Wildlife Clinic - Chiangmai

Wildlife Clinic - Chiangmai คลินิกสัตว์ป่า มีภารกิจหลักดูแลสุข
(15)

10/04/2020

อัปเดตอาการ "เรนเจอร์"

อาการดีขึ้น ยอมกินน้ำและอาหารบ้าง แต่ต้องป้อนเป็นระยะ และยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

เรนเจอร์ เป็นอีเห็นข้างลาย (Asian Palm Civet)
หรืออีเห็นธรรมดา คนใต้เรียกว่ามูสังหอม

เวลาตกใจกลัวจะปล่อยกลิ่นฉุนออกมา

พบเจอได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บางรัฐในอินเดีย

10/04/2020

ณ ขณะนี้ของครบสำหรับสัตว์ที่มีอยู่ในศูนย์

ทางเราเกรงว่าของจะเยอะและอาจหมดอายุได้ หากคุณอยากช่วย โปรดติดตามเรา เพราะมีสัตว์ป่าเข้ามาเรื่อยๆอยู่แล้ว

และถ้าถึงตอนนั้นเราอาจต้องขอรบกวนคุณอีกนะคะ ขอบคุณที่รักสัตว์ค่ะ

09/04/2020

สัตว์ล่าสุด มันคือ หมาไม้ อยู่ในวงศ์ Marten
ชื่อ คำอุ่น

09/04/2020

มีนกกระจอกตกจากรังเข้ามาใหม่ค่ะ

09/04/2020

แผนที่ค่ะ ขอขอบคุณผู้ที่ทำให้ด้วยนะคะ

09/04/2020

อัปเดตสัตว์ป่า
แมวดาว 8 ตัว อาการดีขึ้น
อีเห็น 1 ตัว กินข้าวได้ดี ร่าเริง ได้ชื่อแล้ว ชื่อว่า "ranger"
ลิงเสน 1ตัว ชื่อ เผือก
ชะนี 1ตัว
เหยี่ยวรุ้ง 1 ตัว
และล่าสุด สดๆร้อนๆ เพราะร้อนมาก หนีไฟมา เป็นหมาไม้ ชื่อ "คำอุ่น"

ทุกตัวสุขภาพดีขึ้นเป็นลำดับ

ทางศูนย์จะจัดการรักษาและฝึกให้สัญชาตญาณกลับคืนมา

ในกรณีที่สัตว์ยังมีสัญชาตญาณสัตว์ป่า เราจะปล่อยคืนสู่ป่า

ถ้าไม่สัญชาตญาณหลงเหลือ เราจะส่งต่อไปที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเพื่อให้เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์

09/04/2020

ขณะนี้มีสัตว์ป่าเข้ามาใหม่
ชื่อ "คำอุ่น" เนื่องจากหนีไฟมา ตัวยังอุ่นอยู่เลย

เป็นหมาไม้ อยู่ในวงศ์ maten
เป็นสัตว์endager หรือ สัตว์ป่าคุ้มครองชนิดหายาก

อายุน่าจะไม่เกิน 1 เดือนครึ่ง เพราะยังไม่หย่านม

นี่คืออัปเดตล่าสุดนะคะ และยังได้รับอานิสงค์ความสนับสนุนจากเหล่าคนรักสัตว์ที่ส่งกันเข้ามา ทำให้มีอย่างเพียงพอ

และสำหรับผู้ที่ต้องการสนับสนุน โปรดติดตามหน่วยงานเราต่อไปนะคะ

ขอบคุณอย่างสูงที่คุณรักสัตว์

08/04/2020

ขอขอบคุณสำหรับน้ำใจที่ทุกท่านส่งมา และทางเราพยายามจะตอบทุกข้อความให้

ถ้าตกหล่นไปบ้าง โปรดทักมาทาง Message

ปล. ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

08/04/2020

คลีนิคสัตว์ป่า เชียงใหม่
ขอขอบพระคุณอย่างมากสำหรับน้ำใจที่หลั่งไหลมาให้สัตว์ป่าที่บาดเจ็บ อาทิ ลูกแมวดาวทั้ง 8 ตัว อีเห็น 1ตัว ลิง 1ตัว จากไฟไหม้ป่า
ขณะนี้ทางศูนย์มีของครบสำหรับสัตว์ทุกตัว
ขอให้ทุกคนหยุดนำอาหารและเวชภัณฑ์มาให้ก่อน เพราะสิ่งเหล่าสามารถหมดอายุได้ และจะเสียหาย

