเอง (active immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดจากร่างกายได้รับแอนติเจน หรือเชื้อโรคที่อ่อนกำลังลงซึ่งไม่ทำอันตรายต่อสุขภาพ โดยนำมาฉีด กิน หรือทาที่ผิวหนัง กระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันขึ้น เช่น การฉีดวัคซีนต่างๆ โรคไข้หัด โรคลำไส้ เป็นต้น
2.2 ภูมิคุ้มกันรับมา (passive immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่ได้มาจากการสกัดจากเลือดของสิ่งมีชีวิต แล้วนำมาฉีดให้ร่างกายต้านทานโรคได้ทันที เช่น เซรุ่มแก้พิษงู เซรุ่มโรคพิษสุนัขบ้า บาดทะยัก เป็นต้น หรือได้รับภูมิคุ้มกันจากเเม่ตั้งเเต่อยู่ในท้อง เเละเมื่อคลอดออกมาจะได้รับภูมิคุ้มกันจากน้ำนมเเม่ แต่ภูมิคุ้มกันในน้ำนมเเม่จะลดลงหลังจากคลอดสักระยะหนึ่ง เมื่อลดลง จึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นหรือสร้างภูมิคุ้มกันโรค
วัคซีน (Vaccine ) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อ จุลินทรีย์ หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ข้อดีของวัคซีน คือ ไม่เกิดอาการแพ้รุน
วันหยุด เดือน กรกฎาคม 2560
แจ้ง วันหยุด เดือน กรกฎาคม 2560
วันศุกร์ ที่ 14 กค 60 บ่ายสามโมง 15.00 เป็นต้นไป
วันเสาร์ 15 วันอาทิตย์ 16 และวันจันทร์ 17 กค 60
เปิด วันอังคาร ที่ 18 กค 9.00-20.00 ตามปกติคร๊าบบ
ขออภัยทุกท่านด้วยจร้า ..........หมอไปหาเลาะ
โรคเลือดคั่งในใบหูสุนัข
โรคเลือดคั่งในใบหู ใบหูบวม Aural Hematoma
อาการ ลักษณะใบหูบวมมีของเหลว เลือดภายในใบหู อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างของใบหู
สาเหตุ เกิดจากการเกาใบหูอย่างรุนแรง หรือ เกาบ่อยครั้งจนทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณใบหูแตกและมีเลือดซึมออกเข้าในชั้นใบหูโดยส่วนมากก็มาจากสาเหตุต่อเนื่องจากการเป็นโรคอื่นๆเช่น
1. เป็นโรคผิวหนัง ก็จะเกาคันเนื่องจากมีรอยโรคคันตามตัวตามใบหู
2. เป็นโรคหูอักเสบ ก็จะมีอาการเกาคันหู สะบัดหู
3. การกัดกัน หรืออุบัติเหตุโดนกระแทกบริเวณใบหู
การรักษา
1.ถ้าอาการไม่รุนแรงบวมไม่มาก อาจใช้วิธีการพันหู หรือทาครีมลดการอักเสบบวม ร่วมกับการกินยาลดอักเสบ
2.ถ้ามีขนาดไม่ใหญ่มาก 1-2 ซม อาจทำการเจาะดูดออกหรือกรีดเล็กน้อยรีดระบายเลือดออกและพันเก็บใบหู
ให้กระชับไว้ ร่วมกับการกินยาลดอักเสบ ปฎิชีวนะ
3.ถ้ามีขนาดใหญ่ต้องทำการผ่าตัดกรีดระบายออกและเย็บปิดพื้นที่ช่องว่างของใบหู ใส่อุปกรณ์ดูดซึมซับเลือด
ไว้หรือพันหูไว้ หรือใส่ท่อเดรนเลือดไว้ได้เช่นกัน ส่วนมากลักษณะหูอาจจะมีการหดงอ หูพับ เมื่อแผลหายสนิท หมออาจใช้วัสดุแผ่นตรึงใบหู เพื่อลดการหดงอพับของใบหู
