Aquatic Animal Clinic, CMU - คลินิกสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มช.

Aquatic Animal Clinic, CMU - คลินิกสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มช. บริการตรวจรักษาปลา กบ หมาน้ำ เต่าน้ำ จระเข้ และอื่นๆ
บริการนอกสถานที่ ให้คำแนะนำการเลี้ยงการจัดการ

🐠ทำไมน้องปลาทองถึงเป็นโรคถุงลมกันบ่อยๆนะ???ปลาทองนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์มาก แต่เคยสังเกตกันไหมว่าโรคถุงลมมักพบในกลุ่มปลา...
25/04/2024

🐠ทำไมน้องปลาทองถึงเป็นโรคถุงลมกันบ่อยๆนะ???

ปลาทองนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์มาก แต่เคยสังเกตกันไหมว่าโรคถุงลมมักพบในกลุ่มปลาทองตัวสั้น เช่น ฮอรันดา ริวกิ้น สิงห์ ทามะซาบะ... ส่วนปลาทองที่มีลำตัวยาวมากกว่ามีโอกาสเกิดโรคถุงลมได้น้อยกว่า เช่น โคเมท วะกิ้น Hibuna Sabao...

ทีนี้มาดูที่กายวิภาคศาสตร์ถุงลมของปลาทองกัน ถุงลมในปลาทองจะแบ่งเป็นถุงลมส่วนหน้ามีผนังที่หนาและขนาดใหญ่ ถุงลมส่วนหลังมีผนังที่บางและขนาดเล็ก และมีท่อลม(Pneumatic duct) เชื่อมระหว่างถุงลมส่วนหลังไปหลอดอาหาร มีหน้าที่ในการปรับปริมาตรและแรงดันอากาศภายในถุง เพื่อช่วยในการลอยตัวในน้ำ

จากภาพถ่ายรังสี...ในกลุ่มปลาทองตัวสั้นนั้นถุงลมส่วนหลังมีการลดรูปลงเป็นทรงกลมขนาดเล็กมาก อีกทั้งยังมีผนังที่บาง ทำให้เกิดการตีบตันหรือยุบตัวลงได้ง่าย(Collapse) จากการถูกกดทับ ถูกเบียดจากอวัยวะในช่องท้อง หรือการกระแทก ซึ่งอาจจะมาจากหลายสาเหตุ เช่น การกินอาหารมากเกินไป มีแก๊สในทางเดินอาหาร มีไข่ในช่องท้อง เป็นถุงน้ำที่ไต มีภาวะน้ำสะสมในช่องท้อง ตกจากที่สูง....

เมื่อถุงลมส่วนหลังเกิดความเสียหาย หน้าที่ในการควบคุมอากาศในถุงลมก็เสียไป ปลาอาจจะแสดงอาการลอยตัวผิดปกติ (ลอยผิวน้ำ จมก้นตู้) หรือเสียการทรงตัว(หงายท้อง เอียงซ้ายขวา หัวดิ่งลงพื้น) ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดได้ตลอดทุกช่วงอายุ ในบางครั้งความผิดปกติของถุงลมอาจจะเกิดขึ้นก่อนปลาแสดงอาการด้วยซ้ำ

ส่วนกลุ่มปลาทองที่มีขนาดลำตัวยาวจะมีความใกล้เคียงกับปลาทองตามธรรมชาติ จะมีถุงลมส่วนหลังที่มีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มปลาทองตัวสั้น โอกาสที่จะเกิดการเสียหายมีน้อยกว่า

ทั้งนี้ถุงลมเป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียการทรงตัวในปลา ยังมีเรื่องของโครงสร้างลำตัวที่เกี่ยวข้อง ไว้หมอจะมาเล่าในบทความต่อไป...

น.สพ.คทาวัชร ผัดวัน (Dr.Ken)

"น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย"  จริงหรือ??? ในความเป็นจริงแล้วหากน้ำเลี้ยงปลาร้อนอาจส่งผลให้เกิดปัญหา และเสี่ยงต่อชีวิตข...
23/04/2024

"น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย" จริงหรือ???

ในความเป็นจริงแล้วหากน้ำเลี้ยงปลาร้อนอาจส่งผลให้เกิดปัญหา และเสี่ยงต่อชีวิตของน้องปลาของเราได้เลย โดยเฉพาะปลาที่เลี้ยงในตู้ มีฝาปิดทึบ(ฝาอะคริลิค) ส่งผลต่อการระบายความร้อนผ่านการระเหยได้น้อย ทำให้น้ำในตู้ร้อนได้

อุณหภูมิของน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ความเป็นพิษของแอมโมเนียและไนไตรท์สูงขึ้น โดยเฉพาะตัวแอมโมเนียที่ไม่มีขั้ว(Unionized ammonia) ปลาอาจแสดงอาการทางประสาท ว่ายน้ำผิดปกติ ซึม เบื่ออาหาร หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันตก ติดเชื้อแทรกซ้อน ตาโปน

อีกทั้งอาจทำให้แบคทีเรียที่ดีในกรองหยุดทำงาน เกิดการสะสมของเสียแอมโมเนียเพิ่มขึ้นอีก หรือปัญหาจากการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในบ่อเกิดเร็วขึ้น ส่งผลต่อออกซิเจนที่ละลายในน้ำลดต่ำลง ร่วมกับน้ำร้อนที่ออกซิเจนในน้ำก็ลดต่ำลงอีก ปลาอาจจะมีอาการหายใจหอบ ถี่ได้

ถึงแม้ว่าปลาจะมีช่วงอุณหภูมิน้ำที่เหมาะสม(Optimal range) ของแต่ละชนิดต่างกัน ปลาบางชนิดอาจทนอุณหภูมิได้สูงเลยทีเดียว ปลาอาจจะไม่ได้ป่วยจากอุณหภูมิน้ำโดยตรง หากเกิดจากผลที่ตามจากน้ำร้อนที่หมอกล่าวไปข้างต้น

