สวนเพ็ชรนิภา-Farmstay

สวนเพ็ชรนิภา-Farmstay สวนเกษตรผสมผสานและที่พักสไตล์ชนบท? ใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ ชิวๆ

03/10/2022

บนดินแดน "สวรรค์ของไม้ผลเมืองร้อน" มีผลไม้ให้กินไม่เคยขาดช่วง ไม้ผลบางชนิดออกดอกออกผลตลอดปี เช่น มะพร้าว กล้วย สับปะรด หรือมะละกอ แต่หากสังเกตดีๆ ไม้ผลแต่ละชนิดมักจะมีฤดูกาลของพวกเขา หรือมีช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการให้ผลผลิตเสมอ

เกษตรกรรมตามวิถีนิเวศเกษตร เป็นการผลิตที่คำนึงถึงวัฎจักรของพืชพรรณแต่ละชนิด เพราะไม่ต้องพึ่งพาสารเร่ง ไม่ใช้ปัจจัยการผลิตเกินจำเป็น ได้ปริมาณการผลิตที่เหมาะสมและคุณภาพดี

ในขณะเดียวกัน การบริโภคที่พึงจะเป็น ก็คือการบริโภคตามฤดูกาล เพราะรสชาติที่ดีที่สุดและคุณค่าอื่นๆของผลไม้ จะมาจากช่วงเวลาการออกดอกออกผลตามวัฎจักรตามธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อใบสะสมอาหารเต็มที่ แล้วถ่ายเทไปสู่การสร้างผล เพื่อการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ

ฤดูกาลของไม้ผลเมืองร้อนแต่ละชนิด ตามรายละเอียด :

มกราคม : มะขามหวาน ลำไย (ภาคตะวันออก) ส้มเขียวหวาน ส้มเกลี้ยง/ส้มเช้ง ฝรั่ง มะขามป้อม องุ่น ชมพู่ มะตูม กล้วยหอม พุทรา

กุมภาพันธ์ : มะขามหวาน มะปราง/มะยงชิด มะขามป้อม องุ่น ชมพู่ แตงโม กล้วยหอม ลูกตาล มะตูม มะขามเทศ ส้มโอ สับปะรด

มีนาคม : ขนุน มะม่วง แตงโม มะปราง/มะยงชิด มะม่วงหิมพานต์ ส้มโอ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม

เมษายน : ลิ้นจี่(ภาคกลาง) มะม่วง ขนุน มะไฟ ลูกหว้า มะม่วงหิมพานต์ แตงโม ชมพู่ สับปะรด กล้วยหอม

พฤษภาคม : ทุเรียน(ตะวันออก) ลิ้นจี่ (เหนือ) มังคุด(ตะวันออก) ขนุน จำปาดะ เงาะ(ตะวันออก) ลูกหว้า ระกำ สับปะรด

มิถุนายน : ทุเรียน(ตะวันออก) มังคุด (ตะวันออก) สละ/ระกำ ลิ้นจี่ (เหนือ) ชมพู่ กระท้อน สับปะรด ขนุน จำปาดะ มะละกอ เงาะ(ตะวันออก) มังคุด

กรกฎาคม : ทุเรียน (ภาคใต้) ลิ้นจี่(ภาคเหนือ) ลองกอง (ภาคตะวันออก) ลางสาด มังคุด(ใต้) เงาะ(ใต้) ส้มโอ มะยม แตงไทย ฝักบัว น้อยหน่า ชมพู่ ส้มเขียวหวาน จำปาดะ สับปะรด ฝรั่ง กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่

สิงหาคม : ทุเรียน (ภาคใต้) ลองกอง(ภาคตะวันออก-ภาคใต้) ลางสาด(อุตรดิตถ์) น้อยหน่า มังคุด(ใต้) เงาะ(ใต้) ฝรั่ง มะเฟือง ลำไย(ภาคเหนือ) ส้มโอ ชมพู่ สับปะรด ส้มเกลี้ยง/ส้มเช้ง มะยม กล้วยไข่ กล้วยหอม

กันยายน : ลองกอง(ภาคใต้) ลางสาด (อุตรดิตถ์) ส้มโอ มะกอกน้ำ มะยม ฝรั่ง องุ่น มะเฟือง กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม

ตุลาคม : ลองกอง/ลางสาด ส้มซ่า ขนุน มันแกว ฝรั่ง มะเฟือง สาเก ฝรั่ง องุ่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม

พฤศจิกายน : ส้มเขียวหวาน องุ่น ละมุด มะขามป้อม มะละกอ แตงโม ฝรั่ง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า