การรักษาอาจใช้ยาลดการอักเสบและยาปฎิชีวนะ หรือยาห้ามเลือดร่วมกันได้ ที่สำคัญต้องใส่อุปกรณ์คอลลาร์กันเกาใบหูจนกว่าจะหายดี อาจใช้เวลาในการรักษา 7-10 วัน
เชอร์รี่อาย cherry eye
โรคเชอร์รี่ อาย (Cherry eye)
หนังตาที่สาม (third eyelid) หนังตาที่สามมีหน้าที่ในการปกป้องดวงตา (กระจกตา) และยังมีหน้าที่ช่วยต่อมสร้างน้ำตา (Lacrimal gland) สร้างน้ำตาประมาณราว 40% ของน้ำตาทั้งหมดอีกด้วย นับว่าหนังตาที่สามมีความสำคัญต่อดวงตาของน้องหมามากเลยทีเดียว
Cherry eye หรือ Prolapsed nictitating membrane gland (PNMG) เกิดจากต่อมของหนังตาที่สามยื่นโพล่ออกมาผิดปกติ สาเหตุแท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการหย่อนตัวของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ทำหน้าที่ยึดต่อมของ หนังตาที่สามเอาไว้ไม่แข็งแรงพอ และ/หรือ อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโตขึ้นของเนื้อเยื่อน้ำเหลืองบริเวณหนังตาที่สาม ที่เกิดการอักเสบ หลังจากสัมผัสเชื้อโรค สิ่งสกปรก หรือสารก่อภูมิแพ้ จึงทำให้ตัวต่อมดังกล่าวขยายตัวและบวมนูนมากยิ่งขึ้น
ภายในหนังตาที่สามจะมีเนื้อเยื่อน้ำเหลือง (lymphoid tissue) และต่อมน้ำตาอยู่ด้วย เรียกว่า ต่อมของหนังตาที่สาม (Gland of the third eyelid) แต่บางครั้งเจ้าต่อมที่ว่านี้ อาจเกิดการขยายใหญ่และยื่นโผล่ออกมาจากบริเวณหัวตา จึงเป็นที่มาของ “โรคเชอร์รี่ อาย (Cherry eye)”
อาการ
ก้อนเนื้อแดง ๆ อมชมพู ผิวเรียบ ปูดออกมาบริเวณหัวตาของน้องหมาคล้ายกับผลเชอร์รี่ ช่วงแรก ๆ บางรายเป็น ๆ หาย ๆ ยุบ ๆ โผล่ ๆ แต่บางรายก็ปูดออกมาอย่างถาวร หากก้อนใหญ่มาก ๆ ก็อาจไปบดบังการมองเห็นได้ น้องหมาส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการเจ็บปวด แต่อาจก่อให้เกิดความรำคาญจากการระคายเคืองได้ ทำให้น้องหมาตาแฉะอยู่บ่อย ๆ และบางทีน้องหมาอาจเอาเท้ามาเกาตา หรือเอาหน้าไปถูกับพื้น จึงทำให้กระจกตาเกิดเป็นแผลหรือกระจกตาขุ่นได้ และอาจมีเยื่อบุตาอักเสบร่วมด้วย
การรักษา
1.ถ้าไม่รุนแรงหรือขนาดเล็ก ใช้ยาครีมป้ายตา ยาหยอดตา ยากินลดอักเสบ ฆ่าเชื้อได้ หรือนวดคลึงกดลงไปในตำแหน่งเดิม แต่สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้เป็นการบรรเทาระดับหนึ่ง
2.การผ่าตัดศัลยกรรม มีหลายวิธี วิธีแรกอาจผ่าตัดออกเลย ซึ่งเป็นวิธีรักษาแบบถาวร ทำง่าย ไม่กลับมาเป็นอีก อาจมีผลต่อการสร้างน้ำตาระดับหนึ่ง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดอาการที่เป็นด้วย
วิธีที่สองการผ่าตัดยัดเก็บ ดันต่อมลงไป เป็นวิธีที่ยากกว่าการตัดออกอย่างแรก และมีโอกาสกลับมาเป็นได้อีก แต่ก็ช่วยเก็บต่อมน้ำตาไว้
การรักษาขึ้นอยู่กับ ควา