การจัดการเมื่อพบว่าน้ำในตู้ร้อน ควรเปลี่ยนฝาปิดตู้เป็นตะแกรงหรืออื่นๆ เพื่อกันปลากระโดด อาจใช้พัดลมเปิดระบายผิวน้ำช่วยลดความร้อน หรือทำร่มกันแสงแดดกรณีตู้ถูกแสงแดด ควรงดหรือลดปริมาณอาหาร เพื่อลดของเสียแอมโมเนียด้วย

ช่วงนี้เชียงใหม่อากาศร้อนมากๆ และปลาที่แสดงอาการบ่อยๆคือ ปลามังกร เนื่องจากเลี้ยงในตู้ที่มีฝาปิดทึบ นักเลี้ยงลองสังเกตปลาตัวเองกันด้วยนะครับ ด้วยความห่วงใย... Dr.Ken

โปรดระวัง!!!ฤดูปลาคาร์พผสมพันธุ์ได้เริ่มขึ้นแล้ว....เป็นธรรมชาติเมื่อปลาเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ต้องมีการผสมพันธุ์กัน โดยสิ...
18/04/2024

โปรดระวัง!!!
ฤดูปลาคาร์พผสมพันธุ์ได้เริ่มขึ้นแล้ว....

เป็นธรรมชาติเมื่อปลาเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ต้องมีการผสมพันธุ์กัน โดยสิ่งเร้าที่มากระตุ้น เช่น อุณหภูมิน้ำที่เปลี่ยนแปลง ช่วงแสงในรอบวัน ความสมบูรณ์ของอาหาร... ส่งผลต่อระบบฮอร์โมนของปลา และปลาแสดงพฤติกรรมการไล่ผสมพันธุ์กัน โดยมักเกิดขึ้นตามพืชไม้น้ำ เพื่อเป็นที่ยึดเกาะของไข่หลังจากการปฏิสนธิ

พฤติกรรมการไล่ผสมพันธุ์สามารถพบได้ในบ่อเลี้ยงปลาคาร์พสวยงามเช่นกัน โดยเฉพาะช่วงกลางคืนถึงเช้ามืด ผู้เลี้ยงอาจได้ยินเสียงน้ำเหมือนปลากระโดดทั้งคืน พบน้ำกระเด็ดรอบๆบ่อ น้ำมีกลิ่นคาวและมีฟองเมือกเหนียวในตอนเช้า ซึ่งอาจเกิดปัญหาและอาการผิดปกติกับตัวปลาได้ ปลาอาจจะแสดงอาการทั้งบ่อ หรือเฉพาะตัว เจอได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย

อาการผิดปกติที่พบได้ เช่น
- ปลาซึมในช่วงกลางวัน ไม่กินอาหาร แยกตัวจากฝูง
- บาดเจ็บจากการกระแทก รอยถลอก เกล็ดหลุด
- ในรายที่รุนแรงอาจะพบเสียการทรงตัว หงายท้อง นอนก้นบ่อ แนะนำให้รีบติดต่อสัตวแพทย์โดยด่วน
- น้ำเสียเนื่องจากไข่และอสุจิของปลา

เนื่องจากการเลี้ยงปลาคาร์พสวยงามส่วนใหญ่มักเลี้ยงในบ่อปูนโล่งๆ และมีความหนาแน่นสูง อาจส่งผลให้ปลาตัวเมียไม่วางไข่ หรือวางไข่ช้า ทำให้พฤติกรรมการไล่ผสมพันธุ์อย่างบ้าคลั่งนั้นเกิดขึ้นเป็นเวลานาน และมีความเสี่ยงให้ปลาบาดเจ็บได้สูง

การป้องกัน
เมื่อเริ่มสังเกตได้ว่าปลาเริ่มมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์กัน ให้จัดสิ่งแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติที่สุด กระตุ้นให้ปลาตัวเมียวางไข่ได้เร็ว ลดระยะเวลาการไล่ผสมพันธุ์ และลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นข้างต้น เช่น การใช้พู่เชือกฟางมัดกับหินถ่วงน้ำไว้หลายๆจุดในบ่อ ใช้ใบมะพร้าว ต้นไม้น้ำที่คงทนกับการแทะของปลาคาร์พ(ต้นกก ต้นแหย่ง ...) สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของแต่ละบ่อ
หรือในกรณีที่ปลาไม่วางไข่เลย และไล่กันหนักมาก แนะนำให้แยกปลาทันที รอระดับฮอร์โมนเพศลดลงจึงเลี้ยงรวมอีกครั้ง

ทั้งนี้ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆวันในช่วงที่ปลาผสมพันธุ์กัน เพื่อลดปริมาณของเสียในน้ำ และอาจลดหรืองดอาหารปลาร่วมด้วย

คำแนะนำเพิ่มเติม : ไม่มีความจำเป็นในการใส่ยาควบคุมปรสิตลงในบ่อเลี้ยง

หากมีข้อสงสัยติดต่อ inbox คลินิกสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มช. ได้เลยครับ

น.สพ.คทาวัชร ผัดวัน (Dr.Ken)

น้องปลาเกล็ดพองต้องรักษายังไง????ก่อนอื่นหมอต้องอธิบายให้เข้าใจก่อนว่าอาการเกล็ดพองนั้นเกิดขึ้นได้ยังไงในปลาน้ำจืด น้ำรอ...
17/04/2024

น้องปลาเกล็ดพองต้องรักษายังไง????