ซึ่งจะเป็นที่น่าเสียดายมาก

และสำหรับโอกาสต่อไป ถ้ามีสัตว์ป่าบาดเจ็บเข้ามาทางทีมสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ทุกท่านจะอัปเดตสถานการณ์สัตว์ป่าเมืองเหนือให้ทุกท่านอย่างแน่นอน

ขอขอบพระคุณอย่างสูงอีกครั้ง

07/04/2020

กราบขอบพระคุณผู้ใจบุญทุกท่านที่ได้ร่วมสนับสนุนอาหาร อุปกรณ์ และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ป่าที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่าภาคเหนือ สายธารแห่งน้ำใจอันยิ่งใหญ่ได้หลั่งไหลเข้ามาช่วยเหลือสัตว์ป่าที่อยู่ในความดูแลของคลินิกสัตว์ป่าอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ยังความปลาบปลื้มใจและเป็นขวัญกำลังใจอันยิ่งใหญ่ให้กับเหล่าเจ้าหน้าที่ดูแลสัตว์ป่าภาคสนามยิ่งนัก และขอขอบพระคุณผู้มีเจตนาช่วยเหลือเป็นเงินสด แต่ต้องขออภัยที่ทางเราไม่สามารถรับการสนับสนุนเป็นเงินสดได้
หนทางการเดินทางมายังคลินิกสัตว์ป่าอาจยากลำบากสักเล็กน้อย เริ่มจากวงเวียนหน้าพืชสวนโลก จากนั้นมาทางสวนสัตว์เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เมื่อถึงทางแยกให้เลี้ยวขวามาทางศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ/ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่/สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 ให้ท่านตรงมาสุดทางจนถึงทางตัน เมื่อถึงทางตันที่มีทางแยกซ้ายขวา ให้เลี้ยวซ้าย จากนั้นขับตรงมาเรื่อยๆประมาณ 100 เมตร ก็จะพบอาคารคลินิกสัตว์ป่าและกรงสัตว์ขนาดใหญ่อยู่ทางซ้ายมือของท่าน
ท่านผู้ใจบุญที่ต้องการสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ สามารถสนับสนุนยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ปวดลดอักเสบ ยาบำรุง ยาถ่ายพยาธิ และยาอื่นๆ ในรูปแบบของยาเม็ด ยาน้ำสำหรับป้อน และยาละลายน้ำ-ผสมอาหาร ซึ่งจะมีความสะดวกในการรักษาสัตว์ป่ามากกว่า
สำหรับน้องอีเห็นบาดเจ็บ "น้องเรนเจอร์" ขณะนี้ได้รับการสนับสนุนเรื่องอาหารของน้องมากพอสมควร หากผู้ประสงค์จะให้การสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับอาหารสัตว์ป่าอื่นๆที่คลินิกสัตว์ป่าจะมีโอกาสรับมาดูแลต่อไป สามารถค้นหาข้อมูลได้จากโพสต์ก่อนหน้านะครับ
ข้อขัดข้อง ความผิดพลาด ความล่าช้า ความไม่สมบูรณ์ในการติดต่อสื่อสารหรือปัญหาอุปสรรคประการใดที่เกิดขึ้น ทางทีมงานคลินิกสัตว์ป่าต้องกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ทีมงานคลินิกสัตว์ป่า
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่)