ธันวาคม : ส้มเขียวหวาน มะขามหวาน ลำไย(ภาคตะวันออก) พุทรา ขนุน ชมพู่ สับปะรด มะละกอ ละมุด มะขามป้อม แตงโม ฝรั่ง กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม

หมายเหตุ :
1) ฤดูกาลของผลไม้นี้มาจากช่วงเวลาการให้ผลผลิตมากที่สุดของชนิดและสายพันธุ์หลักของไม้ผลในแหล่งปลูกหลักๆเท่านั้น
2) ช่วงเวลาการให้ผลผลิตของพื้นที่การผลิตอาจแตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่ สายพันธุ์บางชนิดอาจออกผลผลิตได้หลายช่วงใน 1 ปี เช่น พันธุ์น้ำดอกไม้ โชคอนันต์ พิมเสนมันทะวาย และวิธีการจัดการผลผลิตโดยการตัดแต่งกิ่ง/ให้น้ำของพืชบางชนิด เช่น ฝรั่ง น้อยหน่า องุ่น เป็นต้น
3) ปรับปรุงเพิ่มเติมผลผลิตที่มาจากภาคที่มีการผลิตรองเพิ่มเติมในโพสต์และแผนภาพ เช่น ทุเรียนภาคใต้ ลิ้นจี่/ลำไยภาคกลาง ฯลฯ
4) ส่วนผลไม้รองและผลไม้พื้นบ้านเดี๋ยวจะแยกเป็นอีกโพสต์
5) ปรับปรุงเพิ่มเติมภาพและข้อมูล 3/10/2565

ที่มาของข้อมูล : ประมวลจาก 1) ปฏิทินผลผลิตสินค้าเกษตรของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2) ปฏิทินการปลูกพืชกรมส่งเสริมการเกษตร 3) ปฎิทินผลผลิตเกษตรของกรมการค้าภายใน 4) ข้อมูลผลไม้ตามฤดูกาลสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) 5) ข้อมูลการเกษตร/การจัดเทศกาลผลไม้ในจังหวัดสำคัญ ในกรณีที่ข้อมูลขัดแย้งกันจะคัดเลือกจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือได้จากหลายแหล่งมาประกอบกัน
#ฤดูกาลแห่งไม้ผลเมืองร้อน #บริโภคตามฤดูกาล #เพื่อระบบเกษตรกรรมและอาหารที่ยั่งยืน

24/07/2022
14/07/2022

พืชจะเจริญเติบโตงดงามได้ดีแค่ไหนไม่ได้อยู่ที่ปุ๋ ยหรือน้ำอย่ างเดียว สิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ เป็นอันดับแ....

11/07/2022

สวัสดีสมาชิกแนวทางเกษตร เกร็ดค …

11/07/2022

มาลองทำสูตรในการบำรุงพืชผักผลไม้แบบง่าย ๆ กัน โดยจะใช้ผงชูรสเป็นวัตถุดิบหลัก ใครปลูกมะม่วงเขียวเสวยหรื.....

06/07/2022

มัลเบอร์รี่ หรือ หม่อน มีรสเปรี้ยวหวาน เป็นที่ถูกปากของใครหลายๆคน ก็ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายอีกด้ว....

02/07/2022

ชะอมเป็นผักสวนครัวที่มีประโยชน์สูงมาก ๆ และยังเป็นผักที่ตลาดต้องการสูง สามารถขายได้ตลอดอีกด้วย แต่อาจจ.....

30/06/2022

พืชสวน ไอเดียปลูกพืชแบบใหม่ แปลกแต่ได้ผล  Smile Smile, 2 years ago 1 min read 2181   คุณ พงษ์พัฒน์ เกษตรกรรุ่นใหม่ จ.มหาสารคาม เผยถึงเ...

29/06/2022

ผักชีปลูกในกระถางก็เจริญเติบโตสวยงามไม่แพ้การปลูกลงแปลงเลย เหมาะกับคนที่ต้องการปลูกแบบประหยัดพื้นที่.....

22/06/2022

Trying to determine what makes a good (or bad) dad joke is not so easy, but there are some certain ingredients that we can name. First of all, the one-liner has to be administered by a dad (not necessarily your own)

ดอกไม้ที่สวน...
22/04/2022

ดอกไม้ที่สวน...