ก่อนอื่นหมอต้องอธิบายให้เข้าใจก่อนว่าอาการเกล็ดพองนั้นเกิดขึ้นได้ยังไง

ในปลาน้ำจืด น้ำรอบๆตัวปลาจะซึมเข้าตัวปลาตลอดเวลา(Osmosis) ปลาจึงต้องมีอวัยวะที่ช่วยในการขับน้ำส่วนเกินนี้ นั่นก็คือ ไต (Posterior kidney) ที่มีหน่วยไต(nephron) ทำหน้าที่ในการขับน้ำออกมาเป็นฉี่ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะบวมน้ำ หากไตเกิดความเสียหาย ปลาจะมีอาการบวมน้ำ และเกล็ดพอง(ทั้งตัว) เนื่องจากไตไม่สามารถขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายได้

ไตเป็นอวัยวะที่เสียหายแล้วร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมกลับมาได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แม้ว่าในปลามีรายงานว่าไตสามารถซ่อมแซมเองได้ แต่ในปลาที่มีอาการเกล็ดตั้งตัวบวมจากภาวะไตวาย หมอคิดว่าการซ่อมแซมของไตอาจจะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากภาวะร่างกายทำงานผิดปกติ ต้องรอรายงานการศึกษาในอนาคต...

ส่วนสาเหตุของภาวะไตวายนั้นมากมายเหลือเกิน หมอขอยกตัวอย่างคร่าวๆ
-ไตเสียหายโดยตรง เช่น โดนสารเคมี ให้ยาเกินขนาด เกิดถุงน้ำที่ไต ติดเชื้อ ...
-ปลาเป็นโรคหัวใจ ความดันเลือดต่ำ GFR ต่ำ ไตขาดเลือด
-ท่อไตอุดตัน โดนก้อนเนื้อถุงน้ำเบียด ติดเชื้อ ...

โอเคครับ...มาถึงการรักษา
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น เมื่อไตได้เสียหายไปแล้ว โอกาสที่จะกลับมาทำงานได้ปกตินั้นต่ำมากๆ ดังนั้นการรักษาจะเป็นแบบประคับประคองเป็นหลัก(Palliative care) โดยเน้นที่คุณภาพชีวิต และลดความทุกข์ทรมาน

โดยปกติหมอก็จะตรวจร่างกาย ตรวจคุณภาพน้ำ ดูภาวะการติดเชื้อ และให้ยาตามการติดเชื้อนั้นๆ แนะนำการเลี้ยงที่เหมาะสมสำหรับตัวนั้น เช่น ถ้าเป็นปลาทองมักจะโดนเพื่อนๆแกล้ง จำเป็นต้องแยกเลี้ยง เน้นคุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับชนิดปลานั้นๆ

การจัดการเบื้องต้นโดยผู้เลี้ยง แนะนำจัดการคุณภาพน้ำเลี้ยงให้สะอาด ใส่เกลือหรือไม่ก็ได้ หากใส่ให้อยู่ในช่วง 0.5-3 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร(อย่าลืมว่าปลาของเราเป็นปลาน้ำจืดนะครับ) ส่วนการให้อาหารในปลาที่สามารถกินได้ให้แค่พอกินหมดครับ หากปลามีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่นตัวแดง เกล็ดแดง ครีบกร่อน ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนการใช้ยานะครับ

น.สพ.คทาวัชร ผัดวัน (Dr.Ken)

05/10/2023

เมื่อเต่าเป็นหวัด 🐢

ผู้เลี้ยงเต่าบกอาจพบว่าเต่าของเราแสดงอาการเป็นหวัดได้โดยเฉพาะในช่วงฝนตกหนัก จากการที่ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น ในขณะที่เต่าบกที่นิยมเลี้ยงส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดที่แห้งแล้งกว่ามากอย่างประเทศแถบแอฟริกา ทำให้การเลี้ยงเต่าบกในเมืองไทยพบปัญหาระบบทางเดินหายใจบ่อยๆ

ในช่วงฤดูฝนที่ความชื้นสัมพัทธ์สูงๆ อาจพบเต่าของเรามีอาการเริ่มต้นด้วยการมีน้ำมูกใสๆ แต่ยังร่าเริงปกติได้ ซึ่งในระยะนี้หากสภาพอากาศเริ่มดีขึ้น มีแดด อากาศภายในคอกถ่ายเทดี ความชื้นต่ำลง อาการอาจจะหายไปได้เอง แต่หากสภาพอากาศยังไม่เป็นใจ เต่าอาจจะเก็บกักเชื้ออยู่ภายใน ทำให้มีน้ำมูกและอาการหนักมากขึ้น เนื้อปอดเกิดการเสียหาย อาจทำให้เต่าหยุดกินและถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากโครงสร้างร่างกายของเต่าไม่มีกระบังลมทำให้จามและสั่งน้ำมูกไม่ได้ ต้องอาศัยการยืดหดคอเพื่อชดเชยการทำงานของปอด ทำให้อาการ 'หวัด' ในเต่ามีความร้ายแรงกว่า 'หวัด' ในคนอย่างมาก

ต่อไปนี้คือ 5 ข้อควรปฏิบัติเมื่อพบว่าเต่าของเราเป็นหวัด:

📍แยกเต่าป่วยออกจากตัวที่ไม่ป่วย แยกถาดน้ำและอาหารไม่ให้ใช้ปะปนกัน เพื่อลดการติดต่อระหว่างกัน

📍จัดสภาพคอกให้เหมาะสม มั่นใจว่าคอกที่เลี้ยงไม่โดนฝนโดยตรง มีอากาศถ่ายเทดี วัสดุรองพื้นแห้ง

📍กกไฟให้ความร้อนในคอกเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากเป็นการลดความชื้น โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนที่อากาศเย็นอาจทำให้เต่ามีอาการทรุดลงได้

📍ในเต่าที่เป็นหวัดแล้วไม่กินอาหาร อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำซึ่งส่งผลต่อการทำงานภายในร่างกาย อาจป้องกันได้โดยนำเต่าแช่น้ำอุ่นตื้นๆ ทุกวันเพื่อให้เต่าได้รับน้ำทางทวารชดเชยน้ำที่ขาด