06/04/2020

รายงานชนิด-จำนวนสัตว์ป่าพลัดหลงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไฟป่าภาคเหนือที่คลินิกสัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) ได้รับมอบมาดูแลระหว่างวันที่ 4 มีนาคม - 6 เมษายน 2563
1. วันที่ 4 มีนาคม 2563 รับมอบลูกแมวดาว จำนวน 2 ตัว จากอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นลูกแมวดาวเพศเมียทั้ง 2 ตัว ขณะนี้หย่านมแล้ว
2. วันที่ 31 มีนาคม 2563 รับมอบลูกแมวดาว จำนวน 2 ตัว จากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (สาขาลำปาง) เป็นเพศผู้และเพศเมียอย่างละ 1 ตัว ขณะนี้หย่านมแล้ว
3. วันที่ 3 เมษายน 2563 รับมอบลูกแมวดาว เพศเมีย จำนวน 1 ตัว จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ หย่านมแล้ว
4. วันที่ 4 เมษายน 2563 รับมอบอีเห็นข้างลาย เพศผู้ โตเต็มวัย จำนวน 1 ตัว จากอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ คาดว่าหลบหนีจากเหตุการณ์ไฟป่าและได้รับอุบัติเหตุบาดเจ็บรุนแรง
รวมจำนวนทั้งสิ้น 2 ชนิด 6 ตัว

06/04/2020

กราบเรียน ผู้มีอุปการะคุณที่ประสงค์จะบริจาคยา เวชภัณฑ์ และสิ่งของเพื่อช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่าภาคเหนือให้แก่คลินิกสัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทุกท่าน
- ทางหน่วยงานสามารถรับบริจาคเป็นสิ่งของ อาทิ
1. อาหารสำหรับสัตว์ป่วยวิกฤตของสุนัขและแมว เพื่อช่วยเหลืออีเห็นบาดเจ็บจากไฟป่า
2. อาหารสำหรับสัตว์ป่าชนิดอื่น ที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่า เช่น แมวดาว และลูกลิง โดยสามารถบริจาคนมสำหรับลูกแมว นมโครสจืด อาหารสำหรับลูกสัตว์วัยพร้อมหย่านม เป็นต้น
3. อาหารสำหรับสัตว์ป่าพลัดหลงอื่นๆ (เช่น นกป่าบาดเจ็บ เหยี่ยวพลัดหลง ลิงป่าพลัดหลง) ที่คลินิกสัตว์ป่าได้รับมาดูแล ได้แก่ อาหารนกสำเร็จรูป ผลไม้ชนิดต่างๆ อาหารไก่ ข้าวเปลือก เมล็ดธัญพืช ลูกเจี๊ยบแช่แข็ง เนื้อไก่สด
4. อุปกรณ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในกรงสัตว์และอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ น้ำยาเดตตอล ผงซักฟอก เป็นต้น
5. กรงสัตว์และอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์อื่นๆ ได้แก่ กรงเคลื่อนย้ายสำหรับสุนัขและแมวขนาดต่างๆ ชามอาหารสำหรับสัตว์ เป็นต้น
6. ยาและเวชภัณฑ์ ได้แก่ ยาแดงทาแผล สำลี ผ้าก็อซ ก้านสำลี น้ำเกลือ เป็นต้น
- - กรุณาติดต่อ 0847942022
- ที่อยู่ : คลินิกสัตว์ป่า เลขที่ 126/16 หมู่ 3 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
คลินิกสัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงที่เมตตาประสงค์จะช่วยเหลือสัตว์ป่าน้อยใหญ่ที่ได้รับความทุกข์ยากจากวิกฤติไฟป่าภาคเหนือ ทางคลินิกสัตว์ป่า จะทำการรายงานสถานการณ์ความคืบหน้าในการช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ได้รับมาดูแลอย่างต่อเนื่อง

31/03/2020

การปรับพฤติกรรมนกแสก​ จำนวน​ 3​ ตัว
โดยการฝึกบิน​ ฝึกล่าเหยื่อ​ และประเมินสุขภาพของนกแสกรายตัว​ พร้อมทั้งการตรวจโรคติดต่อได้แก่​ โรคไข้หวัดนก​ โรคนิวคาสเซิล​ โรคพยาธิในเลือด​ ก่อนการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
เด็กๆ​ ทั้งสาม​ น้องกุ๊ก​ น้องไก่​ และน้องcute
ไปเติบโตในธรรมชาติและสร้างสมดุลต่อ
ระบบนิเวศน์นะ

