เมล่อนในสวน Melon in the Garden

  • Home
  • เมล่อนในสวน Melon in the Garden

เมล่อนในสวน Melon in the Garden MELON IN THE GARDEN (เมล่อนโคราช)
(1)

🫛🇯🇵🫛🇯🇵🥒 ลงโรงเล็กไปก่อน โรงใหญ่ เตรียม วัสดุปลูกใหม่ ต่อไป ครับ
11/03/2024

🫛🇯🇵🫛🇯🇵🥒 ลงโรงเล็กไปก่อน โรงใหญ่ เตรียม วัสดุปลูกใหม่ ต่อไป ครับ

เริ่มใหม่ 🍈🇯🇵🍈🇯🇵✅ล้างโรง ✅เปลี่ยนวัสดุปลูก✅ลดปริมาณ การปลูก ( มีบ้านสร้างใหม่มาบังแดด)✅ ปลูกแนวทางเดิม อินทรีย์ ชีวภาพ❤️...
14/02/2024

เริ่มใหม่ 🍈🇯🇵🍈🇯🇵
✅ล้างโรง
✅เปลี่ยนวัสดุปลูก
✅ลดปริมาณ การปลูก ( มีบ้านสร้างใหม่มาบังแดด)
✅ ปลูกแนวทางเดิม อินทรีย์ ชีวภาพ

❤️❤️รอความ หอม หวาน สไตล์ สวนเรานะครับ

15.01.67ได้เวลาเปลี่ยน วัสดุปลูก (4-5รอบ)ถุงปลูก (เกือบ8ปี ถุงแสนดี)ใหม่หมดโหมดเตรียม โรงเรือน
15/01/2024

15.01.67
ได้เวลาเปลี่ยน วัสดุปลูก (4-5รอบ)
ถุงปลูก (เกือบ8ปี ถุงแสนดี)
ใหม่หมด

โหมดเตรียม โรงเรือน

3อาทิตย์ แล้วครับแตงกวา🥒🇯🇵ถ่วฝักยาว เมล่อน กนกกาญจน์
02/11/2023

3อาทิตย์ แล้วครับ
แตงกวา🥒🇯🇵
ถ่วฝักยาว
เมล่อน กนกกาญจน์

🥒🇯🇵 15 วัน หลังเมล็ดลงถุง มาไต่เชือกกันครับ   #เราดูแลพืชผักให้พืชผักดูแลคุณ
26/10/2023

🥒🇯🇵 15 วัน หลังเมล็ดลงถุง มาไต่เชือกกันครับ
#เราดูแลพืชผักให้พืชผักดูแลคุณ

แตงกวาญี่ปุ่น 60 ต้นถั่วฝักยาว 50 ต้นเมล่อน สีทอง กนกกาญจน์ 25 ต้น พืชอายุอายุสั้น ระหว่างรอเปลี่ยนวัสดุปลูก
19/10/2023

แตงกวาญี่ปุ่น 60 ต้น
ถั่วฝักยาว 50 ต้น
เมล่อน สีทอง กนกกาญจน์ 25 ต้น

พืชอายุอายุสั้น ระหว่างรอเปลี่ยนวัสดุปลูก

12.10.66   ระหว่าง รอเปลี่ยน วัสดุ ปลูกเมล่อนรอบใหม่    ลงแตงกวา 🇯🇵🥒🥒 สัก 100 ต้น ดูครับ
12/10/2023

12.10.66
ระหว่าง รอเปลี่ยน วัสดุ ปลูกเมล่อนรอบใหม่
ลงแตงกวา 🇯🇵🥒🥒 สัก 100 ต้น ดูครับ

พร้อมทาน 🇯🇵🍈zubariking
12/09/2023

พร้อมทาน 🇯🇵🍈zubariking

มันต้องหลือ สัก50 ลูกแหละ สู้ เข้าไป ไม่ได้ รอบหน้า แก้ปัญหา ใหม่ ปัญหาเก่า จะไม่เกิดเก็บไว้เป็นประสบการณ์ 🍈😊🇯🇵❤️
23/08/2023