📍ควรพาเต่าที่ป่วยไปพบสัตวแพทย์เฉพาะทางทันที เพื่อการวินิจฉัยและการตัดสินใจรักษาหรือให้ยาอย่างรวดเร็ว ทำให้โอกาสหายมากขึ้น

สามารถโทรสอบถามหรือนัดหมายการตรวจสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษได้ที่:
📲 โรงพยาบาลสัตว์เล็ก มช. 053-948031

28/09/2023
31/08/2023

🤩ปุกาศๆ📝❕
ขอแจ้งปรับวันทำการ
การเปิดให้บริการตรวจสุขภาพช้าง สัตว์ป่า สัตว์น้ำ และสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
ติดต่อสอบถามได้ที่
😊คลินิกช้างและสัตว์ป่า
โทร. 053-948097, 082-1934457
😊คลินิกสัตว์น้ำ
โทร. 053-948097,098-1034066
😊คลินิกสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
โทร. 053-948031

25/07/2023

1 ชั่วโมง เหมาะสำหรับใช้ฟังให้หลับสบายครับ

24/07/2023

📣📣 เหลือเวลาอีกแค่ 2 วันเท่านั้น 📣📣
สำหรับ "เสวนาวิชาการ ช้าง สัตว์ป่า และสัตว์พิเศษ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566"

ทั้งนี้ผู้ที่สนใจยังสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมแบบออนไลน์ได้
จนถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2566
***และสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนแล้ว***
แอดมินจะทยอยส่งลิงค์ Zoom ทางอีเมลภายในวันนี้ค่ะ

💬 พบกับหัวข้อ "การจัดการดูแลสุขภาพสัตว์ป่วย (Patient Care)" 🔔
🐹 "การให้ยาเบื้องต้นในสัตว์ exotics สำหรับเจ้าของ และเทคนิคสำหรับสัตวแพทย์"
โดย สพ.ญ. ณิชารีย์ ลือวิฑูรเวชกิจ คลินิกสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🐠 การปฐมพยาบาลและการให้ยาในปลาสวยงามเบื้องต้น
โดย น.สพ.คทาวัชร ผัดวัน คลินิกสัตว์น้ำ โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🐵 การดูแลช่วยเหลือและรักษาสัตว์ป่า
โดย สพ.ญ. ศิริพร ทิพพล
Wildlife Friend Foundations Thailand
🗓️ ในวันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2566 เวลา 15.00-17.00 น. 📌
- Onsite: ห้องประชุม B403 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มช.
- Online: ผ่านระบบ zoom (แจ้งลิงค์ผ่าน e-mail ที่ลงทะเบียน)
✏️ ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่
https://forms.gle/3KPtB3PtuT5Y5rrJ7

งานนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย❕
แล้วพบกันนะคะ😊😊

ฟรี!!! งานเสวนาวิชาการฯ ครั้งนี้ คลินิกสัตว์น้ำจะมาพูดในเรื่อง" การปฐมพยาบาลและการให้ยาในปลาสวยงามเบื้องต้น "เมื่อเราพบว...
12/07/2023

ฟรี!!!
งานเสวนาวิชาการฯ ครั้งนี้ คลินิกสัตว์น้ำจะมาพูดในเรื่อง

" การปฐมพยาบาลและการให้ยาในปลาสวยงามเบื้องต้น "

เมื่อเราพบว่าปลาป่วยควรจะทำยังไง และช่องทางการให้ยาหรือสารเคมีเบื้องต้นที่ทำได้เองที่บ้าน หรือกรณีที่หมอจ่ายยากลับไปให้ใส่ที่บ้าน หลายๆครั้งเกิดความสับสน ในงานเสวนาครั้งนี้หมอจะมาอธิบายอย่างละเอียดเพื่อคลายความสงสัยกันเลยครับ

ลงทะเบียนมาฟังกันครับ

📣📣 ประชาสัมพันธ์ 📣📣

ขอเชิญชวนคณาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาวิชาการช้าง สัตว์ป่า และสัตว์พิเศษ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566

💬 พบกับหัวข้อ "การจัดการดูแลสุขภาพสัตว์ป่วย (Patient Care)" 🔔

🐹 "การให้ยาเบื้องต้นในสัตว์ exotics สำหรับเจ้าของ และเทคนิคสำหรับสัตวแพทย์"
โดย สพ.ญ. ณิชารีย์ ลือวิฑูรเวชกิจ คลินิกสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

🐠 การปฐมพยาบาลและการให้ยาในปลาสวยงามเบื้องต้น
โดย น.สพ.คทาวัชร ผัดวัน คลินิกสัตว์น้ำ โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

🐵 การดูแลช่วยเหลือและรักษาสัตว์ป่า
โดย สพ.ญ. ศิริพร ทิพพล
Wildlife Friend Foundations Thailand
🗓️ ในวันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2566 เวลา 15.00-17.00 น. 📌
- Onsite: ห้องประชุม B403 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มช.
- Online: ผ่านระบบ zoom (แจ้งลิงค์ผ่าน e-mail ที่ลงทะเบียน)

✏️ ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่
https://forms.gle/3KPtB3PtuT5Y5rrJ7
(*รูปแบบ onsite สามารถลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2566)

งานนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย❕
แล้วพบกันนะคะ😊😊

น้องบูบู้ ปลาหมอสีฟลาวเวอร์ฮอร์น 🐠มาด้วยอาการ ขี้ขาว !!!:ตรวจพบว่าบูบู้ติดเชื้อพยาธิตัวกลมในลำไส้ 🪱 จากการเจอไข่พยาธิในอ...
23/05/2023