27/03/2020

การออกพื้นที่โฆ๊ะพะโด๊ะ​ อำเภออมก๋อย​
จังหวัดเชียงใหม่​ในช่วง​ 25-27​ มีนาคม​ 2563
การเก็บตัวอย่างขนช้าง​ลูกช้างเกิดใหม่
จำนวน​ 3​ เชือก ในการตรวจหารหัสพันธุกรรม​(DNA)​ ร่วมกับกรมปศุสัตว์​ กรมการปกครอง
และนำส่งตัวอย่างให้กลุ่ม​ DNP WIFOS​ ที่
กรมอุทยานแห่งชาติ​ สัตว์ป่า​ และพันธุ์พืชต่อไป

25/03/2020

หน่วยงานคลินิกสัตว์ป่า​มีหน้าที่กักกันโรค
ในสัตว์ป่า(quarantine)​ ในสัตว์ป่าของกลาง​
สัตว์ป่าพลัดหลงที่มาดูแลในหน่วยงาน​ เมื่อสัตว์ปลอดโรค​ จึงทำการส่งมอบต่อให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอมก๋อย​ อำเภออมก๋อย​ เพื่อ​ปรับปรุงสายพันธุ์​ ป้องกันการผสมเลือดชิด​ (inbreed)​ ต่อไป
สัตว์ป่าของกลางจำนวน​ 2​ ชนิด​ 8​ ตัว​ ได้แก่​
ไก่ฟ้าหลังขาว​ เพศเมีย​ จำนวน​ 3​ ตัว​
เป็ดแดง​ ไม่ทราบเพศ​ จำนวน​ 5​ ตัว
สัตว์ป่าพลัดหลง​ จำนวน​ 1​ ชนิด​ 1​ ตัว​ ได้แก่
เหยี่ยวรุ้ง​ ulnar​และradiusหัก​ ทำการดูแลรักษาจนกระดูกเชื่อมติดดี​ จึงส่งมอบให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าต่อไป

25/03/2020

หนึ่งในความสุขของสัตวแพทย์ของคลินิกสัตว์ป่า
คงจะเป็นการเห็นสัตว์ป่วยที่เรารักษาหายดี
น้องแมวดาว​ เกิดภาวะ​ spinal​ trauma
การวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยการเอกซเรย์ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี​ การปรึกษาและได้คำแนะนำ​ด้านการรักษาดีๆจากนานารักษาสัตว์
ทำให้น้องซานต้าหายดีในเร็ววัน
น้องตอบสนองต่อยาที่รักษาเป็นอย่างดี
เมื่อรักษาจนหายดี​จะนำส่งต่อ
สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าต่อไป

23/03/2020

ขอขอบพระคุณมูลนิธิเทใจ เทใจ - TaejaiDotcom
​และคุณวัลยา​ ไชยภัคดี ในการประสานงาน
สำหรับการอุปการะ​
- กรงอนุบาลลูกแมวดาว​ จำนวน​ 4​กรง
- กรงปรับสภาพในการดูแลแมวดาวหลังหย่านม​ จำนวน​ 2​ กรง
- อุปกรณ์ในการดูแลลูกสัตว์และให้ความอบอุ่น
ทางร่างกายแก่สัตว์ป่าจากเหตุการณ์ไฟป่า​ของอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ​ (น้องปุย​และน้องฝ้าย)
แมวดาวน้อยจากอำเภอแม่แตง​
(น้องแตงไทย​และน้องแตงกวา)​
แมวดาวปรับสภาพหลังหย่านม​ (พี่ซานต้า)​
และความอบอุ่นทางใจของเจ้าหน้าที่คลินิกสัตว์ป่า

23/03/2020

ลูกน้องเค้าจุดตกรัง​ ชื่อ​ " น้องโคบี้​ "
ประชาชน​ พบเจอบริเวณค่ายทหาร
จึงนำส่งมอบให้หน่วยงานคลินิกสัตว์ป่า​
อนุบาลลูกสัตว์​ ด้วยลูกไก่​ ผสม​ แคลเซียม​
ยี่ห้อ​calcilux เมื่อน้องโตเต็มที่จะฝึกบิน
ฝึกล่าเหยื่อ​ ก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