17/03/2022

สาบเสือป้องกันกำจัดศัตรูพืช ช่วยลดการใช้สารเคมีและต้นทุน
************************
สาบเสือถือเป็นวัชพืชนอกจากนำมาผลิตเจลแต้มสิว ยังสามารถนำมาใช้ป้องกันกำจัดหนอนใยผัก หนอนกระทู้ เพลี้ยอ่อน ด้วงถั่วเขียวฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส สาเหตุโรคพืชได้อีกด้วย มีสารออกฤทธิ์ คือ limonene, pinene และ naphthoquinone
มีวิธีการใช้ดังนี้
1) ต้นและใบ ผึ่งลมให้แห้ง บดเป็นผง แช่น้ำ 400 กรัม/น้ำ 3 ลิตร ถ้าใบอย่างเดียวใช้ 400 กรัม/น้ำ 8 ลิตร กวนตั้งทิ้งไว้ค้างคืน กรองเอากากออก นำมาฉีดพ่นทุก 7 วัน ป้องกันและไล่หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก
2) นำต้นสาบเสือมา หมักด้วยเหล้าขาว 24 ชั่วโมง (500 กรัม/เหล้า 1 ลิตร) หมักค้างคืน กรองออกมานำไปพ่นป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย และหนอนใยผัก
3) ใบสด 10 กรัมผสมกับใบแห้ง 30 กรัม บดให้ละเอียด แล้วนำมาคลุกถั่วเขียว 100 กรัม สามารถป้องกันกำจัดแมลงด้วยถั่วเขียว และมอดข้าวสาร
ภาพประกอบจาก https://www.silpa-mag.com

12/03/2022

แจกสูตรน้ำหมักเพื่อสุขภาพ
==================

น้ำสำคัญมากทั้งต่อสุขภาพและความสวยของเรา
ยิ่งอากาศร้อน ยิ่งต้องดื่มน้ำให้มากพอ

น้ำอินฟิวส์ หรือน้ำหมักเพื่อสุขภาพ
จะช่วยให้เราดื่มน้ำได้มากขึ้น
เพราะมีกลิ่นหอม และรสชาติจากผลไม้อ่อนๆ

สูตรน้ำหมักเพื่อสุขภาพ
1 สตอเบอรี่ + แตงโม + สะระแหน่ + น้ำแร่ ( สูตรดีท็อกซ์ )
2 แตงกวา + ขิง + เลมอน + สะระแหน่ + น้ำแร่ ( สูตรดีท็อกซ์ )
3 ราสเบอรี่ + มะนาว + น้ำแร่ ( สูตรดีท็อกซ์ )
4 ชาเขียว + มะนาว + สะระแหน่ + น้ำแร่ ( สูตรเร่งการเผาผลาญ )
5 แตงกวา + กีวี + สตอเบอรี่ + น้ำแร่ ( สูตรลดน้ำตาลในเลือด )

วิธีทำ
หั่นวัตถุดิบเป็นแว่นๆ ถ้าผลไม้หั่นเป็นชิ้นพอคำ
เติมน้ำแร่แล้วแช่เย็น 2-3 ชั่วโมงค่ะ

บทความโดย อ. มนต์อัปสร โรจน์สิริกุล
( ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเพื่อสุขภาพ )

06/03/2022

มะยงชิดกำลังออกตลาด หลายคนแยกไม่ออกระหว่าง "มะปราง" กับ "มะยงชิด" นิเวศเกษตรพาไปอ่านหนังสือเรื่อง "เรื่องทำสวน" เขียนโดย มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) อดีตอธิบดีกรมพระคลังสวน อธิบดีจัดการกรมภาษีร้อยชักสาม (ปัจจุบันคือ กรมศุลกากร) เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และเสนาบดีกระทรวงธรรมการคนแรก (ปัจจุบันคือ กระทรวงศึกษาธิการ) โดยในหนังสือเรื่อง "เรื่องทำสวน" ซึ่งแต่งถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2431 นั้น ระบุว่า ผลไม้ที่เรียกกันว่า มะปราง และมะยงชิด นั้น เป็น "มะปราง" เหมือนกัน แต่เรียกแตกต่างกันตามลักษณะของรสชาติเป็นสำคัญ

ความแตกต่างหลากหลายของมะปรางที่มีรสชาติแตกต่างกัน เกิดขึ้นจากชาวสวนและชุมชนเกษตรกรรมสมัยอดีตได้คัดเลือกไม้ผลนี้มารุ่นแล้วรุ่นเล่า จนได้สายพันธุ์ต่างๆหลากหลาย

โดย มะปรางที่มีรสชาติต่างๆ แยกชื่อเรียกออกเป็นดังนี้

- มะปรางหวาน คือ มะปรางที่ไม่มีรสเปรี้ยวเลย รสชาติหวานชืดๆ

- มะยงชิด คือ มะปรางรสชาติหวานอมเปรี้ยว (หวานมากกว่าเปรี้ยว)