น้องบูบู้ ปลาหมอสีฟลาวเวอร์ฮอร์น 🐠
มาด้วยอาการ ขี้ขาว !!!
:
ตรวจพบว่าบูบู้ติดเชื้อพยาธิตัวกลมในลำไส้ 🪱 จากการเจอไข่พยาธิในอึ
คุณหมอจึงให้การรักษาด้วยการป้อนยาถ่ายพยาธิ
:
การติดเชื้อพยาธิตัวกลม เกิดขึ้นจากการกินไข่ของพยาธิเข้าไป ปลาป่วยอาจพบอาการซึม เบื่ออาหาร หัวยุบ และขี้ขาวได้ (ซึ่งอาการขี้ขาวไม่จำเพาะกับพยาธิกลม สัตวแพทย์ต้องส่องตรวจอุจจาระผ่านกล้องจุลทรรศน์เพื่อวินิฉัยแยกโรค)
:
โดยส่วนมากปลามักได้รับเชื้อตั้งแต่วัยเด็กจากพ่อแม่พันธุ์หรือเพื่อนๆร่วมครอก และสามารถแสดงอาการป่วยได้ตลอดชีวิตเมื่อปลาอ่อนแอ แม้ว่าเจ้าของจะไม่เคยให้อาหารสดเลยก็ตาม
:
การตรวจอุจจาระและการให้ยาถ่ายพยาธิในปลาหมอสีจึงมีความสำคัญเพื่อเป็นการป้องกันในอนาคตครับ 🥑🥑🥑

ตรวจรักษาและให้คำปรึกษาสัตว์น้ำ
คลินิกสัตว์น้ำ โทร/Line : 0981034066

ปัจจุบันคลินิกสัตว์น้ำได้ย้ายเข้ามาอยู่ในศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า(Center of Elephant and Wildlife Health FVM CMU) จะมี...
16/05/2023

ปัจจุบันคลินิกสัตว์น้ำได้ย้ายเข้ามาอยู่ในศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า(Center of Elephant and Wildlife Health FVM CMU)
จะมีโพสของคลินิกสัตว์น้ำอยู่ทั้ง 2 เพจ ให้ติดตามกันครับ 😁😁

เมื่อน้องตันโจติดเชื้อแบคทีเรีย 🎏:🎏ตันโจโคฮากุ(Tancho Kohaku) ถึงแม้จะมีลักษณะเหมือนธงชาติของญี่ปุ่น แต่รู้หรือไม่ น้องไ...
15/05/2023

เมื่อน้องตันโจติดเชื้อแบคทีเรีย 🎏
:
🎏ตันโจโคฮากุ(Tancho Kohaku) ถึงแม้จะมีลักษณะเหมือนธงชาติของญี่ปุ่น แต่รู้หรือไม่ น้องได้ชื่อนี้มาจากนกกระเรียนมงกุฎแดง(Red-crowned crane) ซึ่งที่หัวมีวงกลมสีแดงภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "Tancho"
:
เคสนี้คุณหมอเคนไปดูแลให้ถึงที่บ้านเลย เนื่องจากน้องมีขนาดตัวที่ใหญ่ การเคลื่อนย้ายอาจมีความเสี่ยงต่อตัวน้องได้ พบว่าน้องมีอาการแดงตกเลือดทั้งตัว ซึม และเสียการทรงตัว
🩺ผลการตรวจวินิจฉัย -> ติดเชื้อแบคทีเรีย...
💉หลังจากได้รับการรักษา น้องก็กลับมามีผิวขาวนวลสดใสเหมือนเดิม 🎉
:
👨‍⚕️จากประสบการณ์ของหมอการติดเชื้อแบคทีเรียในปลาส่วนใหญ่แล้วเป็นการติดเชื้อแทรกซ้อน(Secondary infection) จากสาเหตุหลักหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาคุณภาพน้ำ ปรสิตภายนอก ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือการติดเชื้อไวรัส การรักษาจึงต้องจัดการที่สาเหตุหลักควบคู่กันไปครับ
:
ติดต่อคลินิกสัตว์น้ำ โทร/Line : 0981034066

12/05/2023

น้องปลาคาร์พจักรพรรดิ(Butterfly Koi) 🎏🎏
:
เจ้าของพบว่าโคนหางหลุดหายออกไป มีก้างโผล่ออกมาด้วย...
:
หมอจึงรับเข้ารักษาที่คลินิกสัตว์น้ำโดยการให้ยาและทำแผลให้อย่างต่อเนื่อง 💉
:
เมื่อแผลสมานแล้วและน้องว่ายน้ำได้คล่องแคล่ว ก็กลับบ้านได้ !!!
:
"บริเวณส่วนโคนหางไปจนถึงส่วนหางของปลานั้นจะมีทั้งระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบประสาท และระบบไหลเวียนเลือด โดยเฉพาะเส้นเลือดที่มีชื่อว่า Caudal vein and artery ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่อยู่ใต้กระดูกสันหลังบริเวณโคนหาง หากเกิดการบาดเจ็บเสียหาย อาจะทำให้ปลาเสียเลือด จนถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียวเชียว"

โคฮากุตามันปูดออกมาครับหมอ !!! :เมื่อน้องปลามีปัญหา หมอก็พร้อมออกไปตรวจรักษาให้ถึงบ้านครับ :เคสนี้พบว่ารอบๆดวงตาข้างขวาม...
11/05/2023

โคฮากุตามันปูดออกมาครับหมอ !!!
:
เมื่อน้องปลามีปัญหา หมอก็พร้อมออกไปตรวจรักษาให้ถึงบ้านครับ
:
เคสนี้พบว่ารอบๆดวงตาข้างขวามีอาการบวม จนทำให้กระจกตาน้องขุ่นมัวและดวงตาทะลักออกมาจากเบ้าตา ส่วนสาเหตุนั้นหมอสงสัยเกิดการอักเสบเนื่องจากการกระแทก
:
หลังจากคุณหมอจิ้มยาและติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง ในระยะเวลา 5 วัน ดวงตาน้องก็กลับมาสดใสเหมือนเดิม
:
เคสนี้ต้องขอบคุณเจ้าของที่สังเกตเห็นอาการก็แจ้งหมอเลย หากปล่อยทิ้งไว้นาน น้องอาจเสียดวงตาไปได้เลยครับ...