23/03/2020

ลูกลิงเสนน้อย​ " น้องเผือก "
ลูกลิงน้อยที่ต้องพลัดพรากจากอ้อมอกของแม่
​มาสู่การเลี้ยงดูของมนุษย์
สัตว์ป่าจะมีความสุขมากที่สุดเมื่อเขาได้ใช้ชีวิต
อย่างอิสระและมีความสุขในธรรมชาติ​
ในบ้านเกิดของเขาจริงๆ​ แต่เมื่อมีสิ่งที่เจ้าต้องกำพร้าแม่​ ทางหน่วยงานคลินิก​ จะขอเป็นแม่บุญธรรมที่จะรักและดูแลเด็กน้อยให้ดีมากที่สุด

14/03/2020

ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่​ 16
นายเกรียงศักดิ์​ ถนอมพันธ์​ ได้ให้โอวาทและแนะนำแนวทางการปฏิบัติงาน​ ให้แก่เจ้าหน้าที่​สปป.3
ภาคเหนือ​ กรมอุทยานแห่งชาติ​ สัตว์ป่า​ และพันธุ์พืช
เจ้าหน้าที่เหยี่ยวดง​และเจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า​ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่​ 16
ในการเข้าตรวจสอบและจับกุมผู้กระทำความผิดลักลอบค้าสัตว์ป่า

14/03/2020

สัตว์ป่าพลัดหลงมาสู่การดูแลของคลินิกสัตว์ป่า
ชะนีมือขาว​ เพศเมีย​ จากวัดแม่ปาน​ อำเภอแม่แจ่ม
น้องน่ารักและนิสัยดี​ ทีมงานเก็บตัวอย่างเลือด้พื่อตรวจสุขภาพ​ว่าปลอดโรค​ จะนำส่งสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า​ เพื่อปรับพฤติกรรม​ต่อไป

07/03/2020

ประสบการณ์ที่ได้มาจากความสูญเสีย
ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
เก้งธรรมดาจากอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์​
ได้เริ่มต้นรับการดูแลในวันที่​ 2​ มีนาคม​ 2563
ไม่สามารถลุกยืนด้วยตัวเอง​ นอนหมอบตลอดเวลา
สัตว์มีอาการอ่อนแรง​ กินอาหารและน้ำได้เล็กน้อย
การประคับประคองอาการ​ ด้วยการให้น้ำเกลือ​
ยาปฏิชีวนะและยาแก้ปวด
พบการแตกหักของกระดูกทั้ง​ 4​ ข้าง​
หนักที่สุดคงจะเป็น​การหักของขาหลัง
ด้านขวาบริเวณ proximal​ femur​ จากฟิมล์เอกซเรย์​ จึงได้ทำการนัดประสานเพื่อผ่าตัด
ดามกระดูกโดยการใส่​pin
การทำงานทุกอย่างมีความเสี่ยงตั้งแต่
การวางยาสลบ​ การผ่าตัด​ หรือแม้กระทั่ง
การ​post​ care​ สัตว์ป่าหลังจากผ่าตัด
สัตว์ป่าตระกูลสัตว์กีบมีภาวะการเกิดcapture myopathy ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียได้เช่นกัน

การรักษาที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ​
บางครั้งก็สอนให้เราได้เรียนรู้เเละพัฒนาการรักษาเพื่อสัตว์ป่าให้ดียิ่งขึ้น​

ขอขอบคุณ​ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
ที่นำส่งเก้งธรรมดามารักษา

ขอขอบคุณ​ สวนสัตว์ไนท์ซาฟารีที่ร่วมวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ที่ดีเสมอมา

ขอขอบคุณ​ อาจารย์คคณะสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รศ.น.สพ.ดร.​กรกฏ งานวงศ์พานิชย์
ที่ช่วยผ่าตัดรักษาสัตว์ป่าเคสกระดูกหัก
ของสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่16​(เชียงใหม่)
กรมอุทยานแห่งชาติ​ สัตว์ป่า​ และพันธุ์พืชมาตลอด

