ทากหัวค้อน/หนอนหัวขวาน (ศัตรูไส้เดือน)
ทากหัวค้อน/หนอนหัวขวาน (ศัตรูไส้เดือน)
มูลไส้เดือนพันธุ์ Blue เนื้อละเอียด เล็กมาก ๆ
ตัก มูลไส้เดือนพันธุ์บลู Blue บรรจุถุง
เนื้อละเอียด เนียน เล็กมาก ๆ
(*ต้องสั่งเป็นกรณีพิเศษ ไม่ได้ทำประจำ)
นกกางเขนกินไส้เดือน
#นกกางเขน มาคุ้ยหา #ไส้เดือน กินเป็นประจำ
คงอร่อยเหลือหลาย
เทปุ๋ยออกมาผึ่งแห้ง (ปุ๋ยหมักไม่พลิกกองแม่โจ้)
ฤดูร้อนเดือนเมษายนเช่นนี้ เหมาะแก่การผึ่งปุ๋ยให้แห้ง
หลังจากทำปุ๋ยหมักไม่พลิกกองแม่โจ้ (สูตรอาจารย์ลุงธีระพงษ์) ทำในตะกร้า ใบไม้3ส่วน+ขี้วัวแห้ง1ส่วน คลุกเคล้ารดน้ำทุกวัน ครบ60วัน เทออกผึ่งแดดลม
ล่อไส้เดือนให้มุดรอด สแล็น แยกลงไปอยู่ในถาดขี้วัวเปียก ด้านล่าง จะได้เหลือแต่เนื้อปุ๋ยแห้ง ไว้ใช้งาน (มีเศษใบไม้บ้างที่ยังย่อยไม่หมด เอาไปใส่ตะกร้าใหม่)
ก็ปรากฏว่า เทผึ่งปุ๊บ ฝนตกปั๊บ
ตากปุ๋ย ไม่ได้ปุ๋ย
ฮา
รอไว้วันพรุ่งนี้จะมีข่าวคืบหน้า
นกกางเขนมาหาไส้เดือนที่ตะกร้าปุ๋ยหมัก
มี #นกกางเขน มาหา #ไส้เดือน แถวก้นตะกร้าที่ทำปุ๋ยหมัก(ไม่พลิกกองแม่โจ้)
วงจรธรรมชาติ :-)
ขี้วัวแห้งอย่างเดียว ใส่ตะกร้ารดน้ำทุกวัน เวลาผ่านไปสภาพจะเป็นอย่างไรบ้าง มาดูกัน
ขี้วัวแห้งอย่างเดียว (แข็งๆ) ใส่ตะกร้า รดน้ำทุกวัน วางใต้ต้นไม้ริมสนาม เวลาผ่านไปสภาพจะเป็นอย่างไรบ้าง?
ในบริเวณสนามหญ้า เคยใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือน น่าจะมีไข่ และไส้เดือนตัวเล็ก ๆ อยู่บ้าง . ไส้เดือนจะกล้าเข้ามาอยู่ มากิน ขี้วัวแห้งในตะกร้านี้ไหม? ไส้เดือนจะร้อนไหม?
