11/04/2021
ระบบการผสมพันธุ์ในการพัฒนาสายพันธุ์กระต่าย
1. Inbreeding การผสมพันธุ์ในเครือญาติสายเลือดเดียวกัน
-Close Breeding การผสมพันธุ์แบบปิด พ่อกับลูก แม่กับลูก หรือพี่กับน้อง ผสมกันเอง เพื่อต้องการคัดลักษณะที่แฝงอยู่ให้ปรากฏออกมาและคัดออกจากสายพันธุ์
-Line Breeding การผสมพันธุ์แบบเลือดชิดในกลุ่มเครือญาติสายเลือดเดียวกัน เพื่อรักษาลักษณะที่ดีของสายพันธุ์ไว้ใช้ทำสายพ่อแม่พันธุ์
ข้อดีของการผสมแบบ Line Breeding
เพื่อเพิ่มลักษณะบางอย่างให้แน่นอนมากขึ้น ทำให้มีความเหมือนกันมากขึ้น
ข้อเสียทำให้จำนวนลูกกระต่ายเมื่อแรกคลอดและหย่านมลดลง พบว่าทุก ๆ 10 % จะส่งผลให้ลูกกระต่ายแรกคลอดลดลง 0 .2 - 0.6 ตัวต่อคอก และ จำนวนลูกกระต่ายหลังหย่านมลดลง 0.1 - 0.25 ตัวต่อคอก น้ำหนักตัวของลูกกระต่ายแรกคลอดและหย่านมลดลง ทุก 10 % น้ำหนักหลังหย่านมลดลง 30 %
ถ้าพ่อแม่พันธุ์กระต่ายมีอัตราเลือดชิด 60 % อายุพ่อแม่พันธุ์กระต่ายที่เริ่มใช้ผสมพันธุ์ได้ จะยาวนานมากขึ้น มีผลต่ออัตราการตกไข่ การสร้างตัวอสุจิ และการเจริญเติบโตของอัณฑะทำให้การสร้างอสุจิลดลงช้าลง
อีกทั้งยังทำให้จำนวนไข่ของแม่พันธุ์มีน้อย มีผลต่อความแข็งแรงของลูกกระต่าย ลูกกระต่ายจะมีอัตราการรอดตายต่ำ อัตราการตายเพิ่มขึ้น 4.2 % ของทุก ๆ 10 %
2. Out Breeding (การผสมสายพันธุ์ที่ไม่เป็นเครือญาติ) แบ่งได้เป็น
2.1 การผสมพันธุ์ภายในพันธุ์เดียวกัน (Pure Breeding) การผสมพันธุ์แท้ เพื่อต้องการรักษาพันธุ์แท้เอาไว้
2.2 การผสมข้ามพันธุ์ (Cross Breeding) ความสัมพันธ์จะห่างกันมากจะเป็นคนละสายพันธุ์ วิธีนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบันซึ่งมีทั้ง Pure Breeding และ Cross Breeding
ข้อดีของ Cross Beeding ตรงข้ามกับข้อเสียการผสมพันธุ์แบบเลือดชิด ซึ่งหลักใหญ่ ก็ต้องการเอาข้อดีทั้งพ่อพันธุ์กระต่ายและแม่พันธุ์กระต่ายมาอยู่ร่วมกัน และต้องการให้ได้กระต่ายที่มีความแข็งแรงกว่าพ่อและแม่ เรียกว่า Heterosis ที่เรียกว่า Hybrid Viqor
วิธีนี้นิยมทำกันในการพัฒนาสายพันธุ์กระต่ายเพื่อการประกวดแข่งขันในวงการกระต่ายสวยงามของต่างประเทศ
การผสมข้ามสายพันธุ์กระต่ายเพศเมียเน้นการให้ลูก การเลี้ยงลูกและการตกไข่ ส่วนกระต่ายเพศผู้เน้นการให้โครงสร้างกระดูก คุณภาพขน และกล้ามเนื้อ
วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมในการผลิตกระต่ายสวยงามในเชิงพาณิชย์เพราะจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ในการสร้างสายพ่อแม่พันธุ์กระต่ายสายพันธุ์แท้ที่มีเปอร์เซ็นต์สายเลือดสูงไว้เป็นจำนวนมาก
ซึ่งมีภาระค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและดูแลพ่อแม่พันธุ์กระต่ายสูง ให้ผลตอบแทนการลงทุนช้า
3. Upgrading Breeding เป็นการผสมพันธุ์แบบเพิ่มเปอร์เซ็นต์ให้กับกระต่ายสายพันธุ์เดิมที่มีอยู่แล้วในฟาร์ม เป็นการนำกระต่ายสายพันธุ์ดี ต่างสายพันธุ์ต่างสายเลือดมาผสมกับกระต่ายพันธุ์พื้นฐานเดิมที่มีอยู่ในฟาร์ม เพื่อให้กระต่ายมีความสวยามมากขึ้นมีโครงสร้างที่ดีขึ้นตามทิศทางความต้องการของตลาดกระต่ายสวยงาม
วิธีนี้ที่ช่วยยกระดับสายพันธุ์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตของฟาร์ม ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้ในการผลิตกระต่ายสวยงามในเชิงพาณิชย์