05/03/2020

นกเค้าโมง​ " ชื่อน้องหมาน​ ​"
ไม่ใช้ขาด้านซ้ายในการลงน้ำหนัก
ทางทีมงาน​คลินิกสัตว์ป่า
วินิจฉัยหาสาเหตุของปัญหาด้วยการคลำตรวจ
และประสานการเอกซเรย์เพื่อดูความผิดปกติของกระดูกร่วม​ เพื่อให้สามารถรักษาได้ถูกต้องตามสาเหตุที่เกิดอาการนั้นๆ​
ขอบคุณที่ดูแลนกเค้าโมงและนำมาส่งมอบให้คลินิกสัตว์ป่าดูแลสุขภาพต่อไปคะ

05/03/2020

น้องปุย​ และ​ น้องฝ้าย
เเมวดาวจากอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
เป็นเด็กน้อยเพศเมียทั้ง​ 2​ ตัว
คลินิกสัตว์ป่า​ ดูแล​อนุบาลด้วยการใช้นม​ kmr​
ขอบคุณที่นำส่งต่อเพื่อให้ทางคลินิกสัตว์ป่า
ได้ดูแลสุขภาพน้องแมวดาวอย่างดีที่สุดคะ

28/02/2020

เด็กน้อยลูกหล้าสุดของคลินิกสัตว์ป่า
น้องแตงไทย​ (เพศผู้)​และน้องแตงกวา(เพศเมีย)​
แมวดาวพลัดหลงจากท้องที่อำเภอแม่แตง
เด็กน้อยเริ่มลืมตาตอนมาถึงคลินิกสัตว์ป่า
​คงอยากเห็นการทำงานและความเอาใจใส่
ของเจ้าหน้าที่อย่างเต็มความสามารถในการอนุบาล ด้วยการป้อนนม​ kmr ( kitten milk replacer)​
ผสมไกด์​วอ​เตอร์​ พร้อมกระตุ้นระบบการขับถ่าย
โดยการใช้น้ำอุ่นเช็ดอวัยวะเพศทุกครั้ง

27/02/2020

น้องเต่านา​ ชื่อ​ นินจา
ประวัติโดนรถทับกระดองแตก
มาด้วยอาการขาดน้ำ​
ทีมงานคลินิกสัตว์ป่าดูแลด้วยการล้างแผล​
ให้ยาปฏิชีวนะ​ และยาแก้ปวด​ ให้น้ำเกลือใต้ผิวหนัง
และติดตามอาการต่อเนื่อง​จนกว่าจะหายดี​
แผลสะอาด​ไม่ติดเชื้อ​ จะทำการซ่อมกระดอง
ให้น้องนินจาต่อไป

15/02/2020

เจ้าหน้าที่คลินิกสัตว์ป่า​ ฝ่ายสุขภาพสัตว์​ร่วมกับ
เจ้าหน้าที่กรมการปกครองและเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์​ร่วมตรวจสอบและเก็บตัวอย่างขนหรือเลือดช้าง​
เพื่อตรวจหารหัสพันธุกรรม​ (DNA)​หาความสัมพันธ์ระหว่างลูกช้างกับพ่อช้าง​แม่ช้างให้กับเจ้าของช้าง
จำนวน​ 5​ เชือก​ ณ​ บ้านขุนตื่นน้อย​(วัดโฆ๊ะพะโด๊ะ) ตำบลแม่ตื่น​ อำเภออมก๋อย​ จังหวัดเชียงใหม่