ผ่านไป 66 วัน เทตะกร้าออกมาดูสภาพกัน
ขี้วัวแห้งอย่างเดียวใส่ตะกร้า vs ใบไม้อย่างเดียวใส่ตะกร้า รดน้ำทุกวัน ผ่านไป 15วัน
ขี้วัวแห้งอย่างเดียวใส่ตะกร้า vs ใบไม้อย่างเดียวใส่ตะกร้า รดน้ำทุกวัน ผ่านไป 15วัน สภาพจะเป็นอย่างไรกันบ้าง
ยกดูใต้ตะกร้า มีไส้เดือนมาอยู่อาศัยด้วย
ปุ๋ยหมักไม่พลิกกองแม่โจ้ ในตะกร้า ใกล้ครบกำหนดแล้ว
ปุ๋ยหมักไม่พลิกกองแม่โจ้ ทำในตะกร้า ใช้ใบไม้3ส่วน+ขี้วัวแห้ง1ส่วน รดน้ำทุกวันใกล้ครบกำหนดเสร็จแล้ว มีไส้เดือนเข้ามาอยู่อาศัยในตะกร้า ผิวบนเป็นมูลไส้เดือน แท่งร่วนๆ โกยไปใช้งานได้
การทำปุ๋ยหมักไม่พลิกกอง แบบที่3 ในตะกร้า ง่ายๆ ไม่เหม็น
คลิปการทำ “ปุ๋ยหมักไม่พลิกกองแม่โจ้” (สูตร อาจารย์ลุง “ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร”) เฉพาะแบบที่ 3 ซึ่งสะดวกง่ายที่สุด โดยทำในตะกร้าพลาสติกมีรูรอบ (ซื้อจากร้าน20฿)
ใช้ ใบไม้(ไม่เอากิ่งก้านลำต้น) 3 ส่วน + ขี้วัวแห้ง 1 ส่วน
4 ปัจจัย - ที่ทำให้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย
1.ขี้วัวแห้ง (มีจุลินทรีย์และ Nitrogen)
2.ใบไม้ (ให้ Carbon, ธาตุรอง และจุลธาตุ)
3.อากาศไหลเวียน
4.น้ำ ความชื้น
วางตะกร้าทำปุ๋ยในที่ร่ม อากาศไหลเวียนได้ ไม่มีกลิ่นเหม็น รดน้ำทุกวัน อย่าให้แฉะไหลนอง
(ถ้าห่วงจะมีหนอน, แมลงวัน ให้ใช้ผ้ามุ้งกันแมลง)
* อย่าปิดทึบ อย่าเหยียบกองปุ๋ย ไม่ต้องใส่ em หรือจุลินทรีย์ หรือน้ำหมักใดใดทั้งสิ้น
7-10 วัน ใช้เหล็กแหลม แทงถึงก้นตะกร้า กรอกน้ำ เพื่อให้ความชื้นทั่วถึง
(ถ้าพอมีเวลา-กำลัง ให้พลิกกลับตะกร้า หรือคลุกเคล้าเนื้อปุ๋ยให้ทั่ว การย่อยสลายจ
ขี้วัวแห้ง ใส่ตะกร้า รดน้ำ 40 วัน สภาพจะเป็นอย่างไร
ทดลองเอาขี้วัวแห้ง ใส่ตะกร้า วางไว้ริมสวนใต้ร่มไม้ รดน้ำทุกวัน (เหมือนรดน้ำต้นไม้ ชุ่มๆ ไม่แฉะ) มาดูกันว่า ผ่านไป 40 วัน ขี้วัวแห้งจะมีสภาพอย่างไร
(เริ่มทดลองวันที่ 24/12/2563-4/2/2564)
คัดแยกไส้เดือน จากกองปุ๋ยหมักไม่พลิกกองแม่โจ้
คัดแยกไส้เดือน จากกองปุ๋ยหมักไม่พลิกกองแม่โจ้ ได้ทั้งปุ๋ยหมัก, มูลไส้เดือน และตัวไส้เดือน ช่วย กำจัดเศษใบไม้, เศษอาหาร
เก็บไส้เดือนจากในตะกร้าที่ทำปุ๋ยหมักเอามาเลี้ยง
จากการทำ ปุ๋ยหมักไม่พลิกกองแม่โจ้ (สูตรอาจารย์ลุงธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร) ทำในตะกร้าใบละ20฿ ใช้ใบไม้3ส่วน+ขี้วัวแห้ง1ส่วน วางตะกร้าไว้ริมขอบสนามหญ้า รดน้ำทุกวัน จะมีไส้เดือนเข้ามาอยู่อาศัย ถ่ายมูล วางไข่ เจริญเติบโตในกองปุ๋ยหมัก เยอะมาก
กองปุ๋ยที่อายุ20-30วัน นำมาใช้เป็นเบดดิ้งเลี้ยงไส้เดือน ถ้าครบ 60 วัน ได้ปุ๋ยหมัก
ทำปุ๋ยหมักแล้ว ยังได้ตัวไส้เดือนไปเลี้ยง ได้มูลไส้เดือนที่หล่นข้างตะกร้า โกยเอาไปใส่ต้นไม้ หรือใช้เพาะเมล็ดก็ได้
#เก็บไส้เดือนจากในตะกร้าที่ทำปุ๋ยหมัก
https://youtu.be/tfENHXAOmiU