09/05/2023
09/05/2023

คุณหมอขอเล่า.......
เมื่อน้องปลามังกรทองมาหาหมอเคน
ที่คลินิกสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์

น้องมีอาการหงายท้องและลอยเหนือผิวน้ำ
ก่อนหน้าชอบหลังลอยผิวน้ำหลังจากการกินอาหาร
คุณหมอวินิจฉัยว่าน้องมีภาวะถุงลมผิดปกติ เนื่องจากมีแก๊สในถุงลมมากเกินไป

"ถุงลมในปลามังกร มีหน้าที่ช่วยในการลอยตัวในน้ำ และช่วยในการแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนทดแทนเหงือกในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนละลายในน้ำต่ำ"

น้องเข้ารับการรักษาที่คลินิกสัตว์น้ำ โดยแอดมิทเป็นระยะเวลา 7 วัน
คุณหมอให้การรักษาโดยการเจาะระบายแก๊สในถุงลม ดามตัว และให้ยาในรูปแบบฉีด จนน้องกลับมาว่ายน้ำได้ปกติและกินอาหารเองได้

ปลามังกรเป็นปลาที่ตื่นตกใจง่าย ชอบกระโดด และมีฟันที่แหลมคม การตรวจรักษาจึงต้องใช้ความชำนาญของสัตวแพทย์ในการควบคุม และจับบังคับ เพื่อความปลอดภัยกับตัวน้องปลาและคุมหมอ

ตามติดชีวิตหมอปลา EP2เมื่อวานคุณหมอเคนของเราได้รับแจ้งว่า...จะมีน้องปลาทองมาตรวจรักษากับคุณหมอเคนที่คลินิกสัตว์น้ำ 🐟🐠เมื...
03/05/2023

ตามติดชีวิตหมอปลา EP2
เมื่อวานคุณหมอเคนของเราได้รับแจ้งว่า...
จะมีน้องปลาทองมาตรวจรักษากับคุณหมอเคน
ที่คลินิกสัตว์น้ำ 🐟🐠

เมื่อคนไข้(ปลา) มาถึง สิ่งแรกที่เราจะต้องทำ คือ การให้ออกซิเจนกับน้องปลา ซักประวัติจากเจ้าของและจดบันทึกรายละเอียดข้อมูลการเลี้ยง ดูอาการโดยรวมภายนอกเบื้องต้น จากนั้นคุณหมอจะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดและขูดเมือกที่ผิวหนังและเหงือกเพื่อดูปรสิตภายนอกที่อยู่ที่ผิว

" ผิวหนังปลาเมื่อเราจับแล้วจะมีลักษณะเป็นเมือกเหนียว เมือกจะปกคลุมบริเวณผิวภายนอกของตัวปลา มีหน้าที่ในการป้องกันการติดเชื้อขั้นต้นและเป็นผนังกั้นระหว่างตัวปลากับสิ่งแวดล้อมภายนอก หากเมือกเสียหายอาจส่งผลต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ "

ในการตรวจร่างกายปลานั้น สัตวแพทย์จะต้องสวมถุงมือเสมอ เพื่อป้องกันปลาสูญเสียเมือกจากการจับ และป้องกันการติดเชื้อจากปลาสู่คน
โดยคุณหมอทำการขูดบริเวณภายใต้บริเวณครีบอกและท้อง ขูดผิวตามแนวเกล็ด เปิดเหงือกและขูดอย่างเบามือที่สุด (ต้องมีการให้ยาซึมหรือสลบเพื่อป้องกันการบาดเจ็บระหว่างการจับบังคับด้วย) จากนั้นเอาเมือกที่ได้นำมาส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ทันที และตัวการร้ายที่ทำให้น้องปลาทองมีอาการครีบแดงและหางแดง ผลการจากส่องกล้องจุลทรรศน์พบว่ามี "พยาธิปลิงใส" เกาะบริเวณผิวหนังและครีบจำนวนมาก คุณหมอจึงทำการจ่ายยา ให้เจ้าของนำน้องปลากลับไปรักษาในตู้ปลาที่บ้าน และให้คำแนะนำในการเลี้ยงการจัดการ

20/04/2023

ขอเอากราฟนี้มาให้ดูกันชัดๆอีกครั้งหนึ่ง กราฟนี้เป็นกราฟที่เซฟมาแหละ ไม่ได้ทำเอง แต่เอามาประกอบคลิปที่หล่อยเมื่อเช้า เรื่อง Preferred Optimal Temperature Zone

ดูได้ที่นี่ครับ ปักเป้าคองโกหายใจหอบ ไม่กินอาหาร ท้องอืด(?) | The Case Report
https://youtu.be/Plv749H7bFo

ที่อยากให้เห็นชัดๆคือโซนที่เขียนว่า optimum range นั่นคือที่สัตว์อยู่สบาย เกิดและวิวัฒนาการมาเพื่อสิ่งนี้ แต่ที่ผมชอบกราฟนี้มาก คือจะเห็นว่ามันไม่ใช่ว่าออกนอกขอบเขตที่เหมาะสมแล้วจะทำให้สัตว์ตายทันที แต่มันมีอีกช่วงที่เขียนไว้ว่า zone of physiological stress อยู่อีกนิดหน่อย