10/02/2020

ผู้ป่วย admit ใหม่เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา เป็นผู้ป่วยที่ไม่ค่อยได้เจอกันง่ายๆบ่อยๆ...”นกกระเต็นอกขาว”...น้องพลาดถูกแมวตะปบ โชคดีที่มีคุณพี่ใจดีมาช่วยไว้ทัน เบื้องต้นไม่พบบาดแผลสำคัญอะไรมาก พบแต่ปลายจงอยปากมีการแตกหักเล็กน้อย แรกๆน้องยังอ่อนเพลีย แต่ยังกินอาหารได้ (ต้องป้อนน้อง) ป้อนมา 2 วันแล้ว น้องดูดีขึ้น เกาะคอนได้ บินหนีได้ แต่ตามประสบการณ์คุณหมอที่เคยรักษานกกระเต็นที่จัดว่าเป็นนกนักสู้ชนิดหนึ่งที่จะดิ้นรนจิกกัดเก่งมากกกกขณะทำการรักษา (บางครั้งผู้รักษาอาจได้แผล...) แต่น้องยังดูอ่อนเพลียอยู่เลย (ยังดิ้นรนจิกกัดคุณหมอไม่ดุเดือดพอ...) คุณหมอเลยต้องบำรุงน้องต่อไปจนกว่าน้องจะแข็งแรงมีแฮงกว่านี้มากๆๆ จะได้ปล่อยคืนป่าเร็วๆ ขอเป็นกำลังใจให้น้องกระเต็นด้วยนะครับบบ

07/02/2020

การปรับพฤติกรรมให้เรียนรู้​การฝึกบิน​
และเรียนรู้อาหารในธรรมชาติ
อาหารหลักของนกแสกคือ​ หนู
ทางหน่วยงานคลินิกสัตว์ป่า​จะทำการประเมินสุขภาพรายตัว​เพื่อให้มั่นใจว่า​
นกแสกสามารถออกไปใช้ชีวิตตามธรรมชาติ
ได้อย่างดีที่สุด​ จึงปล่อยน้องกลับคืนสู่ธรรมชาติ

03/02/2020

การเริ่มปรับอาหารของ​ ​" น้องซานต้า​ ​"
โดยการผสมเนื้อไก่บดกับนม​ KMR
น้องสามารถกินอาหารสูตรใหม่ได้หมดเกลี้ยง
ทางคลินิกสัตว์ป่า​ จะค่อยๆปรับสูตรอาหารจนน้องสามารถกินเนื้อไก่ได้​ดี และทำการส่งน้องไปดูแลต่อ
ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเพื่อเป็นพ่อแม่พันธ์​หรือทำการฝึกและปรับพฤติกรรมในการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ​ ต่อไป

ขอบคุณงบประมาณการจัดซื้อเนื้อไก่บดเพื่อผสมกับนม​ โดย​คุณ​ Prawmat​ kaewprakan

01/02/2020

การเริ่มปรับพฤติกรรมและฝึกบินในกรงขนาดใหญ่​ ขนาด​ 5*10*5​ เมตร​ ของน้องกุ๊ก​และ​น้องไก่
นกแสกสามารถปรับตัวและสามารถใช้ปีกได้อย่างดี
ในอนาคต​จะเริ่มฝึกล่าเหยื่อหาอาหาร
เเละจะประเมินพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง
ว่าสามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติได้
ผู้อุปถัมภ์กรงฝึกบิน​ ขอขอบพระคุณ
มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อมคะ

29/01/2020

"น้อง​ cute นกแสกผู้น่ารัก"

ขอขอบคุณ​คุณพะเยา​ ของเดิม
ผู้ส่งมอบนกแสกมายังหน่วยงานคลินิกสัตว์ป่า
จากการตรวจสุขภาพเบื้องต้น​ ไม่พบบาดแผลภายนอก​ ยังคงตื่นกลัวคนเล็กน้อย
ทางหน่วยงาน​จะดูแลสุขภาพและฟื้นฟู
ให้พร้อมปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

ทีมงานพร้อมดูแลสุขภาพสัตว์ป่าตลอด​ 24​ ชั่วโมง
มีความยินดีอย่างยิ่งที่ท่านได้ช่วยเหลือชีวิต
และนำส่งต่อมาดูแลกับเจ้าหน้าที่คลินิกสัตว์ป่าคะ