- มะยงห่าง คือ มะปรางที่มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน (เปรี้ยวมากกว่าหวาน)

- มะปรางเปรี้ยว คือมะปรางที่ไม่มีรสหวานเลย เช่นเดียวกับ

- กาวาง ที่เปรี้ยวจัดจนเปรียบเปรยว่า นกกาที่จิกกินไม้ผลนี้ยังยอมแพ้

ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าความหลากหลายเหล่านี้ เกิดขึ้นจากพื้นที่ปลูกมะปรางในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง/ภาคกลางตอนบน หรือเกิดขึ้นจากการคัดเลือกสายพันธุ์ของชุมชนภาคกลางตอนล่าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณสวนยกร่องในบริเวณบางกอกและใกล้เคียง) แต่เป็นไปได้ว่าความหลากหลายนี้ อาจเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศพร้อมๆกัน ซึ่งที่จริงรวมถึงภาคตะวันออกของประเทศที่เป็นแหล่งเดิมของการปลูกมะปริง แต่ขณะนี้กลายเป็นแหล่งกำเนิดและแหล่งผลิตมะยงชิดสายพันธุ์ดีหลายๆสายพันธุ์ในระยะหลัง

อย่างไรก็ตาม ในทางพฤกษศาสตร์และการใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ระหว่าง มะปราง มะยงชิด และมะปริง (ซึ่งมีการปลูกและพบในป่าในภาคใต้และตะวันออก) ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันนั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัด และค่อนข้างสับสน

ในช่วงเริ่มต้นการศึกษาด้านพฤกษศาสตร์ ศ.เต็ม สมิตินันทน์ นักพฤกษศาสตร์คนสำคัญของประเทศซึ่งล่วงลับไปแล้ว จัดให้ผลไม้ทั้งสามชนิดเป็นพืชชนิดเดียวกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bouea oppositifolia

แต่ในระยะหลัง งานวิชาการด้านพฤกษศาสตร์ของกรมป่าไม้ และลูกศิษย์ของ ศ.เต็ม รวมมะปริงกับมะยงชิด อยู่ภายใต้ชื่อวิทยาศาสตร์ Bouea oppositifolia และ กำหนดให้มะปรางเป็น Bouea macrophylla สอดคล้องกับงานพฤกษศาสตร์ระดับนานาชาติในฐานข้อมูลของ The Plant List ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันขององค์กรพฤกษศาสตร์ระหว่างประเทศหลายสถาบัน

ส่วนเอกสารของกลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืช กรมวิชาการเกษตร จัดให้มะปรางและมะยงชิดเป็นไม้ผลชนิดเดียวกัน คือ Bouea macrophylla

ในประเทศมาเลเซีย นักพฤกษศาสตร์ที่นั่น ใช้งานวิจัยล่าสุดซึ่งเพิ่งตีพิมพ์เมื่อเร็วๆนี้ แยกมะปริง Bouea oppositifolia หรือชื่อพ้อง Bouea microphylla ออกจาก Bouea macrophylla ซึ่งเป็นไม้ผลที่มีขนาดผลและใบใหญ่กว่า

นิเวศเกษตร จะทยอยนำเรื่องราวเกี่ยวกับความหลากหลายของชนิดและสายพันธุ์ของไม้ผลที่มีรสชาติน่าหลงใหลในกลุ่ม Bouea มานำเสนอเป็นลำดับต่อไป

06/03/2022
18/02/2022
30/01/2022

สูตร ปุ๋ยที่เกษตรกรไทยใช้กันมากในขณะนี้คือ ปุ๋ยยูเรีย ไม่ว่าจะเป็นนาข้าวหรือพืชไร่ต่างๆ ล้วนแต่ใช้ปุ๋ย.....

9/1/65ถึงสูงเท่าไร สักวันก็ร่วงลงดิน .....ชีวิตคนก็เช่นกัน
09/01/2022

9/1/65
ถึงสูงเท่าไร สักวันก็ร่วงลงดิน .....ชีวิตคนก็เช่นกัน

06/11/2021

มะพร้าว เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่น.....

18/10/2021
07/10/2021

ที่อยู่

Udon Thani
41160

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ สวนเพ็ชรนิภา-Farmstayผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง สวนเพ็ชรนิภา-Farmstay:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


ฟาร์มในเมือง อื่นๆใน Udon Thani

แสดงผลทั้งหมด

คุณอาจจะชอบ