Physiological stress หมายความว่าอย่างไร
แปลตามตัวคือความเครียดทางสรีรวิทยา หมายถึงเป็นช่วงที่ร่างกายสามารถปรับตัวสู้กับภาวะที่ไม่เหมาะสมไหวอยู่ แต่ไม่ได้อยู่สบาย อยู่ด้วยความเครียด ตัวอย่างเช่นเราเองที่ทุกวันนี้เดินออกนอกบ้าน เรารู้สึกร้อนมาก แต่เราไม่ตาย เรายังมีกลไกของร่างกายในการระบายความร้อน ทั้งการหายใจเร็วขึ้นเพื่อระบายความร้อนทางการหายใจ ทั้งการเหงื่อออกเพื่อระบายความร้อน กระบวนการเหล่านี้คือการปรับตัวทางสรีรวิทยาเพื่อให้รอดไปได้ แต่ไม่ได้แปลว่าควรจะต้องใช้กระบวนการเหล่านี้ตลอดเวลาครับ

ผลกระทบของความเครียดจากการต้องปรับตัวเหล่านี้ มีผลโดยตรงต่อระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายครับ แต่การทำงานทางสรีรวิทยาอื่นๆนี่ก็ยังระบุยาก จริงๆความเครียดกับระดับภูมิคุ้มกันก็มีอธิบายในคลิปแบบเสียเงินของช่องนะครับ เผื่อใครอยากเข้าไปฟัง

คริคริ

12/04/2023

ศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แจ้งเวลาปิดทำการในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ 13-17 เมษายน 2566 💦

#เที่ยวด้วยความระมัดระวังกันด้วยนะคะ
#สวัสดีปีใหม่ไทย2566
#ศูนย์สุขภาพช้างและสัตว์ป่า

😁😁
06/04/2023

😁😁

07/03/2023

🐢 อาการเต่าตาบวมเกิดจากอะไร?? เหมือนจะไม่หนักแต่ก็อาจถึงขั้นทำให้เต่าเสียชีวิต และโรคนี้ป้องกันได้ครับ

🐢 ภาวะขาดวิตามินเอ (Vitamin A deficiency) ทำให้เซลล์ในชั้นเยื่อบุมีการเปลี่ยนแปลงทั่วร่างกายทั้งระบบทางเดินหายใจ, การมองเห็น, ระบบต่อมไร้ท่อ, ระบบทางเดินอาหาร รวมถึงระบบขับถ่ายของเสีย (ไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ) ร่วมกับเกิดการหนาตัวของชั้นผิวหนัง แต่อาการที่เห็นได้ชัดในเต่า คืออาการตาบวมนั่นเอง อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนและเต่าเสียชีวิตได้

หมอแพนให้ความรู้ดีมากๆเลย ลองฟังกันดูครับ
30/01/2023

หมอแพนให้ความรู้ดีมากๆเลย ลองฟังกันดูครับ

ปล่อยคลิปใหม่แล้วนะครับ

28/12/2022

เมื่อปลาชะโดกลายเป็นแพะ

ชะโดมักจะถูกมองว่าเป็นผู้ผิดอยู่เสมอ เมื่อแหล่งน้ำมีปลาลดลง เคยเป็นข่าวใหญ่โตขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์หัวเขียวว่า ชะโดล้นเขื่อน กินปลาเล็กปลาน้อยไม่เหลือ ชะโดเป็นผู้ร้ายในสายตาของหลายๆคน ทำไมบางแหล่งน้ำมีปัญหาเรื่องชะโด ทำไมบางแหล่งไม่มี? ผมขอเขียนบทความนี้ให้ลองช่วยกันคิดครับ ว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร?

1. ปลาชะโดเป็นปลาล่าเหยื่อขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง กินสัตว์ขนาดเล็กต่างๆเป็นอาหาร ปลาชนิดนี้อยู่ในสกุลเดียวกับปลาช่อน แต่ชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เปิดกว้างกว่า ในธรรมชาติก็จะอาศัยอยู่ตามวังน้ำใหญ่ๆบริเวณที่น้ำนิ่งสักหน่อย พอมนุษย์สร้างเขื่อนเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ขึ้นมาชะโดก็ชอบเลย

2. ชะโดเป็นปลาท้องถิ่นดั้งเดิมของประเทศไทย มีทั่วทุกภาค ไม่ต้องเกี่ยงกันนะครับ

3. ปลาชะโดสามารถขยายพันธุ์ในแหล่งน้ำนิ่งได้ มีการสร้างรัง เลี้ยงลูก ดูแลอย่างดี จนตัวเท่าด้านไม้พาย ก็ยังตามดู อัตรารอดเลยค่อนข้างสูง
ศัตรูตามธรรมชาติของชะโด ก็มีตั้งแต่ตอนตัวเล็กๆ ถ้าฝูงผ่านพอดีก็คงโดนนกกินปลาจกไปบ้าง โตขึ้นก็คงเป็นปลาล่าเหยื่ออื่นๆที่มีขนาดใหญ่กว่า เอาจริงๆคือชะโดไม่ได้มีเงี่ยง มีอะไรป้องกันตัวมากมายนัก ถ้าโดนฮุบก็ไปลื่นๆทั้งตัวนั่นแหล่ะ ธรรมชาติก็มีการคุมประชากรปลาชะโดอยู่แล้ว

4. ปัญหาที่พบกันของปลาชะโดในปัจจุบันคือจะถูกคนหาว่ามันกินปลาหมดบ่อ หมดอ่างเก็บน้ำ ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงแหล่ะ สำหรับตามพื้นที่แบบนั้น
ปัญหาจริงๆ มันไม่ใช่เพราะมีปลาชะโดเยอะเกิน ปัญหาคือปลาอื่นๆที่เป็นอาหารและผู้ล่าของปลาชะโดมันมีน้อยเกินไปในระบบนิเวศนั้นๆ