อุปถัมภ์ค่าดูแลสุขภาพและฟื้นฟู
โดยคุณพะเยา​ ของเดิมและครอบครัว

24/01/2020

"น้องกีกี้"
เหยี่ยวรุ้งจากวัดห้วยกี้​วนาราม นำส่งโดยสัตวเเพทย์
จากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่​ 13​ (แพร่)​
อาการที่พบ​ กระดูกขาหักทั้ง​ 2​ ข้าง
( distal​ tibiotarsus)
การวินิจฉัยเพื่อประเมินการหักของกระดูกสามารถทำโดยการเอกซเรย์​ และวางแผนการรักษาต่อไป
สิ่งสำคัญในการดูแลสัตว์ภาวะกระดูกหักแบบเปิด
คือการควบคุมการติดเชื้อโดยการให้ยาปฏิชีวนะ​ และยาลดปวดให้กับสัตว์โดยเร็วที่สุด

ผู้อุปถัมภ์​ เวชภัณฑ์ยา​คุณ​ prawmat​ kaewprakan
ผู้อุปถัมภ์การเอกซเรย์สวนสัตว์เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

24/01/2020

ขอขอบพระคุณมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม (Elephant Nature Park - Chiang mai) ที่ได้กรุณาบริจาคอาหารสัตว์เพื่อให้สัตว์ป่าในความดูแลของคลินิกสัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่ ) อิ่มท้องมาโดยตลอดครับ

23/01/2020

กิจกรรมการดูแลสัตว์ประจำวันที่ 23 มกราคม 2563 ครับ

23/01/2020

" น้องซานต้า​ "
เจ้าหน้าที่คลินิกสัตว์ป่าได้รับน้องมา
ในวันที่​25​ ธันวาคม​ 2562​ จากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่13​ (แพร่)​ น้องยังไม่ลืมตา​แต่สามารถรับรู้ความรัก​ ความดูแลเอาใจใส่​และความห่วงใยของเรา
เจ้าหน้าที่คลินิกสัตว์ป่าสามารถเป็นแม่นมให้กับหนูได้ทุกท่าน​ มีการอบรมจากเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์​สัตวบาล​ เรื่องการดูแลลูกสัตว์​ การผสมอัตราส่วนของนมเพื่อป้อนลูกสัตว์​ การเลือกใช้นมทดแทนลูกแมว​ยี่ห้อ​ KMR​ (kitten milk replacer)
และการกระตุ้นระบบขับถ่าย​ให้ถูกสุขลักษณะ
ตอนนี้น้องก็เริ่มโตและดื้อกับทีมหมอนิดหน่อยคะ

ได้รับการอุปถัมภ์​ค่านม​ KMR​
จากคุณ​ prawmat​kaewprakan
ที่ช่วยดูแลให้น้องได้รับนมที่เหมาะสมรองจากน้ำนมแม่คะ

22/01/2020

การดูแลสุขภาพและฟื้นฟูนกแสกตกรัง จำนวน 2 ตัว
(น้องกุ๊ก และน้องไก่) อายุประมาณ 1 เดือนครึ่ง
จากวัดอุโบสถ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
เด็กๆสามารถกินลูกไก่ได้เป็นอย่างดี
เมื่อน้องแข็งแรงพร้อมฝึกบิน ล่าเหยื่อหาอาหารตามธรรมชาติ
สามารถปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

ผู้อุปถัมภ์ พระกันจันทร์ นะการัง
ดูแลเรื่องอาหารสัตว์ ในการจัดซื้อลูกไก่เพื่อฟื้นฟูสุขภาพสัตว์

22/01/2020

Wildlife Clinic - Chiangmai

ที่อยู่

126/16 ต. แม่เหียะ อ. เมือง
Muang Chiang Mai
50100

เบอร์โทรศัพท์

0987942022

เว็บไซต์

แจ้งเตือน

รับทราบข่าวสารและโปรโมชั่นของ Wildlife Clinic - Chiangmaiผ่านทางอีเมล์ของคุณ เราจะเก็บข้อมูลของคุณเป็นความลับ คุณสามารถกดยกเลิกการติดตามได้ตลอดเวลา

วิดีโอทั้งหมด

แชร์


Muang Chiang Mai ร้านค้าสัตว์เลี้ยงและบริการสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

แสดงผลทั้งหมด