มันต้องหลือ สัก50 ลูกแหละ สู้ เข้าไป ไม่ได้ รอบหน้า แก้ปัญหา ใหม่
ปัญหาเก่า จะไม่เกิดเก็บไว้เป็นประสบการณ์
🍈😊🇯🇵❤️

ไข่เป็ด มาแล้ว 🍈🍈😀 คัดลูกกันครับ
02/08/2023

ไข่เป็ด มาแล้ว 🍈🍈😀 คัดลูกกันครับ

พรุ่งนี้ ดอกตัว ผู้ น่า จะบานแล้ว น่าจะได้ ผสมเกสร ครับ🍈🇯🇵zubariking
27/07/2023

พรุ่งนี้ ดอกตัว ผู้ น่า จะบานแล้ว
น่าจะได้ ผสมเกสร ครับ
🍈🇯🇵zubariking

26 วันหลังหยอดเมล็ด แขนง ตัวผู้ ข้อ ที่ 9 เริ่ม ยาว แล้ว  #เมล่อนในสวน
25/07/2023

26 วันหลังหยอดเมล็ด
แขนง ตัวผู้ ข้อ ที่ 9 เริ่ม ยาว แล้ว

#เมล่อนในสวน

22 วัน หลังหยอดเมล็ด                           ยอดกำลังลังพุ่ง                        เตรียมไว้แขนงข้อ ที่ 9  #เมล่อนในส...
21/07/2023

22 วัน หลังหยอดเมล็ด
ยอดกำลังลังพุ่ง
เตรียมไว้แขนงข้อ ที่ 9
#เมล่อนในสวน

14.07.66ไต่เชือก กันแล้วครับ  🇯🇵🍈 14 วันหลังหยอดเมล็ด
14/07/2023

14.07.66
ไต่เชือก กันแล้วครับ 🇯🇵🍈 14 วันหลังหยอดเมล็ด

🍅🍅 ทานสด เริ่ม แล้ว กับโรงเล็ก ของเรา
09/07/2023

🍅🍅 ทานสด เริ่ม แล้ว กับโรงเล็ก ของเรา

🇯🇵🍈🇯🇵 6 days
06/07/2023

🇯🇵🍈🇯🇵 6 days

🍈🇯🇵zubariking  หยอดเมล็ด 29 กค 66🌱โผล่ มา ดูโลก แล้ว
02/07/2023

🍈🇯🇵zubariking
หยอดเมล็ด 29 กค 66
🌱โผล่ มา ดูโลก แล้ว

19.06.66เพิ่มปุ๋ยหมักในวัสดุปลูกปรับแถวปลูกเพิ่มถาดรองก้นถุงใส่กระถางปลูกเล็ก แก้โคนเน่าอีกไม่กี่วัน คงได้หยอดเมล็ดแล้ว ...
19/06/2023

19.06.66
เพิ่มปุ๋ยหมักในวัสดุปลูก
ปรับแถวปลูก
เพิ่มถาดรองก้นถุง
ใส่กระถางปลูกเล็ก แก้โคนเน่า
อีกไม่กี่วัน คงได้หยอดเมล็ดแล้ว ครับ
#เมล่อนอินทรีย์ชีวภาพ

05.06.66เติมปูนขาว ไดโลไมต์ ฆ่าเชื้อและปรับสภาพวัสดุปลูกรอ เติมปุ๋ยหมักเพิ่มในวัสดุปลูก ต่อ  #โหมดเตรียมโรงเรือนเมล่อนอิ...
05/06/2023

05.06.66
เติมปูนขาว ไดโลไมต์ ฆ่าเชื้อและปรับสภาพวัสดุปลูก
รอ เติมปุ๋ยหมักเพิ่มในวัสดุปลูก ต่อ
#โหมดเตรียมโรงเรือนเมล่อนอินทรีย์

27.05.66กว่า 1 ปีเต็มๆๆ เพิ่ง ได้กลับมาด้วยความพร้อมและ สถานการณ์หลายอย่างเปลี่ยนมุ้ง หลังคา เตรียมวัสดุปลูกใหม่ ในรูปแบ...
27/05/2023

27.05.66
กว่า 1 ปีเต็มๆๆ เพิ่ง ได้กลับมา
ด้วยความพร้อมและ สถานการณ์หลายอย่าง
เปลี่ยนมุ้ง หลังคา
เตรียมวัสดุปลูกใหม่ ในรูปแบบเมล่อนอินทรีย์

อีก4 เดือน เรา จะมีผลผลิต ครับ 🍈🇯🇵🍈🇯🇵🍈

03.05.65    ต้นเก่า เอากลับไปทำปุ๋ยหมัก ชั้นดีกลับมาใช้ครับ
03/05/2022

03.05.65
ต้นเก่า เอากลับไปทำปุ๋ยหมัก ชั้นดีกลับมาใช้ครับ

01.05.65      พรุ่งนี้ ทางไกล เริ่มส่งให้ครับ รอรับความหอมหว่นได้เลยครับ
01/05/2022

01.05.65
พรุ่งนี้ ทางไกล เริ่มส่งให้ครับ รอรับความหอมหว่นได้เลยครับ

ปัจจุบันเรา ทำเอง ใช้เอง กับ ผัก และเมล่อน ทุกรอบเลยครับ
12/04/2022

ปัจจุบันเรา ทำเอง ใช้เอง กับ ผัก และเมล่อน ทุกรอบเลยครับ

ในสมัยก่อน ก่อนที่จะมีปุ๋ยเคมีเข้ามาขายในประเทศเราในช่วงปี 2502 พ่อแม่ปู่ย่าตายายเราก็ได้ใช้มูลสัตว์ในการเพาะปลูกครับ ทั้งอ้อย มัน ยาง ข้าว ผัก ไม้ผล ไม้ดอก ...... ปลูกกินกันทั้งประเทศ เหลือก็ส่งขายต่างประเทศ

ชาวบ้านจะสอนกันว่ามูลสัตว์มันร้อน อย่าใส่มาก พืชจะเหลือง สลด และตายได้

ที่มูลสัตว์มันร้อน เพราะว่าในมูลสัตว์มีจุลินทรีย์เยอะ ที่เก่งกาจในเรื่องการย่อยสลายเศษพืชครับ ..... ไม่ว่าจะเป็นขี้ไก่ ขี้หมู ขี้วัว ขี้ควาย ขี้แพะ ขี้ม้า ก็ตาม ........ ใส่มูลสัตว์น้อย ๆ ได้ประโยชน์ ..... ใส่มากไป จุลินทรีย์ไปกัดโคนต้น กัดรากพืชเฉยเลย

ทางราชการก็เลยสอนให้ชาวบ้าน เปลี่ยนมูลสัตว์ให้เป็นปุ๋ยคอกก่อน ทำลายฤทธิ์เดชของจุลินทรีย์ให้มันสงบตัว ...... โดยการกองสุมมูลสัตว์ ให้ความชื้นข้างในข้างนอก ...... กองมูลสัตว์จะร้อนมาก ...... ทำแบบนี้ไปสัก 2-3 เดือน ...... มูลสัตว์ก็จะเป็นผงละเอียด ...... แล้วทำให้แห้งก่อนใช้ ....... พอแห้ง จุลินทรีย์ก็จะสงบตัวครับ เอาไปใส่แปลงปลูกก็จะไม่มีปัญหาเรื่องน้องจุลไปกัดกินรากพืชอีก ........ มูลสัตว์เอาทำปุ๋ยคอก ปริมาณจะลดเหลือสัก 40-60% ครับ

ในเรื่องคำว่าปุ๋ยคอก ก็น่าปวดหัวไม่น้อย เพราะชาวบ้านก็ชอบเรียกมูลสัตว์ว่าปุ๋ยคอกเหมือนกัน ...... เพราะเป็นปุ๋ยที่ออกมาจากคอก ...... ก็เลยต้องซักถามว่าปุ๋ยคอกที่ว่า เป็นปุ๋ยคอกจริง ๆ หรือเป็นมูลสัตว์ ...... ถามคนขายก็มักจะไม่รู้เรื่อง ...... ปวดหมอง

ในมูลสัตว์จะมีธาตุอาหารอะไรบ้าง ก็ต้องไปดูว่าสัตว์นั้นกินอะไรครับ ...... เรารู้ว่าพืชทุกชนิดต้องการธาตุอาหาร 17 ชนิด ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ซึ่งได้จากอากาศและน้ำ นอกนั้นเป็นโบรอน โมลิบดินัม เหล็ก ทองแดง สังกะสี คลอรีน แมงกานีส นิกเกิ้ล แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ ......... เมื่อสัตว์กินพืชเข้าไป ลำไส้สัตว์จะดูดซับธาตุอาหารไปให้มากที่สุด ...... จึงเหลือธาตุอาหารในมูลสัตว์ไม่มากแล้วครับ ...... แต่ถึงไม่มาก เวลาเอามูลสัตว์ไปใช้เพาะปลูกโดยตรง ก็ยังได้ผลดี เลี้ยงคนไทยทั้งประเทศได้สบาย ...... ขี้ไม่เคยหมดประเทศ

มาพูดถึงการทำปุ๋ยหมักไม่พลิกกอง วิศวกรรมแม่โจ้1 ของจารย์ลุง ...... จารย์ลุงใช้บริการจากน้องจุลในมูลสัตว์ มาช่วยย่อยสลายเศษพืชในกองปุ๋ย ....... แล้วคอยดูแลสภาพแวดล้อมกองปุ๋ยให้น้องจุลถูกใจมากที่สุด ...... นั่นคือ ให้มีความชื้นตลอดเวลา ...... ให้มีอากาศผ่านกองได้สะดวก ....... และจัดหาอาหารให้น้องเค้า ที่น้องเค้าถูกใจมากที่สุด ...... น้องเค้าต้องการอาหารพวกคาร์บอนและไนโตรเจนครับ ....... โชคดีที่คาร์บอนมีในเศษพืช ...... และโชคดีไปกว่านั้น คือทุกมูลสัตว์มีไนโตรเจน ....... ถ้าเรามีสัดส่วนเศษพืชต่อมูลสัตว์ที่ดี น้องเค้าก็จะถูกใจม้ากกกกก กินอาหารเก่ง สร้างลูกสร้างหลานจนเต็มกองปุ๋ย ไปกัดกินย่อยสลายเศษพืช ....... กัดกิน ใช้คาร์บอนในเศษพืชไปจนเกือบหมด ทำให้โบรอน โมลิบดินัม เหล็ก ทองแดง สังกะสี คลอรีน แมงกานีส นิกเกิ้ล แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ N P K หล่นปุ๊ ตกลงมาอยู่ในปุ๋ยหมักครับ

พอครบ 60 วันโดยไม่พลิกกอง ก็ล้มกองทำให้แห้ง ...... พอแห้ง จุลินทรีย์ก็จะสงบตัวครับ เอาไปใส่แปลงปลูกก็จะไม่มีปัญหาเรื่องน้องจุลไปกัดกินรากพืชอีก ....... สงบเสงี่ยม เหมือนน้องจุลในปุ๋ยคอกเลย

เมื่อเอาปุ๋ยหมักไปใช้ พืชก็จะได้โบรอน โมลิบดินัม เหล็ก ทองแดง สังกะสี คลอรีน แมงกานีส นิกเกิ้ล แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ N P K เต็มที่ ........ และได้มากกว่าการใช้มูลสัตว์โดยตรงเสียอีก

สรุปว่าของดีมีมากในเศษพืช มากกว่าในมูลสัตว์นะครับ

ในการทำปุ๋ยหมัก อจล เราใช้ใบไม้ ทะลายปาล์ม ทางมะพร้าวบด ทางปาล์มบด 3 ส่วน ต่อมูลสัตว์ 1 ส่วน

ฟาง หญ้า เปลือกผลไม้ ชานอ้อย เปลือกและซังข้าวโพด 4 ส่วน ต่อมูลสัตว์ 1 ส่วน

ถ้าเป็นผักตบ ต้นกล้วยหั่นก็ 6 ต่อ 1 ครับ ...... เป็นสัดส่วนที่น้องจุลถูกใจ ใช่เลย

จะเห็นว่าการนำมูลสัตว์มาเข้ากระบวนการทำปุ๋ยหมัก เราจะใช้มูลสัตว์น้อยกว่าการนำมูลสัตว์ไปใช้โดยตรงถึง 3-4 เท่า ...... เอามาทำปุ๋ยหมักจึงประหยัดกว่า และมีของดีมากกว่าครับ ...... ใส่ในแปลงปลูกได้พื้นที่มากกว่า 3-4 เท่า ........ เพราะการทำปุ๋ยหมักไม่พลิกกอง 1 ตัน ต้องการมูลสัตว์ 360 กก.ครับ

ปุ๋ยหมักทำไปสัก 30 วัน ก็ยังสามารถเอาไปทำเป็นเบดดิ้งเลี้ยงไส้เดือนได้ ........ ประหยัดขี้วัวได้อีก 3-4 เท่า ....... จุลินทรีย์และไส้เดือนไม่สามารถสร้างธาตุอาหารขึ้นมาเองได้ ....... ธาตุอาหารในปุ๋ยจะเป็นยังไงก็ขึ้นกับอาหารที่ให้ไปครับ ....... แต่ปุ๋ยมูลไส้เดือนจะมีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อยู่มาก ....... เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องไปเกี่ยงว่าปุ๋ยอะไรดีกว่ากัน ...... ทำปุ๋ยทั้งสองแบบไปเลยครับ เพราะมันขายได้ทั้งคู่ พืชชอบปุ๋ยทั้งคู่ครับ ....... ใส่ ๆ มาทีเถอะ รอมานานแว้ว ...... ขนาดว่ามูลสัตว์ล้วนก็ยังชอบเลย

ทำปุ๋ยหมัก อจล แล้วรีบ ๆ เอาไปใส่พืช อย่ามัวคิดมาก มัวเอาปุ๋ยหมักไปส่งตรวจ ....... ค่ามาตรฐานพวกนั้นเค้าใช้สำหรับบังคับโรงงานปุ๋ยหมักครับ ไม่ให้คุณภาพต่ำกว่านั้น ........ สำหรับเรา พืชเค้าตะโกนแล้วครับ บอกว่าใส่ ๆ มาเหอะ ตัวเลขจะเป็นยังไง ชั้นไม่รู้เรื่องอะไรด้วยหรอก ชั้นตกวิชาเลขฮ่ะ ........ ยังไง ๆ ก็ดีกว่าใส่มูลสัตว์ล้วนแน่นอน เพราะในปุ๋ยหมักมีของดีจากเศษพืชอยู่ด้วย

สรุปว่า การทำปุ๋ยหมักประหยัดขี้วัวได้ 3-4 เท่า เพราะฉะนั้น อย่ามัวไปเกี่ยงว่าขี้วัวแพงครับ ...... ยิ่งในช่วงดูดวิชาจากจารย์ลุงด้วยแล้ว ถือว่าเป็นค่าลงทะเบียนเรียนก็แล้วกันนะครับ ....... ทำปุ๋ยหมักให้เป็นเสียก่อน แล้วก็ค่อย ๆ มองหามูลสัตว์ราคาถูก ๆ แถว ๆ บ้านกันนะครับ

#อุ๊ย8บรรทัดพอดีอีกล้าววววว


อ่านปริมาณและวิธีการใช้ปุ๋ยหมักในการเพาะปลูกครับ
https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/887096068066940/
ใครทำปุ๋ยหมักจากใบไม้ต้องอ่านอันนี้ครับ
https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/1144467435663134/
อ่านการใช้น้ำจากกองปุ๋ย
https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/2729165493859979/
อ่านการทำปุ๋ยหมักจากเศษผัก เศษอาหาร เศษผลไม้
https://www.facebook.com/groups/836331036476777/permalink/890378687738678/

อ่านวิธีทำปุ๋ยหมัก 5 แบบของจารย์ลุงนะครับ
https://bit.ly/2UtigD2

Address


Telephone

+66891060933

Website

Alerts

Be the first to know and let us send you an email when เมล่อนในสวน Melon in the Garden posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Telephone
  • Alerts
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Pet Store/pet Service?

Share