5. ยกตัวอย่างกลุ่มปลาซิวปลาสร้อยทั้งหลายที่ควรจะเป็นอาหารหลักของปลาชะโดตามธรรมชาติ ปลาพวกนี้ผสมพันธุ์ วางไข่ ตัวอ่อนก็อาศัยอยู่ในทุ่งน้ำท่วมทั้งเพ ปลาล่าเหยื่อขนาดใหญ่ที่พอจะมีปัญญากินชะโดได้ อย่าง ปลาเค้า กระสูบ ก็ต้องการทุ่งน้ำท่วมในการที่จะขยายพันธุ์

6. ดังนั้นถ้าแหล่งน้ำนิ่งๆตามอ่างเก็บน้ำ บ่อหมู่บ้าน ที่มันนิ่งๆ ที่ปลาชะโดขยายพันธุ์ได้ดี ชอบเลยแหล่ะ แต่ปลาอื่นๆขยายพันธุ์ไม่ได้ มันก็จบที่ตรงนั้นแหล่ะ ชะโดมันก็กินได้เท่าที่มี หิวมันก็กิน จะเหลือไว้ให้คนไหม มันไม่รู้หรอก จะปล่อยปลาลูกพันธุ์ลงไปเท่าไหร่ โอกาสรอดก็น้อย เหมือนตั้งโต๊ะจีนเลี้ยงชะโดมากกว่าด้วยซ้ำ

7. ถ้าระบบนิเวศของแหล่งน้ำมันไม่สมบูรณ์ น้ำไม่ท่วมทุ่ง ไม่ล้นตลิ่งเลย หรือล้นมาก็ไม่มีสภาพให้ปลาอยู่ได้ ปลาเล็กปลาใหญ่สืบพันธุ์ไม่ได้ แต่ชะโดสืบพันธุ์ได้ คือเราจะมองว่าชะโดมันเป็นปัญหา ก็คงได้ แต่เอาจริงๆ ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ชะโด มันอยู่ที่ระบบนิเวศที่ไม่สมบูรณ์มากกว่า

++หนังสือปลาน้ำจืดไทย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 ขึ้นแท่นพิมพ์แล้วนะครับ เจอกันเดือนมกราคม 2566++

20/12/2022

ปลาทอง (Carassius auratus) ตัวนี้เกิดปัญหาเหงือกเน่า (gill necrosis) จากการเพาะเชื้อแบคทีเรีย ไม่พบเชื้อ Flavobacterium colunaris แต่ผลการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสด้วยวิธี Polymerase chain reaction (PCR) พบว่าให้ผลบวกต่อไวรัส Cyprinid herpesvirus type-2

ไวรัสชนิดนี้มีความจำเพาะในการก่อโรคในปลาทองมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มปลาทองรันชู (ranchu) และปลาทองริวกิ้น (Ryukin) ส่วนปลาทองอื่นพบได้บ้าง แต่เหมือนว่าสองชนิดนี้จะมีความไวต่อการเกิดโรคจะสูงกว่าครับ ช่วงหลังกลับพบว่าในประเทศจีนมีการพบโรคนี้ในปลาทองกลุ่มอื่นด้วย โดยเฉพาะ gibel carp (Carassius gibelio) เชื้อนี้ค่อนข้างสัมพันธ์กับฤดูกาล เพราะช่วงอุณหภูมิของน้ำ (อุณหภูมิร่างกายของปลา) มีผลอย่างมากต่อการแบ่งตัวของไวรัส โดยพบว่าจะเกิดปัญหาช่วงอุณหภูมิน้ำ 18-25 ºC แต่หากอุณหภูมิอยู่นอกเกณฑ์นี้ รอยโรคจะไม่มาก หรืออาจจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่เชื้อสามารถหลบอยู่เงียบๆได้โดยอาจไม่ถูกร่างกายของปลาทองกำจัดออก (อีกไม่นานก็จะช่วงฤดูน้ำเย็นแล้วครับ)

อาการของโรคนี้คือการทำให้เกิดปัญหาของการสร้างเม็ดเลือด ให้เกิดปัญหาโลหิตจาง เหงือกซีดได้ ปลาจะอ่อนแรง ไม่อยากกินอาหาร และตายได้ บางครั้งตายโดยเหงือกยังไม่แสดงรอยโรคด้วยซ้ำ

โรคนี้เป็นโรคจำเพาะต่อปลาทอง และไม่ติดต่อถึงปลาอื่นครับ

•• พบปัญหาของเหงือกปลาทอง และ/หรือปลาอื่น เหงือกเน่า เหงือกบวม ตายไม่รู้สาเหตุ กรุณาติดต่อ ศูนย์เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อในปลา (Center of excellence in fish infectious diseases) คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาวิจัยครับ ••

•• 0632459535 •• นายสัตวแพทย์ณ พัทธ์ ปัณฑุกำพล ••
•• หรือ inbox เพจ VET Edutainment นี้ หรือที่เพจ Fish Infectious Diseases Research Unit ครับ ••

ที่อยู่

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถ. เลียบคลองชลประทาน ต. แม่เหียะ อ. เมือง จ. Chiang Mai
Chiang Mai
50100

เบอร์โทรศัพท์

+66981034066

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Aquatic Animal Clinic, CMU - คลินิกสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มช.ผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

ติดต่อ ธุรกิจของเรา

ส่งข้อความของคุณถึง Aquatic Animal Clinic, CMU - คลินิกสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มช.:

วิดีโอทั้งหมด

แชร์

คลินิกสัตว์น้ำ มช. บริการตรวจรักษาปลาสวยงาม และสัตว์น้ำอื่นๆ

บริการตรวจรักษาปลาสวยงาม และสัตว์น้ำอื่นๆ รวมถึงให้คำปรึกษาในการเลี้ยงปลา

ตำแหน่งใกล้เคียง ร้านค้าสัตว์เลี้ยงและบริการสัตว์เลี้ยง


Chiang Mai ร้านค้าสัตว์เลี้ยงและบริการสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด